LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ข่ า ว ส า ร แ ล ะ ส า ร ะ ส ำา ห รั บ ว ง ก า ร เ ลี้ ย ง สั ต ว์ https://livestockemag.com/ สัตว์เศรษฐกิจ https://livestockemag.com/ ปี 39 ฉบับที่ 912 มกราคม 2567 ไก่ไข่ ปี 67 มุ่งรักษาเสถียรภาพราคา สมาคมหมูฯ รุกแก้วิกฤต “หมูเถื่อนและหมูถูก” ลัมปี สกิน เป็นแล้ว เป็นอยู่ เป็นต่อ อาหารสัตว์ไทย... กับความท้าทายที่ต้องเผชิญ สมาคมหมูฯ รุกแก้วิกฤต “หมูเถื่อนและหมูถูก” อาหารสัตว์ไทย... กับความท้าทายที่ต้องเผชิญ ไก่ไข่ ปี 67 มุ่งรักษาเสถียรภาพราคา ลัมปี สกิน เป็นแล้ว เป็นอยู่ เป็นต่อ
4 สัตว์เศรษฐกิจ ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ “ภูมิธรรม” สั่งกรมการค้าภายใน ติดตามโครงสร้างต้นทุน ไข่ไก่ หมูและสินค้าเกษตรทั้งระบบ เพื่อหาราคาขาย ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เร่งหาข้อสรุปโดยเร็ว ส่วนการปรับขึ้นราคาไข่ไก่ หน้าฟาร์มขึ้น 10 สตางค์ ราคาขายปลีก ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่ได้กังวล เท่ากับพาดหัวข่าว แต่เป็นเสียงเตือนให้คิดมากขึ้น ทำางานมากขึ้น นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยถึงกรณีที่เครือข่ายสหกรณ์ ผู้เลี้ยงไก่ไข่ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำากัด, สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำาพูน จำากัด, สหกรณ์ ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำาน้อย จำากัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรีจำากัด ได้ออกประกาศราคาแนะนำาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ที่ฟองละ 3.80 บาท ทำาให้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้นแผงละ 9 บาท หรือฟองละ 30 สตางค์ ทั้งขายปลีกและขายส่ง ว่า การปรับราคาไข่ไก่ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก เพราะก่อนปรับขึ้น ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มอยู่ที่ฟองละ 3.70 บาท และ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประกาศขายใหม่ที่ราคาฟองละ 3.80 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ลดมาจากราคาที่ประกาศไว้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2566 ที่ฟองละ 4.00 บาท แต่ราคาขายจริงไม่ถึง 4 บาท ขายแค่ 3.70 บาท เท่ากับว่า ราคาไข่ไก่คละ หน้าฟาร์มล่าสุดปรับขึ้นเพียงฟองละ 10 สตางค์ ส่วนราคาขายปลีกไข่ไก่ จากการติดตาม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนัก และไม่ได้กังวล เท่ากับการพาด หัวข่าว ที่อาจทำาให้ตื่นเต้น กังวลเกินไป แต่ก็ไม่ว่าอะไร มองว่า เป็นเสียงเตือนให้เราคิดให้มากขึ้น ทำางานมากขึ้น ทั้งนี้ ยังได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน ไปดูแลโครงสร้างราคาสินค้าเกษตรทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะไข่ไก่ ให้ดูหมูด้วย เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วแก้ครั้งหนึ่ง เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาแค่ชั่วคราว แก้เป็นบางส่วน มีปัญหาอีกก็แก้อีก แล้วก็เอาเงินรัฐไปอุดหนุน ไม่ได้แก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ การแก้ปัญหาแบบนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ที่ถูกต้อง จำาเป็นต้องดูโครงสร้างทั้งหมดในแต่ละรายการสินค้า กรมการค้า ภายในต้องไปดูให้ชัด ตั้งแต่ต้นทุนการผลิต อาหารสัตว์การนำาเข้าวัตถุดิบ เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะหากจะ ให้ผู้ผลิตได้กำาไรนิดเดียวก็อาจจะอยู่ไม่รอด หรือราคาสูงก็กระทบผู้บริโภค จึงจำาเป็นต้องแก้ไขโครงสร้างราคาและต้อง แก้ไขปัญหาให้ได้โดยเร็ว ทางด้านโครงสร้างราคาหมู ตนได้คุยกับผู้เลี้ยงแล้ว ซึ่งพร้อมหารือโครงสร้างราคาที่เหมาะสม เพราะกระทรวง พาณิชย์เป็นเพียงปลายน้ำา เวลาราคาราคาขึ้น-ลง ก็ต้องมาแก้ไขกันทีดังนั้น ก็ได้ให้ผู้เลี้ยง ทบทวนหาข้อสรุปต้นทุน ที่สมดุลแล้วมาหารือ เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ซึ่งต้องใช้เวลา ส่วนช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ที่ราคาหมูอาจปรับขึ้น ได้เชิญผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ห้างสรรสินค้ามาหารือเพื่อขอให้ขายราคาที่เหมาะสมแล้ว LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE วิเคราะห์ต้นทุน “ไข่-หมู” หาข้อสรุปให้เป็นธรรมทุกฝ่าย
คอลัมน์พิเศษ 11 เทศกาลโคนม ปี67“นวัตกรรมอุตสาหกรรมโคนมไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” 12 สมาคมหมูฯ รุกแก้วิกฤต “หมูเถื่อนและหมูถูก” 16 เดินหน้าจี้...DSI เร่งรัดคดี“หมูเถื่อน” 18 แนะเร่งยกระดับหมูไทย...รุกตลาดต่างประเทศ 20 หมูไทย...ตรวจสอบย้อนกลับได้หนุนความมั่นคงอาหาร 22 อาหารสัตว์ไทย...กับความท้าทายที่ต้องเผชิญ 26 ผ่าทางตันต้นทุนอาหารสัตว์ 28 ภาคปศุสัตว์ยิ้ม...หลัง ครม.ไฟเขียวนำาเข้ากากถั่วเหลืองปี67 ทันเวลา 31 ไก่ไข่ ปี67 มุ่งรักษาเสถียรภาพราคา 34 รักใครให้กินไข่“ไข่ไก่” สุดยอดอาหารจากแม่ไก่ 36 หอการค้าไทย หนุนเด็กไทยทานไข่ไก่เป็นอาหารกลางวัน 3 ฟอง /คน/สัปดาห์ 37 “มิลค์บอร์ด” ต่อลมหายใจชาวโคนมหลัง ไฟเขียวขึ้นราคานมดิบ กก.ละ2.25 บาท 40 ลัมปีสกิน เป็นแล้วเป็นอยู่ เป็นต่อ 43 ปศุสัตว์ปี67 คาดโต 1.7-2.7% ลุ้นส่งออก 3แสนล้าน 46 ส. กุ้งไทย ชี้ปี66 ผลผลิตกุ้งทรงตัว2.8แสนตัน คาดปี67 ดีขึ้น 49 CITES รับรอง29 ฟาร์มจระเข้ไทย เล็งส่งออกกวาดรายได้7 พันล้าน คอลัมน์ประจำ� 50 บอกกล่าว 52 กิจกรรมเด่น 54 แนวโน้มราคาปศุสัตว์ สัตว์เศรษฐกิจ สารบัญ 39 ฉบับที่912 มกราคม 2567 บรรณาธิการ ผู้พิมพ์, ผู้โฆษณา : มุกดา วนิชกุล ที่ปรึกษา : รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ผศ.นาม ศิริเสถียร รศ.อุทัย คันโธ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร อาจารย์ศักดิ์ชัย โตภาณุรักษ์ บรรณาธิการบริหาร : ทิพารัตน์ อธิภัทรพงศ์ กองบรรณาธิการ : วิษณุ เจริญพงศ์พูล กองจัดการ : เอกบุรุษ อุมากูล ออกแบบรูปเล่ม : Chin พิสูจน์อักษร : รัชดา กูใหญ่ สำานักงาน : 74/423-424 ซ.รามคำาแหง 180 ถ.รามคำาแหง มีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 โทร. 0-2916-3786-7 แฟกซ์ : 0-2916-8005 E-mail : [email protected] โรงพิมพ์ : ก.พลพิมพ์ เพลท : กรกนก กราฟฟิก โทร. 082-458-4318 จัดจำาหน่าย : นานาสาส์น 912
The Leading Mycotoxin Testing Solutions 9/35 ถนนบางบอน 4 บางบอนเหนือ บางบอน กรุงเทพฯ 10150 โทร: 02-4162586 โทรสาร 02-4162587 www.auprogression.com / E-mail : [email protected] ชุดอุปกรณ์ในการทดสอบหาปริมาณของ Mycotoxin แบบรวดเร็ว ด้วยหลักการ ของ lateral flow strip โดยสามารถทดสอบได้ทั�งในวัตถุดิบและอาหารสัตว์ทุกชนิด One Approach Delivers Full Range Afiatoxin Detection for Complete Feeds สามารถทดสอบหาปริมาณของ Aflatoxin Total (B1,B2,G1,G2),Don,Fumonisin, Zearalenone,Ochratoxin,T2/HT2 และ Glyphosate ทดสอบ Mycotoxin ท�ง 6 ชนิด ได้ด้วยการส ักดตั วอย่างเพียงคร� ั งเดียว ั ไม่ต้องใช้สารพิษ Mycotoxin ในการทํา Calibration วิเคราะห์และรายงานผลเป็นตวเลขได้ภายใน 5-10 นาที ั ใช้งานง่าย ข�นตอนน้อย ผ ั ู้ใช้งานไม่จําเป็นต้องมีทกษะในงานห้องปฏิ ับติการมาก่อน ั ผลการทดสอบเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกบผลจาก HPLC ั
สรางพันธมิตรที่ยั่งยืนกับ…. ผูเชี่ยวชาญดานเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร อุปกรณฟารมปศุสัตว เวชภัณฑและสารเสร�ม สำหรับสัตว เพ��มผลผลิตดี กำไรงาม ครอบคลุมสินคาและบร�การครบวงจร เปนพันธมิตรทางธุรกิจเพ�่อความสำเร็จที่ยั่งยืน อาหารสัตว คุณภาพ บร�การทดสอบดานปศุสัตว และอาหารครบวงจร บร�การฟารมและ ที่ปร�กษาทางธุรกิจ ที่เดียวครบ… จบทุกเร�่องฟารม บร�ษัท เบทาโกร จำกัด(มหาชน) (สำนักงานใหญ) อาคารเบทาโกรทาวเวอร(นอรธปารค) 323 ถนนว�ภาวดีรังสิต แขวงทุงสองหอง เขตหลักสี่ กทม. 10210 Call Center : 1482 สรางพันธมิตรที่ยั่งยืนกับ…. ผูเชี่ยวชาญดานเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร อุปกรณฟารมปศุสัตว เวชภัณฑและสารเสร�ม สำหรับสัตว เพ��มผลผลิตดี กำไรงาม ครอบคลุมสินคาและบร�การครบวงจร เปนพันธมิตรทางธุรกิจเพ�่อความสำเร็จที่ยั่งยืน อาหารสัตว คุณภาพ บร�การทดสอบดานปศุสัตว และอาหารครบวงจร บร�การฟารมและ ที่ปร�กษาทางธุรกิจ ที่เดียวครบ… จบทุกเร�่องฟารม บร�ษัท เบทาโกร จำกัด(มหาชน) (สำนักงานใหญ) อาคารเบทาโกรทาวเวอร(นอรธปารค) 323 ถนนว�ภาวดีรังสิต แขวงทุงสองหอง เขตหลักสี่ กทม. 10210 Call Center : 1482
สัตว์เศรษฐกิจ 11 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำาเนินไปเป็น องค์ประธานเปิดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำาปี 2567 ภายใต้ แนวคิด “นวัตกรรมอุตสาหกรรมโคนมไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำาเนินทรงเป็นประธานเปิดงาน เทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำาปี 2567 ณ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำาเภอ มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรผู้เลี้ยง โคนม และประชาชนร่วมรับเสด็จ โดยงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำาปี 2567 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมอุตสาหกรรม โคนมไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 5-14 มกราคม 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมรำาลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่พระราชทานอาชีพเลี้ยงโคนมแก่พสกนิกร ชาวไทย โดยร่วมกับพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 9 แห่งประเทศเดนมาร์ก ทรงประกอบพิธีเปิดฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 ซึ่งถือเป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทยที่เป็นต้นแบบ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมอย่างเป็นระบบ เกษตรกร เทศกาลโคนม ปี 67 “นวัตกรรมอุตสาหกรรมโคนมไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” สามารถนำาไปประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง รวมทั้งเป็นการส่งเสริม การบริโภคนมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สำาหรับงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำาปี 2567 มีการ จัดพื้นที่ให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการโคนมและอุตสาหกรรมนมได้ร่วม แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ความรู้ วิชาการด้านการเลี้ยงและการผลิต ระหว่างบุคคลในวงการร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมมที่น่าสนใจภายในงาน ได้แก่ การจัดแสดงเวทีความก้าวหน้าของวิทยาการด้านการเลี้ยง โคนมและอุตสาหกรรมโคนมผ่านนิทรรศการตัวอ่อนโคพันธุ์เรดเดน ประเทศเดนมาร์ก/คลินิกเครื่องรีดนม/โครงการ อ.ส.ค. รักนม รักฟาร์ม ยกระดับฟาร์มโคนม เป็น Smart Farmer รวมถึงมีการ แสดงความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์โคนม การแสดงศักยภาพ ในการให้ผลผลิตน้ำานมดิบของโคนมไทยจากเกษตรกรไทย ซึ่ง สามารถเพิ่มมูลค่าให้พันธุกรรมโคนมสูงมากขึ้น ภายใต้การประกวด โคนมครั้งที่ 39 จำานวน 7 ประเภทชิงถ้วยพระราชทาน ในส่วนงาน สัมมนาวิชาการมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ สถานการณ์อุตสาหกรรม โคนมภายใต้วิกฤติโลกและแนวทางการปรับตัวของภาคเกษตรกรไทย ฟาร์มโคนม BCG นวัตกรรมสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำาและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นวัตกรรมลดต้นทุนค่าอาหารรองรับผลกระทบ FTA โคนมไทยหลัง ปี 2568 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมด้วยงานวิจัย เป็นต้น
12 สัตว์เศรษฐกิจ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ...จับมือรายย่อยพบ รมว.เกษตรฯ เจรจาโมเดิร์นเทรด หลังเกิดวิกฤตราคาตกต่ำาจนขาดทุนต่อเนื่องกว่า 11 เดือน ผลกระทบจาก “หมูเถื่อน” ที่ลักลอบนำาเข้ามาทำาลายกลไก ตลาด ซ้ำาเติมด้วย “หมูถูก” จากการที่ร้านค้าปลีกและโมเดิร์นเทรด ต่างๆ ตั้งราคาขายปลีกต่ำามาก จนกดราคาหมูหน้าฟาร์มจนต่ำากว่า ต้นทุน สวนทางกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับเพิ่มขึ้น ด้านกรม ปศุสัตว์ เผยเตรียมเสนอ 3 โครงการเร่งด่วนให้พิกบอร์ดพิจารณา เห็นชอบรักษาเสถียรภาพราคาและแก้ไขปัญหาวิกฤติผู้เลี้ยงหมู ขาดทุนต่อเนื่อง ตัดวงจรนำาลูกหมูมาทำาหมูหัน 450,000 ตัวใน 3 เดือน ผลักดันส่งออกกว่า 100,000 ตัวใน 6 เดือน พร้อมมาตรการ ช่วยเหลือฉุกเฉินด้านการเงิน ล่าสุดราคาหมูหน้าฟาร์มเริ่มปรับขึ้น มั่นใจราคาปี67 ไม่ได้ขยับจนผู้บริโภคเดือดร้อน LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE เกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกร และผลิตภัณฑ์ (Pig Board) ให้ดำาเนินการ โดยจะเชิญผู้เลี้ยงราย ใหญ่และโมเดิร์นเทรดเข้าร่วมหารือด้วย ที่ผ่านมาราคาหมูหน้าฟาร์มได้รับผลกระทบจาก “หมูเถื่อน” ที่ กดจนต่ำากว่าต้นทุนการผลิต ทั้งยังราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงต่อเนื่อง ซ้ำาเติมด้วย “หมูถูก” เนื่องจากผู้เลี้ยงรายใหญ่ที่มีร้านค้าปลีกเองและ โมเดิร์นเทรดตั้งราคาขายชิ้นส่วนหมูต่ำามาก ดังนั้นจึงจำาเป็นต้องได้ รับความร่วมมือจากผู้เลี้ยงรายใหญ่และโมเดิร์นเทรดในการตั้งราคา ขายปลีก ไม่ให้ต่ำากว่าราคาต้นทุนฟาร์มเพื่อให้ผู้เลี้ยงรายย่อยอยู่ได้ ไม่ล้มหายตายจากจากอาชีพ พร้อมกันนี้ นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในฐานะอนุกรรมการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประกอบ อาชีพเลี้ยงสุกร ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการร่วมเพื่อป้องกันและ ปราบปราม ตรวจสอบ ติดตาม และเร่งรัดการดำาเนินคดีเกี่ยวกับ การนำาเข้าสินค้าประเภทสุกร เนื้อสุกร หรือชิ้นส่วนสุกร ที่ผิด กฎหมาย (คณะกรรมการร่วมฯ)ตามคำาสั่งสำานักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๘๗/๒๕๖๖ สั่ง ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้ยื่นหนังสือ ตรงถึงมือ น.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ใน วันเดียวกับการประชุมห่วงโซ่สุกรที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เป็นประธาน จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 ของคณะ อนุกรรมการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสุกร (คณะ อนุกรรมการฟื้นฟูฯ) ในประเด็นการเร่งรัดดำาเนินคดีกับ ผู้นำาเข้า เนื้อสุกรผิดกฎหมาย โดยที่ประชุมอ้างถึงจากการปราบปราม ขบวนการลักลอบนำาเข้าซากสุกร ที่มีความคืบหน้าจากการขยายผล สมาคมหมูฯ รุกแก้วิกฤต “หมูเถื่อนและหมูถูก” นายสิทธิพันธ์ ธนาเกรียรติภิญโญ นายสิทธิพันธ์ ธนาเกรียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร แห่งชาติ กล่าวว่า ได้รับเรื่องจากชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือให้ช่วยหาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาหมูหน้า ฟาร์มตกต่ำา จนผู้เลี้ยงรายย่อยขาดทุนต่อเนื่อง 11 เดือน จึงได้ ประสานให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สัตว์เศรษฐกิจ 13 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ประชุมขอให้กรมปศุสัตว์ไม่จบคดีที่ กรมฯ เพียงการปรับและยึดสินค้าผิดกฎหมาย หรือ ของกลางไว้ เช่นเดียวกับกรมศุลกากร โดยขอให้กระทำาเช่นเดียวกับกรมศุลกากร คือ ส่งคดีไปยังกองบัญชาการตำารวจสอบสวนกลาง โดยขอให้รวม คดีที่จบไปแล้วตั้งแต่ ปี 2654 จนถึงปีปัจจุบัน ซึ่งสามารถแยก ผู้กระทำาผิดที่รับโทษไปแล้ว ไว้เป็นพยานได้ เพื่อขยายผล โดย อนุกรรมการจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ทำาหนังสือดังกล่าว ส่งถึงกรมปศุสัตว์โดยตรงในวันนี้ด้วย ข้อเสนอดังกล่าวจะทำาให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ปฏิบัติงานขยาย วงได้กว้างขึ้น ตามกำาลังที่มีจำากัด โดยการส่งคดีดังกล่าวจะทำาให้มี การขยายผลสู่ผู้ฝากสินค้าและผู้นำาเข้าสินค้าผิดกฎหมาย และผู้ที่มี ส่วนกับเส้นทางเงินที่เกี่ยวโยงกับการกระทำาความผิด จะทำาให้การ ปราบปรามกระบวนการหมูเถื่อนที่สร้างความเดือดร้อนให้กับ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศมีการส่งคดีต่อที่สอดรับกัน และได้ ผลเร็วขึ้น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ทำารายละเอียดประเด็นนี้ให้แก่ กรมปศุสัตว์เนื่องจากผลคดีจากตู้สุกรตกค้าง 161 ตู้DSI ประเมิน การนำาเข้าจาก 10 บริษัทดังกล่าวย้อนหลังตั้งแต่ปี2564 มีเพียง 2,385 ตู้เท่านั้น จากการประเมินทั้งหมด 10,000 ตู้คิดเป็น 24% การส่งคดีดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายผลถึงกลุ่มที่ยังไม่มีการ เข้าถึงเพิ่มเติมอีก 76% และเพื่อให้สอดคล้องเป็นการรับลูกการ ทำางานของปฏิบัติการพิเศษ “พญานาคราช” ต่อไป ส่วน นายเดือนเด่น ยิ้มแย้ม ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรราย ย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า กลุ่มผู้เลี้ยงรายใหญ่ครบวงจร ที่นำามาตรการด้านราคาต่ำามาใช้ทำาให้ทั้งผู้เลี้ยง ผู้ค้า และโรงเชือด ต่างๆ ไม่สามารถแข่งขันได้โดยกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่มีแหล่งจำาหน่าย เองและขยายสาขาอย่างรวดเร็ว มาตรการราคาต่ำาของชิ้นส่วนหมูที่ ผู้ผลิตรายใหญ่นำามาใช้กดราคาหมูตัวหรือราคาหมูหน้าฟาร์มทำาให้ ไม่สามารถปรับขึ้นได้เช่น ร้านค้าปลีกของผู้ผลิตบางรายจำาหน่าย หมูเนื้อแดงประมาณกิโลกรัม 100 บาทต้นๆ หากจัดโปรโมชัน ราคา จะลดลงไม่ถึง 100 บาท เป็นผลให้ราคาหมูตัวอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาทต้นๆ เท่านั้น ทั้งที่ราคาหมูเนื้อแดงควรอยู่ที่ 140-150 บาทต่อ กิโลกรัมซึ่งจะทำาให้ราคาหมูตัวปรับขึ้นเป็น 70-80 บาทต่อกิโลกรัม ได้ ทั้งนี้ผู้เลี้ยงเคยร้องขอให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ใช้อำานาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ 2542 มาตรา 25 (1) (2) (4) กำาหนดราคาซื้อหน้าฟาร์มไม่ต่ำากว่า ต้นทุนการผลิตที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามมาตรการที่ Pig Board มีมติแต่ยังไม่เป็นผล หากผู้เลี้ยงรายใหญ่ไม่ร่วมมือในการปรับราคา ชิ้นส่วนไม่ให้ต่ำากว่าโครงสร้างต้นทุน กลุ่มผู้เลี้ยงรายย่อยจะร้องต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้พิจารณา “ธรรมาภิบาล” หรือ หลักการกำากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่เหล่านี้ ว่า ยุติธรรม โปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายตามที่ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกำาหนดหรือไม่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ด้าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายไชยา พรหมมา รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมหารือแนวทางการรักษา เสถียรภาพราคาสุกร ทั้งหน่วยงานรัฐ อาทิ กรมปศุสัตว์ กรม การค้าภายใน พร้อมด้วยภาคเอกชน โมเดิร์นเทรด 8 รายใหญ่ สมาคมและชมรมผู้เลี้ยงสุกร กลุ่มเกษตรกรรายย่อย ตลอดจน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร้อยเอก ธรรมนัส เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาสุกรตกต่ำา ทำาให้ เกษตรกรรายย่อยได้รับผลกระทบขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง จึงได้ สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ร่วมกัน หามาตรการในการลดต้นทุนการผลิต และการรักษาเสถียรภาพราคา สุกร ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดเวทีประชุมหารือระหว่างเกษตรกรรายย่อย และผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ รายใหญ่ ทั้ง 8 ราย ช่วยกันรักษาเสถียรภาพราคาสุกร ไม่ให้กระทบ
14 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE กับราคาต้นทุนของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ ยินดี ให้ความช่วยเหลือ และจะหามาตรการร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และ กรมการค้าภายในกำาหนดราคาสินค้าสุกรช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ให้สามารถขายสินค้าสุกรในราคาที่เป็นธรรม และไม่กระทบกับ ผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง ด้วย การหารือในครั้งนี้เบื้องต้นเป็นการขอความร่วมมือร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ร่วมกันขึ้นราคารับซื้อหมูโดยยึดราคาที่ทาง สมาคมผู้เลี้ยงหมูแห่งประเทศไทยกำาหนดในแต่ละภาคด้วยเพื่อจะได้ อยู่ได้ทั้งเกษตรกรและห้างค้าปลีก จากข้อสรุปที่ได้พูดคุยกันวันนี้ จะมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมการค้าภายใน ซึ่ง เราไม่ได้ตรึงราคา แต่จะดูต้นทุนของผู้ประกอบการรายย่อยแล้วจะ ใช้วิธีถอยกันคนละก้าวเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถอยู่ด้วยกันได้โดยจะ พยายามไม่ให้ราคากระทบกับผู้บริโภค สำาหรับในส่วนของการแก้ไขปัญหาราคาต้นทุนการผลิตที่ต้อง นำาเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูกพืชทดแทน คือ ข้าวโพด และถั่วเหลือง ซึ่งขณะนี้ได้ มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร นำาร่อง 500 ตำาบล สอดคล้อง กับนโยบายรัฐบาล “ตลาดนำา นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ให้ เกษตรกรต่อไป โดยภาคเอกชน 8 โมเดิร์นเทรด ได้แก่ บริษัท เบทาโกรเกษตร อุตสาหกรรม จำากัด หรือ เบทาโกรช็อป บริษัท บิ๊กซีซูเปอร์ เซ็นเตอร์ จำากัด (มหาชน) หรือ Big C บริษัท ซีพีแอ็กซ์ตร้า จำากัด (มหาชน) หรือ Makro บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำากัด หรือ Lotus’s บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ดส์ รีเทล จำากัด หรือ TOP บริษัท ไทย ฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำากัด บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำากัด มีชีวิตหน้าฟาร์ม จนทำาให้ผู้เลี้ยงรายย่อยซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่า รายย่อยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ประสานกับกรม การค้าภายในภายใต้กลไกคณะทำางานรักษาเสถียรภาพราคาสุกรของ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์(พิกบอร์ด) เพื่อหา มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาในระยะยาวตามแนวทาง ดังนี้ 1. จัดทำา Big data ของอุตสาหกรรมการผลิตสุกร เช่น ข้อมูล ฟาร์ม/โรงฆ่า/จำานวนสุกร การขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยง/พ่อค้าคนกลาง เป็นต้น 2. ดำาเนินการปราบปรามสุกรเถื่อนทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการนำาเข้า/ห้องเย็น/สถานที่จำาหน่าย 3. การขับเคลื่อนและ ผลักดันการส่งออกสุกรมีชีวิต ซากสุกร และอื่นๆ เพื่อระบายสุกร ส่วนเกินออกจากระบบ 4. วิเคราะห์ข้อมูลและปรับสมดุลการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค โดยยึดหลักตลาดนำาการผลิต 5. การส่งเสริมการแปรรูป ดึงปริมาณเนื้อสุกรออกจากตลาด มา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์6. การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้น การบริโภคผลผลิตจากสุกร 7. การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสุกรเพื่อความ ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการผลิตสุกร สำาหรับมาตรการร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์และกรมการค้า ภายในในการกำาหนดราคาสินค้าสุกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ให้สามารถขายสินค้าสุกรในราคาที่เป็นธรรมนั้น จะลดปัญหาการกด ราคาจากพ่อค้าคนกลาง แต่จะไม่กระทบต่อผู้บริโภค สิ่งสำาคัญอีก ประการ คือ การลดต้นทุนด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งเป็นต้นทุนหลัก ของการผลิตสุกร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทนคือ ข้าวโพดและ ถั่วเหลือง ขณะนี้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรนำาร่อง 500 ตำาบล ขณะเดียวกันให้กรมปศุสัตว์แนะนำาเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ วัตถุดิบทดแทนในสูตรอาหารสัตว์ต่างๆ ที่ผ่านมา นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวง พาณิชย์วิเคราะห์โครงสร้างราคาสินค้าเกษตรที่ต้นทุนสูงขึ้นทุกชนิด นายไชยา พรหมา ล่าสุด นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานถึงราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติว่า จากปรับขึ้น 2 บาท ที่ผ่านมา หลังจากที่มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดเวทีหารือ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติกลุ่มเกษตรกร รายย่อย ผู้เลี้ยงรายใหญ่ และรวมถึงโมเดิร์นเทรด เพื่อขอความ ร่วมมือให้โมเดิร์นเทรดในการปรับขึ้นราคาจำาหน่ายชิ้นส่วนสุกรใน ราคาที่เหมาะสม โดยไม่ต่ำาเกินไปเนื่องจากทำาให้เกิดการกดราคาสุกร
