The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

มาตรฐานการศึกษากับการประกันคุณภาพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Pongwat, 2021-03-14 05:42:44

มาตรฐานการศึกษากับการประกันคุณภาพ

มาตรฐานการศึกษากับการประกันคุณภาพ

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ
กับการประกนั คุณภาพการศกึ ษา
สู่การพฒั นาการศึกษาของคนไทย

ส�ำ นกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

279.158 ส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา
ส 691 ม มาตรฐานการศึกษาของชาติกับการประกันคุณภาพ
การศึกษาของคนไทย
กรุงเทพฯ : 2563
28 หนา้
ISBN : 978-616-270-266-2
1. มาตรฐานการศึกษาของชาต ิ 2. ช่อื เรื่อง


มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกบั การประกันคุณภาพการศกึ ษาของคนไทย
สิ่งพมิ พ์ สกศ. อนั ดับท่ี 36/2563
ISBN 978-616-270-266-2
พิมพค์ รงั้ ที่ 1 กนั ยายน 2563
จำ� นวนพมิ พ ์ 1,000 เล่ม
พิมพเ์ ผยแพร่โดย กลุ่มมาตรฐานการศึกษา
ส�ำนกั มาตรฐานการศึกษาและพฒั นาการเรยี นรู้
ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
99/20 ถนนสุโขทัย เขตดสุ ติ กรุงเทพฯ 10300
โทรศพั ท์ : 0 2668 7123 ตอ่ 2528
โทรสาร : 0 2243 1129
Website : www.onec.go.th
พิมพท์ ี่ บริษัท 21 เซน็ จูรี่ จ�ำกัด
19/25 หมู่ 8 ถนนเตม็ รกั -หนองกางเขน
ต�ำบลบางครู ดั อ�ำเภอบางบวั ทอง จังหวดั นนทบรุ ี 11110
โทรศัพท์ : 0 2150 9676-8
โทรสาร : 0 2150 9679
E-mail : [email protected]
Website : www.21century.co.th

ค�ำน�ำ

ตามท่ีคณะรฐั มนตรีให้ความเหน็ ชอบมาตรฐานการศกึ ษาของชาติ พ.ศ. 2561
เมอ่ื วนั ที่ 2 ตลุ าคม 2561 และมมี ตใิ หส้ ำ� นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษาเรง่ ดำ� เนนิ การ
ช้ีแจงแนวทางการด�ำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของชาติให้ทุกหน่วยงาน
ท่ีเกี่ยวข้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจน ถูกต้องตรงกัน สามารถแปลงกรอบผลลัพธ์
ที่พึงประสงค์ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง เช่ือมโยง และเป็นไปในแนวทาง
เดียวกนั
ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดท�ำเอกสารมาตรฐานการศึกษา
ของชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การพัฒนาการศึกษาของคนไทยขึ้น
เพื่อให้ครู ผู้บริหาร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานเร่ืองมาตรฐานและ
การประกันคุณภาพการศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป เกิดความรู้ ความเข้าใจ
ในเร่ืองมาตรฐานการศึกษาของชาติ รวมท้ังการประกันคุณภาพการศึกษา ต้ังแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน และสามารถน�ำมาตรฐานการศึกษาของชาติไปใช้เป็นกรอบ
ในการด�ำเนนิ งานไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ
ส�ำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ท่ีมี
สว่ นเก่ยี วข้องและผ้ทู ส่ี นใจทุกท่าน ได้นำ� ไปใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินงานพัฒนา
คุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะหรือผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาทั้ง
3 ดา้ น คือ ผูเ้ รยี นรู้ ผู้รว่ มสรา้ งสรรค์นวตั กรรม และพลเมอื งท่เี ขม้ แขง็ ตามท่กี ำ� หนด
ไวใ้ นมาตรฐานการศึกษาของชาติต่อไป

(นายสภุ ทั ร จ�ำปาทอง)
เลขาธิการสภาการศกึ ษา

สารบัญ

หนา้
หลกั การพื้นฐาน 1

ความหมายของมาตรฐานการศกึ ษา 1

มาตรฐานการศึกษาของชาต ิ 3

การประกันคุณภาพการศกึ ษา 9

การดำ� เนนิ งานของ สมศ. กับกฎกระทรวงการประกนั คุณภาพ 14


มาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ 15


ขอ้ ค้นพบและขอ้ เสนอแนะแนวทางการด�ำเนนิ การในอนาคต 21

มาตรฐานการศึกษาของชาติ
กบั การประกนั คณุ ภาพการศึกษา
ส่กู ารพฒั นาการศึกษาของคนไทย

หลกั การพ้ืนฐาน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และท่แี กไ้ ขเพิม่ เติม (ฉบับท่ี 2)
พ.ศ. 2545มาตรา33กำ� หนดให้สภาการศกึ ษา
มหี นา้ ทพี่ จิ ารณาเสนอมาตรฐานการศกึ ษา
เพื่อด�ำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษา
แห่งชาติ สำ� นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
จงึ ไดด้ ำ� เนนิ การจดั ทำ� มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ
เพ่ือเป็นข้อก�ำหนดเก่ียวกับคุณลักษณะ คุณภาพ
ท่ีพึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดข้ึนในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพ่ือใช้
เป็นหลักในการเทียบเคียงส�ำหรับการส่งเสริมและก�ำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล
และการประกนั คุณภาพทางการศึกษา

ความหมายของมาตรฐานการศกึ ษา

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization
for Standardization - ISO) ได้ใหน้ ิยามความหมายของมาตรฐานไวว้ ่า มาตรฐาน
(Standard) หมายถึง เอกสารท่ีแสดงเกี่ยวกับข้อก�ำหนด รายละเอียด แนวทาง
หรือคุณลักษณะ อันจะท�ำให้มั่นใจได้ว่าวัตถุ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และบริการ

มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ บั การประกนั คุณภาพการศกึ ษา 1
สกู่ ารพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย

เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของส่ิงเหล่านั้น1 ขณะท่ี
องค์กร standard Australia ได้ให้นิยาม
ของมาตรฐานไว้ว่า มาตรฐาน คือ เอกสาร
ที่ก�ำหนดรายละเอียด ขั้นตอน แนวทาง
ท่ีจะท�ำให้ม่ันใจว่าผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ
ระบบนน้ั มคี วามปลอดภยั เชอ่ื ถอื ได2้ สำ� หรบั
ประเทศไทยได้มีการก�ำหนดความหมายของ

มาตรฐานไว้หลายแห่ง อาทิ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้
ค�ำนิยามของมาตรฐานว่า มาตรฐาน คือ สิ่งท่ีถือเป็นหลักส�ำหรับเทียบก�ำหนด
ส่วนพระราชบญั ญัติการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และทแ่ี ก้ไขเพม่ิ เตมิ (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 ให้ความหมายของมาตรฐานการศึกษา ไว้ในมาตรา 4 ว่า มาตรฐาน
การศึกษา หมายถึง ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพท่ีพึงประสงค์
และมาตรฐานท่ีต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลัก
ในการเทียบเคียงส�ำหรับการส่งเสริมและก�ำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล
และการประกันคณุ ภาพทางการศึกษา
ในตา่ งประเทศไดม้ กี ารนยิ ามความหมายมาตรฐานการศกึ ษาไวอ้ ยา่ งหลากหลาย
อาทิ ส�ำนักการศกึ ษาและการฝึกอบรม (Department of Education and Training)
ประเทศออสเตรเลยี ใหค้ วามหมายของมาตรฐานการศกึ ษาไวว้ า่ มาตรฐาน หมายถงึ
ส่ิงที่ผู้เรียนควรจะรู้และสิ่งที่ผู้เรียนสามารถจะท�ำได้ในแต่ละระดับการศึกษา
มาตรฐานจะต้องเป็นจุดอ้างอิงทใ่ี ช้ส�ำหรบั การวางแผนการสอนและการเรยี นรู้ และ
สำ� หรบั ประเมนิ ผลความกา้ วหนา้ ในการเรยี นของผเู้ รยี นมาตรฐานจะชว่ ยใหผ้ สู้ อนวาง
เป้าหมาย การติดตามความส�ำเร็จ และโปรแกรมการพัฒนา ท่ีจะช่วยสนับสนุน
และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน3 มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

