The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by janhu145, 2022-03-07 07:26:04

EBOOK

EBOOK

รายงานโครงงานวิชาชีพภูมิทศั น์

เรอ่ื ง

สวนบำบัดจิตใจ

โดย

นางสาวสภุ าวดี กลุ ศรี
6319101019

อนุมัตโิ ครงงาน

ชื่อโครงงาน สวนบำบดั จิตใจ

ช่อื ผเู้ ขยี น นางสาวสภุ าวดี กลุ ศรี
สาขาวชิ า เทคโนโลยีภมู ิทศั น์
คณะมหาวทิ ยาลัย สถาปตั ยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
ปีการศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยแม่โจ้
1/2564

ชื่ออาจารย์ท่ีปรึกษา
ลงนาม

ชอ่ื อาจารย์ที่ปรึกษารว่ ม (ถา้ มี)
ลงนาม

มหาวิทยาลยั แม่โจ้
ปีการศกึ ษา 2564

ชือ่ ผู้เขียน นางสาวสภุ าวดี กลุ ศรี
สาขาวิชา เทคโนโลยีภมู ทิ ศั น์
ปกี ารศึกษา 1/2564

บทคัดย่อ

โครงการสวนบำบัดจิตใจลักษณะของสวนที่ช่วยบำบัดจิตใจในรูปแบบที่แตกต่างกัน และพูดคุย
กับผู้ป่วยทั้งเรื่อง ดนตรี ความชอบ ทำให้ผู้ป่วยได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนั้นยังแนะนำการปลูก
ต้นไม้และจัดสวนให้กับผู้ป่วยและสอนให้ผู้ป่วยทำมุมผ่อนคลายได้ด้วยตัวเองที่บ้านจะได้รับรู้ถึงความสด
ชื่นและผ่อนคลาย และผู้ป่วยหวังว่าการที่มีสวนบำบัดเข้ามาบำบัดได้จะทำให้อาการป่วยมีอาการที่ดีขึ้น
เพราะอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ต้องทนทุกทรมานจากปัญหาด้านจิตใจและโรคประสาทโดยเฉพาะสภาวะ
ซมึ เศร้าเกิดทำให้มีการวติ กกงั วลและจะไดศ้ ึกษาพืชพรรณทีใ่ ช้ในการจัดสวนและบำบดั จิตใจโดยวิเคราะห์
ข้อมูลทีท่ ำการศกึ ษาเพอื่ หาแนวทางในการออกแบบใหส้ อดคล้องกับวถิ ีชวี ติ และการใชง้ านที่เหมาะสม

กติ ติกรรมประกาศ

โครงงานเลม่ น้สี ำเร็จลุลว่ งได้อยา่ งสมบรู ณ์ดว้ ยความกรุณาอย่างยิ่งจากอาจารยป์ ฏิญญา ปฏพิ นั ธ
กานต์ ทไี่ ดส้ ละเวลาอันมีคา่ เพอื่ ให้คำปรึกษาและแนะนำตลอดจนตรวจทานแก้ไขขอ้ บกพรอ่ งต่างๆ ด้วย
ความเอาใจใสเ่ ปน็ อย่างย่งิ จนโครงงานฉบับนส้ี ำเร็จสมบูรณ์ลลุ ว่ งไปไดด้ ้วยดีขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง
ไว้ ณ ทน่ี ี้จากใจจริง

นอกจากนี้ขอบคุณเพ่ือนมหาวิทยาลยั แมโ่ จ้ ทมี่ สี ่วนช่วยเหลอื ในทุกๆดา้ น ขอขอบพระคุณ
มหาวทิ ยาลยั แมโ่ จต้ กึ ภมู ิทัศน์ที่ได้ให้ไดท้ ำงาน และสดุ ท้ายขอขอบคุณตวั ขา้ พเจา้ เองท่ีมีความเพยี ร
พยายามในการศึกษาหาความรู้ครัง้ นี้ จนประสบความสำเร็จลลุ ่วงไปได้ด้วยดี