สัตว์เศรษฐกิจ 15 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ โดยระบุว่า ต้องวิเคราะห์ต้นทุนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้รายได้ของแต่ละ ส่วนสมดุลกัน ที่ผ่านมานำาโครงการธงฟ้ามาช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้า ซึ่งช่วยได้ชั่วคราว แต่การแก้ไขที่แท้จริงต้องแก้ไขที่โครงสร้างราคา ทั้งหมด โดยพร้อมรับฟังทุกภาคส่วนและจะเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ที่สุด นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร แห่งชาติกล่าวว่า ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มได้เริ่มปรับขึ้นแล้ว 2 บาทต่อกิโลกรัมเมื่อวันพระที่ 10 มกราคม 2567 ทำาให้ราคาอยู่ที่ 68 - 74 บาทต่อกิโลกรัมตามแต่ละภูมิภาค คาดว่า ราคาจะทยอย ปรับเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่ต้นทุนซึ่งอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่การปรับ เป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ ผู้เลี้ยง จำาเป็นต้องปรับราคาหน้าฟาร์มเพื่อลดผลกระทบจากภาวะขาดทุน นาน 11 เดือน โดยเฉพาะผู้เลี้ยงรายย่อยซึ่งมีต้นทุนสูงกว่ารายใหญ่ และขายราคาหน้าฟาร์มได้ต่ำากว่า ขณะเดียวกันเชื่อว่า การปรับราคา หน้าฟาร์มจะไม่กระทบผู้บริโภคเนื่องจากราคาชิ้นส่วนสุกรก่อนหน้า นี้สูงกว่าปัจจุบัน โดยหมูเนื้อแดงราคาประมาณ 160 - 170 บาท ต่อกิโลกรัม หากราคาหน้าฟาร์มปรับสู่ต้นทุนที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ราคาหมูเนื้อแดงจะอยู่ที่ประมาณ 160 บาทต่อกิโลกรัมเช่นเดิม จากการหารือกับโมเดิร์นเทรดเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา โดยมีร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เป็นประธาน เป็นการหารือเพื่อขอความร่วมมือรักษา เสถียรภาพราคา ไม่ให้แข่งขันกันจัดโปรโมชันลดราคาชิ้นส่วนสุกรซึ่ง ส่งผลให้เกิดการกดราคาหน้าฟาร์ม โดยทางผู้ประกอบการโมเดิร์น เทรดยินดีร่วมมือ นอกจากนี้ยังได้เข้าหารือกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เรื่องการกำาหนด โครงสร้างราคาสุกรให้สอดคล้องกับต้นทุน รวมถึงแก้ปัญหาด้าน ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ส่วนใหญ่ต้องนำาเข้า โดยต้นทุนอาหารสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 70 ของการเลี้ยง นายภูมิธรรมได้รับเรื่องและให้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติกลับมารวบรวมข้อมูล แล้วนำาไปหารืออีก ครั้งในวันที่ 26 มกราคม สำาหรับช่วงเทศกาลตรุษจีนซึ่งตรงกับวัน 10 กุมภาพันธ์นั้น ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มจะปรับขึ้นจากปัจจุบันเล็กน้อยเท่านั้น แต่ ผู้เลี้ยงจะสามารถจำาหน่ายได้ในปริมาณมากขึ้น ส่วนราคาเฉลี่ย ในปี2567 เชื่อว่า จะไม่ได้ปรับเพิ่มจนทำาให้ผู้บริโภคเดือดร้อน หาก ภาครัฐช่วยเหลือด้านต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์เช่น การงดเว้นเก็บ ภาษีนำาเข้ากากถั่วเหลือง จากที่เก็บอยู่ร้อยละ 2 การยกเลิกใช้ มาตรการ 3 ต่อ 1 หรือมาตรการซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนต่อ การนำาเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน โดยขอให้แก้ปัญหา “หมูเถื่อน-หมูถูก” ไปพร้อมกันเพื่อให้ผู้เลี้ยงสามารถอยู่ได้ด้วย หากผู้เลี้ยงล้มหาย จากไป ปริมาณสุกรในประเทศจะไม่เพียงพอและต้องนำาเข้าในอนาคต ด้าน นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรม ปศุสัตว์ กล่าวว่า คณะทำางานการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรของ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์(พิกบอร์ด) ได้หารือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งกำาหนดแนวทางรักษาเสถียรภาพ ราคา แก้ไขปัญหาวิกฤตผู้เลี้ยงสุกรขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และ พัฒนาการเลี้ยงสุกรอย่างยั่งยืน โดยหน่วยงานที่ประชุมร่วมกับ กรมปศุสัตว์ได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ ผู้แทน สภาเกษตรกรแห่งชาติผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ผู้แทนสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติผู้แทนสมาคมสัตวบาล แห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ตัวแทนจากชมรมและ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจากพิกบอร์ด สำาหรับโครงการเร่งด่วนมี3 โครงการได้แก่ 1. โครงการตัดวงจรลูกสุกรทำาหมูหันเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา โดยการลดปริมาณสุกร กำาหนดแผนการดำาเนินงาน 450,000 ตัวใน ระยะเวลา 3 เดือน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 180 ล้านบาท 2. โครงการส่งออกเนื้อสุกรไปต่างประเทศซึ่งจะผลักดัน เนื้อสุกรแช่เย็นหรือแช่แข็งส่วนเกินส่งออกไปจำาหน่ายในตลาด ต่างประเทศ มีเป้าหมายผลักดันการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นและ แช่แข็ง 8,400 ตัน (จำานวน 109,091 ตัว) ในระยะเวลา 6 เดือน โดยจะของบสนับสนุนเงินค่าบริหารจัดการ 252 ล้านบาท 3. โครงการช่วยเหลือฉุกเฉินด้านการเงินซึ่งสนับสนุนโดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรประกอบด้วย การพัก ชำาระหนี้ให้เกษตรกรและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อีกทั้งยังมีโครงการ สินเชื่อฟื้นฟูศักยภาพผู้เลี้ยงสุกรซึ่งลดอัตราดอกเบี้ยและใช้บุคคลเป็น ผู้ค้ำาประกันได้ เน้นช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย โดยจะเพิ่มวงเงิน ของสินเชื่อเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยนำาสุกรเข้ามาเลี้ยงได้มากขึ้น ทั้งนี้กรมปศุสัตว์จัดทำารายละเอียดโครงการเพื่อนำาเสนอ พิกบอร์ดเพื่ออนุมัติในหลักการต่อไป โดยการประชุมพิกบอร์ดครั้ง ต่อไป จะมีขึ้นปลายเดือนมกราคม 2567 นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ ร่วมกับภาคเอกชนเตรียมฟื้นฟูการส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังต่างประเทศ เพื่อรักษาสมดุลผลผลิตในประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการ บริโภคอีกด้วยเพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางรักษาเสถียรภาพราคาสุกรใน ระยะยาว. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์
16 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE เดินหน้าจี้...DSI เร่งรัดคดี “หมูเถื่อน” อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ หวั่นดีเอสไอแผ่วทำาคดี “หมูเถื่อน” หลังเบนไปจับ “ตีนไก่” เผยเตรียมทำาหนังสือให้แจ้งความคืบหน้าการดำาเนินคดีความ เสียหายที่เกิดขึ้นไม่ต่ำากว่า 3 หมื่นล้านบาท หากล่าช้า ผู้กระทำาความผิด อาจยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สิน ไม่เหลือให้ยึดทรัพย์ นายสัตวแพทย์วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า เตรียมทำาหนังสือถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้เร่งคลี่คลายคดี “หมูเถื่อน” 161 ตู้คอนเทนเนอร์ในคดีพิเศษ ที่ 59/2566 เพื่อต้องการให้พนักงาน สอบสวนเร่งรัดดำาเนินคดีตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีสั่งการไว้ ขณะนี้ดีเอสไอเพิ่มคดีพิเศษขึ้นมาอีก 2 คดีคือ คดีพิเศษที่ 126/2566 และ 127/2566 หากพนักงานสอบสวนจะทำาควบคู่ไปกับคดีแรกที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เป็นผู้ร้อง ก็ต้องไม่ทำาให้คดีแรกล่าช้า โดยผ่านไป 8 เดือน หลังจากสมาคมเข้า ร้องทุกข์ ต้องเร่งส่งฟ้องศาลเพื่อพิจารณาความผิดของบริษัทที่ลักลอบนำาเข้าและ ชิปปิ้งซึ่งจะนำามาสู่การลงโทษ หยุดยั้งขบวนการเหล่านี้ ไม่ให้สร้างความเสียหายต่อ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรอีกต่อไป อีกทั้งต้องยึดทรัพย์ตามกฎหมาย หากล่าช้า ผู้กระทำา ความผิดอาจยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน จนไม่เหลือทรัพย์ให้ยึด สำาหรับข้าราชการประจำาและข้าราชการการเมืองที่เกี่ยวข้องซึ่งดีเอสไอเคยให้ ข่าวว่า ส่งเรื่องให้ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและชมรมผู้เลี้ยง สุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่งทำาหนังสือถึงคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อขอให้เร่งรัดพิจารณาและส่งสำานวนคดีพิเศษกลับไป ยังดีเอสไอเพื่อให้ดำาเนินคดีกับผู้กระทำาความผิดครอบคลุมทุกกลุ่ม นายสัตวแพทย์วิวัฒน์กล่าวว่า เกษตรกรหวั่นคดีหมูเถื่อนจะแผ่ว เมื่อพนักงาน สอบสวนไปทำาเรื่องตีนไก่และเนื้อวัวเถื่อน หากคดีที่เพิ่มขึ้นมา เกี่ยวพันกับคดีหมูเถื่อน
สัตว์เศรษฐกิจ 17 อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นผู้ริเริ่มการปราบปราม ดังนั้นอย่าโยงประเด็น เพื่อช่วยเหลือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ทั้งนี้มอบนโยบายชัดเจนให้ดีเอสไอดำาเนินคดี“หมูเถื่อน” ให้ จบเนื่องจากสร้างผลกระทบต่อผู้เลี้ยงทั้งประเทศ กลับเบนประเด็น ไปจับ “ตีนไก่” ซึ่งอาจกระทบตลาดส่งออก จึงอยากฝากไปยังชุด พนักงานสอบสวนว่า ให้ทำาให้ถูกต้องตามนโยบายที่ให้ไว้อีกทั้งเตรียม จะถามดีเอสไอถึงการดำาเนินคดีผู้กระทำาผิดรายใหญ่ในคดี“หมูเถื่อน” อย่างบริษัท ศิขัณทิน เทรดดิ้ง จำากัด ที่ก่อนหน้านี้มีคนกลางพยายาม เคลียร์คดี ว่า ตอนนี้ถึงไหนแล้ว หากไม่อยากทำาคดี “หมูเถื่อน” จะนำามาทำาเอง โดยชุดเฉพาะกิจพญานาคราชประกอบด้วยหลาย หน่วยงานทั้งตำารวจ ฝ่ายความมั่นคง ปปง. ซึ่งร่วมกับสารวัตร ปศุสัตว์ สารวัตรประมง และสารวัตรเกษตร สามารถทำาเองได้อยู่ แล้ว ทั้งยังสามารถเข้าตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยโดยไม่ต้องขอหมาย ศาล หลังประกาศสงครามปราบหมูเถื่อนเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 66 อธิบดีกรมปศุสัตว์คนปัจจุบันเร่งกวาดล้างจนเกือบเป็นผู้ต้องหา จึง สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น และขอให้เจ้าหน้าที่ ที่ขอข้อมูลจากกระทรวง เกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร นำาไปใช้อย่าใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่ได้กลั่นกรอง และนำามาผสม ปะปนกัน อย่าตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาห้ำาหั่นกัน เหมือนในอดีตที่ดีเอสไอเคยถูกกล่าวหา เพราะ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงเกษตรฯ เป็นกระทรวงพี่น้อง ที่สำาคัญได้รับบัญชาจาก นายกรัฐมนตรีให้ดำาเนินการอย่างจริงจัง เร่งแก้ไขเรื่องนี้” รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าว ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ต้องพูดคุยกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมว่าจะเปิดเผยชื่อผู้กระทำาผิดได้หรือไม่ และได้พูดคุยทำาความ เข้าใจกับพ.ต.อ.ทวี และรักษาการอธิบดีดีเอสไอ กรณีที่มีข่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่าดีเอสไอดำาเนินคดีล่าช้า ยืนยันว่าทั้งสอง หน่วยงานไม่ได้เข้าใจผิด ไม่มีข้อบาดหมางกัน แต่บางเรื่อง เจ้ากระทรวงทั้งสองต้องกำาชับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตัวเอง และ ต้องรักษาผลประโยชน์ให้เกษตรกร เพราะกระทรวงเกษตรฯ เป็น ผู้เริ่มต้นกวาดล้าง และประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน “ถ้าเรื่องไหนล่าช้า ต้องติดตามพูดคุยระดับเจ้ากระทรวงด้วย กัน ถ้ามีสิ่งใดทำาลายภาคเกษตรต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ จะนิ่งเฉยไม่ได้ มิเช่นนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ผมและพ.ต.อ.ทวีคุยกัน ทุกวัน เข้าใจกันดี ถ้าพบว่าคนของกระทรวงเกษตรฯไปกระทำาการ ที่ล้ำาเส้นก็ต้องตักเตือน และในฐานะที่เป็นตัวแทนรัฐบาล จึงมีความ ชอบธรรมที่จะตักเตือนหน่วยงานของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน ใดก็ตาม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวทิ้งท้าย ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ก็ควรทำา แต่หากไม่เกี่ยวข้อง ก็ควรเร่งรัดคดีหมูเถื่อนให้จบ อีกทั้ง ควรแจ้งความคืบหน้าของคดีว่า ไปถึงไหนและจะเสร็จสิ้นประมาณ เมื่อไรเนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศกว่า 200,000 รายเดือดร้อน อย่างหนัก จากราคาที่ตกต่ำา เมื่อคดีมีความชัดเจน ผู้กระทำาผิดถูกลงโทษ สังคมจะไม่ต้อง สงสัยเกี่ยวกับอักษรย่อที่พนักงานสอบสวนปล่อยออกมาว่า เป็นใคร กันแน่ คนที่ไม่เกี่ยวข้อง จะได้ไม่ต้องมัวหมอง ทั้งนี้สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้เข้าหารือกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับปัญหาราคาสุกรหน้าฟาร์มที่ตกต่ำาและต้นทุนวัตถุดิบอาหาร สัตว์สูง จนผู้เลี้ยงขาดทุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า จะวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าเกษตรทุกชนิดใหม่ โดยขอให้สมาคมผู้เลี้ยง สุกรแห่งชาติทำาข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ทั้งเรื่องการนำาเข้าวัตถุดิบและ มาตรการรัฐที่เป็นปัญหาอุปสรรค อีกทั้งเห็นว่า ควรมีพ.ร.บ. สุกร เพื่อดูแลผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่ เช่นเดียวกับพ.ร.บ. การประมง ที่กำาลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้นายภูมิธรรมยังแจ้งแก่ทางสมาคมว่า ต้องการให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบการลักลอบนำาเข้าหมูเถื่อนที่ท่าเรือ กรุงเทพด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาตรวจสอบเฉพาะที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจะเข้าหารือกับนายภูมิธรรมอีกครั้งวัน ที่ 26 มกราคมนี้ ด้าน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดี พิเศษเข้าตรวจค้นบ้านของนายหลี่ เซิ่งเจียวหรือ “เฮียเก้า ตามที่ ขอศาลออกหมายจับเฮียเก้ากับพวกรวม 4 คนฐานลักลอบนำาเข้า “ตีนไก่” แล้วนำามาบรรจุใหม่ ติดป้ายสินค้าจากประเทศไทยและ ส่งออกไปยังประเทศจีน โดยระบุว่า การปราบปรามสินค้าเกษตร เถื่อนทุกชนิด หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งกรมปศุสัตว์กรม ประมง และกรมวิชาการเกษตรดำาเนินการมาตลอด กรณีที่ต้องการ ให้ยกเป็นคดีพิเศษจึงจะส่งเรื่องให้ดีเอสไอ หากไม่ได้ส่งข้อมูลให้ หน่วยงานอื่นไม่สามารถไปจับกุมและดำาเนินคดีได้ ในการเข้าตรวจค้นบ้านเฮียเก้า แล้วพบภาพที่เฮียเก้าถ่ายกับ นักการเมืองหลายคน รวมทั้งร้อยเอกธรรมนัสด้วยนั้น ร้อยเอก ธรรมนัสระบุว่า เฮียเก้าเป็นนายกสมาคมการค้าแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจ ไทยเอเชียจึงรู้จักกับนักการเมืองหลายคน อย่าเอามาเป็นประเด็นว่า ผู้กระทำาผิดถ่ายรูปกับใคร หากกระทำาผิด เราไม่เอาไว้ จะรู้จักตน หรือไม่ ก็ต้องถูกดำาเนินคดีอย่างเด็ดขาด ส่วนที่ดีเอสไอระบุว่า จะเรียกเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และ กรมศุลกากรไปให้ปากคำาในคดี“ตีนไก่” นั้น การดำาเนินการระหว่าง กระทรวง ต้องแจ้งเจ้ากระทรวงเสียก่อน ดังนั้นเจ้าหน้าที่จะพูดอะไร พึงระวังให้มาก พร้อมย้ำาว่า อย่าโยงเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เข้ากับคดีสินค้าเกษตรเถื่อน โดยเฉพาะเรื่อง “หมูเถื่อน”
18 สัตว์เศรษฐกิจ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ความต้องการสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกเติบโต อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากมูลค่าการนำาเข้าของโลกที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยย้อนหลัง 4 ปีระหว่างปี256 2 - 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี โดยล่าสุด ปี2565 ทั่วโลกมีมูลค่าการนำาเข้ารวมราว 2.8 ล้านล้านบาท ถือเป็นโอกาสของไทยหากสามารถ ยกระดับคุณภาพและสร้างมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย เพื่อเจาะตลาดส่งออกใหม่ และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำานวยการสำานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ติดตามสถานการณ์การค้าสินค้า สุกรและผลิตภัณฑ์ของไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี2562 - 2565) พบว่ามูลค่า การนำาเข้าสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ของโลก ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปีมีประเทศ ผู้นำาเข้าสำาคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เม็กซิโก และเยอรมนีแม้ว่าความต้องการบริโภค สินค้าสุกรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ประเทศผู้ผลิตในหลายพื้นที่ยังเผชิญกับความ ท้าทายหลายด้าน อาทิด้านมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) เป็นปัญหาสำาคัญที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศ ต่างๆ พยายามหาวิธีควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ ด้านมาตรการส่งเสริมการรักษา สิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากการทำาปศุสัตว์เป็นสาเหตุสำาคัญ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมจึงมีบทบาทสำาคัญใน การค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะมหาอำานาจทางการค้าอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่มีการกำาหนดมาตรการทางการค้าเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ไทยไม่ใช่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์หลักของโลก ในปี2565 ไทย ส่งออกสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท (เป็นปริมาณสุกร LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE แนะเร่งยกระดับหมูไทย... รุกตลาดต่างประเทศ
สัตว์เศรษฐกิจ 19 และผลิตภัณฑ์ ราว 54,000 ตัน และสุกรมีชีวิตราว 120,000 ตัว) และมีสัดส่วน การส่งออกเพียงร้อยละ 0.17 ของมูลค่าการส่งออกทั่วโลก โดยสินค้าที่ไทยส่งออก แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ (1) สินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์1 ร้อยละ 98.32 โดยมีตลาดส่งออกสำาคัญ คือ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 31.7) จีน (ร้อยละ 26.3) กัมพูชา (ร้อยละ 23.7) ฮ่องกง (ร้อยละ 5.9) และเมียนมา (ร้อยละ 5.3) ตามลำาดับ และ (2) สุกรมีชีวิต ร้อยละ 1.68 โดยมีตลาดส่งออกสำาคัญ คือ เมียนมา (ร้อยละ 61.5) ลาว (ร้อยละ 32.2) และกัมพูชา (ร้อยละ 6.2) ตามลำาดับ ขณะที่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี2566 (มกราคม - พฤศจิกายน) ไทยส่งออกสุกรมีชีวิตและสินค้า สุกรและผลิตภัณฑ์มีมูลค่ารวมราว 6,400 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ปัจจุบันความต้องการของตลาดโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสในการ ขยายการส่งออกของไทย ดังนั้น ต้องเร่งยกระดับสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทย ให้ครองใจตลาดโลก โดยมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตและ การค้าตั้งแต่ต้นน้ำาถึงปลายน้ำา อาทิ (1) การให้ความรู้ด้านการผลิตที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับในระดับ สากล เช่น มาตรฐาน GAP มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ (อาทิ Organic Thailand, IFOAM, EU, USDA, และ JAS) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะมีส่วนช่วย ในการควบคุมการแพร่ระบาดในสุกรได้ (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่จำาเป็น เช่น การทำา ปศุสัตว์แบบกรีนฟาร์ม โดยนำาหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ลดกลิ่น และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมให้นำาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) มาใช้(เช่น ระบบ RFID รหัสคิวอาร์ เทคโนโลยี IoT หรือบล็อกเชน) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศ และป้องกันการลักลอบนำาเข้าสินค้าผิดกฎหมาย (3) หารือแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นต่างๆ อาทิราคาต้นทุนอาหารสัตว์ฯลฯ (4) การส่งเสริมให้ผู้ผลิตจัดทำาแผนการจัดการมูลสัตว์(Manure Management Plan) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถนำามูลสุกรมาแปรรูปเป็นปุ๋ย ช่วยเสริมรายได้จากการจำาหน่ายปุ๋ยมูลสุกรได้อีกทางหนึ่ง (5) การผลักดันการเปิดตลาดสินค้าสุกร ซึ่งล่าสุด ในช่วงการประชุมผู้นำาเขต เศรษฐกิจเอเปก (APEC 2023) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการหารือกับนายหวัง โช่วเหวิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ขอให้จีนเร่งกระบวนการพิจารณา เปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ให้กับไทย และ (6) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แนวโน้มทิศทางการค้าในโลกยุคใหม่ เช่น ประชาคมโลกให้ความสำาคัญมากขึ้นกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร ซึ่ง การทำาปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำาคัญ เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัส ออกไซด์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังนั้น ต้องให้ข้อมูลความรู้แก่เกษตรกรและ ผู้ประกอบการ เพื่อสามารถปรับปรุงการดำาเนินการให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา ของโลกที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ที่มา สำานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าเกษตร ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์
