LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ข่ า ว ส า ร แ ล ะ ส า ร ะ ส ำา ห รั บ ว ง ก า ร เ ลี้ ย ง สั ต ว์ https://livestockemag.com/ สัตว์เศรษฐกิจ https://livestockemag.com/ ปี 39 ฉบับที่ 914 มีนาคม 2567 เทคนิคจัดการอาหารสัตว์... บนความท้าทายในปี 67 สุกรยุคใหม่... กับสายพันธุ์ที่ยั่งยืน ทบทวนความรู้เรื่อง FMD ก่อนมีสายพันธุ์ใหม่ โคนม ปี 67 ยังแบกต้นทุนสูง แม้ราคานมปรับขึ้น เทคนิคจัดการอาหารสัตว์... บนความท้าทายในปี 67 สุกรยุคใหม่... กับสายพันธุ์ที่ยั่งยืน ทบทวนความรู้เรื่อง FMD ก่อนมีสายพันธุ์ใหม่ โคนม ปี 67 ยังแบกต้นทุนสูง แม้ราคานมปรับขึ้น
4 สัตว์เศรษฐกิจ ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ นายฉันทานนท์วรรณเขจร เลขาธิการสำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงการให้บริการ ข้อมูล Big Data ภาคเกษตร โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก บูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลด้านการเกษตร ตลอด ห่วงโซ่อุปทาน กับหน่วยงานต่าง ๆ เข้าสู่ระบบ Open Data of Agriculture ซึ่งปัจจุบันมี 1,078 ชุดข้อมูล 17 กลุ่มข้อมูล จาก 112 องค์กร ผ่านเว็บไซต์ nabc-catalog.oae.go.th และยังสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การเกษตร ให้เป็นฐานข้อมูลทางด้านการเกษตรขนาดใหญ่ของประเทศ เพื่อนำาไปใช้ประโยชน์ในการกำาหนดนโยบาย/มาตรการต่าง ๆ ของ ทางภาครัฐได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน สศก. ได้ให้บริการข้อมูลสารสนเทศผ่านเว็บไซต์หน่วยงาน oae.go.th มีชุดข้อมูลให้บริการ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลด้าน การผลิตของพืช ปศุสัตว์ และ ประมง ได้แก่ เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยวปริมาณผลผลิต ผลิตต่อไร่ ปริมาณการผลิตด้านปศุสัตว์ ประมง 2) ข้อมูลด้านการตลาด และราคา ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรรายวัน ซึ่งจะเป็นราคา ณ ตลาดกลาง และ ณ ตลาดที่สำาคัญ ส่วน ราคาสินค้าเกษตรรายสัปดาห์ และรายเดือนจะเป็นราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา ข้อมูลดัชนีการผลิต ดัชนีราคา ข้อมูลการนำาเข้า - ส่งออกสินค้าเกษตร 3) ข้อมูลการพยากรณ์ผลผลิตสินค้าเกษตร รายไตรมาส 4) ข้อมูลรายงานเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนเกษตรกร 5) ข้อมูลแผนที่แสดงความเหมาะสมในการผลิต เพื่อกำาหนดเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรข้อมูลสารสนเทศการเกษตรดังกล่าวข้างต้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา และผู้สนใจสามารถนำาข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้าน นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการ สศก. กล่าวเสริมว่า สำาหรับการให้บริการข้อมูลราคาสินค้าเกษตรรายวัน (ราคา ณ ตลาดกลาง และ ณ ตลาดที่สำาคัญ) และรายสัปดาห์/รายเดือน (ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา) ทาง สศก. ได้พัฒนารูปแบบ การรายงานราคาสินค้าเกษตรที่สำาคัญรายวัน (Daily Sheet) และรายสัปดาห์ (Weekly Sheet) เพื่อให้การใช้งานเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดย เป็นการแสดงผลในรูปแบบแดชบอร์ด (Dashboard) และมีการอัพเดตข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Automated) ซึ่งราคาสินค้าเกษตรที่สำาคัญ รายวัน (Daily Sheet) ประกอบด้วยสินค้าเกษตรที่สำาคัญ ดังนี้ 1.ข้าว 2.ข้าวโพด 3.หัวมันสำาปะหลัง 4.ผลปาล์มน้ำามัน 5.สับปะรด ปัตตาเวีย 6.ยางพารา 7.มะพร้าว 8.สุกร 9.ไก่และไข่ และ 10.กุ้งขาวแวนนาไม ที่มีการเก็บข้อมูลราคาจากแหล่งตลาดสำาคัญของแต่ละ สินค้าจากศูนย์สารสนเทศการเกษตร พร้อมทั้ง ให้มีการแสดงผลในรูปแบบ กราฟเส้น เพื่อให้เห็นแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่สำาคัญ อีกด้วย ขณะที่รายงานราคาสินค้าเกษตรที่สำาคัญรายสัปดาห์ (Weekly Sheet) จะประกอบด้วยสินค้าเกษตรที่สำาคัญ ดังนี้ 1.โคเนื้อขนาด กลางน้ำาหนัก 350-450 กก. 2.สุกรน้ำาหนักตั้งแต่ 100 กก. ขึ้นไป 3.ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ (ฟาร์มอิสระ) 4.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.5% 5.ข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 15% 6.ไข่ไก่สดคละ 7.มันสำาปะหลังสดคละ 8.ยางแผ่นดิบชั้น 3 และ 9.ผลปาล์มน้ำามันทั้งทะลายคละ เพื่อแสดงราคาประจำาสัปดาห์ ราคาเฉลี่ยประจำาเดือน ร้อยละการเปลี่ยนแปลง ราคาต่ำาสุด ราคาเฉลี่ย ราคาสูงสุด และราคาย้อนหลัง ระดับประเทศและระดับภาคตั้งแต่ ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถประมาณการแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่สำาคัญได้ นับเป็น การให้บริการข้อมูลด้านราคาที่ครบถ้วนและครอบคลุม นำาไปสู่การขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดย การนำาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำางานของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบกับตอบโจทย์ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร และบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นิสิต/นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้บริการ ได้ที่เว็บไซต์ nabc.go.th หรือหากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลการใช้งาน ติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนงานบริการ ข้อมูล ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติสำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 2579 8161 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ E-mail : [email protected] LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE สศก. ให้บริการราคาสินค้าเกษตร ที่สำาคัญรายวัน/รายสัปดาห์ แสดงผลแบบอัตโนมัติ (Automated)
คอลัมน์พิเศษ 13 25 ปีออลเทคประเทศไทย พร้อมก้าวต่อเพื่ออุตสาหกรรมเกษตรอาหาร ที่ยั่งยืน 14 เทคนิคจัดการอาหารสัตว์...บนความท้าทายในปี67 18 Cargrillจับมือ VPF ยกระดับอาหารสัตว์พัฒนาเนื้อหมูคุณภาพ สู่ผู้บริโภคไทย 20 เหตุปัจจัยราคา ‘หมู’ ไปไม่ถึงต้นทุน 22 สุกรยุคใหม่...กับสายพันธุ์ที่ยั่งยืน 24 ผู้เลี้ยงหมูมั่นใจรัฐเดินหน้าแก้ปัญหาหมูเถื่อนถูกทาง 26 “เบทาโกร” เปิดกลยุทธ์2024 สร้างการเติบโตมั่นคงและยั่งยืน 29 สัตวแพทยสมาคมฯ จับมือ FAVA เดินหน้าสุขภาพหนึ่งเดียว 30 ทบทวนความรู้เรื่องFMD ก่อนมีสายพันธุ์ใหม่ 34 สมาคมวิทยาศาสตร์สัตว์ปีกโลกฯ หนุนกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน 36 ไข่ไก่ ไม่ใช่ สาเหตุของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 38 เนื้อไก่ไทย ปลอดภัย มาตรฐานการผลิตระดับโลก 40 “พาณิชย์” เผยไก่ไทย มีโอกาสส่งออกเกาหลีใต้เพิ่ม หลังความต้องการบริโภคพุง 41 “อั๋นฟาร์ม” ต้นแบบความสำาเร็จฟาร์มโคต้นนำ้า 42 โคนม ปี67 ยังแบกต้นทุนสูง แม้ราคานมปรับขึ้น 48 VICTAM Asiaand Health & Nutrition Asia2024 กระตุ้นธุรกิจอาหารสัตว์และสุขภาพสัตว์ 50 VNU เปิดตัว HAN Asia2025 ดันเศรษฐกิจเกษตรร่วมปศุสัตว์ครบวงจร 52 “บ้านธรรมชาติล่าง”ร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำา โมเดลต้นแบบเติบโตยั่งยืน คอลัมน์ประจำ� 10 บอกกล่าว 12 กิจกรรมเด่น 54 แนวโน้มราคาปศุสัตว์ สัตว์เศรษฐกิจ สารบัญ 39 ฉบับที่ 914 มีนาคม 2567 บรรณาธิการ ผู้พิมพ์, ผู้โฆษณา : มุกดา วนิชกุล ที่ปรึกษา : รศ.ดร.เยาวมาลย์ ค้าเจริญ ผศ.นาม ศิริเสถียร รศ.อุทัย คันโธ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร อาจารย์ศักดิ์ชัย โตภาณุรักษ์ บรรณาธิการบริหาร : ทิพารัตน์ อธิภัทรพงศ์ กองบรรณาธิการ : วิษณุ เจริญพงศ์พูล กองจัดการ : เอกบุรุษ อุมากูล ออกแบบรูปเล่ม : Chin พิสูจน์อักษร : รัชดา กูใหญ่ สำานักงาน : 74/423-424 ซ.รามคำาแหง 180 ถ.รามคำาแหง มีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 โทร. 0-2916-3786-7 แฟกซ์ : 0-2916-8005 E-mail : [email protected] โรงพิมพ์ : ก.พลพิมพ์ เพลท : กรกนก กราฟฟิก โทร. 082-458-4318 จัดจำาหน่าย : นานาสาส์น 914 ่
The Leading Mycotoxin Testing Solutions 9/35 ถนนบางบอน 4 บางบอนเหนือ บางบอน กรุงเทพฯ 10150 โทร: 02-4162586 โทรสาร 02-4162587 www.auprogression.com / E-mail : [email protected] ชุดอุปกรณ์ในการทดสอบหาปริมาณของ Mycotoxin แบบรวดเร็ว ด้วยหลักการ ของ lateral flow strip โดยสามารถทดสอบได้ทั�งในวัตถุดิบและอาหารสัตว์ทุกชนิด One Approach Delivers Full Range Afiatoxin Detection for Complete Feeds สามารถทดสอบหาปริมาณของ Aflatoxin Total (B1,B2,G1,G2),Don,Fumonisin, Zearalenone,Ochratoxin,T2/HT2 และ Glyphosate ทดสอบ Mycotoxin ท�ง 6 ชนิด ได้ด้วยการส ักดตั วอย่างเพียงคร� ั งเดียว ั ไม่ต้องใช้สารพิษ Mycotoxin ในการทํา Calibration วิเคราะห์และรายงานผลเป็นตวเลขได้ภายใน 5-10 นาที ั ใช้งานง่าย ข�นตอนน้อย ผ ั ู้ใช้งานไม่จําเป็นต้องมีทกษะในงานห้องปฏิ ับติการมาก่อน ั ผลการทดสอบเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกบผลจาก HPLC ั
10 สัตว์เศรษฐกิจ ลำ�แข้งของตนเอง วันนี้ในขณะที่ตนกำ�ลังดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีช่วย และกำ�กับดูแลกรมปศุสัตว์ มีคว�มเป็นห่วงเกษตรกรร�ยย่อย ม�กกว่�น�ยทุน และเข้�ใจหัวอก เพร�ะตนเองก็เป็นเกษตรกรม� ก่อน ยืนยันจะแก้ไขปัญห�ต่�ง ๆ ให้พี่น้องเกษตรกรมีคว�มเป็นอยู่ ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป กรมก�รค้�ภ�ยใน จับมือสม�คมผู้เลี้ยงสุกรแห่งช�ติ กรม ปศุสัตว์ รณรงค์บริโภคเนื้อหมู หลังยังมีผลผลิตส่วนเกิน เพื่อช่วย ดูแลร�ค�ให้กับเกษตรกร พร้อมขอคว�มร่วมมือห้�ง งดจัดโปรโมชัน ช่วงนี้ หวั่นไปกดร�ค�ซื้อหมูม�ข�ย เผยแนวโน้มร�ค�อ�ห�รสัตว์ เริ่มปรับตัวลดลง หลังวัตถุดิบหล�ยตัวร�ค�ลง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่� กรมได้ร่วมมือกับ สม�คมผู้เลี้ยงสุกรแห่งช�ติ กรมปศุสัตว์ รณรงค์ให้ผู้บริโภคช่วยกัน บริโภคเนื้อสุกรเพิ่มม�กขึ้น เพื่อช่วยดูแลร�ค�ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง หมู ที่ได้รับผลกระทบจ�กร�ค� เพร�ะขณะนี้ผลผลิตหมูมีชีวิตเกิน คว�มต้องก�รจ�กปกติจะมีหมูออกสู่ตล�ดเฉลี่ยวันละ 5 หมื่นตัว แต่ขณะนี้อยู่ที่ 5.8 หมื่นตัว จึงต้องห�ท�งเร่งระบ�ยผลผลิตส่วนเกิน แม้ว่�ในส่วนของกรมปศุสัตว์จะเร่งแก้ปัญห�ตัดวงจรหมูด้วยก�ร ผลักดันให้ทำ�หมูหันไปแล้วส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ กรมยังได้ขอคว�มร่วมมือ ไปยังห้�งค้�ส่งค้�ปลีก ห้�งสรรพสินค้� ให้งดก�รจัดโปรโมชันลด ร�ค�สินค้�เนื้อสุกรในช่วงนี้ เพร�ะร�ค�เนื้อหมูถูกอยู่แล้ว โดยร�ค� เฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 130 บ�ท และห�กมีก�รนำ� เนื้อหมูม�จัดโปรโมชัน เกรงว่�จะไปกดร�ค�รับซื้อหมู และกระทบ กับเกษตรกร สำ�หรับสถ�นก�รณ์ร�ค�หมูเป็นหน้�ฟ�ร์มปัจจุบันอยู่ ที่ กก.ละ 67-68 บ�ท ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยง ยังคงข�ยได้ต่ำ�กว่�ต้นทุน ก�รผลิต ที่สำ�นักง�นเศรษฐกิจก�รเกษตร (สศก.) ประเมินว่�อยู่ที่ กก.ละ 72 บ�ท ซึ่งก�รตัดวงจรหมู จะช่วยดึงร�ค�ให้สูงขึ้น และ กรมยังจะเข้�ไปช่วยดูแลในด้�นต้นทุนก�รผลิต โดยเฉพ�ะร�ค� อ�ห�รสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ร.ต.จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่�วว่� กรม ได้ห�รือกับสม�คมผู้ผลิตอ�ห�รสัตว์ไทย เพื่อติดต�มสถ�นก�รณ์ ร�ค� และสถ�นก�รณ์วัตถุดิบที่นำ�ม�ใช้ในก�รผลิตอ�ห�รสัตว์ พบว่� แนวโน้มร�ค�ปรับตัวลดลงต�มต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง โดย ขณะนี้ข้�วโพดเลี้ยงสัตว์ อยู่ที่ กก.ละ 10.26 บ�ท ปีที่แล้วเฉลี่ย ทั้งปี 12.67 บ�ท ก�กถั่วเหลือง เฉลี่ย ม.ค.-ก.พ.2567 กก.ละ 13.92 บ�ท ปีที่แล้ว กก.ละ 16.84 บ�ท ข้�วส�ลี กก.ละ 7.74 บ�ท ปีที่แล้ว กก.ละ 8.23 บ�ท ปล�ป่น กก.ละ 32 บ�ท ปีที่แล้ว กก.ละ 36.61 บ�ท กรมจะติดต�มสถ�นก�รณ์ร�ค�วัตถุดิบอ�ห�รสัตว์อย่�งใกล้ชิด และห�กปรับลดลงต่อเนื่อง ก็จะคุยกับผู้ผลิตให้ปรับลดร�ค�ลงม�ให้ สอดคล้องกัน ซึ่งเท่�ที่ติดต�มดู ข้�วโพดทรงตัว ข้�วส�ลีลดลง ก�กถั่วเหลือง ลดลง และค�ดว่�จะลดลงอีก เพร�ะอ�ร์เจนติน� เพิ่มพื้นที่เพ�ะปลูก ส่วนปล�ป่น ทรงตัวอยู่สูง แต่ก็ถูกกว่�ปีก่อน ขณะที่ร�ค�อ�ห�รสัตว์ตอนนี้ เทียบกับปีที่แล้ว พบว่� มีก�รทยอย บอกกล่าวเล่าสิบ บอกกล่าวเล่าสิบ ประจำาฉบับที่ 914 เดือนมีนาคม...เริ่มจ�ก นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธ�นก�รประชุมติดต�มคว�มคืบหน้�ก�รดำ�เนินง�นของกรม ปศุสัตว์ โดยมีผู้บริห�รและเจ้�หน้�ที่กรมปศุสัตว์เข้�ร่วม ณ ห้อง พระพิรุณ ตึกอำ�นวยก�ร กรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่� ก�รประชุมใน วันนี้ได้ม�ติดต�มนโยบ�ยที่ได้มอบหม�ยให้กรมปศุสัตว์ดำ�เนินก�ร ตั้งแต่ที่เข้�รับตำ�แหน่งรัฐมนตรีช่วยว่�ก�รกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ได้แก่ ก�รลดต้นทุนก�รผลิต ช่วยให้เกษตรกรลดก�รพึ่งพ� ภ�คเอกชน และส่งเสริมก�รจัดทำ�หัวอ�ห�รสัตว์ด้วยตนเองจ�กก�ร ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ก�รหมักใบมันสำ�ปะหลัง ที่มีโปรตีน ใกล้เคียงกับถั่วเหลือง ซึ่งจะเริ่มจ�กก�รให้ศูนย์วิจัยและพัฒน� อ�ห�รสัตว์นครร�ชสีม�นำ�ร่องเป็นต้นแบบให้กลุ่มสหกรณ์และ วิส�หกิจชุมชนม�ใช้โมเดล สำ�หรับก�รแก้ไขปัญห�สินค้�ปศุสัตว์ร�ค�ตกต่ำ� รัฐบ�ลได้เร่ง เจรจ�เพื่อระบ�ยสินค้�ไปยังต่�งประเทศ โดยมีแผนส่งออกโคมีชีวิต จำ�นวน 2,000 ตัว ไปเวียดน�มท�งเรือเป็นครั้งแรก และรัฐบ�ลได้ รับสัญญ�ณที่ดีจ�กประเทศจีนว่�สนใจก�รนำ�เข้�โคมีชีวิตเช่นกัน ห�ก ก�รส่งออกครั้งแรกเป็นไปด้วยคว�มเรียบร้อย จะช่วยให้กลไกตล�ด เป็นไปต�มปกติ และร�ค�ขยับขึ้น รวมถึงฟ�ร์มที่ทำ�ก�รส่งออก จะม�รับซื้อวัวจ�กเกษตรกรเพิ่มขึ้น ทำ�ให้มีร�ยได้หมุนเวียนใน ประเทศอย่�งต่อเนื่อง ในส่วนก�รแก้ไขปัญห�โคบ�ลช�ยแดนใต้ เฟสแรกจำ�นวน 3,000 ตัว ต้องขอให้ดำ�เนินก�รต�มเงื่อนไขของ กรมปศุสัตว์ที่ต้องก�รให้เกษตรกรได้รับโคที่ถูกต้องต�มคุณลักษณะ มีก�รกักกันโรคอย่�งถูกต้อง พร้อมชั่งน้ำ�หนักโคก่อนส่งถึงมือ เกษตรกร หรือห�กเกษตรกรต้องก�รห�ซื้อโคด้วยตนเองส�ม�รถ ทำ�ได้เช่นกัน เนื่องจ�กพี่น้องเกษตรกรเป็นคนแบกรับต้นทุน ทั้งนี้ ต้องขอคว�มร่วมมือหน่วยง�นที่เกี่ยวข้องช่วยส่งเสริมเกษตรกรที่ ไม่เข้�เงื่อนไขแต่สนใจเข้�ร่วมโครงก�ร เช่น เกษตรกรที่ไม่มีพื้นที่ ของตนเอง เป็นต้น นอกจ�กนี้ รมช.ไชย� ขอยืนยันว่� รัฐบ�ลนี้ไม่มีก�รนำ�เข้� หมูเถื่อนจ�กภ�ยนอกเพิ่มเติม แต่เป็นก�รปร�บปร�มสินค้�เกษตร เถื่อนที่ยังคงอยู่ในประเทศ เพื่อช่วยบรรเท�ปัญห�สินค้�เกษตรร�ค� ตกต่ำ� จึงต้องขอให้ทุกหน่วยง�นที่เกี่ยวข้องร่วมกันกวดขันดูแลไม่ให้ เกิดกระบวนก�รค้�สินค้�เกษตรผิดกฎหม�ยเพิ่มเติมอีก แม้ว่�ตอน นี้ร�ค�หมูจะขยับขึ้นม�เป็น 4 บ�ท แต่ตนอย�กได้ร�ค�ที่เพิ่มขึ้น กว่�นี้ ทั้งนี้ เจ้�หน้�ที่ที่เกี่ยวข้องกับก�รนำ�เข้�สินค้�เถื่อนกำ�ลังอยู่ ในก�รดำ�เนินก�รของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ซึ่งท�งกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ไม่ขอก้�วก่�ยกระบวนก�รยุติธรรมถึงแม้จะมี ข้อสงสัยเช่นกันจึงขอให้ดีเอสไอให้คว�มกระจ่�งให้สังคมรับทร�บใน เรื่องนี้ด้วย สุดท้�ยนี้ รัฐมนตรีช่วยฯ ไชย� ขอให้กำ�ลังใจและ ขอต่อสู้ร่วมกับเกษตรกรเพื่อให้มีร�ยได้ ส�ม�รถดำ�รงชีพอยู่ได้ด้วย LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE
สัตว์เศรษฐกิจ 11 ปรับลดร�ค�ลงม�แล้ว ส่วนโครงก�รช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ในก�รลดต้นทุนร�ค�อ�ห�รสัตว์ จ�กก�รเชื่อมโยงเกษตรกรผู้เลี้ยง กับโรงง�นอ�ห�รสัตว์ ซึ่งได้ดำ�เนินก�รไปเมื่อปีที่แล้ว ห�กเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร มีคว�มต้องก�ร ก็พร้อมที่จะทำ�ก�รเชื่อมโยงให้ต่อไป ด้�น อธิบดีกรมปศุสัตว์ระบุ ส�รวัตรไซเบอร์ กองส�รวัตรและ กักกัน กองควบคุมอ�ห�รและย�สัตว์ ร่วมกับตำ�รวจบก. ปคบ. บุกตรวจค้นบ้�นหลังหนึ่งที่ข�ยอ�ห�รสัตว์เถื่อนผ่�นแพลตฟอร์ม ออนไลน์ โดยอ�ยัดอ�ห�รสัตว์ที่ไม่ใบอนุญ�ตนำ�เข้�และจำ�หน่�ย ดำ�เนินคดีต�ม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภ�พอ�ห�รสัตว์ พ.ศ. 2558 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่�วว่� ได้สั่งก�รส�รวัตรไซเบอร์ กองส�รวัตรและกักกัน กองควบคุมอ�ห�ร และย�สัตว์บูรณ�ก�รกับตำ�รวจกองบังคับก�รปร�บปร�มก�ร กระทำ�คว�มผิดเกี่ยวกับก�รคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เข้�ตรวจ สอบบ้�นหลังหนึ่ง ในหมู่บ้�นฉัตรหลวง ตำ�บลคลองส�ม อำ�เภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธ�นี ต�มที่ได้รับเรื่องร้องเรียนผ่�น DLD 4.0 ว่� มีก�รข�ยอ�ห�รสัตว์ไม่มีทะเบียนผ่�นแพลตฟอร์มออนไลน์ หลังจ�กได้รับเรื่องร้องเรียน ส�รวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ได้สืบสวน และรวบรวมพย�นหลักฐ�นเพื่อขอหม�ยค้นจ�กศ�ล จ�กนั้นจึงนำ� กำ�ลังเข้�ตรวจค้นบ้�นนี้ซึ่งมีรั้วรอบขอบชิด พบอ�ห�รสัตว์นำ�เข้� จำ�นวนม�กและมีก�รแบ่งบรรจุเพื่อข�ย โดยเจ้�ของบ้�นไม่ส�ม�รถ นำ�ใบอนุญ�ตนำ�เข้�และใบอนุญ�ตจำ�หน่�ยอ�ห�รสัตว์ม�แสดงต่อ เจ้�หน้�ที่ได้ ทั้งนี้เป็นคว�มผิดต�ม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภ�พ อ�ห�รสัตว์ พ.ศ. 2558 ดังนี้ 1. ม�ตร� 15 ไม่มีใบอนุญ�ตผลิต เพื่อข�ย หรือนำ�เข้�เพื่อข�ยอ�ห�รสัตว์ควบคุมเฉพ�ะ มีโทษต�ม ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ม�ตร� 74 จำ�คุก ไม่เกินส�มปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบ�ท หรือ ทั้งจำ�ทั้งปรับ 2. ม�ตร� 56 (4) ผลิตเพื่อข�ย นำ�เข้�เพื่อข�ยอ�ห�ร สัตว์ที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ มีโทษต�มม�ตร� 86 วรรคแรก จำ�คุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้�ปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นถึง หนึ่งแสนบ�ทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ คณะพนักง�นเจ้�หน้�ที่อ�ยัดอ�ห�รสัตว์ควบคุมเฉพ�ะทั้งหมด พร้อมอุปกรณ์ผลิตไว้ที่บ้�น ดังนี้ - อ�ห�รสัตว์ควบคุมเฉพ�ะ 506.2 กิโลกรัม มูลค่� 354,627 บ�ท - สติ๊กเกอร์ 1,000 ดวง มูลค่� 4,000 บ�ท - ถุงบรรจุ 1,000 ใบ มูลค่� 3,000 บ�ท - เครื่อง ซีลป�กถุง 1 เครื่อง 195 บ�ท โดยอ�ยัดไว้ที่บ้�นเลขที่ดังกล่�วไว้ ก่อน จนกว่�จะสิ้นสุดกระบวนก�รท�งกฎหม�ย คณะพนักง�น เจ้�หน้�ที่เก็บตัวอย่�งอ�ห�รสัตว์ที่แบ่งข�ย จำ�นวน 3 ตัวอย่�ง ตัวอย่�งละ 500 กรัม 3 ถุง รวมทั้งหมด 9 ถุง เพื่อส่งห้องปฏิบัติ ก�รกรมปศุสัตว์ตรวจสอบ จ�กนั้น เข้�แจ้งคว�มร้องทุกข์กล่�วโทษ ที่ บก.ปคบ. ก�รลักลอบนำ�เข้�และจำ�หน่�ยอ�ห�รสัตว์เถื่อนเป็นก�รซ้ำ�เติม ผู้ประกอบก�ร เกษตรกร และประช�ชนผู้บริโภค ทั้งด้�นคุณภ�พ และคว�มปลอดภัยสินค้�ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์จึงเข้มงวดในก�รกำ�กับ ดูแลด้�นคุณภ�พม�ตรฐ�นอ�ห�รสัตว์ให้เป็นไปต�มกฎหม�ยว่�ด้วย ก�รควบคุมคุณภ�พอ�ห�รสัตว์ เพื่อคว�มปลอดภัยต่อสัตว์ และ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จ�กสัตว์ ห�กพบก�รกระทำ�ผิด ให้ดำ�เนินก�ร ต�มกฎหม�ยอย่�งเฉียบข�ด โดยส�ม�รถแจ้งเบ�ะแสก�รกระทำ�ผิด ได้ท�ง Application DLD 4.0 หรือกองควบคุมอ�ห�รและย�สัตว์ โทรศัพท์ 02 159 0406-7 ต่อ 104...สวัสดี... บริษัท ออลเทค ไบโอเทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น จำากัด และ บริษัท ฟาร์มพรประเสริฐ จำากัด ร่วมบูรณะห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และมอบคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียน 2 แห่ง ใน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ที่ยังข�ดโอก�สเข้�ถึงคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในก�รเรียนก�รสอน ด้วยวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกันของทั้งสองบริษัท ซึ่งมีคว�มตั้งใจในก�รให้คืนแก่ชุมชน โดยเฉพ�ะอย่�งยิ่งเพื่อก�รศึกษ�สำ�หรับเด็กที่จะ เติบโตไปเป็นกำ�ลังสำ�คัญในก�รพัฒน�ประเทศและโลกในอน�คต จึงได้ร่วมกันริเริ่มโครงก�ร “ปันน้ำาใจ จากพี่สู่น้อง” และได้นำ�คอมพิวเตอร์ ปลดระว�งแต่ยังทำ�ง�นได้ดี ม�มอบให้แก่โรงเรียนที่ต้องก�ร โดยกิจกรรมนี้ได้ดำ�เนินต่อเนื่องม�เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ในครั้งนี้ ทั้งสอง บริษัทได้ช่วยกันปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์และบริจ�คคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ก�รเรียนและกีฬ� ให้แก่ โรงเรียนบ้�นเสม็ด และ โรงเรียนบ้�นสำ�โรง (ภิญโญอนุสรณ์) ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอนุบ�ลถึงประถมศึกษ� ในอำ�เภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งหมด 20 เครื่อง ออลเทค จับมือ ฟาร์มพรประเสริฐ สานต่อโครงการ “ปันนํ้าใจ จากพี่สู่น้อง” ร่วมมอบคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียน เป็นปีที่ 3 ออลเทค จับมือ ฟาร์มพรประเสริฐ สานต่อโครงการ “ปันนํ้าใจ จากพี่สู่น้อง” ร่วมมอบคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียน เป็นปีที่ 3
12 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE VICTAM Asia and Health & Nutrition Asia 2024 กระตุ้นธุรกิจ วิคแทม คอร์ปอเรชั่น ผสานความร่วมมืออีกครั้งกับ กลุ่มบริษัท วีเอ็นยูฯ เพื่อจัดงาน VICTAM Asia (วิคแทม เอเชีย), Health & Nutrition Asia (เฮลท์ แอนด์ นิวทริชัน เอเชีย), และ GRAPAS Asia (กราปาส เอเชีย) โดยงานแสดงสินค้าชั้นนำาดังกล่าวนับเป็น แพลตฟอร์มที่สำาคัญสำาหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และการแปรรูปฯ อย่างครบวงจร งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2567 ณ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ พร้อมต้อนรับ ผู้เข้าชมงานที่ลงทะเบียนกันมาอย่างคับคั่งเพื่อจับคู่ธุรกิจกับผู้จัดแสดงสินค้ากว่า 250 บริษัทชั้นนำา ที่นำาเสนอนวัตกรรมและสินค้าล่าสุดภายใน งาน นับเป็นโอกาสสำาคัญเนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์ และการแปรรูปฯ กำาลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญ อัปเดตข้อมูลเชิงลึก แนวโน้มอุตสาหกรรม จากวิทยากรระดับโลก ผ่านกิจกรรมประชุมสัมมนาทางเทคนิคที่จัดขึ้นพร้อมกับนิทรรศการ กิ จ ก ร ร ม เ ด่ น 12 สัตว์เศรษฐกิจ
สัตว์เศรษฐกิจ 13 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ตลอดระยะเวลา 25 ปีออลเทค มุ่งมั่นนำาเสนอนวัตกรรมและ บริการทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำาหรับภาคปศุสัตว์ใน ประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์และบริการของออลเทคนั้น มุ่งเน้นเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไปพร้อมกับดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพ ของสัตว์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่ดีขึ้น และนำาไปสู่การ พัฒนาอย่างยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ “Working Together for a Planet of Plenty™” ของออลเทค ทั้งนี้ ในงานฉลองครบรอบ 25 ปี มีการบรรยายพิเศษที่ น่าสนใจหลายหัวข้อ ได้แก่ “Our present and future: Working Together for a Planet of Plenty™” โดย ดร.มาร์ค ไลออนส์ ประธานและซีอีโอ บริษัทออลเทค; “Technologies to drive economic and environmental sustainability” โดย นิค อดัมส์ Commercial Director, Alltech Core Technology; “The role of agriculture in shaping the future” โดย โจนาธาน ฟอร์เรส วิลสัน ประธานออลเทค เอเชียแปซิฟิก และ “Together for a better future of Thai Agriculture” โดย เฮง อิก จิน Regional director for Malindo and Southeast Asia หลังจากนั้น ในช่วงเย็น ออลเทคและแขกผู้มีเกียรติได้ร่วม รับประทานอาหารเย็นในบรรยากาศที่อบอุ่น และฉลองเข้าสู่ปีที่ 26 ของออลเทคในประเทศไทยอย่างน่าประทับใจ ปิดท้ายด้วยความ สนุกสนานกับมินิคอนเสิร์ตจากลุลา ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ออลเทค จัดงานฉลองครบรอบ 25 ปีของการดำาเนินธุรกิจในประเทศไทย เพื่อแสดงความขอบคุณ ต่อคู่ค้าและพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา และตอกย้ำา ความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาโซลูชั่นทางโภชนาการเพื่อความ สำาเร็จที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นของการเกษตรในประเทศไทย ออลเทค เป็นหนึ่งในผู้นำาระดับโลกด้านโซลูชั่นทางโภชนาการ ที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมือง เล็กซิงตัน รัฐเคนทักกีสหรัฐอเมริกา ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2523 โดย ดร.เพียร์ส ไลออนส์ (Dr. Pearse Lyons) นักวิทยาศาสตร์ และนักธุรกิจชาวไอริช และได้ขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ เรื่อยมา ในปัจจุบัน ออลเทคดำาเนินธุรกิจอยู่ในกว่า 120 ประเทศ มีศูนย์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 5 แห่ง และมีโรงงานผลิตมากกว่า 80 แห่ง ทั่วโลก สำาหรับประเทศไทย ออลเทคได้เข้ามาดำาเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตลาดในประเทศไทย และยังมีบทบาทการเป็นผู้ผลิตอาหารที่สาคัญของโลก ำ เริ่มต้นด้วยทีม งานเพียงสองคน ออลเทค ประเทศไทย เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมีบุคลากรมากกว่า 50 คน โดยโรงงานและคลังสินค้า แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2549 และในปีพ.ศ 2558 ได้ย้ายสถานที่ผลิตมายังสถานที่ปัจจุบันในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของ ตลาดไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 25 ปี ออลเทคประเทศไทย พร้อมก้าวต่อเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร อาหารที่ยั่งยืน 25 ปี ออลเทคประเทศไทย พร้อมก้าวต่อเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร อาหารที่ยั่งยืน