สุภาวดี กุลศรี
24 พฤศจกิ ายน 2564

สารบญั ก

เรื่อง หน้า
บทคดั ย่อ
กติ ติกรรมประกาศ ก-ข
สารบญั 1-3
บทท่ี 1 บทนำ 3
3
1.1 วัตถปุ ระสงค์ 4
1.2 สมมตฐิ านของการศกึ ษาโครงงาน 5
1.3 ประโยชท่คี าดว่าจะไดร้ บั 7
1.4 กรอบแนวคิดการศึกษา 7-8
บทท่ี 2 วรรณกรรมทเ่ี กี่ยวข้อง 8-9
2.1 งานวจิ ัยผปู้ ว่ ยทางจิตใจ 10-21
2.2 แนวคดิ การออกแบบองค์ประกอบภมู ทิ ศั น์ 21-25
2.3 แนวคดิ ดา้ นการออกแบบพืชพรรณ 26
2.4 แนวคิดพ้ืนทส่ี ีเขียว 27-28
2.5 ความมหายและความสำคญั ของงานภมู ิทศั น์ 28
2.6 แนวคิดเกยี่ วกับพชื สวนบำบัด 29
2.7 แนวคิดเรอ่ื งสขุ ภาพจติ และความผิดปกตทิ างใจ
สรปุ บทท่ี 2

สารบัญ (ตอ่ ) ข

เรอ่ื ง หนา้
บทท่ี 3 วิธีการศกึ ษาโครงงาน 30
30-31
3.1 ขอบเขตของการศึกษาโครงการ 31
3.2 ขัน้ ตอนวธิ ดี ำเนนิ การศกึ ษาโครงการ 31
3.3 วัสดอุ ปุ กรณ์ เครื่องมือที่ใช้ 32
บทท่ี 4 ผลการศึกษาและการอภิปราย 32-39
4.1 ผลการศึกษา (แบบออนไลน์) 40
4.2 สรุปแบบสอบถาม (กราฟ) 41
บทท่ี 5 สรุปผลการศกึ ษา 41
5.1 สรปุ ผลการศึกษา 42
5.2 ข้อจำกัดการศกึ ษา 42
5.3 ปรพยุกต์ผลการศึกษา 42
5.4 ข้อเสนอแนะ
บรรณานกุ รม

1

บทที่ 1 บทนาํ

1.1 หลกั การและเหตุผล

จากสถิตขิ องกรมสขุ ภาพจติ เรื่องผู้ มาเขา้ รบั บริการผปู้ ่วยใหมข่ องภาครัฐคือในโรงพยาบาลจิตเวช
นั้น ในช่วงปี 2553-2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 (จากตัวเลข 70,717 ราย เป็น 88,432 ราย) นั่นหมายถึง
ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชจึงสามารถเข้าถึงบริการได้ แต่หากมองอีกนัยหนึ่งก็
เป็นไปได้ว่าเกิดจากโรคทางจิตเวชที่เพิ่มขึ้น ส่วนสถิติจำนวนการฆ่าตัวตายของคนไทยต่อประชากร
100,000 คน พบว่าตั้งแต่ปี 2006-2010 อยู่ที่ 5.9 คนต่อประชากร 100,000 คนมาตลอด ไม่ได้เพิ่มขึ้น
แต่กไ็ มไ่ ดล้ ดลง น่ันแสดงว่าปญั หาดา้ นสขุ ภาพจติ ไม่ไดด้ ขี ้ึนในช่วง 5 ปที ผ่ี า่ นมาภาวะสขุ ภาพจติ คนไทย

ปัจจัยหลักๆ ที่เป็นตัวกำหนดว่าสุขภาพจิตของคนไทยมีทิศทางเปน็ อย่างไร คงต้องมองจากเรื่อง
ใกล้ตัวในชีวิต ประจำวัน ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องของปัจจัย 4 หรือชีวิตความเป็นอยู่นั่นเอง ปัญหาความเครียด
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาวะว่างงาน ปัญหาการเมือง ไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหา
อาชญากรรมและสารเสพติด หากหลายๆ ฝ่ายช่วยกันทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นในทุกด้าน ย่อม
ส่งผลถึงความสุขของคนไทย ก็จะทำให้สุขภาพจิตของคนไทยดีขึ้นได้ มนุษย์มีความผูกพันกับธรรมชาติ
อย่างลึกซง้ึ มีสญั ชาตญาณทโี่ หยหาธรรมชาติ ที่ เอด็ เวิรด์ วลิ สัน ใหค้ ำนยิ ามว่า Biophilia หรือความใฝ่หา
ชีวภาพ สัญชาตญาณนี้ทำให้มนุษย์รู้สึกเบิกบานและผ่อนคลายเมื่อสัมผัสธรรมชาติ มีการทดลองที่
มหาวิทยาลยั มิชแิ กน สหรฐั อเมริกา โดยใหน้ กั ศกึ ษากล่มุ แรกใชเ้ ส้นทางทเ่ี ดนิ ผ่านสวน และให้นกั ศึกษาอีก
กลุ่มใช้เส้นทางเดินในเมอื งที่มีรถราขวักไขว่ จากนั้นให้ทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบความจำและภาวะทาง
อารมณ์