20 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE หมูไทย... ตรวจสอบย้อนกลับได้ หนุนความมั่นคงอาหาร ปัญหาหมูไทยที่ถูกหมูเถื่อนรังแกจนราคาตกต่ำาทำาเอาเกษตรกรไทยขาดทุน ยับเยิน บอบช้ำาและเลิกอาชีพไปไม่น้อย ยังไม่น่าเจ็บใจเท่าที่คนไทยมาตั้งคำาถามว่า เมื่อหมูเถื่อนราคาถูกทำาไมไม่เอาหมูเถื่อนเข้ามาขายแทนหมูไทยซะเลย สะท้อนความ ไม่รู้คุณค่าของการที่ประเทศไทยสามารถผลิตอาหารได้เอง ไม่รู้ความสำาคัญของการ เป็นครัวของโลก นับเป็นคำาถามที่ควรต้องออกมาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ ถูกต้อง ด้วยเรื่องนี้เป็นเรื่องสำาคัญที่กระทบความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ความมั่นคงทางอาหาร องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) ให้นิยาม “ความมั่นคง ทางอาหาร” หรือ Food Security ไว้ว่ามีองค์ประกอบ 4 ข้อ ได้แก่ 1.) การมี อาหารเพียงพอ (Food Availability) เป็นอาหารมี‘คุณภาพ’ ที่เหมาะสมในปริมาณ ที่เพียงพอ สม่ำาเสมอ 2.) การเข้าถึงอาหาร (Food Access) - ทุกคนเข้าถึงทรัพยากร ภายใต้กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศนั้น ให้ได้มาซึ่งอาหาร ที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ 3.) การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) - การบริโภคอาหารเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคของคน เน้น การมีสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี รวมถึงการมีน้ำาดื่มที่สะอาดถูกสุขลักษณะด้วย และ 4.) การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) - ทุกคนเข้าถึงอาหารได้ตลอด เวลา ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอาหารขาดแคลนจากวิกฤตใดๆ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ วัฏจักรตามฤดูกาล หรือภัยพิบัติ ขณะที่ “พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติพ.ศ. 2551” ของไทยก็ให้นิยาม ความมั่นคงทางอาหารไว้ว่า หมายถึง “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำาหรับการ บริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตามความต้องการตามวัยเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีรวมทั้งการมีระบบการผลิต ที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหาร ทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัย หรือการ ก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร”
สัตว์เศรษฐกิจ 21 ดังนั้น การที่ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก เกษตรกรไทยมีศักยภาพ ในการผลิตพืชผลทางการเกษตร ทั้งภาคพืช ภาคปศุสัตว์และภาคประมง ป้อนคน ในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก ไม่เคยเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ผู้คนเข้าถึงอาหาร ได้ง่าย ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถในการแปรรูปอาหารในระดับชั้นนำาของโลก ภาครัฐมีมาตรฐานกำากับดูแลการผลิตอาหารปลอดภัยตั้งแต่ฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภค ทั้ง ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่ แม้มีภัยพิบัติใด คนไทยก็ไม่เคยขาดแคลน อาหาร เหล่านี้ยืนยันได้ว่าประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารที่เข้มแข็ง การตั้งคำาถามว่าทำาไมไม่นำาเข้าเนื้อหมูเข้ามาเสียเลย จึงเหมือนถามว่า ทำาไม ไม่ทุบหม้อข้าวตัวเอง ทำาลายยุ้งฉางแหล่งผลิตอาหารของเราทุกคนไปเลย โดยลืมมอง ไปว่า หากปล่อยให้หมูต่างถิ่นเข้ามาเบียดเบียนจนเกษตรกรไทยอยู่ไม่ได้ประชาชนต้อง พึ่งพาเนื้อหมูจากประเทศอื่นนั้นไม่ต่างอะไรกับประเทศที่ไม่มีแหล่งผลิตอาหารของตนเอง หากเกิดเหตุสุดวิสัยประเทศต้นทางยุติการส่งออก ไทยจะขาดแคลนเนื้อหมูทันทีนี่จึง ไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อประเทศของเรา ในขณะที่ทุกๆ ประเทศล้วนปกป้องเกษตรกรของเขา เพราะเป็นผู้ผลิตอาหารป้อนคนทั้งประเทศ บางประเทศถึงกับไม่ให้มีการนำาเข้าเนื้อสัตว์ ที่มีราคาต่ำากว่าเข้ามาขาย เช่นครั้งหนึ่งที่สหรัฐฯ ฟ้องทุ่มตลาดกุ้งไทย เพราะขายราคา ต่ำากว่ากุ้งสหรัฐฯ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าแม้แต่มหาอำานาจยังให้ความสำาคัญต่อเกษตรกร ของเขาอย่างยิ่ง หนุนอาหารมั่นคง ต้องหนุนเกษตรกรตลอดห่วงโซ่ให้ยั่งยืน “เกษตรกร” เป็นกลุ่มบุคคลที่ควรต้องสนับสนุนให้เขาสามารถประกอบอาชีพ ต่อไปได้อย่างราบรื่น เพราะเขาคือผู้สร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประชาชนและ ประเทศชาติเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูมุ่งมั่นพัฒนา ยกระดับการเลี้ยง ปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันโรค เพื่อผลิตเนื้อหมูปลอดภัย จนเป็นที่ยอมรับว่าหมูไทยดีที่สุดแล้วในภูมิภาค นี้ไม่ควรต้องเดือดร้อนกับภาวะขาดทุนจากภัยหมูเถื่อน ดังนั้น นอกจากรัฐจำาเป็นต้อง ปราบปรามหมูเถื่อนให้สิ้นซากแล้ว ควรตรวจสอบย้อนกลับไปให้ถึงต้นทางว่ามีหนทาง ใดที่จะช่วยประคับประคองให้เกษตรกรพ้นภาวะขาดทุน กลับมายืนได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง เช่น การบังคับใช้กฎหมาย “การไม่ซื้อผลผลิตหมูในราคาต่ำากว่าต้นทุน” ที่ช่วยลดความ เสี่ยงในการถูกโบรกเกอร์กดราคาหน้าฟาร์ม หรือการส่งเสริมให้เกษตรกรพืชไร่มี มาตรฐานการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ดี(GAP) ไม่ให้มีการเผาตอซัง ซึ่งได้ผลพลอยได้ ทั้งด้านการลดฝุ่นควัน และตอบโจทย์ CBAM ในตลาดโลกด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐควรลดอุปสรรคด้านต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นต้นทุนการ ผลิตถึง 65% เพราะราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กากถั่วเหลือง ข้าวสาลีของไทยสูงกว่า ประเทศที่ผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ได้เองเป็นเท่าตัว เช่น อเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา จึงทำาให้ประเทศเหล่านี้มีต้นทุนการเลี้ยงหมูถูกกว่าไทยถึง 50% ไม่เพียงเท่านั้น มาตรการภายในประเทศเอง ก็ทำาให้ต้นทุนการผลิตหมูของไทยสูงกว่าประเทศอื่น เช่น การประกันราคาพืชไร่ที่รัฐทำามานับสิบปีส่งผลให้ราคาพืชผลเหล่านี้ไม่เป็นไปตามกลไก ตลาด รวมถึงมาตรการ 3:1 ที่บังคับให้ต้องซื้อผลผลิตข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนก่อน จึงจะนำาเข้าข้าวสาลีได้1 ส่วนด้วย การตรวจสอบย้อนกลับไปถึงต้นน้ำาของห่วงโซ่การผลิตอาหาร ช่วยให้มองเห็น แนวทางมากมายที่จะรักษาความมั่นคงทางอาหาร ปกป้องเกษตรกรไทย อย่างไรก็ตาม “ภาครัฐ” นับเป็นผู้ขับเคลื่อนสำาคัญที่จะต้องดำาเนินการให้ครบถ้วนครอบคลุมตลอด ห่วงโซ่การผลิตนี้ที่มีผู้คนเกี่ยวข้องนับล้านคน และควรลงมือ “ทำาทันที” เพื่อให้ทันความ ท้าทายอีกหลายประการที่รออยู่ข้างหน้า โดย ปิติ ปัฐวิกรณ์ ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์
22 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE อาหารสัตว์ไทย... กับความท้าทายที่ต้องเผชิญ อาหารสัตว์เป็น 1 ในห่วงโซ่การผลิตปศุสัตว์และอาหารสัตว์ที่มีความสำาคัญ เพราะมีผล ต่อต้นทุนการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์พบอุปสรรคหลาย ด้าน โดยเฉพาะปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้น และปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความ ต้องการ ทำาให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ขณะเดียวกันยังต้องปรับการผลิตตามความต้องการของคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง วัตถุดิบต้อง มาแหล่งผลิตที่ถูกกฎหมาย และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความท้าทาย ที่ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ต้องเผชิญ คุณทวีเดช ประเจกสกุล Technical Director บริษัท ท๊อป ฟีดมิลล์จำ�กัด เปิดเผยว่า ภาพรวมโรงงานอาหารสัตว์ทั่วโลกมีมากกว่า 28,000 แห่ง จาก 142 ประเทศ มีการผลิต อาหารสัตว์ 1,288 ล้านตัน โดย 10 ประเทศ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ชั้นนำา มีสัดส่วนการผลิต มากกว่า 64 เปอร์เซ็นต์และมี4 ประเทศ ที่ผลิตอาหารสัตว์เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของกำาลัง การผลิต แต่ข้อมูลในปี 2021 เทียบกับ 2022 พบว่า ปริมาณการผลิตอาหารสัตว์ชะลอตัว ยกเว้น อาหารสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มอย่างมีนัยสำาคัญ ซึ่งสาเหตุที่การผลิตอาหารสัตว์ชะลอตัวมาจาก การเกิดโรคระบาดสัตว์ที่สร้างปัญหาทั่วโลก ทั้ง โรค ASF และโรคไข้หวัดนก ที่สร้างความ เสียหายอย่างรุนแรงในหลายประเทศ ภูมิภาคที่ผลิตอาหารสัตว์มากที่สุด คือ เอเชียแปซิฟิค มีการผลิต 260.739 ล้านตัน ลดลง 2.82% รองลงมา คือ ยุโรป ผลิต 263.232 ล้านตัน ลดลง 4.67% อันดับ 3 อเมริกาเหนือ ผลิต 261.639 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.88% อันดับ 4 คือ ลาตินอเมริกา ผลิต 190.910 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.6%
สัตว์เศรษฐกิจ 23 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ประเทศผู้ผลิตอาหารสัตว์10 อันดับแรก มีสัดส่วนการผลิต 64% เริ่มจาก จีน เป็นผู้ผลิตอันดับ 1 กำาลังการผลิต 260.739 ล้านตัน แต่ผลิตลดลง 7.603 ล้านตัน หรือ 2.82% อันดับ 2 คือ อเมริกา ผลิต 240.403 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.426 ล้านตัน หรือ 1.02% อันดับ 3 บราซิล ผลิตประมาณ 81.948 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.709 ล้านตัน หรือ 0.87 เปอร์เซ็นต์อันดับ 4 อินเดีย ผลิต 43.360 ล้านตัน ลดลง 0.7 ล้านตัน หรือลดลง 1.59% อันดับ 5 เม็กซิโก 40.138 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.454 ล้านตัน หรือ 1.14% อันดับ 6 รัสเซีย ผลิต 34.147 ล้านตัน เพิ่ม 1.147 ล้านตัน หรือ 3.48% อันดับ 7 สเปน ผลิต 31.234 ล้านตัน ลดลง 4.604 ล้านตัน หรือ 12.85% อันดับ 8 เวียดนาม ผลิต 26.720 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.8 ล้านตัน หรือ 27.72% อันดับ 9 ผลิต 25.736 ล้านตัน ลดลง 3.68% และ อันดับ 10 คือ เยอรมนี24.396 ล้านตัน หรือลดลง 0.45% ด้านโรงงานอาหารสัตว์ทั่วโลก เริ่มจากเอเชียแปซิฟิค 7,146 โรงงาน เพิ่มขึ้น 2.25% เป็นภูมิภาคที่มีโรงงานอาหารสัตว์อันดับ 1 ของโลก อันดับ 2 คือ ยุโรป มีโรงงานอาหารสัตว์ 6,553 โรงงาน ลดลง 417 โรงงาน หรือ 5.58% อเมริกาใต้4,806 โรงงาน เพิ่มขึ้น 0.86% ตะวันออกกลาง 799 โรงงาน เพิ่มขึ้น 0.5% อเมริกาเหนือ อันดับ 3 ของโลก 6,300 โรงงาน เพิ่มขึ้น 0.32% แอฟริกา มีโรงงานอาหารสัตว์2,357 โรงงาน เพิ่มขึ้น 2% และ โอเชียเนีย 195 โรงงาน เพิ่มขึ้น 0.52% รวมโรงงานอาหารสัตว์ 28,156 โรงงาน ลดลง 0.52% ซึ่ง แนวโน้มจำานวนโรงงานอาหารสัตว์ของโลก จะลดลงเนื่องจากโรงงานขนาดเล็กลดลง แต่จะมี โรงงานขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นแทน เมื่อแบ่งตามประเภทของอาหารสัตว์ พบว่า อาหารไก่เนื้อ มีการผลิต 363.960 ล้าน ตัน เพิ่มขึ้น 4.573 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 1.27% อันดับ 2 อาหารสุกร มีการผลิต 319.383 ล้านตัน ลดลง 9.802 ล้านตัน หรือ ลดลง 2.98% เนื่องจากปัญหาโรคระบาดร้ายแรงใน ภูมิภาคเอเชียกระทบกับการผลิต อันดับ 3 ไก่ไข่ มีการผลิต 161.849 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.493 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.31% อันดับ 4 โคนม 133.823 ล้านตัน ลดลง 1.793 ล้านตัน หรือ ลดลง 1.32% อันดับ 5 โคเนื้อ 118.042 ล้านตัน ลดลง 0.399 ล้านตัน หรือลดลง 0.34% อันดับ 6 อาหารสัตว์น้ำา ผลิต 52.914 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.403 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.72% อันดับ 7 อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิต 35.270 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.430 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.25% ถือเป็นอาหารสัตว์ที่มีการเติบโตสูงสุด อันดับสุดท้าย คือ อาหารม้า ประมาณ 8 ล้านตัน ก็มีการเติบโตเพิ่มขึ้น แต่ทั่วโลกผลิตลดลง 5.381 ล้านตัน หรือลดลง 0.42% อาหารไก่เนื้อ มีการผลิตมากที่สุด คือ รวมการผลิตอาหารไก่เนื้อ 363.960 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.27% โดยเอเชียแปซิฟิค ผลิตเป็นอันดับ 1 ผลิต 153.332 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.08% รองลงมาเป็น ลาตินอเมริกา ผลิต 67.531 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.27% อันดับ 3 คือ อเมริกาเหนือ ผลิต 60.132 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.32% แอฟริกา มีการผลิต 13.126 ล้านตัน ลดลง 5.95% ตะวันออกกลาง 11.401 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 38.75% แม้เพิ่มขึ้นมาก แต่ถือว่า ปริมาณไม่มาก เพราะเมื่อเทียบกับไทยผลิตมากกว่าเกือบ 1 เท่าตัว และโอเชียเนียผลิต 4 ล้านตัน เติบโต 1.27% ส่วน อาหารไก่ไข่ มีการผลิต 161.850 ล้านตัน เติบโตเพิ่มขึ้น ประมาณ 0.31 % โดย ผู้ผลิตอันดับ 1 คือ เอเชียแปซิฟิค เป็นผู้ผลิตอันดับ 1 ผลิต 75.940 ล้านตัน ลดลง 0.71% อันดับ 2 คือ ยุโรป ผลิต 30.675 ล้านตัน ลดลง 1.02% อันดับ3คือ อเมริกาใต้24.506 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.71% ขณะที่ อาหารสุกร มีการผลิต 319.383 ล้านตัน ลดลง 2.98% โดยผู้ผลิตอันดับ 1 คือ เอเชียแปซิฟิค มีการผลิต 140.377 ล้านตัน ลดลง 2.2% เนื่องจากการระบาดของ โรค ASF สร้างความเสียหาย อันดับ 2 คือ ยุโรป ผลิต 75.117 ล้านตัน ลดลง 8.25% อันดับ 3 อเมริกาเหนือ ผลิต 62.984 ล้านตัน ลดลง 0.97% ซึ่งการผลิตของ 3 ทวีป
24 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ต่อเนื่องยาวนานจากในอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งการค้นคว้าทางวิชาการ ซึ่งเดิมคนใช้อาหารสัตว์ไม่เป็น แต่ต่างประเทศทั้งอเมริกาและยุโรป พัฒนามาก่อน ซึ่งเศษเหลือจากการผลิตอาหาร อดีตเป็นขยะต้องทิ้ง ทั้ง รำาสาลีแกลบ ทิ้ง จนกระทั่งมีบริษัทแห่งหนึ่งพบว่า มีม้ากิน เศษเหล่านี้จึงคิดว่า จะทำาเป็นอาหารสัตว์ได้ จึงนำามาพัฒนาให้เป็น รูปแบบมากขึ้น โดยบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา คือ รอสสัน ถือเป็นบริษัทเก่าแก่ทำาอาหารสัตว์มากว่า 100 ปี ด้านวิชาการได้พัฒนานำา By product มาผลิตอาหารสัตว์เริ่ม จากอเมริกาพัฒนาสูตรอาหารที่มีกากถั่วเหลืองและข้าวโพดเป็นหลัก แต่ตอนนี้ก็ใช้บายโปรดักซ์จากอุตสาหกรรมอาหารมาผลิตมากขึ้น มีการค้นคว้าทางวิชาการ พัฒนาตรวจสอบทางคุณภาพ วิเคราะห์ คุณสมบัติทั้ง พลังงาน กรดอะมิโน ซึ่งในต่างประเทศ อาหารสุกร ใช้ค่าพลังงาน NE (Net energy) ในการคำานวณ ส่วนอาหารไก่เนื้อ ใช้ยังใช้ค่าพลังงาน ME (Metabolism Energy) แต่ไทยในสุกรทุก วันนี้พัฒนามาถึงการใช้ NE แล้วแต่ในไก่เนื้อยังอยู่ในระหว่างการ พัฒนาเพราะข้อมูล NE ของไก่เนื้อทำาได้ค่อนข้างยาก การคำานวณสูตรอาหารที่มีความแม่นยำากับความต้องการของ สัตว์มากที่สุดนั้น เป็นวิธีการในการลดต้นทุน เพราะ พลังงาน กรด อะมิโน โปรตีน และฟอสฟอรัส เป็นต้นทุนที่แพงในอาหารสัตว์ซึ่ง หากมีใครที่มีความแม่นยำามากกว่าก็จะได้เปรียบในการลดต้นทุน โดย การคำานวณสูตรจากเดิมใช้ประสบการณ์พรสวรรค์ของแต่ละคนมาทำา แต่วันนี้เป็นเรื่องของคนที่ใช้โปรแกรม เครื่องมือ เครื่องจักรเป็น ก็คำานวณสูตรอาหารสัตว์ได้ ทำาให้การพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ง่าย ขึ้นมาก การปรับปรุงกระบวนการผลิตพัฒนามายาวนานตั้งแต่ใช้พลั่ว ผสมอาหารมาจนปัจจุบันเป็นเครื่องผสมอาหารที่มีหลากหลาย รูปแบบ มีเครื่องอัดเม็ดหลายรูปแบบเช่นกัน มีการใช้เอกทรูดเดอร์ จากที่ใช้การควบคุมด้วยมนุษย์ทั้งหมดมาเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ จนกระทั่งเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด ช่วยลดความผิดพลาดใน กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ในด้านของการชั่งตวงวัด รวมถึงการนำา วัตถุดิบใหม่ๆ มาใช้ด้านการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และการขนส่งจาก อดีตที่ผสมอาหารกระสอบป่าน 90 กิโลกรัม หรือ 75 กิโลกรัม แต่ ปัจจุบันไม่มีแล้วจากปัญหาสวัสดิภาพแรงงานทำาให้คนแบกอาหาร หนักๆ ไม่ได้ซึ่งความต่างของไทย คือ บรรจุอาหาร 30 กิโลกรัม ในขณะที่ต่างประเทศ 25 กิโลกรัม เพราะนับได้ง่ายกว่า แต่ก็เป็น วัฒนธรรมที่ไทยทำามาจนถึงปัจจุบัน ทำาให้ประหยัดค่าถุงลงไปได้ ระดับหนึ่ง อดีตกระสอบป่านหัวอาหาร90 กิโลกรัม อาหารเม็ด 75 กิโลกรัม การขนส่งของไทยเดิมเป็นปัจจุบันถุงทั้งหมด แต่วันนี้เปลี่ยน เป็นระบบรถขนส่งอาหารกว่า70-80% ที่เหลือเป็นแบบถุง ความเป็นมาของธุรกิจอาหารสัตว์ไทยมีมากว่า 60 ปีแล้ว ทั้ง แบบมีรูปแบบและไม่มีรูปแบบ บางครั้งก็ไม่ได้เป็นอาชีพหลัก บางครั้งก็ยังไม่รู้ว่า จะไปต่อไปอย่างไร ขณะที่ สมาคมผู้ผลิตอาหาร สัตว์ไทย ก็เกิดจากโรงงานอาหารสัตว์ต่างๆ ร่วมกันก่อตั้งในปลายปี ที่ลดลงไปจากปัญหาโรคระบาด อันดับ 4 คือ อเมริกาใต้ ผลิต 36.167 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.02% อาหารโคนม มีการผลิต 133.823 ล้านตัน ลดลง 1.32% หลายทวีปมีการผลิตลดลง เริ่มจากอันดับ 1 ยุโรป มีการผลิต 42.199 ล้านตัน ลดลง 2.8% อันดับ 2 อเมริกาเหนือผลิต 28.5 ล้านตัน ลดลง 0.7% อันดับ 3 อเมริกาใต้ผลิต 25.461 ล้านตัน ลดลง 1.08% ส่วน อาหารโคเนื้อ มีการผลิต 118.195 ล้านตัน ลดลง 0.34% โดยผู้ผลิตอันดับ 1 คือ อเมริกาเหนือ 67.355 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.64% อันดับ 2 ยุโรป ผลิต 15.765 ล้านตัน ลดลง 10.13% อันดับ 3 ลาตินอเมริกา 16.015 ล้านตัน ด้าน อาหารสัตว์น้ำา (อาหารปลาและอาหารกุ้ง) มีการผลิต 52.914 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.72% อันดับ 1 คือ เอเชียแปซิฟิค มีการผลิต 38.340 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.65% อันดับ 2 คือ ลาตินอเมริกา ผลิต 5.922 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.79% และอันดับ 3 คือ ยุโรป ผลิต 4.687 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.78% ขณะที่ อาหารสัตว์เลี้ยง ประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก ถือว่า มีการเติบโตสูง มีการส่งออกทั้งอาหารกระป๋อง อาหารเม็ด ขายในอเมริกา ยุโรป และลาตินอเมริกา ส่วนการผลิต ยุโรปเป็นอันดับ 1 มีการผลิต 11.778 ล้านตัน เติบโต 1.65% อันดับ 2 คือ อเมริกาเหนือ ผลิต 11.2 ล้านตัน เติบโต 5.66% อันดับ 3 คือ ลาตินอเมริกา 8.863 ล้านตัน เติบโต 19.22% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตสูง โดยมีการผลิตรวม 35.37 ล้านตัน เพิ่ม 7.25% อาหารม้า ประเทศไทยมีน้อย แต่ผู้ผลิตอันดับ 1 คือ อเมริกาเหนือ มีการผลิต 3.8 ล้านตัน เติบโต 0.58% อันดับ 2 คือ ยุโรป ผลิต 2.152 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.09% อันดับ 3 ลาติน อเมริกา ผลิต 1.043 ล้านตัน ลดลง 4.54% โดยทั่วโลกมีการผลิต 8.159 ล้านตัน เพิ่มขึ้น0.83% ความเป็นมา ความสำาคัญ และพัฒนาการของธุรกิจอาหาร สัตว์ไทย เนื่องจากธุรกิจอาหารสัตว์ของโลกมีมากว่า 200 ปีแต่ ไทยเริ่มธุรกิจนี้มาประมาณ 60-70 ปีซึ่งวันนี้บริษัท อาหารสัตว์ ในเมืองไทยหลายบริษัท ก็เริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์และบริหารด้วย มืออาชีพมากขึ้น โดยพัฒนาการของธุรกิจอาหารสัตว์มีมาอย่าง
สัตว์เศรษฐกิจ 25 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ 2521 จากโรงงานไม่กี่แห่ง แต่ปัจจุบันมีสมาชิก 51 บริษัท ธุรกิจ อาหารสัตว์ถือเป็นธุรกิจกลางน้ำา ปิดทองหลังพระ ช่วยลดมลภาวะ ของโลก เพราะบายโปรดักซ์ที่เหลือหากนำาไปทิ้งก็จะเป็นมลภาวะ แต่ นำามาทำาอาหารสัตว์ก็ช่วยเพิ่มมูลค่า ช่วยลดมลภาวะได้ ช่วยเพิ่ม มูลค่าของวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากเดิมที่ขายได้ราคาต่ำาก็นำามา ผลิตอาหารสัตว์ช่วยเพิ่มมูลค่าได้ต่อ ช่วยผลิตอาหารโปรตีนเลี้ยง ทรัพยากรโลก ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจอาหาร สัตว์ก็ช่วยเพิ่มการผลิตอาหารโปรตีนให้กับประชากรโลก ช่วยลด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม เมื่อคนอยู่ดีกินดีปัญหาสังคมก็ไม่ค่อยมี ไม่ว่างงานก็จะทำาให้ปัญหาเหล่านี้ลดลงไปได้ ช่วยสนับสนุนภาค อุตสาหกรรมและเกษตรอื่นๆ นำาของไม่มีมูลค่ามาเพิ่มมูลค่า จาก ของที่ไม่มีค่า และช่วยสนับสนุนการส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ จากสัตว์เป็นธุรกิจกลางน้ำาที่ช่วยสนับสนุน อีกส่วนคือ ช่วยลดและ ควบคุมการผลิตสัตว์ เพื่อการส่งออกและบริโภคในประเทศ รูปแบบของการผลิตอาหารสัตว์ไทย มีทั้งผลิตเพื่อขายเป็น ส่วนใหญ่ บางรายก็ทำาโรงงานผลิตเพื่อใช้เอง ที่เหลือก็ขาย และมี โรงงานที่ผลิตเพื่อขายและใช้เอง โรงงานอาหารสัตว์มีมูลค่า 300,000 ล้านบาท นำามาเลี้ยงสัตว์เพิ่มมูลค่าเป็น 600,000 ล้านบาท และ โรงงานแปรรูปก็ได้ถึง 900,000 ล้านบาท โครงสร้างต้นทุนการผลิต อาหารสัตว์ มีต้นทุนวัตถุดิบประมาณ 80-90% ในการผลิตอาหาร สัตว์มาเป็นต้นทุนการผลิตประมาณ 60-70% ซึ่งเป็นสาเหตุที่บอก ได้ว่า ทำาไมราคาอาหารสัตว์สูงซึ่งเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่ไม่ได้ ถูกควบคุมเลย แต่จะมาคุมที่ปลายน้ำาอย่างเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ไทยผลิตอาหารสัตว์ประมาณ 20 ล้านตัน ใช้วัตถุดิบในประเทศ ประมาณ 40% หรือ 8 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.8 ล้านตัน ปลาป่น 1.5 แสนตัน มันเส้นและกากมัน 1 ล้านตัน ปลายข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว 2 ล้านตัน ที่เหลืออีก 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 12 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ส่วนใหญ่นำาเข้าจาก ประเทศเพื่อนบ้าน 1.834 ล้านตัน กากถั่วเหลือง 2.753 ล้านตัน เมล็ดถั่วเหลือง 3.996 ล้านตัน DDGs 3.178 แสนตัน ข้าวสาลี 1.263 ล้านตัน ข้าวบาร์เลย์ 7.555 แสนตัน และอื่นๆ (โปรตีน และวิตามิน) 1.079 ล้านตัน เมื่อแบ่งตามชนิดสัตว์ พบว่า เป็น อาหารไก่เนื้อและพ่อแม่พันธุ์ 42.45% ไก่ไข่และแม่พันธุ์ 13.75% สุกร 26.8% อาหารโคเนื้อโคนม 8.75% อาหารสัตว์น้ำา 5.4% และ อาหารเป็ด 2.85% อุตสาหกรรมไก่เนื้อ ปี66 เติบโตจากปี65 ประมาณ 24.7% โดยมีไก่เนื้อผลิตประมาณ 1,782 ล้านตัว เป็นผู้ประกอบการ รายใหญ่ 90% รายย่อย 10% ป้อนตลาดในประเทศ 70% และ ส่งออก 30% ในไตรมาสแรก มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 4.5% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 8.5% สำาหรับวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3 ชนิด ที่จะเข้าสู่ระบบสีเขียว ทั้งหมดภายในปี 2027 ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ มันสำาปะหลัง ขณะที่ปัญหาอุปสรรคของธุรกิจอาหารสัตว์ไทย ปริมาณ การบริโภคโปรตีนจากสัตว์ในประเทศเพิ่มขึ้น ธุรกิจก็น่าจะเติบโตได้ ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออก ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำาเข้าจากต่างประเทศ และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงทำาให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นโยบาย ภาครัฐไม่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โปรตีนทางเลือกในอนาคตก็จะเป็นอุปสรรคการเติบโตและอุปสรรค การส่งออกข้อกีดกันทางการหลายรูปแบบ ประเทศไทยไทยประสบปัญหาอาหารสัตว์ 3 ครั้ง เริ่มจากปี 47 ไข้หวัดนก ปี52 วิกฤตการเงินอเมริกา และปี65 เกิดจาก โรคระบาด ASF ที่เกิดขึ้นและโควิด 19 ปัญหาธุรกิจอาหารสัตว์ เกิดขึ้นจากการแย่งอาหารและทรัพยากรระหว่างคนและสัตว์อาหาร คนและสัตว์ก็ผลิตในพื้นที่เดียวกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กระทบทั้ง อาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ ปัญหาเทคโนโลยีที่ทำาให้ต้นทุนสูงกว่า ประเทศเจ้าของเทคโนโลยีปัญหาความปลอดภัยของผู้บริโภค ปัญหา ด้านการประกันคุณภาพอาหารสัตว์ที่ผู้ประกอบการก็พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อวิเคราะห์ธุรกิจอาหารสัตว์ไทย ข้อได้เปรียบ จากการบริโภค โปรตีนจากสัตว์ของประชากรโลกยังคงเพิ่มขึ้น ปริมาณการส่งออก ผลิตภัณฑ์สัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ไทยมีศักยภาพและความชำานาญใน การผลิตโปรตีนจากสัตว์และเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก มีวัตถุดิบหลาย ชนิดผลิตได้เองภายในประเทศ มีนักวิชาการและผู้ชำานาญการผลิต อาหารสัตว์ มีข้อตกลงแบบทวิภาคีกับประเทศคู่ค้าได้รับโควตาและ สิทธิพิเศษทางศุลกากร ข้อเสียเปรียบ นำาเข้าวัตถุดิบแหล่งโปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ และสารเสริมต่างๆ แรงงานขาดแคลน ต้องพึ่งพาแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องนำาเข้า เครื่องจักรและเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศทำาให้ต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่อชุมชนมีผลต่อการขยายฟาร์มเลี้ยงสัตว์จนถึงขั้น เลิกกิจการทำาให้การใช้อาหารสัตว์ลดลง การกีดกันทางการค้าโดย การออกกฎระเบียบใหม่ๆ ทำาให้ต้นทุนการผลิตสัตว์สูงขึ้น การระบาด ของโรคสัตว์ ประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์มีการพัฒนาด้าน การเลี้ยงสัตว์เองมากขึ้น ยังผลให้วัตถุดิบขาดแคลนหรือมีราคาแพง การแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์เพื่อให้ได้ต้นทุน ที่ต่ำากว่า แนวทางการพัฒนาธุรกิจอาหารสัตว์ของไทย พัฒนาการวิจัย เรื่องการใช้วัตถุดิบในประเทศเพื่อทดแทนวัตถุดิบนำาเข้า ถือเป็น สิ่งสำาคัญ ทบทวนการจัดเก็บภาษีวัตถุดิบนำาเข้า พัฒนาประสิทธิภาพ การผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือเพิ่ม ผลผลิตควบคู่กับการพัฒนาด้านคุณภาพ พัฒนาผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ เข้าสู่ระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล พัฒนาการเสริมปัจจัยการ ผลิตด้านแหล่งน้ำาและเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์แก่ เกษตรกรเพื่อต้นทุนการผลิตที่ลดลงหรือทำาให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ขณะที่โปรตีนทางเลือกจะเป็นอุปสรรคของการผลิตอาหารสัตว์และ การผลิตสัตว์ที่จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
