The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกสารประกอบการสอนบทที่3-พย.1205

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by plesakaorat, 2022-07-09 00:03:55

เอกสารประกอบการสอนบทที่3 พย.1205

เอกสารประกอบการสอนบทที่3-พย.1205

0

บทที่ 3
กฎหมายวิชาชพี การพยาบาล

อ.สกาวรัตน์ ไกรจนั ทร์
วทิ ยาลัยพยาบาลศรมี หาสารคาม

1

บทท่ี 3
กฎหมายวชิ าชพี การพยาบาล

วตั ถุประสงค์
1. อธบิ ายหลักสทิ ธิมนุษยชน สิทธผิ ปู้ ่วย และสิทธพิ ยาบาลได้ถกู ตอ้ ง
2. อธิบายพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและระเบียบและข้อบังคับของสภาการพยาบาลได้
ถูกตอ้ ง
3. วเิ คราะห์ปญั หาท่เี ก่ยี วขอ้ งกับกฎหมายวชิ าชพี และแนวทางแกไ้ ขปัญหาได้

บทนำ
กฎหมายวิชาชีพการพยาบาล โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชน เป็นการบอกถึงความเท่าเทียมกันของ

มนุษย์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการได้รับการได้รับการดูแลจากพยาบาล สิทธิผู้ป่วยเป็นการประกาศร่วมของ
วิชาชีพที่มีพื้นฐานจากสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วย ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ข้อ สิทธิพยาบาลใน
ฐานะพยาบาลเปน็ บคุ คลคนหน่ึง การไดส้ ิทธิเชน่ เดียวกบั ประชาชนคนหน่ึงในการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ พ.ร.บ.วิชาชพี
การพยาบาล เป็นกฎหมายท่ีออกมาเพ่อื ควบคมุ ผู้ประกอบวชิ าชพี พยาบาล โดยฉบบั แรกออกเมือ่ พ.ศ.2528
และปรับปรุง พ.ศ.2540 เพื่อให้ความคอบคลุมของกฎหมาย และระเบียบและข้อบังคับของสภาการ
พยาบาลออกมาเพือ่ ใช้กับพยาบาลในสว่ นทใ่ี หส้ มาชิกยึดเปน็ แนวปฏิบัติ

สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่

ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร สิทธิมนุษยชนมีที่มาจากแนวคิดในเรื่อง
กฎหมายธรรมชาติและปรชั ญาสิทธิธรรมชาติ และมีวิวัฒนาการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับ
สากล โดยสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491
เพอ่ื แสดงเจตนารมณ์ทจ่ี ะคมุ้ ครองสิทธิมนุษยชน เพ่ือใชเ้ ป็นมาตรฐานกลางสำหรบั บรรดาประเทศสมาชิกที่
จะนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดผลภายในประเทศของตน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.
1948 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สิทธิทางการเมืองหรือทางแพ่ง (Political or civil rights) เป็นสิทธิ
ธรรมชาติที่มีมาแต่ด้ังเดิม ปรากฏในข้อบัญญัติข้อ 1-21 ประกอบด้วย สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหว
สทิ ธิในการเปน็ เจ้าของทรัพยส์ ิน สทิ ธไิ ด้รับการพิจารณาคดอี ย่างเปน็ ธรรม สิทธิความเปน็ ส่วนตัว สิทธิเลือก
นับถือศาสนา สิทธิในการแสดงออกอย่างเสรี สิทธิในการลี้ภัย สิทธิของผู้ถูกกระทำทารุณกรรม ฯลฯ และ
สทิ ธิทางเศรษฐกิจและสงั คม (Economic and social rights)

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human
Rights) จำแนกสิทธิมนุษยชน ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) สิทธิทางแพ่งและทางการเมือง (Political and
Civil Rights) 2) สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานขั้นพื้นฐานที่พึงมี เป็นสิ่งจำเป็นใน
การดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า หากมีการล่วงละเมิดต่อสิทธิดังกล่าวย่อมได้รับการรับรองและ
คุ้มครองโดยกฎหมาย

ประเภทของสิทธิมนุษยชน แบ่งได้ 5 ประเภท ทั้งนี้ เปน็ ไปตาม Universal Declaration of
Human Rights ได้แก่

2

1. สทิ ธิพลเมือง (Civil Rights) ได้แก่ สิทธิในชีวติ และร่างกาย เสรภี าพและความมัน่ คง
ในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ
เปน็ ตน้

2. สิทธิทางการเมือง (Political Rights) ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนรว่ มกับรัฐในการดำเนนิ
กิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ
สทิ ธิการเลอื กต้ังอย่างเสรี

3. สิทธทิ างสงั คม (Social Rights) ไดแ้ ก่ สทิ ธิการไดร้ ับการศึกษา สทิ ธกิ ารไดร้ บั
หลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับการพัฒนาบคุ ลิกภาพอย่างเตม็ ท่ี ไดร้ บั ความมน่ั คงทางสงั คม มเี สรีภาพในการ
เลอื กคูค่ รอง และสร้างครอบครวั เปน็ ตน้

4. สิทธทิ างเศรษฐกจิ (Economic Rights) ได้แก่ สิทธกิ ารมีงานทำ ไดเ้ ลอื กงานอย่าง
อสิ ระ และได้รบั ค่าจ้างท่เี หมาะสม สทิ ธใิ นการเป็นเจา้ ของทรัพยส์ นิ เป็นตน้

5. สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) ไดแ้ ก่ การมเี สรภี าพในการใช้ภาษาหรอื ส่อื
ความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรม
ประเพณีท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมและ
การบนั เทงิ ไดโ้ ดยไม่มใี ครมาบบี บังคบั เป็นต้น

สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะท่ีเป็นอารยะธรรมโลกของมนุษย์ที่พยายามวางระบบ
ความคดิ เพอ่ื ใหค้ นทวั่ โลกเกดิ ความระลึกรู้ คำนงึ ถงึ คณุ ค่าของความเปน็ มนุษย์ ตัง้ แตย่ อมรบั ความเป็นมนุษย์
ศักด์ิศรี ชาตกิ ำเนิด สิทธติ า่ งๆท่มี พี นื้ ฐานมาจากความชอบธรรม

ดงั นัน้ เม่ือพยาบาลเช่อื ว่า สขุ ภาพเป็นสิทธมิ นุษยชน พยาบาลจงึ ต้องลงมอื ทำและรบั ผิดชอบทำให้
การเข้าถึงระบบสุขภาพเป็นไปได้จริง สิทธิของการมสี ขุ ภาพดีเป็นเครือ่ งมือทางกฎหมายทีร่ ัฐบาลของหลาย
ประเทศนำมาใช้สรา้ งความมัน่ คงให้เกดิ ข้ึน โดยภาคส่วนดา้ นสขุ ภาพใหก้ ารดูแลทด่ี ที ี่สดุ ตอ่ บุคคล ประชาชน
และชุมชนโดยรวม การมีบริการสุขภาพถ้วนหน้าเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของหลายประเทศ เพื่อให้ทุก
คนมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานเหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน การมีสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพ
หมายถึง ไม่ว่าบุคคลอาศัยอยู่ ณ ที่ แห่งใด บุคคลนั้นควรได้รับบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการท่ี
จำเปน็ ของบุคคลได้ตลอดเวลา

สิทธผิ ู้ป่วย
ในปี พ.ศ. 2558 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม

ทันต แพทยสภา สภากายภาพบำบดั สภาเทคนิคการแพทย์ และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ได้มี
การ ปรับแก้ไขคำประกาศสิทธิผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการ และตระหนักถึง
ความสำคัญของการให้ความร่วมมอื กับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ จึงได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิ
และข้อพงึ ปฏบิ ัติของผ้ปู ่วย ไว้ดังต่อไปน้ี

1. สทิ ธิผปู้ ่วย จำนวน 9 ขอ้ ดงั นี้
1.1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตาม
มาตรฐาน
วิชาชีพจากผปู้ ระกอบวิชาชีพดา้ นสขุ ภาพโดยไมม่ กี ารเลือกปฏิบตั ิตามทบ่ี ญั ญตั ไิ วใ้ นรฐั ธรรมนูญ
1.2 ผู้ปว่ ยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสทิ ธิไดร้ ับทราบขอ้ มูลทีเ่ ปน็ จริงและเพียงพอเก่ียวกบั การ

3

เจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
ดว้ ยภาษาทผ่ี ู้ปว่ ยสามารถเขา้ ใจได้งา่ ย เพ่อื ให้ผู้ป่วยสามารถเลอื กตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้
ประกอบวิชาชพี ดา้ นสขุ ภาพปฏิบตั ิตอ่ ตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งดว่ นและเป็นอันตรายต่อชวี ิต

1.3 ผู้ป่วยท่อี ยใู่ นภาวะเสย่ี งอันตรายถึงชีวิตมสี ิทธิได้รบั การช่วยเหลอื รีบด่วนจากผปู้ ระกอบ
วิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือ
หรือไม่

1.4 ผปู้ ว่ ยมีสทิ ธิไดร้ ับทราบชอ่ื สกลุ และวิชาชพี ของผู้ใหก้ ารรกั ษาพยาบาลแก่ตน
1.5 ผูป้ ว่ ยมีสิทธิขอความเห็นจากผปู้ ระกอบวิชาชีพดา้ นสขุ ภาพอนื่ ทม่ี ไิ ดเ้ ป็นผ้ใู หก้ าร
รกั ษาพยาบาลแก่ตน และมสี ทิ ธิในการขอเปลย่ี นผูป้ ระกอบวชิ าชีพด้านสขุ ภาพหรือเปล่ยี นสถานพยาบาลได้
ทง้ั นี้เปน็ ไปตามหลกั เกณฑ์ของสทิ ธกิ ารรกั ษาของผู้ปว่ ยท่มี อี ยู่
1.6 ผู้ปว่ ยมสี ทิ ธไิ ด้รบั การปกปิดขอ้ มูลของตนเอง เวน้ แต่ผปู้ ่วยจะให้ความยนิ ยอมหรือเป็นการ
ปฏบิ ตั ติ ามหน้าทขี่ องผูป้ ระกอบวชิ าชพี ด้านสุขภาพ เพอ่ื ประโยชนโ์ ดยตรงของผูป้ ว่ ยหรือตามกฎหมาย
1.7 ผ้ปู ่วยมีสิทธิไดร้ ับทราบข้อมูลอย่างครบถว้ นในการตัดสนิ ใจเขา้ ร่วมหรอื ถอนตวั จากการเป็น
ผูเ้ ขา้ ร่วมหรือผถู้ ูกทดลองในการทำวิจยั ของผู้ประกอบวชิ าชีพดา้ นสุขภาพ
1.8 ผปู้ ่วยมีสิทธไิ ด้รับทราบข้อมลู เกีย่ วกับการรกั ษาพยาบาลเฉพาะของตนทปี่ รากฏในเวช
ระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือ
ข้อมลู ข่าวสารสว่ นบคุ คลของผอู้ ่นื
1.9 บิดา มารดา หรอื ผแู้ ทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผปู้ ่วยทเ่ี ป็นเด็กอายุยังไม่เกินสบิ แปดปี
บรบิ รู ณ์ ผู้บกพรอ่ งทางกายหรือจติ ซงึ่ ไมส่ ามารถใช้สทิ ธดิ ้วยตนเองได้
2. ข้อพึงปฏบิ ัติของผู้ป่วย
1.1 สอบถามเพ่ือทำความเขา้ ใจข้อมูลและความเส่ียงทอี่ าจเกดิ ขึน้ ก่อนลงนามใหค้ วามยินยอม
หรอื ไม่ยินยอมรับการตรวจวนิ จิ ฉยั หรอื การรักษาพยาบาล
1.2 ใหข้ ้อมูลดา้ นสุขภาพและข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ที่เปน็ จรงิ และครบถว้ นแก่ผู้ ประกอบ
วิชาชพี ดา้ นสุขภาพในกระบวนการรกั ษาพยาบาล
1.3 ใหค้ วามรว่ มมอื และปฏบิ ตั ติ วั ตามคำแนะนำของผปู้ ระกอบวิชาชีพดา้ นสุขภาพเกย่ี วกบั การ
รักษาพยาบาล ในกรณีทไ่ี มส่ ามารถปฏบิ ตั ิตามได้ให้แจ้งผปู้ ระกอบวิชาชีพดา้ นสขุ ภาพทราบ
2.4 ให้ความรว่ มมอื และปฏิบัตติ ามระเบียบข้อบังคบั ของสถานพยาบาล
2.5 ปฏิบตั ิตอ่ ผู้ประกอบวิชาชพี ผู้ปว่ ยรายอื่น รวมท้ังผู้ทมี่ าเยี่ยมเยยี น ดว้ ยความสภุ าพให้เกียรติ
และไม่กระทำส่งิ ทีร่ บกวนผู้อน่ื
2.6 แจ้งสิทธิการรักษาพยาบาลพร้อมหลกั ฐานที่ตนมีให้เจา้ หนา้ ที่ของสถานพยาบาลที่เกีย่ วข้อง
ทราบ