_________________________

1 ทมี่ า http://www.iso.org/iso/home/standards.htm เข้าถึงเมื่อวนั ท่ี 20 ก.พ. 60
2 ที่มา http://www.standards.org.au/StandardsDevelopment/What_is_a_Standard/Pages/default.

aspx เขา้ ถงึ เม่อื วันท่ี 20 ก.พ. 60
3 What is Standards based education ? http://www.education.vic.gov.au/Documents/school/
teachers/teachingresources/social/physed/standardsedu.pdf เขา้ ถึงเมื่อวนั ท่ี 15 พฤษภาคม 2559

2 มาตรฐานการศึกษาของชาตกิ บั การประกันคุณภาพการศกึ ษา
สู่การพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

ก็ได้ให้ความหมายของมาตรฐานการศึกษาเอาไว้ด้วย
เชน่ กนั โดยมาตรฐานการศกึ ษาหมายถงึ ความรแู้ ละ
ทักษะที่ผู้เรียนพึงมีอันเกิดจากการเข้ารับการศึกษา
มาตรฐานการศกึ ษาจะเปน็ พนื้ ฐานของการปฏริ ปู
การศกึ ษา ซงึ่ ผกู้ ำ� หนดนโยบายและนกั การศกึ ษา
จะต้องก�ำหนดผลลัพธ์อันพึงประสงค์ของผู้เรียน
และวิธีการวัดผลส�ำเร็จของผู้เรียนที่สะท้อนผลลัพธ์
อนั พงึ ประสงคเ์ หลา่ นน้ั 4นอกจากน้ีประเทศสหรฐั อเมรกิ า
ยังก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาไว้หลายรูปแบบ ต้ังแต่มาตรฐานการศึกษาในระดับรัฐ
ระดับมลรฐั รวมทง้ั มาตรฐานสาระวชิ า และมาตรฐานการสอน
จากนยิ ามความหมายของมาตรฐานประเภทตา่ งๆ ทไ่ี ดก้ ลา่ วมา มาตรฐานการศกึ ษา
จึงหมายถึง ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ อันจะเกิดข้ึนเมื่อผู้เรียน
เข้ารับการศึกษา โดยท่ีมาตรฐานการศึกษาจะมีองค์ประกอบเช่นใด ย่อมข้ึนกับ
คณุ ลกั ษณะของผู้เรียนท่ีผู้จัดการศึกษาประสงค์จะใหเ้ กดิ ขึ้นเชน่ นน้ั

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ

ประเทศไทยมีการจดั ทำ� มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ 2 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 มาตรฐานการศึกษาของชาติ ผ่านความเห็นชอบจากท่ีประชุม
คณะรัฐมนตรี เม่ือวันที่ 26 ตุลาคม 2547 ฉบับท่ี 2 มาตรฐานการศึกษา
ของชาติ พ.ศ. 2561 ผ่านความเห็นชอบจากท่ีประชุมคณะรัฐมนตรีเม่ือวันที่ 2
ตุลาคม 2561

_________________________

4 Education Standards http://www.library.illinois.edu/sshel/education/educstandards.html
เขา้ ถึงเมอื่ วันท่ี 15 พฤษภาคม 2559

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษา 3
ส่กู ารพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

 สังคมแห่งการเรยี นรสู้ ่กู ารพฒั นาคนตลอดชีวติ

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ ฉบบั ที่ 1 กำ� หนดหลกั การและอดุ มการณใ์ นการจดั
การศึกษาของชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
พระราชบัญญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพม่ิ เตมิ (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2545
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) นโยบาย
ของรัฐบาล รวมท้ังแนวโน้มการพัฒนาของโลกท่ีเน้นการพัฒนาอย่างย่ังยืนด้วย
การพฒั นาสังคมแหง่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต
อุดมการณ์จัดการศึกษาของชาติจึงถูกก�ำหนดให้เป็นเร่ืองของการจัดให้มีการศึกษา
ตลอดชวี ติ และการสรา้ งสงั คมไทยใหเ้ ปน็ สงั คมแหง่ การเรยี นรู้ ภายใตห้ ลกั การจดั การ
ศกึ ษาทใ่ี หค้ นไทยทงั้ ปวงไดร้ บั โอกาสเทา่ เทยี มกนั ทางการศกึ ษาพฒั นาคนไดอ้ ยา่ งตอ่ เนอ่ื ง
ตลอดชวี ติ (มาตรฐานการศกึ ษาของชาต,ิ 2548) ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั วสิ ยั ทศั นข์ องการพฒั นา
ประเทศว่า คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เป็นคนดี มีคุณธรรม และซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
(แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาต,ิ 2545)
มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ ฉบบั ท่ี 1 ประกอบดว้ ย 3 มาตรฐาน 11 ตวั บง่ ช้ี ไดแ้ ก่

มาตรฐานที่ 1 คณุ ลกั ษณะของคนไทยทพี่ งึ ประสงค์ ทง้ั ในฐานะพลเมอื ง

และพลโลก (คนไทยเปน็ คนเก่ง คนดี และมคี วามสุข) ตัวบ่งชี้ย่อย 5 ตวั ครอบคลมุ
เรอื่ ง สขุ ภาพ ความรแู้ ละทกั ษะทจี่ ำ� เปน็ ในการดำ� รงชวี ติ คณุ ธรรม จติ สาธารณะ และ
จติ ส�ำนกึ ในความเป็นพลเมอื งไทยและพลโลก

มาตรฐานที่ 2 แนวการจัดการศกึ ษา (จัดการเรยี นรู้ที่มุง่ พัฒนาผู้เรยี น

เปน็ ส�ำคญั และการบริหารโดยใชส้ ถานศกึ ษาเป็นฐาน) ตัวบง่ ช้ีย่อย 2 ตัว ครอบคลมุ
เรอ่ื ง หลกั สตู รการเรยี นรู้ การพฒั นาผเู้ รยี น การพฒั นาครู ผบู้ รหิ าร บคุ ลากรทางการศกึ ษา
และการบรหิ ารจัดการโดยใชส้ ถานศึกษาเปน็ ฐาน

4 มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกับการประกนั คุณภาพการศึกษา
สกู่ ารพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

มาตรฐานที่ 3 แนวการสรา้ งสงั คมแหง่ การเรยี นร/ู้ สงั คมแหง่ ความรู้

(การสร้างวถิ กี ารเรียนรู้ และแหล่งการเรยี นร้ใู ห้เข้มแข็ง) ตวั บ่งชีย้ อ่ ย 3 ตัว ครอบคลมุ
เร่ือง การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้เป็น
สังคมแหง่ การเรยี นรู้ การศกึ ษาวิจยั การสง่ เสรมิ สนบั สนุนแหลง่ การเรยี นรู้ การสร้าง
และจดั การความรใู้ นทุกระดับ ทกุ มติ ขิ องสังคม

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติฉบับท่ี 1
เนน้ การพัฒนาคนไทยตลอดชว่ งชีวิต
เพื่อนำ� ไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้