26 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ผ่าทางตันต้นทุนอาหารสัตว์ File: Cost of feed ผ่าทางตันต้นทุนอาหารสัตว์ เริ่มต้นปี 2567 สถานการณ์ด้านราคาหมูขุนมีชีวิตก็กระเตื้องขึ้นมากบ้างที่ 68 – 74 บาท/กก. โดยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในช่วงตรุษจีนที่ราคา 80 บาท/กก. ให้พอให้ผู้เลี้ยงหมูที่เหลืออยู่น้อยนิดให้หายใจคล่องขึ้นมาบ้าง หลังจากขาดทุน มาตลอดทั้งปี 2566 ระหว่างทางก็มีผู้เลี้ยงรายย่อยจ านวนมากตัดสินใจเลือกเลี้ยงหมูไปเป็นจ านวนมาก แม้ว่าสถานการณ์ด้านราคาจะดีขึ้น แต่เมื่อกลับไปพิจารณาต้นทุนนับว่าน่าหนักใจส าหรับชาวหมู เนื่องจาก ต้นทุนธัญพืชอาหารสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากปัจจัยรุมเร้าที่หนักหน่วงทั้งสถานการณ์ภัยแล้งจาก El Niño ที่ส่งผลให้ผลผลิตโดยรวมมีแนวโน้มลดลง และสถานการณ์สงครามที่ท าให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคา พืชอาหารสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ภาพที่ 1) ภา พ ที่ 1 ร า ค า ธั ญ พืช อาห าร สัตว์ส่ ง ณ โร ง ง า น เ ดื อ น ม กร าคม ปี 2564 2565 2566 และ 2567* ที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (2567) จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย พบว่า ปี 2566 ประเทศไทยมีสัดส่วนความต้องการใช้อาหารสัตว์ ประมาณ 20 ล้านตัน คิดเป็นปริมาณความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 50% กากถั่วเหลือง 28% มันส าปะหลัง 9% ปลายข้าว 9% และปลาป่ น 4% ตามล าดับ ื่ิัืั์ ัี่ใ้ใั์่ป็่ื)่ใ้ัภาพที่ 1 ราคาธัญพืชอาหารสัตว์ส่ง ณ โรงงาน เดือนมกราคมปี 2564 2565 2566 และ 2567* ที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (2567) โดย ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย พบว่า ปี2566 ประเทศไทยมีสัดส่วนความ ต้องการใช้อาหารสัตว์ประมาณ 20 ล้านตัน คิดเป็นปริมาณความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 50% กากถั่วเหลือง 28% มันสำาปะหลัง 9% ปลายข้าว 9% และปลาป่น 4% ตามลำาดับ เริ่มต้นปี2567 สถานการณ์ด้านราคาหมูขุนมีชีวิตก็กระเตื้องขึ้นมากบ้างที่ 68 - 74 บาท/ กก. โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงตรุษจีนที่ราคา 80 บาท/กก. ให้พอให้ผู้เลี้ยงหมูที่เหลืออยู่น้อย นิดให้หายใจคล่องขึ้นมาบ้าง หลังจากขาดทุนมาตลอดทั้งปี2566 ระหว่างทางก็มีผู้เลี้ยงรายย่อย จำานวนมากตัดสินใจเลือกเลี้ยงหมูไปเป็นจำานวนมาก แม้ว่าสถานการณ์ด้านราคาจะดีขึ้น แต่เมื่อกลับไปพิจารณาต้นทุนนับว่าน่าหนักใจสำาหรับ ชาวหมู เนื่องจากต้นทุนธัญพืชอาหารสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากปัจจัย รุมเร้าที่หนักหน่วงทั้งสถานการณ์ภัยแล้งจาก El Nino ที่ส่งผลให้ผลผลิตโดยรวมมีแนวโน้มลดลง และสถานการณ์สงครามที่ทำาให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาพืชอาหารสัตว์มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ภาพที่ 1)
สัตว์เศรษฐกิจ 27 เมื่อเราพิจารณาธัญพืชอาหารสัตว์สำาคัญที่ใช้ในสูตรอาหารสัตว์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มให้พลังงาน ประกอบด้วย ข้าวโพด ปลายข้าว และมันสำาปะหลัง ทั้งหมดสามารถผลิตได้ภายในประเทศ มีเพียงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตไม่เพียงพอต้องนำาเข้า และ 2) กลุ่ม โปรตีน คือ กากถั่วเหลือง ซึ่งต้องนำาเข้า กากถั่วเหลืองจึงเป็นตัวแปรสำาคัญต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุน อาหารสัตว์ในปีนี้ เนื่องจากประเทศไทยสามารถผลิตถั่วเหลืองได้ เพียง 20,000 ตัน/ปี ได้กากถั่วเหลืองเพียงน้อยนิด สวนทางกับ ปริมาณความต้องการใช้ถั่วเหลืองในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ประมาณ 5.4 ล้านตัน เป็นกากถั่วเหลืองที่ได้จากการนำาเข้าเมล็ดถั่วเหลืองมา สกัดเป็นน้ำามันพืชในประเทศ 2.7 ล้านตัน ต้องนำาเข้ากากถั่วเหลือง อีก 2.9 ล้านตัน โดยนำาเข้าจากบราซิลเป็นหลัก ซึ่งปริมาณผลผลิต คาดการณ์ปี2566/67 ไว้5.88 ล้านตัน แม้จะมีการขยายพื้นที่ปลูก แต่พื้นที่ผลิตบางส่วนได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อันเป็นผลของ ปรากฏการณ์ El Nino [1] ผลผลิตของปีนี้จึงต้องลุ้นว่าจะเป็นไป ตามเป้าหรือไม่ แต่ก็พอสรุปได้ว่า ราคาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง ของปีนี้น่าจะคงตัวในระดับสูง และต้องไม่ลืมต้นทุนการผลิตของ ประเทศต้นทาง ค่าเดินเรือ และค่าประกันภัยในการขนส่งที่ต้องข้าม น้ำาข้ามทะเลใช้เวลาเป็นแรมเดือนจะมาถึงไทย นอกจากนี้ จากภาพที่ 1 เราจะเห็นความแตกต่างของราคา กากถั่วเหลืองใน (เมล็ดนำาเข้า) และกากถั่วเหลืองนำาเข้าที่น่าสนใจ คือ ราคากากถั่วเหลืองที่ได้จากอุตสาหกรรมสกัดน้ำามันมีราคาแพง กว่าราคากากถั่วเหลืองนำาเข้าอย่างเห็นได้ชัด ด้วยโครงสร้างราคา กากถั่วเหลืองเมล็ดนำาเข้าที่ขายภายในประเทศตอนนี้ไม่ได้เป็นไปตาม ต้นทุนการผลิตที่แท้จริง เนื่องจากตั้งราคาจะอ้างอิงตลาดโลก บวก ต้นทุนค่าขนส่ง และภาษีนำาเข้า 2% ในราคาขาย เหตุใดต้องตั้ง โครงสร้างราคาเช่นนี้ เดาว่าคงให้เหตุผลว่าช่วยผู้บริโภคน้ำามันถั่วเหลืองในประเทศ เพราะหากผู้ผลิตน้ำามันพืชถั่วเหลืองไม่สามารถเพิ่มราคาขายกาก ถั่วเหลืองได้ ก็คงขอปรับเพิ่มราคาน้ำามันพืชถั่วเหลืองแทน ทำาให้ เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ต้องแบกรับภาระต้นทุนส่วนนี้ มันยุติธรรม แล้วหรือ? ขณะที่มาพิจารณากากถั่วเหลืองนำาเข้า ผู้เขียนได้รับข้อมูลว่า ราคากากถั่วเหลืองนำาเข้า ณ ท่าเรือ (C.I.F) ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 16.5 บาท/กก. แต่ราคารับซื้อกากถั่วเหลืองหน้าโรงงานอยู่ที่ 22.8 บาท/กก. (ราคา ณ 5 มกราคม 2567) เหตุใดจึงมีส่วนต่างมากถึง เพียงนี้แม้จะถูกจัดเก็บภาษีนำาเข้าในโควต้า 2% บวกค่าขนส่งจาก ท่าเรือไปโรงงาน ก็ไม่ควรจะมีส่วนต่างเกิน 5 บาท/กก. อยากทราบ เหลือเกินว่ามีเงื่อนไขอะไรที่ทำาให้ต้นทุนกากถั่วเหลืองนำาเข้าสูงถึง เพียงนี้ เราสรุปได้แน่นอนว่า โครงสร้างราคากากถั่วเหลืองทั้งสอง แหล่งบิดเบี้ยว เป็นสาเหตุสำาคัญที่ทำาให้ต้นทุนอาหารสัตว์ขึ้นง่าย ปรับ ลดยาก ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ปัญหานี้ไม่เพียงเฉพาะไทย ผู้ใช้ถั่วเหลืองรายใหญ่ของโลกอย่าง จีน ที่มีปริมาณความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไม่น้อยกว่า 70 ล้านตัน ก็ตระหนักถึงปัญหานี้เช่นกัน แรงกดดันนี้ทำาให้จีนอนุมัติ ให้มีการผลิตถั่วเหลือง GMO 14 สายพันธุ์รวมถึงข้าวโพด GMO อีก 37 สายพันธุ์แล้วในช่วงเดือนตุลาคม 2566 เพื่อลดการนำาเข้า หลังจากได้มีการทดลองปลูกในแปลงขนาดใหญ่ (Large-scale trials) 20 แห่ง ใน 5 จังหวัด [2] สำาหรับประเทศไทยยังคงมีกฎหมายห้ามใช้พันธุ์ที่ตัดต่อพันธุ์ กรรม แต่เรายังคงนำาเข้าเมล็ดถั่วเหลือง GMO เข้ามาสกัดน้ำามัน และกากถั่วเหลืองที่เรานำาเข้าก็คงสกัดจากเมล็ดถั่วเหลือง GMO เข้า ตำาราเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินแกง ไม่อนุญาตให้ปลูก แต่ ก็อนุญาตให้นำาเข้า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องหันมาพิจารณาเรื่องนี้ อย่างจริงจัง ประเด็นถัดไปที่ต้องพิจารณาคือ ธัญพืชแหล่งพลังงาน ควร พิจารณายกเลิกมาตรการควบคุมการนำาเข้าข้าวสาลี3:1 โดยกำาหนด ปริมาณนำาเข้าตามปริมาณความต้องการส่วนเกินของข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ที่ผลิตได้ในแต่ละปีซึ่งต้องขึ้นทะเบียนผู้นำาเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุกราย และวิธีการคำานวณราคาและมาตรฐานรับซื้อที่คำานึงถึง ความชื้นและน้ำาหนักให้ชัดเจนเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะทำาให้ราคาซื้อขาย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นธรรมต่อเกษตรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และ ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ อีกทางหนึ่งที่ต้องกลับมาคิดกันใหม่คือ การปรับสูตรอาหาร โปรตีนต่ำา (Low-protein diet) เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สัตว์เพื่อ ให้สัตว์มีสุขภาพที่ดีลดอัตราการสูญเสียระหว่างทาง ใส่โพรไบโอติก ในสูตรอาหารเพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึม ปรับการใช้สูตรอาหารสัตว์ แม่นยำา (Precision feed) ที่เหมาะสมกับพันธุ์และช่วงอายุของสัตว์ แนวทางนี้จะทำาให้ต้นทุนการแปลงอาหารเป็นเนื้อสัตว์ (Feed Conversion per Gain: FCG) ต่ำาลง หากภาครัฐไม่แก้ไขปัญหาวิกฤตต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ อย่างจริงจัง ไม่เพียงแต่ต้นทุนการผลิตหมู ปศุสัตว์ทุกชนิดทั้ง ไก่ โคเนื้อ โคนม ก็จะไปไม่รอด เกษตรกรรายย่อย รายเล็ก และ รายกลางจำานวนมากตัดสินใจเลิกเลี้ยง เพราะตระหนักแล้วว่า อาชีพ เลี้ยงปศุสัตว์ทั้งหมู ไก่ โคเนื้อ โคนม จะไม่ใช่อาชีพของเกษตรกร ตัวเล็กๆ อีกต่อไป สุดท้าย สุดท้ายไม่เพียงต้องนำาเข้าวัตถุดิบอาหาร สัตว์ยังต้องนำาเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ผลท้ายสุดจะตกไปที่ผู้บริโภค ต้องบริโภคเนื้อสัตว์และ ผลิตภัณฑ์ราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เมื่อนั้นประเทศไทย จะไร้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารโปรตีนที่เราเคยมีอย่างอุดม ที่มา: https://farmdocdaily.illinois.edu/2023/12/brazil-cuts-its-soybean-and-corn-productionprojections-for-2024.html https://www.reuters.com/markets/commodities/china-rolls-out-gmo-corn-planting-startssmall-2023-02-16/ https://www.nasdaq.com/articles/top-china-pig-breeder-promotes-low-protein-hogfeed-2021-05-17
28 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ภาคปศุสัตว์ยิ้ม...หลัง ครม.ไฟเขียวนำ�เข้�ก�กถั่วเหลืองปี 67 ทันเวล� หลังจาก สมาพันธ์ปศุสัตว์ฯ ชี้แจงรัฐบาลให้เร่งออกประกาศนำาเข้า “กากถั่วเหลือง” ก่อน เกิดความเสียหายหนัก เพิ่มต้นทุนการผลิตและกระทบห่วงโซ่การผลิตอาหารทั้งระบบ หลังเรือ ขนวัตถุดิบกากถั่วเหลืองลอยลำาในทะเล จ่อเข้าเทียบท่าไทย 3 ม.ค.67 หากนำาเข้าไม่ได้จะถูก ค่าปรับอ่วม ลดขีดความสามารถทางการแข่งขันส่งออกเนื้อไก่-กุ้งของไทย และซ้ำาเติมเกษตรกร คนเลี้ยงหมูที่บอบช้ำาจากหมูเถื่อนมาตลอดปีล่าสุด ครม.เห็นชอบมาตรการนำาเข้าวัตถุดิบอาหาร สัตว์ข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-ปลาป่น ต่ออายุมาตรการปีต่อปีซึ่ง เกษตรกรทั่วประเทศขอบคุณ นายกฯ ช่วยภาคผลิตปศุสัตว์-สัตว์น้ำาไม่สะดุด หลัง ครม. มีมติประกาศนำาเข้า “กากถั่วเหลือง” 2567 ทันเวลา จากการที่ผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศไทยมีเพียงปีละ 2-3 หมื่นตัน ซึ่งได้รับการปกป้อง เกษตรกร โดยสมาพันธ์ฯ รับซื้อหมดทั้ง 100% แล้ว รวมถึงการรับซื้อจากโรงงานผลิตน้ำามัน พืชด้วย จึงขอให้มีมติต่ออายุการนำาเข้ากากถั่วเหลือง เพื่อจำากัดความเสียหาย ขณะที่จะต้องมี กระบวนการออกประกาศยกเว้นอากรของกระทรวงการคลังตามมาอีกขั้นตอนหนึ่งอย่างรวดเร็ว การขอความกรุณารัฐบาลเร่งรัดออกประกาศดังกล่าวเป็นการเร่งด่วน เป็นไปเพื่อจำากัดความ สูญเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการสูญเสียโอกาสในการผลิต อาหารสัตว์เพราะหากต้องหยุดชะงักเนื่องจากไม่มีวัตถุดิบในการผลิต จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง ไปยังผู้บริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศ และกระทบต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าเนื้อไก่ และกุ้ง ซึ่ง มีมูลค่าทางธุรกิจทั้งระบบ รวมกันกว่าหนึ่งล้านล้านบาท พร้อมระบุว่า หากล่าช้าจนเกิดความ เสียหาย สมาพันธ์ฯ จะส่งใบเรียกเก็บค่าเสียหายไปยังรัฐบาล ในช่วงเดือนมกราคม 2567 จะมีเรือขนถ่ายสินค้ากากถั่วเหลืองเข้าสู่ประเทศไทยเป็น ลำาแรก และตลอดเดือนมกราคม 67 จะมีเรือนำาเข้ากากถั่วเหลืองจำานวน 4 ลำา รวมปริมาณ 2.1 แสนตัน ซึ่งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากประกาศนำาเข้ากากถั่วเหลืองออกไม่ทัน ได้แก่ 1.) เรือที่ขนถ่ายสินค้ากากถั่วเหลืองที่จะเข้ามาไทยจะไม่สามารถขนถ่ายสินค้าได้ และมีค่าใช้ จ่าย (Demurrage Charge) วันละ 2.5 แสนบาท/ลำาเรือ และเดือน มค. มีเรือเข้ามาพร้อม กัน 4 ลำา จะมีค่าใช้จ่ายรวม 1 ล้านบาท/วัน นับไปทุกวันจนกว่ารัฐบาลจะออกประกาศ และ 2.) ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสูญเปล่า กรณีประกาศลดหย่อนอัตราภาษีของ กระทรวงการคลังออกล่าช้า กรณีมค.67 มีรายการเข้ามาจำานวน 2.1 แสนตัน มูลค่านำาเข้า ประมาณ 4,200 ล้านบาท มูลค่าภาษีที่ต้องสำารองจ่ายจะสูงถึง 336 ล้านบาท และมีอัตรา ดอกเบี้ยสูญเปล่า 1.68 ล้านบาท/เดือน ระยะเวลาขอคืนภาษี6 เดือน คิดเป็นอัตราดอกเบี้ย สูญเปล่าในเดือน มค.รวม 10.08 ล้านบาท ล่าสุด นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำาสำานักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบการกำาหนดนโยบายและมาตรการนำาเข้าวัตถุดิบ อาหารสัตว์ 3 ประเภท ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง และปลาป่น ซึ่งผลิตในประเทศ ไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการ เช่น ไทยต้องนำาเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละ 3 ล้านตัน, จำาเป็นต้องนำาเข้ากากถั่วเหลืองปีละ 2.2 ล้านตัน ส่วนนำาเข้าปลาป่นปีละ 3 แสนตัน ทั้งนี้ สิ่งที่ ครม.พิจารณาคือ การนำาเข้าจะต้องรักษาสมดุล ต้องดูแลเกษตรกรผู้ผลิตอาหารสัตว์ทั้ง 3 ประเภทในเมืองไทยให้ดีดังนั้น จากเดิมที่มีการอนุญาตครั้งละ 3 ปีคือมาตรการรอบล่าสุด ตั้งแต่ปี2564-2566 ซึ่งจะหมดในเดือนธันวาคมนี้
สัตว์เศรษฐกิจ 29 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ แต่รัฐบาลขอเปลี่ยนจากเทอมละ 3 ปีเป็น เทอมละ 1 ปีเพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อได้สิทธินำาเข้า แล้ว ต้องซื้อวัตถุดิบในประเทศด้วย รัฐบาลเข้าใจว่าจะต้องนำาเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ไม่พอ ในประเทศ แต่ก็ต้องการสร้างหลักประกันให้แก่เกษตรกร ให้เกิดความมั่นใจว่าผู้นำาเข้าสัญญา จะรับซื้อผลผลิตในประเทศในราคาที่เป็นธรรมด้วย ทั้งนี้นโยบายและมาตรการนำาเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กากถั่วเหลือง และปลาป่น) ปี2567 มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ 1.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พิกัดอัตราศุลกากร 1005.90.99 รหัสสถิติ 001 ดังนี้ 1.1 การนำาเข้าภายใต้WTO ในโควตา อัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณ 54,700 ตัน โดย ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำาเข้า ไม่จำากัดช่วงเวลานำาเข้า ส่วนนอกโควตา อัตรา ภาษีร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท ไม่จำากัดปริมาณ 1.2 การนำาเข้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อัตราภาษีร้อยละ 0 (ไม่จำากัดปริมาณ)-ให้อคส.เป็นผู้นำาเข้า ไม่จำากัดช่วงเวลานำาเข้า ผู้นำาเข้าทั่วไป กำาหนดช่วง เวลานำาเข้าระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 สิงหาคมของแต่ละปีและต้องปฏิบัติตามข้อกำาหนด มาตรฐานควบคุมการนำาเข้าตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 1.3 การนำาเข้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ในโควตา ภาษีร้อยละ 0 ไม่จำากัดปริมาณ โดยต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษี ทั้งหมดหรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย สำาหรับภาษีในโควตา เพื่อ ประกอบการนำาเข้านอกโควตา ภาษีร้อยละ 65.70 ไม่จำากัดปริมาณ 1.4 การนำาเข้าภายใต้กรอบการค้าอื่นๆ เป็นไปตามข้อผูกพัน [เช่น ความตกลงหุ้นส่วน เศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) อัตราภาษีร้อยละ 0 ไม่จำากัดปริมาณ] 1.5 การนำาเข้าจากประเทศนอกความตกลง อัตราภาษีกิโลกรัมละ 2.75 บาท และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 1,000 บาท (ไม่จำากัดปริมาณ) 2. กากถั่วเหลือง พิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 2304.00.29 รหัสสถิติ 001 เพื่อใช้ ในอุตสาหกรรมผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ไม่จำากัดปริมาณและช่วงเวลานำาเข้า ดังนี้ 2.1 การนำาเข้าภายใต้ WTO ในโควตา อัตราภาษีร้อยละ 2 ผู้มีสิทธินำาเข้าทั้งสิ้น 11 ราย หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำาเข้ารายใหม่ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธานกรรมการนโยบาย อาหารพิจารณาตามความจำาเป็นและความเหมาะสม นอกโควตา อัตราภาษีร้อยละ 119 2.2 การนำาเข้าภายใต้กรอบการค้าอื่นๆ เป็นไปตามข้อผูกพัน [เช่น ความตกลงเขตการ ค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภาษีร้อยละ 0 ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ภาษี ร้อยละ 0] 2.3 การนำาเข้าจากประเทศนอกความตกลง อัตราภาษีร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิศษ ตันละ 2,519 บาท 3. ปลาป่น โปรตีนต่ำากว่าร้อยละ 60 พิกัดอัตราศุลกากร 2301.20.10 ต้องขออนุญาต นำาเข้า และปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป พิกัดอัตราศุลกากร 2301.20.20 ไม่จำากัดปริมาณ และช่วงเวลานำาเข้า ดังนี้ 3.1 การนำาเข้าภายใต้ทุกกรอบการค้า เป็นไปตามข้อผูกพัน [เช่น ความตกลงเขต การค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ภาษีร้อยละ 0 ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ภาษีร้อยละ 0] 3.2 การนำาเข้าจากประเทศนอกความตกลง ปลาป่น โปรตีนต่ำากว่าร้อยละ 60 อัตรา ภาษีร้อยละ 6 ปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป อัตราภาษีร้อยละ 15 ทั้งนี้มอบกระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร นำาประกาศกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง กับอัตราภาษีนำาเข้ากากถั่วเหลือง พิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 2304.00.29 รหัส 001 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี2567 และพาณิชย์ โดยกรมการค้า
30 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ต่างประเทศ นำาประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องตามมติคณะกรรมการ เสนอต่อ ครม.ใน คราวเดียวกัน ขณะนี้กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการร่างประกาศ ดังกล่าวจึงยังไม่ได้นำาเสนอประกาศที่เกี่ยวข้องมาในคราวนี้) ด้าน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล เลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำา กล่าวว่าในนามของภาคการผลิตปศุสัตว์และสัตว์น้ำาขอขอบคุณ นายเศรษฐา ทวีสิน นายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมถึง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่กรุณารับฟังปัญหาพร้อมดำาเนินการ แก้ไขทันทีน่าจะทำาให้สามารถออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ทันเวลา “การนำาเข้ากากถั่วเหลืองซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำาของห่วงโซ่การผลิตอาหารจะสามารถดำาเนิน ไปได้ตามปกติ ทำาให้ประเทศไทยยังรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ในด้านการส่งออกอาหารทั้งไก่และกุ้ง ขณะที่ผู้บริโภคภายในประเทศก็คลายกังวล เรื่องผลกระทบด้านปริมาณอาหารและราคาลง” นายพรศิลป์กล่าว นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เผยว่าการประกาศ นำาเข้ากากถั่วเหลือง ปี2567 ของรัฐบาลในการประชุม ครม.นัดสุดท้ายของปีนี้นับว่าแก้ปัญหา เฉพาะหน้าได้เฉียดฉิวทันเวลา ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การประกาศ นำาเข้าแบบปีต่อปีซึ่งถอยกลับไปเหมือนสมัยก่อน ก็กังวลว่าจะเป็นอุปสรรคและปัญหาต่อการ วางแผนการผลิตของภาคปศุสัตว์ เพราะมีความไม่แน่อนด้านวัตถุดิบ ทางที่ดีก็ควรจะเป็นการ ประกาศทุก 3 ปีเช่นเดิม ด้าน นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่าในฐานะ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศ ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ช่วยคลี่คลายปัญหาการประกาศ นำาเข้ากากถั่วเหลืองอย่างทันเวลา ก่อนจะเกิดความเสียหาย พร้อมย้ำาว่าเกษตรกรทุกคนตั้งใจ เดินหน้าผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค แต่ต้องยอมรับว่า ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นต้น ทุนหลักของเกษตรกร ขณะที่บางมาตรการของรัฐกลับยิ่งทำาให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น กลายเป็น อุปสรรคในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรไทย เช่น มาตรการนำาเข้าข้าวสาลี3:1 หรือ การเก็บ ภาษีวัตถุดิบนำาเข้า อาทิภาษีกากถั่วเหลือง 2%, ภาษีกากเบียร์ (DDGS) 9% และภาษี ปลาป่น 15% ซึ่งรัฐควรยกเลิกมาตรการเหล่านี้ เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรไทยมีต้นทุน ที่ต่ำาลง มีแรงประกอบอาชีพเกษตรกรต่อไป นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาไทย ที่กล่าวขอบคุณ นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความเข้าใจและเมตตาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ปลา ช่วยแก้ปัญหานำาเข้า กากถั่วเหลือง ตามที่เกษตรกรร้องขอ ทำาให้เกษตรกรผ่อนคลายความกังวลที่ไทยจะไม่เกิดการ ขาดแคลนกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบโปรตีนสำาคัญสำาหรับสัตว์น้ำา และจะช่วยให้กุ้งและ สัตว์น้ำาไทยสามารถไปต่อสู้และแข่งขันได้ในตลาดโลก.
