The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chananrat Kumphong, 2023-03-07 07:19:22

เรื่อง ยศขุนนางของราชอาณาจักร

ยศขุนนาง

เรื่อง ยศขุนนางของราชอาณาจักร โดย รายการ นางสาวชนันรัตน์ คำ ผง เลขที่๖ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๗ เสนอ คุณครูพิศมัย สืบเลย รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา ท ๓๒๑๐๒ การเขียน๑ ภาคการเรียนที่๒ ปีการศึกษา๒๕๖๖ โรงเรียนสีชมพูศึกษา อำ เภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น


คำ นำ การเป็นขุนนาง คือสิ่งที่กษัตริย์มอบให้คนคนหนึ่งเพื่อให้มีหน้าที่หรือตำ แหน่งต่างๆ ก็เรียกได้ว่า มอบ ยศมอบบันดาศักดิ์ให้เป็นขุนนาง ซึ่งอยู่ในแวดวงสังคมอังกฤษมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ค.ศ.800- 1000 ก็มีการบันทึกว่ากษัตริย์มีการมอบตำ แหน่งให้ใครบางคนเพื่อทำ หน้าที่เป็นผู้แทนกษัตริย์ มาแต่งตั้งยศหรือตำ แหน่ง มาเริ่มจริงๆจังๆตอน ศตวรรษที่11 ในสมัยของ พระเจ้าวิลเลียมที่1 King William I of England (william the conqueror) เพราะเป็นกษัตริย์อังกฤษที่มีที่มาจากฝรั่งเศสคอนเซปนี้ ก็ติดมาด้วย เพราะมาจากยุโรปภาคพื้นทวีปที่ยุโรปภาคพื้นทวีปมีระบบ Feudalism หรือ ระบบศักดินา สวามิภักดิ์ ที่กษัตริย์จะมอบพื้นที่ให้กับคนคนหนึ่งไปดูแล แล้วก็แต่งตั้งเป็นขุนนาง นางสาวชนันรัตน์ คำ ผง ๑ มีนาคม ๒๕๖๖


ส า ร บั ญ เ รื่ อ ง บ ท นำ ห น้ า ด ยุ ก,ดั ชเช ส ม า ร์ ค วิ ส,ม าเช อเน สเอิร์ล,เคาน์เตสไวเคาน์,ไวเคาน์เตสบารอน,บารอเนสบทสรุปบรรณานุกรม ๑๒๓๔๕๖๗๘


บทนำ ระบบขุนนางอังกฤษ (Peerage of England) ประกอบด้วยบรรดาศักดิ์ขุ ดิ์ ขุ นนางอังกฤษที่พระราชทานให้ในสมัยของราชอาณาจักรอังกฤษ ช่วงก่อนสมัยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งในปีนั้นอังกฤษและสกอตแลนด์ได้ รวมกันเป็นสหราชอาณาจักร ขุนนางอังกฤษมีสองประเภท คือขุนนางสืบตระกูล (hereditary peer) และขุนนางตลอดชีพ (life peer)[1] ซึ่งในสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1422–61) ขุนนาง ประกอบไปด้วยบรรดาศักดิ์ห้าระดับ ซึ่งถูกเรียกว่า "ขุนนางแห่งอาณาจักร" (Peers of the Realm) เรียงจากสูงไปต่ำ ดังนี้: "ดยุก" (Duke) สตรีเรียก "ดัชเชส" (Duchess) "มาร์ควิส" (Marquess) สตรีเรียก "มาร์เชอเนส" (Marchioness) "เอิร์ล" (Earl) สตรีเรียก "เคาน์เตส" (Countess) "ไวเคานต์"ต์ (Viscount) สตรีเรียก ไวเคาน์เตส (Viscountess) "บารอน" (Baron) สตรีเรียก บารอเนส (Baroness) นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งอภิชน (aristocrat) อันเป็นชนชั้นสูงที่มิใช่ขุนนาง ได้แก่ฐานันดร "อัศวิน" (Knight) ซึ่งมีคำ นำ หน้าว่าเซอร์ และฐานันดร "บารอเนต" (Baronet) ซึ่งมีคำ นำ หน้าว่า ลอร์ด โดยถือว่าบารอเนตอยู่สูงกว่าอัศวินทั้งปวง ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ขุนนางเกือบทั้งหมดเป็นขุนนางสืบตระกูล แต่ในปี 1867 นิติกรของ รัฐสภาได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางตลอดชีพ และต่อมามีการตราพระราชบัญญัติขุนนางตลอดชีพ ค.ศ. 1958 เปิดทางให้พระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นขุนนางตลอดชีพ เพื่อที่บุคคล นั้นจะสามารถเข้าประชุมสภาขุนนาง บรรดาศักดิ์ของขุนนางตลอดชีพไม่สามารถตกทอดผ่านทายาท ขุนนางสืบตระกูลทุกคนสามารถเข้าร่วมการประชุมสภาขุนนาง (หากผ่านคุณสมบัติว่าด้วยอายุและ สัญชาติ)