 โลกเปล่ียน ประเทศปรับ มาตรฐานขยับสู่ DOE

เน่ืองจากสถานการณ์ต่างๆ ของโลกและประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
ในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา อาทิ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีไดร้ บั การพฒั นาอยา่ งกา้ วกระโดดเทคโนโลยีปญั ญาประดษิ ฐ ์ อนิ เทอรเ์ นต็
ในทุกสิ่ง หุ่นยนต์ โดรน การแข่งขัน การลงทุนท่ีหลากหลาย สินค้าและบริการ
ท่ีตอบโจทย์ชีวิตรูปแบบใหม่ ตลอดจนการก�ำหนดรัฐธรรมนูญแห่งราชณาจักรไทย
พทุ ธศักราช 2560 ยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้
แผนยุทธศาสตรช์ าติ แผนปฏริ ูปประเทศด้านตา่ งๆ
แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาต ิ ฉบบั ที่12
(พ.ศ. 2560 - 2564) แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 - 2579 รวมท้ังแนวโน้มการพัฒนา
ที่เน้นสร้างทักษะ สมรรถนะของคนให้รู้จัก
เช่อื มโยง ปรับตวั ให้เขา้ กบั โลกที่เปลยี่ นไป
เพ่ือให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกท่ีเกิดข้ึนในปัจจุบันและอนาคต
รวมท้ังนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาและจัดการศึกษาของประเทศ จึงเกิด

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกบั การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา 5
สู่การพัฒนาการศึกษาของคนไทย

การปรบั ปรงุ มาตรฐานการศกึ ษาของชาตใิ หม ่ โดยเนน้ เฉพาะ
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา
ตามระดับและประเภทการศึกษา ให้เป็นคนไทย 4.0
ที่ตอบสนองวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศท่ีก�ำหนดไว้
ในยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี
หลกั การและอดุ มการณข์ องมาตรฐานการศกึ ษาของชาติพ.ศ.2561จงึ ถกู กำ� หนด
ให้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เป็นคนดี
มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเช่ียวชาญได้ตามความถนัดของตน เป็นพลเมืองดี
มีคุณภาพ และความสามารถสูง ได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา สามารถ
เปน็ ผรู้ ว่ มสรา้ งสรรคน์ วตั กรรม เพอ่ื ใหบ้ รรลเุ ปา้ หมายการพฒั นาประเทศสคู่ วามมนั่ คง
มง่ั คง่ั ยงั่ ยืน (มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561, 2562)
มาตรฐานการศกึ ษาของชาติพ.ศ.2561เนน้ พฒั นาผเู้ รยี นไปสผู่ ลลพั ธท์ พี่ งึ ประสงค์
ของการศกึ ษา(DesiredOutcomesofEducation:DOEThailand) โดยกำ� หนดผลลพั ธ์
ทพ่ี งึ ประสงคข์ องผเู้ รยี นทเี่ หมาะสมตามชว่ งวยั ในแตล่ ะระดบั และประเภทการศกึ ษา
เพ่ือพัฒนาให้เป็นบุคคลท่ีมีคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ ผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์
นวตั กรรมและพลเมอื งทเี่ ขม้ แขง็ โดยแตล่ ะดา้ นจะประกอบดว้ ยทกั ษะสำ� คญั ทค่ี นไทย
จะตอ้ งได้รบั การพัฒนาใหเ้ กิดขนึ้ คณุ ลักษณะละไม่เกิน 6 - 7 เรอ่ื ง ไล่ระดบั กันไป
ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา แต่ละระดับจะก�ำหนดทักษะส�ำคัญท่ีเด็กไทยจะต้อง
ไดร้ บั การพฒั นา เพอื่ ใหส้ ถานศกึ ษาใชเ้ ปน็ เปา้ หมายในการจดั การศกึ ษาเพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี น
เกดิ ผลลพั ธด์ งั กลา่ ว

มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561
เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกดิ ผลลัพธ์
ทพ่ี ึงประสงค์ของการศึกษา

เพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมน่ั คง มั่งค่ัง ยง่ั ยนื

6 มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกบั การประกนั คุณภาพการศึกษา
สกู่ ารพัฒนาการศึกษาของคนไทย

 มาตรฐานการศกึ ษาทแ่ี ตกต่าง

มาตรฐานการศึกษาของชาติ ฉบับท่ี 1
มีลักษณะเป็นข้อก�ำหนดคุณลักษณะหรือ
คุณภาพท่ีพึงประสงค์ และมาตรฐาน
ที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักในการ
เทียบเคียงส�ำหรับการส่งเสริม ก�ำกับดูแล ตรวจสอบ
การประเมนิ ผลและการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาดงั นนั้ มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ
จงึ ประกอบด้วยตวั บ่งช้ีหลักและตัวบ่งช้ียอ่ ย เพอ่ื ใชใ้ นการเทียบเคยี ง
มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561 ฉบับที่ 2 มีลักษณะเป็นข้อก�ำหนด
เกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพท่ีพึงประสงค์ เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งยึดเป็นกรอบ
ส�ำหรับการพัฒนาผู้เรียน ที่แตกต่างตามสภาพของท้องถิ่นและสถานศึกษา ดังนั้น
มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ พ.ศ. 2561 จงึ กำ� หนดในรปู แบบของผลลพั ธท์ พ่ี งึ ประสงค์
ของการศึกษา 3 ด้าน คือ ผู้เรยี นรู้ ผรู้ ่วมสรา้ งสรรค์นวตั กรรม และพลเมืองท่ีเข้มแขง็
เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะตามที่ก�ำหนดไว้ต้ังแต่
ระดบั ปฐมวยั จนถึงอดุ มศกึ ษา

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ ฉบับที่ 1
ใช้ในการเทียบเคยี งเพ่อื การกำ� กับ ดแู ล ตรวจสอบ
ประเมนิ ประกนั คุณภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

มาตรฐานการศึกษาของชาติ ฉบับท่ี 2
ใชเ้ ปน็ กรอบเปา้ หมายในการพัฒนาผเู้ รยี นท่ีแตกต่าง

ตามสภาพบรบิ ทและสถานศึกษา

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกับการประกันคณุ ภาพการศึกษา 7
สกู่ ารพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

8 กระบวนการจดั ท�ำมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561

มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ ับการประกันคุณภาพการศกึ ษา เรม่ิ กระบวนการจดั ท�ำ  กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ประชมุ
สกู่ ารพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ผทู้ รงคุณวฒุ ิ/
 แผนพฒั นาเศรษฐกิจและสงั คมฯ องค์กรหลัก ระดมความคดิ /
 รฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจกั รไทย ฉบับท่ี 12 พ.ศ. 2560 - 2564 วางกรอบแนวทาง
 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ
(ก.พ. - ม.ี ค. 59) การยกรา่ ง
พ.ศ. 2560 - 2579
ประชมุ ผูท้ รงคณุ วฒุ ิ/  นโยบายประเทศไทย 4.0 (รา่ ง) มาตรฐานการศกึ ษา (ส.ค. 60)
องคก์ รหลัก ระดมความคิด/  ทักษะและการเรยี นรทู้ ่ีจำ� เปน็ ของชาติ
วางกรอบแนวทางการยกร่าง
(เม.ย. - มิ.ย. 59) ในศตวรรษ 21 (พ.ย. 60)
 การปฏวิ ตั อิ ตุ สาหกรรม ครั้งท่ี 4
ขอ้ มูลเบ้ืองตน้ /ผลการประชุม/ระดมความคิด/วิจยั  การปฏวิ ตั ดิ ิจทิ ัล คกก.สภาการศกึ ษา
 เทคโนโลยีเปล่ยี นโลก ใหค้ วามเห็นชอบ

(Disruptive Technologies)

ทบทวน / ไม่ผ่าน (ธ.ค. 60)
ปรบั แกร้ ่าง รมว.ศธ.
ผลการประชุมหนว่ ยงาน ผลการวิจัย  ผลการติดตามประเมินผล
/ผทู้ รงคณุ วุฒิ  แนวทางการพัฒนา การจดั การศกึ ษาตาม (15 วัน) เสนอเรอ่ื งเขา้ ครม.
8 คร้ัง 19 ธ.ค. 58
16 ม.ี ค. 59 มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ ผ่าน (ธ.ค. 60)
21, 22 เม.ย. 59  การพัฒนามาตรฐาน พ.ศ. 2547 นำ� เสนอ
19 พ.ค. 59  สำ� รวจความคิดเหน็ เกย่ี วกบั ที่ประชุม
16 พ.ย. 59 และ การศึกษาของต่างประเทศ คุณลักษณะของคนไทย
22 ก.พ. 60 คณะรัฐมนตรี