นอกจากนี้แล้ว งานวิจัยในเนเธอร์แลนด์ยังพบว่า การใช้เวลาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เขียวขจีจะ
ชว่ ยลดความเศรา้ หมองและความซึมเศรา้ ลงได้ สถติ จิ ากงานวจิ ยั พบว่าคนท่พี กั อาศัยอยู่ในละแวกท่ีมีพ้ืนท่ี
สีเขียวในปริมาณมากๆ จะตรวจพบว่าเป็นโรควิตกกังวล (anxiety disorder) และโรคซึมเศร้า
(depression) นอ้ ยกว่าคนในละแวกทขี่ าดแคลนพ้ืนท่สี ีเขยี ว

2

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า โครงการเคหะสงเคราะห์ในชิคาโกที่มีการออกแบบให้เห็นทิวทัศน์สี
เขียว จะมีสถิติการเกิดความรนุ แรงและอาชญากรรมน้อยกว่าโครงการที่ไม่มีทิวทัศน์ใดๆ

ประโยชน์ของธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวที่มีต่อสุขภาพของสาธารณะ เป็นที่ประจักษ์ชัดและมี
ผลการวิจัยจำนวนมากสนับสนุน โดยสรุปแล้ว ธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวจะส่งผลทางตรง ในการช่วยลด
ความเครยี ดและความเจ็บป่วยทางจิต ชว่ ยเพม่ิ ประสิทธภิ าพในการออกกำลังกาย ลดความเหล่ือมล้ำทาง
สุขภาพ และช่วยเพิ่มการรับรู้ที่มีต่อคุณภาพชีวิตและความความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายในด้าน
ประโยชนท์ างอ้อม พืน้ ทีส่ ีเขียวทำหน้าทเ่ี ปน็ ทง้ั พน้ื ที่ทางกายภาพในการประกอบกิจกรรมนันทนาการและ
ออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ และช่วยเพิ่ม
โอกาสในการปฏิสมั พนั ธ์ทางสังคมจะเห็นไดว้ ่า พ้นื ทส่ี เี ขยี วทำหน้าท่ีส่งเสรมิ คุณภาพชวี ติ ในทุกมิติ ท้ังด้าน
ร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสงั คม และสิง่ แวดล้อม (ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร, 2554)

ภาพที่ 1 แสดงสถติ ิแนวโน้มปรมิ าณประชากรโลก 2493-2573 ทม่ี า: วรชัย ทองไทย, การเปลี่ยนแปลง
ประชากรโลก 2493-2573, เขา้ ถึงเมื่อ 22 ตลุ าคม 2558, เข้าถึงได้จาก

http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/ConferenceVII/Download/2011-Article-18.pdf.
TCDC (2556: 180-181) "วิถีแห่งเมือง" ยังคงเป็นแนวโน้มการเติบโตสำคัญสำหรับสังคมและ
เศรษฐกจิ ของโลก เม่อื ผคู้ นยงั คงอพยพเข้าเมืองทกุ ๆ วันน้ันหมายถึง จำนวน "คนเมอื ง"กลมุ่ ใหม่ที่เพ่ิมขึ้น
การเปล่ยี นแปลงจำนวนของเมืองที่เพิ่มสูงข้นึ จากสังคมชานเมืองถูกพัฒนาเขา้ สู่ความเปน็ เมือง ก่อให้เกิด
ขนาดของเมืองทใี่ หญ่ขึ้น จากผลการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO)สดั สว่ นประชากรในปจั จุบนั 5

3

ต่อ 10 คน อาศัยอยู่ในเขตเมือง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ต่อ10 คน ในปี 2030 โดยเฉพาะ
ประเทศกำลงั พัฒนา จากสถติ ินแี้ สดงให้เห็นวา่ เมืองกลายเป็นศนู ย์รวมการใช้ชีวิตของคนสว่ นใหญ่

