The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by noisuwannayim2519, 2024-02-07 03:55:03

คกก.ปกครองฯ ครั้งที่ 2/2567

คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

เอกสารประกอบการพิพิ พิ จพิ จารณา การประชุชุม ชุ ม ชุ คณะกรรมการการปกครองและรัรั รั ก รั กษา ความสงบเรีรี รี ยรี ยบร้ร้ ร้ อ ร้ อย ณ ห้ห้ ห้ อ ห้ องประชุชุชุ ม ชุ ม 4 อาคารไอราวัวั วั ตวั ตพัพั พั ฒพั ฒนา ศาลาว่ว่ ว่ า ว่ าการกรุรุรุ ง รุ งเทพมหานคร 2 ดิดิ ดิ นดิ นแดง ครั้รั้ รั้ งรั้ งที่ที่ ที่ที่2/2567 วัวั วั นวั นที่ที่ ที่ที่8 กุกุกุ ม กุ มภาพัพั พั นพั นธ์ธ์ ธ์ธ์2567 เวลา 10.00 น.


ระเบียบวาระการประชุม คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ครั้งที่ 2/2567 วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์2567 ณ ห้องประชุม 4 อาคารไอราวัตพัฒนา --------------------------------------- ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 25/2566 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ครั้งที่ 26/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง -เรื่องร้องเรียนกรณีอาคารพาณิชย์ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) ได้ติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่บนอาคารพาณิชย์ติดกับบ้านผู้ร้อง โดยไม่มี ความปลอดภัย ขาดการบำรุงรักษา ทำให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน (โดยเชิญ สำนักงานเขตบางนา บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) และผู้ร้อง เข้าร่วมประชุม) ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) -----------------------------------------------------


ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมฯ -ครั้งที่ 25/2566 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 -ครั้งที่ 26/2566 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566


รายงานการประชุม คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ครั้งที่ 25/2566 วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุม 4 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ผู้มาประชุม 1. นายนวรัตน์ อยู่บำรุง ประธานกรรมการ 2. นายวิพุธ ศรีวะอุไร รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง 3. นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง 4. นายกฤษฏ์ คงวุฒิปัญญา กรรมการ 5. นายณภัค เพ็งสุข กรรมการ 6. นางสาวนภัสสร พละระวีพงศ์ กรรมการ 7. นายปวิน แพทยานนท์ กรรมการ 8. พันตำรวจเอก ภิญโญ ป้อมสถิตย์ กรรมการ 9. นางลักขณา ภักดีนฤนาถ กรรมการ 10. นางสาวศศิธร ประสิทธิ์พรอุดม กรรมการ 11. นางอนงค์ เพชรทัต กรรมการ 12. นายขวัญชาติ ดำรงขวัญ เลขานุการ 13. นางสาวสุวรรณา ยิ้มละมัย ผู้ช่วยเลขานุการ 14. นางสาวคฤห์อนงค์ สิริวิภาวี ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ กรรมการ (ลา) ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม 2. นายดนัย เหลืองแก่นคูณ ผู้อำนวยการส่วนวิชาการกฎหมาย และนิติกรรมสัญญา สำนักงานกฎหมายและคดี 3. นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยเขตคลองเตย 4. นางพันทิพา วิศาลศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักพัฒนาสังคม 5. นายนฤพนธ์ สังขริม หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย 6. นายบวรพงศ์ สุนทรไชยา นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักพัฒนาสังคม 7. นายประชา จิวัชยากูล นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักพัฒนาสังคม


๒ 8. นายยศกร ศรีอ่อน นายช่างโยธาชำนาญงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย เริ่มประชุมเวลา 10.30 น. เมื่อคณะกรรมการมาครบองค์ประชุมแล้ว ประธานกล่าวเปิดประชุม ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา 2.1 เรื่องขอให้ปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่กรรมการชุมชนและสวัสดิการที่ใกล้เคียงกับการปกครองส่วน ท้องถิ่นอื่น เช่น อบต. เทศบาล เป็นต้น ประธานกรรมการ สำนักพัฒนาสังคมมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เรื่องค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนกับชุมชน เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ซึ่งค่าตอบแทนมี 4 ประเภท 1. ค่าตอบแทนให้กับประธานชุมชน และเลขานุการชุมชนที่เข้า ร่วมประชุมที่สำนักงานเขต คนละ 1,000 บาทต่อเดือน 2. ค่าตอบแทนการประชุมของกรรมการชุมชน (เป็นการภายใน) คนละ 500 บาทต่อครั้ง 1 เดือนให้มีการประชุม 1 ครั้ง 3. ค่าชุดปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุมชน คนละ 1 ชุด จัดสรรเงินให้กับสำนักงานเขต 4. ค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน แบ่งตาม จำนวนของหลังคาเรืองของชุมชน 1) ชุมชนที่ไม่เกิน 200 หลังคาเรือน จะสนับสนุนเดือนละ 5,000 บาท 2) ชุมชนที่เกิน 201-500 หลังคาเรือน จะสนับสนุนเดือนละ 7,500 บาท 3) ชุมชนที่เกิน 500 หลังคาเรือนขึ้นไป จะสนับสนุนเดือนละ 10,000 บาท ประธานกรรมการ ค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน 10,000 บาท ใช้บริหารจัดการจัดซื้อโต๊ะ เก้าอี้ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ใช่หรือไม่


๓ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เป็นงบบริหารจัดการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคของชุมชน งบดำเนินการ เช่น งบประชาสัมพันธ์ การซื้อกระดาษ ครุภัณฑ์ต่าง ๆ ประธานกรรมการ ต้องการจัดซื้อโต๊ะ เก้าอี้ ต้องทำอย่างไร นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม จะเป็นอีกประเภท ไม่ได้อยู่ในระเบียบ แต่จะออกเป็นหลักเกณฑ์ ใหม่ เป็นงบสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ที่มอบให้ชุมชนละ 200,000 บาท ตามโครงการชุมชนเข้มแข็งพัฒนาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประธานกรรมการ เดิมมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อกล้องวงจรปิด ที่ไม่สามารถจัดซื้อได้ ปัจจุบันน่าจะดำเนินการได้ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ได้มีการปรับแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องโซล่าเซลล์ กล้องวงจรปิด และ ครุภัณฑ์บางรายการที่ไม่สามารถจัดซื้อได้ในปี 2566 เช่น คอมพิวเตอร์ ในปี 2567 ได้มีการแก้ไขกฎระเบียบให้สามารถจัดซื้อได้ ประธานกรรมการ แต่ละชุมชนสามารถจัดซื้อได้ทั้งหมดหรือไม่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม แล้วแต่ความต้องการของแต่ละชุมชน มีกระบวนการทำเวที ประชาคมของแต่ละชุมชนว่าต้องการจัดซื้อครุภัณฑ์ใดบ้าง และมีบาง ประเภทจัดซื้อไม่ได้ ประธานกรรมการ หากถนนในซอยได้รับความเสียหาย ทำการสั่งปูนซีเมนต์สามารถ ดำเนินการได้หรือไม่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ต้องทำโครงการเสนอคณะกรรมการฯ ของสำนักงานเขต พิจารณา หากโครงการเข้าหลักเกณฑ์การพิจารณา ประธานกรรมการ สำนักงานกฎหมายและคดี มีความเห็นอย่างไร นายดนัย เหลืองแก่นคูณ ผู้อำนวยการส่วน วิชาการกฎหมายและนิติกรรมสัญญา สำนักงานงานกฎหมายและคดี สามารถดำเนินการได้แต่ขณะนี้หลักเกณฑ์สำนักพัฒนาสังคม อยู่ระหว่างเสนอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาให้ความเห็นชอบ ประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการฯ น่าจะให้ความเห็นชอบ เนื่องจากเป็นปัญหาความ เดือดร้อนของประชาชน นายกฤษฎ์ คงวุฒิปัญญา กรรมการ การจัดทำราคากลางเรียบร้อยแล้วหรือไม่