14 สัตว์เศรษฐกิจ ปีที่ผ่านมา ภาคปศุสัตว์ไทยต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิต สูงตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดโลก เนื่องจาก ภาวะสงครามรัสเซียยูเครน และภาวะภัยแล้งในแหล่งผลิตวัตถุดิบใน หลายประเทศทั่วโลก สวนทางกับความต้องการที่ไม่ได้ลดลง อีกทั้ง ยังต้องปรับกระบวนการผลิตตามความต้องการของคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบต้องมาจากแหล่งผลิตที่ถูกกฎหมาย ไม่ทำาลาย สิ่งแวดล้อม ทำาให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ใน ระดับสูงต่อไป ถือเป็นความท้าทายที่ปศุสัตว์ไทยต้องรับมือ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE เทคโนโลยีต่าง ๆ ควบคุมจัดการได้ หากจัดการได้ดี ก็ช่วยให้ ประสิทธิภาพการผลิตที่ดีตามไปด้วย อีกส่วน คือ ปัจจัยที่ควบคุม ไม่ได้ที่นับวันยิ่งมีความสำาคัญต่อการดำาเนินธุรกิจมากขึ้น ประกอบ ด้วย สภาพเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน เงินตราระหว่างประเทศ ความผันผวนของค่าเงินบาทที่มีผลกระทบ ต่อกระแสเงินสด องค์กร กองทุนต่างประเทศที่ค้าขายหรือหา ช่องทางทำากำาไรจากสินค้าเกษตร นอกจากนั้น ยังมีโรคระบาดทั้งในสัตว์และคน ที่ยังสร้างความ เสียหายอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่าง โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ที่มีรายงาน การระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โรคนิวคาสเซิลที่กระทบกับ ประสิทธิภาพการผลิต หรือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ที่เข้ามาสร้างปัญหา และยังหาวิธีการจัดการอย่างเด็ดขาดไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรสำาคัญที่มีผลต่อการดำาเนินธุรกิจ รวมถึง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะภัยแล้งในแหล่ง วัตถุดิบที่สำาคัญของโลก เช่น บราซิล ที่แม้พัฒนาเทคโนโลยีการปลูก แบบ 2 รอบต่อเนื่องได้ คือ ปลูกถั่วเหลืองแล้วต่อด้วยการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ภัยแล้งก็อาจกระทบต่อการให้ผลผลิตได้ ขณะที่ความต้องการของผู้บริโภค และคู่ค้า รวมถึง นโยบาย ภาครัฐ ถือเป็นอีกโจทย์สำาคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ระบบการขนส่ง ที่บางช่วงดีก็ไม่กระทบ แต่ในช่วงที่มีปัญหาติดขัด จัดส่งตามเวลา ไม่ได้ ก็ทำาให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนทาง ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร เทคนิคจัดการอาหารสัตว์... บนความท้าทายในปี 67 ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ เผย ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปศุสัตว์ แป่งเป็น ปัจจัยที่ควบคุม ได้ ประกอบด้วย การจัดการฟาร์ม การจัดการอาหารสัตว์ การ จัดการสภาพแวดล้อม และการจัดการสุขภาพ ที่ใช้องค์ความรู้และ
สัตว์เศรษฐกิจ 15 ภูมิรัฐศาสตร์คือ ปัญหาสงครามที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ทั้ง รัสเซีย กับยูเครน อิสราเอลกับกลุ่มฮามาส หรือแม้แต่ปัญหาสงคราม กลางเมืองในเมียนมาร์ที่อาจกระทบต่อการนำาเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ของไทยได้ จึงต้องติดตามประเมินและ วางแผนเตรียมมือกับผลกระทบไว้ด้วย จากข้อมูล กลุ่มพืชน้ำามันที่ให้โปรตีน เริ่มจาก “ถั่วเหลือง” ข้อมูลปี 2563-2566 (ข้อมูลจาก USDA) มีการเพิ่มขึ้นทุกเดือน โดยข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2566 แสดงให้เห็นว่า ภาพรวมการ ผลิตถั่วเหลืองของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยบราซิลถือเป็นผู้ผลิต อันดับ 1 รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และปารากวัย ซึ่งไทยนำาเข้าถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองจากกลุ่มประเทศเหล่านี้แต่ ที่ต้องติดตาม คือ ปริมาณถั่วเหลืองที่คาดการณ์ไว้ของบราซิล ที่ กำาลังเผชิญกับปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรงนั้น ได้รับความเสียหายจน อาจไม่ได้ผลและปลูกใหม่หรือไม่ หรือหากประคับประครองต่อไปก็ อาจได้ผลผลิตลดลง ด้าน “เรปซีด” อีกแหล่งวัตถุดิบโปรตีนสำาคัญ คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตของโลกอาจต่ำากว่าปีที่ผ่านมา โดยผู้ผลิตอันดับ 1 คือ สหภาพยุโรป รองมาเป็น จีน อินเดีย และแคนาดา ซึ่งแม้ภาพ รวมเรปซีดมีแนวโน้มลดลง แต่อาจไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม อาหารสัตว์มากนัก เพราะปริมาณถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ทิศทาง วัตถุดิบอาหารสัตซ์แหล่งโปรตีนถือว่า อยู่ในเกณฑ์ดีแต่ต้องติดตาม ว่า ราคาจะผันผวนหรือไม่ เพราะปัจจัยที่กระทบกับราคาส่วใหญ่ ไม่ได้มาจากกลไกตลาดเพียงอย่างเดียวแต่ ขึ้นอยู่กับการขนส่งด้วย ส่วนวัตถุดิบแหล่งคาร์โบไฮเดรท เริ่มจาก “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ไทยผลิตได้4-5 ล้านตันต่อปีแต่ราคาก็อ้างอิงตลาดโลก โดยข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ของโลกในปีที่ผ่านมา ดีกว่าปี 2565 โดยผู้ผลิตข้าวโพด อันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา จีน และบราซิล ที่ปรับระบบการปลูก จากที่ต้องเลือกว่า จะปลูกถั่วเหลืองหรือข้าวโพด มาเป็นการปลูกได้ ทั้ง 2 ชนิด โดยปลูกถั่วเหลืองก่อนแล้วตามด้วยข้าวโพด ส่งผลให้ ผลผลิตข้าวโพดของบราซิลเพิ่มขึ้น ถือเป็นอีกจุดแข็ง แต่ยังติดตาม เพราะฤดูเพาะปลูกข้าวโพดของบราซิลยังไม่เริ่ม อยู่ระหว่างรอให้เก็บ เกี่ยวถั่วเหลือง ซึ่งต้องติดตามภาวะภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ ผลผลิตร่วมด้วย ไทยผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ 8-10 ล้านตันต่อปีเพื่อผลิตอาหารสัตว์ประมาณ 20 ล้านตัน เมื่อ ผลิตเองได้เพียง 4-5 ล้านตัน จึงต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำาเข้า ทั้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน ที่ต้องติดตามว่า ปัญหา ความไม่สงบในเมียนมาร์จะมีผลกระทบต่อการขนส่งหรือไม่ ซึ่งคาด ว่า ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปี2567 แม้มีแนวโน้มต่ำากว่าปี2566 แต่ก็ไม่ต่ำากว่ากิโลกรัมละ 10 บาท และผู้ประกอบการบางรายยังไม่ ได้เก็บสต็อกไว้เลย ข้าวสาลีการผลิตของโลกลดลง มาอยู่ที่ประมาณ 8-9 ล้าน ตัน โดย ข้าวสาลีจากทะเลดำา คือ รัสเซีย ยูเครน ที่ยังมีปัญหา ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ สงครามอยู่ แม้การผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่มีปัญหาการขนส่งหาก มีปัญหาสงครามที่รุนแรง ทำาให้การขนส่งแพง ส่วนข้าวสาลีของ ออสเตรเลียก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนินโญ จากผลผลิตที่เคย ได้40 ล้านตัน ก็เหลือเพียง 24.5 ล้านตันเท่านั้น และยังเจอปัญหา พายุกระทบแหล่งผลิตทำาให้ผลผลิตลดลงไปอีก กลายเป็นปัญหา เพราะเมื่อข้าวโพดมีปัญหาแล้วข้าวสาลีได้รับผลกระทบไปด้วย ทำาให้ ราคาธัญพืชยังทรงตัวในระดับสูง ข้าวบาร์เลย์ไทยนำาเข้าจากออสเตรเลียภายใต้เขตการค้าเสรี FTA ทำาให้ไม่เสียภาษีโดยบาร์เลย์รวมลดลงประมาณ 10 ล้านตัน แต่ที่กังวล คือ บาร์เลย์ออสเตรเลียที่ผลิตได้ 14 ล้านตัน กระทบ กับเอลนินโญคาดว่าไม่ถึง 10 ล้านตัน กระทบกับอาหารสัตว์ เมื่อ ข้าวโพดไม่เพียงพอ นำาเข้ามาเพิ่มได้ยาก ข้าวสาลีก็ราคาแพงขึ้น ข้าวบาร์เลย์ก็ราคาแพงเช่นกัน ถือเป็นปีที่เหนื่อยสำาหรับแหล่งธัญพืช ส่วนโปรตีนอาจยังไม่กกระทบมากนัก ด้านวัตถุดิบแหล่งน้ำามัน ปาล์มน้ำามัน ผลผลิตถือว่าดีชึ้น เพราะ ผลิตในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อินโดนีเซีย 47 ล้านตัน มาเลเซียน 19 ล้านตัน ไทย 3 ล้านตัน ปาล์มน้ำามันผลิตเพิ่มขึ้น เพราะเป็นที่ให้ผลผลิตสูงสุดของรอบที่ปลูก แม้ราคาน้ำามันปาล์มมี ปัญหา แต่ต้องหาทางใช้ประโยชน์จากกากปาล์มให้มากขึ้น แม้บาง รายนำาไปใช้แล้วแล้วประสิทธิภาพไม่ได้ตามที่คาดหวัง ก็ต้องหา เทคโนโลยีหรือเอนไซม์มาใช้จัดการย่อยคาร์โบไฮเดรทบางตัว เพื่อ ใช้ประโยขน์จากวัตถุดิบมีของอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ดี จากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อวัตถุดิบอาหารสัตว์ เริ่มจาก บราซิล ที่ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่อาจกระทบกับปริมาณ ถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปัญหาเอสนินโญที่กระทบกับการผลิต ในออสเตรเลีย ต่อมาคือ สงครามรัสเซียยูเครนที่กระทบกับการ
16 สัตว์เศรษฐกิจ ส่งออกข้าวสาลีปัญหาสงครามกลางเมืองในเมียนมาร์ที่กระทบต่อ การนำาเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หากเข้ามาไม่ได้ข้าวโพดเหล่านี้อาจถูก จีนซื้อไปทั้งหมด รวมถึงความผันผวนของค่าเงินบาทที่หากอ่อนตัว รุนแรงก็กระทบต่อการนำาเข้าได้เช่นกัน จากความผันผวนของวัตถุดิบ การจัดการอาหารสัตว์ต้องเริ่ม จากการทำาให้เป็นสถานการณ์จริง (Realtime) ไม่มีสูตรสำาเร็จตายตัว แต่ต้องประเมินจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า พันธุกรรม สุขภาพ การ จัดการ สิ่งแวดล้อม รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ด้วยนำาความรู้ทาง โภชนศาสตร์ไปออกแบบสูตรอาหารและวิธีการให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ และปรับตัวตลอดเวลา ดังนั้น การจัดการอาหารและ การให้อาหาร ถือเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว วิธีการที่เคยใช้สำาเร็จ แต่อาจ นำามาใช้อีกในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้จึงต้องหาองค์ความรู้เพิ่มเติม แล้วนำามาปรับใช้เพื่อให้เห็นถึงมิติของการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น เริ่มจากการใช้โภชนาการที่เหมาะสมกับพันธุกรรม โดย พันธุกรรมถือเป็นแก่นของการผลิต จึงต้องจัดการให้พันธุกรรมแสดง ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ โดยอาจตั้งเป้าด้วยการเน้นความคุ้มค่า (Optimize) หรือ เน้นให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด (Maximize) ต่อมา คือ การจัดการที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ว่า จะจัดการวัตถุดิบอย่างไร โดยผู้ประกอบการควรมีวัตถุดิบยุทธศาสตร์ชองฟาร์ม เพื่อใช้เป็น แต้มต่อในการดำาเนินธุรกิจ จากนั้น ต้องพิจารณาเลือกใช้วัตถุดิบ ทางเลือก โดยผ่านการศึกษาวิจัยซึ่งที่ผ่านมาได้นำา ผลพลอยได้จาก อุตสาหกรรมอาหารมาใช้ แต่ต้องหาวิธีการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด ด้วยการโภชนาการที่แม่นยำา การทำาสูตรอาหารโปรตีนต่ำา การ เลือกใช้สารเสริม โดยเฉพาะเอนไซม์อย่างชาญฉลาด เพื่อดึงศักยภาพ การใช้ประโยชน์สูงสุด ส่วนการผสมอาหาร ที่ผ่านมาอาจให้ความสำาคัญเพียง การ ทำาให้เป็นเม็ด หรือการผสมทั่วถึง ให้ออกมาได้มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ถือเป็นสิ่งสำาคัญที่ต้องให้ความสำาคญำ สุดท้าย การจัดการฟาร์ม เพราะการจัดการอาหารมี 2 มิติคือ คุณภาพและปริมาณ โดย คุณภาพ มองที่คุณภาพสูตรอาหาร ความหนาแน่นของอาหาร วัตถุดิบที่มีคุณภาพ การผสมที่มีคุณภาพ ได้อาหารที่มีคุณภาพ ออกมา แต่การนำาอาหารนั้นไปให้สัตว์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นด้านปริมาณ คือ การให้อาหารเป็นอย่างไร ให้กินได้วันเท่าใด ถือเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน เพราะอาหารจะดีเพียงใดแต่จัดการไม่ดีสัตว์ ก็ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างเต็มที่ก็ทำาให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นโดย ไม่เกิดประโยชน์ ขณะที่พันธุกรรมถือเป็นสิ่งท้าทาย เริ่มจาก “ไก่เนื้อ” ที่ทุกวัน นี้อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 45 กรัม ปริมาณเนื้อหน้าอก เพิ่มขึ้นปีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้สารใด ๆ แต่พันธุกรรมที่พัฒนาเร็วระดับนี้ ผู้เลี้ยง พัฒนาการจัดการอาหารได้ทันกับความต้องการที่เปลี่ยนไปหรือไม่ “ไก่ไข่” ที่ปัจจุบัน ไก่ยืนกรง 1 ตัว สามารถให้ไข่ได้ทุกวัน ตลอด 100 สัปดาห์และให้ไข่ในระดับสูงได้ยาวนาน ซึ่งการที่ไก่ให้ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ไข่เพิ่มขึ้น ทำาให้น้ำาหนักไข่ลดลงฟองละ 2-3 กรัม จะแก้ไขอย่างไร หรือโครงสร้างไก่ไข่รุ่นใหม่ที่ให้ผลผลิตดีแต่ตัวเล็กลง น้ำาหนักไก่ปลด ก็ลดจาก 2 กิโลกรัม หรือเพียง 1.8-1.9 กิโลกรัมเท่านั้น “สุกร” หลังผ่านวิกฤตโรค ASF ในสุกร เพราะพันธุกรรมที่ เปลี่ยนไป หลังจากที่แม่สุกรให้ลูกดกขึ้นและมากกว่าจำานวนเต้านม และจัดการอย่างไร เพราะเมื่อลูกดก ก็จะมีลูกแรกคลอดตัวเล็ก น้ำาหนักแรกคลอดไม่ถึง 1.4 กิโลกรัม น้ำาหนักลูกที่ต่ำากว่า 1 กิโลกรัม มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ดังนั้น หากต้องการให้ลูกกลับมามากที่สุด ต้องจัดการอย่างไร สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัญหาของพันธุกรรมของหมู สมัยใหม่ ด้านการจัดการวัตถุดิบยุทธศาสตร์ต้องประมาณการณ์ราคา ปัจจุบัน ราคาในอนาคต เพราะทุกคนทราบว่า วันนี้เป็นอย่างไร แต่อนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเมื่อมีข้อมูลมากพอ ก็วิเคราะห์ได้ ยกตัวอย่าง ข้าวโพดที่เปิดปีมาราคาลงไปที่กิโลกรัมละ 9 บาท แต่ ผู้ประกอบการบางรายก็ยังรอไม่สต็อกเพราะคิดว่าราคาจะลงไปอีก ทั้ง ๆ ที่ หากมีข้อมูลก็จะทราบว่า เป็นไปไม่ได้เพราะสถานการณ์ ข้าวโพดโลกและเพื่อนบ้านไม่เอื้อ สงครามที่เกิดขึ้นนำาเข้าไม่ได้ อยู่แล้ว ราคาปรับขึ้นแน่นอน ซึ่งหากสต็อกในช่วงนั้นก็ไม่มีปัญหา แน่นอน อัตราแลกเปลี่ยนมีส่วนสำาคัญ เพราะวัตถุดิบหลายชนิดที่ต้อง นำาเข้ามา ระบบการขนส่ง นโยบายการสต็อกของฟาร์มเป็นอย่างไร ต้องปรับอย่างไร บางรายไม่สต็อก บางรายใช้นโยบายสต็อกให้น้อย ที่สุด หรือบางรายสต็อกยาว 6-12 เดือน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรปรับให้ เข้าแต่ละสถานการณ์ได้เพราะหากยึดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็อาจผิดพลาด ได้ ในโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และการนำาไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่าง ฟาร์มแห่งหนึ่ง ที่เดิมไม่เคยใช้ข้าวโพดเลย ทั้ง ๆ ที่ อยู่ใกล้แหล่งผลิต ใช้แต่ปลายข้าวมาตลอด หลังจากได้รับ แนะนำาให้ใช้ข้าวโพดจนยอมรับ และเริ่มสต็อก แม้เจอปัญหาระหว่าง จัดเก็บบ้างในช่วงแรกก็แก้ไขไป จนทุกวันนี้เก็บจริงจังจนมีกำาไร มากขึ้น และเก็บข้าวโพดที่ราคาต่ำากว่ากิโลกรัมละ 10 บาท ในช่วง ต้นฤดู จนเต็มความจุ และเมื่อเวลาผ่านไป ราคาข้าวโพดปรับขึ้น เป็นกิโลกรัมละ 13 บาท อาหารสำาเร็จรูป 1 ตัน ราคาก็ต่างกัน กิโลกรัมละ 1.50 บาท แล้ว ถือเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน ถ้าต้องการเก็บข้าวโพดก็ควรประเมิน และคัดเลือกเก็บของที่ คุณภาพดี อีกกลุ่มที่เป็นวัตถุดิบยุทธศาสตร์ เพราะข้าวโพดเป็นที่ทราบ ดีว่า ไม่เพียงพอ ก็ต้องมองไปที่ ข้าวสาลีบาร์เลย์ ที่มีให้เลือก หลากหลาย แต่ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้วิธีการนำามาใช้ เพราะ สิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบอาหารหลักในอีกซีกโลกอยู่แล้ว ดังนั้น ไม่ต้อง กังวลมากเกินไป เพราะเทคโนโลยีต่าง ๆ มีอยู่แล้วที่พร้อมนำามาปรับ ใช้ได้ทันที ยกตัวอย่าง ข้าวสาลี ที่นำาเข้ามีแบบแป้งอ่อนและ แป้งแข็ง ที่องค์ประกอบของแป้งต่างกัน ซึ่งจากประสบการณ์เมื่อมี
สัตว์เศรษฐกิจ 17 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ แป้งอ่อนมากๆ เมื่ออัดเม็ดอาหารก็อาจมีปัญหาในการใช้ประโยชน์ ตรงกันข้ามถ้าเป็นแป้งแข็งก็ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก โดยทุกครั้งที่ นำาเข้ามาก็ต้องแยกว่า เป็นแป้งอ่อนเท่าใด แป้งแข็งเท่าใด เพื่อให้ ทราบว่า สถานการณ์สินค้าเป็นอย่างไร ต้องใส่ในปริมาณเท่าใด และ อุณหภูมิในการอัดเม็ดเป็นอย่างไร ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำา ส่วนองค์ ประกอบทางโภชนะ แป้งแข็งจะมีโปรตีนสูงกว่า แป้งอ่อน 1% แต่ ชนิดชองแป้งก็ต่างกัน ซึ่งมีความแตกต่างในกระบวนการให้ความร้อน ด้วย ส่วนวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้อยู่ ทั้ง รำา รำาสาลี กากปาล์ม กากมะพร้าว กากถั่วเขียว และ DDGs ที่ทุกวันนี้ก็แย่งกันซื้อมา ผลิตอาหารหมูไก่ โภชนาการอาหารที่แม่นยำา (Precision Nutrition) คือ ความ ต้องการอาหารสัตว์ ที่เหมาะกับพันธุกรรมปัจจุบัน หากทำาไม่ได้ก็ ถือว่า ไม่แม่นยำาแล้ว อีกส่วนคือ ทำาอย่างให้อาหารมีการเผื่อ (safety margin) ให้น้อยที่สุด เพราะที่ผ่านมา มีการเผื่อรองรับกับ ความผันผวน และยิ่งเปลี่ยนมือกัน ซึ่งดั้งเดิมก็อาจไม่ทราบว่า เพราะ เหตุใดจึงทำาเช่นนั้น แต่ก็ยังทำาตามกันมา ดังนั้น เพื่อให้แม่นยำาจำาเป็น ต้องถอดสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด หากทำาได้ก็จะช่วยลดต้นทุนได้พอสมควร การประกอบสูตรอาหารโดยใช้ค่าทางโภชนะที่แท้จริงเป็นอีกวิธีการ ที่ทำากันเพิ่มขึ้น เช่น โปรตีน ก็คำานวณโดยใช้กรดอะมิโน จากค่า กรดอะมิโนที่ย่อยได้ใช้ME หรือ NE ที่หลายแห่งใช้หรือสัดส่วน ของแคลเซียมกับฟอสฟอรัส เป็นฟอสฟอรัส ที่ย่อยได้ สิ่งเหล่านี้ ทำาได้ทั้งหมด แต่ใช้ข้อมูลจากแหล่งใดมาทำา ในประเทศไทยมีคน คำานวณค่า NE ในวัตถุดิบอาหารสัตว์หรือยัง หากยังนำาข้อมูลจาก ที่ใดมาใช้ก็ไม่ทราบ แต่แล้วดีใจกับข้อมูลว่า ลดต้นทุนได้จากค่า อาหารที่ลดลง ดังนั้น หากมีข้อมูลที่แม่นยำา และใช้ผลิตสูตรอาหาร ที่แข่งขันได้ แต่จะใช้อะไร สิ่งสำาคัญ คือ การใช้ข้อมูลที่แท้จริง และแม่นยำา สิ่งเหล่านี้จึงเป็นโภชนาการที่แม่นยำาอย่างถูกต้อง โดย จุดอ่อนของโภชนาการแม่นยำาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ การ ขาดข้อมูลที่แม่นยำา ทั้ง วัตถุดิบ หรือพันธุกรรมที่เลี้ยงภายใต้สภาวะ อากาศแบบไทยก็ไม่มีจึงค่อนข้างลำาบากในการนำาข้อมูลมาปรับใช้ สำาหรับอาหารสัตวโปรตีนต่ำา สิ่งที่พบ คือ ระดับขั้นต่ำาของ กรดอะมิโนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น เพราะยิ่งจำากัดแหล่งโปรตีนใหญ่ ทำาให้ กรดอะมิโนที่จำาเป็นก็ยิ่งมีความสำาคัญ และต้องมีระดับขั้นต่ำาที่ขาด ไม่ได้จึงต้องศึกษา และในแต่ละส่วนของวัตถุดิบก็มีสิ่งที่แตกต่างกัน และยิ่งพบมากขึ้น นอกจากนั้น หากลดโปรตีนลงเรื่อย ๆ ก็อาจทำา ให้กรดอะมิโนทั่วไปกลายเป็นกรดอะมิโนที่จำาเป็น เพราะวัตถุดิบที่มี กรดอะมิโนถูกจำากัดการใช้มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็ต้องติดตามเฝ้าระวัง ให้ดีและโครงสร้างของอาหารในภาพรวม เพราะเมื่อลดโปรตีนลงแล้ว เยื่อใยหรืออะไรที่จะเพิ่มขึ้นมาแทนและมีผลต่อกายภาพอาหาร หรือไม่ การอัดเม็ดทำาได้หรือไม่ หรืออาจมีผลต่อการกินได้ของสัตว์ เช่น ทำาโปรตีนต่ำาแล้วอาหารอัดเม็ดไม่ได้เมื่อเป็นผงก็กระทบต่อการ กินได้ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ก็ต้องพิจารณาและมองให้ครบทุกมิติ เอนไซม์ในอาหารสัตว์ก็ต้องพิจารณาหน้าที่ของเอนไซม์ที่ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหาร ถือเป็น สารเสริมตัวเดียวที่ใช้แล้ว ได้กำาไรเพราะให้โภชนาการกลับมา และจากความเข้าใจ เอนไซม์ก็ จะมีประสิทธิภาพเฉพาะเช่นโปรตีเอสที่จัดการกับโปรตีนที่นำาไปใช้ ประโยชน์ไม่ได้ เช่นเดียวกับไฟเตสที่จัดการกับฟอสฟอรัส NSP เอนไซม์ ก็จัดการย่อยสิ่งที่ไม่ใช่แป้ง หรือใช้แมนลาเนสที่ใช้จัดการ กับแมนแนน แต่ขณะเดียวกัน เอนไซม์ก็มีประสิทธิภาพเสริมด้วย เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ และนำามาประมวลด้วย เพื่อให้เข้าใจการใช้เอนไซม์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดต้นทุนได้ ปัจจุบัน การให้เอนไซม์หลายชนิดรวมกันแล้วจะมีผลช่วยกัน ทำาให้การย่อยทั้งหมดดีขึ้นอีกหรือไม่ เพราะในโครงสร้างอาหารมี ผนังเซลล์ ถ้าทำาลายได้ ก็มีโอกาสที่ส่วนอื่นจะถูกนำามาใช้ประโยชน์ ได้อีก สิ่งเหล่านี้ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม และในอนาคตมีการนำาเทคโนโลยี เข้ามาใช้เพิ่มขึ้น เพราะทุกวันนี้มีเครื่องจำาลองการย่อยอาหารในสัตว์ ได้แล้ว หากป้อนข้อมูลของวัตถุดิบอาหารที่ใช้ก็สามารถประเมินว่า มีเอนไซม์ใดบ้างที่ใช้ในการย่อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ควรมีช้อมูลมากขึ้น การใช้เอนไซม์ร่วมกันแทนที่จะใส่เป็น ตัว ๆ ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทาย กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ ทั้งการผลิตที่สม่ำาเสมอ และ อัดเม็ด ต่อไปก็ต้องให้ความสำาคัญกับความร้อนที่มีผลต่อเยื่อใยที่ไม่ ละลายน้ำา เพราะอุณหภูมิที่เหมาะสม สามารถเปลี่ยนเยื่อใยที่ไม่ ละลายน้ำากลายเป็นเยื่อใยที่ละลายน้ำา และ NSP เอนไซม์สามารถ ย่อยได้หรือข้าวสาลีแป้งแข็งและแป้งอ่อน จะจัดการอย่างไร เช่น มันสำาปะหลัง ควรเป็นอย่างไร และสิ่งสำาคัญ คือ แป้งที่มีอะมิโน แพกตินสูง และมีสายสั้น ดังนั้น อุณหภูมิที่จะใส่เข้าไปมีผลต่อการ ใช้ประโยชน์ได้ของแป้ง ถือเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป สุดท้าย การให้อาหาร ยกตัวอย่าง ข้าวโพดหากโม่ใหญ่ก็จะ ชอบกิน กระตุ้นการกินได้แต่การเลี้ยงในกรงละ 5 ตัว มีพื้นที่กิน 3 ตัว ก็กลายเป็นเวลาไก่แต่ละตัวได้อาหารไม่เท่ากัน มีผลต่อผลผลิต ทันทีทำาให้สีไข่ไม่สม่ำาเสมอ เพราะว่า การโม่ข้าวโพดเม็ดใหญ่ ทำาให้ ไก่กินดีขึ้น ซึ่งจริง แต่ไก่ก็จะเลือกกินทำาให้ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ก็ต้องแก้ไขด้วยการให้อาหาร ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ปัจจัยนอกเหนือการควบคุมมากขึ้น เรื่อย ๆ การทำาโภชนาการอาหารสัตว์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เกิดขึ้น ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ควบคุมไม่ได้ให้มากที่สุด ก็จะช่วย ให้การจัดการโภชนะได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนที่แข่งขันได้ ในที่สุด
18 สัตว์เศรษฐกิจ คาร์กิลล์ผู้ผลิตและจัดจำาหน่ายอาหารสัตว์ชั้นนำาระดับโลก และ วีพีเอฟ กรุ๊ป ผู้ผลิตและจัดจำาหน่ายเนื้อสุกรคุณภาพ ประกาศความ ร่วมมือภายใต้การลงนามข้อตกลงความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยการ ผลิตอาหารสุกรด้วยเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์ระดับโลกของ คาร์กิลล์เพื่อส่งมอบอาหารสุกรคุณภาพให้กับวีพีเอฟ จังหวัดเชียงใหม่ ในขณะที่วีพีเอฟจะดูแลตลอดห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตเนื้อสุกรเพื่อ ส่งมอบเนื้อสุกรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยโภชนาการอาหารและปลอดภัยให้ กับบริโภคชาวไทย ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นไปเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ในด้านการยกระดับมาตรฐานโภชนาการอาหารสัตว์อย่างยั่งยืนตาม มาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดส่งผลให้สัตว์เติบโตอย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพที่ดีซึ่งจะช่วยให้วีพีเอฟสามารถพัฒนาภาพรวมของ ผลผลิต เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถเข้าถึงเนื้อสุกรที่ มีคุณภาพสูงและปลอดภัยสำาหรับการบริโภค ในขณะเดียวกัน คาร์กิลล์ก็สามารถเพิ่มกำาลังการผลิตอาหารสัตว์เพื่อส่งให้กับ ภาคเหนือของประเทศไทย และส่งมอบอาหารสุกรคุณภาพสูงให้กับ วีพีเอฟ ปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคเนื้อหมูไทยเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 3.91 ต่อปี1 โดยเฉพาะผู้บริโภคในเขตภาคเหนือที่มี การบริโภคเนื้อสุกรมากเป็นลำาดับที่ 2 ของประเทศรองจากภาค LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็น 18% ของจำานวนการบริโภคทั้งหมด หรือกว่า 200 ล้านกิโลกรัมต่อปี 2 ทั้งนี้เพื่อที่จะส่งเสริมคุณภาพ และความปลอดภัยในการบริโภคเนื้อสุกร จึงเป็นที่มาของความ ร่วมมือระหว่าง วีพีเอฟ และ คาร์กิลล์ ตลอดระยะเวลากว่า 42 ปีที่คาร์กิลล์ประเทศไทย ยังคงเป็น ผู้นำาในการผลิตและจัดจำาหน่ายอาหารสัตว์ชั้นนำา ความร่วมมือใน ครั้งนี้ คาร์กิลล์ นำาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ที่ได้ มาตรฐานระดับโลกของคาร์กิลล์ มาใช้ในการผลิตอาหารสุกรให้กับ วีพีเอฟ คาร์กิลล์มีการพัฒนาสูตรอาหารที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาให้ เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของสุกรในแต่ละช่วงวัยเพื่อให้สุกร ได้รับโภชนาการอาหารและทำาให้เนื้อสุกรมีคุณภาพ นอกจากนั้น คาร์กิลล์ ยังเน้นในการทำางานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด มีทีม ผู้เชี่ยวชาญจากคาร์กิลล์ช่วยแนะนำาและควบคุมคุณภาพตลอด กระบวนการผลิต ก่อนส่งมอบสินค้าอาหารสัตว์แก่ วีพีเอฟ สำาหรับ การเลี้ยงดูสุกรภายใต้ระบบการรักษาสุขอนามัยที่ดีเพื่อให้สุกรเติบโต อย่างสมบูรณ์และปลอดภัย ส่งผลให้เนื้อหมูมีคุณภาพสูงเหมาะแก่ การบริโภค นายอัครฤทธิ์ บุญทวี กรรมการบริษัท คาร์กิลล์สยาม จำากัด กล่าวว่า “คาร์กิลล์มุ่งมั่นในการเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมกระบวนการ ผลิตอาหารสัตว์ที่ได้มาตรฐานระดับโลก ตอกย้ำาความเป็นผู้นำาใน Cargrill จับมือ VPF ยกระดับอาหารสัตว์ พัฒนาเนื้อหมูคุณภาพสู่ผู้บริโภคไทย