1.7 ผู้ปว่ ยพงึ รบั ทราบข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ดงั ตอ่ ไปน้ี
2.7.1 ผูป้ ระกอบวชิ าชพี ดา้ นสุขภาพทไ่ี ด้ปฏบิ ตั ิหนา้ ท่ตี ามมาตรฐานและจรยิ ธรรม

ย่อมได้รับความคมุ้ ครองตามทกี่ ฎหมายกำหนดและมีสทิ ธิได้รับความคมุ้ ครองจากการถูกกลา่ วหาโดยไม่เป็น
ธรรม

2.7.2 การแพทย์ในทนี่ ้ี หมายถึง การแพทยแ์ ผนปจั จบุ ันซ่งึ ไดร้ ับการพิสูจน์ทาง
วิทยาศาสตร์ โดยองคค์ วามร้ใู นขณะนั้นวา่ มปี ระโยชน์มากกว่าโทษสำหรบั ผูป้ ว่ ย

4

2.7.3 การแพทย์ไมส่ ามารถให้การวนิ จิ ฉัย ป้องกัน หรือรักษาใหห้ ายไดท้ กุ โรคหรอื ทกุ
สภาวะการรักษาพยาบาลทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากน้ี เหตุสุดวิสัยอาจ
เกิดขึ้นได้ แม้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ ตามภาวะวิสัย และ
พฤติการณใ์ นการรักษาพยาบาลน้นั ๆ แลว้

2.7.4 การตรวจเพอื่ การคัดกรอง วนิ จิ ฉยั และติดตามการรักษาโรค อาจใหผ้ ลที่
คลาดเคลื่อนได้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ใช้ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ตาม
มาตรฐานการ ปฏบิ ัตงิ าน

2.7.5 ผู้ประกอบวิชาชพี ดา้ นสขุ ภาพมสี ิทธิใช้ดุลพินจิ ในการเลอื กกระบวนการ
รักษาพยาบาล ตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ตามความสามารถและข้อจำกัดตามภาวะวิสัยและ
พฤติการณท์ ม่ี ีอยู่ รวมทั้งการ ปรึกษาหรอื สง่ ต่อโดยคำนึงถึงสทิ ธแิ ละประโยชน์โดยรวมของผปู้ ่วย

2.7.6 เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอาจให้คำแนะนำหรือ
ส่งต่อ

ผปู้ ว่ ยใหไ้ ด้รบั การรักษาตามความเหมาะสม ท้งั นี้ผูป้ ่วยต้องไมอ่ ย่ใู นสภาวะฉุกเฉนิ อนั จำเป็นเร่งด่วนและเป็น
อันตรายต่อชีวติ

2.7.7 การปกปิดข้อมลู ดา้ นสขุ ภาพ และข้อเทจ็ จริงตา่ งๆ ทางการแพทยข์ องผ้ปู ว่ ยตอ่ ผู้
ประกอบวิชาชพี ดา้ นสุขภาพ อาจส่งผลเสยี ตอ่ กระบวนการรกั ษาพยาบาล

2.7.8 หอ้ งฉกุ เฉนิ ของสถานพยาบาล ใชส้ ำหรบั ผ้ปู ่วยฉุกเฉินอันจำเปน็ เรง่ ด่วนและเป็น
อนั ตรายต่อชวี ิต

สิทธิพยาบาล
“สทิ ธพิ ยาบาล” หมายถงึ อำนาจอนั ชอบธรรมท่พี ยาบาลสามารถใช้อา้ งใชย้ นั ตอ่ ผอู้ ืน่ ได้หรือความชอบ

ธรรมที่ผพู้ ยาบาลจะพงึ ไดร้ บั เพอื่ ค้มุ ครองหรอื รักษาผลประโยชนอ์ นั พงึ มีพงึ ได้ของพยาบาลโดยไม่ละเมดิ สิทธิ
ของผอู้ นื่ สิทธพิ ยาบาลจึงอาจพิจารณาไดจ้ ากบทบญั ญตั ขิ องกฎหมายและหลักการปฏิบตั ทิ ีเ่ ก่ียวข้องดังน้ี

1. รฐั ธรรมนญู เนื่องจากพยาบาลเป็นบุคคลหนึ่งในสังคมเชน่ เดยี วกนั กบั บุคคลอื่นๆดังน้ันสทิ ธิ
พยาบาลจงึ เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทยที่ว่าดว้ ยสิทธิหน้าที่ของปวงชนชาว
ไทยดงั ท่ีได้กลา่ วไวใ้ นเบ้อื งต้นแลว้

2. กฎหมายทัว่ ไปคอื สิทธิที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทั่วไปเช่นในประมวลกฎหมายอาญาเช่น มาตรา
374

“ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยูใ่ นภยันตรายแห่งชีวิตซ่ึงตนอาจชว่ ยได้โดยไม่ควรกลวั อันตรายแกต่ นเองหรอื ผูอ้ ื่นแต่ไม่
ช่วยตามความจำเปน็ ตอ้ งระวางโทษจำคุกไม่เกินหนง่ึ เดือนหรอื ปรับไมเ่ กนิ หนง่ึ พนั บาทหรือท้งั จำทงั้ ปรบั ” ใน
กรณีนหี้ ากพยาบาลไปพบเห็นบุคคลหนึ่งคนใดตกอยู่ในภยันตรายที่อาจถึงแก่ความตายแล้วแต่เน่ืองจากการ
เข้าไปช่วยนั้นจะทำใหเ้ กิดอนั ตรายข้ึนต่อตนเองหรอื ต่อผู้อนื่ แลว้ พยาบาลก็มสี ทิ ธิทจ่ี ะไม่เข้าไปช่วยตามความ
จำเป็น ก็ได้

3. กฎหมายเฉพาะเชน่ กฎหมายวชิ าชพี สิทธพิ ยาบาลตามกฎหมายวิชาชีพหมายถึงสทิ ธิในการ
ประกอบวิชาชีพโดยหวงกันมิให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพมาทำการประกอบวิ ชาชีพการพยาบาลและ
สิทธิอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ. 2528 และที่แก้ไข
เพ่มิ เติมฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2540 ดังทจ่ี ะกลา่ วในเรอื่ งต่อไป

สิทธิพยาบาลของสมาคมพยาบาลแห่งมิชิแกนสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพยาบาลเป็นมนุษย์
เชน่ เดยี วกับบคุ คลอ่นื ในสังคมสมาคมพยาบาลแห่งมชิ ิแกนสหรฐั อเมริกาไดก้ ลา่ วถงึ สทิ ธิของพยาบาลไวด้ ังน้ี

5

1. พยาบาลแตล่ ะคนมีความรบั ผดิ ชอบที่จะตอ้ งให้รายละเอียดแกส่ ถาบันหรือหนว่ ยงานที่ตน
ปฏิบัติงานอยู่เกี่ยวกับวุฒิทางการศึกษาทั้งในอดีตปัจจุบันและในอนาคตประสบการณ์ความสามารถทาง
คลนิ กิ และความเช่ือทางศีลธรรมของตนทม่ี ผี ลตอ่ การปฏบิ ัติงาน

2. พยาบาลแต่ละคนมีความรับผิดชอบที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวหรือถอนตัวออกจาก
สถานการณ์

เหตกุ ารณท์ ี่กอ่ ใหเ้ กิดความร้สู กึ ขดั แยง้ ต่อความรคู้ วามสามารถและความเช่อื ของตนเอง
3. สถาบันหรือหนว่ ยงานทพี่ ยาบาลปฏบิ ตั ิงานอยจู่ ะตอ้ งจัดสรรวัสดอุ ุปกรณ์สำหรบั ใชเ้ พอ่ื บริการ

สขุ ภาพอนามยั ได้อยา่ งเพียงพอแกผ่ ้รู ับบรกิ าร
4. พยาบาลมีสิทธิและความรบั ผดิ ชอบท่จี ะร่วมมือกบั สถาบนั หรือหน่วยงานท่ีตนอย่ใู นการทีจ่ ะ

เสรมิ สรา้ งสภาพแวดลอ้ มให้สามารถให้บริการทางสขุ ภาพอนามัยไดด้ ียง่ิ ๆขน้ึ
5. หน่วยงานหรือสถาบันที่พยาบาลปฏิบัติงานอยู่ต้องให้ความเคารพเชื่อถือต่อความรู้
ความสามารถ

ค่านยิ มและบุคลิกสว่ นตวั ของพยาบาลแตล่ ะบคุ คลในการปฏิบัตหิ น้าท่ี
ฟาจิน และปเู ลน ได้กล่าวถงึ สิทธิของพยาบาลไว้ 4 ประการ คอื
1. พยาบาลมีสิทธทิ ่ีจะสร้างรูปแบบความสัมพนั ธ์กบั ผ้ปู ว่ ยตามทีเ่ หน็ สมควรโดยการวางแผนการ

ให้การพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักการของวิชาชีพ
ขณะเดียวกันกม็ สี ทิ ธทิ ีจ่ ะไดร้ บั การยอมรบั เช่อื ถอื ความเคารพและรางวลั ตามท่สี มควรจะได้