สัตว์เศรษฐกิจ 31 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ไก่ไข่ ปี 67 มุ่งรักษาเสถียรภาพราคา ถึงแม้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิต สูงตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่ราคา ไข่ไก่คละหน้าฟาร์มยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากมาตรการรักษา เสถียรภาพราคาที่ดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้ง การกำาหนดปริมาณ การนำาเข้าพ่อแม่พันธุ์ การกำาหนดอายุปลดไก่ไข่ยืนกรง และการ ผลักดันไข่ไก่ส่วนเกินส่งออก ดังนั้น ในปี 67 นี้ จึงขอความร่วมมือ เกษตรกรให้ดำาเนินการตามมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาต่อไป เพื่อให้ราคาอยู่ในระดับที่ผู้เลี้ยงอยู่ได้ มีกำาไร ไม่ขาดทุน สถานการณ์ การผลิตปี 2562 - 2566 ภาพรวมการผลิต ไข่ไก่ของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.11 ต่อปี โดยในปี 2566 มีปริมาณการผลิตไข่ไก่ 15,460.387 ล้านฟอง ลดลงจาก 15,633.924 ล้านฟอง ของปี 2565 ร้อยละ 1.11 ซึ่ง เป็นผลจากการดำาเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ โดยการ ปรับสมดุลผลผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ ของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ขณะที่ความต้องการบริโภค ปี 2562 - 2566 การบริโภคไข่ไก่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.82 ต่อปี เนื่องจากไข่ไก่เป็นอาหาร โปรตีนที่มีราคาถูกและสามารถปรุงอาหารได้ง่ายเมื่อเทียบกับโปรตีน ชนิดอื่น โดยในปี 2566 ปริมาณการบริโภคไข่ไก่ 14,999.198 ล้าน ฟอง ลดลงจาก 15,341.867 ล้านฟอง ของปี 2565 ร้อยละ 2.23 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาไข่ไก่ที่ปรับตัวตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น File: Layer 67 ไก่ไข่ ปี 67 มุ่งรักษาเสถียรภาพราคา ถึงแม้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตสูงตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ยังทรงตัวอยู่ใน ระดับสูง แต่ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาที่ด าเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้ง การก าหนดปริมาณการน าเข้าพ่อแม่พันธุ์ การก าหนดอายุปลดไก่ไข่ยืนกรง และการผลักดันไข่ไก่ส่วนเกินส่งออก ดังนั้น ในปี 67 นี้ จึงขอความร่วมมือเกษตรกรให้ด าเนินการตามมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาต่อไป เพื่อให้ราคาอยู่ในระดับที่ผู้ เลี้ยงอยู่ได้ มีก าไร ไม่ขาดทุน สถานการณ์การผลิตปี 2562 -2566 ภาพรวมการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทยมีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ 1.11 ต่อปีโดยในปี 2566 มีปริมาณการผลิตไข่ไก่ 15,460.387 ล้านฟอง ลดลงจาก 15,633.924 ล้านฟอง ของปี 2565 ร้อยละ 1.11 ซ่ึ ่ งเป็นผลจากการดา เนินมาตรการรกัษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ โดยการปรบัสมดุลผลผลิตใหเ้หมาะสมกับ ความต้องการบริโภคภายในประเทศ ของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์(Egg Board) ขณะที่ความต้องการบริโภค ปี 2562 -2566 การบริโภคไข่ไก่มีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอัตรารอ้ยละ 0.82 ต่อปีเน่ื ่ อ งจากไข่ไก่เป็นอาหารโปรตีนท่ี ่ มีราคาถูกและสามารถปรุงอาหารไดง้่ายเม่ื ่ อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่ ่ น โดยในปี2566 ปริ มาณการบริโภคไข่ไก่ 14,999.198 ล้านฟอง ลดลงจาก 15,341.867 ล้านฟอง ของปี 2565ร้อยละ 2.23ซ่ึ ่ งเป็นผลมาจาก ราคาไข่ไก่ท่ี ่ ปรบัตวัตามภาวะตน้ทนุท่ีสงูขึ้ ้ น การส่งออกไข่ไก่สด ปี 2562 -2566 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกไข่ไก่สดมีแนวโน้มเพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอัตรารอ้ยละ 14.36 และร้อยละ 29.44 ต่อปี ตามล าดับ โดยในปี 2566 การส่งออกไข่ไก่สดมีปริมาณ 461.189 ล้านฟอง มูลค่า 2,049.100 ลา้นบาท เพิ่ ่ มขึ้ ้ นจากจากปริมาณ 292.056 ล้านฟอง มูลค่า 1,162.033 ล้านบาท ของปี 2565ร้อยละ 57.91 และ ร้อยละ 76.34 ตามลา ดบั โดยตลาดส่งออกท่ี ่ สา คญัของไทย คือ สิงคโปร์ฮ่องกงและไตห้วนัมีสดัส่วนการส่งออกรอ้ย ละ 71.48 ร้อยละ 15.50และร้อยละ 7.43ของปริมาณการส่งออกไข่ไก่สด ตามล าดับ การส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ ปี 2562 - 2566 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้ม เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ14.56และร้อยละ 16.76 ต่อปี ตามล าดับ โดยในปี 2566 มีการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ปริมาณ 7,637.389 ตัน มูลค่า 909.873 ลา้นบาท เพิ่ ่ มขึ้ ้ นจากปริมาณ 4,793.867 ตัน มูลค่า 492.478 ล้านบาท ของปี 2565ร้อย ละ 59.32และร้อยละ 84.75 ตามลา ดับ ผลิตภัณฑท์่ี ่ ส่งออกมากท่ี ่ สุด คือ ไข่เหลวรวม ตลาดส่งออกท่ี ่ สา คัญ คือ ญ่ีปุ่ น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน โดยมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 58.27ร้อยละ 31.22และร้อยละ 2.65ของปริมาณการส่งออก ไข่เหลวรวม ตามล าดับ ตารางการส่งออกไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ รายการ 2562 2563 2564 2565 2566 อัตราเพิ่ ม (%) ไข่ไก่สด ปริมาณ (ล้านฟอง) มูลค่า (ล้านบาท) 270.801 750.729 221.430 655.840 260.603 800.553 292.056 1,162.033 461.189 2,049.100 14.36 29.44 ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 4,477.426 489.733 3,581.710 361.026 4,233.134 404.188 4,793.867 492.478 7,637.389 909.873 14.56 16.76 ที่มา : กรมศุลกากร การส่งออกไข่ไก่สด ปี 2562 - 2566 ปริมาณและมูลค่าการ ส่งออกไข่ไก่สดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.36 และร้อยละ 29.44 ต่อปี ตามลำาดับ โดยในปี 2566 การส่งออกไข่ไก่สดมีปริมาณ 461.189 ล้านฟอง มูลค่า 2,049.100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจาก ปริมาณ 292.056 ล้านฟอง มูลค่า 1,162.033 ล้านบาท ของปี 2565 ร้อยละ 57.91 และ ร้อยละ 76.34 ตามลำาดับ โดยตลาด ส่งออกที่สำาคัญของไทย คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวันมีสัดส่วน การส่งออกร้อยละ 71.48 ร้อยละ 15.50 และร้อยละ 7.43 ของ ปริมาณการส่งออกไข่ไก่สด ตามลำาดับ การส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ ปี 2562 - 2566 ปริมาณและ มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.56 และร้อยละ 16.76 ต่อปี ตามลำาดับ โดยในปี 2566 มีการ ส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ปริมาณ 7,637.389 ตัน มูลค่า 909.873 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 4,793.867 ตัน มูลค่า 492.478 ล้าน บาท ของปี 2565 ร้อยละ 59.32 และร้อยละ 84.75 ตามลำาดับ ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมากที่สุด คือ ไข่เหลวรวม ตลาดส่งออกที่สำาคัญ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน โดยมีสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 58.27 ร้อยละ 31.22 และร้อยละ 2.65 ของปริมาณ การส่งออกไข่เหลวรวม ตามลำาดับ
32 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2562 - 2566 ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.41 ต่อปีโดยในปี 2566 ราคา ไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยฟองละ 3.53 บาท สูงขึ้นจากฟองละ 3.28 บาท ของปี 2565 ร้อยละ 7.62 ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่ สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าอาหารสัตว์และค่าพันธุ์สัตว์ ประกอบกับมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ภายในประเทศ ราคาส่งออก ปี 2562 - 2566 ราคาส่งออกไข่ไก่สดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.19 ต่อปี และราคาส่งออกผลิตภัณฑ์จาก ไข่ไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.92 ต่อปี โดยในปี 2566 ราคาส่งออกไข่ไก่สดเฉลี่ยฟองละ 4.44 บาท สูงขึ้นจากฟองละ 3.98 บาท ของปี 2565 ร้อยละ 11.56 สำาหรับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.13 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.73 บาท ของปี 2565 ร้อยละ 15.97 ราคานำาเข้าปี 2562 - 2566 ราคานำาเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 25.98 ต่อปี โดยในปี 2566 ราคา นำาเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 326.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 187.37 บาท ของปี 2565 ร้อยละ 73.99 แนวโน้ม การผลิต ปี 2567 คาดว่า จะมีปริมาณการผลิตไข่ไก่ 15,415.552 ล้านฟอง ลดลงเล็กน้อยจาก 15,460.387 ล้านฟองของ ปี 2565 ร้อยละ 0.29 ซึ่งเป็นผลจากการดำาเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่อย่างต่อเนื่อง โดยการปรับสมดุลผลผลิตให้เหมาะสมกับ ความต้องการบริโภคภายในประเทศ สำาหรับความต้องการบริโภค ปี 2567 คาดว่า ปริมาณการบริโภคไข่ไก่จะเพิ่มขึ้นจากปี 2566 จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการ ท่องเที่ยวและบริการ ประกอบกับไข่ไก่สามารถทำาเมนูอาหารได้ง่าย และหลากหลายประเภท รวมทั้งเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนมีการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ โดยการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ และปริมาณการบริโภคที่เหมาะกับ ทุกเพศทุกวัย เพื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคไข่ไก่ภายในประเทศ การส่งออก ปี 2567 คาดว่า การส่งออกไข่ไก่สดและผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2566 เนื่องจากต้องรักษา ตลาดส่งออก และระดับราคาไข่ไก่ในประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ขาดแคลนไข่ไก่ในต่างประเทศถือเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกไข่ไก่ไปยัง ตลาดใหม่ได้เพิ่มขึ้น การนำาเข้า ปี 2567 คาดว่า การนำาเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากโรงงานแปรรูป ไข่ไก่ภายในประเทศ ยังไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ประเภทต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพื่อการส่งออกบางประเภทยังต้องใช้ ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่จากกลุ่มประเทศที่สหภาพยุโรปให้การรับรองให้ใช้เป็นส่วนประกอบได้ ราคา ปี 2567 คาดว่า ราคาไข่ไก่ที่่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศจะสูงขึ้นเล็กน้อยจากปี 2566 เนื่่องจากมีการจัดทำาแผนการ นำาเข้าพ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ในประเทศ ตลอดจนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและ บริการ ทำาให้ความต้องการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น การนำาเข้า ปี 2562 - 2566 ปริมาณการนำาเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้ม ลดลงในอัตราร้อยละ 6.98 ต่อปี ขณะที่มูลค่านำาเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 17.18 ต่อปี โดยในปี 2566 มีการนำาเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ปริมาณ 2,773.887 ตัน มูลค่า 904.300 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 4,909.647 ตัน มูลค่า 919.898 ล้าน บาท ของปี 2565 ร้อยละ 43.50 และร้อยละ 1.70 ตามลำาดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่ นำาเข้าจะใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่นำาเข้ามากที่สุด คือ ไข่ขาวผง โดยแหล่งนำาเข้า ที่สำาคัญ ได้แก่ อิตาลี เปรู และบราซิล โดยมีสัดส่วนการนำาเข้าร้อยละ 20.32 ร้อยละ 19.39 และร้อยละ 17.19 ของปริมาณนำาเข้าไข่ขาวผงทั้งหมด การน าเข้า ปี 2562 - 2566 ปริมาณการน าเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่มีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 6.98 ต่อปี ขณะท่ี ่ มลูค่านา เขา้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ 17.18 ต่อปี โดยในปี 2566 มีการน าเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ปริมาณ 2,773.887 ตัน มูลค่า 904.300 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 4,909.647 ตัน มูลค่า 919.898 ล้านบาท ของปี 2565ร้อยละ 43.50และ ร้อยละ 1.70 ตามลา ดับ โดยผลิตภัณฑท์่ี ่ นา เขา้จะใชเ้ป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑต์ ่าง ๆ เพ่ื ่ อใชใ้นประเทศและ ส่งออก ซ่ึ ่ งผลิตภณัฑท์่ี ่ นา เขา้มากท่ี ่ สดุคือไข่ขาวผง โดยแหล่งนา เขา้ท่ี ่ สา คญั ไดแ้ก่อิตาลีเปรูและบราซิล โดยมีสดัส่วน การน าเข้าร้อยละ 20.32 ร้อยละ 19.39และร้อยละ 17.19ของปรมิาณนา เขา้ไข่ขาวผงทั้ ้ งหมด ตารางการน าเข้าผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ รายการ 2562 2563 2564 2565 2566 อัตราเพิ่ ม (%) ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ปริมาณ(ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 4,021.362 547.528 4,818.108 513.907 5,879.613 753.397 4,909.647 919.898 2,773.887 904.300 -6.98 17.18 ที่มา : กรมศุลกากร ราคาท่ี ่ เกษตรกรขายได้ปี 2562 -2566ราคาไข่ไก่ท่ี ่ เกษตรกรขายไดม้ีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึน้ในอตัรารอ้ยละ 6.41 ต่อปี โดยในปี 2566ราคาไข่ไก่ท่ี ่ เกษตรกรขายไดเ้ฉลี่ ่ ยฟองละ3.53 บาท สงูขึ้ ้ นจากฟองละ3.28 บาท ของปี 2565ร้อยละ 7.62 ซ่ึ ่ งเป็นผลจากตน้ทุนการผลิตท่ีสูงขึน้โดยเฉพาะค่าอาหารสัตวแ์ละค่าพันธุส์ ัตว์ประกอบกับมาตรการรกัษาเสถียรภาพ ราคาไข่ไก่ภายในประเทศ ราคาส่งออก ปี 2562 -2566ราคาส่งออกไข่ไก่สดมีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ13.19 ต่อปี และราคาส่งออก ผลิตภัณฑจ์ากไข่ไก่มีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอัตรารอ้ยละ1.92 ต่อปี โดยในปี 2566ราคาส่งออกไข่ไก่สดเฉลี่ ่ ยฟองละ4.44 บาท สูงขึ้ ้ นจากฟองละ 3.98 บาท ของปี 2565 ร้อยละ 11.56 ส าหรับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่เฉลี่ ่ ยกิโลกรมัละ 119.13 บาท เพิ่ ่ มขึ้ ้ นจากกิโลกรัมละ 102.73 บาท ของปี 2565ร้อยละ 15.97 ราคาน าเข้าปี 2562 -2566ราคานา เขา้ผลิตภณัฑจ์ากไข่ไก่มีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ 25.98 ต่อปีโดยใน ปี 2566ราคานา เขา้ผลิตภณัฑจ์ากไข่ไก่เฉลี่ ่ ยกิโลกรมัละ326.00 บาท เพิ่ ่ มขึ้ ้ นจากกิโลกรมัละ187.37 บาท ของปี 2565 ร้อยละ 73.99 แนวโน้ม การผลิต ปี 2567 คาดว่า จะมีปริมาณการผลิตไข่ไก่ 15,415.552 ล้านฟอง ลดลงเล็กน้อยจาก 15,460.387 ล้านฟองของปี 2565 ร้อยละ 0.29ซ่ึ ่ งเป็นผลจากการดา เนินมาตรการรกัษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่อย่างต่อ เน่ื ่ อง โดยการปรับสมดุลผลผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ ส าหรับความต้องการบริโภค ปี 2567 คาดว่า ปริมาณการบริโภคไข่ไก่จะเพิ่ ่ มขึ้ ้ นจากปี2566จากการฟื้ ้ นตวัอยา่ง ต่อเน่ื ่ องของภาคการท่องเท่ี ่ ยวและบริการ ประกอบกบัไข่ไก่สามารถทา เมนูอาหารไดง้่าย และหลากหลายประเภท รวมทั้ ้ ง เป็นแหล่งโปรตีนราคาถกูนอกจากนี้ ้ ภาครัฐและภาคเอกชนมีการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ โดยการประชาสัมพันธ์ เกี่ ่ ยวกบัคณุประโยชน์และปรมิาณการบรโิภคท่ี ่ เหมาะกบัทกุเพศทกุวยัเพ่ื ่ อเพิ่ ่ มปรมิาณการบรโิภคไข่ไก่ภายในประเทศ การส่งออก ปี 2567 คาดว่า การส่งออกไข่ไก่สดและผลิตภณัฑจ์ากไข่ไก่จะเพิ่ ่ มขึ้ ้ นเล็กนอ้ยเม่ื ่ อเทียบกบั ปี2566 เน่ื ่ องจากตอ้งรกัษาตลาดส่งออก และระดบัราคาไข่ไก่ในประเทศ รวมทั้ ้ งสถานการณข์าดแคลนไข่ไก่ในต่างประเทศถือเป็น โอกาสของไทยในการส่งออกไข่ไก่ไปยังตลาดใหม่ได้เพิ่มขึ้ ้ น การน าเข้า ปี 2567 คาดว่า การนา เขา้ผลิตภณัฑจ์ากไข่ไก่จะทรงตวัหรือเพิ่ ่ มขึน้เล็กนอ้ย เน่ื ่ องจากโรงงานแปรรูป
สัตว์เศรษฐกิจ 33 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ราคา ปี 2567 คาดว่า ราคาไข่ไก่ที่กษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศจะสูงขึ้นเล็กน้อยจากปี 2566 เนื่องจากมีการจัดทำาแผนการนำาเข้า พ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ในประเทศ ตลอดจนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและบริการ ทำาให้ความต้องการบริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้น ไข่ไก่ภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เพื่อการส่งออกบางประเภทยังต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่จากกลุ่มประเทศที่สหภาพยุโรปให้การรับรองให้ใช้เป็น ส่วนประกอบได้ ตารางปริมาณการผลิต การส่งออก และการบริโภคไข่ไก่ของไทย รายการ 2562 2563 2564 2565 2566 อัตราเพิ่ ม (ร้อยละ) 2567* ปริมาณการผลิต1/ (ล้านฟอง) 15,018.744 14,841.645 15,317.850 15,633.924 15,460.387 1.11 15,415.552 ปริมาณการส่งออก2/ (ล้านฟอง) 270.801 221.430 260.603 292.056 461.189 14.36 N/A ปริมาณการบริโภค3/ (ล้านฟอง) 14,747.943 14,620.215 15,057.247 15,341.867 14,999.198 0.82 N/A หมายเหตุ : *ข้อมูลคาดคะเน ที่มา :1/, 3/ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2/ กรมศุลกากร ราคา ปี 2567 คาดว่า ราคาไข่ไก่ท่ี ่ เกษตรกรขายไดเ้ฉลี่ ่ ยทั้ ้ งประเทศจะสงูขึ้ ้ นเล็กนอ้ยจากปี2566เน่ื ่ องจากมีการ จัดท าแผนการน าเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ท่ีเหมาะสม เพ่ือรกัษาเสถียรภาพราคาไข่่ไก่่ในประเทศ ตลอดจนการฟื้ ้ นตวัอย่างต่อ เน่ื ่ องของภาคการท่องเท่ี ่ ยวและบรกิาร ทา ใหค้วามตอ้งการบรโิภคขยายตวัเพิ่ ่ มขึน้ ตารางราคาไข่ไก่ทเี่กษตรกรขายได้ราคาส่งออก และราคาน าเข้า รายการ 2562 2563 2564 2565 2566 อัตราเพิ่ ม (%) ราคาที่เกษตรกรขายได้1/ (บาท/ฟอง) 2.79 2.82 2.83 3.28 3.53 6.41 ราคาส่งออก2/ (เอฟ.โอ.บี) ไข่ไก่สด (บาท/ฟอง) 2.77 2.96 3.07 3.98 4.44 13.19 ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ (บาท/กก.) 109.38 100.80 95.48 102.73 119.13 1.92 ราคาน าเข้า2/(ซี.ไอ.เอฟ.) ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ (บาท/กก.) 136.15 106.66 128.14 187.37 326.00 25.98 หมายเหตุ : * ประมาณการ ที่มา : 1/ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2/ กรมศุลกากร ปัจจัยที่ ม่ีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาด เริ่มจาก ปัจจัยบวก 1) สถานการณ์ไข่ไก่ขาดแคลนในต่างประเทศ ท าให้ปริมาณการผลิตไข่ไก่ไม่เพียงพอกับ ความตอ้งการบริโภค อาทิไตห้วนั ประสบปัญหาการระบาดของโรคไขห้วดันก และมาเลเซียท่ี ่ ลดกา ลงัการผลิตเน่ื ่ องจาก ไข่ไก่ภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เพื่อการส่งออกบางประเภทยังต้องใช้ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่จากกลุ่มประเทศที่สหภาพยุโรปให้การรับรองให้ใช้เป็น ส่วนประกอบได้ ตารางปริมาณการผลิต การส่งออก และการบริโภคไข่ไก่ของไทย รายการ 2562 2563 2564 2565 2566 อัตราเพิ่ ม (ร้อยละ) 2567* ปริมาณการผลิต1/ (ล้านฟอง) 15,018.744 14,841.645 15,317.850 15,633.924 15,460.387 1.11 15,415.552 ปริมาณการส่งออก2/ (ล้านฟอง) 270.801 221.430 260.603 292.056 461.189 14.36 N/A ปริมาณการบริโภค3/ (ล้านฟอง) 14,747.943 14,620.215 15,057.247 15,341.867 14,999.198 0.82 N/A หมายเหตุ : *ข้อมูลคาดคะเน ที่มา :1/, 3/ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2/ กรมศุลกากร ราคา ปี 2567 คาดว่า ราคาไข่ไก่ท่ี ่ เกษตรกรขายไดเ้ฉลี่ ่ ยทั้ ้ งประเทศจะสงูขึ้ ้ นเล็กนอ้ยจากปี2566เน่ื ่ องจากมีการ จัดท าแผนการน าเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ท่ีเหมาะสม เพ่ือรกัษาเสถียรภาพราคาไข่่ไก่่ในประเทศ ตลอดจนการฟื้ ้ นตวัอย่างต่อ เน่ื ่ องของภาคการท่องเท่ี ่ ยวและบรกิาร ทา ใหค้วามตอ้งการบรโิภคขยายตวัเพิ่ ่ มขึน้ ตารางราคาไข่ไก่ทเี่กษตรกรขายได้ราคาส่งออก และราคาน าเข้า รายการ 2562 2563 2564 2565 2566 อัตราเพิ่ ม (%) ราคาที่เกษตรกรขายได้1/ (บาท/ฟอง) 2.79 2.82 2.83 3.28 3.53 6.41 ราคาส่งออก2/ (เอฟ.โอ.บี) ไข่ไก่สด (บาท/ฟอง) 2.77 2.96 3.07 3.98 4.44 13.19 ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ (บาท/กก.) 109.38 100.80 95.48 102.73 119.13 1.92 ราคาน าเข้า2/(ซี.ไอ.เอฟ.) ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ (บาท/กก.) 136.15 106.66 128.14 187.37 326.00 25.98 หมายเหตุ : * ประมาณการ ที่มา : 1/ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2/ กรมศุลกากร ปัจจัยที่ ม่ีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาด เริ่มจาก ปัจจัยบวก 1) สถานการณ์ไข่ไก่ขาดแคลนในต่างประเทศ ท าให้ปริมาณการผลิตไข่ไก่ไม่เพียงพอกับ ความตอ้งการบริโภค อาทิไตห้วนั ประสบปัญหาการระบาดของโรคไขห้วดันก และมาเลเซียท่ี ่ ลดกา ลงัการผลิตเน่ื ่ องจาก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาด เริ่มจาก ปัจจัยบวก 1) สถานการณ์ไข่ไก่ขาดแคลนในต่างประเทศ ทำาให้ปริมาณการผลิตไข่ไก่ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค อาทิ ไต้หวันประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก และมาเลเซียที่ลดกำาลังการผลิตเนื่องจากภาวะต้นทุนสูง รวมทั้งได้รับการอุดหนุนอย่างจำากัด ทำาให้มีความต้องการนำาเข้าไข่ไก่จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสในการส่งออกของไทย ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาไข่ไก่ภายในประเทศ 2) หน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่อย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดกิจกรรมที่สำาคัญ ได้แก่ การจัดงานวันไข่โลก เพื่อประชาสัมพันธ์คุณประโยชน์ของไข่ไก่และรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคหันมา บริโภคไข่ไก่มากขึ้น สำาหรับ ปัจจัยลบ คือ สภาพอากาศที่แปรปรวน มีผลต่อสุขภาพของไก่ไข่อาจทำาให้มีภูมิคุ้มกันลดลง และเป็นโรคได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ อัตราการให้ไข่ลดลงได้
34 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ไข่ไก่ สุดยอดอาหารจากแม่ไก่ มีประโยชน์มากมาย ช่วยบำารุงสมอง ดวงตา และหัวใจ มีโปรตีนสูง รวมถึงแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ในไข่ขาวให้พลังงานและ มีโปรตีนที่ดูดซึมได้ง่าย ส่วนไข่แดง อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมถึงไขมันอิ่มตัว ชนิดดีไข่ไก่จึงเหมาะสำาหรับทุกคนทุกวัย เป็นสุดยอดอาหารแก่คนที่คุณรัก สำาหรับปริมาณการบริโภคไข่ไก่ กรมอนามัยแนะนำาว่า สามารถรับประทานได้ ทุกกลุ่ม เริ่มตั้งแต่วัยทารก รับประทานได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยบดไข่แดง และป้อนให้เด็ก เมื่อเด็กอายุครบ 1 ขวบ สามารถรับประทานไข่ได้ทั้งฟอง ซึ่งเด็กๆ จะชอบกินไข่อยู่แล้ว โดยกินได้ทุกวัน วันละ 1 ฟอง หากต้องการให้เด็กเติบโตเร็วขึ้น สามารถที่จะรับประทานได้มากกว่านั้น ส่วนในวัยรุ่นบริโภคไข่ได้วันละฟอง เช่นเดียวกัน กับหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นกลุ่มพิเศษที่สามารถบริโภคไข่ได้ทุกวันวันละ 1 ฟอง ขณะที่วัยทำางาน รับประทานไข่ได้ทุกวัน วันละ 1 ฟอง โดยเริ่มต้นที่มื้อเช้า ด้วย ไข่ดาว ไข่ต้ม หรือโจ๊กใส่ไข่ จะรู้สึกสดชื่นทั้งวัน ส่วนในช่วงเวลาบ่ายหลังจาก ทำางานเหนื่อย แนะนำากินไข่ต้ม 1-2 ฟอง จะทำาให้อิ่มยาวไปถึงเย็น เพราะโปรตีนจาก ไข่ไก่ดูดซึมง่าย และเป็นโปรตีนคุณภาพทำาให้อิ่มท้อง สำาหรับในวัยผู้ใหญ่การออกกำาลังกายจะน้อยลง โปรตีนจะเสื่อมสภาพไป การที่ ร่างกายไม่ได้ออกกำาลังกายจะทำาให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงและขาจะลีบได้การบริโภคไข่ต่อ เนื่องจะช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของโปรตีนพร้อมฟื้นฟูโปรตีนในกล้ามเนื้อให้กลับมา แข็งแรงเหมือนเดิม รวมถึงไข่ไก่ยังช่วยเรื่องโครงสร้างของร่างกาย จึงเห็นได้ว่าผู้ใหญ่ ที่แข็งแรงจะรับประทานไข่ไก่ทุกวัน นอกจากนี้ ไข่ไก่ยังมี เลซิทิน ช่วยบำารุงสมอง เสริมความจำา ช่วยป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้ ด้านผู้สูงวัยที่มีข้อสงสัยว่ากินไข่แล้วจะมีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอล ทางการ แพทย์มีคำาตอบชัดเจนแล้วว่า ไข่ไก่ ไม่ได้ทำาให้เกิดปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลในเลือด แต่คอลเลสเตอรอลในร่างกายของคน 80% เกิดจากที่ตับสร้างขึ้น เมื่อมีภาวะเครียด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับตับการสร้างตัวของคอเลสเตอรอลจะผิดปกติจึงเป็นสาเหตุที่ทำาให้ คอเลสเตอรอลสูงขึ้น ผู้สูงอายุจึงสามารถบริโภคไข่ได้เป็นประจำาทุกวัน วันละ 1 ฟอง โดย : น.สพ.ดร.กิตติ ทรัพย์ชูกุล อุปนายกสัตวแพทยสภา คนที่ 1 และ รองประธานโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง รักใครให้กินไข่ “ไข่ไก่” สุดยอดอาหารจากแม่ไก่
สัตว์เศรษฐกิจ 35 ทั้งนี้ข้อมูลทางการแพทย์ได้เคยขีดเส้นว่าคอเลสเตอรอลที่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร คือ คอเลสเตอรอลสูง แต่วันนี้ทางสหรัฐอเมริกา ระบุว่าไม่ต้องมองที่ ตัวเลข 200 ให้มองเรื่องของสัดส่วนของคอเลสเตอรอลชนิดดีกับชนิดไม่ดีวันนี้การ บริโภคไข่ไก่ได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยคอเลสเตอรอล 80% ร่างกายสร้างขึ้นเอง และอีก 20% คือจากอาหารที่รับประทาน ดังนั้นการบริโภคไข่ไก่ จึงเป็นการเพิ่ม คอเลสเตอรอลชนิดที่ดีให้กับร่างกาย ทำาให้ผู้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน สามารถบริโภคไข่ได้ทุกวัน ส่วนในกลุ่มที่มีปัญหาของโรคดังกล่าว แพทย์ จะแนะนำาให้รับประทานไข่วันเว้นวัน หรือตามคำาแนะนำาของแพทย์ สำาหรับการบริโภคไข่ไก่ที่ดีที่สุด ให้บริโภคไข่ที่สดใหม่ เพราะสารอาหารและ โปรตีนยังไม่เสื่อมคุณภาพ โดยสังเกตที่วันผลิตและวันหมดอายุหรือเมื่อตอกออกมา ไข่สดจะยังเป็นวงอยู่ ส่วนไข่เก่าไข่ขาวจะเหลวเสื่อมสภาพไป ขณะที่การซื้อไข่ใน ห้างสรรพสินค้าที่มีการปรับอากาศให้เย็นจะช่วยรักษาคุณภาพของไข่ไก่ไว้ให้ดีกว่าการ ซื้อที่ที่มีอากาศร้อน และหากต้องการเก็บไข่ให้ได้นานขึ้นแนะนำาให้เก็บไข่ในตู้เย็น โดย เอาด้านป้านขึ้น เอาด้านแหลมลง ส่วนวิธีการปรุงที่ดีที่สุดของการบริโภคไข่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดที่ทางแพทย์ยืนยัน คือ ไข่ต้ม ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ 6 นาทีครึ่ง ถึง 9 นาทีหากใช้เวลาต้มนานกว่านั้น จะเกิดขอบเป็นสีน้ำาตาลหรือสีออกเขียว เพราะว่าโปรตีนเสียคุณภาพไป โดยพบง่าย ในไข่พะโล้ สุดท้ายนี้การดูแลสุขภาพที่พิเศษที่สุดคือการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และ ข้อสำาคัญคือไม่เครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำาลังกายอย่างสม่ำาเสมอ ก็จะช่วยให้สุขภาพของเราแข็งแรง ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ น.สพ.ดร.กิตติ ทรัพย์ชูกุล
36 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE หอการค้าไทย หนุนเด็กไทยทานไข่ไก่ เป็นอาหารกลางวัน 3 ฟอง/คน/สัปดาห์ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำานักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมปศุสัตว์กรมอนามัย กองทุนพัฒนา อุตสาหกรรมไก่ไข่ คณะทำางานโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง ภายใต้ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์(Egg Board) และกองทุนเพื่อ โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา ดำาเนินโครงการรณรงค์บริโภค ไข่ไก่ในโรงเรียน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยได้คัดเลือก โรงเรียนนำาร่องจากทั่วประเทศ จำานวน 10 โรง นักเรียนรวม 1,302 คน เข้าร่วมโครงการ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทาง โภชนาการอย่างเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ นายอดิศร์กฤษณวงศ์กรรมการบริหารหอการค้าไทย และ ประธานคณะ กรรมการธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูป สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ในโรงเรียน ให้การสนับสนุนค่าจัดซื้อไข่ไก่ให้กับ โรงเรียน ฟองละ 4 บาท จำานวน 3 ฟอง/คน/สัปดาห์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการ ศึกษา 2566 และชดเชยให้ฟองละ 1 บาท ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการ ศึกษา 2567 รวมไข่ไก่กว่า 205,000 ฟอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมไก่ไข่ ซึ่งโครงการฯจะติดตามผลสัมฤทธิ์ด้านการ เสริมสร้างพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้กับเด็ก รวมทั้งโภชนาการที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนที่ได้รับประทานไข่ไก่ตามที่กำาหนดเพื่อ สรุปและรายงานผลต่อภาครัฐได้ขยายผลโครงการดังกล่าวไปยังโรงเรียนทั่ว ประเทศต่อไป กิจกรรม Kick off โครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ในโรงเรียน ณ โรงเรียน บ้านดงแขวน อำาเภอปากพลีจังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนนำาร่อง ของโครงการฯ มีเด็กนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทานอาหารกลางวันจากเมนูไข่ จำานวน 168 คน โดยโครงการจะติดตามผล วิเคราะห์ผล และเผยแพร่องค์ ความรู้ด้านภาวะโภชนาการจากโรงเรียนนำาร่องทั้ง 10 โรง ไปยังโรงเรียนใน ภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้เด็กนักเรียนไทยทั่วประเทศ ได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณค่า ทางโภชนาการครบถ้วน ถูกสุขลักษณะ นักเรียนมีพัฒนาการเต็มศักยภาพและ มีความพร้อมในการเรียนรู้ได้มากขึ้นต่อไป โครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายของ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธาน กรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คือ ConnectCompetitive-Sustainable โดยเฉพาะด้าน Sustainable คือ 1. การสร้างภาวะ แวดล้อมด้านโภชนาการที่ดีและยั่งยืนแก่เด็กวัยเรียน 2. การสร้างแรงจูงใจให้ ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กนักเรียนผ่านมื้อ อาหารที่มีคุณภาพ.