๔ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม การกำหนดราคากลางจะมีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ทั่วไป สามารถใช้ ราคามาตรฐานของกรมบัญชีกลางได้ ยกเว้นครุภัณฑ์ที่ชุมชนต้องการ แต่ไม่มี รายละเอียดคุณลักษณะ หรือไม่มีราคากลาง สำนักงานเขตหรือสำนักพัฒนา สังคมจะนำไปดำเนินการ เช่น โซล่าเซลล์กล้องวงจรปิด ที่มีปัญหาเมื่อปีที่ แล้ว ปีนี้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์เรื่องกล้องวงจรปิดที่มีการเชื่อมโยงกับระบบ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ตัวอื่น ปีนี้ได้มีการตัดเงื่อนไขข้อนี้ออกไป เพื่อให้การจัดซื้อของชุมชนคล่องตัวมากขึ้น นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม การกำหนดราคากลางและคุณลักษณะเฉพาะกำหนดให้ใช้ราคากลาง ของกรมบัญชีกลาง บางรายการที่ไม่มีราคากลางกำหนดไว้สำนักพัฒนาสังคมจะ เป็นผู้ดำเนินการให้และบางรายการที่นอกเหนือจากนี้ซึ่งเป็นความต้องการ แต่ละสำนักงานเขต สามารถให้ผู้อำนวยการเขตกำหนดราคากลางให้ชุมชนได้ เป็นอำนาจของผู้อำนวยการเขต ประธานกรรมการ สำนักงานเขตพระนครมีปัญหาเกี่ยวกับอะไรหรือไม่ นางสาวศศิธร พรอุดมประสิทธิ์ กรรมการ สำนักงานเขตพระนคร เป็น 1 ใน 5 สำนักงานเขตที่ไม่เคยเบิกจ่าย งบประมาณ 200,000 บาท ขอทราบรายชื่อ 5 สำนักงานเขตใดบ้าง นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม สำนักงานเขตได้อยู่ระหว่างดำเนินการแต่ยังไม่ครบถ้วน ได้แก่ การเปิดเวที การประชุมคณะกรรมการพิจารณาโครงการของสำนักงานเขต ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตบางพลัด เขตดินแดง นางอนงค์ เพชรทัต กรรมการ ตอนนี้สำนักงานเขตดินแดงไม่มีปัญหา และอยู่ในขั้นตอนการ เตรียมการจัดซื้อ นายกฤษฎ์ คงวุฒิปัญญา กรรมการ การจัดซื้อลำโพงเคลื่อนที่ ควรเพิ่มคุณสมบัติเนื่องจากปัจจุบัน ระยะทาง 5 เมตร เริ่มไม่ได้ยินเสียงแล้ว วัตต์ต่ำเกินไป และมีขนาดเล็ก นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม อยู่ที่ความต้องการของชุมชน ถ้าไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะ ราคากลางเป็นมาตรฐานไว้ สำนักงานเขตก็สามารถกำหนดราคากลางได้ นางลักขณา ภักดีนฤนาถ กรรมการ งบประมาณ 200,000 บาท ชุมชนสามารถจัดซื้อเครื่องออก กำลังกายได้หรือไม่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ในปี พ.ศ. 2567 รายการครุภัณฑ์สามารถดำเนินการจัดซื้อได้ จะมีครุภัณฑ์ไม่กี่ประเภทที่มีการห้ามจัดซื้อ


๕ ประธานกรรมการ ขอทราบประเภทของครุภัณฑ์ใดที่ไม่สามารถจัดซื้อได้เพื่อจะได้ ชี้แจงให้กับประชาชนทราบ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ในงบประมาณปี พ.ศ. 2567 ที่มีการกำหนดห้ามชุมชน ดำเนินการหรือจัดซื้อ เช่น การซื้อโต๊ะหมู่บูชา เครื่องใช้อุปกรณ์ในครัว เครื่อง กรองน้ำ แท็งค์น้ำ เรื่องการจัดซื้อเครื่องแบบอาสาสมัคร ครุภัณฑ์เกี่ยวกับ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร โทรทัศน์สี เครื่องเล่น DVD กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ ชุดโปรเจคเตอร์ยานพาหนะ หรือสื่อการเรียนการ สอนของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หากไม่มีในข้อห้ามนี้สามารถซื้อได้ ทั้งหมด เช่น สำนักงานเขตหนองจอกที่มีการซื้อเรือเพื่อใช้เก็บผักตบชวาจะ อยู่ในเกณฑ์ข้อห้าม หลักเกณฑ์ปี พ.ศ. 2567 อยู่ระหว่างเสนอผู้ว่าราชการฯ พิจารณา อนุมัติ หากได้รับการอนุมัติแล้วจะส่งหลักเกณฑ์ฯ ให้ประธานกรรมการและ คณะกรรมการฯ ทราบต่อไป ประธานกรรมการ คณะกรรมการฯ จะได้แจ้งข้อมูลกับสมาชิกสภาฯ ทราบ หลักเกณฑ์และข้อห้ามในการจัดซื้อให้กับประธานชุมชนรับทราบข้อกำหนดนี้ เพื่อนำไปแจ้งให้คนในชุมชนต่อไป นางอนงค์ เพชรทัต กรรมการ หลักเกณฑ์ที่อยู่ระหว่างแก้ไขเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์ที่ ซ้อนกัน เมื่อเริ่มงบประมาณปีพ.ศ. 2567 ต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม การทำเวทีประชาคมหรือประชาพิจารณ์เป็นปัญหาเมื่อปีที่แล้ว มีการกำหนดให้ทำเวทีประชาคมถึง 2 ครั้งต่อชุมชน ซึ่งเป็นปัญหา ค่อนข้างมาก ในปี2567 ได้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์โดยไม่กำหนดจำนวนครั้ง และจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมเวทีประชาคม เพื่อให้เกิดความคล่องตัว นางอนงค์ เพชรทัต กรรมการ สามารถเริ่มทำได้เมื่อไหร่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีการนำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมีผู้ว่า ราชการฯ เป็นประธาน ท่านได้รับทราบแล้วและคาดว่าจะเห็นชอบภายใน เดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะมีหนังสือเวียนแจ้งและจัดสรรให้สำนักงาน เขต สำนักงานเขตสามารถดำเนินการโครงการนี้ได้ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็น ต้นไป นางลักขณา ภักดีนฤนาถ กรรมการ หลักเกณฑ์ฯ ค่าตอบแทนของชุมชนที่แบ่งเป็น 4 ประเภท ใช้มา ตั้งแต่เมื่อใด