2. พยาบาลมสี ิทธทิ ี่จะเขา้ ใจและยอมรับความรูส้ กึ ของตนเองความรู้สกึ ของแตล่ ะบคุ คลเปน็ เรอ่ื ง
ภายในจติ ใจของบคุ คลทเ่ี กย่ี วกับอารมณแ์ ละความรู้สกึ มั่นใจการไมเ่ ข้าใจต่อความรู้สกึ ของตนอาจนำไปสู่การ
ปฏิเสธตนเองและการชาเย็น ถ้าพยาบาลแต่ละคนตระหนักและเข้าใจถึงความรู้สึกของตนเองแล้วย่อม
สามารถท่ีจะควบคุมความร้สู กึ ของตนเองได้

3. พยาบาลมีสิทธทิ ี่จะดำรงไวซ้ ึง่ ศกั ดิ์ศรแี ละการแสดงออกของตนเอง หมายถงึ การมีสทิ ธทิ ่ีจะรบั
ฟัง ซักถามสงสัยข้อผิดพลาด หรือไม่ตอบในกรณีของการที่จะต้องใช้เหตุผลเลือกตัดสินใจทางจริยธรรม
พยาบาลมีสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำช่วยเหลือร่วมมือจากผู้อื่น มีสิทธิที่จะให้ผู้อื่นช่วยเหลือรับรู้และปัดเป่า
ความหวาดกลวั คบั ขอ้ งใจของตนไดเ้ ชน่ เดียวกับผูอ้ ืน่

4. พยาบาลมสี ทิ ธทิ ีจ่ ะพน้ จากสภาพการทำงานท่ีมีผลตอ่ การบ่ันทอนสขุ ภาพอนามัยท่ดี ขี องตนใน
ฐานะของปุถุชนเช่นเดียวกับผู้อื่น พยาบาลย่อมมีทั้งความเข้มแข็งและความอ่อนแอในกรณีของสภาพการ
ทำงานที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดวิตกกังวลหรือความคับข้องใจต่อปัญหาศีลธรรมบางประการที่หาข้อยุติ
ไม่ได้พยาบาลย่อมมีสิทธิที่จะปลีกตัวหรือถอนตัวจากเหตุการณ์นั้น ทั้งนี้เพราะการให้การพยาบาลอย่างมี
คณุ ภาพต้องอาศยั พยาบาลทอี่ ยู่ในสภาวะทีด่ ี (well being) ของตวั บคุ คลผเู้ ป็นพยาบาลพยาบาลผู้ที่สุขภาพ
กายและจติ ใจไม่สมบูรณ์ย่อมไมอ่ าจใหบ้ ริการทม่ี คี ุณภาพแก่บุคคลอ่นื

สรปุ วชิ าชพี พยาบาลเปน็ วิชาชีพทีถ่ ูกคาดหวงั ในเร่อื งจริยธรรม จากลักษณะเฉพาะของวิชาชีพ
พยาบาลที่การปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ที่ต้องปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของศาสตร์และศิลปะของ
การปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์และควบคู่ไปกับคุณค่าทางจริยธรรม คือ ความเมตตา ความ
อ่อนโยน ความเอือ้ อาทร และการตระหนักในคุณค่าความเป็นมนษุ ย์ของผูป้ ่วย

6

พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 มีผลบังคับใช้วันที่ 6

กันยายน 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับ
ที่2) พ.ศ. 2540 มผี ลบงั คับใชว้ นั ท่ี 24 ธันวาคม 2540
สาระสำคญั มดี ังนี้

มาตรา 4 ในพระราชบญั ญตั ินี้
“วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์” หมายความว่า วิชาชีพเกี่ยวกับการพยาบาลและการ
ผดงุ ครรภ์
“การพยาบาล” หมายความว่า การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับ การดูแลและการช่วยเหลือ เมื่อ
เจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการ
รกั ษาโรค ทง้ั นี้ โดยอาศัยหลักวทิ ยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาล
“การผดงุ ครรภ์” หมายความว่า การกระทำเกี่ยวกบั การดแู ลและการชว่ ยเหลือหญิงมคี รรภ์ หญิง
หลังคลอด และทารกแรกเกิด รวมถึงการตรวจ การทำคลอด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความผิดปกติ
ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมทั้งการช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค ทั้งน้ี
โดยอาศัย หลกั วิทยาศาสตรแ์ ละศิลปะการผดุงครรภ์
“การประกอบวิชาชีพการพยาบาล” (3) หมายความว่า การปฏิบัติหน้าที่การพยาบาลต่อบุคคล
ครอบครัว และชมุ ชน โดยการกระทำต่อไปนี้

(1) การสอน การแนะนำ การให้คำปรกึ ษาและการแกป้ ัญหาเกี่ยวกับสขุ ภาพอนามยั
(2) การกระทำต่อร่างกายและจติ ใจของบุคคล รวมทั้งการจัดสภาพแวดลอ้ ม เพือ่ การ

แก้ปญั หาความเจบ็ ปว่ ย การบรรเทาอาการของโรค การลุกลามของโรค และการ
ฟน้ื ฟสู ภาพ
(3) การกระทำตามวธิ ที ก่ี ำหนดไว้ในการรกั ษาโรคเบ้อื งตน้ และการใหภ้ มู ิคุม้ กันโรค
(4) ช่วยเหลอื แพทยก์ ระทำการรกั ษาโรค
ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาลในการประเมินสภาพ การวินิจฉัยปัญหา
การวางแผน การปฏบิ ตั ิ และการประเมินผล
ข้อสังเกต การกระทำตาม (3) สำหรับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวช
ปฏิบตั ิท่ัวไป (การรักษาเบื้องตน้ )
“การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์” (4) หมายความว่า การปฏิบัติหนา้ ท่ีการผดุงครรภ์ต่อหญิงมี
ครรภ์ หญิงหลงั คลอด ทารกแรกเกิดและครอบครัว โดยการกระทำต่อไปน้ี
(1) การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การกระทำ
ตอ่ ร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ หญงิ หลังคลอดและทารกแรกเกิด
(2) ป้องกนั ความผดิ ปกติในระยะต้งั ครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลงั คลอด
(3) การตรวจ การทำคลอด และการวางแผนครอบครวั
(4) ช่วยเหลอื แพทย์กระทำการรักษาโรค
ท้งั น้ี โดยอาศัยหลักวทิ ยาศาสตรแ์ ละศิลปะการผดงุ ครรภใ์ นการประเมนิ สภาพ การวนิ จิ ฉยั ปัญหา
การวางแผน การปฏบิ ัติ และการประเมินผล
“ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล” หมายความว่า บุคคลซึง่ ได้ข้ึนทะเบียนและรับใบอนญุ าตเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพการพยาบาลจากสภาการพยาบาล

7

“ผปู้ ระกอบวิชาชีพการผดงุ ครรภ์” หมายความว่า บุคคลซง่ึ ได้ขนึ้ ทะเบียนและรบั ใบอนญุ าตเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภจ์ ากสภาการพยาบาล

“ผู้ประกอบวชิ าชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึน้ ทะเบียนและ
รับใบอนุญาตเปน็ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์จากสภาการพยาบาล

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรกั ษาการตามพระราชบญั ญัตินี้ และให้มีอำนาจ
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
รวมทัง้ ออกระเบยี บและประกาศเพ่ือปฏิบัติการตามพระราชบัญญตั นิ ้ี

หมวด 1 สภาการพยาบาล
มาตรา 6 ให้มสี ภาการพยาบาล มวี ตั ถปุ ระสงคแ์ ละอำนาจหน้าท่ตี ามพระราชบญั ญัตินี้ ใหส้ ภาการ
พยาบาลเป็นนติ ิบุคคล
คำอธิบาย นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตามกฎหมายที่ถูกสมมุติขึ้นโดยกฎหมายและกฎหมายให้มี
สิทธิและหนา้ ที่เชน่ เดียวกบั บุคคลธรรมดา นิติบุคคลเป็นเจ้าของทรัพยส์ ินได้ จำหน่ายจา่ ยโอนทรพั ย์สนิ ได้
เป็นลกู หน้ี เจ้าหนี้ได้ เป็นโจทย์ จำเลยได้
มาตรา 7 สภาการพยาบาลมวี ัตถุประสงค์ดังต่อไปน้ี
(1) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล

และการผดุงครรภ์ ให้ถกู ต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชพี การพยาบาลและการผดุงครรภ์
(2) ส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพการพยาบาล การผดุง

ครรภ์ หรอื การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(3) สง่ เสรมิ ความสามคั คแี ละผดงุ เกียรติของสมาชกิ
(4) ชว่ ยเหลอื แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอ่ืนในเรอ่ื งทเ่ี ก่ียวกับการ

พยาบาล การผดุงครรภ์ และการสาธารณสขุ
(5) ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะตอ่ รัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล การผดุงครรภ์ และการ

สาธารณสุข
(6) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุง

ครรภใ์ นประเทศไทย
(7) ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวสั ดิการให้แก่สมาชิก
มาตรา 8 สภาการพยาบาลมีอำนาจหนา้ ท่ดี ังต่อไปนี้
(1) รบั ขึน้ ทะเบียนและออกใบอนุญาตใหแ้ ก่ผขู้ อเปน็ ผู้ประกอบวิชาชพี การพยาบาล การผดงุ ครรภ์

หรอื การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(2) สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์

หรอื การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(3) ใหค้ วามเหน็ ชอบหลกั สูตรการศกึ ษาวชิ าชีพการพยาบาลและการผดงุ ครรภใ์ นระดับอดุ มศึกษา

ของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเสนอต่อ
ทบวงมหาวทิ ยาลยั
(4) รับรองหลักสตู รต่าง ๆ สำหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบตั รของสถาบนั ทีจ่ ะทำการ
สอนวชิ าชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(5) รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของ
สถาบันการศกึ ษาท่ีจะทำการฝกึ อบรมในวชิ าชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(6) รบั รองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนและฝกึ อบรมตาม (4) และ (5)

8

(7) รบั รองปริญญา ประกาศนยี บตั รเทยี บเทา่ ปริญญา ประกาศนียบตั ร หรอื วฒุ ิบัตรในวิชา
ชพี การพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันต่างๆ

(8) ออกหนังสอื อนุมัติ หรือวุฒบิ ตั รเกยี่ วกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือ
แสดงวุฒิอนื่ ในวชิ าชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้แกผ่ ู้ประกอบวิชาชพี การ
พยาบาลการผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์

(9) ดำเนนิ การใหเ้ ปน็ ไปตามวตั ถปุ ระสงคข์ องสภาการพยาบาล
มาตรา 10 ใหร้ ัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพเิ ศษแหง่ สภาการพยาบาลและมีอำนาจหน้าทต่ี าม
พระราชบัญญัตนิ ี้
หมวด 2 สมาชิก
มาตรา 11 สภาการพยาบาลประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คอื
(1) สมาชิกสามัญ ไดแ้ ก่ผูม้ ีคุณสมบัตดิ งั ตอ่ ไปน้ี