สัตว์เศรษฐกิจ 19 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรมและความสามารถของเราในการใช้ประโยชน์จากองค์ ความรู้และประสบการณ์ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเพิ่มผลผลิตได้ สูงสุดผ่านผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ปรับแต่งโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เพียงช่วย ส่งเสริมการเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้สัตว์มีสุขภาพดีและ แข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการจัดหาเนื้อสุกร คุณภาพสูงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานอาหารหลักให้กับประชากรไทย ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง” นายวรพงศ์ จีรประภาพงศ์ ผู้อำานวยการสำานักธุรกิจเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำากัด กล่าว ว่า “ในการร่วมมือกันระหว่าง VPF กับ Cargill ในครั้งนี้เกิดจาก วิสัยทัศน์และแนวทางการดำาเนินงานที่สอดคล้องกันในด้านคุณภาพ และมาตรฐานในทุกกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้อาหารที่ปลอดภัย VPF ยึดถือเรื่องคุณภาพเป็นสำาคัญมาโดยตลอด ได้มีการพัฒนาห่วงโซ่ การผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสร้างการเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง เรามุ่งเน้นการดำาเนินธุรกิจที่ดูแลและใส่ใจกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำาไปจนถึงปลายน้ำา เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ ที่ดีสำาหรับการผลิตอาหารให้กับสุกรในฟาร์มของเราเองไปจนถึง กระบวนการชำาแหละตัดแต่งเนื้อสุกร การปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้คุณค่า ที่เหนือกว่ามาตรฐานและพร้อมส่งต่อให้กับผู้บริโภค ตามแนวคิด ที่ว่า “Value Beyond Standard” คุณค่าเหนือมาตรฐาน” คาร์กิลล์พร้อมเดินหน้าร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อยกระดับ มาตรฐานเนื้อสุกรไทยให้มีคุณภาพและปลอดภัย พร้อมส่งมอบให้กับ ผู้บริโภคชาวไทย คาร์กิลล์และ วีพีเอฟ ตอกย้ำาความมุ่งมั่นในการ สร้างความมั่นคงทางอาหาร พร้อมก้าวสู่การทำาธุรกิจสีเขียวผ่านการ ดำาเนินธุรกิจโดยคำานึงถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนทั่วโลก สัตว์และ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป เกี่ยวกับคาร์กิลล์ คาร์กิลล์มุ่งมั่นที่จะจัดหาอาหาร วัตถุดิบ โซลูชั่นทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อหล่อเลี้ยงโลกด้วยวิธีการที่ปลอดภัย มีความรับผิดชอบ และยั่งยืน เราได้ร่วมมือกับเกษตรกรและลูกค้า ซึ่งเป็นหัวใจสำาคัญของห่วงโซ่อุปทาน ในการจัดหา ผลิต และส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ที่มีความสำาคัญต่อการดำารงชีวิต สมาชิกในทีมกว่า 160,000 ชีวิต ร่วมด้วยสมาชิกกว่า 16,000 คนในประเทศไทย สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างมีเป้าหมาย โดยจัดหาสิ่งจำาเป็นในการดำารงชีวิตให้แก่ลูกค้าเพื่อให้ธุรกิจสามารถ เติบโต ชุมชนเจริญรุ่งเรือง และผู้บริโภคมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและ ด้วยประสบการณ์ 159 ปี ในฐานะบริษัทครอบครัว เรามองไปที่ อนาคตขณะที่ยังคงยึดมั่นในค่านิยมของเรา เราให้ความสำาคัญกับผู้คน เป็นอันดับแรก มุ่งสู่เป้าหมายที่สูงยิ่งขึ้น เราทำาในสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งใน ปัจจุบันและอนาคตที่กำาลังจะมาถึง สำาหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดู ได้ที่ Cargill.com และศูนย์ข่าวสารของเรา เกี่ยวกับ บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำากัด ฟาร์มสุกรครบวงจรบนพื้นที่กว่า 1000 ไร่ วีพีเอฟผลิตและ จัดจำาหน่ายเนื้อสุกรคุณภาพควบคุมมาตรฐานตลอดกระบวนการผลิต อาหารการเลี้ยงขุนและชำาแหละ โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ ทันสมัย สะอาด ได้มาตรฐานในระดับสากล เพราะเราดูแลใส่ใจ ทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิต ทำาให้ผลิตภัณฑ์ของวีพีเอฟมีคุณค่า เหนือมาตรฐานสามารถส่งต่อหมูคุณภาพสู่มือลูกค้าได้ แหล่งอ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม 1. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ: สถานการณ์สินค้าสุกร และแนวโน้ม ปี2567 2. รายงานสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประจำาปีพ.ศ. 2566
20 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE เมื่อพิจารณาราคาเนื้อหมู ณ วันพระที่ 3 มีนาคม 2567 สมาคมผู้เลี้ยงสุกร แห่งชาติประกาศราคารถใหญ่คละขนาดอยู่ที่ 60 บาท/กก. ลดลงจากวันพระก่อน หน้าถึง 6 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 72 บาท/กก. ตามการประเมินของ สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) หมายความว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต้องขาย หมูขาดทุนเฉลี่ยถึง 12 บาท/กก. ขณะที่หน้าฟาร์มจริง ๆ ต้นทุนของเกษตรกรส่วน ใหญ่ก็ไปไกลถึง 80 บาท/กก.แล้ว สวนทางกับราคาขายที่เกษตรกรแทบทุกพื้นที่จะ ขายหมูได้ต่ำากว่าราคาประกาศ ยิ่งเมื่อสมาคม เลือกประกาศแบบราคารถใหญ่คละขนาด ก็พบว่ามีพ่อค้าคนกลาง หลายพื้นที่ฉวยโอกาสกดราคาหมูหน้าฟาร์มซ้ำาเติมผู้เลี้ยง กดดันให้ราคาต่ำาลงไปอีก ถัดมาเพียงวันเดียวสมาคม จึงปรับเพิ่มข้อมูลราคาขายจริงรายภูมิภาคเช่นเดิมเพื่อ แก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็หวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาถูกกดราคา ท่ามกลางภาวะขาดทุน สะสมที่เกษตรกรต้องแบบรับมาตลอด 11-12 เดือนลงได้ อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ราคาหมูต่ำาเตี้ยได้ถึงขนาดนี้? คำาถามนี้มีคำาตอบที่เข้าคู่กัน ตามตำารากลไกตลาดอยู่แล้ว นั่นก็คือ เป็นเพราะปริมาณสินค้าในตลาดมีมากกว่าความ ต้องการของผู้บริโภค หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า “Oversupply” จึงเป็นสาเหตุที่ทำาให้ ราคาสินค้าตกต่ำาลง แต่อะไรทำาให้ของมีมากกว่าคนกิน? ข้อแรก : หมูเถื่อน ต้องยอมรับว่า “หมูเถื่อน” เป็นผู้ร้ายตัวจริงที่แฝงตัวเข้ามาทำาลายคนเลี้ยง หมูไทยและเศรษฐกิจชาติถูกลักลอบนำาเข้ามาในจำานวนมหาศาลหลายล้านกิโลกรัม ทั้งที่ขายเข้าตลาดไปแล้ว และที่ยังคงซ่อนตัวอยู่ตามห้องเย็นทั่วประเทศในปัจจุบัน โดยที่ผู้ร้ายค่อย ๆ ทยอยปล่อยออกสู่ตลาดในช่วงนี้ เพราะ DSI เข้าใกล้ตัวมากขึ้น จากการจับกุมผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับหมูเถื่อนในพื้นที่ปลอดอากร (Free Zone) ของ กรมศุลกากร บ้างเสียงก็ว่าเป็นเพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อย เพิ่งยื่นฎีกาขอ เบื้องบนช่วยจัดการปัญหาหมูเถื่อน ส่งผลทางจิตวิทยาให้กลุ่มคนร้ายเกรงกลัวและ ปล่อยของเถื่อนออกมาค่อนข้างมากในช่วงนี้เพื่อหนีความผิด ราคาหมูไทยที่ตกต่ำาอย่างหนัก จึงเป็นเพราะภาครัฐไม่สามารถจัดการปัญหานี้ ให้จบลงอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ยิ่งสาวยิ่งเจอ ยิ่งสอบยิ่งพบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทุจริตคอร์รัปชั่นตลอดเส้นทางของ “ขบวนการหมูเถื่อน” ซึ่งทำาให้คดีนี้ยากขึ้น เหตุปัจจัยราคา ‘หมู’ ไปไม่ถึงต้นทุน
สัตว์เศรษฐกิจ 21 ยิ่งปล่อยให้ขบวนการนี้ลอยนวลอยู่ต่อไปอีกนานแค่ไหน หมูไทยก็คงต้องใช้เวลานาน เท่านั้นกว่าจะลืมตาอ้าปากพ้นภาวะขาดทุนไปได้ ข้อสอง : ซัพพลายเข้าใกล้ภาวะปกติแต่ดีมานด์ต่ำา นอกเหนือจากปริมาณหมูเถื่อนในตลาดที่เป็นตัวการทำาให้เกิดภาวะ Oversupply แล้ว การเร่งเพิ่มผลผลิตในช่วงหลังเกิดโรคระบาด ASF เพื่อให้ทันความต้องการ บริโภค การเลี้ยงหมูหนึ่งรุ่นใช้เวลาประมาณ 6 เดือน กว่าปริมาณผลผลิตจะเข้าสู่ ภาวะปกติที่ 18-19 ล้านตัวต่อปีได้ ก็ต้องใช้เวลา 1-2 ปีซึ่งก็หมายถึงในช่วงนี้ ซัพพลายหรือปริมาณผลผลิตกำาลังเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อปริมาณผลผลิตเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ความต้องการบริโภค ยังไม่ปกติ สภาพเศรษฐกิจไม่เอื้อให้เกิดการบริโภคมากนัก อัตราการบริโภคช่วง ตรุษจีนก็น้อยกว่าที่ควรจะเป็น รวมถึงจำานวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีมากขึ้นเท่ากับ ช่วงก่อนโควิด ก็ยังเข้ามาไม่ถึงเป้าหมาย ทำาให้ซัพพลาย-ดีมานด์ไม่สมดุล เป็นอีก เหตุการณ์สะสม ซ้ำาเติมให้ราคาหมูตกลงอย่างเห็นได้ชัด ข้อสาม : ขาดการรณรงค์บริโภค การเพิ่มการบริโภคจะเป็นอีกทางที่ช่วยทำาให้ปริมาณหมูลดลง เนื่องจากที่ ผ่านมาในช่วงหน้าหนาว หมูโตเร็วกว่าช่วงหน้าร้อน ปริมาณหมูจึงออกสู่ตลาดเร็ว ขึ้น หากห้างสามารถกำาหนดราคาขายปลีกให้เหมาะสม ก็จะช่วยเพิ่มการบริโภคได้ และส่งผลดีในระยะถัดไป เนื่องจากขณะนี้กำาลังเข้าสู่ช่วงหน้าร้อน หมูจะโตช้าลง ปริมาณหมูออกสู่ตลาดจะน้อยลง ดังนั้น ราคาก็อาจปรับตัวขึ้นได้ ตามกลไกตลาด ขณะที่ต้นทุนเกษตรกรเริ่มลดลงจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง เกษตรกรก็จะมี โอกาสทำากำาไร ลดขาดทุนสะสมลงได้ การตรึงราคาปลีกห้างไม่ให้ลงตามภาวะ อาจดูเหมือนช่วยเกษตรกรพยุงราคา รับซื้อหมู แต่ในทางกลับกัน หากห้างค้าปลีกขายได้น้อยลง ก็จะทำาให้ปริมาณหมู คงเหลือในตลาดมากขึ้นและกดดันราคาให้ลงอยู่ดีดังนั้น รัฐควรใช้กิจกรรมรณรงค์ บริโภคเป็นตัวช่วย เช่น ปรับราคาขายให้สมดุลตามซัพพลาย-ดีมานด์รวมถึงส่งเสริม การส่งออก เพราะราคาหมูเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม ลาว กัมพูชา เริ่มสูงขึ้นมากแล้ว กิจกรรมจำาหน่ายหมูหัน เพื่อตัดวงจรการนำาลูกหมูเข้าเลี้ยงจำานวน 4.5 แสน ตัว ภายใน 90 วัน หรือเฉลี่ยวันละ 5,000 ตัว โดยส่วนหนึ่งใช้ช่องทางห้างค้าปลีก จัดจำาหน่ายหมูหันเหล่านี้ให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารนั้น ก็นับเป็นแนวทางที่ดีที่ จะลดการ Oversupply และกระตุ้นการบริโภคไปพร้อมกัน ซึ่งจะเห็นผลในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ปัจจุบันคนไทยจะบริโภคเนื้อหมูเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 5 หมื่นตัว แต่ปริมาณผลผลิต มีมากถึง 5.8 หมื่นตัว จึงอยากให้มีกิจกรรมเชิญชวนคนไทยช่วยกันบริโภคผลผลิต ส่วนที่เกินอยู่ ทั้งเพื่อช่วยเกษตรกรขายของได้มากขึ้นและเพื่อให้ผู้บริโภคได้ รับประทานเนื้อหมู โปรตีนชั้นดีที่ในช่วงนี้ที่มีราคาถูก ว่าแล้ววันนี้พวกเรากินหมูรึยัง? … หมูปิ้ง หมูกระทะ หมูชาบู ก๋วยเตี๋ยว หมูตุ๋น กะเพราหมูไข่ดาว หรือต้มยำาขาหมู… สารพัดเมนูหมูมีให้เลือกสรรมากมาย ขออย่างเดียว ร้านอาหารต่าง ๆ อย่ารับซื้อ “หมูเถื่อน” มาปรุงให้ลูกค้าเบียดตลาด หมูไทยก็แล้วกัน ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์
22 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE หลังจากธุรกิจการเลี้ยงสุกรไทย ต้องเผชิญกับวิกฤตที่ถาโถม เข้ามา ทั้ง โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร, การลักลอบนำาเข้าหมูเถื่อน, ต้นทุนการผลิตสูงตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และปัญหาราคาตกต่ำา ส่งผลให้ผู้เลี้ยงสุกรประสบปัญหาชขาดทุนอย่างหนัก จนหลายราย ถอดใจจนต้องออกจากธุรกิจนี้ไป ถือเป็นความท้าทายของเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ต้องการอยู่ในธุรกิจนี้ต่อไป โดยเฉพาะการเลือก ใช้สายพันธุ์ที่ถือเป็นจุดตั้งต้นของการผลิต รศ.ดร.เนรมิต สุขมณี ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำาแพงแสน เผยว่า จากการพัฒนาสายแม่ให้ลูกดก และหย่านมให้ มากที่สุด เป็นสิ่งที่ทุกฟาร์มต้องการอยู่แล้ว แต่ในประเทศไทยการ เลี้ยงการจัดการที่ต่อให้นำาพันธุกรรมลูกดกมาแล้วแต่สุดท้ายก็หย่านม เท่าเดิม ดังนั้น ทุกฟาร์มควรมองที่น้ำาหนักแรกเกิด หรือน้ำาหนัก ครอกแรกเกิด ว่า เป็นเท่าใด โดยหากเป็นหมูสาวไม่ควรต่ำากว่า 18 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นแม่นางควรไม่ต่ำากว่า 20 กิโลกรัม สิ่งเหล่านี้จะ เป็นตัวบอก หากลูกมาก 20 ตัว น้ำาหนักก็เหลือเพียง 1.2-1.3 กิโลกรัม ก็เป็นสิ่งที่ทำาให้เกิดความแตกต่างว่า จะหย่าให้น้อยกว่าได้ หรือไม่ แต่ถ้าเลี้ยงหมูสาวผสมที่น้ำาหนัก 150-160 กิโลกรัม ก็มี โอกาสได้ลูกดกขึ้นและมีน้ำาหนักแรกเกิดเกิน 20 กิโลกรัมได้ ก็มี โอกาสรอดได้มากขึ้น อีกส่วนที่ต้องการ คือ ประสิทธิภาพการผลิต ทั้ง ADG FCR ซึ่งสิ่งที่สำาคัญต่อการเลี้ยงสุกรมาก คือ FCR โดยอาจไม่ต้องสนใจ ราคาหมูมากนัก แต่ต้องยอมรับว่า เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ หากใส่ใจ มากเกินไปก็อาจละเลยสิ่งสำาคัญ ที่ควรสนใจ คือ ทำาอย่างไรให้ต้นทุน ต่ำา หากเราอยู่ไม่ได้จะทำาอย่างไรให้อยู่ได้ มาพิจารณาว่า สิ่งที่ทำาอยู่ ในปัจจุบันดีแล้วหรือไม่ หรือจำาเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และให้มองว่า โอกาสที่จะได้กำาไรตัวละ 500-1,000 บาท ให้เลิกคิดได้หรือไม่ แต่ ให้มองว่าทำาอย่างไรให้อยู่รอดไปยาว ๆ ส่วนพันธุกรรมมีให้เลือกใช้มากมาย แต่ทุกวันนี้เกษตรกรยังใช้ ศักยภาพพันธุกรรมได้ไม่ถึง 70% เลย เพราะพันธุกรรมโตได้วันละ เกือบ 1,000 กรัม FCR 2.2 แต่เกษตรกรทำาได้เพียง 2.4-2.6 โตเพียง 800-900 กรัม ก็หันมาพิจารณาดีกว่า ทำาอย่างไรให้ FCR อยู่ที่ 2.2 และอัตรการเจริญเติบโต 800-900 กรัม จะเป็นทางรอด ได้มากกว่า และต้องใส่ใจคุณภาพซากร่วมด้วย และต้องคำานึงด้วย ว่า พันธุ์สุกรต่างประเทศได้ราคาจากคุณภาพซากที่โรงฆ่า แต่ไทย ได้ราคาจากพ่อค้าที่มาซื้อที่หน้าฟาร์ม ซึ่งแตกต่างกัน ไทยหมูโต ดี FCR ต่ำาฟาร์มได้กำาไร แต่ซากดีไม่ได้เงินเพิ่มขึ้น แต่หลังจากที่ มีโรงฆ่ามากขึ้นวันหนึ่งการให้ราคาก็อาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น ควรเลี้ยงให้หมูอัตราการเจริญเติบโตสูง FCR ดี สุกรยุคใหม่... กับสายพันธุ์ที่ยั่งยืน สำาหรับคุณภาพซาก ไทยก็เริ่มให้ความสำาคัญ แต่ยังไม่มากนัก เพราะต่างประเทศ สะโพก หรือแฮม ราคาแพง แต่ไทยกลับเป็นเนื้อ ราคาถูก ต่างจากสามชั้น ไทยนำามาบดใส่มัน 30-40% ขาย ราคา ที่ประกาศส่วนใหญ่อ้างอิงจากเนื้อสะโพกทั้งหมด แต่สิ่งเหล่านี้ ต้องมอง ส่วนฮาโลเทนยีนก็เป็นสิ่งที่เรียนรู้กันมานาน ผู้เลี้ยงสุกรต่อไป การขยายตัวคงเป็นไปได้ยาก แต่ต้องพยายาม ทำาธุรกิจหลายด้าน เช่น โรงงานอาหารสัตว์ หากผลิตและขายอย่าง เดียวก็อยู่ยาก เพราะไม่มีตัวกินของตัวเอง แต่ฟาร์มบางฟาร์มมี โรงงานอาหารเองแต่ก็สู้โรงงานไม่ได้ จึงต้องมีธุรกิจหลายด้าน เพราะ ทุกวันนี้ มีร้านขายหมูที่อยู่นอกตลาดสด และเป็นรายใหม่ที่ไม่มีฟาร์ม เป็นของตัวเอง ดังนั้น หากจะพึ่งพาตัวเองและอยู่รอดได้ ก็อาจต้อง มีสังกัด หรือพันธมิตร หากต้องอยู่ได้ด้วยตัวเองแต่ไม่ใหญ่พอก็อาจ จะอยู่ยาก ซึ่งในอนาคตอาจเลี้ยงแล้วกำาไรตัวละ 2-300 บาท หรือ อาศัยโรงฆ่าหรือร้านขาย ที่ฟาร์มอาจไม่มีศักยภาพในการทำา แต่ก็ ต้องอาศัยความร่วมมือกับคนอื่น เพราะอาจทำาให้ทำาธุรกิจลำาบาก ด้าน ผศ.น.สพ.ณัฐวุฒิ รัตนวนิชโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท RMC กรุ๊ป เปิดเผยว่า จากประสบการณ์หลังพบโรค ASF ในประเทศจีน ที่มีสุกรกว่า 50% ของโลก มีสุกรเสียหายไปกว่า 30-40% ทำาให้ประเทศที่ผลิตสุกรให้จีนประเมินว่า ถ้ากำาลังการผลิต ของจีนกลับมา สุกรต้องล้นตลาดแน่นอน ซึ่งเป็นจริงตามที่คาดการณ์ ไว้ ขณะที่ประเทศไทย หลังจากที่ผ่านมาเสียหายจากโรค ASF ใน สุกรเช่นกัน แต่วันนี้กำาลังการผลิตกลับมา แม้อาจไม่เท่าเดิม แต่ที่ กลับมาส่วนใหญ่เป็นฟาร์มใหญ่ จึงคิดว่า ในช่วง 3 ปีที่กำาลังจะถึง เป็นช่วง 3 ปี ที่ฟาร์มต้องเผชิญความยากลำาบาก ต้องยอมรับว่า ราคาคงไม่กลับมาดีทะลุกิโลกรัมละ 100 บาท เหมือนกับที่ผ่านมา เพราะฉะนั้น ราคาสุกรมีทิศทางเป็นอย่างไร ซึ่งในช่วงอดีต ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ผลักดันตลาด คือ การผลิต แต่นับจาก นี้ สิ่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อตลาด คือ โครงสร้างอุตสาหกรรมที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะส่วนการขายที่คาดว่า น่าจะมีพ่อค้า คนกลางน้อยลง แต่ตรงกันกลับเพิ่มขึ้น และเริ่มมีร้านขายหมู เพิ่มขึ้น กลายเป็นคู่แข่งของลูกค้าของฟาร์มรายย่อยรายเล็กโดยตรง และยังมีห้องเย็นที่เพิ่มขึ้น จึงคิดว่า สิ่งเหล่านี้ทำาให้อุตสาหกรรมการ เลี้ยงสุกรเปลี่ยนไป ด้วยโครงสร้างที่เปลี่ยน ฟาร์มใหญ่มีขนาดใหญ่มาก การแข่งขัน ตอนนี้ประสิทธิภาพการผลิตอาจไม่ต่างกันมาก แต่กระแสเงินสด ฟาร์มเล็กสู้ไม่ได้แน่นอน ดังนั้น การทำาธุรกิจต่อไปจากนี้ไม่ง่าย แต่ ก็ไม่ได้ยากไปทั้งหมด ยังมีช่องทางให้อยู่รอด เพียงแต่ฟาร์มต้องดีพอ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำาร้านขายของตัวเอง เพราะยากเช่นกัน ที่ผ่านมามี หลายคนพยายามไปทำาร้านขาย แต่ก็ไม่ง่าย เพราะทุกวันนี้มีคนที่ไม่ เลี้ยงหมูแต่มาขายหมู ซึ่งอดีตไม่มี ซึ่งส่วนใหญ่ร้านขายเป็นแบบนี้ กลายเป็นมีคนเข้ามาในธุรกิจมากจนเกินในการค้าขาย แต่เลี้ยง เข้าออกค่อนข้างยากกว่า
สัตว์เศรษฐกิจ 23 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ หลักการในการทำาฟาร์มเป็นอย่างไร ถ้าสุดท้ายมองที่กำาไรต่อแม่ต่อปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับจำานวน สุกรขายต่อแม่ต่อปี ถ้าแยกก็มองว่า แม่พันธุ์ จำานวนลูกต่อครอกเป็นสิ่งจำาเป็น ส่วนอนุบาล ไม่ได้มองที่ ADG และ FCR เป็นหลัก แต่มองที่ % สูญเสีย ส่วนสุกรขุนมองที่ FCG เป็นหลัก เพราะดัชนีแต่ละตัวมีความสำาคัญ จากคำาพูดที่ว่า ฟุตบอล กองหน้าทำาให้ชนะ แต่ กองหลังทำาให้เป็นแชมป์ แต่การเลี้ยงสุกร จำานวนลูกต่อแม่ต่อปี ทำาให้กำาไรมากหรือน้อย แต่ ตัวที่ทำาให้อยู่รอดจริง ๆ คือ ต้นทุนในสุกรขุน หรือ FCR ซึ่งหากเป็นเจ้าของฟาร์มจะเลือก อย่างหลัง สำาหรับความสามารถในการแข่งขัน หากอยู่ที่ต้นทุนก็ต้องเก็บข้อมูลให้ได้ อาจยังไม่เริ่ม ทำาตอนนี้ แต่ก็ต้องเริ่มเก็บข้อมูลไว้ก่อน เพราะวันหนึ่งก็อาจต้องทำา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ จำาเป็นต้องลดคน เพราะเราอยู่ในประเทศที่ใช้ค่าแรงขั้นต่ำามาเป็นเครื่องมือหาเสียง ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับปัญหาค่าแรงสูงขึ้นเช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนแก่ ในประเทศเพิ่มขึ้น และกองทุนสำารองเลี้ยงชีพ เป็นสิ่งที่ฟาร์มต้องมองไว้ เพราะในอนาคตหากมี ข้อกำาหนดมากขึ้นก็เลี่ยงไม่ได้และเป็นต้นทุนในอนาคตที่ยังประเมินไม่ได้ว่า ในอีก 9-12 เดือน จะทำาอย่างไร ผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต พูลเพิ่ม เผยว่า ในมุมมองของที่ปรึกษาฟาร์ม อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพต้องดีที่สุด และประสิทธิผลก็ต้องดี โดยประสิทธิภาพ คือ ต้องทำาอย่างไรให้คุ้มการ ลงทุนที่สุด และประสิทธิผล คือ สิ่งที่ทำาต้องมีความแม่นยำาและมีคุณภาพดีที่สุด ประสิทธิภาพ และคุณภาพต้องมาด้วย เมื่อฟาร์มทำาให้ลูกดกขึ้นก็มีลูกตัวเล็กเพิ่มขึ้น ก็ต้องหาทางทำาให้รอดให้ มากที่สุด ซึ่งบางคนอาจมองว่า ราคาไม่ดี ให้คัดทิ้งลูกตัวเล็กออก แต่ที่ผ่านมาได้ยกเลิกการ คัดทิ้งลูกตัวเล็กออกมา 5 ปีแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นการทำาให้ลูกที่เกิดมาทุกตัวรอดทั้งหมด แม้ราคา จะเป็นไปอย่างไรก็ ทำาอะไรไม่ได้ เพราะทำามาเป็นอาชีพแล้วก็ต้องทำาให้ดีที่สุด เพราะเมื่อ ประสิทธิภาพดี ต้นทุนการผลิตก็ลดลง เมื่อต้นทุนลง และนิ่ง ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น คือ ทำาอย่างไรให้ฟาร์มยั่งยืน ซึ่งฟาร์มที่อยู่มานานเชื่อว่า มองในส่วนนี้ทั้งหมดแล้ว การเลี้ยงสุกรในอนาคต ในช่วงก่อนมี ASF มีการพูดถึง smart farm หรือการใช้ AI เข้า มาช่วยลดการใช้แรงงานในฟาร์มได้หรือไม่ แต่หลังจาก ASF จางหายไป สิ่งเหล่านี้ก็จางหาย ไปด้วย ก็ได้ทดลองติดตั้งแต่การนำาไปใช้จริงอาจมีข้อจำากัด โดยเฉพาะหากไม่ได้นำาไปใช้ทั้งระบบ อย่างแท้จริง เพราะบางช่วงที่ติดตั้ง เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงภายในฟาร์ม มีการแจ้งเตือน การเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิในโรงเรือนเพิ่มขึ้น ก็แจ้งให้ทราบและได้ทราบถามติดตามแก้ไข ได้ทันที ก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้ แต่ก็ยังไม่อื้ออำานวยทุกอย่าง ก็ต้องปรับและพัฒนาต่อไป หลังจากที่ระดมสมองช่วยเกษตรกรรายย่อย ซึ่งจากข้อมูลของเกษตรกรรายย่อยที่มี หลายแสน แต่มีใครเคยคิดว่าถ้าช่วยให้กลับมาได้ ก็น่าจะเป็นผลดีกับเศรษฐกิจ แต่จากภาวะ ต่าง ๆ และประสบการณ์ทำาให้ความคิดเริ่มเปลี่ยนว่า รายย่อยอาจต้องปรับและยอมรับว่า การแข่งขันกับภาคบริษัทก็คงเป็นไปได้ยาก ทั้ง เรื่องเงินทุนและตลาดที่รายย่อยก็ต้องยอมรับว่า ค่อนข้างยากในช่วงนี้ แต่ในช่วงนี้จึงบอกไม่ได้ว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร จะเหมือนไก่เนื้อหรือไม่ หรืออาจต้องมีสังกัด แต่ลึก ๆ ก็เชื่อว่า ชาวหมูคงไม่เป็นแบบนั้นทั้งหมด แต่รายเล็กที่จริง ๆ ก็ยังบอกได้ยากว่าจะอยู่อย่างไร แต่อนาคตจะดีขึ้นหรือไม่ก็บอกได้ยาก เพราะปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผันผวนตลอดเวลา หากมองย้อนปี 46 ราคาหมูเหลือ 24 บาท แต่มีการพูดคุยกันในปรับขึ้น 2 รอบก็อยู่ได้ ในฟาร์มต้องมองว่า จะทำาอย่างไรให้ฟาร์มอยู่ได้แบบยั่งยืน โดยไม่ต้องสนใจราคาขายได้หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรึกษามองว่า ทำาอย่างไรให้ต้นทุนการผลิตต่ำาที่สุดไว้ก่อน ราคาขายหน้าฟาร์มจะเป็น อย่างไรก็ต้องมองอีกเรื่อง ส่วนการทำาร้านขายก็อาจไม่ใช่ทางออกทั้งหมด เพราะวันนี้รูปแบบ ธุรกิจก็เปลี่ยนไป ก็ต้องเน้นการทำาฟาร์มให้ดีที่สุด มองตัวเองว่า ทำาได้ดีที่สุดรหรือยัง และต้อง มองสภาพแวดล้อม เพื่อนบ้านว่า เป็นอย่างไรและทำาอะไรเป็นแล้วก็ต้องแลกเปลี่ยนกัน เพื่ออยู่ ร่วมกันได้
24 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติมั่นใจหน่วยงานภาครัฐเดินหน้า ปราบหมูเถื่อน ยกระดับราคาในประเทศเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไม่ช้า พร้อมขอความร่วมมือร้านค้าปลีก-ค้าส่งเนื้อหมู ซื้อหมูไทยและ แจ้งเบาะแสหมูเถื่อน หวังลดปริมาณเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย แก้ปัญหา ราคาตกต่ำา และขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิตตามมาตรฐานอาหาร ปลอดภัย หนุนการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร แห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาสมาคมฯได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง หลังคดีหมูเถื่อนไม่มีความคืบหน้ามากว่า 1 เดือน พร้อม ตั้งคำาถามถึง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ในฐานะกำากับดูแลกรมศุลกากรโดยตรง คดีหมูเถื่อนในช่วงหลังมานี้ไม่มีความคืบหน้า คล้าย ๆ เจอ อิทธิพลเข้าจึงหยุดชะงักไปดื้อ ๆ ขณะเดียวกัน DSI ก็ค้นพบวิธีการ ขนถ่ายหมูเถื่อน เพื่อกระจายขายในจังหวัดต่าง ๆ โดยอาศัยการ ขอพื้นที่พิเศษที่เรียกว่า “เขตปลอดอากร” ในหลายจังหวัด เช่น จ.นนทบุรีจ.ระยอง มาเป็นพื้นที่ในการขนย้ายถ่ายเท จากนั้นตบตา เจ้าหน้าที่ด้วยการส่งตู้เปล่าทำาทีว่าส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านแล้ว กรณีเช่นนี้ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ขบวนการหมูเถื่อนที่กรม ศุลกากร ผู้ให้อนุญาตพื้นที่ฟรีโซนต้องตอบเกษตรกรให้ได้ ผู้เลี้ยงหมู มั่นใจรัฐเดินหน้าแก้ปัญหาหมูเถื่อนถูกทาง ทั้งนี้ เขตปลอดอากร (Free Zone) ในเว็บไซด์กรมศุลกากร ระบุว่าหมายถึงพื้นที่ที่กำาหนดไว้เพื่อประโยชน์ทางอากรศุลกากรใน การประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็น ประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งเขต ปลอดอากรสามารถยื่นเรื่องขออนุญาตได้ และต้องได้รับใบอนุญาต จากอธิบดี ในทางปฏิบัติจะมีลักษณะเหมือนการนำาสินค้าเข้ามายัง โรงงานหรือพื้นที่ที่ขออนุญาตไว้เพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า แล้ว ส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าและขาออก แต่กรณีของ “หมูเถื่อน” พบพฤติการณ์ว่าไม่มีการแปรรูป ใด ๆ แต่จะใช้พื้นที่ฟรีโซนที่ขออนุญาตจากกรมศุลกากร เป็นพื้นที่ ถ่ายเทของ โดยจะมี “กองทัพมด” ทยอยขนหมูเถื่อนออกจาก ตู้คอนเทนเนอร์ ไปเก็บตามห้องเย็นนอกเขตปลอดอากรเพื่อเตรียม ส่งให้ลูกค้าในประเทศไทย ขณะเดียวกันเมื่อขนถ่ายหมดแล้วจะทำาที เป็นส่ง “ตู้คอนเทนเนอร์เปล่า” ข้ามแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เสมือนมีสินค้าอยู่ข้างใน แล้วค่อยเวียนตู้เปล่ากลับมาไทยอีกครั้ง ทุกขั้นตอนมีเจ้าหน้าที่รู้เห็นเป็นใจ ดังปรากฏในบัญชีส่วยที่ DSI ยึดได้ หมูเถื่อนกัดกินหมูไทยมากว่า 2 ปีสร้างความเดือดร้อนแสน สาหัสให้ประเทศไทย จำานวนของผิดกฏหมายที่ลักลอบเข้าประเทศ