๖ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม หลักเกณฑ์ฯ บังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2555 นางลักขณา ภักดีนฤนาถ กรรมการ การของบประมาณแต่ละสำนักงานเขต แต่ละชุมชนประสบผลสำเร็จ ในการใช้จ่ายงบประมาณหรือไม่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ช่วงแรกในปี 2555 ที่มีการออกระเบียบใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับ เอกสารการเบิกจ่าย เช่น งบค่าสาธารณูปโภค รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือ การทำธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเอกสารต่าง ๆ ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ขณะนี้ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นได้ถูกแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่มีปัญหาแล้ว นางลักขณา ภักดีนฤนาถ กรรมการ จากสำนักงานเขตตลิ่งชัน มี 43 ชุมชน มีประธานชุมชนเข้มแข็ง อยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง หากมีประธานชุมชนที่เข้มแข้งสามารถที่จะขับเคลื่อน โครงการต่าง ๆ จะมาดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณได้ในงบประมาณที่มีอยู่ แต่บางชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้ขอฝากหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ ผลักดันโครงการทำให้งบประมาณเกิดประโยชน์ที่ผ่านมาหลายสำนักงาน เขตใช้งบประมาณในการสัมมนาศึกษาดูงาน และส่วนใหญ่จะติดปัญหา ข้อจำกัดการใช้งบประมาณ เช่น สำนักงานเขตพระนครติดเรื่องการเงื่อนไข การทำประชาพิจารณ์ไม่ครบ จึงมีการแก้ไขในงบประมาณปี พ.ศ. 2567 ทำให้ มีการลดขั้นตอนนี้ออกไปได้ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งบประมาณนี้ให้เกิด ประโยชน์ต่อไปได้ นางอนงค์ เพชรทัต กรรมการ สำนักพัฒนาสังคมควรทำความเข้าใจและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ใน การปฏิบัติงานในพื้นที่เขต เพราะเป็นกังวลว่าหากดำเนินการไปแล้วจะผิด ระเบียบหรือไม่ เช่น การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของลำโพง ผู้อำนวยการ เขตสามารถกำหนดกำหนดคุณลักษณะได้ นางสาวนภัสสร พละระวีพงศ์ กรรมการ ชุมชนที่ไม่ได้รับงบประมาณ 200,000 บาท ในปีงบประมาณ หน้าไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ใช่หรือไม่ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ในปี 2567 ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ตามหลักเกณฑ์ปี พ.ศ. 2567 ซึ่งจากปีที่แล้วต้องทำประชาพิจารณ์จำนวน 2 ครั้ง และมีจำนวนครัวเรือน เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ทำให้ในปี 2566 ที่ผ่านมามีชุมชน 347 ชุมชน ที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์นี้และต้องส่งงบประมาณคืน และในปี 2567 สำนักพัฒนาสังคม ได้แก้ปัญหาในส่วนนี้ชุมชนน่าจะทำได้ครบทั้ง 2,009 ชุมชนที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ประธานกรรมการ กรณี 200 หลังคาเรือนขึ้นไป เงินสวัสดิการได้ 5,000 บาท ใช่หรือไม่


๗ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม 201 - 500 หลังคาเรือนได้รับเงิน 7,500 บาท ประธานกรรมการ อยากเสนอให้ได้ 20,000 บาท โดย 10,000 บาทแรกให้เป็น ค่าเดินทางของประธานและคณะกรรมการชุมชน ส่วน 10,000 บาท สำหรับการพัฒนาชุมชนได้หรือไม่ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ทางสำนักพัฒนาสังคมไม่ขัดคล่องในการเพิ่มเงิน นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง แยกระหว่างชุมชน และไม่ใช่ชุมชน งบประมาณ ของ กรุงเทพมหานคร ที่มอบให้ชุมชนตลอดระยะเวลาที่มีชุมชนเป็นจำนวนมาก นิยามคำว่า “เข้มแข็ง” คืออะไร สำนักพัฒนาสังคมมีการจัดเก็บข้อมูลแต่ละ ชุมชนมีสมาชิกมาร่วมสัมมนาหรือประชาพิจารณ์หรือไม่ ต้องมีการจัดเก็บ ข้อมูลไว้ เพราะการที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากจะเป็นนัยยะว่าประชาชน ในชุมชนมีส่วนร่วมมาก นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เรื่องของชุมชนจะมีระเบียบเกี่ยวกับโครงการชุมชนเข้มแข็ง โดยชุมชน สามารถยกเลิกการเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งปีที่ผ่านมามีชุมชนที่ขอยกเลิกไปแล้ว 15 ชุมชน เมื่อคณะกรรมการชุมชนครบวาระแล้วจะมีการรับสมัครและไม่มี ผู้มาสมัครเกิน 2 ครั้งขึ้นไป ทางสำนักงานเขตสามารถทำเรื่องมาขอยกเลิก ถือว่าชุมชนนั้นไม่ประสงค์ตั้งเป็นชุมชนต่อไป นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง คำว่า “เข้มแข็ง” หมายความว่า หากทุกคนมีส่วนร่วมหรือประชาชน ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมนั้น แสดงว่ามีความเข้มแข็ง เมื่อมีส่วนร่วมมาก เป็นนัยยะหนึ่ง ว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และกรณีที่แจ้งว่าเมื่อมีการทำประชาพิจารณ์2 ครั้งแล้ว จะไม่มีคนมา เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ จะเป็นผู้ไปกระตุ้นชุมชน นายธนิต ตันบัวคลี่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม จะมีตัวชี้วัดโครงการชุมชนเข้มแข็ง ในปี 2566 ที่ผ่านมาจะมีชุมชน จำนวน 2,015 ชุมชน พบว่าชุมชนที่ผ่านเกณฑ์กระบวนการมีส่วนร่วมของคน ในชุมชนเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และดำเนินการถึง 2 ครั้ง มีจำนวน 1,666 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 83 มี 347 ชุมชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ ดังกล่าว ไม่สามารถทำเวที ประชาพิจารณ์ได้ เนื่องจากไม่สามารถรวบรวมคนในชุมชนไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ได้ นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง ฝากสำนักพัฒนาสังคม ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อมีการลงทะเบียนหรือไม่ เพราะคณะกรรมการชุมชนมาจากการเลือกตั้ง เมื่อหมดวาระจะมีข้อถกเถียง เรื่องครุภัณฑ์ต่าง ๆ อยู่จุดใดและมีการส่งมอบหรือไม่ สำนักพัฒนาสังคมควร กำหนดหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน เมื่อคณะกรรมการชุมชนหมด วาระ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อต้องมีการส่ง-รับมอบกับฝ่ายพัฒนาชุมชนฯสำนักงาน เขตหรือไม่