(ก) มีอายไุ มต่ ่ำกวา่ สบิ แปดปบี ริบูรณ์
(ข) มีความรใู้ นวชิ าชพี การพยาบาลหรอื การผดุงครรภโ์ ดยได้รับปริญญา ประกาศนีบ้ ตั ร
เทียบเท่าปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุง
ครรภ์ ทส่ี ภาการพยาบาลรบั รอง
(ค) ไมเ่ คยต้องโทษจำคุกโดยคำพพิ ากษาถงึ ทส่ี ุด หรือคำสง่ั ทชี่ อบด้วยกฎหมายให้
จำคกุ ในคดีท่ีคณะกรรมการเหน็ ว่าจะนำมาซึ่งความเสอ่ื มเสยี เกียรตศิ กั ดิ์แหง่ วชิ าชีพ
(ง) ไมเ่ ปน็ ผูม้ จี ิตฟ่นั เฟือนไมส่ มประกอบ หรือไม่เป็นโรคทกี่ ำหนดไว้ในข้อบงั คบั
สภาการพยาบาล
คำอธิบาย โรคทีก่ ำหนดไวใ้ นข้อบังคบั สภาการพยาบาล ดังนี้ พิษสุราเรือ้ รงั โรคเท้าช้างในระยะ
ปรากฏอาการ ตดิ สารเสพตดิ ให้โทษอย่างรา้ ยแรง โรคจิตตา่ งๆ โรคเร้ือนในระยะปรากฏอาการ วัณโรค
ระยะอันตราย โรคคุดทะราดหรอื โรคผิวหนังเป็นที่รังเกียจแกส่ ังคม กามโรคระยะมีผื่นหรอื แผล โรคอื่น
ในระยะรนุ แรงทเ่ี ปน็ อุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ
(2) สมาชกิ กิตติมศกั ด์ิ ได้แกผ่ ทู้ รงคุณวฒุ ซิ ึง่ สภาการพยาบาลเชญิ ใหเ้ ปน็ สมาชิกกติ ตมิ ศกั ด์ิ
คำอธบิ าย สมาชิกกิตติมศกั ด์ิ กฎหมายมไิ ด้กำหนดคุณวุฒขิ องสมาชกิ กิตตมิ ศกั ด์ไิ ว้ชดั เจน แสดง
วา่ จะมีความรูส้ าขาใดกไ็ ด้ อายุเทา่ ใดกไ็ ด้
มาตรา 12 สทิ ธิและหนา้ ที่ของสมาชิกสามัญมดี งั ต่อไปนี้
(1) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชพี การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ และขอหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง
หรอื หนงั สือแสดงวฒุ ิอื่นในวชิ าชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ โดยปฏบิ ัตติ ามขอ้ บงั คับสภาการพยาบาล
วา่ ด้วยการนัน้
(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาลส่งไปยังคณะกรรมการเพ่ือ
พิจารณา และในกรณีที่สมาชิกสามัญร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึน้ ไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดท่ี
เกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาล คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบ
โดยมชิ กั ชา้
(3) เลอื กตง้ั รบั เลอื กตัง้ หรือรบั เลอื กเป็นกรรมการ
(4) ผดุงไว้ซง่ึ เกียรตศิ กั ด์แิ หง่ วชิ าชีพและปฏิบัตติ นตามพระราชบญั ญัติน้ี
มาตรา 13 สมาชิกภาพของสมาชกิ สามัญส้นิ สุดลง เมอ่ื
(1) ตาย

9

(2) ลาออก
(3) ขาดคณุ สมบตั ติ ามมาตรา 11(1)
คำอธบิ าย การพ้นจากการเปน็ ผูป้ ระกอบวิชาชีพ เม่อื
(1) พ้นจากการเป็นสมาชกิ สามัญ
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤตผิ ิดจริยธรรมวชิ าชีพรา้ ยแรงจนถกู เพกิ ถอนใบอนญุ าต
(3) ใบอนุญาตหมดอายุ
หมวด 3 คณะกรรมการ
มาตรา 14 ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาล ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขห้าคน
ผู้แทนกระทรวงกลาโหมสามคน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยหนึ่งคน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัยสี่คน ผู้แทน
กรุงเทพมหานครหนึ่งคน ผู้แทนสภากาชาดไทยหนึ่งคน นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมาชิกสามัญสภาการพยาบาลอีกสิบหกคนซึ่ง
ได้รับเลือกตั้ง โดยสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาล เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและ
เลขานุการ
ข้อสังเกต คณะกรรมการสภาการพยาบาล ประกอบด้วย กรรมการจำนวน 32 คน มาจากการ
การแต่งตั้ง 16 คน เลือกตง้ั 16 คน
มาตรา 15 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตตมิ ศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษา
ได้ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการที่ปรึกษาต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ของคณะกรรมการ (ไม่เกิน 8 คน) ให้กรรมการที่
ปรึกษาดำรงตำแหนง่ ตามวาระของคณะกรรมการทแ่ี ตง่ ต้งั (4 ปี)
มาตรา 16 ให้คณะกรรมการเลอื กกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาการพยาบาล อุปนายก
สภาการพยาบาลคนท่หี นง่ึ และอปุ นายกสภาการพยาบาลคนท่สี อง ตำแหน่งละหนึง่ คน
ให้นายกสภาการพยาบาลเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตาม มาตรา 18 เพื่อดำรงตำแหน่ง
เลขาธิการหนึ่งคน และเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก
ตำแหน่งละหนึ่งคน ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตาม
วรรคหนึ่งหรือวรรคสองดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งเว้นแต่ผู้ดำรง
ตำแหน่งเลขาธกิ ารให้ดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการซ่งึ ไดร้ บั เลือกตงั้ (4 ปี)
ให้นายกสภาการพยาบาลมีอำนาจถอดถอนเลขาธิการก่อนครบวาระตามวรรคสามได้ ทั้งนี้ โดย
ความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ข้อสังเกต คณะกรรมการจะเลือกผู้ดำรงตำแหน่งบริหารจากผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ยกเว้น
ตำแหน่งเลขาธิการ กฎหมายให้อำนาจนายกสภาเลือกจากสมาชิกสามัญโดยได้รับความเห็นชอบจาก
คณะกรรมการ อาจเปน็ กรรมการหรอื ไมเ่ ป็นกไ็ ด้
ตัวอย่าง นางสาวใบตอง เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 มิได้รับการ
แตง่ ตั้งหรอื เลือกตัง้ ให้เป็นกรรมการ แตน่ ายกสภาเห็นวา่ มีความสามารถจึงแต่งตัง้ ใหด้ ำรงตำแหน่งเลขาธกิ าร
สภา กรณนี ้ี จำนวนกรรมการจะเป็น 33 คน
มาตรา 18 กรรมการนอกจากปลดั กระทรวงสาธารณสขุ และกรรมการทปี่ รกึ ษาต้องมีคุณสมบัติ
ดงั ตอ่ ไปน้ี
(1) เป็นผู้ประกอบวชิ าชีพการพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(2) ไม่เคยถกู สง่ั พกั ใชใ้ บอนญุ าตหรือเพิกถอนใบอนญุ าต
(3) ไมเ่ คยเปน็ บุคคลลม้ ละลาย

10

ข้อสังเกต กรรมการที่ไม่ต้องเป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสขุ และกรรมการทป่ี รกึ ษา

มาตรา 19 ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และ
อาจไดร้ ับแตง่ ตง้ั หรอื รับเลือกต้งั ใหมไ่ ดแ้ ตจ่ ะดำรงตำแหนง่ เกินสองคราวติดต่อกันไม่ได้

คำอธิบาย ถ้ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระ 4 ปี ติดต่อกัน 2 วาระ กรณีนี้
จะต้องเวน้ ไป 1 วาระ จึงมสี ทิ ธิเขา้ มาเปน็ กรรมการใหม่ได้

มาตรา 20 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและ รับเลือกตั้งพ้น
จากตำแหนง่ เม่ือ

(1) สมาชิกภาพสิน้ สดุ ลงตามมาตรา 13
(2) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 18
(3) ลาออก
ขอ้ สงั เกต กรรมการท่ีปรึกษาก่ีวาระก็ได้ เหตทุ ท่ี ำใหก้ รรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระตาม
มาตรา 20 ได้แก่
(1) พ้นจาการเป็นสมาชกิ สามัญ
(2) ขาดคุณสมบัตขิ องการเป็นกรรมการ เชน่ ถกู พกั ใชห้ รอื เพกิ ถอนในอนุญาต
(3) ลาออก
มาตรา 21 ในกรณีตำแหนง่ กรรมการซึง่ ได้รบั เลอื กต้ังว่างลงไมเ่ กนิ กง่ึ หนง่ึ ของจำนวน
กรรมการดังกลา่ วทั้งหมด (ไม่เกนิ 8 คน) กอ่ นครบวาระใหค้ ณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญ ผู้มีคุณสมบัติ
ตามมาตรา 18 เป็นกรรมการแทนภายในสามสบิ วนั นับแตว่ ันทีต่ ำแหน่งกรรมการน้นั วา่ งลง ในกรณตี ำแหนง่
กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการดังกล่าวทั้งหมด (เกิน 8 คน) ให้สมาชิก
สามัญเลือกต้งั กรรมการข้นึ แทนภายในเก้าสบิ วันนับแตว่ นั ทตี่ ำแหน่งกรรมการดงั กลา่ วไดว้ ่างลงเกนิ กึ่งหนึ่ง
ถา้ วาระของกรรมการซึง่ ได้รับการเลอื กตั้งเหลืออยู่ไมถ่ งึ เก้าสิบวันคณะกรรมการจะไมใ่ หม้ ีการเลือก
กรรมการแทนก็ได้
ใหผ้ ู้ซ่งึ เปน็ กรรมการแทนนัน้ อยใู่ นตำแหน่งไดเ้ พยี งเท่าวาระทยี่ งั เหลืออยูข่ องกรรมการซ่งึ ตนแทน
หมวด 4 การดำเนนิ กิจการของคณะกรรมการ
มาตรา 24 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
กรรมการทั้งหมด (16 คน) จึงจะเปน็ องคป์ ระชมุ
มติของทีป่ ระชมุ ใหถ้ ือเสียงขา้ งมาก กรรมการคนหน่ึงมีเสยี งหน่งึ เสียง ในการลงคะแนน ถ้าคะแนน
เสียงเท่ากนั ใหป้ ระธานในทปี่ ระชมุ ออกเสยี งเพ่มิ ข้ึนอีกหน่ึงเสยี งชีข้ าด
มติของที่ประชุมในกรณีให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามมาตรา
11 (1) (ค) (ง) และ (จ) ให้ถอื คะแนนเสียงไมน่ ้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
ข้อสงั เกต
1. จำนวนกรรมการในการประชุมทุกคร้ังตอ้ งมีกรรมการมาประชมุ อย่างน้อยสุดกึ่งหนงึ่
คอื 16 คน จงึ ถอื วา่ เปน็ องคป์ ระชมุ ท่จี ะพจิ ารณาเรอ่ื งและลงมตไิ ด้
2. การลงมติ อาจแบ่งไดเ้ ป็น 2 กรณี คอื

2.1 เรือ่ งท่วั ๆ ไป ใหถ้ ือเสียงข้างมากของกรรมการทีม่ าประชมุ ในครง้ั น้นั โดยให้
กรรมการ 1 คน มีเสียง 1 เสียง ถ้าคะแนนเสยี งเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ท่ีชีข้ าดเพราะมสี ิทธิ
ออกเสยี งเพ่ิมอีก 1 เสียง ทำให้เกิดเสยี งขา้ งมากข้ึน