สัตว์เศรษฐกิจ 25 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ มาอย่างมหาศาล เป็นอีกตัวแปรสำาคัญในการกดดัน GDP ปีที่แล้ว ของประเทศให้เติบโตต่ำาเพียง 1.8% จึงอยากขอวอนท่านนายก เศรษฐาลงมากำากับดูแลคดีนี้อย่างใกล้ชิดด้วยตนเองอีกครั้ง เพื่อกำาจัด ขบวนการนี้ให้สิ้นซากเสียที กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันตก โอดผู้เลี้ยงหมูขาดทุน หนัก เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำารวจ สน.พระราชวัง ขอให้พาไปยื่น ถวายฎีกา แก้หมูเถื่อน-ต้นทุนอาหารสัตว์ หลังร้องเรียนมาหลาย หน่วยงานไม่คืบหน้า นายมานะพันธ์ ชัยเมธสิทธิ์ ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ภาคตะวันตก เปิดเผยว่า วันนี้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยขอเข้าพบเจ้าหน้าที่ ตำารวจ สถานีตำารวจนครบาลพระราชวัง เพื่อให้ช่วยดำาเนินการ ส่งหนังสือขอพระราชทานกราบบังคมทูลถวายฎีกา เพื่อให้ดำาเนินการ เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้เลี้ยงหมูรายย่อยทั้งประเทศ ที่ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหมูเถื่อน และต้นทุนอาหาร สัตว์แพง ทำาให้ปัจจุบันยังขายหมูขาดทุน เนื่องจากในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและ กลุ่มผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือข้อร้องเรียนต่อกรม ปศุสัตว์ กรมศุลกากร สำานักงานตำารวจแห่งชาติกรมสอบสวนคดี พิเศษ และสำานักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า เพื่อให้ดำาเนิน การแก้ไข ทั้งการปราบปรามหมูเถื่อน ลดการแข่งขันด้านราคา จำาหน่ายในประเทศ และส่งเสริมด้านการลดต้นทุนอาหารสัตว์ตลอด จนได้รวมตัวกันครั้งใหญ่บริเวณหน้าทำาเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งได้คำามั่นสัญญาว่าจะเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว แต่จนถึง ขณะนี้การดำาเนินการของรัฐค่อนข้างล่าช้า หมูเถื่อนยังมีหลงเหลือ อยู่ในประเทศ ขณะที่การดำาเนินคดีกับผู้กระทำาผิดก็จับกุมได้แต่ รายย่อย ส่วนนายทุน นักการเมือง และข้าราชการ ขณะนี้ยังไม่มี ใครถูกดำาเนินคดี สำาหรับข้อร้องเรียนการขอยื่นถวายฎีกา ณ สำานักพระราชวัง กรณีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อน ประกอบด้วย 1. มีการลักลอบนำาเนื้อหมูเถื่อนเข้ามาในประเทศ ทำาให้ราคา หมูถูกลง กระทบต่อผู้เลี้ยงหมูรายย่อย 2. อาหารสัตว์ปรับราคาขึ้น ทำาให้ต้นทุนการเลี้ยงสูง ไม่ สามารถทำาราคาแข่งขันกับรายใหญ่ที่ผูกขาดการผลิตอาหารสัตว์ 3. การพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ในภาพรวมให้มีมาตรฐาน และระบบ ความปลอดภัยทางชีวภาพได้เหมาะสม 4. ติดตามความคืบหน้าในการดำาเนินคดีกับผู้ลักลอบนำาเข้า และผู้จำาหน่ายหมูเถื่อน อย่างไรก็ดีนายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวต่อว่า การปราบปรามหมูเถื่อนได้รับความ ร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งกรมปศุสัตว์ กรมการค้า ภายใน ตำารวจ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ที่สอบสวน ดำาเนินคดีจนได้ตัวกลุ่มนายทุนและบริษัทนำาเข้าหลายราย แต่คดียัง อยู่ในขั้นตอนสอบสวนและดำาเนินคดี จึงขอให้รัฐเร่งดำาเนินการให้ ความจริงปรากฎตามหลักฐาน เพื่อดำาเนินคดีลงโทษผู้กระทำาผิดตาม กฎหมายสูงสุด “หมูเถื่อน ทำาความเสียหายอย่างหนักกับวงการหมูไทยและ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศจากการหนีภาษี และหมูเถื่อน ขายกดราคา ทำาให้หมูไทยไม่สามารถแข่งขันได้ เพราะราคาในตลาด ต่ำากว่าต้นทุนของเกษตรกร จนต้องแบกภาระขาดทุนมานานกว่า 12 เดือน จึงเชื่อว่าความร่วมมือกันของภาครัฐทั้งการปราบปราม หมูเถื่อนและมาตรการตัดวงจรลูกหมูขุนไปทำาหมูหัน จะช่วยดึงราคา หมูให้สูงขึ้นได้” นายสิทธิพันธ์กล่าว ปัจจุบันราคาแนะนำาเฉลี่ยสุกรมีชีวิตคละขนาดของสมาคมฯ อยู่ที่ 60-70 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนของเกษตรกรคือ 80 บาทต่อกิโลกรัม เนื่องจากหมูเถื่อนยังถูกลักลอบระบายสู่ตลาด ต่อเนื่อง ประกอบกับเป็นช่วงที่ผลผลิตหมูไทยจากฟื้นฟูฟาร์มสามารถ จับออกสู่ตลาดได้พร้อมกัน ทำาให้ปริมาณหมูในตลาดมีมาก แต่ความ ต้องการยังน้อยอยู่จากเศรษฐกิจชะลอตัว และนักท่องเที่ยวไม่เข้ามา มากเท่าที่คาดการณ์ราคาจึงไม่สามารถปรับขึ้นได้ ผู้เลี้ยงหมูหวังว่า มาตรการต่าง ๆ ที่จะดำาเนินการร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ เกษตรกร และภาคธุรกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา โดยเฉพาะโครงการลดปริมาณลูกหมูขุน 450,000 ตัว เพื่อนำาไปทำา หมูหันช่วง 3 เดือนจากนี้ไป และการพิจารณาโครงสร้างต้นทุนการ ผลิตอย่างเป็นธรรม จะช่วยยกระดับราคาสุกรของไทย ให้เกษตรกร สามารถขายผลผลิตได้ในราคาคุ้มทุน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูว่าจะขายหมูได้ในราคาที่เป็นธรรม สามารถปลด หนี้สินสะสมให้หมดได้และยังคงประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง ผลิต เนื้อหมูปลอดภัยและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนไทยได้ใน ระยะยาว
26 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE บริษัท เบทาโกร จำากัด (มหาชน) หรือ “BTG” เปิดกลยุทธ์ 2024 ขับเคลื่อนธุรกิจ มุ่งสร้างการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน ด้วยการ ขยายกำาลังการผลิต ปรับพอร์ตสินค้าและช่องทางการจัดจำาหน่าย เน้นบริหารจัดการต้นทุน พร้อมเดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กร ดึงผู้บริหารวิสัยทัศน์ไกลเสริมทัพธุรกิจสร้างความแข็งแกร่ง โดย ขับเคลื่อนธุรกิจตามกรอบ ESG มุ่งสู่ความยั่งยืนทุกภาคส่วน วางเป้าหมายปี2567 เติบโต 5-10% นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำากัด (มหาชน) หรือ BTG เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ 2024 เพื่อ นำาพาเบทาโกรไปสู่ “บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำาของไทยที่มุ่งมั่น เพิ่มคุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า” โดยวาง 3 กลยุทธ์หลัก ซึ่งเป็นหัวใจในการสร้างการเติบโตที่มั่นคง และยั่งยืนให้ เบทาโกร และอุตสาหกรรมอาหาร ผ่าน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ เกษตรอุตสาหกรรม (Agro Business) กลุ่มธุรกิจอาหารและโปรตีน (Protein & Food Business) กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ (International Business) และกลุ่มธุรกิจ สัตว์เลี้ยง (Pet Business) พร้อมเสริมทัพผู้นำา ด้วยทีมบริหารที่มี ประสบการณ์และวิสัยทัศน์ไกล สร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน โดยทั้งหมดนี้เป็นการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social, Governance) กลยุทธ์ปี2024 เบทาโกร มุ่งสร้างแลนด์สเคปการทำางานใน รูปแบบใหม่ เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายผลการดำาเนินงาน 2567 เติบโต 5-10% 1) กลยุทธ์การขยายกำาลังการผลิต (Capacity Expansion) “เบทาโกร” เปิดกลยุทธ์ 2024 สร้างการเติบโตมั่นคงและยั่งยืน
สัตว์เศรษฐกิจ 27 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาทิโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานผลิต อาหารสัตว์ที่ประเทศลาว รวมทั้งขยายโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ที่จังหวัดลพบุรี เป็นต้น พร้อมการนำาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วย ยกระดับการผลิตให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิผลให้ดียิ่งขึ้น 2) กลยุทธ์ ปรับพอร์ตสินค้าและช่องทางการจำาหน่าย เพื่อเพิ่มความสามารถใน การทำากำาไร (Product & Channel Mix Adjustment) มุ่งเน้น ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาขายและอัตรากำาไรที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้และ ส่วนแบ่งการตลาด พร้อมขยายช่องทางการจัดจำาหน่าย เช่น ร้าน เบทาโกรช็อป ช่องทางฟู้ดเซอร์วิส และช่องทางการส่งออก เป็นต้น 3) กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารจัดการต้นทุน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Cost Transformation) เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มี คุณภาพและผลิตภาพ รวมถึงเพิ่มความสามารถในการทำากำาไรที่ดี ยิ่งขึ้น อาทิการผลิตปศุสัตว์และระบบการขนส่ง เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ทรานส์ฟอร์มองค์กรอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด ได้ดึงผู้บริหารที่มีประสบการณ์และวิสัยทัศน์ไกล ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจ โดยประกาศแต่งตั้ง 5 ผู้บริหารใหม่ นำาโดย “นางสาวดุลยา พวงทอง” ดำารงตำาแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานบริหารการเงิน, “นางสาว เยเนอเวียบ ศิริวรรณ ฟิเนท์” ดำารงตำาแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ กลุ่ม งานทรัพยากรมนุษย์, นายชยธร แต้ไพสิฐพงษ์” ดำารงตำาแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ กลุ่มงานกลยุทธ์และนวัตกรรม “นายสมศักดิ์ บุญลาภ” ดำารงตำาแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มผลิต ปศุสัตว์ และ “นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์” ดำารงตำาแหน่งประธาน เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพ การผลิต และซัพพลายเชน พร้อมกับวางพันธกิจดำาเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social, and Governance) กับ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การให้ความสำาคัญคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร 2) การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การพัฒนาชุมชน 4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน และ 5) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทฯ เผชิญกับความท้าทายจากปัจจัย ภายนอกหลากหลาย ทั้งสถานการณ์ราคาสุกรตกต่ำา จากการลักลอบนำาเข้าชิ้นส่วนและเนื้อสุกรจากต่างประเทศ อย่างผิดกฎหมาย ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบอาหาร สัตว์ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ส่งผลต่อผลการดำาเนินงานปี2566 โดย บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการรวม 108,638 ล้าน บาท ลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และ มีผลขาดทุนสุทธิ 1,398 ล้านบาท อย่างไรก็ดีบริษัทฯ ยังคงมี โครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง โดยสามารถบริหารอัตราหนี้สินที่มีภาระ ดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (IBD/E) อยู่ที่ 0.97 เท่าในปี 2566 และ TRIS Rating คงอันดับเครดิตที่ระดับ “A” ด้วยแนวโน้มอันดับ เครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในปัจจัย พื้นฐานที่แข็งแกร่ง ศักยภาพการดำาเนินธุรกิจและโอกาสเติบโต ของบริษัทฯ “เบทาโกร เชื่อมั่นว่าภายใต้การกำาหนดกลยุทธ์ 2024 และ ความมุ่งมั่นก้าวสู่ ‘บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำาของไทยที่มุ่งมั่นเพิ่ม คุณค่าชีวิตทุกคน ด้วยอาหารที่ดีกว่า’ จะเป็นก้าวที่สำาคัญสร้างการ เติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับเบทาโกร รวมทั้งในทุกภาคส่วน ทั้ง ผู้บริโภค พันธมิตรทางการค้า พนักงาน ชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม ที่ร่วมเติบโตและยั่งยืนไปพร้อมกับเรา” นายวสิษฐ กล่าว ทิ้งท้าย เกี่ยวกับบริษัท เบทาโกร จำากัด (มหาชน) เบทาโกร บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำาของไทย ที่มุ่งมั่นเพิ่ม คุณค่าชีวิตทุกคนด้วยอาหารที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน ดำาเนินธุรกิจ ครบวงจรครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ตั้งแต่การผลิตและ จำาหน่ายอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์และสารเสริมสำาหรับสัตว์ ปศุสัตว์ การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ และปลา และอาหารแปรรูปที่เกี่ยวข้อง สำาหรับการบริโภคใน ประเทศและส่งออกไปกว่า 20 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังมีการขยาย การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว และเมียนมา ตลอดจนการดำาเนินงานด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา การติดตาม และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ภายใต้ระบบการ จัดการคุณภาพเบทาโกร (Betagro Quality Management - BQM) รวมถึงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ขั้นสูง ที่ได้การรับรองและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล และให้ความ สำาคัญกับการดำาเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals - SDGs) และดำาเนินการภายใต้กรอบ ESG (Environmental, Social, and Governance) เพื่อมุ่งสร้างการเติบโต ที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
สรางพันธมิตรที่ยั่งยืนกับ…. ผูเชี่ยวชาญดานเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร อุปกรณฟารมปศุสัตว เวชภัณฑและสารเสร�ม สำหรับสัตว เพ��มผลผลิตดี กำไรงาม ครอบคลุมสินคาและบร�การครบวงจร เปนพันธมิตรทางธุรกิจเพ�่อความสำเร็จที่ยั่งยืน อาหารสัตว คุณภาพ บร�การทดสอบดานปศุสัตว และอาหารครบวงจร บร�การฟารมและ ที่ปร�กษาทางธุรกิจ ที่เดียวครบ… จบทุกเร�่องฟารม บร�ษัท เบทาโกร จำกัด(มหาชน) (สำนักงานใหญ) อาคารเบทาโกรทาวเวอร(นอรธปารค) 323 ถนนว�ภาวดีรังสิต แขวงทุงสองหอง เขตหลักสี่ กทม. 10210 Call Center : 1482 สรางพันธมิตรที่ยั่งยืนกับ…. ผูเชี่ยวชาญดานเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร อุปกรณฟารมปศุสัตว เวชภัณฑและสารเสร�ม สำหรับสัตว เพ��มผลผลิตดี กำไรงาม ครอบคลุมสินคาและบร�การครบวงจร เปนพันธมิตรทางธุรกิจเพ�่อความสำเร็จที่ยั่งยืน อาหารสัตว คุณภาพ บร�การทดสอบดานปศุสัตว และอาหารครบวงจร บร�การฟารมและ ที่ปร�กษาทางธุรกิจ ที่เดียวครบ… จบทุกเร�่องฟารม บร�ษัท เบทาโกร จำกัด(มหาชน) (สำนักงานใหญ) อาคารเบทาโกรทาวเวอร(นอรธปารค) 323 ถนนว�ภาวดีรังสิต แขวงทุงสองหอง เขตหลักสี่ กทม. 10210 Call Center : 1482
สัตว์เศรษฐกิจ 29 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ สัตวแพทยสมาคมฯ จับมือ FAVA เดินหน้าสุขภาพหนึ่งเดียว สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ผนึกกำาลัง องค์กรสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเซีย (The Federation of Asian Veterinary Associations : FAVA) ขับเคลื่อนแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) สู่เป้าหมายอาหารปลอดภัย สุขอนามัยที่ดีของคน สัตว์และ สิ่งแวดล้อม เพื่อความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน นายสัตวแพทย์ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศ ไทยฯ กล่าวว่า การเดินหน้านโยบาย “สุขภาพหนึ่งเดียว” เป็นแนวทางการ แก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพดีแบบองค์รวม ประกอบด้วย สุขภาพคน สุขภาพ สัตว์และสุขภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสำาคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการระบาด ของโรคที่อันตรายทั้งในคนและสัตว์ ตลอดจนเป็นกลไกเฝ้าระวังและควบคุมโรค อุบัติใหม่ อุบัติซ้ำา เช่น โรคไข้หวัดนก โรค ASF ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ของอาหารไม่เพียงแต่ประเทศไทย หรือภูมิภาคนี้แต่รวมถึงประชากรโลก ในการสัมมนาระดับภูมิภาค เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา จัดโดย FAVA และสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในหัวข้อ FAVA ’s One Health Approach on Sustainable Food Security in Asia Pacific (แนวทางสุขภาพหนึ่งเดียวกับความมั่นคงทางอาหารในเอเซียแปซิฟิค) เป็นความ ร่วมมือกันในการสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเรื่องโรคอุบัติใหม่ในคนและ ในปศุสัตว์ รวมถึงการเฝ้าระวังระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมภายใต้บริบทสุขภาพ หนึ่งเดียว ซึ่งมีความสำาคัญอย่างยิ่งในการควบคุมการระบาดของโรคที่อันตราย ทั้งในคนและสัตว์ และการดำาเนินนโยบายของภาครัฐ เอกชน และองค์การ ต่าง ๆ ในการร่วมมือกันด้านความมั่นคงของอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาค สำาหรับภาคปศุสัตว์ไทย แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” มุ่งมั่นแก้ปัญหาการ ดื้อยาต้านจุลชีพร่วมกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีการทำางานแบบบูรณาการ ร่วมกันทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และภาคสังคม ในการป้องกัน และควบคุมเชื้อดื้อยา โดยเฉพาะมีการกำากับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่าง เหมาะสมในภาคการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์(Animal Welfare) เพื่อ ส่งเสริมการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้มีความปลอดภัย (Food safety) และตรวจสอบย้อนกลับได้(Traceability) ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งจะ ส่งผลให้การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในสัตว์ให้บรรลุผล นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขี้น ต่อเนื่องทั้งในคนและในสัตว์ ซึ่งสามารถติดต่อกันได้รวมทั้งการแพร่เชื้อจากสัตว์ ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องมีความร่วมมือกันในระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก FAVA ได้เปิดสำานักงานสุขภาพหนึ่งเดียวที่เมืองฟูกูโอกะ (FAVA One Health Fukuoka Office, FOF) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ให้เป็น ศูนย์กลางความร่วมมือของสัตวแพทย์สมาชิก FAVA ที่อยู่ในสมาคมต่าง ๆ เพื่อ สุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในภูมิภาค./
30 สัตว์เศรษฐกิจ น.สพ. ยุทธ เทียมสุวรรณ ผจู้ดัการฝ่ายวิชาการ บจก. เซน็ทรลัลิส ก้าวเข้าสู่ช่วงปลายปี ช่วงนี้สภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมก าลังเปลี่ยนแปลง อาจพบฝนประปรายสลับกับลมหนาว ทั้งคน และสัตว์ในไทยนั้น อาจคุ้นเคย หรือชินกับการปรับร่างกายให้เข้ากับอุณหภูมิสูง หรืออากาศร้อนที่มีตลอดเกือบทั้งปีได้ ดีกว่า ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิลดต ่า มีลมหนาว สัตว์ก็อาจจะไม่คุ้นชิน ปรับสรีรวิทยาในร่างกายไม่ทัน เกิดความเครียด ภูมิคุ้มกัน ลดต ่าลง จึงมีโอกาสติดเชื้อใหม่ หรือเชื้อที่อาจพบแฝงอยู่ในร่างกายโดยปกติไม่ก่อโรค ก็กลับมาก่อโรคระบาดที่รุนแรงขึ้นได้ ดังตัวอย่างเช่น โรคคอบวมในโคกระบือ เป็นต้น ที่มักพบระบาดตั้งแต่ปลายฤดูฝนต่อเนื่องไปยังฤดูหนาว โรคคอบวม หรือ โรคเฮโมรายิก เซฟติซีเมีย (Haemorrhagic septicemia) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พาสทูเรลล่า มัลโต ซิดา (Pasteurella multocida) แกรมลบ รูปร่างกลม รูปแท่งหัวท้ายมน มี 5 ไทป์(A, B, D, E, F) ที่พบมากในไทยคือ ไทป์ B พบเชื้อได้ในเกือบทุกประเทศ แต่พบมากในเอเชีย แอฟริกา และเขตที่มีการเลี้ยงกระบือมากๆ โรคนี้จะระบาดได้รวดเร็ว ท าให้ เกิดการป่วยและตายจ านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบือ ส่วนโคอาจรุนแรงน้อยกว่า ส่วนแพะ แกะ สุกร ม้า อูฐ กวาง กระทิง ลิง ช้าง ก็ติดโรคได้ แต่อาการแทบจะไม่รุนแรง และโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน แบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานพอสมควร เช่น แปลงหญ้า ดินชื้นแฉะ มีรายงานว่าในแปลงหญ้าที่แห้งอาจ อยู่ได้แค่ 24 ชม. แต่หากในดินหรือทุ่งหญ้าชื้นแฉะ หรือในน ้าอาจอยู่ได้นานหลายวัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ หรือมีรายงานนาน เป็นเดือนก็ได้ แต่แบคทีเรียนี้ก็ถูกท าลายได้ง่ายด้วยความร้อน แสงแดด รวมถึงยาฆ่าเชื้อทั่วไปก็สามารถฆ่าได้ง่ายเช่นกัน แบคทีเรียจะถูกขับออกมาจากสัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อ หรือแพร่เชื้อผ่านทางสิ่งคัดหลั่ง หรือสิ่งขับถ่าย เช่น น ้ามูก น ้าลาย น ้านม อุจจาระ ปัสสาวะ และติดต่อไปสู่ตัวอื่นโดยทางการหายใจ หรือการกิน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ป่วย หรือกินเชื้อ ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น ้า หรือสิ่งปูรองนอน โดยที่โรคนี้ไม่ติดต่อผ่านแมลง ในบริเวณที่มีความชุกโรคสูง จะพบเชื้อนี้ในตัวโคกระบือได้ประมาณ 5% ของฝูง อยู่ที่บริเวณโพรงจมูก คอหอย ทอนซิล โดยไม่แสดงอาการป่วย หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นพาหะ หรือตัวเก็บกักเชื้อ แต่ในช่วงที่เกิดการระบาดขึ้นแล้ว จะพบตัว ที่เป็นพาหะนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 20% เลยก็เป็นได้ปัจจัยเสริมที่ท าให้เชื้อก่อความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือแพร่ออกมานั้นได้แก่ ภาวะ ความเครียดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ร้อนจัด หนาวจัด เคลื่อนย้ายสัตว์ ใช้แรงงานหนัก สภาพร่ายกายอ่อนแอ มีโรคอื่น พยาธิ สภาพแวดล้อมเปียกหรือชื้นแฉะ ไม่ค่อยมีแสงแดด ขาดอาหาร อาหารไม่มีคุณภาพ ได้รับวิตามินแร่ธาตุไม่ถูกต้องครบ น.สพ. ยุทธ เทียมสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายวิชาการ บจก. เซ็นทรัลลิส โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth disease, FMD) ชื่ออื่นเช่น กีบ, กลีบ, เอฟ, Aphthous fever, Epizootic aphthae, Vesicular aphthae เป็นโรคที่พบมานานมากแล้ว อาจย้อนไปถึงปี1514 และยังคงอยู่มาจนปัจจุบันนี้ก่อความเสียหายมากมายมหาศาลใน ทวีปยุโรป ยกตัวอย่างช่วงปี2001 มีการระบาดครั้งร้ายแรง ทำาลายสัตว์ไปเป็นจำานวนมาก คิดมูลค่าความเสียหายได้มากถึง 13 พันล้านยูโร หรือแม้กระทั่งในเอเชียแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ยังคงพบการระบาดอยู่เนือง ๆ ซึ่งครั้งนี้มีเหตุการณ์น่าสนใจที่จะนำามาเล่าสู่กันฟังคือ ตั้งแต่ เดือนมกราคมปีที่แล้ว 2566 องค์การอนามัยสัตว์โลก (องค์การสุขภาพสัตว์โลก) หรือชื่อเดิม องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ WOAH (World Organisation for Animal Health) ได้รายงานพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยสายพันธุ์Southern African Territories ชนิด ที่ 2 หรือ SAT2 อีกครั้งหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยก่อนหน้านี้เคยพบสายพันธุ์นี้ในทวีปเอเชียมาบ้างแล้วเมื่อปี1990, 2000 และ 2012 แถบ ตะวันออกกลาง เยเมน ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน แต่ก็ได้รับการกำาจัดจนหมดสิ้นไป มาพบอีกครั้งเมื่อปี2023 จึงถือว่าการพบสายพันธุ์นี้เป็น ครั้งแรกของทวีปเอเชียในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากจอร์แดน อิรัก แล้ว ครั้งนี้ยังพบการระบาดที่ตุรกีอีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็คาดว่า ระบาดแถบแอฟริกาเหนือที่ลิเบีย ตูนีเซีย แอลจีเรีย มาก่อนแล้ว สำาหรับเชื้อที่พบในตุรกีพบว่ามีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับเชื้อในประเทศ เอธิโอเปีย โรคนี้เกิดจากเชื้อ Aphthovirus ซึ่งเป็น RNA ไวรัส สายเดี่ยว ไม่มีเปลือกหุ้ม รูปทรง Icosahedral มีขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Picornaviridae โดยทั่วโลกพบว่าไวรัสนี้แบ่งออกเป็น 7 ซีโรไทป์ย่อยคือ O, A, Asia1, C, SAT1, SAT2 และ SAT3 ส่วนไทยและแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีรายงานอุบัติการณ์พบเพียงแค่ 3 ซีโรไทป์คือ O, A และ Asia1 (ที่ไทยไม่พบมานานแล้ว) ส่วนซีโรไทป์ SAT1, SAT2 และ SAT3 มีความพิเศษที่พบได้เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น โดยซีโรไทป์ SAT2 ที่เราสนใจในครั้งนี้ (มิใช่เป็นสายพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ เพียงแต่ใหม่สำาหรับบ้านเรา) ปกติแล้วจะระบาดเป็นโรคประจำาถิ่นของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทราย ซาฮาร่าเท่านั้น ซึ่งการระบาดออกไปยังพื้นที่ใหม่อย่างทวีปเอเชียนั้น ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาที่น่าวิตกในแง่ที่ว่า พื้นที่เหล่านี้ที่ไม่เคยมีการ ระบาดของซีโรไทป์นี้มาก่อน จึงยังไม่มีการผลิตหรือใช้วัคซีนสำาหรับซีโรไทป์นี้ ตลอดจนสัตว์ในพื้นที่ไม่เคยสัมผัสเชื้อนี้ จึงยังไม่มีภูมิคุ้มกัน มาก่อน โอกาสติดเชื้อ แพร่กระจายเชื้อ แสดงอาการป่วยจะสูงมาก เนื่องจากแต่ละซีโรไทป์จะไม่ให้ความคุ้มโรคข้ามกัน และแม้แต่ในซีโรไทป์ เดียวกันยังแบ่งออกเป็นอีกหลายโทโปไทป์หลายซับไทป์ซึ่งการให้ความคุ้มโรคข้ามซับไทป์นี้ตามหลักวิชาการเกิดได้แต่ก็ยังเป็นที่วิตกกังวล กันอยู่ว่าอาจได้ไม่ดีนัก LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE น.สพ. ยุทธ เทียมสุวรรณ ผ้จูดัการฝ่ายวิชาการ บจก. เซน็ทรลัลิส โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth disease, FMD) ชื่ออื่นเช่น กีบ, กลีบ, เอฟ, Aphthous fever, Epizootic aphthae, Vesicular aphthae เป็นโรคที่พบมานานมากแล้ว อาจย้อนไปถึงปี 1514 และยังคงอยู่มาจนปัจจุบันนี้ ก่อความ เสียหายมากมายมหาศาลในทวีปยุโรป ยกตัวอย่างช่วงปี 2001 มีการระบาดครั้งร้ายแรง ท าลายสัตว์ไปเป็นจ านวนมาก คิด มูลค่าความเสียหายได้มากถึง 13 พันล้านยูโร หรือแม้กระทั่งในเอเชียแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ยังคงพบการระบาดอยู่ เนืองๆ ซึ่งครั้งนี้มีเหตุการณ์น่าสนใจที่จะน ามาเล่าสู่กันฟังคือ ตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว 2566 องค์การอนามัยสัตว์โลก (องค์การสุขภาพสัตว์โลก) หรือชื่อเดิม องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ WOAH (World Organisation for Animal Health) ได้รายงานพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยสายพันธุ์ Southern African Territories ชนิดที่ 2 หรือ SAT2 อีก ครั้งหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยก่อนหน้านี้เคยพบสายพันธุ์นี้ในทวีปเอเชียมาบ้างแล้วเมื่อปี 1990, 2000 และ 2012 แถบตะวันออก กลาง เยเมน ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน แต่ก็ได้รับการก าจัดจนหมดสิ้นไป มาพบอีกครั้งเมื่อปี 2023 จึงถือว่าการพบสายพันธุ์นี้ เป็นครั้งแรกของทวีปเอเชียในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากจอร์แดน อิรัก แล้ว ครั้งนี้ยังพบการระบาดที่ตุรกีอีกด้วย ซึ่งก่อน หน้านี้ก็คาดว่าระบาดแถบแอฟริกาเหนือที่ลิเบีย ตูนีเซีย แอลจีเรีย มาก่อนแล้ว ส าหรับเชื้อที่พบในตุรกีพบว่ามีความใกล้เคียง ทางพันธุกรรมกับเชื้อในประเทศเอธิโอเปีย โรคนี้เกิดจากเชื้อ Aphthovirus ซึ่งเป็น RNA ไวรัส สายเดี่ยว ไม่มีเปลือกหุ้ม รูปทรง Icosahedral มีขนาดเล็ก อยู่ใน วงศ์ Picornaviridae โดยทั่วโลกพบว่าไวรัสนี้แบ่งออกเป็น 7 ซีโรไทป์ ย่อยคือ O, A, Asia1, C, SAT1, SAT2 และ SAT3 ส่วน ไทยและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีรายงานอุบัติการณ์พบเพียงแค่3 ซีโรไทป์คือ O, A และ Asia1 (ที่ไทยไม่พบมานานแล้ว) ส่วนซีโรไทป์SAT1, SAT2 และ SAT3 มีความพิเศษที่พบได้เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น โดยซีโร ไทป์ SAT2 ที่เราสนใจในครั้งนี้(มิใช่เป็นสายพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ เพียงแต่ใหม่ส าหรับบ้านเรา) ปกติแล้วจะระบาดเป็นโรคประจ า ถิ่นของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าเท่านั้น ซึ่งการระบาดออกไปยังพื้นที่ใหม่อย่างทวีปเอเชียนั้น ย่อม ส่งผลให้เกิดปัญหาที่น่าวิตกในแง่ที่ว่า พื้นที่เหล่านี้ที่ไม่เคยมีการระบาดของซีโรไทป์นี้มาก่อน จึงยังไม่มีการผลิตหรือใช้วัคซีน ส าหรับซีโรไทป์นี้ ตลอดจนสัตว์ในพื้นที่ไม่เคยสัมผัสเชื้อนี้ จึงยังไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน โอกาสติดเชื้อ แพร่กระจายเชื้อ แสดง อาการป่วยจะสูงมาก เนื่องจากแต่ละซีโรไทป์ จะไม่ให้ความคุ้มโรคข้ามกัน และแม้แต่ในซีโรไทป์ เดียวกันยังแบ่งออกเป็นอีก ทบทวนความรู้เรื่อง FMD ก่อนมีสายพันธุ์ใหม่ ทบทวนความรู้เรื่อง FMD ก่อนมีสายพันธุ์ใหม่