สัตว์เศรษฐกิจ 37 “มิลค์บอร์ด” ต่อลมหายใจชาวโคนมหลัง ไฟเขียว ขึ้นราคานมดิบ กก.ละ 2.25 บาท ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรโคนมเฮลั่น “มิลค์บอร์ด” ไฟเขียว ปรับราคาน้ำานมดิบใหม่ เพิ่มอีก 2.25 บาทต่อกิโลกรัม มีผลทันทีพร้อมเช็ครับเงินอุดหนุนอาหารสัตว์ใช้งบ 1,680 ล้านบาท หลังเป็นต้นเหตุสำาคัญทำาเกษตรกรเจ๊ง เลิกเลี้ยงลามนำ้านมดิบวิกฤตขาด ด้านกรมการค้าภายในไฟเขียวผู้ประกอบการปรับขึ้นราคานมและผลิตภัณฑ์ เฉพาะ ตามต้นทุนน้ำานมดิบที่สูงขึ้นเท่านั้น ส่วนต้นทุนอื่น ไม่พิจารณาให้ เหตุต้องดูแล ผู้บริโภค ไม่ให้ได้รับผลกระทบมากเกินไป แต่ต้องให้เพื่อให้ผู้ผลิตอยู่ได้ เผยในการ ยื่นขอปรับราคา ต้องแนบหลักฐานการซื้อนมดิบ สัดส่วนการใช้ เพื่อประกอบการ พิจารณา ย้ำาจะให้ขึ้นไม่เท่ากัน โดยดูสัดส่วนการใช้นมดิบเป็นหลัก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิด เผยภายหลังรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk Board) ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 123 กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ว่า คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk Board) มีมติ เห็นชอบเรื่อง ทบทวนการขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำานมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โคนม ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดังนี้ 1. ให้ออกประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง ราคากลางรับ ซื้อน้ำานมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูปและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2567 โดยปรับราคา กลางรับซื้อน้ำานมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม จากเดิมกิโลกรัมละ 20.50 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.75 บาท และ 2. ให้ออกประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง ราคากลาง รับซื้อน้ำานมโค ณ ศูนย์รวบรวมน้ำานมดิบ พ.ศ. 2567 โดยปรับราคากลางรับซื้อ น้ำานมโค ณ ศูนย์รวบรวมน้ำานมดิบ จากเดิมกิโลกรัมละ 19 บาท เป็นกิโลกรัมละ 21.25 บาท ขณะเดียวกัน ได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานโครงการช่วยเหลือ เกษตรกรของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม พิจารณาช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตามมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 และตามมติคณะกรรมการโคนมและ ผลิตภัณฑ์นม ครั้งที่ 5 /2566 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดังนี้ 1. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2566 กรมปศุสัตว์ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย สำานักพัฒนา อาหารสัตว์ และกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ เข้าร่วมประชุมหารือ (ร่าง) โครงการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตน้ำานมดิบ แนวทางรายละเอียด ในประเด็นแหล่งเงินกู้และคุณสมบัติของกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์ ในร่างรายละเอียดมากขึ้น และ
38 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE 2. การประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์ นม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 ผ่านการประชุมทางไกลด้วยระบบ Zoom Meeting มติที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) โครงการช่วยเหลือ เกษตรกรโคนม ภายใต้วิกฤตอาหารสัตว์ราคาแพง และมอบหมายกรมปศุสัตว์ในฐานะ ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาปรับแก้ไขรายละเอียด (ร่าง) โครงการฯ ให้มีความสมบูรณ์ก่อนเสนอคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมพิจารณาเห็นชอบ ต่อไป ด้าน คุณวสันต์จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์และ กรรมการ ในคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลค์บอร์ด) เผยว่า มีการประชุมมิลค์บอร์ด ได้มีมติเห็นชอบปรับราคากลางน้ำานมดิบขึ้นอีกกิโลกรัม (กก.) ละ 2.25 บาท แบ่ง เป็น 1. หน้าศูนย์รวบรวมนม จาก 19 บาท บวกเพิ่ม 2.25 บาท/กก. ราคาจะ ปรับเพิ่มขึ้น เป็น 21.25 บาท/กก. และ 2. ราคาหน้าโรงงาน จากราคาน้ำานมดิบ 20.5 บาทต่อ กก. บวกเพิ่มอีก 2.25 บาท/กก. เป็น 22.75 บาท/กก. มีผลทันที ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯ ยังได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาต้นทุน การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสัตว์ รวมทั้งแนวทางอื่นๆ ในการปรับลด ต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเลี้ยงโคนม ได้อย่างยั่งยืน เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกรโคนมภายใต้วิกฤตอาหารสัตว์ ราคาแพง ระยะเวลาดำาเนินการ 3 ปี งบประมาณ 1,680 ล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อจากสถาบันการเงิน 1,500 ล้านบาท และงบกลาง 180 ล้านบาท เป้าหมาย เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้งประเทศที่จะเข้าร่วมโครงการ สำาหรับคุณสมบัติของเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 1. เป็นเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์2. มีจำานวนแม่โครีดนมไม่เกิน 50 แม่ ณ วันยื่นขอสินเชื่อ 3. เป็นสมาชิกและจำาหน่ายน้ำานมดิบให้แก่ศูนย์รวบรวมน้ำานมติบ ของสหกรณ์โคนม หรือ ศูนย์รวบรวมน้ำานมดิบของภาคเอกชนที่จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล 4. เป็นเกษตรกรที่มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมมาแล้วไม่น้อย กว่า 3 ปี5. มีรายละเอียดของแผนการลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์การพัฒนาฟาร์ม ใช้ประกอบการขอสินเชื่อ 6. ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการดำาเนินคดีอาญาที่บทกำาหนด โทษจำาคุกเกิน 1 ปี7. มีหลักประกันเงินกู้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ต่อไปนี้ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีหนังสือแสดงเอกสารสิทธิ์สามารถจตทะเบียน จำานองได้หรืออาคารชุด บุคคลค้ำาประกัน หรือ หลักประกันอื่นๆ ที่สถาบันการเงิน กำาหนด หลักเกณฑ์การขอใช้สินเชื่อของเกษตรกร 1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนสำาหรับ การจัดซื้อ จัดหาอาหารสัตว์สำาเร็จรูป อาหารหยาบ วัตถุดิบอาหารสัตว์สำาหรับใช้ เลี้ยงโคนมในฟาร์ม หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการปลูกสร้างแปลงพืชอาหาร สัตว์จัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์สำาหรับฟาร์มโคนม หรือปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐาน 2. กรอบวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 200,000 บาท และหรือ รวมกันทุกรายที่สมัคร เข้าร่วมโครงการไม่เกินวงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยคณะกรรมการบริหารโครงการ และสถาบันการเป็นผู้พิจารณา 3. เกษตรกรจะรับผิดชอบภาระดอกเบี้ยตามที่สถาบัน การเงินกำาหนด โดยภาครัฐจะช่วยเหลือลดภาระค่าดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน (ธกส) ให้แก่เกษตรกรผู้ที่มีคุณสมบัติและได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการร้อยละ 4 (ปัจจุบัน ดอกเบี้ย MRR ร้อยละ 6.975 เกษตรกรต้องรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 2.975) 4. เกษตรกรต้องใช้คืนสินเชื่อพร้อมดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินภายในระยะเวลา 3 ปีๆ ละเท่าๆ กัน หรือในระยะเวลาและอัตราที่สถาบันการเงินกำาหนด
สัตว์เศรษฐกิจ 39 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ด้าน กรมการค้าภายในไฟเขียวผู้ประกอบการปรับขึ้นราคานมและผลิตภัณฑ์ เฉพาะตามต้นทุนน้ำานมดิบที่สูงขึ้นเท่านั้น ส่วนต้นทุนอื่น ไม่พิจารณาให้ เหตุต้อง ดูแลผู้บริโภค ไม่ให้ได้รับผลกระทบมากเกินไป แต่ต้องให้เพื่อให้ผู้ผลิตอยู่ได้เผยใน การยื่นขอปรับราคา ต้องแนบหลักฐานการซื้อนมดิบ สัดส่วนการใช้ เพื่อประกอบ การพิจารณา ย้ำาจะให้ขึ้นไม่เท่ากัน โดยดูสัดส่วนการใช้นมดิบเป็นสำาคัญ นายวัฒนศักย์เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงกรณีบริษัทผู้ผลิต และจำาหน่ายนมสดและผลิตภัณฑ์นม เรียกร้องให้กรมพิจารณาอนุมัติการปรับขึ้น ราคา ทั้งในส่วนของต้นทุนน้ำานมโคดิบและต้นทุนส่วนอื่นๆ ว่า กรมได้จัดการประชุม ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย สมาคมอุตสาหกรรมนมและ อาหาร บริษัทผู้ผลิตและจำาหน่าย โดยมีผู้แทนจากองค์การส่งเสริมกิจการโคนม แห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ฝ่ายเลขานุการของ Milk Board ร่วมประชุม เพื่อ พิจารณาข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการ โดยยึดหลักกการเดิมที่จะให้ปรับเพิ่มขึ้น เฉพาะในส่วนของต้นทุนน้ำานมโคดิบที่สูงขึ้นตามมติ Milk Board และจะพิจารณา ตามสัดส่วนการใช้น้ำานมดิบในแต่ละผลิตภัณฑ์และตามขนาดบรรจุภัณฑ์เท่านั้น ทั้งนี้ ในการประชุมบริษัทผู้ผลิตและจำาหน่ายนมสดและผลิตภัณฑ์นมได้ขอให้ กรมพิจารณาปรับราคาจำาหน่ายนมสดและผลิตภัณฑ์ตามมติMilk Board และขอให้ พิจารณาต้นทุนส่วนอื่นๆ ทั้งค่าบรรจุภัณฑ์ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน ที่สูงขึ้นด้วย ซึ่ง กรมได้รับทราบ และได้ชี้แจงถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะลดภาระค่าครองชีพ ให้แก่พี่น้องประชาชน และนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนโยบายในการพิจารณาว่าต้องมีความสมดุลและ ทุกฝ่ายอยู่ได้ จึงอนุมัติตามที่ผู้ประกอบการเสนอทั้งหมดไม่ได้ แต่อนุมัติให้เฉพาะ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริง สำาหรับขั้นตอนการขอปรับราคา บริษัทผู้ผลิตจะต้องแสดงหลักฐานการรับซื้อ น้ำานมโคดิบว่าได้ซื้อในราคาที่สอดคล้องกับประกาศของ Milk Board ไม่ต่ำากว่า 22.75 บาท/กิโลกรัม (กก.) และต้องยื่นข้อมูลสัดส่วนการใช้น้ำานมโคดิบด้วย เนื่องจาก นมสดและผลิตภัณฑ์นมแต่ละยี่ห้อ แต่ละสูตร ก็อาจใช้น้ำานมโคดิบในสัดส่วนที่ แตกต่างกัน การพิจารณาอนุญาต ก็จะพิจารณาให้ตามต้นทุนน้ำานมโคดิบที่สูงขึ้นจริง ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk Board) ที่มีปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้ประกาศปรับราคาน้ำานมโคดิบ จาก 20.50 บาท/กก. เป็น 22.75 บาท/กก. หรือปรับขึ้น 2.25 บาท/กก. ส่งผลให้ต้นทุน การผลิตนมสดและผลิตภัณฑ์นมปรับสูงขึ้น และบริษัทผู้ผลิตและจำาหน่ายนมสดและ ผลิตภัณฑ์นม ได้เรียกร้องให้กรมการค้าภายในพิจารณาปรับราคา ทั้งในส่วนของ ต้นทุนน้ำานมโคดิบและต้นทุนส่วนอื่นๆ การพิจารณาให้ปรับราคาขายปลีกนมและผลิตภัณฑ์จะปรับขึ้นแตกต่างกันตาม สัดส่วนของการใช้น้ำานมดิบ โดยผลิตภัณฑ์นมที่ได้รับความนิยมขนาด 180-225 มิลลิลิตร น่าจะขึ้นราคา 0.25-0.50 บาท แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่กว่านั้น จะปรับขึ้น ตามสัดส่วน เช่น ขวดลิตรอาจขึ้น 1-2 บาท เป็นต้น
40 สัตว์เศรษฐกิจ น.สพ. ยุทธ เทียมสุวรรณ ผจู้ดัการฝ่ายวิชาการ บจก. เซน็ทรลัลิส ก้าวเข้าสู่ช่วงปลายปี ช่วงนี้สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมก าลังเปลี่ยนแปลง อาจพบฝนประปรายสลับกับลมหนาว ทั้งคน และสัตว์ในไทยนั้น อาจคุ้นเคย หรือชินกับการปรับร่างกายให้เข้ากับอุณหภูมิสูง หรืออากาศร้อนที่มีตลอดเกือบทั้งปีได้ ดีกว่า ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิลดต ่า มีลมหนาว สัตว์ก็อาจจะไม่คุ้นชิน ปรับสรีรวิทยาในร่างกายไม่ทัน เกิดความเครียด ภูมิคุ้มกัน ลดต ่าลง จึงมีโอกาสติดเชื้อใหม่ หรือเชื้อที่อาจพบแฝงอยู่ในร่างกายโดยปกติไม่ก่อโรค ก็กลับมาก่อโรคระบาดที่รุนแรงขึ้นได้ ดังตัวอย่างเช่น โรคคอบวมในโคกระบือ เป็นต้น ที่มักพบระบาดตั้งแต่ปลายฤดูฝนต่อเนื่องไปยังฤดูหนาว โรคคอบวม หรือ โรคเฮโมรายิก เซฟติซีเมีย (Haemorrhagic septicemia) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พาสทูเรลล่า มัลโต ซิดา (Pasteurella multocida) แกรมลบ รูปร่างกลม รูปแท่งหัวท้ายมน มี 5 ไทป์(A, B, D, E, F) ที่พบมากในไทยคือ ไทป์ B พบเชื้อได้ในเกือบทุกประเทศ แต่พบมากในเอเชีย แอฟริกา และเขตที่มีการเลี้ยงกระบือมากๆ โรคนี้จะระบาดได้รวดเร็ว ท าให้ เกิดการป่วยและตายจ านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบือ ส่วนโคอาจรุนแรงน้อยกว่า ส่วนแพะ แกะ สุกร ม้า อูฐ กวาง กระทิง ลิง ช้าง ก็ติดโรคได้ แต่อาการแทบจะไม่รุนแรง และโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน แบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานพอสมควร เช่น แปลงหญ้า ดินชื้นแฉะ มีรายงานว่าในแปลงหญ้าที่แห้งอาจ อยู่ได้แค่ 24 ชม. แต่หากในดินหรือทุ่งหญ้าชื้นแฉะ หรือในน ้าอาจอยู่ได้นานหลายวัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ หรือมีรายงานนาน เป็นเดือนก็ได้ แต่แบคทีเรียนี้ก็ถูกท าลายได้ง่ายด้วยความร้อน แสงแดด รวมถึงยาฆ่าเชื้อทั่วไปก็สามารถฆ่าได้ง่ายเช่นกัน แบคทีเรียจะถูกขับออกมาจากสัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อ หรือแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่ง หรือสิ่งขับถ่าย เช่น น ้ามูก น ้าลาย น ้านม อุจจาระ ปัสสาวะ และติดต่อไปสู่ตัวอื่นโดยทางการหายใจ หรือการกิน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย หรือกินเชื้อ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น ้า หรือสิ่งปูรองนอน โดยที่โรคนี้ไม่ติดต่อผ่านแมลง ในบริเวณที่มีความชุกโรคสูง จะพบเชื้อนี้ในตัวโคกระบือได้ประมาณ 5% ของฝูง อยู่ที่บริเวณโพรงจมูก คอหอย ทอนซิล โดยไม่แสดงอาการป่วย หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นพาหะ หรือตัวเก็บกักเชื้อ แต่ในช่วงที่เกิดการระบาดขึ้นแล้ว จะพบตัว ที่เป็นพาหะนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 20% เลยก็เป็นได้ปัจจัยเสริมที่ท าให้เชื้อก่อความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือแพร่ออกมานั้นได้แก่ ภาวะ ความเครียดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ร้อนจัด หนาวจัด เคลื่อนย้ายสัตว์ ใช้แรงงานหนัก สภาพร่ายกายอ่อนแอ มีโรคอื่น พยาธิ สภาพแวดล้อมเปียกหรือชื้นแฉะ ไม่ค่อยมีแสงแดด ขาดอาหาร อาหารไม่มีคุณภาพ ได้รับวิตามินแร่ธาตุไม่ถูกต้องครบ น.สพ. ยุทธ เทียมสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายวิชาการ บจก. เซ็นทรัลลิส ลัมปี สกิน...เป็นแล้ว เป็นอยู่ เป็นต่อ โรคลัมปีสกิน (Lumpy skin disease, LSD) เดิมเป็นโรคไวรัสประจำ�ถิ่นของแอฟริก� และตะวันออกกล�ง ติดต่อกันได้ง่�ยผ่�นแมลง ดูดเลือด เริ่มต้นในช่วงปี2562 เริ่มระบ�ดเข้�เอเชีย จีน อินเดีย บังคล�เทศ ต่อม�ปี2563 ระบ�ดเข้�ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดน�ม ภูฏ�น เนป�ล ศรีลังก� เมียนม�ร์ และในเดือนมีน�คม 2564 ประเทศไทยถือว่�เป็นแล้ว เพร�ะมีร�ยง�นก�รเกิดโรคครั้งแรกในไทย เป็นฟ�ร์ม เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อร�ยย่อยจำ�นวน 10 ร�ย ในจังหวัดหนึ่งท�งภ�คตะวันออกเฉียงเหนือ ส�เหตุเกิดจ�กก�รนำ�โคเนื้อเข้�ม�เลี้ยงใหม่ ในพื้นที่ โดยค�ดว่�ลักลอบนำ�เข้�ม�จ�กประเทศเพื่อนบ้�น อ�ก�รที่เด่นชัดของโรคนี้คือ มีไข้ ต่อมน้ำ�เหลืองใต้ผิวหนังบวม มีตุ่มแข็งนูน ก้อนเนื้อลักษณะคล้�ยฝีขน�ดแตกต่�งกัน 1-5 ซม. ที่ผิวหนังทุกชั้น อ�จพบตุ่มนี้ในท�งเดินห�ยใจ ปอด หลอดอ�ห�ร สัตว์จะน้ำ�ต�ไหล มีขี้ต� น้ำ�ล�ยไหล บ�งตัวบวมน้ำ�ที่บริเวณลำ�คอ จ�กนั้นตุ่มนูนจะแตกออก เป็นแผลหลุม มีขอบนูนสูง มีสะเก็ดคลุมแผล จนกระทั่งแผลตื้น แคบปิดสนิทจนห�ย ทั้งปี2564 - ต้นปี2565 เกิดก�รระบ�ดรุนแรงไปทั้งประเทศ เกือบครบทุกจังหวัด จ�กวันนั้นจนถึงวันนี้มีร�ยง�น สัตว์(โค กระบือ) ที่ป่วยจ�กโรคนี้ไปประม�ณ 6-7 แสนตัว และต�ยจ�กโรคนี้ไปประม�ณ 6-7 หมื่นตัว ในช่วงนั้นมีก�รนำ�เข้�วัคซีนป้องกัน โรคจ�กต่�งประเทศ จนกระทั่งต่อม�มีก�รผลิตวัคซีนได้เองภ�ยในประเทศ ด้วยคว�มร่วมมือของภ�ครัฐที่เกี่ยวข้อง ภ�คเอกชน และเกษตรกร เอง ก็ทำ�ให้สถ�นก�รณ์ของโรคนี้ดูเบ�บ�งลง อุบัติก�รณ์เกิดลดน้อยลง คว�มรุนแรงของโรคลดลง สัตว์ป่วยต�ยจ�กโรคนี้ลดน้อยลง จนเร� คิดว่�น่�จะควบคุม และกำ�จัดโรคนี้ให้หมดไปจ�กประเทศได้แต่ในคว�มเป็นจริงแล้ว ยังมิได้เป็นเช่นนั้น ปัจจุบันประเทศเร�ยังคงเป็นอยู่ เนื่องจ�กช่วงเดือนตุล�คมของปีที่ผ่�นม� (2566) เริ่มมีร�ยง�นโคป่วยต�ยจ�กโรคลัมปีสกิน เพิ่มม�ก ขึ้นหล�ยร�ย ทั้งในเขตภ�คตะวันออกเฉียงเหนือ ภ�คตะวันตก โดยในรอบนี้มีรูปแบบก�รเกิดโรคเปลี่ยนไปจ�กเดิมที่โคทุกอ�ยุจะป่วยทั้งหมด ม�เป็นพบป่วยม�กเฉพ�ะในลูกสัตว์มีอัตร�ก�รต�ยสูง ส่วนในโคที่โตเต็มที่แล้ว แทบไม่พบอ�ก�รรุนแรงเลย อ�จมีแบบเล็กน้อยเท่�นั้น ฟ�ร์ม พย�ย�มพ่นย�ฆ่�แมลง ฆ่�ไวรัส ก็ได้ผลไม่ดีนัก ใช้ย�อีกหล�ยชนิด ก็ไม่ค่อยตอบสนองม�กนัก เป็นที่ค�ดก�รณ์กันว่�ฟ�ร์มโคกระบือในไทย เกือบทุกแห่ง เคยสัมผัสเชื้อโรคนี้ม�แล้วในช่วงปี2564-2565 รวมถึงส่วนใหญ่เคยผ่�นก�รทำ�วัคซีนม�ด้วย ทำ�ให้มีภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์โตที่ เคยผ่�นช่วงโรคระบ�ดนั้นม�แล้ว แต่ในลูกสัตว์ที่เพิ่งเกิดใหม่ อ�จได้รับภูมิคุ้มกันถ่�ยทอดจ�กแม่ม�ค่อนข้�งน้อย ทำ�ให้มีคว�มเสี่ยงไวรับต่อ โรคม�ก รวมถึงปัจจัยจ�กปริม�ณไวรัส และภ�วะอื่นที่จะกระตุ้นหรือกดภูมิคุ้มกัน ในภ�คสน�มเองพบว่�มีลูกโคจำ�นวนไม่น้อยที่คลอด ออกม� พร้อมมีตุ่มรอยโรคด้วยแล้ว ส�เหตุน่�จะเกิดจ�กแม่โคถ่�ยทอดเชื้อโรคไปสู่ลูกได้โรคนี้ยังถือเป็นโรคอุบัติใหม่ องค์คว�มรู้วิช�ก�รด้�น ลัมปี สกิน...เป็นแล้ว เป็นอยู่เป็นต่อ F น.สพ. ยุทธ เทียมสุวรรณ ผ้จูดัการฝ่ายวิชาการ บจก. เซน็ทรลัลิส โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease, LSD) เดิมเป็นโรคไวรัสประจ ำถิ่นของแอฟริกำ และตะวันออกกลำง ติดต่อกันได้ง่ำยผ่ำนแมลงดูดเลือด เริ่มต้นในช่วงปี 2562 เริ่มระบำดเข้ำเอเชีย จีน อินเดีย บังคลำเทศ ต่อมำปี 2563 ระบำดเข้ำฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนำม ภูฏำน เนปำล ศรีลังกำ เมียนมำร์ และในเดือนมีนำคม 2564 ประเทศไทยถือว่ำ ป็นแล้ว เพรำะมีรำยงำนกำรเกิดโรคครั้งแรกในไทย เป็นฟำร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรำยย่อยจ ำนวน 10 รำย ใน จังหวัดหนึ่งทำงภำคตะวันออกเฉียงเหนือ สำเหตุเกิดจำกกำรน ำโคเนื้อเข้ำมำเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ โดยคำดว่ำลักลอบ น ำเข้ำมำจำกประเทศเพื่อนบ้ำน อำกำรที่เด่นชัดของโรคนี้คือ มีไข้ ต่อมน ้ำเหลืองใต้ผิวหนังบวม มีตุ่มแข็งนูน ก้อน นื้อลักษณะคล้ำยฝี ขนำดแตกต่ำงกัน 1-5 ซม. ที่ผิวหนังทุกชั้น อำจพบตุ่มนี้ในทำงเดินหำยใจ ปอด หลอดอำหำร สัตว์จะน ้ำตำไหล มีขี้ตำ น ้ำลำยไหล บำงตัวบวมน ้ำที่บริเวณล ำคอ จำกนั้นตุ่มนูนจะแตกออก เป็นแผลหลุม มีขอบนูน สูง มีสะเก็ดคลุมแผล จนกระทั่งแผลตื้นแคบปิดสนิทจนหำย ทั้งปี 2564 - ต้นปี 2565 เกิดกำรระบำดรุนแรงไปทั้ง ประเทศ เกือบครบทุกจังหวัด จำกวันนั้นจนถึงวันนี้มีรำยงำนสัตว์ (โค กระบือ) ที่ป่วยจำกโรคนี้ไปประมำณ 6-7 แสน ตัว และตำยจำกโรคนี้ไปประมำณ 6-7 หมื่นตัว ในช่วงนั้นมีกำรน ำเข้ำวัคซีนป้องกันโรคจำกต่ำงประเทศ จนกระทั่ง ต่อมำมีกำรผลิตวัคซีนได้เองภำยในประเทศ ด้วยควำมร่วมมือของภำครัฐที่เกี่ยวข้อง ภำคเอกชน และเกษตรกรเอง ก็ ท ำให้สถำนกำรณ์ของโรคนี้ดูเบำบำงลง อุบัติกำรณ์เกิดลดน้อยลง ควำมรุนแรงของโรคลดลง สัตว์ป่วยตำยจำกโรคนี้ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE
สัตว์เศรษฐกิจ 41 วิทย�ภูมิคุ้มกันโรคยังไม่ครบถ้วนม�กพอ พบว่�ระดับภูมิคุ้มกันทั้งในแม่ และลูกขึ้นค่อนข้�งช้� โดยเฉพ�ะอย่�งยิ่งที่กรณีไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ อยู่เลย หรือแม้แต่ตัวที่เคยป่วยแล้ว ก�รฉีดวัคซีนไปก็กระตุ้นไม่ค่อยขึ้น ระดับไม่ได้สูงม�ก แต่โคอ�จไม่ป่วยเลยก็ได้แอนติบอดีที่ไม่สูง แต่ ภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์อ�จถูกกระตุ้นได้ดีจนคุ้มครองป้องกันโรคได้โคแต่ละตัวก็มีรูปแบบก�รตอบสนองต่อวัคซีนลัมปีสกิน นี้ที่แตกต่�งกัน ออกไป ซึ่งเรื่องภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนเป็นประเด็นที่ต้องศึกษ�กันต่อไป วัคซีนป้องกันโรคลัมปีสกิน ที่แนะนำ�เริ่มทำ�อ�ยุ4 เดือน ในช่วงก่อนอ�จได้ผลดีแต่ช่วงหลังม�นี้ผลในภ�คสน�มพบว่�อ�จไม่ทันก�รณ์ มีก�รติดโรคเร็วม�กขึ้น เพียงแค่เดือนเดียวหรือสองเดือนลูกโคก็อ�จติดโรค และป่วยได้แล้ว บ�งฟ�ร์มจึงปรับเป็นก�รฉีดวัคซีนแรกเกิดเลย อ�จให้ผลดีก็ได้แต่โดยหลักก�รแล้ว ในช่วงแรกเกิดนี้อ�จมีภูมิคุ้มกันรับม�อยู่สูงพอควร ทั้งลูกโคอ�จยังไม่แข็งแรงดีจึงอ�จให้ผลได้ไม่ดีต�ม ค�ดหม�ย ต�มหลักวิช�ก�รและผู้เชี่ยวช�ญบ�งท่�นมีคว�มเห็นว่� ในลูกโคที่แข็งแรง อ�ยุประม�ณ 1 เดือน เป็นช่วงเวล�ที่เหม�ะสมได้รับ วัคซีน แต่ถ้�เป็นกรณีที่ลูกโคป่วยติดโรคตั้งแต่ในท้อง คลอดออกม�แล้วป่วยเลย หรือป่วยก่อนก�รทำ�วัคซีนที่อ�ยุ 1 เดือนแล้วนั้น ก�รใช้ส�ร กระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำ�เพ�ะเจ�ะจง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นแบคทีเรียที่ถูกทำ�ให้ต�ย หรือเป็นส่วนประกอบของแบคทีเรีย ซึ่งชนิดและคุณสมบัติ ของแบคทีเรียที่นำ�ม�ใช้นั้น ขึ้นกับแต่ละบริษัทผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อที่อ�จแตกต่�งกันไป ก่อนหน้�นี้มีก�รนำ�ม�ใช้กับโรคพีอีดีในลูกสุกร โรคป�ก และเท้�เปื่อยในลูกโค ซึ่งหล�ยก�รศึกษ�ร�ยง�นตรงกันว่�ให้ผลค่อนข้�งดีสำ�หรับโรคลัมปีสกิน นี้ แนะนำ�สำ�หรับฟ�ร์มที่มีคว�มเสี่ยงเช่น มีโคป่วยในฟ�ร์มเร� ลูกโคติดโรคป่วยตั้งแต่ในท้องแม่ หรือมีโคป่วยรอบๆ ฟ�ร์มเร� โดยในแม่โคให้ฉีดที่ 1-2 สัปด�ห์ก่อนคลอด ลูกโคที่เกิด ม�ให้ฉีดที่อ�ยุ 1-3 วันหลังคลอด และฉีดซ้ำ�ที่ 7-14 วัน จึงไปฉีดวัคซีนลัมปีสกิน ตอนอ�ยุ 1 เดือน ก�รกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคลัมปีสกิน ที่ได้ผลไม่ดีนั้น อ�จไม่ได้มีปัจจัยม�จ�กตัววัคซีน หรือตัวโคเองเท่�นั้น เร�ต้องควบคุมระมัดระวัง คว�มผิดพล�ดอันเกิดม�จ�กก�รขนส่ง ก�รเก็บรักษ�วัคซีนที่ไม่ดีและอ�ยุของวัคซีนหลังก�รเปิดใช้ซึ่งมีข้อกำ�หนดว่�ต้องใช้ให้หมดภ�ยใน 2 ชม. ปัญห�จึงอ�จเกิดในฟ�ร์มขน�ดเล็ก และใช้วัคซีนขวดใหญ่ จำ�นวนโดสม�ก หรือแม้กระทั่งฟ�ร์มใหญ่เองก็ต�ม ห�กไม่ระมัดระวังไม่ ตระหนักถึงอุณหภูมิและระยะเวล�ที่เป็นข้อจำ�กัดนี้แล้ว ก็อ�จเป็นส�เหตุสำ�คัญให้ก�รควบคุมป้องกันโรคนี้ล้มเหลวได้เช่นกัน ในท�งวิทย�ภูมิคุ้มกันมีข้อมูลว่�สัตว์ที่แข็งแรง ได้รับอ�ห�รและโภชนะครบถ้วน ย่อมส่งผลให้มีระบบภูมิคุ้มกันทำ�ง�นได้ดีตอบสนอง ต่อวัคซีนที่ฉีดเข้�ไปดีส่วนโคที่ผอม สุขภ�พไม่แข็งแรง ก็มีโอก�สติดโรค ป่วยต�ยง่�ยกว่� รวมถึงวิต�มิน D แร่ธ�ตุสังกะสีมีผลเสริมกระตุ้น ก�รทำ�ง�นของภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ให้ดีม�กขึ้น ดังนั้นเร�จำ�เป็นต้องดูแล จัดก�รด้�นอ�ห�รและโภชนศ�สตร์ให้เหม�ะสม โคจะได้แข็งแรง ร่วมกับก�รเสริมให้โคได้กินวิต�มินแร่ธ�ตุในรูปแบบพรีมิกซ์ทั้งปรับก�รจัดก�รให้โคมีช่วงเวล�ออกนอกโรงเรือน ไปรับแสงแดด ก็จะทำ�ให้โค มีคว�มแข็งแรงเพื่อต่อต้�นโรค หรือตอบสนองสร้�งภูมิคุ้มกันจ�กวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น วิธีก�รใดๆ ที่ทำ�ให้โคแข็งแรง ล้วนควรทำ�เพิ่มทั้งสิ้น ก�ร เสริมพรีไบโอติกส์ให้สุขภ�พท�งเดินอ�ห�รโคแข็งแรง ก็มีส่วนช่วยให้สุขภ�พร่�งก�ยโดยรวมแข็งแรงเช่นเดียวกัน โดยเฉพ�ะในลูกโคแรกเกิด ระบบย่อยอ�ห�รยังไม่สมบูรณ์ จะคล้�ยสัตว์กระเพ�ะเดี่ยว ส่วนกระเพ�ะ rumen ยังไม่พัฒน�นัก ทั้งลูกโคจะมีคว�มเสี่ยงต่อโรคลัมปีสกิน พร้อมมีตุ่มรอยโรคด้วยแล้ว สำเหตุน่ำจะเกิดจควำมรู้วิชำกำรด้ำนวิทยำภูมิคุ้มกันโรคยังไม่ครโดยเฉพำะอย่ำงยิ่งที่กรณีไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้อระดับไม่ได้สูงมำก แต่โคอำจไม่ป่วยเลยก็ได้ คุ้มครองป้องกันโรคได้ โคแต่ละตัวก็มีรูปแบบภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนเป็นประเด็นที่ต้องศึกษำกันวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ที่แนะน ภำคสนำมพบว่ำอำจไม่ทันกำรณ์ มีกำรติดโรคป่วยได้แล้ว บำงฟำร์มจึงปรับเป็นกำรฉีดวัคซีนมีภูมิคุ้มกันรับมำอยู่สูงพอควร ทั้งลูกโคอำจยังผู้เชี่ยวชำญบำงท่ำนมีควำมเห็นว่ำ ในลูกโคที่แข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์