2.2 การใหส้ มาชกิ สามญั พ้นจากสมาชิกภาพ เน่อื งจากขาดคณุ สมบตั ใิ นเรอื่ งความ

11

ประพฤติเสื่อมเสีย หรือเป็นโรคที่น่ารังเกียจ หรือเป็นโรคติดต่อในระยะอันตราย ซึ่งจะทำให้สมาชิกผ้นู น้ั
พ้นจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอีกด้วย ถือว่าทำให้เกิดผลร้ายต่อสมาชิก จำเป็นต้องให้กรรมการส่วน
ใหญ่พิจารณาเห็นว่าไม่สมควรให้ประกอบวิชาชีพต่อไป เพราะอาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ จึง
ต้องมีคะแนนเสียงถึง 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการท้ังคณะ คือต้องไม่น้อยกว่า 21 เสียง กรรมการทั้ง
คณะมี 32 คน ถ้าในการประชุมครั้งใดมีกรรมการมาประชุม น้อยกว่า 21 คน จะไม่สามารถลงมติใน
เรือ่ งนี้ได้

มาตรา 25 สภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) จะเข้าฟังการประชุมและ
ชี้แจงแสดงความเห็นในทีป่ ระชมุ คณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคณะกรรมการในเร่อื ง
ใด ๆ กไ็ ด้

มาตรา 26 มติของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องต่อไปนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายก
พเิ ศษ (รัฐมนตรวี ่าการกระทรวงสาธารณสุข) ก่อน จงึ จะดำเนนิ การตามมตนิ ้ันได้

(1) การออกข้อบังคับ
(2) การกำหนดงบประมาณของสภาการพยาบาล
(3) การให้สมาชกิ สามญั พน้ จากสมาชกิ ภาพตามมาตรา 24 วรรคสาม
(4) การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 41 วรรคสาม (4) คือพักใช้ใบอนุญาต และ (5) คือเพิกถอน
ใบอนุญาต
ให้นายกสภาการพยาบาลเสนอมติตามวรรคหนึ่งต่อสภานายกพิเศษโดยไม่ชักช้า สภานายกพิเศษ
อาจมีคำสั่งยับยั้งมตินั้นได้ ในกรณีที่มิได้ยับยั้ง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับมติที่นายกสภาการ
พยาบาลเสนอใหถ้ อื วา่ สภานายกพเิ ศษใหค้ วามเหน็ ชอบมติน้นั
ถ้าสภานายกพิเศษยับยั้งมตใิ ด ให้คณะกรรมการประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับ
แต่วันไดร้ ับทราบการยับยั้ง ในการประชุมน้ันถา้ มเี สียงยืนยนั มติไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการ
ท้ังคณะกใ็ หด้ ำเนินการตามมตนิ ั้นได้
หมวด 5 การควบคุมการประกอบวชิ าชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
มาตรา 27 หา้ มมิใหผ้ ูใ้ ดซ่งึ มิไดเ้ ปน็ ผปู้ ระกอบวชิ าชีพการพยาบาล หรือมิไดเ้ ปน็ ผปู้ ระกอบวิชาชีพ
การผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาล หรือการ
ผดงุ ครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธใี ดๆ ใหผ้ ู้อื่นเข้าใจว่าตนเปน็ ผู้มีสทิ ธปิ ระกอบวิชาชพี ดงั กล่าว โดยมไิ ดข้ ึ้นทะเบยี น
และรบั ใบอนุญาต
คำอธิบาย มาตราน้ี คมุ้ ครองผบู้ รโิ ภคให้ได้รบั บริการท่ีมีมาตรฐานโดยการหา้ มมิให้ผู้ท่ีไม่ได้เป็นผู้
ประกอบวิชาชีพ กระทำการพยาบาลฯหรอื แสดงวิธีให้ผูอ้ น่ื เข้าใจวา่ ตนเปน็ ผมู้ สี ทิ ธปิ ระกอบวชิ าชีพ เวน้ แตใ่ น
กรณอี ยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง ดังต่อไปน้ี
(1) การพยาบาลหรือการผดงุ ครรภท์ ่กี ระทำตอ่ ตนเอง เชน่ ฉดี insulin ให้ตนเอง ทำคลอด
ให้ตนเอง
(2) การช่วยเหลอื หรอื เยียวยาแก่ผู้ปว่ ยตามหนา้ ท่ตี ามกฎหมายหรอื ตามธรรมจรรยาโดยมไิ ด้
รบั ประโยชนต์ อบแทน แต่การกระทำดังกลา่ วต้องมใิ ช่เปน็ การฉดี ยา หรือสารใดๆ เขา้ ไปในรา่ งกายของผปู้ ว่ ย
หรอื การให้ยาอันตราย ยาควบคมุ พิเศษ วตั ถุออกฤทธ์ติ อ่ จติ และประสาทหรอื ยาเสพตดิ ให้โทษ ตามกฎหมาย
วา่ ดว้ ยการนัน้
(3) นักเรยี น นักศึกษา หรอื ผูร้ ับการฝึกอบรม ในความควบคมุ ของสถาบันการศึกษาวิชาการ

12

พยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดต้ัง หรือสถาบันการศึกษาที่
คณะกรรมการรับรอง ทั้งนี้ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัดหรือผู้ให้การฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
วิชาชพี การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรอื การพยาบาลและการผดุงครรภ์

(4) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรงุ เทพมหานคร เมอื งพทั ยา องค์การบริหารส่วนจงั หวัด
เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ
สภากาชาดไทยมอบหมายให้กระทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามระเบียบที่รัฐมนตรี
กำหนดโดยประกาศในราชกจิ จานุเบกษา

คำอธิบาย บุคคลซึ่งสังกัดในส่วนราชการ หรือสภากาชาดไทยได้รับมอบหมายให้กระทำการ
พยาบาล การผดุงครรภ์ ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฯ กำหนดรายละเอียด
ดังนี้

- ผู้สำเร็จการศึกษาการพยาบาลฯ (ทั้งในและต่างประเทศ)จากสถานศึกษาที่สภารับรอง มิได้ขนึ้
ทะเบียนเป็นผปู้ ระกอบวิชาชพี ซึ่งต้องอยใู่ นความควบคุมของเจ้าหนา้ ทซ่ี งึ่ เป็นผ้ปู ระกอบวิชาชพี

- เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เช่นผู้ช่วยพยาบาล อาสาสมัคร
สภากาชาดไทย ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว
จิตใจ สญั ญาณชีพ หรอื ไมเ่ ป็นโรคระยะตดิ ตอ่

(5) ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผ้ปู ระกอบวิชาชีพเวชกรรม หรอื ผู้ประกอบวชิ าชพี อ่นื ตามข้อจำกัด และ
เงื่อนไขตามกฎหมายว่าดว้ ยการประกอบวชิ าชพี น้ัน

(6) การพยาบาลหรอื การผดงุ ครรภข์ องที่ปรึกษาหรอื ผ้เู ชี่ยวชาญของทางราชการ หรือผูส้ อน
ในสถาบนั การศึกษา ซ่งึ มีใบอนญุ าตเปน็ ผู้ประกอบวชิ าชพี การพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรอื การพยาบาลและ
การผดุงครรภ์ของตา่ งประเทศ ท้งั นี้ ใหเ้ ป็นไปตามข้อบงั คบั ของสภาการพยาบาล

คำอธิบาย การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้
ประกอบวิชาชีพของต่างประเทศ ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการสภาเป็นการปฏิบัติงานชั่วคราว จะออก
ใบอนญุ าตชั่วคราวครั้งละไมเ่ กนิ 1 ปี

(7) บคุ คลซ่งึ ปฏบิ ตั ิงานเกีย่ วกบั การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ เพอ่ื ชว่ ยเหลอื เจา้ หนา้ ทีซ่ ่ึง
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในกรณีที่มีสาธารณ
ภยั หรอื เกดิ ภัยพบิ ตั ิอยา่ งรา้ ยแรง

(8) บุคคลซึง่ ช่วยเหลือดูแลผู้ปว่ ยในสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวชิ าชีพการ
พยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามระเบียบซึ่งรัฐมนตรกี ำหนด โดยประกาศ
ในราชกจิ จานเุ บกษา

คำอธบิ าย ระเบียบซง่ึ รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกจิ จานุเบกษา มีดังนี้
- บุคคลที่ผ่านการอบรมในหลักสตู รที่เก่ียวกับวชิ าชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นเวลาไม่
น้อยกว่า 1 ปี ตามหลกั สูตรทคี่ ณะกรรมการสภารับรอง
- มสี ิทธิทำการชว่ ยเหลือดูแลผ้ปู ่วยที่มีอาการในระยะไม่รนุ แรง หรอื ไม่เป็นอันตราย ให้กระทำได้
เฉพาะกจิ กรรม การวัดสญั ญาณชีพ การเชด็ ตวั การเตรยี มและให้อาหาร
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในระยะอันตรายหรือรุนแรง ถ้าต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กล่าวมาแลว้
ให้กระทำในลักษณะที่เป็นการช่วยเหลือ หรือกระทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุง
ครรภ์ช้ันหนึ่ง

13

ผู้มิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพมากระทำการพยาบาลฯ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นการละเมิด
ต้องรับโทษตามกฎหมาย

มาตรา 29 การขึน้ ทะเบยี นและออกใบอนญุ าตให้แบง่ เป็นสามประเภท คอื ผ้ปู ระกอบวิชาชีพการ
พยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบ
วชิ าชีพในแต่ละประเภทตามวรรคหนึ่งใหแ้ บง่ เปน็ สองช้ัน คอื ชน้ั หนึ่ง และชน้ั สอง ใบอนญุ าตทุกประเภทให้
มีอายหุ ้าปีนับแตว่ นั ทอี่ อกใบอนญุ าต

คำอธบิ าย
1. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี หากประสงค์จะขอตอ่ อายุใบอนญุ าต ต้องมคี ุณสมบตั ินับแต่วนั ทไ่ี ด้รบั

ใบอนุญาตจนถึงวันทยี่ ืน่ คำขอต่ออายุใบอนุญาต ดงั นี้
(ก) เป็นผปู้ ฏิบตั งิ านในวชิ าชีพการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ดา้ นบริการ ด้านบริหาร

ด้านการศึกษา ด้านวชิ าการ ด้านการวจิ ยั หรอื เป็นผู้ทรงคุณวฒุ ิ หรือที่ปรึกษาด้านวิชาการหรือวิชาชีพและ
ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพหรือวิชาการ หรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร หรือ
พัฒนาวิชาชพี โดยเก็บหนว่ ยคะแนน อยา่ งนอ้ ย 50 หน่วยคะแนน หรอื

(ข) เป็นผู้ที่ได้รบั วุฒิการศึกษาทางการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์เพ่มิ เติม หรอื กำลงั ศึกษา
ต่อในหลกั สูตรการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ หรอื

(ค) เปน็ ผไู้ ดร้ ับวฒุ ิการศึกษาในสาขาอน่ื เพมิ่ เตมิ หรือกำลงั ศกึ ษาตอ่ ในหลักสูตรสาขาอน่ื
และได้รบั การเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถทางวชิ าชีพ หรือวิชาการ หรือ มีส่วนร่วมในการพฒั นาบุคลากร
หรอื พัฒนาวิชาชพี