๘ ประธานกรรมการ สำนักพัฒนาสังคมไปประชุมหารือกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย มติที่ประชุม รับทราบ และเห็นว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอน การพิจารณาหลักเกณฑ์ฯ ของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร จึงมีมติให้แจ้ง ผู้ร้องได้ทราบต่อไป 2.2 เรื่องขอให้เลื่อนประชุมรับฟังความคิดเห็น (EIA) ครั้งที่ 1 ของโครงการ 16 เรสสิแดนซ์ ในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อให้ผู้อาศัยในรัศมี โครงการได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนมีหนังสือสอบถามและประชุมรับ ฟังความคิดเห็น ประธานกรรมการ เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการ 16 เรสสิแดนซ์ ในพื้นที่เขต คลองเตย เพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากได้รับเรื่องจาก ประธานสภากรุงเทพมหานครมาว่าจะมีการก่อสร้างคอนโด จึงเชิญมาร่วม หารือและหาแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย ขอชี้แจงว่า โครงการ 16 เรสสิแดนซ์ทางสำนักงานเขตคลองเตย ไม่มีข้อมูล แต่บริษัท อีโคซิสเต็ม เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทที่ทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้มีหนังสือลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เชิญผู้อำนวยการเขตคลองเตยเข้าร่วมประชุมเพื่อทำ ประชาพิจารณ์ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 21 มกราคม 2567 ณ โรงแรมคอลัมน์แบ งค็อก ที่อยู่ตรงข้ามกับโครงการฯ ซึ่งผู้อำนวยการได้สั่งการให้ฝ่ายโยธา พิจารณาว่าจะเข้าร่วมประชุมหรือไม่ และได้มีหนังสือเชิญประชุมของ คณะกรรมการการปกครองฯ ซึ่งผู้อำนวยการเขต และหัวหน้าฝ่ายโยธาพร้อม เจ้าหน้าที่ได้มีการลงพื้นที่โครงการฯ ซึ่งมีขนาดโครงการ 1 ไร่ 2 งาน หรือ 70.8 ตารางวา เป็นอาคารชุดพักอาศัย จำนวน 1 อาคาร 31 ชั้น กับ 6 ชั้น ใต้ดิน มีห้องชุดพักอาศัย 90 ห้อง ที่จอดรถยนต์ 188 คัน มีสิ่งอำนวยความ สะดวก ประกอบด้วย สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และพื้นที่สีเขียว ความ กว้างของถนนขอให้ทางฝ่ายโยธาเป็นผู้ชี้แจง นายนฤพนธ์ สังขริม หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย ถนนซอยสุขุมวิท 16 เริ่มจากถนนรัชดาภิเษกเชื่อมกับถนน พระรามที่ 4 บริเวณหน้าโครงการถนนมีความกว้าง 10 - 13 เมตร เมื่อเลย โครงการไปถนนจะมีความแคบ ซึ่งหน้าโครงการมีความกว้างเพียงพอที่จะสามารถ ขึ้นอาคารสูงได้ตามกฎหมาย ในเบื้องต้นทางบริษัท ซิกซ์ทีน เรสสิเดนซ์ จำกัด เกี่ยวกับแบบแปลนยังไม่ละเอียด ประธานกรรมการ มีการก่อสร้างแล้วหรือไม่ เป็นโครงการอย่างเดียวใช่หรือไม่


๙ นายนฤพนธ์ สังขริม หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย ยังไม่มีการก่อสร้าง ผู้ช่วยเลขานุการขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม นางสาวสุวรรณา ยิ้มละมัย ผู้ช่วยเลขานุการ มี 4-5 หน่วยงานขอให้เลื่อนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปก่อน ขอศึกษาก่อน คือในซอยสุขุมวิท 16 และซอยสุขุมวิท 18 เนื่องจากมีประชาชนเดือดร้อน ประธานกรรมการ ทางสำนักงานเขตทราบหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย ประชาชนไม่ได้ร้องเรียนมาที่สำนักงานเขต อยากให้เลื่อนทำ ประชาพิจารณ์ ครั้งที่ 1 วันที่ 11 มกราคม ออกไปก่อน ประธานกรรมการ การเลื่อนประชาพิจารณ์เป็นอำนาจของใคร ประชาชนเดือดร้อน เรื่องอะไร เนื่องจากยังไม่มีการก่อสร้าง หรือให้สำนักงานเขตมอบเจ้าหน้าที่ ฝ่ายโยธาลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง สำนักงานเขตอาจไม่ทราบ แต่สำนักการโยธาอาจทราบเกี่ยวกับ เรื่องนี้แล้ว กรณีการอนุญาตก่อสร้างอาคาร ไม่เกิน 8 ชั้น เป็นอำนาจของ สำนักงานเขต และเกิน 8 ชั้นเป็นอำนาจของสำนักการโยธา มีการแจ้งเรื่องมาที่ สำนักงานเขตหรือไม่ นายนฤพนธ์ สังขริม หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย หากมีโครงการก่อสร้างสำนักการโยธาจะเป็นผู้แจ้งมาที่ สำนักงานเขต นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง โครงการเดินหน้าแล้วหรือไม่ นายนฤพนธ์ สังขริม หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย ขณะที่สำนักงานเขตลงพื้นที่สำรวจยังไม่มีการขึ้นโครงการ นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย ยังไม่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง หากยังไม่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ชื่อว่าจะ เกิดปัญหา เนื่องจากมีการสร้างอาคารชั้นใต้ดิน 6 ชั้นในเนื้อที่ 1 ไร่ ทำให้ อาคารทรุดได้ มีกฎหมายการควบคุมการก่อสร้างชั้นใต้ดินหรือไม่ชั้นใต้ดิน 6 ชั้น ลึกลงไป 20 เมตรได้หรือไม่


๑๐ ผู้จดรายงานการประชุม (นางสาวคฤห์อนงค์ สิริวิภาวี) ผู้ช่วยเลขานุการ นายนฤพนธ์ สังขริม หัวหน้าฝ่ายโยธา สำนักงานเขตคลองเตย ชั้นละประมาณ 2.50 เมตร ประธานกรรมการ ครั้งต่อไปควรหารือกับสำนักการโยธา นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้อนุมัติ 8 ชั้น เมื่อเกิน 8 ชั้น ให้สำนักการโยธา ร่วมกับสำนักงานเขตในการอนุมัติ ประธานกรรมการ การประชุมครั้งต่อไปให้ผู้ช่วยเลขานุการ เชิญสำนักการโยธา มาชี้แจงประเด็นนี้ มติที่ประชุม รอการพิจารณา ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น - กำหนดการประชุมครั้งต่อไป ประธานฯ กำหนดการประชุมครั้งต่อไปในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 4 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ที่ประชุม รับทราบ เลิกประชุมเวลา 12.00 น.