สัตว์เศรษฐกิจ 31 โรคนี้เกิดได้เฉพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้อง และสัตว์กีบคู่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ควายป่า กวางตระกูลต่างๆ ช้าง อูฐ ยีราฟ โรคนี้ติดต่อกันค่อนข้างง่าย เนื่องจากมีความทนทานสูง ไวรัสนี้ในทุกซีโรไทป์รวมถึง SAT2 ทนต่อ pH ช่วง 6-9 ทนความเย็น ถูกทำาลาย เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 50 ำC ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผลดีได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เปอร์ออกซิเจน ฟีนอล คลอรีน ฟอร์มาลิน กลูตาราลดีไฮด์ QAC เป็นต้น ที่สำาคัญไวรัสคงอยู่ในกล้ามเนื้อ น้ำานม และผลิตภัณฑ์ที่แช่เย็นได้นานหลายเดือน นอกจากทนทานสูงแล้วยังแพร่กระจายติดต่อ ง่ายอีกด้วย ไวรัสจะออกมากับสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่ติดเชื้อเป็นพาหะ หรือสัตว์ป่วย เช่น ของเหลวจากตุ่มใส แผลเปื่อย น้ำามูก น้ำาลาย ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำานม น้ำาเชื้อ ติดต่อไปยังสัตว์ที่มีความไวรับสูง คือไม่มีภูมิคุ้มโรคจำาเพาะกับซีโรไทป์นั้น ซึ่งก็จะเกิดขึ้นแน่นอน หากซีโรไทป์SAT2 เข้ามาในบ้านเราช่วงแรก สัตว์จะได้รับเชื้อทางตรงผ่านทางการสัมผัส บาดแผลที่เกิดเองหรือจากการตัดเขี้ยวหูหางเขา การหายใจเอาอากาศ ที่มีไวรัสอยู่เข้าไป การกินน้ำาหรืออาหารหรือน้ำานมที่มีไวรัสปนเปื้อนอยู่ การผสมเทียม จากแม่สู่ลูก และยังได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านยานพาหนะ คน เสื้อผ้า รองเท้า วัสดุ อุปกรณ์ เข็มฉีดยา เครื่องมือเครื่องใช้สิ่งแวดล้อม สัตว์พาหะ หรือผลิตภัณฑ์อาหารปนเปื้อนเชื้อที่นำาเข้ามาใน ฟาร์ม เชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน เริ่มด้วยอาการไข้สูง นอนสุม ซึม เบื่ออาหาร น้ำาลายไหลยืดเป็นฟองหรือโฟม เกิดเม็ดตุ่มพองใส บริเวณส่วนปาก จมูก ลิ้น คอหอย เหงือก เพดาน เต้านม หัวนม ปากช่องคลอด ถุงอัณฑะ ไรกีบ พื้นเท้า หลังเกิดภายใน 24 ชม. ตุ่มใสจะแตกออก เป็นแผลสดหลุมตื้นสีแดงมีเลือดออก จากนั้นจะกลายเป็นแผลเปื่อย เนื้อเยื่อหลุดลอก โดยเฉพาะในช่องปาก อุ้งเท้า และ ซอกกีบ สัตว์จะมีอาการเจ็บปวดมาก นอนร้อง ไม่ค่อยลุก เจ็บขา ยืนลำาบาก เดินกระเผลกหลังโก่ง กรณีรุนแรงอาจถึงขั้นกีบเปื่อยหลุด มีเลือดออก หรือติดเชื้อแทรกซ้อนมีหนอง ในสุกรมักพบรอยโรคที่กีบมากกว่า ส่วนโคมักเจอรอยโรคที่ปากมากกว่า ในลูกสัตว์เกิดใหม่จะพบ อัตราการตายสูงถึง 50% จากภาวะเสื่อมและอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจวาย เห็นเป็นรอยแถบริ้วสีขาวแกมเทากระจายทั่วผิวกล้ามเนื้อ หัวใจด้านนอก เรียกว่า Tiger heart สัตว์อุ้มท้องมักแท้งจากไข้สูง น้ำานมลด น้ำาเชื้อพ่อพันธุ์เสื่อมคุณภาพ สัตว์ที่โตแล้วมักหายได้เอง อัตรา การตายไม่สูง วินิจฉัยโรคจากประวัติอาการ วิการรอยโรคที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ควรทำาการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อ แยกแยะจากโรคที่ทำาให้เกิดตุ่มพองใสอื่น ๆ หรือส่งตรวจเพื่อยืนยันซีโรไทป์อันเป็นประโยชน์ในแง่ระบาดวิทยาว่าซีโรไทป์SAT2 ได้อุบัติขึ้น ในไทยหรือยัง ยังผลดีต่อการควบคุมป้องกัน และใช้วัคซีนต่อไปในอนาคต สิ่งที่ควรส่งตรวจได้แก่ ตุ่มพองหรือน้ำาใสที่เกิดใหม่ ๆ แช่ใน 50% glycerin buffer 4-7 ำC ไม่มีการรักษาที่จำาเพาะสำาหรับโรคนี้ ให้รักษาตามอาการเพื่อควบคุมการติดเชื้อแทรกซ้อน นิยมให้ยาต้านจุลชีพทั้ง แบบกินและฉีด เช่น เพนิซิลลิน ซัลฟา OTC ร่วมกับรักษาบาดแผลโดยใช้เจนเชียนไวโอเลต หรือไอโอดีนทาแผล จุ่มหรือพ่นกีบด้วยจุนสี ด่างทับทิม หรือฟอร์มาลินเจือจาง ฆ่าเชื้อในคอกในสิ่งแวดล้อมด้วยโซดาไฟ ปูนขาว อย่างไรก็ตามในสัตว์ที่มีอาการหนักนิยมคัดทิ้งหรือทำาลาย มากกว่ารักษา เนื่องจากช่วยลดปริมาณของไวรัสได้มาก และทำาให้ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น ในช่วงสัตว์ป่วยสุขภาพจะทรุดโทรมมาก น้ำาหนักลด แม้รักษาหายก็มักจะพิการเรื้อรัง ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนาน มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตอย่างถาวร จึงต้องประเมินความคุ้มค่า ต่อการรักษา ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ หลายโทโปไทป์ หลายซับไทป์ ซึ่งการให้ความคุ้มโรคข้ามซับไทป์ นี้ตามหลักวิชาการเกิดได้ แต่ก็ยังเป็นที่วิตกกังวลกันอยู่ว่า อาจได้ไม่ดีนัก โรคนี้เกิดได้เฉพาะในสัตว์เคี้ยวเอื้อง และสัตว์กีบคู่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ควายป่า กวางตระกูลต่างๆ ช้าง อูฐ ยีราฟ โรคนี้ติดต่อกันค่อนข้างง่าย เนื่องจากมีความทนทานสูง ไวรัสนี้ในทุกซีโรไทป์ รวมถึง SAT2 ทนต่อ pH ช่วง 6-9 ทน ความเย็น ถูกท าลายเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 50 C ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้ผลดีได้แก่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เปอร์ออกซิเจน ฟีนอล คลอรีน ฟอร์มาลิน กลูตาราลดีไฮด์ QAC เป็นต้น ที่ส าคัญไวรัสคงอยู่ในกล้ามเนื้อ น ้านม และผลิตภัณฑ์ที่แช่เย็นได้นานหลาย เดือน นอกจากทนทานสูงแล้วยังแพร่กระจายติดต่อง่ายอีกด้วย ไวรัสจะออกมากับสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่ติดเชื้อเป็นพาหะ หรือ สัตว์ป่วย เช่น ของเหลวจากตุ่มใส แผลเปื่อย น ้ามูก น ้าลาย ปัสสาวะ อุจจาระ น ้านม น ้าเชื้อ ติดต่อไปยังสัตว์ที่มีความไวรับสูง คือไม่มีภูมิคุ้มโรคจ าเพาะกับซีโรไทป์ นั้น ซึ่งก็จะเกิดขึ้นแน่นอน หากซีโรไทป์ SAT2 เข้ามาในบ้านเราช่วงแรก สัตว์จะได้รับ เชื้อทางตรงผ่านทางการสัมผัส บาดแผลที่เกิดเองหรือจากการตัดเขี้ยวหูหางเขา การหายใจเอาอากาศที่มีไวรัสอยู่เข้าไป การ กินน ้าหรืออาหารหรือน ้านมที่มีไวรัสปนเปื้อนอยู่ การผสมเทียม จากแม่สู่ลูก และยังได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านยานพาหนะ คน เสื้อผ้า รองเท้า วัสดุ อุปกรณ์เข็มฉีดยา เครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม สัตว์พาหะ หรือผลิตภัณฑ์อาหารปนเปื้อนเชื้อที่น าเข้า มาในฟาร์ม เชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 2-7 วัน เริ่มด้วยอาการไข้สูง นอนสุม ซึม เบื่ออาหาร น ้าลายไหลยืดเป็นฟองหรือโฟม เกิด เม็ดตุ่มพองใสบริเวณส่วนปาก จมูก ลิ้น คอหอย เหงือก เพดาน เต้านม หัวนม ปากช่องคลอด ถุงอัณฑะ ไรกีบ พื้นเท้า หลัง เกิดภายใน 24 ชม. ตุ่มใสจะแตกออก เป็นแผลสดหลุมตื้นสีแดงมีเลือดออก จากนั้นจะกลายเป็นแผลเปื่อย เนื้อเยื่อหลุดลอก โดยเฉพาะในช่องปาก อุ้งเท้า และซอกกีบ สัตว์จะมีอาการเจ็บปวดมาก นอนร้อง ไม่ค่อยลุก เจ็บขา ยืนล าบาก เดินกระเผลก หลังโก่ง กรณีรุนแรงอาจถึงขั้นกีบเปื่อยหลุด มีเลือดออก หรือติดเชื้อแทรกซ้อนมีหนอง ในสุกรมักพบรอยโรคที่กีบมากกว่า ส่วนโคมักเจอรอยโรคที่ปากมากกว่า ในลูกสัตว์เกิดใหม่จะพบอัตราการตายสูงถึง 50% จากภาวะเสื่อมและอักเสบของ กล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจวาย เห็นเป็นรอยแถบริ้วสีขาวแกมเทากระจายทั่วผิวกล้ามเนื้อหัวใจด้านนอก เรียกว่า Tiger heart สัตว์ อุ้มท้องมักแท้งจากไข้สูง น ้านมลด น ้าเชื้อพ่อพันธุ์เสื่อมคุณภาพ สัตว์ที่โตแล้วมักหายได้เอง อัตราการตายไม่สูง วินิจฉัยโรคจากประวัติ อาการ วิการรอยโรคที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ควรท าการส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ เพื่อแยกแยะจากโรคที่ท าให้เกิดตุ่มพองใสอื่นๆ หรือส่งตรวจเพื่อยืนยันซีโรไทป์ อันเป็นประโยชน์ในแง่ระบาด วิทยาว่าซีโรไทป์ SAT2 ได้อุบัติขึ้นในไทยหรือยัง ยังผลดีต่อการควบคุมป้องกัน และใช้วัคซีนต่อไปในอนาคต สิ่งที่ควรส่งตรวจ ได้แก่ ตุ่มพองหรือน ้าใสที่เกิดใหม่ๆ แช่ใน 50% glycerin buffer 4-7 C ไม่มีการรักษาที่จ าเพาะส าหรับโรคนี้ ให้รักษาตาม อาการเพื่อควบคุมการติดเชื้อแทรกซ้อน นิยมให้ยาต้านจุลชีพทั้งแบบกินและฉีด เช่น เพนิซิลลิน ซัลฟา OTC ร่วมกับรักษา บาดแผลโดยใช้เจนเชียนไวโอเลต หรือไอโอดีนทาแผล จุ่มหรือพ่นกีบด้วยจุนสีด่างทับทิม หรือฟอร์มาลินเจือจาง ฆ่าเชื้อใน คอกในสิ่งแวดล้อมด้วยโซดาไฟ ปูนขาว อย่างไรก็ตามในสัตว์ที่มีอาการหนักนิยมคัดทิ้งหรือท าลายมากกว่ารักษา เนื่องจาก
32 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ควรป้องกันก่อนเกิดโรคด้วยการทำาวัคซีน วัคซีนเป็นชนิดเชื้อตาย ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันก่อนเกิดโรค และ ควบคุมหลังเกิดโรคไปแล้ว จำาเป็นต้องใช้วัคซีนที่ประกอบไปด้วยทุกซีโรไทป์ ที่มีการระบาดในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งขณะนี้ในไทยอย่างน้อยที่สุดก็ จำาเป็นต้องมีO และ A ส่วน Asia1 ถ้าเป็นได้ก็ควรมีเนื่องจากยังมีการระบาดอยู่ในเอเชียแถบที่ไม่ไกลจากเราอยู่ สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันโรคหลัง ได้รับเชื้อ หรือฉีดวัคซีนไปแล้ว 3-4 สัปดาห์อยู่ได้นาน 3-6 เดือน ดังนั้นสัตว์จึงจำาเป็นต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อยปีละ 2-3 เข็ม อาจเป็น แบบปูพรม ก่อนคลอด หรือหลังคลอดก็ได้ตามความเหมาะสม ภูมิคุ้มกันจะส่งถ่ายผ่านน้ำานมเหลืองให้ลูกสัตว์ได้ภายใน 2-3 ชม.หลังดูดนม ครั้งแรก และภูมิคุ้มที่ได้รับจากแม่นี้จะอยู่ได้นาน 12-16 สัปดาห์ดังนั้นลูกสุกรจึงแนะนำาให้ฉีดหลังอายุ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป และลูกโคควร ฉีดเข็มแรกที่อายุประมาณ 16 สัปดาห์เป็นต้นไป จากนั้นอีก 3-4 สัปดาห์ให้กระตุ้นซ้ำาเข็มที่สอง และกระตุ้นซ้ำาทุกๆ 4-6 เดือน ไม่ควรใช้ วัคซีนสลับชนิดกันระหว่างสุกรและสัตว์เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากมีการใช้สื่อที่ต่างชนิดกัน ส่งผลตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ต่างกัน ในโคเป็น สื่อน้ำาควรฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในสุกรเป็นสื่อน้ำามันควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของโรคนี้เกิดจาก ต่างประเทศจะไม่ยอมรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากประเทศที่ยังมีการระบาดอยู่ จึงถือว่า เป็นไวรัสที่มีความสำาคัญมากทางเศรษฐกิจ โดยไม่พบโรคนี้ในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสแกนดิเนเวีย ความสูญเสียอื่น ๆ ยังเกิดได้จากการต้องคัดทิ้งทำาลายสัตว์ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตน้อยลง น้ำานมลด แท้ง ไม่สมบูรณ์พันธุ์ลูกสัตว์ตาย ป่วยเรื้อรัง ค่ายา รักษา ค่าวัคซีนป้องกัน ค่ามาตรการในการจัดการทุก ๆ ด้าน ค่าแรงงาน ค่าเสียโอกาสต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศอันเกิด จากการกีดกันทางการค้า เห็นได้ว่ามากมายมหาศาล กลับมาเรื่อง SAT2 กับประเทศไทยบ้าง ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานอุบัติการณ์พบซีโรไทป์นี้แต่อย่างใด แต่ดูจากรูปแบบการระบาด ของโรคอื่นเทียบเคียงแล้ว มีความน่าวิตกกังวลพอสมควร อาจคล้ายคลึงกับโรคลัมปีสกินในโค กระบือ หรือโรค ASF ในสุกร ที่พอระบาด เข้ามายังทวีปเอเชีย ก็อาจใช้เวลาสั้น หรือยาวนาน ก็ขึ้นแต่บริบทแต่ละโรค แต่ละสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ปริมาณและการกระจายตัวของ สัตว์ไวรับ รวมถึงปัจจัยเกี่ยวข้องในการควบคุมหรือรับมือ เมื่อวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงของการนำาซีโรไทป์นี้เข้าประเทศไทย หากเป็นไป ในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายของการนำาปศุสัตว์มีชีวิตติดเชื้อ หรือสัตว์ป่ามีชีวิตติดเชื้อเข้ามานั้น มีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะไทยยังไม่มี การค้าโดยตรงหรือปริมาณมากกับประเทศแถบที่มีการระบาดอยู่ขณะนี้และหากมีก็ต้องตรวจสอบ พร้อมกักโรคอย่างเข้มงวดโดยหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่หากเป็นในแง่ช่องทางลักลอบนำาเข้าผิดกฎหมาย ก็ยังพบว่ามีความเสี่ยงน้อย เพราะประเทศเหล่านั้นถือว่ายังอยู่ห่างไกล แต่ประเด็นนี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดมาก ถ้าหากโรคแพร่กระจายเข้ามาประชิดบ้านเราเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมาทางอินเดีย พม่า หรือจีน ลาว ก็ตาม หากเข้ามาได้ตามช่องทางลักลอบนี้โอกาสที่จะแพร่กระจายติดเชื้อในประเทศก็จะสูงมากสำาหรับปศุสัตว์ที่นำาเข้า แต่ในแง่ของสัตว์ป่านั้นมีความ เสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อในประเทศอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย เนื่องจากยังไม่มีรายงานการติดเชื้อโดยวิธีนี้ และที่สำาคัญโอกาสที่สัตว์ป่าจะมี เชื้อมาสัมผัสปศุสัตว์นั้นก็ยังมีน้อย ช่วยลดปริมาณของไวรัสได้มาก และท าให้ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น ในช่วงสัตว์ป่วยสุขภาพจะทรุดโทรมมาก น ้าหนักลด แม้รักษา หายก็มักจะพิการเรื้อรัง ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนาน มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตอย่างถาวร จึงต้องประเมินความ คุ้มค่าต่อการรักษา ควรป้องกันก่อนเกิดโรคด้วยการท าวัคซีน วัคซีนเป็นชนิดเชื้อตาย ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ก่อนเกิดโรค และควบคุมหลังเกิดโรคไปแล้ว จ าเป็นต้องใช้วัคซีนที่ประกอบไปด้วยทุกซีโรไทป์ ที่มีการระบาดในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งขณะนี้ในไทยอย่างน้อยที่สุดก็จ าเป็นต้องมี O และ A ส่วน Asia1 ถ้าเป็นได้ก็ควรมีเนื่องจากยังมีการระบาดอยู่ในเอเชียแถบ ที่ไม่ไกลจากเราอยู่สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันโรคหลังได้รับเชื้อ หรือฉีดวัคซีนไปแล้ว 3-4 สัปดาห์อยู่ได้นาน 3-6 เดือน ดังนั้นสัตว์จึง จ าเป็นต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อยปีละ 2-3 เข็ม อาจเป็นแบบปูพรม ก่อนคลอด หรือหลังคลอดก็ได้ตามความเหมาะสม ภูมิคุ้มกันจะส่งถ่ายผ่านน ้านมเหลืองให้ลูกสัตว์ได้ภายใน 2-3 ชม.หลังดูดนมครั้งแรก และภูมิคุ้มที่ได้รับจากแม่นี้จะอยู่ได้นาน 12-16 สัปดาห์ ดังนั้นลูกสุกรจึงแนะน าให้ฉีดหลังอายุ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป และลูกโคควรฉีดเข็มแรกที่อายุประมาณ 16 สัปดาห์ เป็นต้นไป จากนั้นอีก 3-4 สัปดาห์ให้กระตุ้นซ ้าเข็มที่สอง และกระตุ้นซ ้าทุกๆ 4-6 เดือน ไม่ควรใช้วัคซีนสลับชนิดกันระหว่าง สุกรและสัตว์เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากมีการใช้สื่อที่ต่างชนิดกัน ส่งผลตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ต่างกัน ในโคเป็นสื่อน ้าควร ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในสุกรเป็นสื่อน ้ามันควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจของโรคนี้เกิดจาก ต่างประเทศจะไม่ยอมรับเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากประเทศที่ยังมีการ ระบาดอยู่ จึงถือว่าเป็นไวรัสที่มีความส าคัญมากทางเศรษฐกิจ โดยไม่พบโรคนี้ในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ สแกนดิเนเวีย ความสูญเสียอื่นๆ ยังเกิดได้จากการต้องคัดทิ้งท าลายสัตว์ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตน้อยลง น ้านมลด แท้ง ไม่สมบูรณ์พันธุ์ ลูกสัตว์ตาย ป่วยเรื้อรัง ค่ายารักษา ค่าวัคซีนป้องกัน ค่ามาตรการในการจัดการทุกๆ ด้าน ค่าแรงงาน ค่าเสีย โอกาสต่างๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศอันเกิดจากการกีดกันทางการค้า เห็นได้ว่ามากมายมหาศาล กลับมาเรื่อง SAT2 กับประเทศไทยบ้าง ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานอุบัติการณ์พบซีโรไทป์ นี้แต่อย่างใด แต่ดูจาก รูปแบบการระบาดของโรคอื่นเทียบเคียงแล้ว มีความน่าวิตกกังวลพอสมควร อาจคล้ายคลึงกับโรคลัมปีสกินในโค กระบือ หรือ โรค ASF ในสุกร ที่พอระบาดเข้ามายังทวีปเอเชีย ก็อาจใช้เวลาสั้น หรือยาวนาน ก็ขึ้นแต่บริบทแต่ละโรค แต่ละสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ปริมาณและการกระจายตัวของสัตว์ไวรับ รวมถึงปัจจัยเกี่ยวข้องในการควบคุมหรือรับมือ เมื่อวิเคราะห์ประเมิน ความเสี่ยงของการน าซีโรไทป์ นี้เข้าประเทศไทย หากเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายของการน าปศุสัตว์มีชีวิตติดเชื้อ หรือสัตว์ป่ามีชีวิตติดเชื้อเข้ามานั้น มีความเสี่ยงน้อยมาก เพราะไทยยังไม่มีการค้าโดยตรงหรือปริมาณมากกับประเทศแถบที่มี การระบาดอยู่ขณะนี้และหากมีก็ต้องตรวจสอบ พร้อมกักโรคอย่างเข้มงวดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่หากเป็นในแง่ ช่องทางลักลอบน าเข้าผิดกฎหมาย ก็ยังพบว่ามีความเสี่ยงน้อย เพราะประเทศเหล่านั้นถือว่ายังอยู่ห่างไกล แต่ประเด็นนี้ต้อง ติดตามอย่างใกล้ชิดมาก ถ้าหากโรคแพร่กระจายเข้ามาประชิดบ้านเราเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมาทางอินเดีย พม่า หรือจีน ลาว ก็ตาม หากเข้ามาได้ตามช่องทางลักลอบนี้ โอกาสที่จะแพร่กระจายติดเชื้อในประเทศก็จะสูงมากส าหรับปศุสัตว์ที่น าเข้า แต่ในแง่ของ สัตว์ป่านั้นมีความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อในประเทศอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย เนื่องจากยังไม่มีรายงานการติดเชื้อโดยวิธีนี้ และที่ส าคัญโอกาสที่สัตว์ป่าจะมีเชื้อมาสัมผัสปศุสัตว์นั้นก็ยังมีน้อย น้ำาลายไหล แผลในปาก แผลบริเวณกีบเท้าและเต้านม
สัตว์เศรษฐกิจ 33 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ เอกสารอ้างอิงและที่มารูปภาพ https://dcontrol.dld.go.th/webnew/images/stories/news/livestock/2566/weekly/FMD-SAT2_Onepage.pdf https://www.woah.org/en/disease/foot-and-mouth-disease/#ui-id-2 https://pvlo-urt.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/livestock-news-menu/352-sat2 https://www.cfsph.iastate.edu/thelivestockproject/foot-and-mouth-disease-fmd/ https://www.cabidigitallibrary.org/doi/10.1079/cabicompendium.82822 https://www.researchgate.net/figure/Clinical-signs-and-lesions-observed-in-pigs-during-recent-FMD-outbreaks-in-Vietnam_fig1_343540892 https://en.wikipedia.org/wiki/Foot-and-mouth_disease#/media/File:Foot_and_mouth_disease_in_mouth.jpg https://www.researchgate.net/figure/Foot-and-mouth-disease-in-a-pig-showing-lesions-at-day-2-after-first-appearance-of_fig1_10953912 ส่วนในแง่ของผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนเชื้อ หากเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายถือว่ามีความเสี่ยงน้อยมาก แต่หากเป็นในแง่ช่องทาง ลักลอบนำาเข้าผิดกฎหมายนั้น พบว่ามีความเสี่ยงปานกลาง แต่โอกาสที่ปศุสัตว์ในประเทศจะติดเชื้อจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากยังไม่เคยพบการระบาดของโรคใดๆ ในปศุสัตว์จากสาเหตุนี้เลย ส่วนในแง่ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสำาเร็จรูป หากเป็นไป ในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายถือว่ามีความเสี่ยงน้อยมาก แต่หากเป็นในแง่ช่องทางลักลอบนำาเข้าผิดกฎหมายนั้น พบว่ามีความเสี่ยง ปานกลาง-น้อย เนื่องจากยังไม่เคยมีรายงานการระบาดของซีโรไทป์SAT2 จากสาเหตุนี้เลย แต่พบว่าซีโรไทป์อื่น เคยมีรายงานในต่างประเทศ ถึงการปนเปื้อนและติดต่อมาจากฟางหญ้าที่นำาเข้ามาจากประเทศที่มีโรคระบาดอยู่ได้ทำาให้โอกาสที่ปศุสัตว์ในประเทศจะติดเชื้อจากสาเหตุนี้มี อยู่ในระดับปานกลาง หากให้พยากรณ์ผลกระทบกรณีมีเชื้อไวรัสซีโรไทป์ SAT2 หลุดรอดเข้ามาในไทยได้ คาดว่าสัตว์จะติดเชื้อมีอัตราป่วยในระดับสูงมาก เนื่องจากโดยคุณสมบัติแล้วไม่ว่าซีโรไทป์ไหนก็จะแพร่กระจายได้รวดเร็วมาก ทั้งสัตว์ยังไม่เคยสัมผัสเชื้อ และไม่มีวัคซีนซีโรไทป์นี้ใช้ในไทยและ ภูมิภาคแถบนี้ ส่วนอัตราการตายน่าจะอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย เนื่องจากเคยมีรายงานที่รุนแรง ทำาให้พบอัตราการตายได้ประมาณ 50% ชนิดสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อซีโรไทป์นี้คือ โค กระบือ และยังไม่มีรายงานการระบาดอย่างเป็นทางการในสุกร แพะ แกะ ในประเด็นนี้อาจเป็น ได้จากคุณสมบัติของซีโรไทป์นี้เอง หรือแค่ว่าพื้นที่และเส้นทางการแพร่ระบาดที่ผ่านมายังไม่มีปัจจัยเหมาะสมให้เกิดการแพร่ระบาด อาจเป็น ได้ว่ามีจำานวนประชากรแพะ แกะ สุกร น้อย แต่เมื่อระบาดเข้าสู่ทวีปเอเชียที่มีความแตกต่างกันออกไป ในแง่จำานวน และการกระจายตัวของ ชนิดสัตว์ เช่น อินเดียมีโคจำานวนมาก จีนมีสุกรจำานวนมาก ก็อาจเกิดโรคระบาดในสัตว์ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนก็เป็นได้ ส่วนผลกระทบที่ สำาคัญสุดคือ การกีดกันทางการค้า ประเทศส่วนใหญ่จะห้ามนำาเข้าสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากพื้นที่หรือประเทศที่มีโรคนี้ซึ่งภาพรวมทั้งหมดสรุป ได้ว่าหากมีซีโรไทป์ SAT2 ระบาดขึ้นมา จะก่อให้เกิดผลกระทบในระดับสูงมาก ในแง่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และการค้า ระหว่างประเทศ โดยสรุปแม้ไทยยังมีความเสี่ยงน้อย แต่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมปศุสัตว์ก็ได้เตรียมพร้อมรับมือทั้งการป้องกัน และแก้ไข ไว้อย่างเข้มแข็ง ทั้งในระดับการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าประเทศ รวมถึงการเฝ้าระวัง สอบสวน หรือทำาลายโรค รวมถึงผลิตวัคซีน ป้องกันโรคในกรณีที่มีเชื้อหลุดรอดเข้ามาได้เกษตรกรเองหากพบสัตว์แสดงอาการป่วย หรือเข้าข่ายต้องสงสัยตามนิยามโรคที่กล่าวมาด้านบน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีหรือติดต่อ Call center: 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application DLD 4.0 (แจ้งการเกิด โรคระบาด) ระหว่างนั้นให้แยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ร่วมฝูง และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากฟาร์มโดยเด็ดขาด และที่สำาคัญเหนืออื่นใดกลุ่ม ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องก็ต้องห้ามลักลอบนำาเข้าปศุสัตว์มีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์โดยผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด หากทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน คราวนี้เห็นทีจะผ่านมรสุมลูกใหญ่ที่ตั้งเค้ารออยู่ได้อย่างแน่นอน... ส่วนในแง่ของผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนเชื้อ หากเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายถือว่ามีความเสี่ยงน้อยมาก แต่ หากเป็นในแง่ช่องทางลักลอบน าเข้าผิดกฎหมายนั้น พบว่ามีความเสี่ยงปานกลาง แต่โอกาสที่ปศุสัตว์ในประเทศจะติดเชื้อจาก ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากยังไม่เคยพบการระบาดของโรคใดๆ ในปศุสัตว์จากสาเหตุนี้เลย ส่วนในแง่ของ วัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารส าเร็จรูป หากเป็นไปในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายถือว่ามีความเสี่ยงน้อยมาก แต่หากเป็น ในแง่ช่องทางลักลอบน าเข้าผิดกฎหมายนั้น พบว่ามีความเสี่ยงปานกลาง-น้อย เนื่องจากยังไม่เคยมีรายงานการระบาดของซี โรไทป์ SAT2 จากสาเหตุนี้เลย แต่พบว่าซีโรไทป์ อื่น เคยมีรายงานในต่างประเทศถึงการปนเปื้อนและติดต่อมาจากฟางหญ้าที่ น าเข้ามาจากประเทศที่มีโรคระบาดอยู่ได้ ท าให้โอกาสที่ปศุสัตว์ในประเทศจะติดเชื้อจากสาเหตุนี้มีอยู่ในระดับปานกลาง หากให้พยากรณ์ผลกระทบกรณีมีเชื้อไวรัสซีโรไทป์ SAT2 หลุดรอดเข้ามาในไทยได้ คาดว่าสัตว์จะติดเชื้อมีอัตราป่วย ในระดับสูงมาก เนื่องจากโดยคุณสมบัติแล้วไม่ว่าซีโรไทป์ ไหนก็จะแพร่กระจายได้รวดเร็วมาก ทั้งสัตว์ยังไม่เคยสัมผัสเชื้อ และ ไม่มีวัคซีนซีโรไทป์ นี้ใช้ในไทยและภูมิภาคแถบนี้ ส่วนอัตราการตายน่าจะอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย เนื่องจากเคยมีรายงานที่ รุนแรง ท าให้พบอัตราการตายได้ประมาณ 50% ชนิดสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อซีโรไทป์ นี้คือ โค กระบือ และยังไม่มีรายงานการ ระบาดอย่างเป็นทางการในสุกร แพะ แกะ ในประเด็นนี้อาจเป็นได้จากคุณสมบัติของซีโรไทป์ นี้เอง หรือแค่ว่าพื้นที่และเส้นทาง การแพร่ระบาดที่ผ่านมายังไม่มีปัจจัยเหมาะสมให้เกิดการแพร่ระบาด อาจเป็นได้ว่ามีจ านวนประชากรแพะ แกะ สุกร น้อย แต่ เมื่อระบาดเข้าสู่ทวีปเอเชียที่มีความแตกต่างกันออกไป ในแง่จ านวน และการกระจายตัวของชนิดสัตว์ เช่น อินเดียมีโคจ านวน มาก จีนมีสุกรจ านวนมาก ก็อาจเกิดโรคระบาดในสัตว์ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนก็เป็นได้ ส่วนผลกระทบที่ส าคัญสุดคือ การกีด กันทางการค้า ประเทศส่วนใหญ่จะห้ามน าเข้าสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากพื้นที่หรือประเทศที่มีโรคนี้ ซึ่งภาพรวมทั้งหมดสรุปได้ ว่าหากมีซีโรไทป์ SAT2 ระบาดขึ้นมา จะก่อให้เกิดผลกระทบในระดับสูงมาก ในแง่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ โดยสรุปแม้ไทยยังมีความเสี่ยงน้อย แต่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมปศุสัตว์ ก็ได้เตรียมพร้อม รับมือทั้งการป้องกัน และแก้ไข ไว้อย่างเข้มแข็ง ทั้งในระดับการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าประเทศ รวมถึงการเฝ้าระวัง สอบสวน หรือท าลายโรค รวมถึงผลิตวัคซีนป้องกันโรคในกรณีที่มีเชื้อหลุดรอดเข้ามาได้ เกษตรกรเองหากพบสัตว์แสดงอาการป่วย หรือเข้าข่ายต้องสงสัยตามนิยามโรคที่กล่าวมาด้านบน ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีหรือติดต่อ Call center: 063-225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application DLD 4.0 (แจ้งการเกิดโรคระบาด) ระหว่างนั้นให้แยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ร่วมฝูง และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากฟาร์มโดยเด็ดขาด และที่ส าคัญเหนืออื่นใดกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องก็ต้องห้ามลักลอบ น าเข้าปศุสัตว์มีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์โดยผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด หากทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน คราวนี้เห็นทีจะผ่านมรสุมลูก ใหญ่ที่ตั้งเค้ารออยู่ได้อย่างแน่นอน... เอกสารอ้างอิงและที่มารูปภาพ https://dcontrol.dld.go.th/webnew/images/stories/news/livestock/2566/weekly/FMD-SAT2_Onepage.pdf https://www.woah.org/en/disease/foot-and-mouth-disease/#ui-id-2 https://pvlo-urt.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/livestock-news-menu/352-sat2 https://www.cfsph.iastate.edu/thelivestockproject/foot-and-mouth-disease-fmd/ https://www.cabidigitallibrary.org/doi/10.1079/cabicompendium.82822 https://www.researchgate.net/figure/Clinical-signs-and-lesions-observed-in-pigs-during-recent-FMD-outbreaks-in-Vietnamfig1343540892