จากผลสำรวจ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2552 ระบุว่าประชาชนท่ีมีช่วงอายุ ตั้งแต่15 ปีข้ึน
ไป ซึ่งเป็นช่วงกลุ่มอายุของวัยรุ่นและวัยทำงานเป็นสว่ นใหญ่ มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต คิดเป็นร้อยละ
12 หรือประมาณ 5 ลา้ นคนของประซากรทัว่ ประเทศ ซง่ึ คนกล่มุ น้ยี งั ไม่ใช่ผู้ปว่ ย แต่ถ้าหากได้รับการดูแล
สง่ เสริมสขุ ภาพจิต กจ็ ะบรรเทาอาการและหายเป็นปกติในทส่ี ุด จำนวนผูป้ ว่ ยทางจิตเวชท่ีได้รับการรักษา
ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2551นั้น มีจำนวนถึง 1,668.04 1 ราย โดยมีผู้ป่วยทางด้านจิตเภทมีจำนวนสงู สดุ
คอื 445,840 ราย รองลงมาคอื ผูป้ ว่ ยอาการวิตกกังวล 375,035 รายผูป้ ่วยโรคซึมเศร้า 199,667 ราย ซ่ึง
ตัวเลขเหล่านี้บ่ชี้ถงึ ปัญหาสขุ ภาพจติ ท่ีมีปัญหาเพิ่มข้ึน แต่ยังสามารถแก้ไขได้หากมีการปรบั แก้พฤติกรรม
ได้รับการบรรเทาหรือได้รับการรักษาที่ถูกต้องปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่าง
รวดเร็ว โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนหนาแน่น ประกอบกับค่านิยมการบริโภคของคนในสังคม
เปลี่ยนแปลงไปมากจากวิถีชีวิตในอดีตพร้อมๆกับความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยีที่คอยอำนวยความ
สะดวกใหก้ ารใชช้ ีวติ ง่ายขึ้นรวดเรว็ ขน้ึ (อศั นอ์ ุไร เตซะสวัสดิ์, 2553) จากอิทธิพลของระบบเศรษฐกิจแบบ
ทนุ นยิ มที่มุง่ เน้นถงึ ประโยชน์และความม่ังคั่งเป็นปัจจยั หลัก กตบั สง่ ผลให้ผู้คนเกิดความเครียดสุขภาพจิต
ที่เสื่อมถอย สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ทำให้ตระหนักว่าความเจริญและการ
พัฒนาที่เกิดขึ้น ไม่สามารถนำมาซึ่งความสุขที่ยั่งยืนให้แก่ประชากรได้ ก่อให้เถิดความต้องการคุณภาพ
ชีวิตท่ีดขี น้ึ การมีความสุขแบบย่ังยืนไม่ฉาบฉวยและเล็งเห็นถงึ ความสำคัญของปัญหาสภาพแวดล้อมความ
เปน็ อยู่ และทรพั ยากรธรรมชาติทยี่ ัง่ ยนื

1.2 วตั ถปุ ระสงค์

1.2.1 เพ่อื ศึกษาปญั หาสขุ ภาพจติ ของสวนทม่ี ผี ลตอ่ การออกแบบพืชพรรณ

1.2.2 เพ่ือศึกษาการเลือกใช้พรรณไมท้ ่ีเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและผปู้ ว่ ยทางจิตใจ

1.3 สมมติฐานของการศกึ ษาโครงงาน

ลกั ษณะของการจัดสวนเพอ่ื ช่วยบำบดั ผู้ทมี่ ปี ัญหาทางจติ แบบใดทีม่ ผี ลต่อ ผู้ป่วยให้รับรถู้ ึง
ธรรมชาติ ความสวยงาม ความสุข การรบั รู้ การสัมผัส ไดเ้ ห็น และได้กลิน่ และสวนทเี่ หมาะสมให้
เหมาะสมกบั ผปู้ ว่ ย

4

1.4 ประโยชนท์ ีค่ าดวา่ จะไดร้ บั
1.2.1 ไดศ้ ึกษาปญั หาสขุ ภาพจิตของสวนทมี่ ีผลต่อการออกแบบพืชพรรณ
1.2.2 ไดศ้ ึกษาการเลือกใชพ้ รรณไม้ท่ีเหมาะสมกับสภาพแวดลอ้ มและผู้ป่วยทางจติ ใจ

1.5 กรอบแนวคิดการศกึ ษา

โครงงานเร่ืองส

หลักการและเหตผุ ล วัตถปุ ระสงคข์ องการศึกษา

ปจั จยั หลักๆของคนไทยที่ เพ่อื ศกึ ษาปญั หาสุขภาพจิต เพื่อศกึ ษาการใช้พรรณ
มกั จะเปน็ ผู้ปว่ ยทางจติ เกิด และดา้ นทม่ี ผี ลต่อ ทีเ่ หมาะสมกับ
จากการมีปญั หารมุ เล้าสว่ น สขุ ภาพจิตของผ้ปู ่วย สภาพแวดลอ้ มของตัว
หน่ึงและการเขา้ ไปยงุ่ ผู้ป่วย
เก่ียวขอ้ งกบั ยาเสพตดิ ส่วน
หนง่ึ ทำให้เกิดปัญหาทางจิต
ได้