รายงานการประชุม คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ครั้งที่ 26/2566 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม 4 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ผู้มาประชุม 1. นายนวรัตน์ อยู่บำรุง ประธานกรรมการ 2. นายวิพุธ ศรีวะอุไร รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง 3. นายวิรัช คงคาเขตร รองประธานกรรมการ คนที่สอง 4. นายกฤษฎ์ คงวุฒิปัญญา กรรมการ 5. นายณภัค เพ็งสุข กรรมการ 6. นายปวิน แพทยานนท์ กรรมการ 7. พ.ต.อ.ภิญโญ ป้อมสถิตย์ กรรมการ 8. นางสาวศศิธร ประสิทธิ์พรอุดม กรรมการ 9. นางอนงค์ เพชรทัต กรรมการ 10. นายขวัญชาติ ดำรงค์ขวัญ เลขานุการ 11. นางสาวสุวรรณา ยิ้มละมัย ผู้ช่วยเลขานุการ 12. นางสาวมณีรัตน์ ศรีกำเหนิด ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1. นางสาวนภัสสร พละระวีพงศ์ กรรมการ (ลา) 2. นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ กรรมการ (ลา) 3. นางลักขณา ภักดีนฤนาถ กรรมการ (ลา) ผู้เข้าร่วมประชุม 1. นายสุรัช ติระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมอาคาร 2. นายพัฒนเทพ เครือชะเอม ผู้อำนวยการส่วนควบคุมอาคาร 1 3. นายวราพงษ์ ชูวิทย์วรกุล นายช่างโยธาอาวุโส 4. ว่าที่ร้อยตรีวิรัช ตันชนะประดิษฐ์ ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง 5. นายเอกชัย ประคุมศรี นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ 6. นายดำรง เจริญยิ่ง วิศวกรโยธาชำนาญการ สำนักงานควบคุมอาคาร


-2- 7. นายสุวิทย์ วรรณประดิษฐ์ ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEM ENGINEERING CONSULTANT จำกัด (บริษัทที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการของโครงการ) 8. นางสาวเสาวนีย์ ศุภมงคลดี ผู้ติดตามสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เริ่มประชุมเวลา 10.30 น. เมื่อคณะกรรมการฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว ประธานกล่าว เปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุมดังนี้ ระเบียบวาระที่1 เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี ระเบียบวาระที่2 เรื่องสืบเนื่อง - เรื่องผู้อาศัยในชุมชนซอยสุขุมวิท 16 และซอยสุขุมวิท 18 ในพื้นที่เขต คลองเตยขอให้เลื่อนวันประชุมรับฟังความคิดเห็น (EIA) ครั้งที่ 1 ของโครงการ16 เรสสิเดนซ์ ในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อให้ผู้อาศัยในรัศมีโครงการได้ศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนมีหนังสือสอบถามและประชุมรับฟังความคิดเห็น (EIA) ประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยวันนี้ได้เชิญ สำนักการโยธาและสำนักสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนของ ผู้อาศัยในชุมชนซอยสุขุมวิท 16 และซอยสุขุมวิท 18 ในพื้นที่เขตคลองเตยขอให้ เลื่อนวันประชุมรับฟังความคิดเห็น (EIA) ครั้งที่ 1 ของโครงการ 16 เรสสิเดนซ์ ใน พื้นที่เขตคลองเตย เพื่อให้ผู้อาศัยในรัศมีโครงการได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน มีหนังสือสอบถามและประชุมรับฟังความคิดเห็น (EIA) นายวราเทพ ชูวิทย์วรกุล เรื่องร้องเรียนดังกล่าว ชื่อโครงการ 16 Residenceเป็นอาคารอยู่อาศัยรวม นายช่างโยธาอาวุโส โดยทั่วไปก่อนการก่อสร้างโครงการต้องมีการดำเนินการ EIA (EnvironmentalImpact Assessment) คือการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนบริเวณใกล้เคียง โดยเรื่องร้องเรียนดังกล่าว มีประชาชนในชุมชนได้ ร้องเรียนถึงสำนักการสิ่งแวดล้อมเช่นกัน โดยขอให้เลื่อนการรับฟังความเห็นครั้งที่ 1 ซึ่งเดิมกำหนดประชุมวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ขอให้เลื่อนไปประมาณ 2 เดือน โดยสำนักสิ่งแวดล้อมได้มีหนังสือประสานถึงประธานที่ปรึกษาที่จะทำรายงานแจ้ง ทางโครงการ ทั้งนี้ ทราบข้อมูลว่าบริษัทที่ปรึกษาโครงการเลื่อนตามที่ชุมชนมีความ ประสงค์โดยจะรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งเป็นช่วงประมาณเดือนมกราคม 2567


-3- วันนี้ได้เชิญบริษัทที่ปรึกษาผู้ชำนาญการของบริษัท ECOSYSTEM ENGINEERING CONSULTANT จำกัด เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อชี้แจงรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมให้ คณะกรรมการฯ ต่อไป ทั้งนี้ สำนักสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับข้อมูลจากโครงการฯ นายวิพุธ ศรีวะอุไร เรื่องนี้ประเด็นหลักๆ คือ การจัดให้มีการประชุม แต่มีประชาชน รองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ในซอยสุขุมวิท 16 และซอยสุขุมวิท 18 ได้ส่งหนังสือเลื่อนออกไป เนื่องจากยังไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับโครงการนี้ให้ประชาชนได้รับทราบมาก่อนใช่หรือไม่ นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์และเริ่มให้ข้อมูลกับชุมชน ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEMฯ ตามแนวทาง สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม (สพ.) กำหนดไว้ ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเป็นกระบวนหนึ่งของการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ประกาศไว้อย่างชัดเจน ซึ่งขณะนี้ ยังดำเนินการอยู่ในขั้นตอนที่ 1 เรื่องการเปิดเผยข้อมูลให้กับชุมชนได้รับทราบ คือ แบบประชาสัมพันธ์โครงการ16 Residenceซึ่งจะมีรายละเอียดโครงการเบื้องต้น ขอบเขตการศึกษาว่าบริษัทที่ปรึกษาฯ จะศึกษาเรื่องใดบ้างตามขอบเขตที่สำนักงาน นโยบายฯกำหนด ส่วนเรื่องของการพัฒนาโครงการหรือเรียกอย่างหนึ่งว่าทางเลือกในการ พัฒนารูปแบบตัวอาคารมีขั้นตอนในการพัฒนาอย่างไรและข้อเสนอของโครงการเรื่องการ บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อแจ้งให้ชุมชนได้รับทราบเบื้องต้น ลำดับขั้นตอนต่อไปคือ การสอบถามชุมชนว่ารูปแบบในการรับฟังความคิดเห็นนั้น ทางชุมชนมีความเห็นอย่างไร ซึ่งโครงการเสนอ 4 รูปแบบ รูปแบบที่1 แบบสอบถามจะตอบในแบบสอบถามเลยหรือ ตอบกลับทางเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Google form) โดยสามารถสแกน QR Code ที่ส่วนท้ายเอกสาร รูปแบบที่ 2 การสัมภาษณ์โดยทีมงานเข้าไปสัมภาษณ์ตามบ้านโดยตรง รูปแบบที่ 3 จัดประชุมกลุ่มย่อย ถ้าชุมชนต้องการให้มี รูปแบบที่ 4 การจัดประชุม เปิดเวทีรับฟังความเห็น โดยทั้ง 4 รูปแบบเป็นทางเลือกให้ชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ บริษัทที่ปรึกษาฯได้ประชาสัมพันธ์ไปในขณะนี้แล้ว ประธานกรรมการ ประชาชนได้ตอบแบบสอบถามกลับมาให้บริษัทฯ หรือไม่ นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ เริ่มมีการส่งตอบรับกลับมาบางส่วนแล้ว โดยที่ได้หลักๆ คือ ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEMฯ จากชุมชนตามที่มีรายชื่อประมาณ 10 - 20 คน โดยขอให้เลื่อนการจัดประชุม ประธานกรรมการ ขอทราบเหตุผลของชุมชน นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ ชุมชนต้องการทราบข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม และขอศึกษาข้อมูล ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEMฯ ก่อนอย่างน้อย 60 วัน ซึ่งทางบริษัทฯ ก็ดำเนินการให้แล้ว โดยแต่เดิมบริษัทฯ ได้ทำ ประชาสัมพันธ์ รอบที่ 1 ในวันที่ 16 - 17 ตุลาคม 2566 และได้ถามในที่ประชุม


-4- ว่าชุมชนสะดวกเข้าร่วมประชุมครั้งต่อไปได้หรือไม่ โดยกำหนดในวันที่19 พฤศจิกายน 2566 ทางชุมชนตอบกลับว่าไม่สะดวกต้องการจะให้เลื่อนประชุมออกไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ก็รับฟัง ทั้งนี้ ชุมชนไม่จำเป็นที่ต้องไปแจ้งหน่วยงานอื่นก็ได้เนื่องจากทางบริษัทฯ ยินดี ที่จะรับฟังทุกเรื่อง เช่นกรณีที่ชุมชนขอข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566 และ บริษัทฯ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 และชุมชนขอให้เลื่อน เพื่อขอศึกษาโครงการก่อนนั้น ทางบริษัทฯ ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้อย่างละเอียด จัดใน การนำเสนอรูปแบบ Power Point เพื่อให้ชุมชนได้นำไปอ่าน และเป็นเอกสารชุดเดียวกัน กับวันที่จะประชุม โดยกำหนดวันเวลาประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 21 มกราคม 2567 ทั้งนี้ หากนับระยะเวลาจากวันที่16 - 17 พฤศจิกายน 2566 ไปถึงวันที่ 21 มกราคม 2567 ระยะเวลาเกิน 60 วัน ที่ชุมชนต้องการไปแล้ว โดยบริษัทฯ ดำเนินการตามชุมชนต้องการ โดยรายละเอียดโครงการที่แจ้งให้ชุมชนได้รับทราบนั้น มีดังนี้ รอบที่1 ส่วนที่ 1จะต้องเสนอรูปแบบรายละเอียดโครงการเป็นโครงการ เป็นแบบใดความสูงเท่าใด มีจำนวนกี่ห้อง มีจำนวนกี่ชั้น ฐานรากลึกเท่าใดเป็นรายละเอียด ในตัวแบบ ส่วนที่ 2 การพัฒนาโครงการ โดยสถาปนิกจะมีทางเลือกหลายทางเลือก โดยการนำเสนอลักษณะนั้น ต้องมีที่มาเป็นอย่างไร มีผลดีกับชุมชนอย่างไรและรวมถึงด้าน สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนได้พิจารณารูปแบบที่มาของโครงการ และชุมชนมีข้อทักท้วง หรือไม่ซึ่งจะมีผังรายละเอียดให้และส่วนที่ 3 ขอบเขตที่จะศึกษาสิ่งแวดล้อมใน 4 ทรัพยากรหลัก คือ กายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ คุณภาพชีวิต ทางชุมชน ยินยอมหรือไม่ หรือจะให้บริษัทได้ศึกษาเพิ่มเติมจากที่นำเสนอ เช่น ต้องการให้ศึกษาเรื่อง จราจรอย่างละเอียด ซึ่งปกติทางบริษัทฯ จะเก็บข้อมูลวันธรรมดา และวันหยุด จำนวน 2วัน หรือชุมชนอาจจะให้เก็บข้อมูล จำนวน 5 วัน เป็นต้น รอบที่ 2 ผลการศึกษาจากรอบที่ 1 จะออกมาเป็นแบบร่างรายงาน ผลการศึกษาฯ จะมีรายละเอียดได้แก่ฝุ่น เสียงดัง สะเทือนและความเดือนร้อนต่าง ๆ ที่ อาจจะเกิดขึ้นจากการคาดการณ์ แล้วโครงการนำเสนอมาตรการในการลดผลกระทบ จากสิ่งแวดล้อมแล้ว ชุมชนรับได้หรือไม่ หรือชุมชนต้องการให้เพิ่มมาตรการอะไรก็สามารถ หารือกันได้ เพื่อให้ได้ตัวมาตรการที่ชุมชนรับได้ประกอบรายงานผลการศึกษา เพื่อบริษัทฯ จะได้เสนอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม เป็นลำดับ แต่หนังสือที่แจ้งเรื่องร้องเรียนฯ มานั้น ชุมชนน่าจะกังวลว่า หากมีการประชุมเพียง 2 ครั้งแล้วสรุปผลเลยแล้วชุมชนจะไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งที่ผ่าน บริษัทฯ จะแจ้งเวทีการประชุมให้ทราบ ซึ่งขั้นต่ำที่สพ. กำหนดไว้จะต้องจัดให้มีเวที อย่างน้อย 2 รอบ แต่บริษัทฯ จัดเวทีการประชุมประมาณ 4 รอบ เพื่อรวบรวมประเด็นที่ ชุมชนข้องใจและต้องการให้เพิ่มเติมอะไรจนกระทั่งจบขั้นตอนสุดท้ายแล้ว บริษัทฯ ถึงจะ ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป


-5- นายวิพุธ ศรีวะอุไร บริษัทของท่านเคยดำเนินการโครงการใหญ่ๆ มาจำนวนกี่โครงการ รองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ขอโครงการที่อยู่ในชุมชนเมือง นายสุวิทย์ วรรณประดิษฐ์ บริษัทที่ปรึกษาฯ เริ่มทำ EIA ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ประสบการณ์ทำงาน ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEMฯ 30 ปี แต่ส่วนตัวดำเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โครงการใหญ่หลายโครงการ เฉพาะงาน อาคารไม่น้อยกว่า 300 โครงการส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น บริษัท ASIAN PROPERTYจำกัด บริษัท แสนสิริ จำกัด บริษัทORIGIN PROPERTYจำกัด (มหาชน) บริษัท SENA DEVELOPMENT จำกัด (มหาชน) เป็นต้น นายวิพุธ ศรีวะอุไร บริษัท ORIGIN PROPERTY จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่บางรักที่มี รองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ปัญหาเช่นกัน คือ คอนโด PARK ORIGIN พระราม 4 ชุมชนสามย่าน เนื่องจากโครงการนี้ ช่วงของซอยสุขุมวิท 16 และซอยสุขุมวิท 18 ซึ่งประชาชนแถวนั้นเป็นลูกบ้านประชาชน ที่จะอาศัยอยู่บริเวณอยู่มานานมากเพราะฉะนั้นย่อมมีความเข้มแข็งการพูดคุยยากง่าย ต่างกัน ซึ่งขณะนี้ชุมชนได้ทราบว่าจะมีโครงการเกิดขึ้น ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องกังวล และเป็นทางเลือกหนึ่งที่ชุมชนเลือกในการส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาสภากรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยเหลือ แต่หากเจอบริษัทที่ปรึกษาโครงการคุยง่ายคุยดีเช่นอย่างท่าน ยอมไม่มี สิ่งสะท้อนอะไร ทั้งนี้ทางสภากรุงเทพมหานครได้เรียกประชุมถึงแม้ในขั้นตอนนี้ยัง ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ก่อนที่จะเริ่มการจัดทำรายงาน EIA เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยถึงจะส่งรายงาน ให้กับ คชก. นอกจากนี้ สำนักงานเขตบางรักก็มีปัญหา EIA จำนวนมาก ทั้งโครงการที่ อยู่ระหว่างการก่อสร้างและสร้างเสร็จไปแล้วซึ่งประชาชนในพื้นที่ก็เป็นกังวลเหมือนกัน ทั้งนี้ ชุมชนก็คาดหวังว่าเมื่อมีการจัดประชุมในเดือนมกราคม 2567 บริษัทที่ปรึกษาฯ จะสามารถตอบคำถามได้ทุกเรื่องเช่น โครงการสร้างมีจำนวนกี่ชั้น ความสูงและความกว้าง จำนวนเท่าใด มีระยะห่างจากพื้นที่สาธารณะเท่าใด รวมถึงจุดเข้า-ออกพื้นที่จอดรถ การจราจรเข้า-ออกส่งผลกับคนในบริเวณนั้นหรือไม่การบริหารการจัดการเกี่ยวกับ ไฟฟ้า-ประปา รวมไปถึงปัญหาเสียงดังของที่จอดรถ เนื่องจากปัจจุบันที่จอดรถส่วนใหญ่ จะเป็น Auto parking” หรือ “ระบบจอดรถอัตโนมัติซึ่งคาดการว่าขั้นต่ำ ร้อยละ 60 จากปริมาณของผู้อยู่อาศัยทั้งหมดและสิ่งที่ตามมาเสียงดังของเครื่อง Auto parking ที่รบกวนผู้คนในบริเวณนั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องงฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะ PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร และส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ทางบริษัทฯ มีมาตรการบรรเทาและการ แก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด และจากการเลื่อนการประชุมไปแล้ว และนัดประชุมใหม่ ซึ่งน่าจะมีการติดตามเรื่องนี้อีกครั้งว่าทางบริษัทฯ ได้มีการตอบ คำถามประชาชนในเรื่องใดและอย่างไร ผลของการประชุมเป็นอย่างไรและข้อสงสัย ของประชาชนได้รับคำตอบที่ชัดเจนและพอใจหรือไม่ ปัจจุบันมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นของ


-6- โครงการต่างๆ ที่ EIA ผ่าน ซึ่งนั้นไม่ได้เป็นการการันตีว่าจะสามารถส่งมอบโครงการ ได้เสร็จสิ้นเรียบร้อย เนื่องจากมีเรื่องการฟ้องร้องเกิดขึ้น เช่น ตัวอย่างของพื้นที่ วงศ์สว่างอโศกและสาทร ที่มีการให้เพิกถอนหรือหยุดการก่อสร้าง โดยเป็นเรื่องของ แสงสะท้อนของตึกที่ไปเข้าบ้านคนอื่นและแก้ไขไม่ได้ยังรวมไปถึงเรื่องของทิศทางลม โครงการขึ้นมาสูงๆในทิศทางลมของชุมชนรอบๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปไม่แปลก ใจว่าทำไมถึงส่งเรื่องมาถึงสภากรุงเทพมหานครให้ช่วยกำกับดูแลในเรื่องนี้ ประธานกรรมการ ขอให้ทำงานให้รัดกุม และทำอย่างไรให้ประชาชนเดือดร้อน น้อยที่สุด และสอบถามความสูงของคอนโดมิเนียมมีจำนวนกี่ชั้น นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ อาคารชุด ความสูงจำนวน 31 ชั้น จำนวน 90 ห้อง โครงการนี้มี ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEMฯ จำนวนน้อยกว่าปกติโดยทั่วไปหากความสูงขนาดนี้จะมีจำนวนห้องมากกว่านี้ ประธานกรรมการ บริเวณนั้นมีชุมชนอยู่จำนวนมากหรือไม่ นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ มีจำนวนชุมชนมากและหนาแน่น โดยที่จอดรถสามารถจอดรถได้ ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEMฯ 188 คัน จากจำนวนห้องพัก 90 ห้อง ซึ่งนับว่าที่จอดรถเป็น 2 เท่าและเพียงพอแล้ว ประธานกรรมการ สำนักการโยธาทราบเรื่องนี้หรือได้รับหนังสือแล้วหรือไม่ นายสุรัช ติระกุล โครงการฯ อยู่ขั้นตอนการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น แต่ก็มีหนังสือเชิญ ผู้อำนวยการสำนักงาน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเช่นกัน โดยทางสำนักการโยธาจะส่งเจ้าหน้าที่เพื่อรับฟัง ควบคุมอาคาร ความคิดเห็น ประธานกรรมการ ทางสภากรุงเทพมหานครยินดีที่จะรับฟังทั้งสองฝ่าย และต้องการ ทราบข้อสรุปการที่เปิดประชุมรับฟังความเห็นคิดของประชาชน ส่งข้อมูลต่างๆให้ ประชาชนได้รับรู้ และสามารถตอบปัญหาของชุมชนได้ นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ รอบที่ 1 เน้นรับฟังว่าชุมชนกังวลเรื่องอะไร สิ่งไหนที่ตอบคำถามได้ ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEM จะตอบทันทีแล้วต้องการให้ศึกษาอะไรเพิ่มเติมในระดับลึกให้รายละเอียด จะ กลับมาตอบคำถามในรอบทันไป โดยปกติสมมุติมีคำถาม 50 ข้อ ตอบไล่ไปรายข้อ ที่ชุมชนมีข้อซักถามมาชี้แจงเป็นรายประเด็นไป อาจจะต้องมีบ้างประเด็นต้อง ยอมรับ เช่นจะจ่ายเท่าไหร่เยียวยาอย่างไร อะไรที่สามารถชี้แจงได้หลักในการทำ ต้องคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม นายวิรัช คงคาเขตร ตอนนี้ทางบริษัทนี้เลื่อนไปให้แล้วใช่หรือไม่ เพราะมีหนังสือแจ้งเข้า รองประธานกรรมการคนที่สอง มาขอเลื่อนการประชุม


-7- นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อยต้องทำ 2 รอบ รอบที่ 1 ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEM เน้นรายละเอียดโครงการที่จะทำมีอะไร ศึกษาอะไรบ้าง และพัฒนาโครงการมีแนว ทางเลือกระดับขนาดโครงการอย่างไร และข้อกังวลหลักคือหัวใจสำคัญเพื่อนบ้าน ห่วงอะไรให้หารายละเอียดเพื่อกลับมาตอบคำถาม โดยรอบที่ 1 ที่ได้สอบถามไป วันเวลาเป็นหัวข้อสำคัญ วันเวลาและสถานที่ท่านเห็นว่าอย่างไร และได้คำตอบมา เป็นเวลา 60 วัน หลังจากที่ได้เอกสารชัดเจนครบถ้วน นายวิรัช คงคาเขตร ตอนนี้ทางบริษัทได้เลื่อนตามที่ชุมชนร้องขอแล้วก็ต้องทำตาม รองประธานกรรมการคนที่สอง กระบวนการ แต่เรื่องจะไม่จบในวันนี้ ต้องมีกระบวนการต่อไปที่ท่านไปรับฟังมี 2 ถึง 3 ขั้นตอน อาจจะมีผลย้อนกลับมาสู่สภากรุงเทพมหานครอีกครั้งได้ขอทราบข้อมูล โครงการของท่าน เป็นโครงการ 31 ชั้น ที่จอดรถเป็นชั้นใต้ดิน ใช่หรือไม่ นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ ที่จอดรถชั้นใต้ดินลงไป 6 ชั้น ความลึกของเสาเข็มปกติอาคาร ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEM พิเศษซึ่งเป็นอาคารใหญ่ ประมาณ 50 ถึง 60 เมตร เรื่องของ เสาเข็มเจาะลงไปของ ทางกรุงเทพมหานคร ถ้าเจาะไม่ถึง 50 ถึง 60 เมตร อาจจะมีปัญหา นายวิรัช คงคาเขตร จากประสบการณ์ที่ได้พบมา อาคารที่ลึก 60 เมตร เกิดปัญหา รองประธานกรรมการคนที่สอง แน่นอน นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ จากชั้นใต้ดินมี 6 ชั้น ความลึก 18 เมตร ส่วนเสาเข็มความลึก ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEM 60 เมตร นายวิรัช คงคาเขตร จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหลายโครงการ โครงการแรกๆ ที่จอดรถ รองประธานกรรมการคนที่สอง จะไม่มีชั้นใต้ดิน ใช่หรือไม่ นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ ใช่ สมัยก่อนจะมีเรื่องของต้นทุน เนื่องจากต้นทุนจะสูงทำให้ไม่มี ผู้แทนบริษัท ECOSYSTEM ชั้นใต้ดินที่จอดรถ นายวิรัช คงคาเขตร สอบถามสำนักการโยธา มีกฎหมายควบคุมระยะความลึกหรือไม่ รองประธานกรรมการคนที่สอง นายสุรัช ติระกุล ไม่มีกฎหมายควบคุมเรื่องระยะความลึก ผู้อำนวยการสำนักงาน ควบคุมอาคาร นายวิรัช คงคาเขตร ที่จอดรถความลึก 18 เมตร อยู่ในการควบคุมของกรุงเทพมหานคร รองประธานกรรมการคนที่สอง หรือไม่


-8- นายสุรัช ติระกุล อยู่ในการควบคุมของกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ควบคุมอาคาร นายสุวิทย์วรรณประดิษฐ์ มาตรการของทางสิ่งแวดล้อมคือหัวใจสำคัญ แต่เมื่อเกิดปัญหา บริษัท ECOSYSTEM ต้องลดให้อยู่ไม่ให้เกินมาตรฐาน ถ้าเกิดผลกระทบแล้วจำเป็นต้องเยียวยา ประธานกรรมการ ขอให้บริษัทที่ปรึกษาฯ ดำเนินการเจรจาให้เรียบร้อย และขอให้ บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้เชิญสำนักการโยธาเข้าประชุมร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินการแก้ไข เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อจะได้ไม่เกิดการร้องเรียนซ้ำอีก ดังนั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่าเรื่องร้องเรียนฯ ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนแรกของบริษัทที่ปรึกษาฯ ซึ่งสามารถ ไกล่เกลี่ยพูดคุยกันได้ด้วยดี มติที่ประชุม รับทราบ และเห็นว่าเรื่องร้องเรียนฯ ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอน ดำเนินการของบริษัทที่ปรึกษาฯ ซึ่งสามารถไกล่เกลี่ยพูดคุยกันได้ด้วยดี จึงมีมติ แจ้งผู้ร้องได้ทราบผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนฯ ต่อไป ระเบียบวาระที่3 เรื่องอื่นๆ 3.1 ตั้งอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการแทน 1.คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยได้ตั้ง นางสาวคฤห์อนงค์ สิริวิภาวี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ แต่เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ในวันพฤหัสบดีที่7 ธันวาคม 2566 ได้ จึงตั้งนางสาวมณีรัตน์ ศรีกำเนิด ปฏิบัติหน้าที่แทน 2. คณะอนุกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ชุดที่ 2 ได้ตั้งนางสาวทัดดาว ตั้งตรงเจริญ เป็นรองประธานอนุกรรมการ คนที่สอง แต่เนื่องจาก ไม่สามารถปฏิบัติงานในคณะอนุกรรมการฯ ได้ จึงขอตั้งนายชนะพนธิ์ ศรีรัตนพัฒน์แทน 3. คณะอนุกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ชุดที่ 11 ได้ตั้งนางสาวสุกัญญา พุ่มสงวน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ แต่เนื่องจาก ไม่สามารถปฏิบัติงานในวันที่ 19ธันวาคม 2566ได้ จึงขอตั้งนางสาวธัญญลักษณ์ ทองชัย ปฏิบัติงานแทน มติที่ประชุม เห็นชอบ


-9- 3.3 กำหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุมครั้งต่อไป กำหนดการประชุมครั้งต่อไป วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 4 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2ดินแดง ที่ประชุม รับทราบ เลิกประชุมเวลา 12.00 น. (นางสาวสุวรรณา ยิ้มละมัย) ผู้ช่วยเลขานุการ ผู้จดรายงานการประชุม


ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง : ผ ู ้เรื่องร้องเรียนกรณีอาคารพาณิชย์ ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ บนอาคารพาณิชย์ติดกับบ้านผู้ร้อง โดยไม่มี ความปลอดภัย ขาดการบำรุงรักษา ทำให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน


เอกสารประกอบการชี้แจง ระเบียบวาระ 3 ของ สำนักงานเขตบางนา


Click to View FlipBook Version