42 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE สูงอยู่แล้ว ดังนั้นห�กลูกโคมีสุขภ�พไม่ดีไม่แข็งแรง ก็ยิ่งเสี่ยง ยิ่งติด ยิ่งป่วย ยิ่งต�ยม�กขึ้น จึงต้องทำ�ให้ลูกโคมีสุขภ�พดีแข็งแรง โดย เริ่มจ�กสุขภ�พในระบบท�งเดินอ�ห�ร ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วทั้งในคนและสัตว์หล�ยชนิดว่� มีผลต่อสุขภ�พร่�งก�ยโดยรวมเป็นอย่�งยิ่ง กรณีที่พบโคป่วย ก�รรักษ�จะยังคล้�ยช่วงที่ผ่�นม�คือ เน้นให้ย�ลดไข้ เช่น Flunixin meglumine ร่วมกับก�รใช้ย�กลุ่มสเตียรอยด์ เช่น Dexamethazone (ซึ่งต้องพิจ�รณ�เวล� จำ�นวนครั้ง โดส อย่�งเหม�ะสม ก็จะให้ผลดีต่อก�รรักษ�ม�กขึ้น) ร่วมกับส�รกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แบบไม่จำ�เพ�ะเจ�ะจง ส่วนย�ปฏิชีวนะนั้นอ�จมีคว�มจำ�เป็นกรณีที่มีก�รติดเชื้อ หรือสงสัยว่�อ�จจะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในระบบ ท�งเดินห�ยใจ ร่วมกับก�รให้ส�รน้ำ�ต�มคว�มเหม�ะสม หลังรอดแล้วควรฟื้นฟูสุขภ�พด้วยก�รให้กินได้ม�กที่สุด ป้อนนม น้ำ�ต�ล พรีไบโอติกส์ฉีดวิต�มิน ADE อะไรก็ต�มที่ดีต่อตัวโค ก็ควรทำ�ให้ม�กที่สุด นอกจ�กนี้ต้องควบคุมโรค ลดก�รติดต่อของโรค ด้วยก�รกำ�จัด แมลงพ�หะ ใช้ย�ฆ่�แมลง ก�งมุ้ง ก�รใช้ย�ฆ่�เชื้อไวรัสพ่นก็ได้ผลดีแต่ต้องรอบคอบเรื่องคว�มเข้มข้น ทิศท�งลม รวมถึงสิ่งต่�งๆ ที่บด ยังเช่น ฟ�ง มูล อุปกรณ์ต่�งๆ ที่ย�ฆ่�เชื้ออ�จไปไม่ถึง จึงทำ�ง�นได้ไม่เต็มประสิทธิภ�พ โรคก็จะยังคงอยู่ต่อไป แนวโน้มโรคลัมปีสกิน ในระยะอันใกล้นี้จะยังคงเป็นต่อ เพร�ะดูรูปแบบแนวโน้มจ�กต่�งประเทศแล้ว หล�ยปีผ่�นไป โรคก็มักไม่ลดลง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในบ้�นเร�ก็อ�จเป็นเช่นเดียวกัน เนื่องจ�กสภ�พแวดล้อมในประเทศเร�ที่ร้อนชื้น มีแมลงที่เป็นพ�หะนำ�โรคค่อนข้�งม�ก ก�รควบคุมป้องกันแมลงไม่ใช่เรื่องง่�ย รวมถึงยังอ�จมีก�รลักลอบนำ�เข้�โคเถื่อนที่มีโรคแฝงอยู่เข้�ม�ในประเทศ ต�มหลักก�รท�งระบ�ดวิทย� โรคใดก็ต�มห�กได้รับก�รฉีดวัคซีนควบคุมโรคม�กถึง 95% ของฝูงประช�กรทั้งหมด ในเวล�ที่เหม�ะสมของระดับฝูงทั้งประเทศ ก็แทบจะไม่ เกิดโรค และมีแนวโน้มจะกำ�จัดโรคให้หมดไปได้ในเวล�ไม่น�น เกษตรกรผู้เลี้ยงโคคงต้องตอบคำ�ถ�มสำ�คัญที่สุดแล้วว่� “ปีนี้ฉีดวัคซีน โรคลัมปีสกิน หรือยัง” ถ้�ทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ทุกคนทำ� ไม่มีใครละเว้น คำ�ว่� เป็นแล้ว เป็นอยู่ เป็นต่อ คงจบลงเสียที...สวัสดีปีใหม่ 2567 ครับ อ้างอิงที่มาเนื้อหาบางส่วน และที่มารูปภาพ ง�นสัมมน�วิช�ก�รเรื่อง “อัพเดตสถ�นก�รณ์โรคลัมปีสกิน และแนวท�งก�รป้องกัน รักษ� และควบคุมโรค” https://region1.dld.go.th/webnew/images/stories/news2021/knowledge/kmdld/lsd_km_prevent.pdf https://www.downtoearth.org.in/news/lumpy-skin-disease-outbreak-indigenous-vaccine-still-awaits-emergency-use-clearance-84803 https://www.birlahospital.com/lumpy-skin-disease-symptoms-treatment-and-prevention/ https://www.researchgate.net/figure/Clinical-signs-of-lumpy-skin-disease-a-b-Calves-suffering-from-severe-erosions-and_fig2_353645861
สัตว์เศรษฐกิจ 43 ปศุสัตว์ ปี 67 คาดโต 1.7-2.7% ลุ้นส่งออก 3 แสนล้าน ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2566 พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับ ปี 2565 โดยสาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขา ป่าไม้ ขยายตัว ขณะที่สาขาพืชหดตัว สำาหรับ ปี 2567 คาดว่า ปศุสัตว์จะเติบโต 1.7-2.7% ขณะที่กรมปศุสัตว์ลุ้นปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทย ในปี 2567 ทะลุถึง 3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าที่ท้าทาย สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จัดสัมมนาใหญ่ประจำาปี แถลงตัวเลข GDP ภาคเกษตรไทย ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 ในคอนเซ็ป “Grow Strong Beyond the Future : เสริมแกร่งเกษตรไทย สู่ก้าวใหม่ที่มั่นคง” โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน พร้อมปาฐกถาพิเศษ “ก้าวใหม่เกษตรไทย สู่รายได้ที่มั่นคง” ณ สโมสรทหารบก กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กล่าวปาฐกถาโดยสรุปว่า ภาคเกษตรเป็นรากฐานสำาคัญต่อการขับเคลื่อน ประเทศไทยไปข้างหน้า ปัจจุบันเนื้อที่ทางการเกษตรอยู่ที่ 149.75 ล้านไร่ คิดเป็น ร้อยละ 46.7 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ มีจำานวนครัวเรือนเกษตร 7.8 ล้านครัวเรือน และแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรสูงถึงร้อยละ 51 ของจำานวนแรงงานทั้งประเทศ นอกจากนี้ ในวิกฤตต่างๆ ภาคเกษตรยังช่วยรองรับและโอบอุ้มเศรษฐกิจไทย โดย เป็นแหล่งรองรับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่น และในช่วงปี 2565-2566 หลายประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ รวมทั้งปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานของโลก แต่ประเทศไทยยังคงสามารถ ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่สำาคัญได้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ และ มีศักยภาพในการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและ ผลิตภัณฑ์ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.50 ล้านล้านบาทต่อปี จึงถือว่าภาคเกษตร เป็นอีกหนึ่งแหล่งรายได้ที่สำาคัญของประเทศ
44 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ที่ผ่านมา การดำาเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร และทำาการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาและแก้ไข ปัญหาในหลายด้าน โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) สำาหรับแนวทางการขับเคลื่อนการเสริมความแข็งแกร่งให้ภาคเกษตร สู่รายได้ที่มั่นคง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เน้นการนำาเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างรายได้และคุณภาพ ชีวิตที่ดีแก่เกษตรกร ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำา นวัตกรรมเสริม เพิ่ม รายได้” โดยจะเร่งขับเคลื่อนงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกษตรกรกินดี อยู่ดี มีรายได้ดี มีอาชีพที่มั่นคง สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน และ ภาคเกษตรไทย คือ ผู้นำาด้านการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตร ในตลาดโลก หดตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากปริมาณฝนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบ กับมีช่วงอากาศร้อนยาวนานตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 และภาวะฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ ทำาให้ปริมาณน้ำาในอ่างเก็บน้ำาสำาคัญ และแหล่งน้ำาตามธรรมชาติลดลง ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืช โดยพืชสำาคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำาปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำามัน ลำาไย และเงาะ สำาหรับผลผลิตพืชที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน และมังคุด สาขาปศุสัตว์ ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 4.7 เป็นผลจากความ ต้องการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเกษตรกร มีการบริหารจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานและมีการควบคุมเฝ้าระวัง โรคระบาดได้ดี โดยสินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ และโคเนื้อ ขณะที่สินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ไข่ไก่ และน้ำานมดิบ สาขาประมงในปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยกุ้งทะเล เพาะเลี้ยงมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกร มีการบริหาร จัดการฟาร์มที่ดี แม้ว่าเกษตรกรยังคงประสบปัญหาด้านต้นทุน การผลิตที่อยู่ในระดับสูง และบางพื้นที่ยังพบโรคระบาดกุ้ง แต่ เกษตรกรสามารถควบคุมโรคได้ดี ทำาให้ในภาพรวมไม่กระทบต่อ การเลี้ยงมากนัก ขณะที่สัตว์น้ำาที่นำาขึ้นท่าเทียบเรือมีปริมาณลดลง เนื่องจากราคาน้ำามันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตหลักของการทำา ประมงทะเลยังอยู่ในระดับสูง และสภาพอากาศมีความแปรปรวน สำาหรับปลานิลและปลาดุกมีผลผลิตลดลง เนื่องจากปัญหาด้านต้นทุน อาหารสัตว์ และสภาพอากาศไม่เอื้ออำานวยต่อการเลี้ยง สาขาบริการทางการเกษตร ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 0.6 โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สภาพอากาศทั่วไปเอื้ออำานวยและมี ปริมาณน้ำาเพียงพอ ทำาให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้มีการจ้างบริการเตรียมดินและ เก็บเกี่ยวผลผลิตพืชดังกล่าวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลัง ของปี บางพื้นที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงและภัยแล้ง เกษตรกรบาง ส่วนงด เลื่อน หรือปรับเปลี่ยนช่วงเวลาในการเพาะปลูก ทำาให้ กิจกรรมการจ้างบริการเตรียมดินและเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชที่สำาคัญ ลดลง โดยเฉพาะข้าวนาปี และมันสำาปะหลัง สาขาป่าไม้ ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยไม้ยางพารา เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการตัดโค่นสวนยางพาราเก่ามากขึ้น ประกอบกับความต้องการไม้ยางพาราเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ของจีนเพิ่มขึ้น ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นตามความต้องการ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ สำาหรับรังนกมีการส่งออกไปตลาดจีนลดลง และครั่งมี ผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ไม่เอื้ออำานวยต่อการเจริญเติบโต สำาหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2567 คาดว่าจะขยาย ตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 จากปัจจัยสนับสนุน ทั้งการดำาเนิน นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการ สศก. กล่าวว่า งาน สัมมนาในวันนี้ นอกจากมีการนำาเสนอภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 แล้ว ยังมีการจัดแสดงผลงานนิทรรศการ อาทิ Big Data Driven ระบบปฏิทินสินค้าเกษตร การประกันภัย ภาคเกษตร ซึ่งร่วมกับ NECTEC และ GISTDA และ Application ‘บอกต่อ’ รวมทั้งมีการเสวนา “เสริมแกร่งเกษตรไทย สู่ก้าวใหม่ที่ มั่นคง” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายนิรันดร์ สมพงษ์ ประธาน สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) จำากัด นาย อาทิตย์ จันทร์นนทชัย Co-founder บริษัท ฟาร์มโตะ ไทยแลนด์ จำากัด ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายอาภากร ปานเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำากับผลิตภัณฑ์ ประกันภัย สำานักงานคณะกรรมการกำากับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย และดำาเนินการเสวนาโดย นางอภิสรา เกิดชูชื่น สำาหรับภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2566 พบว่า ขยายตัว ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยสาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัว ขณะที่สาขา พืชหดตัว และเมื่อจำาแนกแต่ละสาขาจะเห็นได้ว่า สาขาพืช ปี 2566
สัตว์เศรษฐกิจ 45 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ นโยบายของภาครัฐ ความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดยังอยู่ในเกณฑ์ดี และ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะขยายตัว โดย สาขาพืช ปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.6 - 1.6 สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 1.7 - 2.7 สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 0.5 - 1.5 สาขาบริการทางการ เกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.3 - 1.3 และสาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 2.4 - 3.4 ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรในอนาคตต้อง เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายภายใต้ข้อจำากัดและโอกาส หลายด้าน ซึ่งจะต้องมีการดำาเนินการ อาทิ บริหารจัดการน้ำาอย่าง มีประสิทธิภาพ เตรียมการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและภัยพิบัติ ต่างๆ ส่งเสริมการทำาการเกษตรเพื่อรองรับข้อกำาหนดทางการค้าด้าน สิ่งแวดล้อม ยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีความ ปลอดภัย ส่งเสริมการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การ แปรรูป และการตลาด เพื่อนำาไปสู่เกษตรและบริการมูลค่าสูง ทำาให้ เกษตรกรมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทย ข้อมูลล่าสุดช่วง 11 เดือน แรกปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าปศุสัตว์ภายใต้การกำากับดูแลของกรม ปศุสัตว์ คิดเป็นมูลค่ารวม 250,993 ล้านบาท สินค้าหลักที่ส่งออก มากที่สุดคือ กลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์แช่แข็งมีมูลค่าส่งออก 129,501 ล้าน บาท คิดเป็นสัดส่วน 50% ของการส่งออกรวมโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ปีกซึ่งมีปริมาณความต้องการบริโภคสูงของตลาดญี่ปุ่น สหราช อาณาจักร สหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ รองลงมาคือสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง มีมูลค่าส่งออก 74,306 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 30% นอกจากนี้ยังมีการส่งออกสินค้า ปศุสัตว์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม ไข่ รังนก นำ้าผึ้ง เนื้อสัตว์บรรจุกระป๋อง เป็นต้นเมื่อพิจารณาข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2564 - 2566 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์และ การกำากับดูแลอย่างเข้มงวดของกรมปศุสัตว์ เพื่อส่งเสริมความเชื่อ มั่นต่อประเทศคู่ค้า ส่วนการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัว เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกและอาหารสัตว์เลี้ยง ใน ส่วนของสัตว์ปีกได้มีการขยายขอบข่ายผลิตภัณฑ์เป็ดเพิ่มเติมไปยัง ประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย และมีแนวโน้มที่จะขยายไปยังประเทศ แคนาดา รวมถึงจีนที่อยู่ระหว่างรอลงนามในพิธีสารส่งออกผลิตภัณฑ์ เป็ด นอกจากนี้จีนอยู่ระหว่างการพิจารณารับรองโรงงานเพิ่มเติม จำานวน 9 แห่ง คาดจะได้รับการขึ้นทะเบียนในปี 2567 ซึ่งจะส่งผล ให้เพิ่มปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของไทยมากขึ้น ด้านสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงในปี 2566 มีการส่งออกที่ชะลอตัว จากปี 2565 เป็นผลสืบเนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าไว้ล่วงหน้าในช่วง ปลายปี 2565 อย่างไรก็ตามคำาสั่งซื้อได้เริ่มเข้าภาวะปกติในไตรมาส สุดท้ายของปี 2566 มีการส่งออกมากกว่า 20,000 ล้านบาท และ ในปี 2567 มีโอกาสเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความเชื่อมั่นของประเทศ คู่ค้าโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ที่ได้มีการส่งคณะผู้ตรวจประเมินระบบ การผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งผลเป็นที่พึงพอใจในระบบการกำากับดูแล ของประเทศไทย เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อน าไปสู่เกษตรและบริการมูลค่าสูง ท าให้เกษตรกรมีความมั่นคง ในการประกอบอาชีพ อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร หน่วย: ร้อยละ สาขา ปี 2566 ปี 2567 ภาคเกษตร 0.3 0.7–1.7 พืช -1.3 0.6–1.6 ปศุสัตว์ 4.7 1.7 –2.7 ประมง 2.2 0.5 –1.5 บริการทางการเกษตร 0.6 0.3 –1.3 ป่ าไม้ 2.5 2.4 –3.4 ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ณ พฤศจิกายน 2566) นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทย ข้อมูลล่าสุดช่วง 11 เดือนแรกปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าปศุสัตว์ภายใต้การก ากับดูแลของกรมปศุสัตว์ คิดเป็นมูลค่ารวม 250,993 ล้านบาท สินค้าหลักที่ส่งออกมากที่สุดคือ กลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์แช่แข็งมีมูลค่าส่งออก 129,501 ล้านบาท คิดเป็น สัดส่วน 50% ของการส่งออกรวมโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ปีกซึ่งมีปริมาณความต้องการบริโภคสูงของตลาดญี่ปุ่ น สหราช อาณาจักร สหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ รองลงมาคือสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง มีมูลค่าส่งออก 74,306 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 30% นอกจากนี้ยังมี การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม ไข่ รังนก น ้าผึ้ง เนื้อสัตว์บรรจุกระป๋ อง เป็นต้นเมื่อพิจารณาข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2564 - 2566 พบว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นใน การยกระดับมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์และการก ากับดูแลอย่างเข้มงวดของกรมปศุสัตว์ เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นต่อประเทศ คู่ค้า ส่วนการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกและอาหาร สัตว์เลี้ยง ในส่วนของสัตว์ปีกได้มีการขยายขอบข่ายผลิตภัณฑ์เป็ดเพิ่มเติมไปยังประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย และมี แนวโน้มที่จะขยายไปยังประเทศแคนาดา รวมถึงจีนที่อยู่ระหว่างรอลงนามในพิธีสารส่งออกผลิตภัณฑ์เป็ด นอกจากนี้จีน อยู่ระหว่างการพิจารณารับรองโรงงานเพิ่มเติมจ านวน 9 แห่ง คาดจะได้รับการขึ้นทะเบียนในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่ม ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของไทยมากขึ้น ด้านสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงในปี 2566 มีการส่งออกที่ชะลอตัวจากปี 2565 เป็นผลสืบเนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าไว้ ล่วงหน้าในช่วงปลายปี 2565 อย่างไรก็ตามค าสั่งซื้อได้เริ่มเข้าภาวะปกติในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 มีการส่งออก อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ณ พฤศจิกายน 2566) นอกจากนี้ สหพันธรัฐรัสเซีย อยู่ ระหว่างการพิจารณารับรองการขึ้น ทะเบียนโรงงานอาหารสัตว์เลี้ยงไทย เพิ่มเติมจำานวน 12 แห่ง โดยทางคณะ ผู้ตรวจประเมินระบบการผลิตอาหาร สัตว์เลี้ยงของสหพันธรัฐรัสเซีย จะเดิน ทางมาตรวจประเมินในช่วงต้นปี 2567 ทั้งหมดคาดจะช่วยเพิ่มปริมาณและ มูลค่าการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทย ในปี 2567 ทะลุถึง 3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าที่ท้าทาย “กรมปศุสัตว์มีความมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กรพัฒนาการปศุสัตว์ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มมูลค่าสินค้าสู่ตลาดโลกและเติบโต อย่างยั่งยืน โดยมีภารกิจหลักในการกำากับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ (AnimalggHealth) และสัตวแพทย์สาธารณสุข (PublicHealth) โดยเฉพาะความปลอดภัยอาหาร (FoodSafety) เพื่อให้เกษตรกร ผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตและ สร้างมูลค่าสินค้าปศุสัตว์ ส่งเสริมการตลาดในประเทศ รวมทั้ง สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวทิ้งท้าย
