The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภัยบนโลกออนไลน์ (ตามเลขที่ ที่กำหนด)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by yanawit09, 2021-09-21 10:24:06

ภัยบนโลกออนไลน์ (ตามเลขที่ ที่กำหนด)

ภัยบนโลกออนไลน์ (ตามเลขที่ ที่กำหนด)

ความรุนแรงที่แฝง
อยู่ในโลกออนไลน์

โลกออนไลน์ในยุคปั จจุบันเข้าถึงได้ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก
โดยเฉพาะเมื่อมีสมาร์ทโฟน

เกิดขึ้นทำให้ใคร ๆ ก็เข้าถึงโลกออนไลน์ได้แม้ไม่มี
คอมพิวเตอร์ แค่เพียงสัมผัสหน้ าจอโทรศัพท์เพื่อ
กดเปิ ดแอปพลิเคชันก็สามารถย่อทุกความไกลห่างให้
เชื่อมต่อกันได้ภายในเสี้ยววินาที แต่เทคโนโลยี

แบบนี้ก็เหมือนดาบสองคม ที่มีช่องโหว่ให้เกิด
Cyberbullying (ไซเบอร์บูลลีอิ้ง) การกลั่นแกล้งหรือ
รังแกผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งเสีย

สุขภาพจิตและอาจยกระดับ
เป็ นโรคซึมเศร้าได้

ภัยร้ายใกล้ตัวอย่าง Cyberbullying ไม่ใช่เรื่องใหม่ และ
สมัยนี้ก็เริ่มมีการระบาดของ Cyberbullying

มากขึ้น ดังนั้นก่อนจะตกเป็นเหยื่อที่ถูกรังแกผ่านโลกโซ
เชียล เรามาทำความรู้จัก Cyberbullying
กันดีกว่า

Cyberbullying คืออะไร
Cyberbullying คือ การใช้เครื่องมือสื่อสารอย่าง

โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่คนอื่น ๆ
สามารถเห็นได้ มีการแชร์ต่อ หรือมีการพูดถึง

ประเด็นนั้น ๆ
ต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินส
ตาแกรม แชท หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นเครื่อง

มือหลักใน
การรังแกหรือกลั่นแกล้งกัน ยกตัวอย่างเช่น
การโพสต์ การแชร์ หรือการส่งต่อข้อมูลอันเป็น

เท็จของ
บุคคลอื่น ซึ่งมักจะเป็นข้อความหรือเนื้อหาใน
ทางให้ร้าย กระทำการอันใดที่ส่งผลให้เกิดความ

อับอายต่อ
ผู้อื่น และบางทีก็อาจเป็นการกระทำที่ เลยเถิด

ถึงขั้นผิดต่อกฎหมาย จริยธรรม รวมไปถึง
เป็ นการละเมิด

สิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นอีกด้วย

ตัวอย่างของการ Cyberbullying
การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ สามารถกระทำได้หลากหลายรูป

แบบ ดังนี้
1. การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย
การโพสต์ด่าทอ พูดจาส่อเสียด ให้ร้าย หรือขู่ทำร้าย ผ่านช่องทางการ

สนทนา หรือโพสต์
อย่างโจ่งแจ้งที่หน้ าโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกระทำ เช่น แชทเฟซบุ๊ก

หรือไลน์มาว่าจะดักทำร้าย เมื่อเจอ
หน้ ากันที่โรงเรียนหรือที่ไหนก็ตาม เป็นต้น

2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์
โดยการพูดจาคุกคามทางเพศผ่านโซเชียลมีเดีย การบังคับให้แสดง

พฤติกรรมทางเพศผ่าน
กล้อง การส่งภาพหรือวิดีโอโป๊ เปลือยมาให้โดยที่ผู้รับไม่ได้ต้องการ

การแฉคลิปอนาจารของเหยื่อหรือตัดต่อ
ภาพโป๊ เปลือยไปโพสต์ ในสื่อโซเชียลเพื่อให้ได้รับความอับอาย

เป็ นต้น
3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น
โดยเฉพาะกรณีเปิดเผยรหัสผ่านทางโซเชียลของตนเองให้ผู้อื่นรู้ ยก

ตัวอย่าง เช่น
ให้เพื่อนสมัครเฟซบุ๊กหรือไลน์ให้ เคสนี้ก็อาจโดนรังแกด้วยการถูก

สวมรอยใช้เฟซบุ๊กของตัวเองโพสต์
ข้อความหยาบคายให้ร้ายบุคคลอื่นโพสต์รูปโป๊ คลิปวิดีโอลามก หรือ

สร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ

4. การแบล็กเมล์กัน
โดยนำความลับหรือภาพลับของเพื่ อนหรือบุคคลที่รู้จักมาเปิ ดเผย

ผ่านเครือข่ายสังคม
ออนไลน์และมีการแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง หรือการใส่ร้าย

ป้ ายสี เช่น ตัดต่อรูปภาพน่าเกลียด ๆ หรือ
การแอบถ่าย ภาพหลุดที่น่าขำมาโพสต์ประจาน และแสดงความ

คิดเห็นอย่างสนุกสนานจนเกินเลย



5. การหลอกลวง
มีทั้งการหลอกลวงให้หลงเชื่อ นัดให้ออกมาเจอเพื่อทำมิดีมิร้าย

หรือการหลอกลวงให้
ผู้เสียหายโอนเงินไปให้ด้วยวิธีการต่าง ๆ



6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ
อย่างที่เราเห็นคนตั้งเพจแอนตี้ โจมตีบุคคลหนึ่งขึ้นมา มีการ
จับผิดทุกอิริยาบถ แล้ว นำมาถกประเด็นให้เกิดความเสียหายต่อ
คนที่ตัวเองไม่ชอบ หรืออาจมีการโน้ มน้ าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ
และกีดกันให้ออกจากกลุ่ม จากสังคมที่อยู่ บางครั้งก็เลยเถิดถึง
ขนาดไล่ให้เขาไปตาย หรือยุให้ฆ่าตัวตาย ทั้งนี้การกระทำที่เข้า
ข่าย Cyberbullying จะเกิดจากเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ
และเสียใจ ดังนั้นการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์จึงมักจะ
เป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่เพียงครั้งเดียวแล้ว เลิก และในเมื่อเป็น
สื่อสังคมออนไลน์ การกลั่นแกล้งในรูปแบบนี้จึงทำได้ตลอด 24
ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้อง เจอหน้ ากันจะจะ ถึงจะกลั่นแกล้งได


Click to View FlipBook Version