2. ผปู้ ระกอบวชิ าชีพ ท่ีไม่มีคุณสมบตั ิตามข้อ 1 หากประสงคจ์ ะขอต่ออายุใบอนญุ าตตอ้ ง
ผ่านการอบรมทางวิชาชีพตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สภาการพยาบาลกำหนด โดยความ
เห็นชอบของ คณะกรรมการ

3. ผปู้ ระสงค์จะขอตอ่ อายุใบอนุญาต ให้ย่ืนคำขอต่อเลขาธิการ ณ สำนักงานสภาการ
พยาบาล โดยย่ืนล่วงหน้าไดไ้ มเ่ กนิ หน่ึงร้อยแปดสิบวันก่อนวันทใ่ี บอนุญาตจะหมดอายุ

4. การต่ออายุไม่ทนั ตามกาน้าตอ้ งสอบประเมนิ ความร้ทู ้งั 8 วชิ า
มาตรา 30 ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา 29 ต้องมี
ความรูด้ งั นี้ คือ
(1) ผู้ประกอบวิชาชพี การพยาบาล ผปู้ ระกอบวชิ าชพี การผดงุ ครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชพี การพยาบาล
และการผดุงครรภ์ ชนั้ หนง่ึ ต้อง

(ก) ได้รับปริญญาหรอื ประกาศนยี บัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุง
ครรภ์ หรอื การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยทีค่ ณะกรรมการรับรองและ
สอบความรูแ้ ล้ว หรอื

(ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุง
ครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสถาบนั การศกึ ษาในต่างประเทศและไดร้ ับอนญุ าตใหเ้ ป็น ผู้
ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ตนได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร ซึ่งคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐาน
การศกึ ษาและสอบความรู้แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้ที่มสี ญั ชาตไิ ทยไมต่ อ้ งเปน็ ผูไ้ ดร้ บั อนุญาตให้เป็นผปู้ ระกอบวิชาชีพ
ในประเทศท่ผี ู้นั้นได้รับปรญิ ญา หรือประกาศนยี บัตรกไ็ ด้

(2) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ ชนั้ สอง ตอ้ ง

(ก) ได้รบั ประกาศนียบตั รในสาขาการพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรอื การพยาบาล

14

และการผดุงครรภ์ ระดับต้น จากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้
แล้ว หรอื

(ข) ได้รับประกาศนียบตั รในสาขาการพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรอื การพยาบาล
และการผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพใน
ประเทศที่ตนได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลักฐานการศึกษาและสอบความรู้แล้ว
แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยไม่ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ผู้นั้นได้รับ
ประกาศนยี บตั รกไ็ ด้

มาตรา 31 ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญแห่งสภาการพยาบาลและมี
คุณสมบตั อิ ่นื ตามทีก่ ำหนดไวใ้ นข้อบงั คับสภาการพยาบาล

เมือ่ ผปู้ ระกอบวชิ าชพี การพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ ผู้ใดขาดจาก
สมาชกิ ภาพใหใ้ บอนญุ าตของผนู้ น้ั ส้นิ สดุ ลง

ใหผ้ ูซ้ ึง่ ขาดจากสมาชิกภาพตามวรรคสองสง่ คืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการภายในสิบห้าวันนับแต่วันท่ี
ทราบการขาดจากสมาชิกภาพ

คำอธิบาย
คณุ สมบัตอิ ่นื
1. ไม่เปน็ โรคตามข้อบังคบั สภาการพยาบาล
2. ไม่เปน็ ผ้อู ยู่ระหวา่ งถกู สงั่ พกั ใชใ้ บอนุญาต
3. ไม่เคยขึน้ ทะเบยี นและรับใบอนญุ าตเปน็ ผปู้ ระกอบวิชาชพี เพ่ือป้องกันการขนึ้ ทะเบียน
ซ้อน เวน้ แตถ่ กู เพิกถอนในอนุญาตมาแล้วเปน็ เวลา 2 ปี
4. ไม่เปน็ ผถู้ กู เพิกถอนใบอนญุ าตและคณะกรรมการปฏเิ สธการออกใบอนุญาตเปน็ ครง้ั ที่ 2
กรณีที่บุคคลนั้นมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันทีที่สำเร็จการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่มการข้ึน
ทะเบียนสำหรับผู้ไม่ขอข้ึนทะเบียนทันที่ที่สำเร็จการศึกษา สำเร็จการศึกษาก่อน 6 กันยายน 2528 และ
หลัง 6 กันยายน 2528 ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขที่สภารับรองได้แก่
กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล
สภากาชาดไทย ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันยื่นคำขอ มีสิทธิเป็นสมาชิกสามัญและขอขึ้นทะเบียน
เป็นผู้ประกอบวชิ าชีพไดท้ ันที
(ข) กรณที ผ่ี ู้สำเรจ็ การศึกษาทงั้ 2 กลมุ่ ไม่ได้ประกอบวิชาชีพติดตอ่ กนั มา 2 ปี หรือประกอบวชิ าชพี
ในสถานบริการที่สภาไม่รับรองไม่ว่าจะนานเท่าใดก็ตาม ต้องผ่านการฝึกอบรมวิชาการพยาบาล การผดุง
ครรภ์ จริยธรรม ฯลฯ ตามวธิ ีการและระยะเวลาทส่ี ภากำหนด
กฎหมายกำหนดให้พ้นจาการเป็นผู้ประกอบวิชาชพี เมอ่ื
1. ขาดจาการเปน็ สมาชกิ สามญั ไม่ว่าดว้ ยสาเหตุใดสง่ คนื ใบอนุญาตต่อเลขาภายใน 15 วนั นบั
จากทราบการขาดสมาชกิ ภาพ
2. ถกู เพิกถอนใบอนญุ าต เมื่อประพฤตผิ ดิ จริยธรรมวิชาชีพร้ายแรง จนถูกลงโทษเพิกถอน
(ตามหลกั เกณฑม์ าตรา 45)
3. ใบอนุญาตหมดอายุ ตามมาตรา 29 กำหนดให้ใบอนุญาตทุกประเภทมีอายุ 5 ปี ตอ้ ง
ดำเนินการขอตอ่ ใบอนุญาต
มาตรา 32 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการ
พยาบาล

15

คำอธบิ าย
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุง

ครรภ์ พ.ศ. 2550 มผี ลบงั คบั ใช้ 11 กรกฎาคม 2550 ดงั นี้
หมวด 1 บททว่ั ไป
“ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุง

ครรภ์ และผู้ประกอบวชิ าชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
ผปู้ ระกอบวิชาชีพ ย่อมดำรงตนใหส้ มควรในสังคมโดยธรรม และเคารพต่อกฎหมายของบ้านเมอื ง
ผู้ประกอบวิชาชีพ ยอ่ มประกอบวิชาชพี ด้วยเจตนาดี โดยไมค่ ำนึงถงึ ฐานะ เชอ้ื ชาติสัญชาติ ศาสนา

สงั คม หรือลทั ธิการเมือง
ผูป้ ระกอบวชิ าชพี ยอ่ มไมป่ ระพฤติหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตใุ ห้เส่ือมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง

วิชาชีพ
หมวด 2 การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์การปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือ

ผใู้ ช้บริการ
1. ผู้ประกอบวิชาชพี ต้องรกั ษามาตรฐานของวชิ าชพี ตามทสี่ ภาการพยาบาลประกาศกำหนดโดย

ไม่เรยี กร้อง สนิ จ้างรางวลั พเิ ศษนอกเหนือจากคา่ บริการท่คี วรไดร้ บั ตามปกติ
2. ผู้ประกอบวิชาชพี ตอ้ งไม่จูงใจ หรอื ชักชวนผ้ใู ดใหม้ าใชบ้ รกิ ารการพยาบาล หรือการผดุงครรภ์

เพื่อผลประโยชนข์ องตน
3. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ตอ้ งไมเ่ รียกร้องขอรับผลประโยชน์เปน็ ค่าตอบแทนเนือ่ งจากการรบั หรือสง่

ผปู้ ่วย หรือผใู้ ช้บริการเพอื่ รบั บริการทางการพยาบาลหรอื การผดงุ ครรภ์
4. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ตอ้ งปฏบิ ตั ติ อ่ ผู้ปว่ ยหรอื ผู้ใชบ้ ริการโดยสภุ าพและปราศจากการบังคับ

ขูเ่ ข็ญผูป้ ระกอบวชิ าชพี ตอ้ งไม่หลอกลวงผูป้ ่วยหรือผู้ใช้บริการ ให้หลงเขา้ ใจผดิ เพื่อประโยชน์ของตน
5. ผปู้ ระกอบวชิ าชีพ ต้องไม่ประกอบวิชาชพี โดยไมค่ ำนงึ ถึงความปลอดภยั และความส้ินเปลอื ง

ของผู้ปว่ ยหรือผใู้ ช้บริการ
6. ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไมส่ ง่ั ใช้หรอื สนับสนุนการใช้ยาตำราลบั รวมท้งั ใช้อปุ กรณ์ทาง

การแพทยอ์ นั ไมเ่ ปิดเผยส่วนประกอบ
7. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ต้องไมอ่ อกใบรบั รองอันเปน็ เทจ็ โดยเจตนา หรอื ใหค้ วามเหน็ โดยไมส่ ุจรติ ใน

เรอ่ื งใดๆ อนั เกย่ี วกบั วิชาชีพของตน
8. ผูป้ ระกอบวชิ าชพี ต้องไม่เปดิ เผยความลบั ของผูป้ ว่ ย หรือผใู้ ช้บรกิ าร ซง่ึ ตนทราบมาเนอื่ งจาก

การประกอบวิชาชีพเวน้ แตด่ ้วยความยินยอมของผปู้ ่วยหรอื ผ้ใู ช้บรกิ าร หรือเม่อื ต้องปฏิบตั ติ ามกฎหมายหรือ
ตามหนา้ ท่ี

9. ผู้ประกอบวิชาชีพ ตอ้ งไมป่ ฏิเสธการชว่ ยเหลือผทู้ อ่ี ย่ใู นระยะอันตรายจากการเจบ็ ปว่ ยเมือ่
ได้รบั คำขอร้องและตนอยู่ในฐานะทีจ่ ะช่วยได้

10. ผปู้ ระกอบวิชาชีพ ต้องไม่ประกอบการในทางสาธารณะ หรือสถานทส่ี าธารณะเว้นแต่ในเหตุ
ฉุกเฉินในการปฐมพยาบาล หรือในการปฏิบัติหน้าที่การงานของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศใน
ราชกจิ จานเุ บกษาหรอื สภากาชาดไทย

11. ผปู้ ระกอบวชิ าชีพ ต้องไมใ่ ช้หรอื สนบั สนุนให้มกี ารประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดงุ
ครรภ์ การประกอบวชิ าชีพด้านการแพทยห์ รือการสาธารณสขุ หรือการประกอบโรคศลิ ปะโดยผิดกฎหมาย