ดยุก,ดัชเชส เป็นบรรดาศักดิ์ข ดิ์ องขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำ แหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่ง ปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี"ชี ส่วนตำ แหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำ แหน่งที่ตั้งไว้เป็น เกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำ นาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำ แหน่งดยุก(ที่ ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำ แหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุ กมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำ แหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำ แหน่ งดยุกนี้จะมีตำ แหน่งเป็น ดัชเชสด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่ สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี เช่น ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่ อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำ แหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระอย่างไรก็ตาม สามีของ นางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบ ตำ แหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำ ว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ ' คำ นี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐ โรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำ ทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหาร ประจำ มณฑล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่1 แห่งเวลลิงตัน ดัชเชสเคท แห่งเคมบริดจ์


มาร์ควิส,มาร์เชอเนส เป็นบรรดาศักดิ์สืบตระกูลแบบหนึ่งของยุโรป ซึ่งมักสืบทอดให้กับประเทศในอาณานิคมด้วย บรรดาศักดิ์นี้ยังใช้แปลเพื่อเทียบเคียงกับบรรดาศักดิ์ในประเทศในเอเชีย อาทิ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ในหมู่เกาะอังกฤษ มาร์ควิสมีฐานะสูงกว่า เคานต์ห ต์ รือเอิร์ล แต่ต่ำ กว่าด ยุก มาร์ควิสเป็นหนึ่งในบรรดาศักดิ์ที่เริ่มหายไปในปัจจุบัน โดยความแตกต่างระหว่างบรรดาศักดิ์เคา นต์กับมาร์ควิสอยู่ที่อาณาเขตที่ปกครอง ซึ่งเรียกว่า มาร์ก หรือ มาช อันอยู่นอกของอาณาบริเวณ ปกครองของเคานต์ที่เรียกว่า เคาน์ตี ทั้งนี้ เนื่องจากมาร์ควิสได้รับความไว้วางใจทางการทหารให้ รักษาขอบราชอาณาจักรซึ่งมักจะอยู่ติดกับอาณาจักรเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตร มาร์ควิสจึงจัดได้ว่า เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางที่มีความสำ คัญกว่าเคานต์เ ต์ สมอ ยกเว้นกับกรณีดยุกซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ที่ สงวนไว้สำ หรับสมาชิกราชวงศ์หรือผู้ที่คู่ควรเท่านั้น ภริยาของมาร์ควิส หรือสุภาพสตรีที่มีบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส จะเรียกว่า มาร์เชอเนส (อังกฤษ: marchioness) ในหมู่เกาะอังกฤษ หรือ มาร์กีซ (ฝรั่งเศส: marquise) ในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ในเยอรมัน มาร์เกรฟเป็นตำ แหน่งของผู้ปกครองอาณาจักร รวมถึงมาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก มาร์เกรฟแห่งบาเดิน และมาร์เกรฟแห่งเบรุธ และไม่สามารถเทียบเคียงได้กับบรรดาศักดิ์มาร์ควิส ในประเทศแถบยุโรปตะวันตก และยุโรปใต้อื่น ๆ เดวิด เมานต์แบ็ตเทน มาร์ควิสที่ 3 แห่งมิลฟอร์ด ฮาเวน ไอรีน เมานต์แบ็ตเทน มาร์เชอเนส แห่งคาริสบรูก


เอิร์ล,เคาน์เตส เป็นบรรดาศักดิ์ขุ ดิ์ ขุ นนางในเกาะบริเตนใหญ่ เป็นภาษาแองโกล-ซัคเซินที่มีความหมายเหมือนกับคำ ว่า ยาร์ล (Jarl) ในภาษานอร์สโบราณที่แปลว่า "หัวหน้าเผ่า" ซึ่งคอยประจำ ดินแดนต่างๆเพื่อปกครองแทน กษัตริย์ ตำ แหน่งเอิร์ลกินเมืองนี้เริ่มล้าสมัยในยุคกลางและถูกแทนที่ด้วยตำ แหน่งดยุก ตำ แหน่งเอิร์ลของ อังกฤษยุคกลางมีฐานะเทียบเท่ากับเคานต์ใต์ นยุโรปแผ่นดินใหญ่ เอิร์ลถือว่าเป็นบรรดาศักดิ์ที่อยู่ต่ำ กว่ามาร์ควิส แต่อยู่สูงกว่าไวเคานต์ เอิร์ลที่เป็นสตรีหรือภริยา ของเอิร์ลจะถูกเรียกว่า เคาน์เตส (Countess) เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์ เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน


ไวเคาน์,ไวเคาน์เตส ไวเคานต์ (Viscount สำ หรับบุรุษ) หรือ ไวเคาน์ติส(Viscountess สำ หรับสตรี) ในปัจจุบันเป็นฐานันดรศักดิ์ยุโรปสำ หรับชนชั้นขุนนาง แต่ในอดีตอาจสื่อถึงชนชั้นระดับรองลง มาด้วย[2] ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ตำ แหน่งไวเคานต์นั้นไม่ถือเป็นตำ แหน่งในระบบ ขุนนางสืบตระกูล[3] เป็นเพียงตำ แหน่งที่ใช้สื่อถึงการเป็นชนชั้นสูง ผู้ที่มีฐานันดรนี้ในสหราช อาณาจักร อาทิ เจมส์ ไวเคานต์เซเวิร์น พระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 คำ ๆนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสสมัยเก่า visconte ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินสมัยกลาง vicecomitem กลายเป็นคำ ว่า vicecomes (vice- หมายถึง "รอง" และ -comes หมายถึง "มิตร") ก่อนที่สุดท้ายจะหันไปใช้การเขียนตามแบบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ count แทน เฮนรี แอดดิงตัน ไวเคานต์ซิดมัธที่ 1


วิลเลียม วิลด์แฮม เกรนวิลล์ บารอนเกรนวิลล์ บารอน,บารอเนส บารอน (อังกฤษ: Baron) หรือสตรีเรียก บารอเนส (อังกฤษ: Baroness) เป็นบรรดา ศักดิ์ข ดิ์ องขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ซึ่งในระบบบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร บารอนจัดอยู่ใน ลำ ดับล่างสุดต่ำ กว่าไวเคานต์ ซึ่งเขตการปกครองในอำ นาจของบารอนตามระบบเจ้าขุนมูลนาย ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบันแต่ยังคงสืบตระกูลได้อยู่ ในสมัยกลาง บารอนเป็นผู้ที่ได้รับ ตำ แหน่งการปกครองโดยตรงจากพระเจ้าแผ่นดินเพื่อปกครองดินแดน และจะต้องส่ง บรรณาการเป็นกองกำ ลังทหารและอัศวิน เพื่อช่วยรบในนามของกษัตริย์ ในปัจจุบัน สหราชอาณาจักรได้มีการเพิ่มบรรดาศักดิ์ที่ไม่สืบตระกูล (Non-hereditary life peers) ซึ่งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจะอยู่ในยศบารอนเช่นกัน และนอกจากนี้บารอน ยังใช้เรียกบุตรชาย คนแรกที่เกิดจากบิดาที่เป็นตำ แหน่งเอิร์ลโดยอนุโลม ในประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันจะเรียก ตำ แหน่งเทียบเท่าบารอนว่า ไฟรแฮร์ (Freiherr) บารอนเนสกอซตา ฟอน เดม บุสส์เช-เฮดเดนฮัวเซน


สรุป สิทธิที่จะถูกพิจารณาคดีในศาลเสวกใหญ่ (Court of the Lord High Steward) ตุลาการในศาลนี้ล้วนเป็นขุนนางด้วยกัน สิทธิที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มกันจากการถูกจับกุมในคดีแพ่ง ในอดีต ขุนนางจะมีอภิสิทธิ์บางประการ อภิสิทธิ์เหล่านี้ไม่ค่อยมีผลในปัจจุบันแล้ว อย่างไรก็ตาม เรายังสามารถเรียกบรรดาศักดิ์ขุนนาง ตั้งแต่บารอนขึ้นไปอย่างย่อๆ ด้วยคำ ว่า ‘ลอร์ด’ และผู้หญิง เรียก เลดี้ (Lady) อีกทั้ง ลอร์ด ยังใช้เป็นคำ สุภาพของบุตร ขุนนางเหล่านั้น เช่น บุตรชายคนเล็กของดยุค และมาควิส ก็สามารถเรียกลอร์ดได้


บรรณานุกรม https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81 https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C% E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A 3%E0%B9%8C%E0%B8%A5 https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8 4%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A D%E0%B8%99


Click to View FlipBook Version