ยกร่าง มาตรฐาน หนว่ ยงานท่ี ผ่าน
การศึกษาของชาติ เก่ียวข้องน�ำไปใช้ มาตรฐานการศกึ ษา
(ฉบบั ปรบั ปรุง) เปน็ แนวปฏิบัติ
(พ.ค.59) ของชาติ

ประชมุ ผู้ทรงคุณวฒุ ิ สกศ. ตดิ ตาม ประเมินผลการนำ� ไปใช้
และหน่วยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ ง เพ่ือปรบั ปรงุ / พัฒนามาตรฐาน
ใหข้ ้อเสนอแนะ 2 ครั้ง

การประกันคุณภาพการศกึ ษา

การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการ
ด�ำเนินการเพ่ือสร้างความเช่ือมั่นให้แก่
ผู้มีส่วนเก่ียวข้องและสาธารณชนว่า
สถานศกึ ษาสามารถจดั การศกึ ษาไดอ้ ยา่ งมี
คณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา และผเู้ รยี นจะไดร้ บั การศกึ ษาทมี่ คี ณุ ภาพจากสถานศกึ ษา
หลังจากท่ีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวทิ ยาลยั เดิม) ได้จัดทำ� ประกาศ
ทบวงมหาวิทยาลัยเก่ียวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อใช้ในสถาบัน
อุดมศึกษาช่วงปี 2545 ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มีการแก้ไขเพ่ิมเติมฉบับท่ี 2 ในปี พ.ศ. 2545 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศ
กฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพสำ� หรบั ระดบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐานและการอดุ มศกึ ษา
ข้ึนมาใช้ในปี พ.ศ. 2546

 กฎกระทรวงการประกันคุณภาพระดับการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน พ.ศ. 2546
กระทรวงศกึ ษาธิการไดป้ ระกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลกั เกณฑ์ และวิธี
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ.
2546 สาระสำ� คญั ของกฎกระทรวงฉบับนคี้ อื
 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดย
สถานศกึ ษาจะตอ้ งแตง่ ตง้ั คณะกรรมการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายในสถานศกึ ษา
เพอื่ แตง่ ตงั้ คณะบคุ คลขนึ้ มาทำ� หนา้ ทใ่ี นการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคณุ ภาพ
การศึกษาภายในสถานศึกษา
 สถานศกึ ษาจะตอ้ งจดั ทำ� มาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษาทสี่ อดคลอ้ ง
กับหลักสูตรการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พร้อมทั้งจัดท�ำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของสถานศกึ ษา และจดั ทำ� รายงานคุณภาพการศึกษาประจำ� ปี

มาตรฐานการศึกษาของชาตกิ ับการประกันคุณภาพการศกึ ษา 9
ส่กู ารพฒั นาการศึกษาของคนไทย

 หน่วยงานต้นสังกัดและส�ำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน
และรว่ มดำ� เนนิ งานตามระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษา
 ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาด�ำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ
สถานศกึ ษาอยา่ งนอ้ ย 1 ครง้ั ในทกุ 3 ปี และรายงานผลใหส้ ถานศกึ ษาและหนว่ ยงาน
ตน้ สงั กดั ทราบ

 กฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพระดบั อุดมศึกษา พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2546
ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดท�ำประกาศทบวงมหาวิทยาลัย
เรอื่ ง ระบบ หลกั เกณฑ์ และวธิ กี ารประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายในระดบั อดุ มศกึ ษา
พ.ศ. 2545 เพ่ือใช้เปน็ แนวปฏิบตั ิ สาระส�ำคัญของประกาศฉบับน้ี คอื
 ใหท้ บวงมหาวทิ ยาลยั สนบั สนนุ และสง่ เสรมิ สถาบนั อดุ มศกึ ษา จดั ทำ� ระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา ให้มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมท้ังให้มีการประเมินผล และติดตามตรวจสอบ
คณุ ภาพและมาตรฐานการศกึ ษาของสถาบนั อดุ มศกึ ษาจากภายในหรอื โดยหนว่ ยงาน
ต้นสังกัดท่ีมีหน้าที่ก�ำกับดูแลสถาบันการศึกษาเพ่ือเตรียมความพร้อมส�ำหรับ
การประเมินคณุ ภาพจากภายนอก
 ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาข้ึน

ในแต่ละคณะวิชาหรือสถาบันอุดมศึกษาเพ่ือก�ำหนดนโยบาย
หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการตรวจสอบและประเมิน ระบบ
กลไกและประเมนิ ผลการดำ� เนนิ งาน การประกนั คุณภาพ
การศึกษาภายในของแต่ละคณะวิชาหรือสถาบันอุดมศึกษา
โดยคณะวิชาหรือสถาบันอุดมศึกษา อาจจัดให้มีการ
ตรวจสอบและประเมินผลเป็นการภายในได้ตามที่เห็น
สมควร และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร
การศึกษาท่ีคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ต้องด�ำเนินการอยา่ งมรี ะบบและตอ่ เนอ่ื ง

10 มาตรฐานการศึกษาของชาตกิ ับการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา
สูก่ ารพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

หลังจากด�ำเนินการตามประกาศ
ฉบับปี พ.ศ. 2545 ในปี พ.ศ. 2546
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศกฎ
กระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และ
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษา ระดบั อุดมศึกษา พ.ศ. 2546
เพอื่ ใหเ้ ปน็ ไปตามพระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และทแี่ กไ้ ขเพิ่มเตมิ
(ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 5 และมาตรา 47 วรรคสอง โดยสาระส�ำคญั เกย่ี วกับ
ระบบและกลไกการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายในของกฎกระทรวงฉบบั นย้ี งั คงไว้
ตามประกาศทบวงมหาวทิ ยาลัยฯ พ.ศ. 2545

 กฎกระทรวงว่าดว้ ยระบบ หลกั เกณฑ์ และวิธีการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
พ.ศ. 2553
กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการ
ประกนั คณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 โดยรวมการประกนั คุณภาพภายในและภายนอก
ของการศึกษาทุกระดับไว้ในฉบับเดียวกัน ก�ำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพ
ภายในเพอื่ พฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาและมาตรฐานการศกึ ษาทกุ ระดบั ประกอบดว้ ย
การประเมินคุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การพัฒนา
คุณภาพการศึกษา และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
เพ่ือรับรองมาตรฐานและมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ทกุ ระดบั โดยสถานศกึ ษาทกุ ระดบั จะตอ้ งดำ� เนนิ การประกนั
คุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปี ต้องจัดท�ำ
รายงานประจำ� ปที เี่ ปน็ รายงานประเมนิ คณุ ภาพภายในเสนอ
ต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หนว่ ยงานต้นสังกดั และตอ้ ง
นำ� ผลการประเมนิ คณุ ภาพทงั้ ภายในและภายนอกไปประกอบการจดั ทำ�
แผนพฒั นาคุณภาพการศึกษาของสถานศกึ ษา

มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ ับการประกนั คุณภาพการศึกษา 11
สู่การพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

การศึกษาแต่ละระดับทั้งการศึกษาข้ันพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา
จะต้องมีคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในของแต่ละระดับ เพ่ือวางระเบียบ
หรือออกประกาศ ก�ำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ
เก่ียวกับการประกันคุณภาพภายในของการ
ศึกษาระดับนัน้ ๆ สถานศึกษาของแต่ละระดบั
จะต้องก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของ
สถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐาน
การศกึ ษาของชาติ และมาตรฐานการศกึ ษา
ของแต่ละระดับตามที่กระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศก�ำหนด
นอกจากน้ี ยังกำ� หนดให้หนว่ ยงานตน้ สังกดั
ของทุกระดับการศึกษาต้องจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
อย่างนอ้ ย 1 คร้ัง ในทกุ 3 ปี และแจง้ ผลให้สถานศกึ ษาของแตล่ ะระดบั ทราบ รวมทัง้
เปิดเผยผลการตดิ ตามตรวจสอบคณุ ภาพการศกึ ษาต่อสาธารณชน

 กฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศกึ ษา พ.ศ. 2561

กระทรวงศึกษาธิการได้ด�ำเนินการปรับปรุงเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวใหม่ โดยออกเปน็ กฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. 2561 สาระสำ� คญั คอื
 ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษา โดยการกําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไป
ตามมาตรฐานการศกึ ษาแตล่ ะระดบั และประเภทการศกึ ษาทรี่ ฐั มนตรวี า่ การกระทรวง
ศึกษาธิการประกาศกาํ หนด
 จัดทําแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพ
ตามมาตรฐานการศกึ ษาและดาํ เนนิ การตามแผนท่ีกาํ หนดไว้
 จดั ให้มกี ารประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศกึ ษา
 ติดตามผลการดําเนินการ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตาม
มาตรฐานการศึกษา

12 มาตรฐานการศึกษาของชาตกิ บั การประกนั คณุ ภาพการศึกษา
สู่การพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย

 จดั สง่ รายงานผลการประเมนิ ตนเองใหแ้ กห่ นว่ ยงานตน้ สงั กดั หรอื หนว่ ยงาน
ที่กํากับดูแลสถานศึกษาเป็นประจําทุกปี โดยหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน
ทก่ี าํ กบั ดแู ลสถานศกึ ษามหี นา้ ทใี่ นการใหค้ าํ ปรกึ ษาชว่ ยเหลอื และแนะนาํ สถานศกึ ษา
เพอื่ ให้การประกันคณุ ภาพการศกึ ษาของสถานศกึ ษาพฒั นาอยา่ งต่อเนื่อง

การประกันคณุ ภาพการศึกษา
เปน็ การพัฒนาและสร้างความเชอื่ มน่ั ว่า
สถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้
อยา่ งมคี ณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษา
และบรรลุเปา้ ประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด

หรือหน่วยงานท่ีก�ำกบั ดแู ล

 ปญั หาและการแก้ปัญหาการประกนั คุณภาพการศึกษา
การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาทผ่ี า่ นมา
ก่อนประกาศใช้กฎกระทรวงการประกัน
คณุ ภาพการศกึ ษา พ.ศ. 2561 ไมส่ อดคลอ้ ง
กบั หลกั การประกนั ประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา
ที่แท้จริง สถานศึกษาส่วนใหญ่จะใช้
มาตรฐานของหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การด�ำเนินการเพ่ือประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจึงไม่สะท้อนความเป็นจริง
ของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและสถานศึกษาที่แตกต่าง รวมท้ังหน่วยงาน
ที่ด�ำเนินการเร่ืองการประเมินคุณภาพภายนอก คือ ส�ำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ก็ได้จัดท�ำ
มาตรฐานของ สมศ. ข้ึนมาเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานศึกษาและครูผู้สอน เน่ืองจากสถานศึกษาต้องจัดการเรียน

มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ ับการประกันคุณภาพการศกึ ษา 13
สูก่ ารพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

การสอนให้ได้ตามมาตรฐานของหน่วยงานต้นสังกัดและ
ต้องค�ำนึงถึงมาตรฐานของ สมศ. อีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะ
อย่างย่ิงเรื่องการจัดท�ำเอกสารรายงานการประกันคุณภาพ
ภายในของสถานศึกษาและเอกสารต่างๆ เพ่ือรองรับ
การประเมินคุณภาพภายนอกให้กับ สมศ. ตรวจพิจารณา
เป็นการสร้างภาระแก่สถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษาท่ีจะต้องจัดท�ำเอกสาร
จ�ำนวนมากเพื่อรองรับการประเมินดังกล่าว รวมท้ังกระบวนการประเมินท่ีเป็นลักษณะ
การตัดสินว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน ส่งผลให้สถานศึกษาไม่สามารถจัดการศึกษาที่สะท้อนถึง
การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความแตกต่าง หลากหลายได้อย่างแท้จริง กฎกระทรวง
การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 จึงถูกก�ำหนดขึ้นเพ่ือแก้ไขปัญหาของ
การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาทผี่ า่ นมา โดยเนน้ ใหส้ ถานศกึ ษาจดั ทำ� มาตรฐานการศกึ ษา
ของสถานศึกษาตามบริบทท่ีแตกต่าง หลากหลาย สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์
ของสถานศึกษา โดยใช้มาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
เป็นกรอบในการจัดท�ำ เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามท่ีมาตรฐานการศึกษา
ของชาติก�ำหนดไว้ จากน้ันจดั ท�ำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การด�ำเนนิ งานตามแผน และ
การจัดท�ำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอในการพัฒนา
ตนเองใหม้ ีความกา้ วหน้าขนึ้ ไปอกี 1 ระดบั

การด�ำเนินงานของ สมศ. กบั กฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา

เมื่อกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ก�ำหนดเนื้อหา

สาระส�ำคัญดังกล่าวแล้วข้างต้น สมศ. จึงได้ก�ำหนดกรอบแนวทางในการประเมิน
คณุ ภาพภายนอกรอบ 4 ตามกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพ คือ
- การประเมินคุณภาพภายนอกเช่ือมโยงกับระบบประกันคุณภาพภายในของ
สถานศกึ ษาและหน่วยงานต้นสังกัด
- ให้ความส�ำคัญกับการประเมินคุณภาพการศึกษาเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ การประเมินการท�ำงานจากสภาพจริง เน้นที่ผลสัมฤทธ์ิ
ของผ้เู รียนเปน็ ส�ำคญั

14 มาตรฐานการศึกษาของชาติกับการประกนั คุณภาพการศึกษา
สู่การพฒั นาการศึกษาของคนไทย

- มีกลไกในการปฏิบัติท่ีเอื้อต่อการด�ำเนินการ
ตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละระดับ เกิด
ประสทิ ธภิ าพในการพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา และ
เกิดการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพของสถาน
ศึกษา

มาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ

มาตรฐานการศกึ ษา (Education Standards) มกั จะใชค้ วบคกู่ บั เรอ่ื งของคณุ ภาพ
(Quality) ทุกประเทศจะก�ำหนดเกณฑ์หรือเง่ือนไขด้านคุณภาพการศึกษา
ด้วยการระบุเป็นมาตรฐานการศึกษาภายใต้เกณฑ์หรือคุณภาพการศึกษา
ของแต่ละเร่ือง/แต่ละด้าน เพื่อให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาน�ำไปใช้
เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการศึกษาทั้งระบบ ให้บรรลุผลลัพธ์
ทพี่ งึ ประสงค์และเปา้ หมายทางการศึกษาทีแ่ ต่ละประเทศไดก้ ำ� หนดไว้
มาตรฐานการศึกษาจะถูกน�ำมาใช้เชื่อมโยงกับระบบการประเมิน ประกัน
คณุ ภาพทางการศกึ ษา โดยนำ� มาใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื ในการตรวจสอบคณุ ภาพของผเู้ รยี น
และคุณภาพของการจัดการศึกษาภายในสถาบันการศึกษา เพ่ือให้ได้คุณภาพ
ของผู้เรียนเป็นไปตามมาตรฐานที่ก�ำหนด และเป็นการสร้างความเชื่อม่ันในระบบ
การประเมินประกนั คุณภาพทางการศึกษาของสถาบันการศกึ ษาแต่ละแหง่

 มาตรฐานการศึกษาต่างประเทศกบั ระบบประกนั คุณภาพ
มาตรฐานการศึกษาถูกน�ำมาใช้ในลักษณะท่ีเป็น “เกณฑ์มาตรฐาน” หรือ
“Key State” ในการประกันคุณภาพ โดยส่วนใหญ่ต่างประเทศจะก�ำหนดอายุ
ของผู้เรียนในแต่ละช่วงช้ันตามระดับการศึกษาต้ังแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา
มธั ยมศกึ ษา และอดุ มศกึ ษา พรอ้ มกบั กำ� หนดเกณฑม์ าตรฐานสำ� หรบั การประเมนิ ผล
เพื่อใช้ในการเทียบเคียงให้ได้ระดับมาตรฐานท่ีก�ำหนด การสอบเพ่ือวัดและ

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติกับการประกันคุณภาพการศึกษา 15
สู่การพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย

ประเมินผลจึงเป็นการสะท้อน
ผลสัมฤทธ์ิของผู้เรียนในแต่ละ
ระดับว่า ผเู้ รียนมีคุณภาพ มสี มรรถนะ
ตามมาตรฐาน ที่ก�ำหนดไวใ้ นแต่ละ
ระดับหรือไม่ อย่างไร มาตรฐาน
การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือในการ
ตรวจสอบและเป็นหลักประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการจัดการศึกษา
ของสถาบนั การศึกษาแตล่ ะแห่ง
มาตรฐานการศึกษาในระบบประกันคุณภาพการศึกษาของต่างประเทศมักจะ
ถูกน�ำมาใช้ส�ำหรับจัดการศึกษาในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกัน
ตามสภาพของพ้ืนที่ สภาพแวดล้อม สังคม และกฎหมายที่บังคับใช้ในการจัด
การศกึ ษาของแต่ละประเทศ
สว่ นใหญม่ าตรฐานการศกึ ษาของตา่ งประเทศถกู สถานศกึ ษานำ� มาใชเ้ ปน็ กรอบ
หรือร่มใหญ่ส�ำหรับน�ำไปจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยหน่วยงาน
สว่ นกลางใหอ้ สิ ระและกระจายอำ� นาจไปสหู่ นว่ ยงานระดบั ภมู ภิ าคและระดบั ทอ้ งถน่ิ
สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งสามารถปรับหลักสูตรให้มีความสอดคล้อง
และเหมาะสมกับสภาพของพ้ืนท่ี โดยเช่ือมโยงกับการประเมินและการประกันคุณภาพ
การศกึ ษาทง้ั ภายในและภายนอกสถานศึกษาแตล่ ะแหง่ ด้วย

 ตวั อยา่ งมาตรฐานการศกึ ษาของตา่ งประเทศ
สหรัฐอเมริกา : มาตรฐานการศึกษาถูกก�ำหนดโดยรัฐบาลระดับมลรัฐ ซ่ึงแต่ละ
มลรฐั จะกำ� หนดมาตรฐานการศกึ ษาทแี่ ตกตา่ งกนั บางมลรฐั กำ� หนดเปน็ วตั ถปุ ระสงค์
การเรียนรู้แบบกว้างๆ บางมลรัฐก�ำหนดเป็นผลลัพธ์เชิงพฤติกรรมหรือเป้าหมาย
การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดข้ึนกับผู้เรียน โดยในแต่ละมลรัฐจัดท�ำกฎหมายซ่ึงเป็น
ข้อก�ำหนดด้านมาตรฐานให้สถานศึกษาท้ังรัฐและเอกชนต้องปฏิบัติตาม ท้ังน้ี
สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนภายใต้
การควบคมุ ดแู ลของรฐั บาลของแตล่ ะมลรฐั มาตรฐานดงั กลา่ วจะเรยี กวา่ “Common

16 มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ บั การประกันคุณภาพการศึกษา
ส่กู ารพัฒนาการศึกษาของคนไทย

Core Standards” ซ่ึงจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเน้ือหาวิชาทุกรายวิชาที่นักเรียน
ในแต่ละระดับช้ันจะต้องเรียน ส�ำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาเน้นการวัดผล
สมั ฤทธท์ิ างการเรยี นของผเู้ รยี นเปน็ หลกั (StudentLearningOutcome)และมาตรฐาน
การประเมนิ คณุ ภาพการศกึ ษาดงั กลา่ วจะเปน็ ไป
ตามที่องค์กรการประเมนิ ก�ำหนดขึ้น
อังกฤษ : มาตรฐานการศึกษาของประเทศ
อังกฤษมีลักษณะเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่อิงตาม
อายุของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น อังกฤษก�ำหนด
หลักสูตรการศึกษาของชาติ เรียกว่า National
Curriculum ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานสาระ
การเรียนรู้ตามระดับช่วงช้นั และเน้นการพัฒนา
ความรู้ความสามารถที่ผู้เรียนควรจะท�ำได้ในแต่ละช่วงชั้นให้ได้ตามมาตรฐาน
ท่กี �ำหนดไว้
มาตรฐานการศึกษาของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
และมาตรฐานการศึกษาตามหลักสูตรแห่งชาติส�ำหรับโรงเรียนประถมศึกษา
(National Curriculum for Primary School) นอกจากน้ียังก�ำหนดมาตรฐาน
การศกึ ษาของชาตดิ า้ นการรหู้ นงั สอื (Literacy) และดา้ นการคดิ คำ� นวณ (Numeracy)
การตรวจสอบคณุ ภาพจากกระบวนการการประกนั คณุ ภาพทางการศกึ ษาขององั กฤษ
มี 2 ขน้ั ตอนหลกั ไดแ้ ก่ การควบคมุ คณุ ภาพ (Quality Control) ซงึ่ เปน็ ความรบั ผดิ ชอบ
ของแตล่ ะสถาบนั เพอ่ื ใหส้ ถานศกึ ษาหรอื สถาบนั การศกึ ษาการจดั การเรยี นการสอน
ให้มคี ุณภาพ และการตรวจสอบกลไกการควบคุมคณุ ภาพ (Quality Audit) ที่เน้นถึง
ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
นิวซีแลนด์ : ระบบมาตรฐานการศึกษาชาติ (National Standards System)
ของนวิ ซแี ลนด์ กำ� หนดขนึ้ เพอ่ื ใชก้ ำ� กบั ดแู ลการบรหิ ารการศกึ ษาแบบกระจายอำ� นาจ
ให้บรรลุเปา้ หมายด้านคณุ ภาพการศกึ ษา
นิวซีแลนด์ก�ำหนดมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาข้ันพื้นฐาน เรียกว่า The New
Zealand Curriculum ซ่ึงเป็นหลักสูตรแกนกลางในการก�ำหนดทิศทางการเรียนรู้

มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ ับการประกันคุณภาพการศกึ ษา 17
สู่การพัฒนาการศึกษาของคนไทย

ของสถานศึกษาในประเทศ ประกอบด้วย
วิสัยทัศน์ ค่านิยมท่ีพึงประสงค์ (Values)
และสมรรถนะหลักสาระการเรียนรู้ (Key
Competencies) เพ่ือพัฒนาผู้เรียน
ให้บรรลุผลสัมฤทธ์ิทางการศึกษาตามที่
หลกั สตู รกำ� หนดไว้ (Achievement Objectives)
โดยเน้นการวัดและประเมินผลระหว่างการเรียนการสอน เพ่ือพัฒนาการเรียนรู้
ของผู้เรียนและพัฒนาการสอนของครู และใช้ข้อมูลจากการประเมินผลการเรียนรู้
ในการพฒั นาผเู้ รยี นนำ� ไปใชป้ รบั ปรงุ นโยบายการพฒั นาสถานศกึ ษา หลกั สตู รวธิ กี ารสอน
หรอื รายงานตอ่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผ้ปู กครอง และกระทรวงศึกษาธกิ ารฯ
นอกจากนี้นวิ ซแี ลนดไ์ ดก้ ำ� หนดมาตรฐานการศกึ ษาอน่ื ๆเชน่ มาตรฐานการศกึ ษา
ปฐมวัย มาตรฐานส�ำหรับผู้ที่จบชั้นประถมศึกษา รวมถึงการประเมินคุณสมบัติ
ของผ้สู �ำเรจ็ การศกึ ษาในแตล่ ะระดับดว้ ย
ส�ำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาของนิวซีแลนด์แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
(1) การศึกษาข้ันพื้นฐาน รับผิดชอบโดยส�ำนักงานตรวจสอบทบทวนทางการศึกษา
(ERO) ทำ� หนา้ ทใี่ นการประเมนิ และรายงานผลเกยี่ วกบั การศกึ ษา และ (2) การศกึ ษา
ระดบั อดุ มศกึ ษา รบั ผดิ ชอบโดยสำ� นกั งานรบั รองคณุ วฒุ ทิ างการศกึ ษาของนวิ ซแี ลนด ์
(NZQA) ท�ำหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพของผู้ส�ำเร็จการศึกษาให้เป็นไปตามกรอบ
คุณวฒุ กิ ารศึกษาทก่ี �ำหนด
การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาของนวิ ซแี ลนดถ์ อื เปน็ เครอ่ื งมอื สำ� หรบั ใชป้ ระเมนิ
ตนเอง เพอื่ รกั ษา ปรบั ปรงุ คณุ ภาพ ประเมนิ ผลลพั ธท์ ผี่ เู้ รยี นจะไดร้ บั โดยเนน้ ความตอ้ งการ
ของผเู้ รียนเปน็ หลัก
ฟนิ แลนด์ :ฟนิ แลนดไ์ มม่ มี าตรฐานการศกึ ษาของชาตเิ ปน็ การเฉพาะ แตม่ หี ลกั สตู ร
การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานภาคบงั คบั เปน็ หลกั สตู รแกนกลางแหง่ ชาตใิ นทกุ ระดบั การศกึ ษา
โดยหลักสูตรดังกล่าว จะมีความสอดคล้องกันท้ังระบบ ซ่ึงใช้เป็นกรอบพ้ืนฐาน
เพอื่ ใหโ้ รงเรยี นนำ� ไปพฒั นาปรบั หลกั สตู รใหเ้ หมาะสมกบั สภาพบรบิ ทของสถานศกึ ษา
แต่ละแหง่ ฟนิ แลนด์มีระบบการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน (Basic Education) ทเ่ี ปน็ รูปแบบ

18 มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ บั การประกนั คณุ ภาพการศึกษา
สู่การพฒั นาการศึกษาของคนไทย

เดียวกัน ทุกโรงเรียนต้องปฏิบัติตามกฎของรัฐและปฏิบัติตามหลักสูตรแกนกลาง
ของชาติ ส่วนครูผู้สอน แม้จะมีอิสระในการจัดการเรียนการสอน แต่มีเงื่อนไข คือ
ต้องสอนตามหลักสูตรท่ีก�ำหนด เพ่ือให้สามารถจัดการศึกษาได้ตามเป้าประสงค์
และได้ตามมาตรฐานของหลกั สตู รการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน
ฟินแลนดไ์ ม่มีระบบประกนั คณุ ภาพภายในทกุ ระดบั การศกึ ษา จงึ ใชผ้ ลการประเมิน
คุณภาพนักเรียนจากหลักสูตรท่ีสถาบันการศึกษาด�ำเนินการเป็นการตรวจสอบ
คุณภาพการจัดการศึกษา โดยก�ำหนดให้
ศนู ยป์ ระเมนิ การศกึ ษาของประเทศ (FINEEC)
เป็นหน่วยงานท่ีท�ำหน้าท่ีประเมินคุณภาพ
ภายนอก ตรวจสอบผลการจัดการศึกษา
ในภาพรวมของประเทศ และติดตามผล
การประเมินนกั เรยี นเป็นรายบคุ คล
อย่างไรก็ตาม การประกันคุณภาพการศึกษาของฟินแลนด์ นับว่าเป็นเครื่องมือ
สำ� คญั ในการขบั เคลอื่ นและพฒั นาการจดั การศกึ ษาเพอื่ ใหบ้ รรลวุ ตั ถปุ ระสงคข์ องหลกั สตู ร
แกนกลางระดบั ชาติ และสะท้อนความส�ำเร็จทางการศกึ ษาของฟนิ แลนด์
ญ่ีปุ่น : มาตรฐานการศึกษาของญ่ีปุ่นเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษา
ภาคบงั คบั ซงึ่ ญป่ี นุ่ ไดใ้ หค้ วามสำ� คญั กบั มาตรฐานดงั กลา่ ว โดยตระหนกั วา่ การศกึ ษา
ภาคบังคับเป็นสิทธิพ้ืนฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ประเทศญี่ปุ่นก�ำหนด
หลกั สตู รแกนกลาง (Course of Study) ของประเทศ โดยมาตรฐานการเรยี นรูก้ ารศึกษา
ภาคบังคับจะถูกก�ำหนดไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของผู้เรียนในแต่ละระดับ
การศึกษาภายใต้กรอบของหลักสตู รแกนกลางของประเทศ
นอกจากนี้ ญปี่ นุ่ ยงั ไดก้ ำ� หนดมาตรฐานการเรยี นรรู้ ายวชิ า มาตรฐานสำ� หรบั การวดั
และประเมินผลการจัดการศึกษา รวมถึงการทดสอบในระดับชาติ อย่างไรก็ตาม
มาตรฐานการศึกษาดังกล่าวเหล่าน้ี จะเก่ียวเนื่องกับระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษา โดยมีการประเมินคุณภาพท้ังในระดับสถาบันและระดับหลักสูตร
และสถานศึกษาทุกแห่งจะต้องจัดท�ำรายงานการประเมินตนเองเพื่อเสนอต่อ
กระทรวงศกึ ษาธิการ

มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ ับการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา 19
สู่การพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

สาธารณรัฐเกาหลี : ระบบมาตรฐานการศึกษาของสาธารณรัฐเกาหลี ก�ำหนด
ในรูปแบบของมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐานและหลักสูตรการศึกษา

ในแต่ละระดับการศึกษา เพ่ือให้สถานศึกษา
ใช้เปน็ กรอบในการจัดการศึกษา สถานศึกษา
ทุกแห่งจะต้องสอนตามหลักสูตรที่กระทรวง
ศึกษาธิการก�ำหนด เพ่ือให้ผู้เรียนมีคุณภาพ
มาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาซึ่งเป็นไป
ในแนวทางเดียวกัน รวมท้ังมีการสอบวัดผล
สัมฤทธ์ิทางการเรียนของผู้เรียนตามมาตรฐาน
การศึกษาในระดับชาติด้วย ส�ำหรับการประกัน
คุณภาพทางการศึกษาจะด�ำเนินการตามหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้
สถานศึกษาสามารถปรับปรงุ ใหเ้ หมาะสมกบั สภาพท้องถน่ิ และสถานศกึ ษาไดด้ ้วย

 มาตรฐานการศกึ ษาคอื กรอบหลกั ส�ำหรบั การพัฒนาผเู้ รยี น
จากกรณีตัวอย่างมาตรฐานการศกึ ษาของต่างประเทศ พบวา่
- มาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเทศถูกก�ำหนดไวเ้ พ่ือใช้เป็นกรอบหลักส�ำหรับ
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธ์ิในแต่ละระดับการศึกษา เพื่อเป็นเกณฑ์ส�ำหรับ
ผเู้ รยี นแต่ละระดบั หรอื แตล่ ะช่วงช้นั จะตอ้ งบรรลุ
- มาตรฐานการศกึ ษาถกู นำ� ไปใชเ้ ปน็ เครอื่ งมอื ในการประกนั คณุ ภาพทางการศกึ ษา
ของแต่ละประเทศ ภายใต้หน่วยงานท่รี บั ผิดชอบหลกั
- การประเมินภายในและภายนอกสถานศึกษา มีท้ังการประเมินผู้เรียน
การประเมินครผู สู้ อน และการประเมินโรงเรียน
- มาตรฐานการศึกษาในแต่ละประเทศจะเชื่อมโยงกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาข้ันพ้ืนฐานของประเทศ โดยมาตรฐานการศึกษาถูกก�ำหนดไว้ในหลักสูตร
การเรียนการสอนของผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาแต่ละแห่ง
สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามหลักสูตรท่ีก�ำหนดข้ึน และบรรลุเป้าประสงค์
เป็นไปตามท่หี ลักสตู รของแต่ละประเทศก�ำหนดไว้

20 มาตรฐานการศกึ ษาของชาตกิ ับการประกันคุณภาพการศกึ ษา
สกู่ ารพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย

- ต่างประเทศค่อนข้างให้อิสระอย่างเต็มท่ีกับหน่วยงาน
ในระดับภูมิภาค ระดับท้องถ่ิน และสถานศึกษา
ในการจดั การศกึ ษา แตส่ ำ� หรบั ประเทศแถบเอเชยี
แมจ้ ะยงั คงใหค้ วามเปน็ อสิ ระแกก่ ารจดั การศกึ ษา
แตก่ ไ็ มไ่ ดใ้ หอ้ สิ ระอยา่ งเตม็ ท่ี ยงั คงมกี ารควบคมุ
การจัดการศึกษาของภาพรวมในส่วนกลาง
- จุดเด่นของระบบการบริหารทางการศึกษา
ของต่างประเทศ คือ การใช้หลัก “การกระจาย
อ�ำนาจ” ไปยังหน่วยงานในระดับท้องถ่ิน เพื่อให้มีการ
จัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนท่ีของสถานศึกษาแต่ละแห่ง เน้นให้ผู้เรียน
เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ตามช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม และบรรลุเป้าประสงค์
ทางการศกึ ษา ที่ก�ำหนด โดยค�ำนงึ ถงึ ความแตกตา่ งของผเู้ รยี นเปน็ ส�ำคญั

ขอ้ คน้ พบและข้อเสนอแนะแนวทางการดำ� เนนิ การในอนาคต

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ แนวโน้มมาตรฐานการศึกษาของชาติที่ควรจะเป็นในอนาคตนั้น
มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ พ.ศ. 2561 ทม่ี ลี กั ษณะเปน็ DOE (Desired Outcomes
of Education) ยังคงมีความเหมาะสม เน่ืองจากมาตรฐานการศึกษาของชาติ
พ.ศ. 2561 ก�ำหนดเฉพาะผลลัพธ์ท่ีพึงประสงค์ของผู้เรียนครอบคลุมในทุกระดับ
การศึกษา ต้ังแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา และให้อิสระกับสถานศึกษา
ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามสภาพของสถานศึกษา ซ่ึงมาตรฐาน
การศึกษารูปแบบดังกล่าวมีความยืดหยุ่น มีความเหมาะสมกับสถานการณ์
ปัจจุบันที่ต้องการพัฒนาคุณลักษณะและทักษะส�ำคัญของคนไทยให้เกิดขึ้น
โดยให้อิสระกับสถานศึกษาในการก�ำหนดมาตรฐานการศึกษาของตนเองตามบริบท
ของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่าง
หลากหลาย และมปี ระสิทธภิ าพ

มาตรฐานการศึกษาของชาติกับการประกนั คุณภาพการศกึ ษา 21
สู่การพัฒนาการศกึ ษาของคนไทย

 ควรแยกผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและ
อาชวี ศกึ ษาออกจากกนั เน่อื งจากการจัดการศึกษาของผเู้ รยี นท้ังสองระดับมีรปู แบบ
การเรยี นการสอน ทกั ษะและสมรรถนะทแ่ี ตกตา่ งกนั โดยเพมิ่ เตมิ ผลลพั ธท์ พี่ งึ ประสงค์
ของระดับอาชีวศึกษาข้ึนมาอีกระดับหนึง่
 อาจปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาของชาติโดยเพิ่มเติมผลลัพธ์ท่ีพึงประสงค์
(คุณลักษณะของคนไทย 4.0) ในชว่ งวยั แรงงาน และวยั ผสู้ งู อายุ เพื่อให้ครอบคลุม
การพฒั นาคนไทยตลอดชว่ งชวี ติ สอดคลอ้ งกบั ยทุ ธศาสตรช์ าติ 20 ปี และแผนพฒั นา
ประเทศในเร่อื งตา่ งๆ
 ควรปรบั ปรงุ เพ่มิ เตมิ รายละเอยี ด
ตา่ งๆทก่ี ำ� หนดไวใ้ นมาตรฐานการศกึ ษา
ของชาติให้สามารถน�ำไปสู่การปฏิบัติ
ได้อย่างแท้จริง เพ่ือเป็นกรอบให้กับ
การจัดท�ำมาตรฐานการศึกษาของ
หน่วยงานต้นสังกัดท่ีจัดการศึกษาและ
สถานศึกษาทั้งการจัดท�ำหลักสูตรสถานศึกษาท่ีคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาข้ันพื้นฐาน ท่ีสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะตามท่ี
ก�ำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษา สามารถพัฒนาคนได้ตรงกับเป้าหมายของ
การพัฒนาประเทศ
 การประกันคุณภาพการศึกษา ควรยึดมาตรฐานการศึกษาของชาติเป็นหลัก
หลักการ แนวทาง เกณฑก์ ารประเมิน จะตอ้ งมคี วามเช่ือมโยง สมั พันธก์ ัน สะท้อนถงึ
การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพไดอ้ ยา่ งแท้จริง

22 มาตรฐานการศึกษาของชาติกบั การประกันคุณภาพการศึกษา
สู่การพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย

คณะผู้จดั ท�ำ

ที่ปรกึ ษา เลขาธิการสภาการศึกษา
ดร.สุภทั ร จ�ำปาทอง รองเลขาธกิ ารสภาการศึกษา
ดร.สมศักด์ิ ดลประสทิ ธิ์ ผอู้ ำ� นวยการสำ� นกั มาตรฐานการศึกษา
นายสำ� เนา เน้อื ทอง และพฒั นาการเรียนรู้
ผู้อำ� นวยการกลมุ่ มาตรฐานการศกึ ษา
ดร.ประวณี า อสั โย

บรรณาธกิ าร
นางสาวกรกมล จงึ ส�ำราญ นักวชิ าการศกึ ษาช�ำนาญการพเิ ศษ

คณะผู้จดั ทำ� นกั วิชาการศกึ ษาชำ� นาญการพิเศษ
นางสาวกรกมล จึงสำ� ราญ นกั วชิ าการศกึ ษาช�ำนาญการ
ดร.วิภาดา วานิช นักวชิ าการศึกษาปฏบิ ตั ิการ
นางสาวสุชาดา กลางสอน นกั วิชาการศกึ ษาปฏบิ ตั กิ าร
นางสาวภควดี เกดิ บัณฑติ

หนว่ ยงานท่ีรบั ผิดชอบ
ส�ำนักมาตรฐานการศกึ ษาและพัฒนาการเรียนรู้
ส�ำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
99/20 ถนนสโุ ขทยั เขตดสุ ติ กรุงเทพฯ 10200
โทร 0 2668 7123 ต่อ 2513 โทรสาร 0 2243 1129
เวบ็ ไซต์ http://www.onec.go.th

มาตรฐานการศึกษาของชาตกิ ับการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา 23
สกู่ ารพฒั นาการศึกษาของคนไทย

สำ� นกั งานเลขาธิการสภาการศกึ ษา

99/20 ถนนสโุ ขทยั เขตดุสติ กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0 2668 7123 โทรสาร 0 2243 1129

ขอความรว่ มมอื จากทา่ นผู้ใชเ้ อกสารเล่มนี้
ตอบแบบแสดงความคดิ เห็นในการนำ� หนังสอื ไปใช้ประโยชน์
เพ่อื เปน็ ขอ้ มูลใหส้ ำ� นักงานฯ ได้นำ� ไปพัฒนาการศกึ ษาต่อไป
แบบสอบถาม และขอขอบคณุ มา ณ โอกาสนี้

มาตรฐานการศึกษาของชาติ
กับการประกันคณุ ภาพการศึกษา
สู่การพฒั นาการศกึ ษาของคนไทย


Click to View FlipBook Version