34 สัตว์เศรษฐกิจ สมาคมวิทยาศาสตร์สัตว์ปีกโลก สาขาประเทศไทย (World’s Poultry Science Association Thailand Branch : WPSA THAI) ชี้การขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้ ต้องมุ่งเน้นความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม สัตว์ปีก ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชน และเศรษฐกิจ โดยรวม มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) นายสัตวแพทย์ศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์ สัตว์ปีกโลก สาขาประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ มุ่งมั่นพัฒนา อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับโลก ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาและค้นคว้าวิจัยในห่วงโซ่การผลิต ทั้ง ระบบฟาร์มและอาหารสัตว์ เพื่อลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น การวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารให้เหมาะกับการเติบโตของสัตว์ ในแต่ละช่วงวัย เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการทำางานระบบการ ย่อยอาหารของสัตว์ทั้งกระเพาะอาหารและสำาไส้ ให้ทำางานได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ และจะมีส่วนช่วยลดการปล่อยของเสียจากสัตว์ได้ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE เพิ่มความสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมก้าวตามเป้าหมายของโลกในการเข้า สู่ Net Zero นายสัตวแพทย์ศักดิ์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมฯ มุ่งมั่นใน การพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ระดับโลก พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อสร้างความ มั่นคงทางอาหารให้ผู้บริโภคทั่วโลก การประชุมและสัมมนาเป็นการ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมประชุมเข้าถึงข้อมูลด้านวิชาการการผลิตสัตว์ปีก พร้อมเผยแพร่ความรู้ แนวความคิด และติดตามข้อมูลข่าวสาร วิทยาการใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและคณาจารย์ผู้ทรง คุณวุฒิ ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ ต่ออุตสาหกรรมผลิตสัตว์ปีกต่อไป สำาหรับการประชุมใหญ่สามัญ และงานสัมนาวิชาการประจำาปี 2566 ในครั้งนี้ มุ่งเน้นความรู้และนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพใน สมาคมวิทยาศาสตร์สัตว์ปีกโลกฯ หนุนกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน
สัตว์เศรษฐกิจ 35 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ การผลิตสัตว์ปีกที่ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ Precision Poultry Nutrition for Sustainability ที่จะช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลก ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งงาน วิจัยพบว่าภาคปศุสัตว์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อการผลิตอาหาร 1 กิโลกรัม มากที่สุดคือ ฟาร์มวัว (99 กิโลกรัม) ฟาร์มแกะเนื้อ ฟาร์ม วัวนม ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มปลา ฟาร์มหมู และฟาร์มเลี้ยงไก่ (9.9 กิโลกรัม) ตามลำาดับ ซึ่งการนำาเทคโนโลยีมาใช้จัดการตั้งแต่ต้นทาง วัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่วนผสม และนวัตกรรมสูตรอาหารสัตว์ จะช่วย ทำาให้สัตว์สามารถย่อยอาหารได้สมบูรณ์ ลดของเสียในกระบวน การผลิต โดยเฉพาะช่วยลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจน ที่มาจาก มูลสัตว์ และมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตเนื้อสัตว์และ ฟาร์มจำาเป็นต้องตระหนักในเรื่องเหล่านี้ ประเทศไทยเป็นผู้นำาและมีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมสัตว์ปีกใน ระดับสากลมาอย่างยาวนาน และการส่งออกสัตว์ปีกของไทยติดอันดับ ต้น ๆ ของโลกมาโดยตลอด เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างงานสร้างราย ได้ให้กับทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคธุรกิจ โดย ตัวเลขการส่งออกเนื้อไก่ ปี 2566 ทั้งเนื้อไก่สด และเนื้อไก่แปรรูป ทั้งหมดจำานวน 1.097 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1.47 แสนล้านบาท แบ่ง เป็นการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 ที่ 42% อันดับ 2 ประเทศอังกฤษ 15% อันดับ 3 กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) 13% และ จีน 11% ขณะที่เนื้อเป็ดทั้งสดและแปรรูป มีการส่งออก ในปี 2566 รวมทั้งหมด 4.79 พันตัน แบ่งเป็นส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น 52% รองลงมาประเทศอังกฤษ และอียู ทั้งนี้ การศึกษาค้นคว้าวิจัย และพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิต ทั้งระดับฟาร์ม ระดับโรงงาน และการแปรรูป มีความจำาเป็นและ สำาคัญมากต่อการส่งออก รวมถึงเรื่องการประสานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพาณิชย์ ทูตเกษตรที่อยู่ในต่างประเทศ เพื่อ หาตลาดใหม่ และขยายตลาดให้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการแข่งขัน ที่สูง รวมทั้งสถานการณ์สงครามที่ยืดยื้อ เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและ เฝ้าระวัง เพื่อเตรียมพร้อมปรับรูปแบบการผลิตให้ทันต่อสถานการณ์ โลก โดยเฉพาะเรื่องการผลิตอย่างยั่งยืน ที่เป็นเทรนด์โลกอยู่ใน ขณะนี้./
36 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ไข่ไก่ ไม่ใช่สาเหตุ ของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง แพทย์แนะคุณประโยชน์ของไข่ไก่ แหล่งโปรตีนชั้นดีย้ำ� คอเลสเตอรอลในไข่แดงไม่ได้ ทำ�ให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่มีสุขภ�พดีส�ม�รถรับประท�นไข่ไก่ได้อย่�งน้อยวันละ 1 ฟอง แพทย์หญิงศศพินทุ์วงษ์โกวิท ศัลยแพทย์หญิง เพจหมอนุ้ย และ TikTok doctor nuiz กล่�วว่� ไข่ไก่ เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีห�ง่�ย ร�ค�ถูก มีประโยชน์ม�ก ส�ม�รถนำ�ไปประกอบ อ�ห�รได้ทั้งค�วหว�น และเป็นตัวช่วยในก�รลดน้ำ�หนักได้เป็นอย่�งดีเพียงปรุงด้วยวิธีที่เหม�ะ สม ไข่ไก่ ประกอบไปด้วย ไข่แดงและไข่ข�ว โดยไข่ข�ว มีโปรตีนบริสุทธิ์ ชื่อ อัลบูมิน (Albumin) ที่ส�ม�รถรับประท�นได้ไม่จำ�กัด ทั้งในผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อโรคเรื้อรัง อย่�ง ผู้ป่วยโรคไต หรือ โรคมะเร็ง และผู้ที่มีสุขภ�พดี ส่วน ไข่แดง เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำ�เป็นครบทุกชนิด และมีโคลีน (Choline) ส�รอ�ห�รในกลุ่มวิต�มินบี ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญที่มีส่วนช่วยในเรื่องระบบประส�ทและสมอง ช่วยควบคุมก�รทำ�ง�นของคว�มจำ�และก�รเรียนรู้ และยังช่วยก�รทำ�ง�นของระบบต่�ง ๆ ของร่�งก�ย เช่น ระบบก�รเผ�ผล�ญ ก�รสร้�งกล้�มเนื้อ โคลีนยังมีบทบ�ทสำ�คัญในก�รลด คว�มเสี่ยงในก�รเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ช่วยกำ�จัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกจ�ก ตับได้ด้วย นอกจ�กนี้ในไข่แดงยังมีวิต�มิน A D E K B6 B12 แคลเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่ง วิต�มินเหล่�นี้ เป็นส�รต้�นอนุมูลอิสระ เป็นวิต�มินจำ�เป็นที่ช่วยในเรื่องก�รมองเห็น บำ�รุง ส�ยต� สร้�งภูมิคุ้มกัน ลดก�รอักเสบ เป็นส�รตั้งต้นในก�รสร้�งโปรตีนหรือฮอร์โมน และยัง เป็นส่วนสำ�คัญในก�รช่วยพัฒน�ระบบประส�ทของเด็กตั้งแต่อยู่ในวัยท�รกอีกด้วย สำ�หรับคว�มกังวลเรื่องคอเลสเตอรอลในไข่แดงจะทำ�ให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และ ทำ�ให้จำ�กัดก�รรับประท�นไข่แดง แต่จริง ๆ แล้ว คอเลสเตอรอลในอ�ห�รที่รับประท�น ไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดโดยตรง โดยปริม�ณคอเรสเตอรอลในเลือด ร้อยละ 80-90 ร่�งก�ยสร้�งขึ้นจ�กก�รทำ�ง�นของตับซึ่งไม่ได้สัมพันธ์กับอ�ห�ร ห�กร่�งก�ยได้รับ คอเลสเตอรอลจ�กอ�ห�รในปริม�ณม�ก ร่�งก�ยจะปรับตัว โดยตับจะสร้�งคอเลสเตอรอลลดลง เพื่อให้เกิดคว�มสมดุล ดังนั้นก�รรับประท�นไข่แดง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องคอเลสเตอรอลม�กนัก
สัตว์เศรษฐกิจ 37 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งในร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. LDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี โดยไขมันไม่ดีที่รับประท�นในชีวิต ประจำ�วัน คือไขมันอิ่มตัว ไขมันทร�นส์ ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ต่อก�รเพิ่มขึ้นของปริม�ณ คอเลสเตอรอลในหลอดเลือด และส่งผลให้เกิดคว�มเสี่ยงต่อก�รเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยปัจจัย ที่ทำ�ให้มีผลต่อก�รที่ทำ�ให้คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูงขึ้น คือ ก�รสูบบุหรี่ ก�รดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ซึ่งจะกระตุ้นให้ตับผลิตไขมันที่ชื่อไตรกลีเซอไรด์ และก�รรับประท�นอ�ห�รที่มี ไขมันและค�ร์โบไฮเดรตที่ม�กเกินไป อ�ทิข้�ว แป้ง น้ำ�ต�ล รวมถึงบุคคลที่มีโรคประจำ�ตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบ�หว�น คว�มดันโลหิตสูง 2. HDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่ดีส�ม�รถเพิ่มขึ้นให้กับร่�งก�ยได้จ�กก�ร ที่มีสมดุลในก�รรับประท�นอ�ห�รที่ดีก�รออกกำ�ลังก�ยสม่ำ�เสมอ ก�รพักผ่อนที่เพียงพอ และ ไม่มีคว�มเครียด ปัจจุบันมีหล�ยง�นวิจัยที่สรุปว่� ก�รรับประท�นไข่ไก่ ไม่มีผลต่อระดับคอเลสเตอรอล ทั้งหมด ซึ่งคนที่มีสุขภ�พดีไม่มีโรคประจำ�ตัว ปริม�ณแนะนำ�ในก�รรับประท�นไข่ไก่อยู่ที่ 1-3 ฟองต่อวัน แต่สำ�หรับคนที่มีโรคประจำ�ตัว เช่น โรคคว�มดันโลหิตสูง เบ�หว�น และไขมันใน เลือดสูง แนะนำ�ให้รับประท�นในปริม�ณไม่ม�กไปกว่� 3 ฟองต่อสัปด�ห์ สำ�หรับผู้บริโภคที่มีคว�มต้องก�รบริโภคโปรตีนเพิ่มขึ้น แนะนำ�รับประท�นโปรตีนในอ�ห�ร ต�มธรรมช�ติจ�กแหล่งอื่น ๆ ที่มีอยู่หล�กหล�ย เช่น โปรตีนจ�กพืช โปรตีนจ�กปล� ซึ่ง โปรตีนแต่ละแบบมีประโยชน์ที่แตกต่�งกัน ดังนั้น ควรรับประท�นไข่ไก่ต�มปริม�ณที่แนะนำ�ไว้ และควรรับประท�นโปรตีนอื่น ๆ ให้หล�กหล�ย เพื่อที่ร่�งก�ยจะได้รับประโยชน์ได้ม�กกว่� คำ�แนะนำ�ในก�รเลือกรับประท�นไข่ โดยไข่ไก่ 1 ฟอง มีแคลอรี่อยู่ประม�ณ 80 กิโล แคลอรีซึ่งแคลอรี่ในไข่ไก่ปรุงสุกจะแตกต่�งกันไปขึ้นอยู่กับวิธีก�รที่ปรุง เช่น ไข่เค็ม จะมี ปริม�ณโซเดียมที่ม�กเกินไป ส่วน ไข่ด�ว อ�จมีปริม�ณไขมันที่ม�กเกินไป และมีแคลอรี่ที่สูง เพร�ะมีส่วนประกอบของน้ำ�มัน รวมถึง ไข่เจียว ที่อ�จมีทั้งปริม�ณไขมันและโซเดียมที่ม�ก เกินไป ขณะที่ ไข่เยี่ยวม้� อ�จมีส�รพิษปนเปื้อน โลหะหนักปนเปื้อนม�ได้ฉะนั้นท�งเลือก สุขภ�พ แนะนำ� ไข่ตุ๋น เกลือน้อย หรือ ไข่ต้ม ดีที่สุด สำ�หรับไข่ที่ไม่แนะนำ�ให้รับประท�น คือ ไข่ดิบ เพร�ะ ไข่ข�วดิบ จะมีโปรตีนที่เรียกว่� อะวิดิน ซึ่งร่�งก�ยส�ม�รถดูดซึมเข้�สู่ร่�งก�ยได้เพียง 51% เท่�นั้น และไปขัดขว�งก�รดูด ซึมของไบโอตินซึ่งเป็นวิต�มินบีที่จำ�เป็นต่อก�รเผ�ผล�ญและก�รผลิตพลังง�น ซึ่งถ้�ร่�งก�ย ดูดซึมไบโอตินไม่ได้ จะทำ�ให้มีอ�ก�รอ่อนเพลีย อ่อนล้� คลื่นไส้ เบื่ออ�ห�ร นอนไม่หลับ ผิวแห้งได้ด้วย นอกจ�กนี้ไข่ดิบมีคว�มเสี่ยงต่อก�รติดเชื้อปนเปื้อนจ�กแบคทีเรีย เพร�ะที่ตัวแม่ไก่ จะ มีเชื้อซ�ลโมเนลล�อยู่บริเวณอวัยวะเพศ ห�กรับประท�นไข่ดิบที่มีก�รปนเปื้อนเชื้อดังกล่�ว จะ ทำ�ให้ผู้ที่รับประท�นเกิดก�รติดเชื้อในท�งเดินอ�ห�รได้นอกจ�กไข่ดิบแล้ว ไข่ลวก ยังเป็นไข่ ที่มีคว�มดิบอยู่บ�งส่วน อ�จทำ�ให้ผู้รับประท�นมีอ�ก�รดังกล่�วข้�งต้นได้ สำ�หรับวิธีเลือกซื้อไข่อย่�งปลอดภัย สังเกตคว�มสะอ�ดของไข่ เปลือกไข่ไม่เปรอะเปื้อน มูล หรือ อ่�นฉล�ก วันเดือนปีหมดอ�ยุ ส่วนไข่ที่แนะนำ� คือ ไข่ที่ผ่�นก�รพ�สเจอไรซ์แล้ว เป็นไข่ที่ปลอดภัยที่สุด
38 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE เนื้อไก่ไทย ปลอดภัย มาตรฐานการผลิตระดับโลก สัตวแพทย์ ม.มหิดล ย้ำ�อุตส�หกรรมก�รผลิตไก่เนื้อของไทยม�ตรฐ�นส�กล ต่อยอดสู่ นวัตกรรมอ�ห�รม�ตรฐ�นอวก�ศ ตอกย้ำ�ถึงคุณภ�พเนื้อไก่ไทยมีคว�มปลอดภัยสูงสุด เป็น หลักประกันคว�มปลอดภัยและคว�มมั่นคงด้�นอ�ห�รให้กับผู้บริโภคทั่วโลก ดร.สัตวแพทย์หญิงระพีวรรณ ธรรมไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กล่�วว่� เนื้อไก่ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภ�พดีดีต่อ สุขภ�พ ร�ค�ย่อมเย� เข้�ถึงได้ง่�ย ส�ม�รถรับประท�นได้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อ ช�ติศ�สน� สำ�หรับอุตส�หกรรมก�รผลิตไก่เนื้อของไทยมีก�รพัฒน�อยู่อย่�งต่อเนื่องไม่หยุดอยู่ กับที่ ซึ่งเนื้อไก่เป็นที่ต้องก�รสูง เป็นอุตส�หกรรมที่มีก�รเติบโตต่อเนื่อง ประเทศไทยมีก�รส่งออกเนื้อไก่เป็นอันดับ 4 ของโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 ม�โดยตลอด โดยประเทศคู่ค้�สำ�คัญหลักของไทย ประกอบด้วย ประเทศญี่ปุ่น สหภ�พยุโรป และล่�สุด คือ ซ�อุดีอ�ระเบีย ซึ่งประเทศเหล่�นี้มีม�ตรฐ�นสูง และมีก�รปรับปรุงม�ตรฐ�น ระเบียบ และ ข้อบังคับเพิ่มเติมอยู่ตลอด ซึ่งมีร�ยละเอียดแตกต่�งกันไปในแต่ละประเทศ เช่น สหรัฐอเมริก� ใช้ม�ตรฐ�น GLOBALG.A.P. ส่วนฝั่งสหภ�พยุโรป ใช้ม�ตรฐ�น Genesis GAP ครอบคลุม ตั้งแต่ก�รจัดก�ร ก�รป้องกันโรค และเลี้ยงไก่ต�มหลักสวัสดิภ�พสัตว์ซึ่งประเทศไทยส�ม�รถ ผ่�นก�รตรวจสอบและได้รับก�รรับรองม�ตรฐ�นเหล่�นี้ ยืนยันได้ว่�ม�ตรฐ�นก�รผลิตไก่ไทย อยู่ในระดับส�กล นอกจ�กนี้ไก่ไทยถูกยกระดับไปสู่ม�ตรฐ�นระดับอวก�ศ เพร�ะมีโครงก�รที่จะส่งเนื้อไก่ ของไทยไปเป็นอ�ห�รสำ�หรับนักบินอวก�ศ เป็นก�รตอกย้ำ�ถึงม�ตรฐ�นเนื้อไก่ไทยเป็นที่ยอมรับ อย่�งไรก็ต�ม ผู้บริโภคส�ม�รถมั่นใจได้ว่� ม�ตรฐ�นก�รผลิตไก่เนื้อของไทย ทั้งเพื่อก�ร ส่งออกและก�รบริโภคภ�ยในประเทศ เป็นม�ตรฐ�นก�รผลิตเดียวกัน (Single Standard) มีก�รควบคุมม�ตรฐ�นตั้งแต่ต้นน้ำ�จนถึงปล�ยน้ำ� เริ่มจ�กก�รผลิตอ�ห�รสัตว์ ฟ�ร์มที่เลี้ยง ไปจนถึงโรงชำ�แหละและโรงแปรรูป สำ�หรับอุตส�หกรรมสัตว์ปีกของไทยใช้ม�ตรฐ�นก�รเลี้ยงภ�ยใต้หลักปฏิบัติท�งก�รเกษตร ที่ดี(Good Agricultural Practices: GAP) เป็นแนวท�งปฏิบัติสำ�หรับผู้ผลิตไก่ ให้มีก�รเลี้ยง ที่ดีปร�ศจ�กโรค มีม�ตรฐ�นฟ�ร์มที่ควบคุมดูแล มีตั้งแต่เรื่องตำ�แหน่งที่ตั้งฟ�ร์ม ก�รจัดก�ร
สัตว์เศรษฐกิจ 39 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ก�รเลี้ยง สวัสดิภ�พสัตว์ และก�รควบคุมโรค ตลอดจนมีก�รบันทึกข้อมูล เพื่อให้ส�ม�รถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ห�กเกิดปัญห�ขึ้น ด้�นระบบป้องกันโรค โดยเฉพ�ะโรคไข้หวัดนก หลังจ�กเกิดก�รระบ�ดในไทยเมื่อหล�ย ปีก่อน ทำ�ให้ประเทศไทยปรับปรุงระบบก�รเลี้ยงม�เป็นระบบปิดเกือบทั้งหมด และมีก�รนำ� ระบบป้องกันโรค หรือ ระบบคว�มปลอดภัยท�งชีวภ�พ (Biosecurity) ม�ใช้ ซึ่งมีคว�ม เข้มงวดสูง โดยมีม�ตรก�รเรื่องคนเข้�ออก เรื่องก�รป้องกันโรคจ�กสัตว์พ�หะต่�ง ๆ ส�ม�รถ ป้องกันโรคไม่ให้เข้�สู่โรงเรือนได้อย่�งมีประสิทธิภ�พ และมีก�รนำ�ระบบคอมพ�ร์ทเมนต์ม�ใช้ ในก�รควบคุมม�ตรฐ�นของฟ�ร์มในกลุ่มเดียวกัน มีก�รเฝ้�ระวังเชิงรุกโรคที่สำ�คัญ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคนิวค�สเซิล ซัลโมเนลล� และก่อนก�รส่งไก่เข้�โรงชำ�แหละต้องผ่�นโปรแกรม ตรวจโรคต่�ง ๆ ที่อ�จจะมีผลกับมนุษย์เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และมีก�รเก็บตัวอย่�ง เนื้อไก่ ส่งตรวจห�ส�รตกค้�ง ทำ�ให้อุตส�หกรรมไก่ไทยส�ม�รถป้องกันโรคเหล่�นี้ได้อย่�งมี ประสิทธิภ�พและส�ม�รถส่งออกเนื้อไก่ได้จนถึงปัจจุบัน ดร.สพ.ญ.ระพีวรรณ แนะนำ�ก�รเลือกซื้อเนื้อไก่ ให้สังเกตลักษณะภ�ยนอก มีคว�ม สดใหม่ สีข�วอมชมพู ไม่มีสีคล้ำ� ผิวหนังเป็นมัน ไม่มีรอยช้ำ�เลือดหรือจ้ำ�เลือด โดยเฉพ�ะ บริเวณของปีกหรือใต้ปีก ไม่มีลักษณะของเหลวเป็นเมือก ไม่มีกลิ่นเหม็น และเลือกซื้อจ�ก ผู้ผลิตหรือผู้จำ�หน่�ยที่น่�เชื่อถือ ห�กเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ให้ดูวันผลิตและวัน หมดอ�ยุ มีม�ตรฐ�นระบุชัดเจน สังเกตตร�สัญลักษณ์รับรองม�ตรฐ�นว่�ผ่�นเกณฑ์อ�ห�ร ปลอดภัย เช่น ตร�สัญลักษณ์“ปศุสัตว์OK” จ�กกรมปศุสัตว์หรือเครื่องหม�ยรับรองม�ตรฐ�น สินค้�เกษตร (เครื่องหม�ย Q) ก็ส�ม�รถเชื่อมั่นได้ว่�ผ่�นกระบวนก�รต�มม�ตรฐ�นที่ถูกต้อง ปลอดเชื้อ ปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ ก่อนรับประท�นต้องปรุงเนื้อไก่ให้สุก ด้วยอุณหภูมิ100 องศ�เซลเซียส 1 น�ทีหรือ 60 องศ�เซลเซียส 4-5 น�ที เพื่อทำ�ล�ยเชื้อแบคทีเรียและเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค โดยสังเกต เนื้อไก่สุกจะเปลี่ยนสีเป็นสีข�ว ส่วนที่ควรระวัง คือคว�มสะอ�ดของ มือ เขียง มีด และอุปกรณ์ ประกอบอ�ห�ร พร้อมแนะแยกอุปกรณ์ระหว่�งอ�ห�รสุกและดิบ เพื่อคว�มปลอดภัย./ หน่วยงาน : ภ�ควิช�เวชศ�สตร์คลินิกและก�รส�ธ�รณสุข มห�วิทย�ลัยมหิดล 02-441-5242 ต่อ 1511
40 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE “พาณิชย์” เผยไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ไก่ปรุงรสพร้อม รับประทาน มีโอกาสส่งออกไปเกาหลีใต้หลังทูตพาณิชย์รายงานมี ความต้องการเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการผลิตไม่เพียงพอและต้อง นำาเข้า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ทำาการตลาดเชิงรุกหาช่องทางและสร้าง โอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับ รายงานผลการสำารวจตลาดสินค้าเนื้อไก่ในเกาหลีใต้ พบว่า มี แนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เพราะเป็นหนึ่งในเมนูที่ผู้บริโภคชาว เกาหลีใต้นิยม ทั้งไก่ทอด ไก่ตุ๋นโสม และไก่ผัดซอส และผู้ประกอบ การที่ผลิตอาหาร ร้านอาหาร และแฟรนไชส์ไก่ต่าง ๆ เช่น Kyochon BHC และ BBQ ก็มีการแข่งขันที่รุนแรงในการพัฒนาเมนูไก่ทอด ใหม่ ๆ ส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ปัจจุบัน ตลาด ไก่ในเกาหลีใต้เริ่มประสบปัญหาราคาในประเทศสูงขึ้น จากการผลิต ที่ไม่เพียงพอ แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีจะวางแผนเพิ่มกำาลังการผลิตแล้ว ก็ตาม ทั้งนี้ เกาหลีใต้ทำาความตกลง FTA จำานวน 21 ฉบับ กับ 59 ประเทศ ทำาให้ตลาดเนื้อไก่ถูกจับจ้องจากประเทศต่าง ๆ ที่หวัง จะเข้าชิงพื้นที่ในตลาด โดยตั้งแต่ ม.ค.2566 เกาหลีใต้ได้ยกเลิกภาษี นำาเข้าไก่จากสหรัฐฯ ทั้งหมด และตั้งแต่เดือน ก.ค.2567 จะยกเว้น ภาษีนำาเข้าไก่จากสหภาพยุโรป ซึ่งจะยิ่งทำาให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน เกาหลีใต้นำาเข้าไก่จากบราซิลอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ ไทย สหรัฐฯ สวีเดน และเดนมาร์ก นายภูมิธรรมกล่าวว่า แนวโน้มตลาดไก่ในเกาหลีใต้ยังคงเติบโต อย่างโดดเด่น โดยผู้ประกอบการด้านอาหาร มีการพัฒนาเมนูใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับ ประทาน (HMR) เช่น ไก่ตุ๋นโสม และชุดทำาอาหารจากไก่ (Meal Kit) เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ไก่หมักซอสและไก่ทอดพร้อม ชีสบอล ก๋วยเตี๋ยวสูตรพิเศษ ทำาให้มีความต้องการไก่เป็นวัตถุดิบเพิ่ม มากขึ้นตามไปด้วย และด้วยสถานการณ์ทางสังคม อาทิ จำานวน ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวที่ไม่มีบุตร และประชากรผู้สูงอายุได้ เพิ่มขึ้น ความต้องการชุดอาหารขนาดเล็กและ HMR ก็เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในการส่งออกไก่ไทยไปเกาหลีใต้พบว่า ปัจจุบัน เกาหลีใต้นำาเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อไก่จากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล และมีการนำาไปใช้ประกอบอาหารอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว โดยเน้น การนำาเข้าชิ้นส่วนไก่ เช่น ปีกไก่ น่องไก่ อกไก่ เป็นหลัก อีกทั้ง การปรับลดภาษีนำาเข้าไก่จากไทยอยู่ที่ 5-20% ส่งผลให้ราคาจำาหน่าย สินค้านำาเข้าลดลง รวมถึงการเติบโตของสินค้าแปรรูปจากไก่ จะเป็น ผลดีต่อการขยายตลาดในเกาหลีในอนาคต เนื่องจากไก่ไทยคุณภาพ ที่ดีและการที่เกาหลีใต้ออกมาตรการด้านภาษีที่เป็นประโยชน์กับไทย และการที่ชาวเกาหลีมีแนวโน้มที่จะบริโภคไก่ในชีวิตประจำาวันมากขึ้น จึงมีข้อแนะนำาให้ผู้ประกอบการไทย ควรเร่งผลิตไก่ให้มากขึ้น ไม่ว่า จะเป็นในรูปไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ไก่ปรุงรสพร้อม รับประทาน เพื่อที่จะรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น “พาณิชย์” เผยไก่ไทย มีโอกาสส่งออกเกาหลีใต้เพิ่ม หลังความต้องการบริโภคพุง่
สัตว์เศรษฐกิจ 41 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ “อนุชา” ดัน “โคต้นน้ำา” ชู “อั๋นฟาร์ม” ต้นแบบความสำาเร็จ เริ่มต้นที่ดิน 15 ไร่ ผ่านไป 10 ปีมีที่ดินเพิ่ม 93 ไร่ จากการเลี้ยงวัว นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิด เผยภายหลังนำาคณะผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำาชุมชน และตัวแทนเกษตรกร จังหวัดชัยนาทจำานวนกว่า 200 คน ลงพื้นที่ศึกษาดูงานแปลงต้นแบบในการ ปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม ด้วยการทำาปศุสัตว์ ’อั๋นฟาร์ม‘ ของ นายวีระชาติอ่อนนอ บ้านสะอาดนามูล เกษตรกรต้นแบบของการปรับเปลี่ยน พื้นที่จากการทำาเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวมาปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์และยังเป็นต้นแบบ ของการเลี้ยงโคต้นน้ำา ณ ต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี นายอนุชา กล่าวว่า นายวีระชาติ อ่อนนอ ได้ลาออกจากโรงงาน อุตสาหกรรม แล้วกลับมาประกอบอาชีพทำาเกษตร และเลี้ยงวัว มีพื้นที่เดิม 15 ไร่ แต่ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มเป็น 93 ไร่ จากการเลี้ยงวัว โดยได้เข้าร่วมโครงการ แหล่งน้ำาในไร่นานอกเขตชลประทาน ของสถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี กรม พัฒนาที่ดิน ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร เพื่อกักเก็บน้ำาไว้ใช้ และได้ทำาการ ปรับเปลี่ยนพื้นที่แบ่งเป็น ปลูกข้าว 5 ไร่ ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์60 ไร่ โรงเรือน เลี้ยงวัวและโรงเก็บหญ้าแห้งฟางแห้ง 1 ไร่ มีพื้นที่เลี้ยงวัว 12 ไร่ แหล่งน้ำา 5 ไร่ พืชผักสวนครัว 2 ไร่ ที่อยู่อาศัย 1 ไร่ และพื้นที่อื่น ๆ อีก 7 ไร่ ซึ่งหลังปรับเปลี่ยนกิจกรรม ได้เลี้ยงวัวเพิ่มขึ้นกว่า 50 ตัว โดยเน้นเลี้ยง วัวตัวเมียไว้เป็นแม่พันธ์ุ สำาหรับวัวตัวผู้พออายุครบ 18 เดือนจะขายสร้าง รายได้ อีกทั้ง ยังมีรายได้จากการขายหญ้าที่ปลูกและขายมูลวัว ทำาให้ปัจจุบัน กลายเป็นเกษตรกรต้นแบบของการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำาเกษตรกรรม เชิงเดี่ยวมาปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ และเป็นศูนย์เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีกรมปศุสัตว์ (เครือข่ายใช้ประโยชน์พันธุกรรมและเทคโนโลยี) นายอนุชา กล่าวชื่นชม นายวีระชาติที่มีแนวคิดและมีความมุ่งมั่นในการ ปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นปศุสัตว์จนประสบความสำาเร็จ ตอบโจทย์ การเลี้ยงวัวคณิตศาสตร์ไม่จำาเป็นต้องเก่ง เรียนไม่สูงก็เลี้ยงวัวได้ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ ดังกล่าวประสบปัญหาแหล่งน้ำาทางการเกษตรไม่เพียงพอ อีกทั้งยังเป็นดินลูกรัง จึงต้องขุดสระกักเก็บน้ำาฝนไว้ใช้เพื่อปลูกหญ้า แต่มีแนวคิดในการบริหารจัดการ พื้นที่เกษตรโดยการปลูกหญ้าเก็บไว้ใช้ 3 เดือนเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง จนสามารถ ก้าวข้ามขีดจำากัด หลุดพ้นความยากจน แม้ไม่มีต้นทุน ก็เลี้ยงได้เพราะวัวกินแต่ หญ้ากับฟางจึงเลี้ยงง่าย นายอนุชา กล่าวย้ำาว่า เราได้เห็นตัวอย่างแล้ว หากเรามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ก็สามารถประสบความสำาเร็จได้เหมือนคุณวีระชาติ เพราะวัวเป็นสัตว์ตายยาก การเลี้ยงวัวจึงไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำาเป็นต้องเรียนเก่ง อีกทั้ง รายได้จากการ เลี้ยงวัว ยังสามารถเลี้ยงดูครอบครัว และส่งให้ลูกหลานเรียนต่อได้ ซึ่งการ ดำาเนินงานของพื้นที่แห่งนี้ สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน และการ บริหารจัดการน้ำาอย่างเป็นระบบ นับเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำาเร็จ อยากให้ เกษตรกรได้มาศึกษาเรียนรู้และนำาไปพัฒนาในพื้นที่ของตนเองต่อไป ทั้งนี้รัฐบาล พร้อมให้การสนับสนุน โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นที่ ปรึกษาและให้คำาแนะนำาแก่เกษตรกร “อั๋นฟาร์ม” ต้นแบบความสำาเร็จ ฟาร์มโคต้นนำ้า
42 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE โคนม ปี 67 ยังแบกต้นทุนสูง แม้ราคานมปรับขึ้น ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ตามราคา วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนไม่สอดคล้องกับราคาน้ำานมดิบ เกษตรกร ประสบปัญหาขาดทุนจนส่วนหนึ่งต้องขายโคนมและเลิกกิจการไปในที่สุด ทำาให้เกิด ปัญหาน้ำานมดิบขาดแคลน ถึงแม้รัฐบาลได้อนุมัติปรับราคาน้ำานมดิบเพิ่มขึ้น แต่ผู้เลี้ยง ที่เหลือก็จำาเป็นต้องปรับการจัดการฟาร์ม การควบคุมป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ และการจัดการอาหารหยาบ อาหารข้น อาหาร TMR ช่วยให้ประสิทธิภาพการผลิต ดีลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ได้น้ำานมคุณภาพ เพื่อรับประคับประครองให้อยู่รอดได้ ต่อไป ภาพรวม ปี2562 - 2566 จำานวนโคนมในประเทศผู้ผลิตที่สำาคัญของโลก มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.97 ต่อปีโดยปี2566 จำานวนโคนมรวม 141.457 ล้าน ตัว เพิ่มขึ้นจาก 140.021 ล้านตัว ของปี2565 ร้อยละ 1.03 ประเทศที่มีการเลี้ยง โคนมมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย จำานวน 61.000 ล้านตัว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.12 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดของโลก รองลงมาได้แก่ สหภาพยุโรป 20.100 ล้านตัว และบราซิล 17.065 ล้านตัว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.21 และร้อยละ 12.06 ข้องปริมาณการผลิตทั้งหมดของโลก ตามลำาดับ ส่วนผลผลิตน้ำานมดิบ ปี2562 - 2566 ในประเทศผู้ผลิตที่สำาคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94 ต่อปีโดยปี2566 ผลผลิตน้ำานม ดิบปริมาณรวม 550.498 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 544.587 ล้านตัน ของปี2565 ร้อยละ 1.09 ประเทศผู้ผลิตน้ำานมดิบมากที่สุด คือ สหภาพ ยุโรป ปริมาณ 144.000 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.16 ของปริมาณทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 103.596 ล้าน ตัน และอินเดีย 99.500 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.82 และร้อยละ 18.07 ของปริมาณทั้งหมดของโลก ตามลำาดับ File: Dairy 67 โคนม ปี 67 ยังแบกต้นทุนสูง แม้ราคานมปรับขึน้ ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ตามราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรัต่อเนื่อง จนไม่สอดคล้องกับราคาน ้านมดิบ เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุนจนส่วนหนึ่งต้องขายโคนมและเลิกกิที่สุด ท าให้เกิดปัญหาน ้านมดิบขาดแคลน ถึงแม้รัฐบาลได้อนุมัติปรับราคาน ้านมดิบเพิ่มขึ้น แต่ผู้เลี้ยงที่เหลือก็ปรับการจัดการฟาร์ม การควบคุมป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ และการจัดการอาหารหยาบ อาหารข้น อาหารให้ประสิทธิภาพการผลิตดี ลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ได้น ้านมคุณภาพ เพื่อรับประคับประครองให้อยู่รอดได้ตภาพรวม ปี 2562 -2566จ านวนโคนมในประเทศผู้ผลิตที่ส าคัญของโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละโดยปี 2566จ านวนโคนมรวม 141.457 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก 140.021 ล้านตัว ของปี 2565ร้อยละ 1.03 ประเลี้ยงโคนมมากที่สุด คือ ประเทศอินเดีย จ านวน 61.000 ล้านตัว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.12 ของปริมาทั้งหมดของโลก รองลงมาได้แก่ สหภาพยุโรป 20.100 ล้านตัว และบราซิล 17.065 ล้านตัว คิดเป็นสัดส่วนร้อและร้อยละ 12.06ข้องปริมาณการผลิตทั้งหมดของโลก ตามล าดับ จ านวนโคนมของประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัว ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) อินเดีย 54.600 56.450 58.000 59.500 61.000 2.78 สหภาพยุโรป 21.029 20.766 20.514 20.213 20.100 -1.17 บราซิล 16.500 16.400 16.646 16.896 17.065 0.98 สหรัฐอเมริกา 9.337 9.392 9.449 9.402 9.415 0.18 เม็กซิโก 6.500 6.550 6.600 6.650 6.700 0.76 จีน 6.100 6.150 6.200 6.400 6.500 1.68 อื่นๆ 22.017 21.636 21.370 20.960 20.677 -1.56 รวม 136.083 137.344 138.779 140.021 141.457 1.18 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส่วนผลผลิตน ้านมดิบ ปี2562 -2566 ในประเทศผู้ผลิตที่ส าคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94ต่อปี โผลผลิตน ้านมดิบปริมาณรวม 550.498 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 544.587 ล้านตัน ของปี 2565 ร้อยละ 1.09 ปรน ้านมดิบมากที่สุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 144.000 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.16 ข้องปริมาณทั้งหรองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 103.596 ล้านตัน และอินเดีย 99.500 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.82 18.07ของปริมาณทั้งหมดของโลก ตามล าดับ
รับขึ้นอย่าง กิจการไปใน ก็จ าเป็นต้อง ร TMR ช่วย ต่อไป ะ 0.97 ต่อปี เทศที่มีการ ณการผลิต ยละ 14.21 โดยปี 2566 ะเทศผู้ผลิต หมดของโลก และร้อยละ สัตว์เศรษฐกิจ 43 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ปริมาณผลผลิตน ้ านมดิบในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหภาพยุโรป 143.060 145.436 144.833 144.378 144.000 0.06 สหรัฐอเมริกา 99.084 101.292 102.646 102.722 103.596 1.04 อินเดีย 92.000 93.800 96.000 97.000 99.500 1.92 จีน 32.012 34.400 36.830 39.200 41.000 6.46 รัสเซีย 31.154 32.010 32.020 32.150 32.300 0.77 บราซิล 24.262 24.965 24.845 23.660 24.500 -0.34 อื่นๆ 106.166 107.759 108.038 106.477 105.602 -0.32 รวม 527.738 539.662 545.212 544.587 550.498 0.94 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ด้านปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนย ปี 2562 - 2566ในประเทศผู้ผลิตที่ส าคัญ มีแนวโน้มเพิ่มต่อปี โดยในปี 2566 ปริมาณนมผงขาดมันเนยรวม 4.896 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.819 ล้านตัน ของ1.60โดยประเทศที่ผลิตนมผงขาดมันเนยมากที่สุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 1.500 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วของปริมาณทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 1.225 ล้านตันและอินเดีย 0.730 ล้านตัน คิดละ 25.02และร้อยละ 14.91ของปริมาณทั้งหมดข้องโลก ตามล าดับ ปริมาณการผลิตนมผงขาดมนัเนยในประเทศทสี่า คัญ หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหภาพยุโรป 1.556 1.590 1.504 1.514 1.500 -1.22 สหรัฐอเมริกา 1.107 1.209 1.249 1.195 1.225 1.93 อินเดีย 0.635 0.660 0.680 0.700 0.730 3.43 นิวซีแลนด์ 0.375 0.362 0.330 0.390 0.390 1.54 บราซิล 0.158 0.161 0.164 0.157 0.162 0.25 ญี่ปุ่ น 0.125 0.140 0.150 0.160 0.160 6.47 อื่นๆ 0.697 0.713 0.703 0.703 0.729 0.76 รวม 4.653 4.835 4.780 4.819 4.896 0.99 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส าหรับ ความต้องการบริโภคน ้านม ปี 2562-2566 ในประเทศที่ส าคัญของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึต่อปี โดยปี 2566 ความต้องการบริโภครวม 195.091 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 192.823 ล้านตันของปี 256ประเทศที่บริโภคน ้านมสูงที่สุด คือ อินเดีย ปริมาณ 87.450 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 44.83ของปริมทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป 23.650 ล้านตัน และสหรัฐอเมริกา 20.650 ล้านตัน คิดเป็น12.12และร้อยละ 10.58ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก ตามล าดับ ด้านปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนย ปี2562 - 2566 ในประเทศผู้ผลิตที่สำาคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.99 ต่อปีโดยในปี2566 ปริมาณนมผงขาดมันเนยรวม 4.896 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.819 ล้านตัน ของปี2565 ร้อยละ 1.60 โดยประเทศที่ผลิตนมผงขาด มันเนยมากที่สุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 1.500 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.64 ของปริมาณทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 1.225 ล้านตันและอินเดีย 0.730 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.02 และร้อยละ 14.91 ของปริมาณทั้งหมดข้องโลก ตามลำาดับ ปริมาณผลผลิตน ้ านมดิบในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหภาพยุโรป 143.060 145.436 144.833 144.378 144.000 0.06 สหรัฐอเมริกา 99.084 101.292 102.646 102.722 103.596 1.04 อินเดีย 92.000 93.800 96.000 97.000 99.500 1.92 จีน 32.012 34.400 36.830 39.200 41.000 6.46 รัสเซีย 31.154 32.010 32.020 32.150 32.300 0.77 บราซิล 24.262 24.965 24.845 23.660 24.500 -0.34 อื่นๆ 106.166 107.759 108.038 106.477 105.602 -0.32 รวม 527.738 539.662 545.212 544.587 550.498 0.94 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ด้านปริมาณการผลิตนมผงขาดมันเนย ปี 2562 - 2566ในประเทศผู้ผลิตที่ส าคัญ มีแนวโน้มต่อปี โดยในปี 2566 ปริมาณนมผงขาดมันเนยรวม 4.896 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.819 ล้านตัน 1.60โดยประเทศที่ผลิตนมผงขาดมันเนยมากที่สุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 1.500 ล้านตัน คิดเป็นสัของปริมาณทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 1.225 ล้านตันและอินเดีย 0.730 ล้านตันละ 25.02และร้อยละ 14.91ของปริมาณทั้งหมดข้องโลก ตามล าดับ ปริมาณการผลิตนมผงขาดมนัเนยในประเทศทสี่า คัญ หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหภาพยุโรป 1.556 1.590 1.504 1.514 1.500 -1.22 สหรัฐอเมริกา 1.107 1.209 1.249 1.195 1.225 1.93 อินเดีย 0.635 0.660 0.680 0.700 0.730 3.43 นิวซีแลนด์ 0.375 0.362 0.330 0.390 0.390 1.54 บราซิล 0.158 0.161 0.164 0.157 0.162 0.25 ญี่ปุ่ น 0.125 0.140 0.150 0.160 0.160 6.47 อื่นๆ 0.697 0.713 0.703 0.703 0.729 0.76 รวม 4.653 4.835 4.780 4.819 4.896 0.99 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส าหรับ ความต้องการบริโภคน ้านม ปี 2562-2566 ในประเทศที่ส าคัญของโลกมีแนวโน้มเต่อปี โดยปี 2566 ความต้องการบริโภครวม 195.091 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 192.823 ล้านตันของปีประเทศที่บริโภคน ้านมสูงที่สุด คือ อินเดีย ปริมาณ 87.450 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 44.83ขอทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป 23.650 ล้านตัน และสหรัฐอเมริกา 20.650 ล้านตัน คิ12.12และร้อยละ 10.58ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก ตามล าดับ สำาหรับ ความต้องการบริโภคน้ำานม ปี 2562-2566 ในประเทศที่สำาคัญของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.32 ต่อปี โดยปี 2566 ความต้องการบริโภครวม 195.091 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 192.823 ล้านตันของปี2565 ร้อยละ 1.18 ประเทศที่บริโภคน้ำานมสูงที่สุด คือ อินเดีย ปริมาณ 87.450 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 44.83 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป 23.650 ล้านตัน และสหรัฐอเมริกา 20.650 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.12 และร้อยละ 10.58 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมด ของโลก ตามลำาดับ
44 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ปริมาณการบริโภคน ้ านมในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) อินเดีย 79.000 81.000 83.000 85.000 87.450 2.55 สหภาพยุโรป 23.373 24.106 23.951 23.800 23.650 0.11 สหรัฐอเมริกา 21.050 21.027 21.000 20.900 20.650 -0.44 จีน 13.200 13.000 15.595 16.250 16.700 7.18 บราซิล 10.900 11.170 11.120 10.564 10.881 -0.59 รัสเซีย 7.270 7.080 6.990 6.900 6.800 -1.58 อื่นๆ 30.286 30.464 30.308 29.409 28.960 -1.24 รวม 185.079 187.847 191.964 192.823 195.091 1.32 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส่วน นมผงขาดมันเนย ปี 2562 - 2566 มีความต้องการบริโภคนมผงขาดมันเนยในประเทศที่ส าคัญแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 ต่อปี โดยในปี 2566 มีการบริโภครวม 4.000 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.932 ล้านตัน ขร้อยละ 1.73 ประเทศที่มีการบริโภคสูงสุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 0.740 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1ปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ อินเดีย 0.735 ล้านตัน และเม็กซิโก 0.447 ล้านตัน คิดเปร้อยละ 18.38และร้อยละ 11.18ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก ตามล าดับ ปริมาณการบริโภคนมผงขาดมันเนยในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหภาพยุโรป 0.835 0.795 0.748 0.840 0.740 -1.85 อินเดีย 0.601 0.636 0.653 0.686 0.735 4.90 เม็กซิโก 0.340 0.353 0.382 0.378 0.447 6.35 จีน 0.358 0.355 0.446 0.359 0.424 3.56 สหรัฐอเมริกา 0.422 0.384 0.374 0.366 0.388 -2.14 รัสเซีย 0.183 0.187 0.188 0.182 0.192 0.69 อื่นๆ 1.094 1.115 1.123 1.121 1.074 -0.31 รวม 3.833 3.825 3.914 3.932 4.000 0.60 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 การส่งออก นมผงขาดมันเนยเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ส าคัญ ในช่วงปี 2562 –2566 การส่งออกของส าคัญมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 0.74 ต่อปี โดยในปี 2566 ส่งออกรวม 2.459 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.348 ล้าน2565ร้อยละ 4.73 ประเทศท่ี ่ ส่งออกมากท่ี ่ สดุคือ สหรฐัอเมรกิา ปรมิาณ 0.823 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3ปริมาณการส่งออกทั้ ้ งหมดของโลก รองลงมา ไดแ้ก่สหภาพยุโรป 0.800 ล้านตัน และนิวซีแลนด์ 0.425 ล้านตสัดส่วนร้อยละ 32.53และร้อยละ 17.28ของปรมิาณการส่งออกทั้ ้ งหมดของโลก ตามลา ดบั ส่วน นมผงขาดมันเนย ปี2562 - 2566 มีความต้องการบริโภคนมผงขาดมันเนยในประเทศที่สำาคัญของโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 ต่อปีโดยในปี2566 มีการบริโภครวม 4.000 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.932 ล้านตัน ของปี2565 ร้อยละ 1.73 ประเทศที่มีการบริโภค สูงสุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 0.740 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.50 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ อินเดีย 0.735 ล้านตัน และเม็กซิโก 0.447 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 18.38 และร้อยละ 11.18 ของปริมาณการบริโภคทั้งหมด ของโลก ตามลำาดับ ปริมาณการบริโภคน ้ านมในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) อินเดีย 79.000 81.000 83.000 85.000 87.450 2.55 สหภาพยุโรป 23.373 24.106 23.951 23.800 23.650 0.11 สหรัฐอเมริกา 21.050 21.027 21.000 20.900 20.650 -0.44 จีน 13.200 13.000 15.595 16.250 16.700 7.18 บราซิล 10.900 11.170 11.120 10.564 10.881 -0.59 รัสเซีย 7.270 7.080 6.990 6.900 6.800 -1.58 อื่นๆ 30.286 30.464 30.308 29.409 28.960 -1.24 รวม 185.079 187.847 191.964 192.823 195.091 1.32 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส่วน นมผงขาดมันเนย ปี 2562 - 2566 มีความต้องการบริโภคนมผงขาดมันเนยในประเทศที่ส าแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 ต่อปี โดยในปี 2566 มีการบริโภครวม 4.000 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.932 ล้านร้อยละ 1.73 ประเทศที่มีการบริโภคสูงสุด คือ สหภาพยุโรป ปริมาณ 0.740 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ อินเดีย 0.735 ล้านตัน และเม็กซิโก 0.447 ล้านตัน ร้อยละ 18.38และร้อยละ 11.18ของปริมาณการบริโภคทั้งหมดของโลก ตามล าดับ ปริมาณการบริโภคนมผงขาดมันเนยในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหภาพยุโรป 0.835 0.795 0.748 0.840 0.740 -1.85 อินเดีย 0.601 0.636 0.653 0.686 0.735 4.90 เม็กซิโก 0.340 0.353 0.382 0.378 0.447 6.35 จีน 0.358 0.355 0.446 0.359 0.424 3.56 สหรัฐอเมริกา 0.422 0.384 0.374 0.366 0.388 -2.14 รัสเซีย 0.183 0.187 0.188 0.182 0.192 0.69 อื่นๆ 1.094 1.115 1.123 1.121 1.074 -0.31 รวม 3.833 3.825 3.914 3.932 4.000 0.60 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 การส่งออก นมผงขาดมันเนยเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่ส าคัญ ในช่วงปี 2562 –2566 การส่งออส าคัญมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 0.74 ต่อปี โดยในปี 2566 ส่งออกรวม 2.459 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.348 2565ร้อยละ 4.73 ประเทศท่ี ่ ส่งออกมากท่ี ่ สดุคือ สหรฐัอเมรกิา ปรมิาณ 0.823 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยปริมาณการส่งออกทั้ ้ งหมดของโลก รองลงมา ไดแ้ก่สหภาพยุโรป 0.800 ล้านตัน และนิวซีแลนด์ 0.425 สัดส่วนร้อยละ 32.53และร้อยละ 17.28ของปรมิาณการส่งออกทั้ ้ งหมดของโลก ตามลา ดบั การส่งออก นมผงขาดมันเนยเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำาคัญ ในช่วงปี2562 - 2566 การส่งออกของประเทศที่สำาคัญมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 0.74 ต่อปีโดยในปี2566 ส่งออกรวม 2.459 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.348 ล้านตัน ของปี2565 ร้อยละ 4.73 ประเทศที่ส่งออก มากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา ปริมาณ 0.823 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.47 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป 0.800 ล้านตัน และนิวซีแลนด์0.425 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.53 และร้อยละ 17.28 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ของโลก ตามลำาดับ
ของโลก มี ของปี 2565 18.50 ของ ป็นสัดส่วน งประเทศท่ี ่ นตัน ของปี 33.47ของ ตัน คิดเป็น าคัญของโลก มี ตัน ของปี 2565 ยละ 18.50 ของ คิดเป็นสัดส่วน กของประเทศท่ี ่ 8ล้านตัน ของปี ยละ 33.47ของ ล้านตัน คิดเป็น สัตว์เศรษฐกิจ 45 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ปริมาณการส่งออกนมผงขาดมันเนยในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหรัฐอเมริกา 0.701 0.810 0.893 0.827 0.823 3.48 สหภาพยุโรป 0.945 0.831 0.788 0.711 0.800 -4.77 นิวซีแลนด์ 0.373 0.352 0.326 0.357 0.425 2.79 ออสเตรเลีย 0.128 0.129 0.156 0.154 0.130 2.10 เบลารุส 0.124 0.123 0.120 0.123 0.123 -0.16 สหราชอาณาจักร 0.082 0.072 0.052 0.047 0.065 -8.53 อื่นๆ 0.165 0.095 0.108 0.129 0.093 -8.06 รวม 2.518 2.412 2.443 2.348 2.459 -0.74 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 การน าเข้า ในช่วงปี 2562 - 2566 การนา เขา้นมผงขาดมันเนยของประเทศท่ี ่ สา คญัมีแนวโนม้เพิร้อยละ 0.04 ต่อปี โดยในปี 2566 ปริมาณน าเข้ารวม 1.509 ลา้นตนัเพิ่ ่ มขึ้ ้ นจาก 1.455 ล้านตัน ของปี 256ประเทศท่ีนา เขา้มากท่ีสดุคือ จีนและเม็กซิโก โดยทั้ ้ ง 2 ประเทศ มีปริมาณน าเข้า 0.400 ล้านตัน คิดเป็นส26.51ของปรมิาณการนา เขา้ทั้ ้ งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ แอลจีเรีย 0.180 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยปริมาณการนา เขา้ทั้ ้ งหมดของโลก ตามลา ดบั ซึ่งส่วนใหญ่จะน าไปใช้เป็นส่วนประกอบในการแปรรูปผลิตภท าเป็นน ้านมเพื่อใช้บริโภค ปริมาณการน าเข้านมผงขาดมนัเนยในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) จีน 0.344 0.336 0.426 0.335 0.400 3.03 เม็กซิโก 0.361 0.309 0.338 0.333 0.400 2.84 แอลจีเรีย 0.120 0.144 0.138 0.165 0.180 9.93 อินโดนีเซีย 0.188 0.197 0.199 0.215 0.175 -0.56 ฟิ ลิปปินส์ 0.177 0.179 0.168 0.190 0.160 -1.41 รัสเซีย 0.088 0.060 0.059 0.055 0.050 -11.46 อื่นๆ 0.239 0.209 0.174 0.162 0.144 -11.91 รวม 1.517 1.434 1.502 1.455 1.509 0.04 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส าหรับประเทศไทย ปี 2562 -2566จา นวนโคนม มีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ 3.30 ต่อปีขณโครีดและปรมิาณน ้ ้ านมดิบ มีแนวโนม้ลดลงในอตัรารอ้ยละ2.30และร้อยละ 3.15 ต่อปี ตามล าดับ โดยในปี774,461 ตัว แม่โครีดนม 277,215 ตัว และผลผลิตน ้านมดิบ 1.141 ล้านตัน ลดลงจากโคนม 812,235 ตัวแ291,805 ตัว และปริมาณน ้านมดิบ 1.204 ล้านตัน ของปี 2565ร้อยละ 4.65 ร้อยละ 5.00 และร้อยละ 5.เนื่องจากผลจากโรคลัมปีสกิน (Lumpy skin disease: LSD) ในปี 2565 กระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของแม่โค การนำาเข้า ในช่วงปี2562 - 2566 การนำาเข้านมผงขาดมันเนยของประเทศที่สำาคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.04 ต่อปีโดย ในปี2566 ปริมาณนำาเข้ารวม 1.509 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.455 ล้านตัน ของปี2565 ร้อยละ 3.71 ประเทศที่นำาเข้ามากที่สุด คือ จีน และเม็กซิโก โดยทั้ง 2 ประเทศ มีปริมาณนำาเข้า 0.400 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.51 ของปริมาณการนำาเข้าทั้งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ แอลจีเรีย 0.180 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.93 ของปริมาณการนำาเข้าทั้งหมดของโลก ตามลำาดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะ นำาไปใช้เป็นส่วนประกอบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่น ๆ หรือทำาเป็นน้ำานมเพื่อใช้บริโภค ปริมาณการส่งออกนมผงขาดมันเนยในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) สหรัฐอเมริกา 0.701 0.810 0.893 0.827 0.823 3.48 สหภาพยุโรป 0.945 0.831 0.788 0.711 0.800 -4.77 นิวซีแลนด์ 0.373 0.352 0.326 0.357 0.425 2.79 ออสเตรเลีย 0.128 0.129 0.156 0.154 0.130 2.10 เบลารุส 0.124 0.123 0.120 0.123 0.123 -0.16 สหราชอาณาจักร 0.082 0.072 0.052 0.047 0.065 -8.53 อื่นๆ 0.165 0.095 0.108 0.129 0.093 -8.06 รวม 2.518 2.412 2.443 2.348 2.459 -0.74 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 การน าเข้า ในช่วงปี 2562 - 2566 การนา เขา้นมผงขาดมันเนยของประเทศท่ี ่ สา คญัมีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นเล็กนอ้ย ร้อยละ 0.04 ต่อปี โดยในปี 2566 ปริมาณน าเข้ารวม 1.509 ลา้นตนัเพิ่ ่ มขึ้ ้ นจาก 1.455 ล้านตัน ของปี 2565ร้อยละ 3.71 ประเทศท่ีนา เขา้มากท่ีสดุคือ จีนและเม็กซิโก โดยทั้ ้ ง 2 ประเทศ มีปริมาณน าเข้า 0.400 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.51ของปรมิาณการนา เขา้ทั้ ้ งหมดของโลก รองลงมา ได้แก่ แอลจีเรีย 0.180 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.93ของ ปริมาณการนา เขา้ทั้ ้ งหมดของโลก ตามลา ดบั ซึ่งส่วนใหญ่จะน าไปใช้เป็นส่วนประกอบในการแปรรูปผลิตภณัฑอ์ื่ ่ นๆ หรือ ท าเป็นน ้านมเพื่อใช้บริโภค ปริมาณการน าเข้านมผงขาดมนัเนยในประเทศทสี่า คัญของโลก หน่วย : ล้านตัน ประเทศ 2562 2563 2564 2565 25661/ อัตราเพิ่ ม (%) จีน 0.344 0.336 0.426 0.335 0.400 3.03 เม็กซิโก 0.361 0.309 0.338 0.333 0.400 2.84 แอลจีเรีย 0.120 0.144 0.138 0.165 0.180 9.93 อินโดนีเซีย 0.188 0.197 0.199 0.215 0.175 -0.56 ฟิ ลิปปินส์ 0.177 0.179 0.168 0.190 0.160 -1.41 รัสเซีย 0.088 0.060 0.059 0.055 0.050 -11.46 อื่นๆ 0.239 0.209 0.174 0.162 0.144 -11.91 รวม 1.517 1.434 1.502 1.455 1.509 0.04 หมายเหตุ : 1/ข้อมูลเบื้องต้น ที่มา : Dairy, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, July 2023 ส าหรับประเทศไทย ปี 2562 -2566จา นวนโคนม มีแนวโนม้เพิ่ ่ มขึ้ ้ นในอตัรารอ้ยละ 3.30 ต่อปีขณะท่ี ่ จา นวนแม่ โครีดและปรมิาณน ้ ้ านมดิบ มีแนวโนม้ลดลงในอตัรารอ้ยละ2.30และร้อยละ 3.15 ต่อปี ตามล าดับ โดยในปี 2566 มีโคนม 774,461 ตัว แม่โครีดนม 277,215 ตัว และผลผลิตน ้านมดิบ 1.141 ล้านตัน ลดลงจากโคนม 812,235 ตัวและแม่โครีดนม 291,805 ตัว และปริมาณน ้านมดิบ 1.204 ล้านตัน ของปี 2565ร้อยละ 4.65 ร้อยละ 5.00 และร้อยละ 5.17 ตามล าดับ เนื่องจากผลจากโรคลัมปีสกิน (Lumpy skin disease: LSD) ในปี 2565 กระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของแม่โคที่เป็นโรครวม สำาหรับประเทศไทย ปี2562 - 2566 จำานวนโคนม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.30 ต่อปีขณะที่จำานวนแม่โครีดและปริมาณ น้ำานมดิบ มีแนวโน้มลดลงในอัตราร้อยละ 2.30 และร้อยละ 3.15 ต่อปีตามลำาดับ โดยในปี 2566 มีโคนม 774,461 ตัว แม่โครีดนม 277,215 ตัว และผลผลิตน้ำานมดิบ 1.141 ล้านตัน ลดลงจากโคนม 812,235 ตัว และแม่โครีดนม 291,805 ตัว และปริมาณน้ำานมดิบ 1.204 ล้านตัน ของปี2565 ร้อยละ 4.65 ร้อยละ 5.00 และร้อยละ 5.17 ตามลำาดับ เนื่องจากผลจากโรคลัมปีสกิน (Lumpy skin disease: LSD) ในปี2565 กระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของแม่โคที่เป็นโรครวมทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูง เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุนสะสม บางส่วนขายแม่โคให้กับฟาร์มขนาดกลางและปรับลดปริมาณการให้อาหารลง ส่งผลให้ผลผลิตน้ำานมดิบภาพรวมลดลง