46 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ส. กุ้งไทย ชี้ปี 66 ผลผลิตกุ้งทรงตัว 2.8 แสนตัน คาดปี 67 ดีขึ้น นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย นำ�ทีมคณะกรรมก�รบริห�ร สม�คมฯ ประกอบด้วย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ที่ปรึกษาสมาคม และประธาน สมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาไทย นายปกครอง เกิดสุข อุปนายกสมาคมฯ และ ประธานที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ นางสาวพัชรินทร์ จินดาพรรณ เลขาธิการสมาคมกุ้งไทย และประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจันทบุรีนายพิชญพันธุ์ สลิลปราโมทย์กรรมการบริหารสมาคมกุ้งไทยและประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี และนายปรีชา สุขเกษม กรรมการบริหารสมาคม ร่วมกันเปิดเผยถึงสถ�นก�รณ์ กุ้งของไทย ปี 2566 ว่� ผลผลิตกุ้งเลี้ยงโดยรวม อยู่ที่ 280,000 ตัน เท่�กับปีที่ ผ่�นม� เนื่องจ�กร�ค�กุ้งตกต่ำ� สวนท�งต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกร บ�งส่วนชะลอก�รลงกุ้ง เพื่อรอดูสถ�นก�รณ์ รวมถึงปัญห�โรคและสภ�พอ�ก�ศ แปรปรวน พร้อมแนะเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลิตภ�พก�รผลิต และส่งเสริม ก�รตล�ดภ�ยในให้เข้มแข็ง เตรียมรับมือผลกระทบร�ค�กุ้งตกต่ำ�ทั่วโลก นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยถึงสถ�นก�รณ์ก�รผลิต กุ้งของไทยปี 2566 ว่� ปริม�ณผลผลิตกุ้งค�ดว่�จะได้ประม�ณ 280,000 ตัน เท่�กับ ปีที่แล้ว เป็นผลผลิตกุ้งจ�กภ�คใต้ตอนบน ร้อยละ 33 จ�กภ�คตะวันออก ร้อยละ 25 ภ�คใต้ตอนล่�งฝั่งอันด�มัน ร้อยละ 20 จ�กภ�คกล�ง ร้อยละ 12 ภ�คใต้ ตอนล่�งฝั่งอ่�วไทย ร้อยละ 10 ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกค�ดว่�จะอยู่ที่ประม�ณ 5.07 ล้�นตัน ลดลงร้อยละ 1 โดยประเทศจีนผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้นม�ก เอกว�ดอร์ เพิ่มขึ้น เล็กน้อย ต่ำ�กว่�ที่ค�ด ขณะที่ประเทศท�งเอเชีย ได้แก่ เวียดน�ม อินเดีย อินโดนีเซีย ผลิตกุ้งลดลงทุกประเทศ ค�ดปีหน้�ผลผลิตกุ้งโลกจะลดลงประม�ณ ร้อยละ 2 ดังแสดงในต�ร�งที่ 1
สัตว์เศรษฐกิจ 47 “เกษตรกรจ ำเป็นต้องปรับตัว ด้วยกำรลดต้นทุนให้ได้ ทั้งต้นทุนทำงตรงและต้นทุนแฝง ที่เกิดจำกควำมเสียหำย จำกโรค เพิ่มผลิตภำพกำรผลิต เพื่อให้สำมำรถแข่งขันได้ รวมถึงสร้ำงตลำดภำยในให้เข้มแข็ง เพื่อเตรียมรับผลกระทบจำก รำคำกุ้งตกต ่ำในปีหน้ำ โดยภำครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่ำงจริงจัง ในกำรพัฒนำระบบโลจิสติกส์เพื่อกระจำยสินค้ำ ที่คงคุณภำพควำมสดของกุ้งไทยไปถึงผู้บริโภค ทั้งชำวไทยและนักท่องเที่ยว คำดกำรณ์ผลผลิตปีหน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมำณ 290,000 ตัน และตลำดสหรัฐฯ มีสัญญำณดีขึ้น จำกกำรฟ้องร้องเอดี/ซีวีดีประเทศผู้ผลิตรำยใหญ่ ท ำให้ผู้น ำเข้ำ เริ่มออเดอร์กุ้งไทย” นำยกสมำคมกุ้งไทยกล่ำว นอกจำกนี้ ปี 2567 กุ้งไทยมีโอกำสส่งออกไปสหรัฐอเมริกำรมำกขึ้น หลังประเทศผู้ผลิตกุ้งรำยใหญ่ของโลก ทั้ง เอกวำดอร์ อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนำม ถูกสหรัฐฯ เรียกสอบสวนกำรทุ่มตลำด (Anti-Dumping Duty : AD) กำร ่ื่ี็ีโ้่ีิใปี้์ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 10 ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคำดว่ำจะอยู่ที่ประมำณ 5.07 ล้ำนตัน ลดลงร้อยละ 1 โดยประเทศจีนผลิตกุ้งได้เพิ่มขึ้น มำก เอกวำดอร์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ต ่ำกว่ำที่คำด ขณะที่ประเทศทำงเอเชีย ได้แก่ เวียดนำม อินเดีย อินโดนีเซียผลิตกุ้งลดลง ทุกประเทศ คำดปีหน้ำผลผลิตกุ้งโลกจะลดลงประมำณ ร้อยละ 2 ดังแสดงในตำรำงที่ 1 ส่วนกำรส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. ปีนี้อยู่ที่ปริมำณ 109,663 ตัน มูลค่ำ 36,284 ล้ำนบำท เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลำเดียวกันของปี 2565 ที่ส่งออกปริมำณ 120,310 ตัน มูลค่ำ 42,341 ล้ำนบำท ปริมำณลดลง ร้อยละ 9 ส่วนมูลค่ำ ลดลง ร้อยละ 14 ” (ดังแสดงในตำรำงที่ 2) “เกษตรกรจำ�เป็นต้องปรับตัว ด้วยก�รลดต้นทุนให้ได้ ทั้งต้นทุนท�งตรงและ ต้นทุนแฝง ที่เกิดจ�กคว�มเสียห�ยจ�กโรค เพิ่มผลิตภ�พก�รผลิต เพื่อให้ส�ม�รถ แข่งขันได้ รวมถึงสร้�งตล�ดภ�ยในให้เข้มแข็ง เพื่อเตรียมรับผลกระทบจ�กร�ค�กุ้ง ตกต่ำ�ในปีหน้� โดยภ�ครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่�งจริงจัง ในก�รพัฒน�ระบบ โลจิสติกส์เพื่อกระจ�ยสินค้�ที่คงคุณภ�พคว�มสดของกุ้งไทยไปถึงผู้บริโภค ทั้ง ช�วไทยและนักท่องเที่ยว ค�ดก�รณ์ผลผลิตปีหน้�เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประม�ณ 290,000 ตัน และตล�ดสหรัฐฯ มีสัญญ�ณดีขึ้น จ�กก�รฟ้องร้องเอดี/ซีวีดีประเทศผู้ผลิต ร�ยใหญ่ ทำ�ให้ผู้นำ�เข้�เริ่มออเดอร์กุ้งไทย” น�ยกสม�คมกุ้งไทยกล่�ว ส่วนก�รส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. - ต.ค. ปีนี้อยู่ที่ปริม�ณ 109,663 ตัน มูลค่� 36,284 ล้�นบ�ท เมื่อเทียบกับช่วงเวล�เดียวกันของปี 2565 ที่ส่งออกปริม�ณ 120,310 ตัน มูลค่� 42,341 ล้�นบ�ท ปริม�ณลดลง ร้อยละ 9 ส่วนมูลค่�ลดลง ร้อยละ 14” (ดังแสดงในต�ร�งที่ 2)
48 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE นอกจ�กนี้ ปี 2567 กุ้งไทยมีโอก�สส่งออกไปสหรัฐอเมริก� ม�กขึ้น หลังประเทศผู้ผลิตกุ้งร�ยใหญ่ของโลก ทั้ง เอกว�ดอร์ อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดน�ม ถูกสหรัฐฯ เรียกสอบสวนก�รทุ่มตล�ด (Anti-Dumping Duty : AD) ก�รอุดหนุนก�รส่งออก (Countervailing Duty : CVD) เพื่อเรียกเก็บภ�ษีตอบโต้ ค�ดว่�จะมีผลิตในปีหน้� สถ�นก�รณ์ดังกล่�วจะก่อให้เกิดคว�มเสี่ยงกับผู้นำ�เข้�ของสหรัฐฯ ขณะที่ทั้ง 4 ประเทศข้�งต้น ส่งออกไปยังตล�ดอื่นทดแทน อ�ทิ จีน และญี่ปุ่น เพื่อลดคว�มเสี่ยง ทำ�ให้สหรัฐฯ หันม�นำ�เข้�กุ้งจ�กไทย ที่เป็นผู้ผลิตชั้นนำ�และผลิตกุ้งคุณภ�พสูงม�กขึ้น น�ยเอกพจน์ กล่�วต่อไปว่� สม�คมผู้เลี้ยงกุ้งไทย ยังได้ ส่งเสริมเกษตรกรจังหวัดสุร�ษฎร์ธ�นี นำ�ร่องยกระดับก�รเลี้ยง กุ้งไทยสู่ม�ตรฐ�นสูงสุด คือ Aquaculture Stewardship Council (ASC) ซึ่งเป็นม�ตรฐ�นที่สหรัฐฯ ใช้เป็นข้อกำ�หนดในก�รนำ�เข้�กุ้ง จ�กต่�งประเทศ นอกจ�กนี้ สม�คมกุ้งฯ ยังเรียกร้องให้รัฐบ�ลไทยเร่งเจรจ�กับ สหภ�พยุโรป (EU) ในก�รคืนสิทธิพิเศษท�งภ�ษีศุลก�กร (GSP) ให้กับกุ้งที่นำ�เข้�จ�กประเทศไทย เนื่องจ�กปัจจุบันไทยส่งออกกุ้งไป EU ได้เพียง 900 ตัน/ปี จ�กที่เคยส่งออกได้ 60,000 ตัน/ปี ขณะเดียวกัน ยังขอให้สนับสนุนก�รวิจัยและพัฒน�เพื่อแก้ปัญห� โรคระบ�ดในกุ้ง เช่น โรคกุ้งต�ยด่วน หรือกลุ่มอ�ก�รต�ยด่วน (Shrimp Early Mortality Syndrome : EMS) อ�ก�รขี้ข�ว (White Feces Syndrome WFS) โรคตัวแดงดวงข�ว (White Spot Disease : WSD) และโรคหัวเหลือง (Yellow-head Virus : YHV) เป็นต้น “อุตสาหกรรมกุ้งไทยกำาลังเผชิญกับ Perfect Strom ประกอบ ด้วยปัญหา Over Supply (การบริโภคต่ำา) ต้นทุนการผลิตสูง ราคา กุ้งตกต่ำา และโรคกุ้ง สมาคมฯและเกษตรกรจะทำาหนังสือขอให้รัฐบาล ยกวาระเหล่านี้เป็นวาระแห่งชาติ ต้องจัดการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทวงคืนแชมป์ส่งออกกุ้งโลกกลับมาให้ได้” น�ยกสม�คมกุ้งไทย กล่�ว ด้�น นายบรรจง นิสภวาณิชย์ที่ปรึกษาสมาคม และประธาน สมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาไทย กล่�วว่� แม้ผลผลิตกุ้งไทยปี 2566 จะได้ผลผลิตเท่�เดิม แต่เมื่อดูจ�กปริม�ณลูกกุ้งที่ลดลงร้อยละ 7 แสดงถึงประสิทธิภ�พก�รผลิตของเกษตรกรที่สูงขึ้น ถือเป็นจุด แข็งของไทยที่มีส�ยพันธุ์ลูกกุ้งที่หล�กหล�ย ทั้งนี้ เกษตรกรต้อง พิจ�รณ�เลือกลูกุก้งที่เหม�ะสมกับพื้นที่ ศักยภ�พบ่อ และคว�ม ส�ม�รถในก�รจัดก�รก�รบ่อของแต่ละร�ย “ปริมาณผลผลิตที่ทรงตัวในปีนี้ สาเหตุหลักเพราะปัญหาโรคกุ้ง ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเด็ดขาด รวมถึงปัญหาราคากุ้งตกต่ำา ขณะที่ต้นทุนการผลิต วัตถุดิบต่างๆ และราคาพลังงาน สูงขึ้น เกษตรกรบางรายสามารถปรับตัวโดยพยายามเลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ขึ้น เพื่อหนีราคา แต่บางรายก็ชะลอการลงกุ้ง ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะ ยังคงเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า เนื่องจากผลผลิตกุ้งยังคงเข้า ตลาดอย่างต่อเนื่องในขณะที่สภาพเศรษฐกิจตกต่ำา ภาวะเงินเฟ้อ และ ผู้นำาเข้ากุ้งยังมีสต็อกเพียงพอ” น�ยบรรจง กล่�ว สำ�หรับปริม�ณผลผลิตกุ้งร�ยภ�คของประเทศไทย มีข้อมูลจ�ก กรรมก�รสม�คมดังนี้ นายปกครอง เกิดสุข อุปนายกสมาคมกุ้งไทย และประธาน ที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ กล่�วถึงสถ�นก�รณ์ก�รเลี้ยง กุ้งภ�คใต้ตอนล่�งฝั่งอันด�มันว่� “ผลผลิตปี 2566 ค�ดก�รณ์ว่�มี ผลผลิตประม�ณ 55,700 ตัน ลดลงจ�กปีที่ผ่�นม�ประม�ณร้อยละ 6 พบก�รเสียห�ยปัญห�ขี้ข�ว และสภ�พอ�ก�ศแปรปรวน ทำ�ให้ เกษตรกรจับกุ้งก่อนกำ�หนด และช่วงปล�ยปีที่ฝนตกม�ก จะมีปัญห� คว�มเค็ม ทำ�ให้เกษตรกรทยอยจับและพักบ่อ นางสาวพัชรินทร์จินดาพรรณ เลขาธิการสมาคมกุ้งไทย และ ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งจันทบุรีกล่�วว่� “ผลผลิตกุ้งปี 2566 ใน พื้นที่ภ�คตะวันออก มีประม�ณ 69,900 ตัน เท่�กับปีที่ผ่�นม� จ�ก ปัญห�โรคตัวแรงดวงข�ว ขี้ข�ว และ หัวเหลือง เกษตรกรต้องจับ กุ้งก่อนกำ�หนด ทำ�ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ� รวมถึงปัญห�ร�ค�กุ้งตกต่ำ� ทำ�ให้เกษตรกรชะลอก�รเลี้ยง หรือปล่อยกุ้งลดลง ส่วนผลผลิตภ�คกล�ง ประม�ณ 34,200 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่�นม� จ�กปัญห�ร�ค�กุ้งตกต่ำ� ทำ�ให้เกษตรกร บ�งส่วนยืดเวล�ก�รเลี้ยงเพื่อให้ได้กุ้งไซส์ใหญ่ อย่�งไรก็ต�ม ปัญห� สภ�พอ�ก�ศแปรปรวนทำ�ให้กุ้งโตช้� และมีคว�มเสียห�ยจ�ก โรคระบ�ด นายพิชญพันธุ์สลิลปราโมทย์กรรมการบริหารสมาคม และ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานีกล่�วว่� “ผลผลิตกุ้งพื้นที่ ภ�คใต้ตอนบนปี 2566 ประม�ณ 93,000 ตัน เพิ่มขึ้นจ�กปีที่ ผ่�นม�ร้อยละ 4 และ จ�กปัญห�ร�ค�กุ้งตกต่ำ� ทำ�ให้เกษตรกร พย�ย�มเลี้ยงกุ้งข�วให้ได้ขน�ดใหญ่ เกษตรกรบ�งส่วนหันไปเลี้ยง กุ้งกุล�ดำ�เนื่องจ�กร�ค�ดีทั้งปี” นายปรีชา สุขเกษม กรรมการสมาคมกุ้งไทย กล่�วว่� “ผลผลิตกุ้งภ�คใต้ตอนล่�งฝั่งอ่�วไทย 28,100 ตัน ลดลงร้อยละ 4 ผู้เลี้ยงประสบปัญห�ร�ค�กุ้งตกต่ำ� โรคระบ�ด และสภ�พอ�ก�ศ แปรปรวน เกษตรกรลดคว�มหน�แน่นลงเพื่อเลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ ช่วง ปล�ยปีฝนที่ตกหนักส่งผลให้น้ำ�ในแหล่งน้ำ�ธรรมช�ติ มีคว�มเค็มต่ำ� เกษตรกรทยอยจับกุ้งแล้วพักบ่อเพื่อเตรียมเลี้ยงครอปต่อไปในปีหน้�”
สัตว์เศรษฐกิจ 49 CITES รับรอง 29 ฟาร์มจระเข้ไทย เล็งส่งออกกวาดรายได้ 7 พันล้าน ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ จระเข้มีชีวิต เนื้อจระเข้ ไข่จระเข้ และหนังจระเข้ในอุตสาหกรรม เครื่องหนัง รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก ศักยภาพการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์จระเข้น้ำาจืดสายพันธุ์ไทยใน ฟาร์ม มีการขึ้นทะเบียนทั้งฟาร์มขนาดเล็กและฟาร์มขนาดใหญ่ ทั่วประเทศ รวมทั้งมีธุรกิจต่อเนื่องในการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ จระเข้น้ำาจืดพันธุ์ไทย ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับ ใบอนุญาตให้มีการเพาะพันธุ์จระเข้เพื่อการค้าและส่งออกมากที่สุดใน ทวีปเอเชีย ทั้งนี้ ล่าสุด เมื่อปลายปี พ.ศ. 2566 ฟาร์มลำาดับที่ 29 สำานัก เลขาธิการ CITES ได้พิจารณาอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนสถานที่ เพาะพันธุ์เพื่อการค้าระหว่างประเทศ ชนิดพันธุ์ จระเข้น้ำาจืด (Crocodylus siamensis) ให้แก่ ฟาร์ม Fluke and Fern Crocodile ของ นางจรีพร โชติรัตน์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นฟาร์ม เพาะเลี้ยงที่เป็นไปตามข้อกำาหนดของอนุสัญญา และเป็นฟาร์มที่มี การดำาเนินการแบบครบวงจร อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสร้างงานสร้าง อาชีพในพื้นที่ ก่อให้เกิดรายได้เศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ในส่วนของ ปลาบึก และปลายี่สกไทย ในปี พ.ศ. 2566 ที่ ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนสถานที่ เพาะพันธุ์เพื่อการค้าระหว่างประเทศจากสำานักเลขาธิการ CITES และเป็นประเทศแรกของโลก เนื่องจากได้รับการพิจารณาว่าเป็น ประเทศที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงหรือเพาะพันธุ์อย่างมากและเป็น ที่ต้องการของตลาดระหว่างประเทศ โดยมีจำานวน 6 แห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำาจืดเลย 2. ศูนย์วิจัยและพัฒนา ประมงน้ำาจืดกาญจนบุรี 3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำาจืดอุดรธานี 4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาจืด หนองคาย 5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาจืด พระนครศรีอยุธยา 6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาจืด ราชบุรี นับว่าเป็นโอกาสอันดี ที่กรมประมงจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกร สามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำาเหล่านี้ได้มากขึ้น และสนับสนุนผู้ที่สนใจ สามารถหาแนวทางในการสร้างรายได้ต่อไป โดยในปี พ.ศ. 2567 กรมประมงมีแนวทางในการช่วยผลักดันให้ผู้ที่ประสงค์จะทำาการค้า ระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์น้ำาท้ายอนุสัญญา CITES บัญชี 1 มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเชิงบวกต่อผู้ประกอบการไทย และภาค ธุรกิจส่งออกสัตว์น้ำาของไทยได้ในอนาคต CITES รับรอง 29 ฟาร์มเพาะจระเข้น้ำาจืดไทย ส่งออกกวาด รายได้มากกว่า 7,000 ล้านบาท พร้อมอนุญาตขึ้นทะเบียนฟาร์ม เพาะพันธุ์-ส่งออกปลายี่สกไทย - ปลาบึก ประเทศแรกของโลก กรมประมง จัดพิธีมอบหนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนสถานที่ สามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำาเพื่อการค้าระหว่างประเทศกับสำานัก เลขาธิการ CITES ให้กับฟาร์มและหน่วยงานที่ดำาเนินการเพาะพันธุ์ เพื่อส่งออก ได้แก่ ฟาร์มจระเข้น้ำาจืด จำานวน 1 ฟาร์ม ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำาจืด และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง น้ำาจืด (เพาะพันธุ์ปลาบึกและปลายี่สกไทย) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ กรมประมง จำานวนทั้งสิ้น 6 แห่ง นอกจากจะเป็นการสนับสนุนใน การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำาดังกล่าวแล้ว นับเป็นการ ขยายโอกาสทางการค้าในตลาดต่างประเทศต่อไป นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง รักษาราชการแทน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกของ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ประเทศไทยได้ให้ความ สำาคัญกับการอนุรักษ์และการค้าสัตว์ป่าในเชิงพาณิชย์ภายใต้ข้อ กำาหนดของอนุสัญญา CITES ช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจ ผ่านกลไก การควบคุมการค้าระหว่างประเทศทำาให้การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำาคัญในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของ อนุสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะการสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอย่าง ถูกกฎหมายให้กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีศักยภาพได้ จระเข้น้ำาจืด จระเข้น้ำาเค็ม ปลาตะพัด ปลายี่สกไทย และ ปลาบึก จัดเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำาที่อยู่ท้ายอนุสัญญา CITES ในบัญชี ที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์น้ำาที่ใกล้สูญพันธุ์และห้ามทำาการค้าใน เชิงพาณิชย์ แต่อนุสัญญาได้มีข้อกำาหนดว่า หากสัตว์น้ำานั้นสามารถ เพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง และได้ขึ้นทะเบียนกับสำานักเลขาธิการ CITES จะสามารถทำาการค้าระหว่างประเทศได้ สำาหรับจระเข้น้ำาจืด (Crocodylus siamensis) กรมประมงได้ พยายามดำาเนินการผลักดันและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยใน การเพาะเลี้ยงจระเข้น้ำาจืด เนื่องจากธุรกิจการค้าจระเข้ในต่างประเทศ มีความเติบโตและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค จัดเป็นสัตว์น้ำาที่มีมูลค่า ทางเศรษฐกิจในทุกส่วนของอวัยวะ เช่น เลือด เนื้อ หนัง กระดูก ไขมัน ฯลฯ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ประเทศไทยได้เริ่มขึ้นทะเบียน กับสำานักเลขาธิการ CITES ปัจจุบันมีผู้เพาะพันธุ์จระเข้ไทยได้ขึ้น ทะเบียนกับสำานักเลขาธิการ CITES จำานวน 29 แห่ง สร้างรายได้ จากส่งออก มูลค่ามากกว่า 7,000 ล้านบาท จากการซื้อ - ขาย
50 สัตว์เศรษฐกิจ บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ และหากพิสูจน์ทราบได้ว่ามีแหล่งที่มาจาก ต่างประเทศ จะมีความผิดตามมาตรา 31 โทษจำาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำาทั้งปรับ ทั้งนี้ หน่วย เฉพาะกิจพญานาคราชกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะติดตามและ ขยายผลการตรวจสอบ เพื่อดำาเนินคดี ตามนโยบายการปราบปราม ลักลอบนำาเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป ล่าสุด พันเอก รวิรักษ์ สัตตบุศย์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ พญานาคราช เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567ได้สนธิกำาลัง เจ้าหน้าที่กว่า 100 นาย จากกรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการ เกษตร และสำานักงานตำารวจแห่งชาติเข้าตรวจสอบห้องเย็นในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย อุบลราชธานี ลพบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ตามที่ได้รับการรายงาน โดยพบผู้ประกอบการกระทำาความผิด จำานวน 2 จุด คือ 1) มอบหมายนายวรพงษ์ รังผึ้ง นายสัตวแพทย์ ชำานาญการพิเศษ หัวหน้าชุดปฏิบัติการฯ เข้าตรวจสอบห้องเย็น ชลสิทธิ์ โฟรเซ่น จังหวัดลพบุรี ซึ่งคาดว่ามีการเชื่อมโยงนำาเข้าเนื้อ สุกรเถื่อนเข้ามาในพื้นที่อำาเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ผลการ ตรวจสอบพบชนิดสินค้าไม่ตรงกับที่ระบุในใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ และซากสัตว์ จำานวน 2 รายการ (ซากไก่) รวม 2,300 กิโลกรัม มีความผิดตามมาตรา 22 พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์พ.ศ. 2558 โดย ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำาเนินการอายัดซากสัตว์ของกลางดังกล่าว เป็น เวลา 15 วันทำาการ เพื่อให้ผู้ประกอบการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ ตนเอง พร้อมทั้งได้ลงบันทึกประจำาวัน และสืบสวน ตรวจสอบขยาย ผลต่อไป 2) มอบหมายนางยุพดี ทองมี นักวิชาการประมงชำานาญ การพิเศษ หัวหน้าชุดปฏิบัติการฯ เข้าตรวจสอบห้องเย็น บริษัท โชคมหาชัย มารีน จำากัด จังหวัดสมุทรสาคร โดยตรวจสอบเอกสาร ประกอบการเคลื่อนย้าย พบว่ามีรายการสินค้าในใบเคลื่อนย้ายไม่ตรง กับใบรับฝาก จึงทำาการอายัดสินค้าเพื่อให้ผู้ประกอบการนำาเอกสาร มาชี้แจงภายใน 15 วัน รายละเอียดดังนี้ 1. เพดานหมู จำานวน 59 กล่องๆ ละ 10 กิโลกรัม รวมน้ำาหนัก 590 กิโลกรัม มูลค่า 112,100 บาท 2. กระเพาะหมู จำานวน 788 กล่องๆ ละ 10 กิโลกรัม รวมน้ำาหนัก 7,880 กิโลกรัม มูลค่า 591,000 บาท 3. ไส้หมู จำานวน 962 กล่องๆ ละ 10 กิโลกรัม น้ำาหนักรวม 9,620 กิโลกรัม มูลค่า 481,000 บาท 4. เอ็นไก่ จำานวน 2,053 ถุงๆ ละ 12 กิโลกรัม รวมน้ำาหนัก 24,636 กิโลกรัม มูลค่า 2,217,240 บาท รวมทั้งสิ้น 42,726 กิโลกรัม มูลค่า 3,401,340 บาท ด้าน นายสัตวแพทย์ สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรม ปศุสัตว์ พร้อม นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สารวัตรปศุสัตว์ เดินทาง เข้าพบ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อ หารือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวข้องกับขบวนการสวมสิทธิส่งออกตีนไก่ โดยมี นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม ในฐานะโฆษกประจำากระทรวงยุติธรรม ฝ่ายการเมือง รับเรื่อง และใช้เวลาพูดคุยประมาณ 1 ชั่วโมง บอกกล่าวเล่าสิบ บอกกล่าวเล่าสิบ ประจำาฉบับที่ 912 เดือนมกราคม... เริ่ม จากการ กระทรวงเกษตรฯ โดยทีมเฉพาะกิจพญานาคราช บุกจับ หมูเถื่อน กว่า 69 ตัน มูลค่าประมาณ 5,520,000 บาท ในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ รองผู้บังคับหน่วย เฉพาะกิจพญานาคราช เปิดเผยภายหลังนำาเจ้าหน้าที่หน่วย เฉพาะกิจพญานาคราช เข้าตรวจสอบห้องเย็นในพื้นที่จังหวัด นครปฐม ว่า เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ โดยหน่วยเฉพาะกิจพญานาคราชได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าว ว่ามีการลักลอบนำาสินค้าปศุสัตว์ผิดกฎหมาย (หมูสามชั้น) เข้ามาใน พื้นที่ ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยหน่วยเฉพาะกิจ พญานาคราชจึงได้จัดชุดหาข่าวลงพื้นที่เฝ้าสังเกตการณ์ช่วงค่ำาของ วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 จนกระทั้งถึงเช้าวันศุกร์ได้ทำางาน ตรวจสอบ 3 แห่ง ผลปรากฏการกระทำาความผิดของ บริษัท พี.พี. เฟรชพอร์ค ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม พบเนื้อ สุกรแช่แข็ง จำานวน 69 ตัน ประกอบด้วย หมูสามชั้นแช่แข็ง 22 ตัน ยังไม่ทราบแหล่งที่มา และ 47 ตัน พบว่ามีใบอนุญาต เคลื่อนย้ายซากสุกรปลอม ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ได้ดำาเนินการอายัดและ ดำาเนินคดีต่อเรื่องดังกล่าวเป็นการกระทำาผิด มาตรา 22 พรบ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ซึ่งหน่วย ฉก.พญานาคราช จะดำาเนินการ ดังต่อไปนี้ 1) อายัดของกลางจำานวน 69 ตัน เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้ผู้ประกอบการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง 2) แจ้งความ ดำาเนินคดีต่อการกระทำาความผิดดังกล่าว 3) สืบสวนเพื่อขยายผล ของเนื้อหมูดังกล่าวต่อไป ซึ่งการประกอบกำาลังของหน่วยเฉพาะกิจ พญานาคราชในครั้งนี้ เป็นการสนธิกำาลังร่วม จากสำานักงานตำารวจ แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ และกรมประมง มีกำาลังพลกว่า 30 นาย เข้า ตรวจพื้นที่ต้องสงสัยต่างๆ ในจังหวัดนครปฐม ต่อมา หน่วยเฉพาะกิจพญานาคราช ลุยต่อเนื่อง นำากำาลัง ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นจังหวัดสมุทรสงคราม นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาคราช และโฆษกหน่วย เฉพาะกิจฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หน่วยเฉพาะกิจ พญานาคราช ได้นำากำาลังลงพื้นที่เข้าตรวจสอบห้องเย็น บริษัท โชคนาวี ห้องเย็น จำากัด เลขที่ 28 หมู่ 5 ตำาบลแหลมใหญ่ อำาเภอ เมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากได้มีผู้ร้องเรียน สงสัยว่าจะมีการนำาซากสัตว์ผิดกฎหมายมาเก็บซุกซ่อน ซึ่งผลการ ตรวจสอบ พบตับไก่ไม่ทราบแหล่งที่มาและไม่มีเอกสารใบเคลื่อน ย้ายฯ มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำานวน 59,132 กิโลกรัม มูลค่า 6,563,652 บาท เจ้าหน้าที่จึงทำาการอายัดไว้เป็นเวลา 15 วันทำาการ หากไม่สามารถนำาเอกสารใบเคลื่อนย้ายฯมาแสดงได้จะมี ความผิดตาม พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 มี โทษตามมาตรา 65 จำาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE