The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

๖๓๒๐๑๑๗๑๙๐ Ebook -วิธีการนําภาษาสันสกฤตในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

๖๓๒๐๑๑๗๑๙๐ Ebook -วิธีการนําภาษาสันสกฤตในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย

๖๓๒๐๑๑๗๑๙๐ Ebook -วิธีการนําภาษาสันสกฤตในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย

วิธีการนําภาษาสันสกฤตในรูปแบบ
วรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย



๖๓๒๐๑๑๗๑๙๐ นางสาวญาณิศา เพ็ชรมี

คําสันสกฤตบางคําไม่มี เรผะ (รหัน) แต่เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทยนิยมเติมเรตะ เช่น

ขรฺค ในภาษาไทยใช้ว่า ขรรค์ เช่น ในคําว่าพระขรรค์ชัยศรี

ปรตุยาสถรณ “ ” บรรจถรณ์ (เครื่องปูลาด)

รร เป็นตัวอักษรที่แปลงมาจาก รฺ ที่เรียกว่า ร-เรผะ (อ่านรอ-เร-ผะ)

ในภาษาสันสกฤตภาษาไทยเรียกว่า รอ หัน รร ใช้แทน เสียงแตกต่างกันดังนี้

๑. รร แทนเสียง /อัน/ คือ เสียงสระ ๓. รร แทนเสียงสระ /-ะ/ ส่วนพยัญชนะที่ตาม รร มา ใช้เป็น ๕. คำบางคำ อาจออกเสียง รรได้หลายแบบ เ
/-ะ/ ตามด้วยเสียงตัวสะกดแม่กน เช่น ตัวสะกดและใช้ออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นประสมกับสระ /-ะ/ ช่น ภรรยา อ่านว่าพัน-ยา หรือ พัน-ระ-ยา

พรรษา จรรยา โดยออกเสียงเป็นพยางค์เบา เช่น สรรพคุณ กรรมการ




๒. รร แทนเสียงสระ /-ะ/ และใช้พยัญชนะที่ตาม รร . ๔. รร แทนเสียงสระ /-ะ/ ตามด้วยเสียงตัวสะกดแม่กน
มาเป็นตัวสะกด เช่น ธรรม วรรษ และตามด้วยพยางค์เบา ระ เช่น สรรพางค์

พยัญชนใะนทีก่มาีจรุดนํา(ม.)าอใชยู้่ใในต้ภ(ขา้ษางาลไ่ทางย)หเรชื่อนในจฺว,รมรฺณ
, กศฺร.รเมป็ไนทพยยัจญะชใชน้พะกยึั่งญมชานตะรเาต็หมรมือาเตป็รนาตัวสะกด

ในสันสกฤตคำว่า วิทฺยุ ภาษาไทยใช้ว่า วิทยุ (ออกเสียงว่า วิทะยุ)

สฺกนธ “ สกนธ์ (ออกเสียงว่า สะกน) สฺวสฺติ “ สวัสดี (ออกเสียงว่า สะหวัดดี)

ไอศฺวรย “ ไอศวรรย์ (แปลว่า อํานาจ) อีศฺวร “ อีศวร (อ่านว่า อีสวน คือพระอิศวร)




คําสันสกฤตที่นํามาใช้ในภาษาไทย โดยปรกติจะไม่มีวิภัตติปรากฏ คือต้องลบวิภัตติทิ้ง

แต่บางคําต้องลงวิภัตติเพิ่มเข้าไป เพื่อให้มีเสียงสัมผัสในวรรณกรรมร้อยกรอง เช่น

จิร ในภาษาไทยใช้ว่า จิรัง และ โมห “ โมโห, ความหลง วิภัตติ คือ


ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ)

เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล.

คําสันสกฤตบางคํา เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทย ใช้พยัญชนะตัวที่ ๒ หรือตัวอื่นเป็นตัวสะกดและใส่
เครื่องหมายทัณฑฆาตบนพยัญชนะที่เหลือ เพื่อไม่ให้มีเสียง

เช่น สันสกฤตคำว่า ยกฺษ (ออกเสียงว่า ยักษะ) ในภาษาไทยใช้ว่า ยักษ์
ลฤษณ (ออกเสียงว่า ลักษณะ) “ ลักษณ์
การณ “ การณ์
วิจารณ “ วิจารณ์




วิธีการนําเอาคําภาษาสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทยตามที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงแนวทางและ
ตัวอย่างที่ผู้สนใจจะศึกษาและนํามาประยุกต์ใช้กับคําภาษาสันสกฤตอื่น ๆ ได้โดยอนุโลม เมื่อคําภาษา
สันสกฤตนั้น ๆ อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกสั้นว่าสามารถยืดหยุ่นได้แต่ต้องถูกต้อง
ตามเกณฑ์นั่นเอง

บางครั้ง คําภาษาสันสกฤตจะคงรูปเดิม เมื่อนํามาใช้ในภาษาไทย
เพียงแต่จะลบจุดใต้พยัญชนะตัวซ้อนออกเท่านั้น

เช่น คําว่า กลยาณ ภาษาไทยใช้ว่า กัลยาณะ เมื่อมีนามตามหลัง
ต้องลบสระ อะ ที่ ณะ ออกไป เช่น กัลยาณชน มาจาก คําภาษาบาลีว่า กลฺยาณชน เป็นต้น




วรรณคดีที่ใช้ภาษาสันสกฤต ได้แก่ เสือโฆษคำฉันท์

ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ปรากฏคำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในสมุทรโฆษคำฉันท์
๏ เนืองนาคอสุรกษัตรีย์ โอนมณีโมลี
บำวงในบาทกมล

บทสรุป

คำภาษาสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีทั้งที่เป็นคำนาม คำที่มีสภาพเท่ากันคำนาม แต่จะมีการเปลี่ยนรูปและเสียงไป
บ้าง ตัดรูปวิภัตติ์ออกบ้าง ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตบนพยัญชนะบ้าง ลดพยัญชนะบางตัว เพิ่มเสียงและเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ
สระบางตัว รวมถึงแปลพยัญชนะบางตัวไป แต่ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงพยัญชนะต่างๆ จะให้ประโยชน์ด้านการประพันธ์
วรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยวิธีที่นำคำสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย ก็มี ๒ ลักษณะ คือ
๑) การเปลี่ยนเสียงสระ
๒) การเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ
ในการเปลี่ยนเสียงสระ จะพอสรุปวิธีการนำมาได้ ๑๓ ลักษณะ เช่น สระเสียงสั้น ออกเป็นเสียงยาว เช่น ภาษาสันสกฤตว่า ฤษิ
ภาษาไทยใช้ว่า ฤๅษี เป็นต้น ในการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะจะพอสรุปวิธีการนำมาได้ ๓๐ ลักษณะ เช่น คําสันสกฤตว่า “หฤทย”
คนไทยใช้ว่า “หฤทัย” และ “ทัย”เช่น พระทัย คําสันสกฤตว่า กษมา ภาษาไทยใช้ว่า ษมา เช่น ขอษมาลาโทษ คําสันสกฤตว่า
ศรามเณร ภาษาไทยใช้ว่า สามเณรหรือเณร เป็นต้น ดังนั้น การเลือกใช้คำสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย ทั้ง ๒ ลักษณะดังที่
กล่าวมา เป็นสิ่งควรค่าที่จะศึกษาและทำความเข้าใจให้ชัดเจน เพื่อให้การใช้ภาษาไทยมีความถูกต้องและเหมาะสม.

บรรณานุกรม

ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร .(2562).วิธีการนําภาษาสันสกฤต ในรูปแบบวรรณกรรมมาใช้ในภาษาไทย
[เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์].สํานักงานอธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


Click to View FlipBook Version