46 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE ทั้ งราคาวตัถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูง เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุนสะสม บางส่วนขายแม่โคให้กับฟาร์มขนาดกลาง และปรับลดปริมาณการให้อาหารลง ส่งผลให้ผลผลิตน ้านมดิบภาพรวมลดลง ความตอ้งการบริโภค ผลผลิตน ้ ้ านมดิบส่วนใหญ่ใชแ้ ปรรูปภายในประเทศทั้ ้ งหมด โดยใชใ้นอุตสาหกรรมนม พรอ้มดื่ ่ ม และผลิตเป็นนมโรงเรียน โดยปี2562 - 2566 ความต้องการบริโภคนม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.44 ต่อปี โดย ในปี 2566 มีปริมาณ 1.240 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 1.260 ตัน ของปี 2565ร้อยละ 1.61 การส่งออกผลิตภัณฑ์นม ไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์นมหลายชนิด สินค้าส่งออกที่ส าคัญ ไดแ้ก่นมพรอ้มดื่ ่ ม นมเปรี้ ้ ยว โยเกิรต์เนยท่ีไดจ้ากนม และนมขน้หวาน เป็นตน้ โดยส่งออกไปยังประเทศเพ่ือนบา้นเป็นหลัก เช่น กัมพูชา เมียนมา สปป. ลาว มาเลเซีย เป็นต้น โดยในปี 2566 ส่งออกผลิตภัณฑ์นม ปริมาณ 352,155 ตัน มูลค่า 15,785 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 336,060 ตัน มูลค่า 14,774 ล้านบาท ของปี 2565ร้อยละ 4.79และร้อยละ 6.85 ตามลา ดบัทั้ ้ งนี้ไทยน าเข้า ผลิตภัณฑ์นมเพื่อใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมประเภทต่าง ๆ แล้วส่งออก ปริมาณและมูลค่านมและผลิตภัณฑน์มส่งออกของไทย ปี นมผงขาดมันเนย นมและผลิตภัณฑ์นม รวม ตัน พันบาท ตัน พันบาท ตัน พันบาท 2562 9,965 455 307,550 11,530 317,515 11,985 2563 5,213 402 1,539,762 12,607 1,544,975* 13,009 2564 5,709 578 299,995 12,678 305,704 13,256 2565 4,876 463 331,183 14,311 336,060 14,774 25661 3,435 515 348,720 15,270 352,155 15,785 อัตราเพิ่ ม (%) -19.72 3.97 -12.06** 7.13 -12.35 7.02 หมายเหตุ: 1/ ป ระมาณการ พิกัดศุลกากร 0401-0406 และ 2202.99.10.000 * ปี 2563 การส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ (รวมนม UHT ท่ี ่ บรจิาคใหก้มัพชูา) ** คา นวณรวมปรมิาณนมท่ี ่ บรจิาคใหก้มัพชูาในปี2563 ท่ี ่ มา: กรมศลุกากรการนา เขา้ผลิตภณัฑน์ม การน าเข้าผลิตภัณฑ์นม ปี 2562 -2566ไทยมีการน าเข้าผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.22 ต่อปี ไทย น าเข้านมและผลิตภัณฑ์นมปริมาณมาก เพื่อใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมประเภทต่าง ๆ แล้วส่งออก โดยในปี 2566 น าเข้า ผลิตภัณฑ์นมปริมาณ 270,860 ตัน มูลค่า 29,865 ล้านบาท ปริมาณลดลงจาก 384,542 ตันของปี 2565 ร้อยละ 29.56 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 22,371 ล้านบาท ของปี 2565 ร้อยละ 33.05 ซึ่งนมผงขาดมันเนยเป็นผลิตภัณฑ์นมน าเข้าทีส าคัญ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ผลิตนมพร้อมดื่ม นมข้น ขนมปัง ไอศกรีม โยเกิร์ต นมข้นหวาน ลูก กวาด และช็อกโกแลต เป็นต้น โดยในปี 2566 น าเข้านมผงขาดมันเนย 70,030 ตัน มูลค่า 8,410 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้น จาก 63,442 ตัน ของปี 2565ร้อยละ 10.38ขณะที่มูลค่าลดลงจาก 8,760 ล้านบาทของปี 2565ร้อยละ 3.99 การนำาเข้าผลิตภัณฑ์นม ปี2562 - 2566 ไทยมีการนำาเข้าผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.22 ต่อปีไทยนำาเข้านมและผลิตภัณฑ์ นมปริมาณมาก เพื่อใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมประเภทต่าง ๆ แล้วส่งออก โดยในปี2566 นำาเข้าผลิตภัณฑ์นมปริมาณ 270,860 ตัน มูลค่า 29,865 ล้านบาท ปริมาณลดลงจาก 384,542 ตันของปี2565 ร้อยละ 29.56 ขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 22,371 ล้านบาท ของปี2565 ร้อยละ 33.05 ซึ่งนมผงขาดมันเนยเป็นผลิตภัณฑ์นมนำาเข้าที่สำาคัญ สามารถนำามาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ผลิตนมพร้อมดื่ม นมข้น ขนมปัง ไอศกรีม โยเกิร์ต นมข้นหวาน ลูก กวาด และช็อกโกแลต เป็นต้น โดยในปี2566 นำาเข้านมผงขาดมันเนย 70,030 ตัน มูลค่า 8,410 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 63,442 ตัน ของปี 2565 ร้อยละ 10.38 ขณะที่มูลค่าลดลงจาก 8,760 ล้านบาทของปี 2565 ร้อยละ 3.99 ปริมาณและมูลค่านมและผลิตภัณฑน์มน าเข้าของไทย ปี นมผงขาดมันเนย นมและผลิตภัณฑ์นม รวม ตัน พันบาท ตัน พันบาท ตัน พันบาท 2562 68,313 5,042 190,918 15,487 259,231 20,529 2563 62,518 5,714 189,811 15,387 252,330 21,101 2564 64,971 6,817 196,093 18,314 261,064 25,131 2565 63,442 8,760 321,100 13,612 384,542 22,371 2566* 70,030 8,410 200,830 21,455 270,860 29,865 อัตราเพิ่ ม (%) 0.65 15.61 6.47 5.44 5.22 8.42 หมายเหตุ: 1/ ประมาณการ พิกัดศุลกากร 0401-0406 และ 2202.99.10.000 ท่ี ่ มา: กรมศลุกากร ราคา ปี 2566ราคากลางรบัซื้ ้ อน ้ ้ านมดิบหนา้ศนูยร์วบรวมนา ้นมดิบเฉลี่ ่ ยกิโลกรมัละ19.00 บาท และราคากลาง รบัซือ้น ้ ้ านมดิบหนา้โรงงานแปรรูปผลิตภณั ฑ์นมกิโลกรัมละ 20.50 บาท ซ่ึงศูนยร์วบรวมน ้ ้ านมดิบในแต่ละพื้ ้ นท่ี ่ มีการซือ้ ้้โ่ีไ้ี่่ิโัึ้ปี้ ความต้องการบริโภค ผลผลิตน้ำานมดิบส่วนใหญ่ใช้แปรรูปภายในประเทศทั้งหมด โดยใช้ในอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่ม และผลิตเป็นนม โรงเรียน โดยปี2562 - 2566 ความต้องการบริโภคนม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.44 ต่อปีโดยในปี2566 มีปริมาณ 1.240 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 1.260 ตัน ของปี2565 ร้อยละ 1.61 การส่งออกผลิตภัณฑ์นม ไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์นมหลายชนิด สินค้าส่งออกที่สำาคัญ ได้แก่ นมพร้อมดื่ม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย ที่ได้จากนม และนมข้นหวาน เป็นต้น โดยส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก เช่น กัมพูชา เมียนมา สปป. ลาว มาเลเซีย เป็นต้น โดยในปี2566 ส่งออกผลิตภัณฑ์นม ปริมาณ 352,155 ตัน มูลค่า 15,785 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 336,060 ตัน มูลค่า 14,774 ล้านบาท ของปี2565 ร้อยละ 4.79 และร้อยละ 6.85 ตามลำาดับ ทั้งนี้ ไทยนำาเข้าผลิตภัณฑ์นมเพื่อใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นมประเภทต่าง ๆ แล้ว ส่งออก
งมยมาท ายา6ที่ กนสัตว์เศรษฐกิจ 47 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ ราคา ปี2566 ราคากลางรับซื้อน้ำานมดิบหน้าศูนย์รวบรวมน้ำานมดิบเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท และราคากลางรับซื้อน้ำานมดิบหน้า โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมกิโลกรัมละ 20.50 บาท ซึ่งศูนย์รวบรวมน้ำานมดิบในแต่ละพื้นที่มีการซื้อขายตามคุณภาพน้ำานม โดยราคาที่เกษตรกร ขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.40 บาท สูงขึ้นจากปี2565 ร้อยละ 5.35 สำาหรับแนวโน้ม ปี2567 การผลิตของโลก ปี2567 คาดว่าผลผลิตน้ำานมดิบของโลกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศ ผู้ผลิตที่สำาคัญขยายการผลิตและมีจำานวนโคนมเพิ่มขึ้น ด้านความต้องการบริโภค ปี 2567 คาดว่าการบริโภคน้ำานมและผลิตภัณฑ์นมของโลกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมาตามปริมาณ ผลผลิตน้ำานมดิบของโลก การส่งออก ปี2567 คาดว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์นมของโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตของประเทศ ผู้ส่งออกหลักมีแนวโน้มทรงตัว และใช้ตอบสนองความต้องการบริโภคภายใน รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำาไร จากการลงทุนไม่มากนัก การนำาเข้า ปี2567 คาดว่า การนำาเข้าผลิตภัณฑ์นมของโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและ ภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ ทำาให้ความต้องการผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศของผู้บริโภคชะลอตัว ส่งผลให้การนำาเข้าเพิ่มขึ้นไม่มากนัก การผลิตของไทยปี 2567 คาดว่า จำานวนโคนมและแม่โครีดนมยังคงมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปีที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหา ต้นทุนการผลิตสูง จากอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น รวมทั้งสภาพอากาศร้อนและแล้งทำาให้พืชอาหารสัตว์ ขาดแคลน เกษตรกรรายย่อยต้องปรับลด ขนาดฝูงโค และบางรายเลิกกิจการ โดยขายโคเข้าโรงเชือดหรือขายให้ฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีการจัดการฟาร์มที่มีระบบและมีประสิทธิภาพ จึงคาด ว่า อัตราการให้น้ำานมดิบอาจจะเพิ่มขึ้น โดยปี2567 คาดว่า มีจำานวนโคนมทั้งหมด (ณ วันที่ 30 เมษายน) 723,788 ตัว แม่โครีดนม 267,899 ตัว ผลผลิตน้้ำานมดิบ 1.113 ล้านตัน ลดลงจากปี2566 ร้อยละ 6.54 ร้อยละ 3.36 และร้อยละ 2.49 ตามลำาดับ ความต้องการบริโภค ปี 2567 คาดว่า ความต้องการบริโภคนมมีจะแนวโน้มลดลงตามปริมาณผลผลิตนม ขณะที่ตลาดต่างประเทศ ยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์นมของไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผลจากค่าเงินบาทอ่อนตัวและต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ นมมีราคาสูงขึ้น ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์นม ปี2567 คาดว่า การส่งออกจะมีปริมาณใกล้เคียงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี2566 การนำาเข้าผลิตภัณฑ์นม ปี2567 คาดว่า การนำาเข้าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี2566 จา นวนโคนมและผลผลิตน ้ านมดิบของไทย รายการ 2562 2563 2564 2565 2566* อัตราเพิ่ ม(%) 2567** โคนมทั้งหมด ณ 1 ม.ค. (ตัว) 696,854 725,369 736,429 812,235 774,461 3.30 723,788 แม่โคนม ณ 1 ม.ค. (ตัว) 303,453 307,340 306,111 291,805 277,215 -2.30 267,899 ผลผลิตน ้านมดิบ (ล้านตัน) 1.292 1.294 1.265 1.204 1.141 -3.15 1.113 อัตราการให้นมของแม่โค (กก./ตัว/วัน) 11.660 11.510 11.320 11.300 11.280 -0.84 11.350 การบริโภคนมพร้อมดื่ม (ล้านตัน) 1.230 1.226 1.250 1.260 1.240 0.44 1.200 หมายเหตุ : *ข้อมูลเบื้องต้น **ประมาณการ ที่มา : ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร ราคา ปี 2567 คาดว่า ราคาน ้ ้ านมดิบท่ี ่ เกษตรกรขายไดจ้ะมีแนวโนม้ สงูขึ้ ้ นจากปี2566โดยเกษตรกรพัฒนาคุณ ภาพน ้านมดิบดีขึ้น ท าให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ปัจจยัท่ี ่ มีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาด ผลกระทบของสงครามยเูครนและสหพนัธรฐัรสัเซียท่ียงัคงยืดเยื้ ้ อ ทา ใหร้าคาอาหารสตัวน์ ้ ้ ามนัมีแนวโนม้ สงูขึน้ส่งผลใหต้น้ทุนการผลิตน ้ ้ านมโคเพิ่ ่ มขึ้ ้ นโดยเฉพาะฟารม์ขนาดเล็ก รวมทั้ ้ ง ปัญหาโรคระบาดสตัว์ทา ใหเ้กษตรกรมีค่าใชจ้่ายในการรกัษาและป้องกนัโรคเพิ่ ่ มขึ้ ้ น การฟื้ ้ นตวัของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน และจีน รวมถึงการเร่งเจรจาการคา้กบัตลาดส่งออกใหม่ของภาครฐั เป็นปัจจยับวกเพิ่ ่ มโอกาสในการส่่งออกผลิตภณัฑน์มของไทย ค่าเงินบาทอ่อนตัว เป็นปัจจัยบวกท าให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันด้านราคาจ าหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาด ต่างประเทศไดเ้พิ่มขึ้ ้ น ราคา ปี2567 คาดว่า ราคาน้ำานมดิบที่ เกษตรกรขายได้จะมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี2566 โดยเกษตรกรพัฒนาคุณภาพน้ำานมดิบดีขึ้น ทำาให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาด ผลกระทบของสงครามยูเครนและสหพันธรัฐรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ทำาให้ราคาอาหารสัตว์ น้ำามันมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำานมโคเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะฟาร์มขนาดเล็ก รวมทั้งปัญหาโรคระบาดสัตว์ ทำาให้เกษตรกรมีค่า ใช้จ่ายในการรักษาและป้องกันโรคเพิ่มขึ้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน และจีน รวมถึงการเร่งเจรจาการค้ากับตลาดส่งออกใหม่ของภาครัฐ เป็นปัจจัยบวกเพิ่มโอกาส ในการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของไทย ค่าเงินบาทอ่อนตัว เป็นปัจจัยบวกทำาให้ผู้ส่งออกสามารถแข่งขันด้านราคาจำาหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น
48 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE วิคแทม คอร์ปอเรชั่น ผสานความร่วมมืออีกครั้งกับ กลุ่ม บริษัท วีเอ็นยูฯ เพื่อจัดงาน VICTAM Asia (วิคแทม เอเชีย), Health & Nutrition Asia (เฮลท์แอนด์นิวทริชัน เอเชีย), และ GRAPAS Asia (กราปาส เอเชีย) โดยงานแสดงสินค้าชั้นนำา ดังกล่าวนับเป็นแพลตฟอร์มที่สำาคัญสำาหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สุขภาพสัตว์ โภชนาการสัตว์และการแปรรูปฯ อย่างครบวงจร โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2567 ณ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ พร้อม ต้อนรับผู้เข้าชมงานที่ลงทะเบียนกันมาอย่างคับคั่งเพื่อจับคู่ธุรกิจกับ ผู้จัดแสดงสินค้ากว่า 250 บริษัทชั้นนำา ที่นำาเสนอนวัตกรรมและ สินค้าล่าสุดภายในงาน นับเป็นโอกาสสำาคัญเนื่องจากปัจจุบัน อุตสาหกรรมปศุสัตว์สุขภาพสัตว์โภชนาการสัตว์และการแปรรูปฯ กำาลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังสามารถ สร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญ อัปเดตข้อมูลเชิงลึก แนวโน้ม อุตสาหกรรม จากวิทยากรระดับโลก ผ่านกิจกรรมประชุมสัมมนา ทางเทคนิคที่จัดขึ้นพร้อมกับนิทรรศการ Mr. Sebas van den Ende ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วิคแทม คอร์ปอเรชั่น ผู้จัดงาน VICTAM Asia กล่าวว่า “ในการจัดงาน VICTAM Asia ปีนี้ เรามุ่งเน้นไปที่ธีมหลักที่ต้องการนำาเสนอความ ก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์และอาหารสัตว์น้ำาที่กำาลัง พัฒนาในภูมิภาคเอเชีย รวมไปถึงเทคโนโลยีล่าสุดในการแปรรูป VICTAM Asia and Health & Nutrition Asia 2024 กระตุ้นธุรกิจอาหารสัตว์และสุขภาพสัตว์ ธัญพืช แป้ง และข้าว ควบคู่ไปกับความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนที่ สำาคัญ โดยเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก บริษัท Amandus Kahl, DSM, CSI Group, และ Van Aarsen มาร่วม เป็นผู้จัดแสดงสินค้าในปีนี้” Mr. Tom Faulkner ผู้จัดการโครงการอาวุโส บริษัท วีเอ็นยู ยุโรป จำากัด ผู้จัดงาน Health & Nutrition Asia กล่าวว่า “VNU Group มีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมปศุสัตว์และจัดงาน แสดงสินค้าขนาดใหญ่มากมาย ทั้งในเอเชีย และ ต่างทวีป สำาหรับ งาน Health & Nutrition Asia เป็นงานแสดงสินค้าเดียวที่เราให้ ความสำาคัญไปที่โปรไฟล์สุขภาพสัตว์อาหารและโภชนาการของสัตว์ เนื่องจากธุรกิจนี้กำาลังมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะ อาหารและโภชนการเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์และ คุณภาพของชิ้นเนื้อ การดูแลสุขภาพสัตว์ที่ดีจึงเป็นส่วนสำาคัญ ที่ธุรกิจปศุสัตว์ไม่อาจมองข้าม ซึ่งเราได้รวมผู้ประกอบการด้านนี้มา ให้ท่านได้เลือกสรรมากกว่า 250+ บริษัท 400+ แบรนด์ชั้นนำาจาก นานาประเทศเพื่อเจรจาธุรกิจกันภายในงาน Heath & Nutrition Asia พร้อมคัดสรรหัวข้องานสัมมนาในประเด็นที่น่าสนใจ นำาเสนอ โดยวิทยากรจากทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถานบันการเงิน และ ภาคเอกชน เพื่ออัปเดตข่าวสารความรู้ในแวงวงอุตสาหกรรมและ ขยายเครือข่ายธุรกิจอย่างไม่สิ้นสุด”
สัตว์เศรษฐกิจ 49 ข่าวสารและสาระสำาหรับวงการเลี้ยงสัตว์ นายสราญโรจน์สุทัศน์ชูโต ผู้อำานวยการฝ่ายบริหาร สำานักงาน ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) กล่าวว่า “การจัด งานแสดงสินค้าร่วมกันของสองผู้จัดงานชั้นนำาในอุตสาหกรรมครั้งนี้ นับเป็นงานที่ตอบโจทย์ในการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และกระตุ้น ความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าและงานประชุม สัมมนา หรือ MICE ในประเทศไทยได้อย่างไม่ต้องสงสัย เพื่อสร้าง รายได้ภาคการท่องเที่ยวให้กับประเทศโดยตรง การจัดงานแสดงสินค้า ครั้งนี้ นับเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่สำาหรับธุรกิจอาหารสัตว์และ สุขภาพสัตว์ที่เป็นส่วนสำาคัญสำาหรับห่วงโซ่อุปทานปศุสัตว์และความ มั่นคงด้านอาหารของโลก เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดแสดง สินค้าครั้งนี้จะสร้างมาตรฐานสูงสุดสำาหรับอุตสาหกรรมในอนาคตอัน ใกล้ต่อไป” นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า “ทางกรมปศุสัตว์ขอชื่นชมแนวคิดการจัดงานร่วมกัน ใน บริเวณเดียวกันของทั้ง VICTAM Asia และ Health & Nutrition Asia 2024 เพราะการจัดแสดงงานแสดงสินค้าระดับใหญ่ขนาดนี้ร่วม กันทำาให้ผู้เข้าร่วมได้รับบริการครบจบในจุดเดียวจากการที่ผู้จัดได้เชิญ ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมมาจากทั่วโลกเพื่อมาหารือกันถึงแนวโน้ม และบริการล่าสุด รวมถึงพัฒนาการทั้งวงการปศุสัตว์ในภาพรวมได้ เป็นอย่างดีสะท้อนถึงบทบาทอันสำาคัญยิ่งของภาคเกษตรกรรมและ ปศุสัตว์ในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และการช่วยสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี ประเทศไทยตระหนักถึงความ สำาคัญของภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์และมีความตั้งใจที่แน่วแน่ที่ จะผลักดันให้พัฒนาและมีการเจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง” คุณนิติพงศ์เลาหวิศิษฏ์รักษาการนายกสมาคมอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสัตว์ เลี้ยงเติบโตอย่างต่อเนื่องและโดดเด่นเป็นอย่างมาก โดยได้รับแรง สนับสนุนจากจำานวนของผู้เลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งคำานึงถึงสุขภาพ และความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นอันดับแรก ส่งผลให้ประชากรดังกล่าว ต่างมองหาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง หรือสินค้าพรีเมี่ยมมากยิ่งขึ้น โดยงาน VICTAM Asia and Health & Nutrition Asia ถือเป็น แพลตฟอร์มที่มอบโอกาสพิเศษให้กับนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ มีบทบาทสำาคัญในอุตสาหกรรม ได้มาพบปะ แบ่งปันความรู้ โชว์ นวัตกรรม และอัปเดตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการผลิตอาหาร สัตว์เลี้ยง สุขภาพ โภชนาการ รวมไปถึงการกำาหนดอนาคมของ อุตสาหกรรมฯ ในฐานะสมาคมฯ มีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริม ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของตลาดในประเทศและสร้างการเชื่อมต่อ ระดับโลก และเพื่อส่งเสริมประชาสัมพันธ์และช่วยเหลือสมาชิกในการ จัดกิจกรรมหรืองานต่าง ๆ อาทิงานแสดงสินค้านานาชาติภายใน ประเทศไทย” สำาหรับไฮไลต์สำาคัญภายในงาน VICTAM Asia และ Health & Nutrition Asia 2024 มีดังนี้ การนำาเสนองานสัมมนาสำาหรับ ผู้ที่สนใจและทำางานในธุรกิจอาหารสัตว์และสุขภาพสัตว์ โดยได้รับ ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและจากนานาประเทศ อาทิ เรื่อง Modernizing & Exploring the Future of Livestock Feed in 2024 โดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย, เรื่อง Global Trend of Shrimp Farming Industry โดย สมาคมการค้าปัจจัยการผลิต สัตว์น้ำาไทย, เรื่อง Aquafeed Extrusion Conference โดย Perendale Publishers Ltd, เรื่อง Precision Animal Farming and Future Challenges โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, หัวข้อ ที่เกี่ยวกับกลยุทธในการสร้างผลผลิตสำาหรับอาหารสัตว์ โดย Watt Global Media, หัวข้อที่เกี่ยวกับแมลงและโภชนาการสัตว์แห่งอนาคต โดย สมาคม AFFIA, หัวข้อที่เกี่ยวกับโปรไบโอติก พรีไบโอติก ที่ ใช้แทนยาปฏิชีวนะ โดย AFOB and TSB, และหัวข้อจากสถาบัน การเงินอย่าง Climate Journey: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ร่วมกันเพื่อห่วงโซ่คุณค่าโปรตีนจากสัตว์โดย UOB นอกจากนี้ยังมี สมาคมและหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิกรมประมง, สมาคม วิทยาศาสตร์สัตว์ปีกโลก (WPSA), GMP+ International, IFTC, Korean Animal Health Products Association (KAHPA), FAVATVMA และสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่พร้อมแบ่งปันความรู้และพูดคุยอภิปรายกับผู้เข้าชมงานทุกท่านเพื่อ ผลักดันการพัฒนาของภาคปศุสัตว์อย่างยั่งยืนอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม ได้ทางเว็บไซต์ www.victamasia.com และ www.vivhealthandnutrition.nl เกี่ยวกับงาน VICTAM Asia: งานแสดงสินค้าและการประชุมชั้นนำาระดับโลกด้านอุตสาหกรรม การผลิตอาหารสัตว์ มุ่งนำาเสนอเทคโนโลยีและเครื่องจักรผลิต อาหารสัตว์ รวมถึงเครื่องจักรผลิตและแปรรูปข้าว แป้ง ธัญพืช พร้อมทั้งครอบคลุมถึงอุปกรณ์เสริมและระบบที่สำาคัญและจำาเป็นมาก ที่ใช้ในโรงอาหารสัตว์อีกด้วย จัดโดย VICTAM Corporation เกี่ยวกับงาน Health & Nutrition Asia: งานแสดงสินค้าสำาหรับอุตสาหกรรมสุขภาพสัตว์-โภชนา การสัตว์และอาหารสัตว์แห่งภูมิภาคเอเชียเพื่อการเจรจาธุรกิจ ของ ผู้จัดงาน VIV worldwide มุ่งเน้นการนำาเสนอนวัตกรรมด้าน โภชนาการ เภสัชกรรม และแนวทางแก้ปัญหาด้านสุขภาพสัตว์ด้วย เทคโนโลยีขั้นสูง
50 สัตว์เศรษฐกิจ LIVESTOCK PRODUCTION MAGAZINE วีเอ็นยูกรุ๊ป ร่วมกับเครือข่าย VIV Worldwide แถลงข่าว อย่างเป็นทางการเปิดตัวงานใหม่ล่าสุดอย่าง “Horti Agri Next Asia” (ฮอร์ติ อะกริ เน็กซ์ เอเชีย) หรือเรียกสั้นๆ ว่า HAN Asia 2025 (ฮาน เอเชีย) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของภูมิภาคเอเชีย เป็นงาน แสดงสินค้าที่มุ่งเน้นการนำาเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อ การเกษตรพืชไร่พืนสวนสำาหรับอนาคตอย่างเต็มรูปแบบ โดยมี กำาหนดการจัดงาน ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2568 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งจะจัดควบคู่ไปกับงาน VIV Asia (วิฟ เอเชีย) และงาน Meat Pro Asia (มีท โปร เอเชีย) 2025 เพื่อผสานความ แข็งแกร่งให้กับตลาดเกษตรควบคู่ไปกับตลาดปศุสัตว์อย่างเต็ม รูปแบบ และเป็นมหกรรมงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคที่นัก ลงทุนทั่วโลกต้องจับตามอง Horti Agri Next Asia งานเกษตรใหม่ของเอเชีย “วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากใน การจัดงานแสดงสินค้าในภาคธุรกิจการเกษตร ตั้งแต่เริ่มเปิดตัวงาน Horti Asia 2012 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และตามมาด้วยงาน Agri Asia 2015 ในปี พ.ศ. 2558 และเราก็ดำาเนินการจัดงานเรื่อยมา จนกระทั่งปัจจุบัน” คุณอิกอร์ เพาก้า กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยูเอเชีย แปซิฟิค กล่าว “เรามุ่งมั่นที่จะสร้างเวทีเจรจาการค้า ที่ดีที่สุดให้กับอุตสาหกรรม ด้วยการขยายขอบเขตเชิงกลยุทธ์เพื่อ สอดรับไปกับแนวโน้มของภาคธุรกิจที่มีการหลอมรวมกันระหว่าง ธุรกิจเกษตรและปศุสัตว์อย่างลงตัว นำามาสู่การเปิดตัวงานใหม่ล่าสุด อย่าง Horti Agri Next Asia (ฮอร์ติ อะกริ เน็กซ์ เอเชีย) หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “HAN Asia” (ฮาน เอเชีย) ในปี 2025 นี้ ซึ่งจะ จัดควบคู่ไปกับงาน VIV Asia (วิฟ เอเชีย) และงาน Meat Pro Asia (มีท โปร เอเชีย) อย่างเต็มรูปแบบบนพื้นที่การจัดงานมากกว่า 75,000 ตารางเมตรของ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ครอบคลุมตั้งแต่ การเลือกและปลูกเมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงอาหาร รวมทั้งภาคเกษตรและ ปศุสัตว์อย่างลงตัว” Dr. Gijs Theunissen DVM อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่าย เกษตร) - สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำาประเทศไทย กล่าวว่า “ความท้าทายในปัจจุบัน คือ การผลิตอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และเข้าถึงได้สำาหรับทุกคนด้วยวิธีการผลิตที่ยั่งยืน โดย คำานึงถึงมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การผสมผสานวิธีการผลิตแบบ เก่า (การทำาฟาร์มแบบธรรมชาติ) เข้ากับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ (AI, โดรน) มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจ สอบความเป็นไปได้ซึ่งได้ประโยชน์เทียบเท่ากันทุกฝ่าย งานแสดง สินค้าอย่าง Horti Agri Next (HAN Asia) เปิดโอกาสให้เราได้สร้าง เครือข่าย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้และรับข้อมูลเชิงลึก รวมถึงแรงบันดาลใจใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นสำาหรับ ความร่วมมือและความสำาเร็จในอนาคต” “การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ไม่เพียง แต่เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจ แต่เป็นการยกระดับ ขีดความสามารถให้แก่เกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมหลักของ ประเทศอย่างยั่งยืนด้วย” รศ.ดร. เกียรติศักดิ์แสงประดิษฐ์, ที่ปรึกษา ธุรกิจเกษตรภัณฑ์และผู้อำานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้จัดการ หน่วย บ่มเพาะวิสาหกิจ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าว “ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเชื่อมโยงงานทั้ง 2 งานไว้ในวาระ เดียวกัน นับเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับลูกค้า/ผู้ลงทุน ที่ดำาเนิน ธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำา-ปลายน้ำา/ตั้งแต่การเพาะปลูกพืช จนถึง กระบวนการแปรรูปได้มาอัพเดทเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในธุรกิจได้ครบ จบที่เดียว อีกทั้งเป็นโอกาสในการศึกษา ทิศทางการ ขยายธุรกิจ ขยายฐานลูกค้า จากด้านปศุสัตว์อย่างเดียว สู่ด้าน การเกษตร หรือจากเดิมทำาการเกษตรอย่างเดียว เข้ามาใช้ในด้าน ปศุสัตว์ เป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เป็น Eco System ของ ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารอย่างสมบูรณ์” VNU เปิดตัว HAN Asia 2025 ดัน เศรษฐกิจเกษตรร่วมปศุสัตว์ครบวงจร VNU เปิดตัว HAN Asia 2025 ดัน เศรษฐกิจเกษตรร่วมปศุสัตว์ครบวงจร