16

การปฏิบัตติ อ่ ผรู้ ว่ มวิชาชีพ
12. ผปู้ ระกอบวชิ าชีพ พงึ ยกย่องให้เกยี รติและเคารพในศักดิศ์ รีซ่ึงกันและกัน
13. ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไมท่ ับถมใหร้ ้ายหรือกล่ันแกลง้ กนั
14. ผู้ประกอบวิชาชพี ตอ้ งไม่ชักจงู ผปู้ ว่ ยหรือผูใ้ ช้บริการผอู้ ืน่ มาเป็นของตน
การปฏิบัตติ ่อผู้ร่วมงาน
16. ผู้ประกอบวิชาชพี พงึ ยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดศ์ิ รีของผู้ร่วมงาน
17. ผู้ประกอบวชิ าชีพ ตอ้ งไมท่ ับถมให้รา้ ย หรือกล่นั แกล้งผ้รู ว่ มงาน
18. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี พึงส่งเสรมิ และสนบั สนุนการประกอบวิชาชีพของผ้รู ่วมงาน
การศกึ ษาวิจัยและการทดลองต่อมนุษย์
19. ผู้ประกอบวชิ าชีพ ผู้ทำการทดลองตอ่ มนุษย์ ต้องได้รับความยนิ ยอมจากผู้ถกู ทดลองและตอ้ ง
พร้อมทจี่ ะป้องกันผ้ถู กู ทดลองจากอนั ตรายท่อี าจเกดิ ขน้ึ จากการทดลองนน้ั ๆ
20. ผู้ประกอบวชิ าชพี ตอ้ งปฏบิ ัตติ อ่ ผู้ถกู ทดลองเชน่ เก่ยี วกบั การปฏบิ ตั ติ อ่ ผูป้ ่วยหรอื ผู้ใชบ้ รกิ ารใน
การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามสว่ นที่ 1 โดยอนโุ ลม
21. ผปู้ ระกอบวิชาชีพ ตอ้ งรบั ผิดชอบตอ่ อนั ตรายหรอื ผลเสยี หายเน่อื งจากการทดลองท่ีบงั เกดิ ต่อผู้
ถกู ทดลอง อันมิใช่ความผดิ ของผู้ถกู ทดลอง
22. ผู้ประกอบวชิ าชพี สามารถทำการวจิ ัยได้เฉพาะเมื่อโครงการศกึ ษาวจิ ยั หรือการทดลองดังกลา่ ว
ไดร้ บั การพิจารณาเหน็ ชอบจากคณะกรรมการดา้ นจรยิ ธรรมทเ่ี กย่ี วข้องแลว้ เท่านน้ั
23. ผู้ประกอบวิชาชพี จะต้องปฏบิ ตั ติ ามแนวทางจรยิ ธรรมของการศกึ ษาวจิ ัย และการทดลองใน
มนุษย์ และจรรยาบรรณของนกั วจิ ัย
หมวด 3 การโฆษณาการประกอบวชิ าชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
24. ผปู้ ระกอบวชิ าชพี ตอ้ งไมโ่ ฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมใหผ้ อู้ ่นื โฆษณาการประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ ความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพของตนหรือของผู้อื่นการโฆษณา
ตามขอ้ 24 อาจกระทำไดใ้ นกรณตี ่อไปนี้
(ก) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวชิ าการ
(ข) การแสดงผลงานในหนา้ ที่หรอื ในการบำเพ็ญประโยชนส์ าธารณะ
(ค) การแสดงผลงานหรือความกา้ วหนา้ ทางวิชาการเพ่อื การศึกษาของมวลชน
(ง) การประกาศเกยี รติคณุ เปน็ ทางการโดยสถาบนั วชิ าการ สมาคมหรอื มลู นธิ ิ
ทั้งน้ี ต้องละเว้นการแสวงหาประโยชน์ที่จะเกิดต่อการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุง
ครรภส์ ว่ นบคุ คล
25. ผปู้ ระกอบวิชาชพี อาจแสดงขอ้ ความเกย่ี วกับการประกอบวชิ าชีพการพยาบาลและการผดงุ
ครรภข์ องตนที่สถานท่ปี ระกอบวิชาชพี การพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรอื สำนกั งานได้เพียงขอ้ ความเฉพาะ
เรื่อง ต่อไปน้ี

(ก) ช่อื ชอ่ื สกลุ และอาจมีคำประกอบชอ่ื ได้เพียงคำอภิไธย ตำแหน่งทางวชิ าการฐานนั ดร
ศกั ด์ิยศ และบรรดาศักดิเ์ ท่านน้ั

(ข) ชื่อปริญญา วุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้
รับมาโดยวธิ ีการถูกตอ้ งตามกฎเกณฑข์ องสภาการพยาบาลหรอื สถาบนั น้ัน ๆ

(ค) สาขาของวิชาชีพการพยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(ง) เวลาทำการ
26. ผปู้ ระกอบวชิ าชีพ อาจแจ้งความการประกอบวิชาชพี การพยาบาลและการผดุงครรภเ์ ฉพาะ

17

การแสดงทอี่ ยู่ ท่ีตั้งสำนกั งาน หมายเลขโทรศพั ท์ และหรอื ขอ้ ความทีอ่ นญุ าตในขอ้ 25 เทา่ นนั้
27. ผ้ปู ระกอบวชิ าชีพ ผู้ทำการเผยแพร่หรอื ตอบปัญหาทางสอ่ื มวลชน ถา้ แสดงตนวา่ เป็นผู้

ประกอบ
วิชาชีพต้องไม่แจ้งสถานที่ทำการประกอบวิชาชีพส่วนตัวเป็นทำนองการโฆษณาและต้องไม่มีการแจ้งความ
ตามขอ้ 26 ในทเ่ี ดียวกันหรือขณะเดียวกันน้ันดว้ ย

28. ผ้ปู ระกอบวิชาชพี ตอ้ งระมดั ระวังตามวสิ ยั ท่พี งึ มีมใิ หก้ ารประกอบวชิ าชพี การพยาบาลและการ
ผดงุ ครรภ์ของตนแพรอ่ อกไปในสอ่ื มวลชนเป็นทำนองโฆษณาความรู้ ความสามารถ

มาตรา 33 บุคคลผู้ซึ่งได้รับความเสยี หายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
หรอื การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประพฤตผิ ิดจรยิ ธรรมแหง่ วิชาชพี การพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีสิทธิ
กล่าวหาผกู้ อ่ ใหเ้ กิดความเสยี หายนนั้ โดยทำเรอื่ งยน่ื ต่อสภาการพยาบาล

กรรมการมีสิทธิกลา่ วโทษผูป้ ระกอบวชิ าชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการ
ผดุงครรภ์ ว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยแจ้งเรื่องต่อสภาการ
พยาบาล

สิทธิการกลา่ วหาตามวรรคหนึ่ง หรือสทิ ธิการกล่าวโทษตามวรรคสองส้ินสุดลงเมอื่ พน้ หนง่ึ ปีนับแต่
วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพดังกล่าวและรู้ตัวผู้
ประพฤติผดิ ทัง้ นี้ไม่เกินสามปีนบั แต่วนั ท่ีมีการประพฤตผิ ดิ จรยิ ธรรมแหง่ วชิ าชพี นัน้

การถอนเร่ืองการกลา่ วหาหรือการกล่าวโทษท่ไี ด้ย่นื เรื่องหรือแจง้ ไว้แล้วนั้น ไมเ่ ปน็ เหตุให้ระงับการ
ดำเนนิ การตามพระราชบญั ญัตนิ ี้

คำอธิบาย
ระยะเวลาการกลา่ วหา กลา่ วโทษ
(ก) นับแต่วันประพฤติผิดจริยธรรมวิชาชีพ (เกิดเหตุ) และรู้ตัวผู้กระทำผิด สิทธิการกล่าวหา
กลา่ วโทษ ภายใน 1 ปี
(ข) ระยะเวลาตามขอ้ (ก) ไมน่ านเกิน 3 ปี นบั จากวนั เกิดเหตุ
หมายเหตุ การนบั ระยะเวลานบั วันชนวนั
ตัวอย่าง พยาบาล ฉีดยาผิดเป็นเหตุให้ ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตเมื่อ 4 ธ.ค.2563 (วันเกิดเหตุ) ถ้า
มารดา ของเดก็ ทราบเรื่องโดยตลอดวา่ เป็นเพราะการฉดี ยาของพยาบาล มารดาต้องย่ืนคำกล่าวหาพยาบาล
ตอ่ สภาการพยาบาลภายในวนั ท่เี ท่าใด (4 ธ.ค.2564)
หากนางบุญหลายไม่ทราบว่าบุคคลใดที่ทำให้ ด.ญ.บุญน้อยเสียชีวิต แต่มาทราบเมื่อ 14 ม.ค.
2564 นางบุญหลายมีสิทธิยื่นคำกล่าวหานางลูกจันทน์ต่อสภาการพยาบาลภายในวันที่เท่าใด (4 ธ.ค.
2566) กรณนี ้ีระยะเวลาการกลา่ วหา หรอื กล่าวโทษ ไม่ถงึ 1 ปี เนอ่ื งจาก ระยะเวลาไมน่ านเกนิ 3 ปี นับ
จากวนั เกิดเหตุ
หากนางบุญหลายต้องการยุตเิ รื่อง ก็ไม่เป็นเหตุให้สภาการพยาบาลยุติการพิจารณาการประพฤติ
ผดิ จริยธรรมวชิ าชพี ของนางลูกจันทร์
มาตรา 34 เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องการกล่าวหา หรือการกล่าวโทษตามมาตรา 33 หรือ
ในกรณที ี่คณะกรรมการมีมตวิ ่ามีพฤตกิ ารณ์อนั สมควรใหม้ ีการพจิ ารณาเก่ียวกบั จรยิ ธรรมแหง่ วชิ าชพี ของ
ผู้ประกอบวชิ าชพี การพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรอื การพยาบาลและการผดงุ ครรภผ์ ้ใู ดให้เลขาธกิ าร
เสนอเรือ่ งดังกลา่ วต่อประธานอนุกรรมการจริยธรรมโดยไม่ชกั ชา้
คำอธบิ าย ข้นั ตอนการพิจารณาเร่ืองการกล่าวหา หรือการกล่าวโทษ

18

มาตรา 39 ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกลา่ วหา หรือข้อกล่าวโทษพร้อมท้ังส่งสำเนา
เรื่องที่กล่าวหา หรือกล่าวโทษ ให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทำการ
สอบสวนผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใดๆ มาให้
คณะอนุกรรมการสอบสวน คำชี้แจงหรือพยานหลักฐานนั้น ให้ยื่นต่อประธานอนุกรรมการสอบสวนภายใน
สิบหา้ วนั นับแต่วนั ทไี่ ดร้ บั แจ้งจากประธานอนุกรรมการสอบสวน หรอื ภายในกำหนดเวลาทีค่ ณะอนกุ รรมการ
สอบสวนจะขยายให้

อธบิ าย สทิ ธิของผถู้ กู กลา่ วหาและกลา่ วโทษ
(1) รับทราบข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษและโดยประธานอนุกรรมการสอบสวนต้องแจ้ง ข้อ
กล่าวหา/กลา่ วโทษไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน ก่อนเร่มิ ทำการสอบสวน
(2) ทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐาน (บุคคล วัตถุ) แสดงต่อ ประธานอนุกรรมการสอบสวน
ภายในเวลากำหนด(3) คัดคา้ นอนกุ รรมการฯเพื่อปอ้ งกันความไม่ยุตธิ รรมเช่น ผ้รู เู้ ห็นเหตุการณ์ มีประโยชน์
ได้เสีย มีเหตุโกรธเคือง เป็นคู่สมรส/ญาติเกี่ยวข้องเป็นบุพการีพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้กล่าวหา/
กลา่ วโทษ หากคดั คา้ นต้องย่ืนตอ่ กรรมการภายใน 15 วันนบั จากทราบคำสัง่
มาตรา 41 เมื่อคณะกรรมการได้รับสำนวนการสอบสวน และความเห็นของคณะอนุกรรมการ
สอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าว คณะกรรมการอาจให้
คณะอนกุ รรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพม่ิ เตมิ ก่อนวินจิ ฉัยช้ีขาดกไ็ ด้
คณะกรรมการมีอำนาจวนิ จิ ฉัยชี้ขาดอย่างใดอยา่ งหนง่ึ ดังตอ่ ไปน้ี

(1) ยกข้อกล่าวหาหรือขอ้ กล่าวโทษ
(2) วา่ กล่าวตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พกั ใชใ้ บอนุญาตมีกำหนดเวลาตามทีเ่ หน็ สมควร แตไ่ มเ่ กนิ สองปี
(5) เพกิ ถอนใบอนุญาต
ภายใต้บังคับมาตรา 26 คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตาม มาตรานี้ให้ทำเป็นคำสั่งสภาการ
พยาบาล และให้ถอื เปน็ ทส่ี ุด
ข้อสังเกต กรณีพักใช้ใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาต ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายก
พิเศษก่อน จึงดำเนนิ การได้
มาตรา 43 ภายใต้บังคับมาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือ
การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว นับ
แต่วันทที่ ราบคำสัง่ สภาการพยาบาลท่สี ่งั พกั ใชใ้ บอนุญาต หรอื สง่ั เพกิ ถอนใบอนุญาตน้นั
มาตรา 44 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ซึ่ง
อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 43 และถูกลงโทษจำคุกตามมาตรา 46
โดยคำพพิ ากษาถึงทส่ี ดุ ให้คณะกรรมการสงั่ เพกิ ถอนใบอนุญาตของผนู้ ้ันตง้ั แต่วันทศ่ี าลมีคำพพิ ากษาถงึ ทีส่ ดุ
คำอธิบาย การเพิ่มโทษของสภาการพยาบาล กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการสภามีอำนาจ
เพิ่มโทษผู้ประกอบวิชาชีพ อำนาจเพิ่มโทษ ของคณะกรรมการผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจริยธรรม
โดยมเี กณฑต์ าม มาตรา 44 ดงั น้ี
(1) เฉพาะโทษพกั ใช้ใบอนุญาตเท่านัน้
(2) เมอ่ื รับทราบคำสั่งลงโทษพกั ใช้ ฯ ของสภา แล้วฝ่าฝนื จนถูกฟ้องต่อศาล

19

(3) ศาลพิจารณาแล้วพิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำคุก เพิ่มโทษได้ เป็นเพิกถอนใบอนุญาต ถ้า
ลงโทษเพียงการปรบั หรือรอลงอาญา เพ่มิ โทษไมไ่ ด้

ตัวอย่าง พยาบาลประมาทใหเ้ ลอื ดผิดกลุ่มเป็นเหตใุ ห้ผู้ปว่ ยเสยี ชีวติ มารดาของผู้ป่วยจงึ กล่าวหา
ต่อสภาการพยาบาล คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาแล้วมีมติพักใช้ใบอนุญาต พยาบาลรับทราบคำส่งั
แต่ยังประกอบวิชาชีพจนถูกฟ้อง ศาลพิจารณาเห็นว่ามีความผิดประกอบวิชาชีพในขณะรับโทษจริง จึง
พิพากษาจำคกุ 1 ปี

กรณีนี้คณะกรรมการจะเพิ่มโทษ จากพักใช้ใบอนุญาตเป็นเพิกถอนใบอนุญาตได้ทันทีนับจากวัน
พิพากษา แต่ถ้าศาลสั่งจำคุก เนื่องจากคดีประมาท ซึ่งไม่ใช่ความผิดฐานฝ่าฝืนการลงโทษของสภา
คณะกรรมการไม่มีสิทธเิ พ่มิ โทษตามมาตรานี้

มาตรา 45 ผ้ปู ระกอบวชิ าชีพการพยาบาล การผดงุ ครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่ง
ถกู สั่งเพกิ ถอนใบอนญุ าตอาจขอรบั ใบอนุญาตอกี ได้เมือ่ พน้ สองปนี ับแต่วันทีถ่ กู สัง่ เพกิ ถอนใบอนุญาต

ถ้าคณะกรรมการได้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาต และปฏิเสธการออกใบอนุญาตผู้นั้น จะยื่นคำ
ขอรับใบอนุญาตได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต ถ้า
คณะกรรมการปฏเิ สธการออกใบอนญุ าตเปน็ ครั้งที่สองแลว้ ผนู้ ้นั เป็นอันหมดสิทธิขอรบั ใบอนุญาตอกี ตอ่ ไป

หมวด 5 ทวิ พนักงานเจ้าหน้าท่ี
มาตรา 45 ทวิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ต่อไปนี้ เพื่อตรวจสอบใบอนุญาต
ค้นหรือยึดเอกสารหลักฐาน หรือสิ่งของที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาหรือดำเนินคดี ระหว่าง
เวลาพระอาทิตยข์ ้ึนถงึ พระอาทิตยต์ กหรอื เวลาท่ีทำการของสถานท่ดี ังกล่าว
(1) สถานที่ประกอบการที่มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ
การผดุงครรภ์ปฏิบตั ิงานอยู่
(2) สถานที่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ
พยาบาลและการผดงุ ครรภ์
(3) สถานที่ที่ทำการสอนหรือเชื่อวา่ ทำการสอนวิชาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล
และการผดงุ ครรภ์
ข้อสังเกต คณะอนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวนเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจในการตรวจสอบใบอนุญาต คน้ หรอื ยึดเอกสารหลักฐาน หรอื ส่งิ ของท่ีอาจ
ใชเ้ ปน็ พยานหลกั ฐานในการพิจารณาหรือดำเนินคดี เวลาในตรวจสอบนอกจากระหวา่ งเวลาพระอาทิตย์ข้ึน
ถึงพระอาทติ ย์ตก ยังขึ้นอยู่กับเวลาทำการของสถานที่นั้น เช่น ป้ายติดเวลาทำการเวลา 17.00 น. –
20.00 น.
หมวด 6
บทกำหนดโทษ
มาตรา 46 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 (ห้ามมิให้ผู้มิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพประกอบวิชาชีพ) หรือ
มาตรา 43 (ห้ามมิให้ผู้ถูกสัง่ พักใช้หรอื ถูกส่ังเพกิ ถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชพี หรือแสดงให้ผู้อ่ืนเข้าใจว่า
ตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวชิ าชีพ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรบั
มาตรา 47 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคสาม (ผู้ซึ่งขาดจากสมาชิกภาพให้ส่งคืนใบอนุญาตต่อ
เลขาธิการสภาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการขาดจากสมาชิกภาพ) ต้องระวางโทษปรับไม่เกนิ หนึง่ พัน
บาท

20

มาตรา 48 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตาม
มาตรา 38 (อนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มีอำนาจเรียกบุคคลใดๆมาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสาร หรือวัตถุ) ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ
ปรับไมเ่ กนิ หน่ึงพนั บาท หรือทั้งจำทงั้ ปรบั

มาตรา 48 ทวิ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา 45 เบญจ
ตอ้ งระวางโทษจำคุกไม่เกนิ หน่งึ เดือนหรือปรบั ไมเ่ กินหนง่ึ พันบาท หรือทั้งจำทง้ั ปรบั

ข้อสังเกต มีมาตราเดียวที่มีโทษเพียงการปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท คือ ผู้ซึ่งขาดจากสมาชิกภาพ
แลว้ ไมส่ ่งคนื ใบอนุญาตต่อเลขาธิการสภาภายใน 15 วนั นบั แตว่ ันที่ทราบการขาดจากสมาชิกภาพ

สรุป
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เป็นกฎหมายที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบ

วิชาชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ท่ีพยาบาลทกุ คนต้องเขา้ ใจ ให้ความรว่ มมือและนำไปปฏบิ ัติตลอดการ
ประกอบวิชาชีพการพยาบาล เพื่อควบคลุมการประกอบวิชาชีพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ให้เกิด
มาตรฐานในวิชาชีพ ความน่าเชือ่ ถือ ในเรื่องตั้งแต่การกำหนดคุณสมบตั ิ สิทธิและหนา้ ที่ วิธีการควบคุมการ
ประกอบวิชาชพี เพือ่ คุ้มครองสทิ ธติ นเองและผปู้ ว่ ย

กจิ กรรมท้ายบท
๑. ศกึ ษาคน้ คว้าหลักสทิ ธมิ นษุ ยชน สิทธผิ ปู้ ว่ ย และสิทธิพยาบาล
๒. อธบิ ายพระราชบญั ญตั วิ ิชาชพี การพยาบาลและระเบยี บและขอ้ บังคบั ของสภาการพยาบาล
๓. วิเคราะหป์ ัญหาท่เี กย่ี วขอ้ งกับกฎหมายวชิ าชพี และแนวทางแก้ไขปญั หา

อ้างอิง
ชชั วาล วงคส์ ารแี ละ อุทยั วรรณ พงษบ์ รบิ รู ณ์ (บรรณาธิการ). (๒๕๕๗). กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชพี

การพยาบาลและกฎหมายอน่ื ท่เี ก่ียวข้อง. กรุงเทพฯ: เอน็ พเี พรส.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (๒๕๖๐). กฎหมายและจริยธรรมวิชาชพี การพยาบาล. ปทุมธานี : คณะ

พยาบาล ศาสตร์มหาวิทยาลัยชินวตั ร.
สภาการพยาบาล. (2557). พระราชบญั ญตั ิวิชาชพี การพยาบาลและการผดงุ ครรภ์ พ.ศ.2528 และทแ่ี ก้ไข

เพิม่ เตมิ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 พรอ้ มดว้ ยกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศกระทรวงสาธารณสขุ
และขอ้ บังคบั ระเบยี บและประกาศสภาการพยาบาล. นนทบรุ ี: จดุ ทองจำกดั
สมใจ ศิระกมล (บรรณาธิการ). (๒๕๕๖). กฎหมายทีเ่ กยี่ วขอ้ งกับการประกอบวชิ าชพี การพยาบาลและการ
ผดงุ ครรภ.์ เชยี งใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่
แสวง บญุ เฉลมิ วิภาส. (๒๕๕๕). กฎหมายและขอ้ ควรระวงั ของแพทย์ พยาบาล. พิมพค์ ร้ังที่ ๕. กรุงเทพฯ :
วิญญูชน.
แสงทอง ธีระทองคำและ ไสว นรสาร. (๒๕๕๖). กฎหมายสำหรับพยาบาล. กรงุ เทพฯ : คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธบิ ดี.
อุดมรัตน์ สงวนศริ ิธรรม, สมใจ ศิระกมล. (๒๕๕๘). พฤติกรรมจรยิ ธรรมของพยาบาลวชิ าชพี . เชยี งใหม่ :
โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่.


Click to View FlipBook Version