5

สวนบำบัดจิตใจ

สมมตุ ฐิ านของการศึกษา ประโยชน์ท่ีคาดว่าจะไดร้ บั

ณไม้ การจัดสวนเพอื่ ชว่ ยบำบดั เพ่ือศกึ ษาพืช เพ่อื คนทกุ วัย เพ่อื เข้าใจต่อผู้
พรรณ สามารถเข้าร่วม มปี ญั หาทาง
ผู้ทมี่ ีปัญหาทางจติ กิจกรรมได้ จิตใจเกีย่ วกับ

ทัศนคติทาง

สังคมและ

สิง่ แวดล้อม

ของผู้ที่มี

ปัญหา

ทางดา้ นจิตใจ

ตอ่ งาน

สถาปตั ยกรรม

และงานภูมิ

ทัศน์



6

7

บทท่ี 2 วรรณกรรมทเ่ี กี่ยวขอ้ ง

องคค์ วามร/ู้ ทฤษฎที เี่ กี่ยวข้อง

2.1 งานวิจัยผปู้ ว่ ยทางด้านจิตใจ

(สุทธานนั ท์ ชุนแจ่ม2546) : ผ้ปู ่วยจิตเวชมีความบกพร่องในด้าน ความคดิ การตัดสินใจ
การแสดงอารมณ์ พฤติกรรม รวมทั้งการดูแลตนเอง และมีลักษณะเรื้อรัง ผู้ดูแลจึงมีบทบาท
สำคัญในการให้ความชว่ ยเหลอื แก่ผ้ปู ่วยอย่างต่อเนื่อง เพอ่ื ใหผ้ ปู้ าวยไดร้ บั การฟ้ืนฟสู ภาพร่างกาย
จิตใจ และสงั คมอยา่ งเหมาะสม ได้รับยาและการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอผู้ดูแลจะให้การดูแล
ที่มีแระสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยได้นั้นจำเป็นต้องมีความรู้ เจตคติที่ดีต่อการเจ็บป่วยทางจิต และมี
สมั พันธภาพท่ีดีกับผปู้ ่วยโรคจติ การวจิ ยั ครัง้ นี้เป็นการวจิ ัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ความรู้เจตคติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตและสมั พันธภาพของญาติผู้ดูแลกับผู้ปป่วยโรคจิต โดย
มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชในภาคกลาง
และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Schizophrenia, Mood Disorder, Mental and Behavioral
Disorder Due to Psychoactive substance use, and Psychosis จำนวน 390 คน ผู้วิจัยใช้
แบบสอบถามที่สรา้ งข้ึนเอง ประกอบด้วย ขอ้ มูลทั่วไปของญาติผู้ดูแล, ขอ้ มูลท่ัวไปของผู้ป่วยโรค
จิต, ความรู้ของญาติผู้ดูแลต่อผู้ป่วยโรคจิต ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก
ผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77,0.86 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย
หาความถ่ี คา่ ร้อยละ ค่าเฉลยี่ และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐาน ผลการวจิ ัยพบว่า ญาติผู้ดูแลผู้ปป่วย
โรคจติ ส่วนใหญ่มีความรูเ้ กย่ี วกับการเจบ็ ป่วยทางจิตอยูใ่ นระดบั ดีถึงร้อยละ 72.3 ยาตผิ ้ดู แู ลมีเจต
คติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตอยู่ในระดับปานกลาง (X=2.80,SD=0.34) และมีสัมพันธภาพต่อ
ผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (X=3.21,SD=0.35) แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่ายังมีญาติผู้ดูแล
จำนวนน้อยที่มีความรู้ว่าพันธุกรรมและสารเคมีในสมองเป็นสาเหตุของโรคจิต และผลข้างเคียง
ของการรักษาด้วยไฟฟา้ ผดู้ ูแลร้สู ึกว่าผปู้ ว่ ยโรคจติ มีความอดทนต่ำกวา่ คนท่ัวไป สรา้ งปัญหาและ
เป็นภาระของครอบครัว พยาบาลจติ เวชจึงควรมีบทบาทในการใหค้ วามรู้แก่ผู้ดูแลและประชาชน

8

ทั่วไปเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิต พัฒนาเจตคติของญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตไป
ในทางที่ดี และส่งเสริมสนับสนุนให้ญาติผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคจิตมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอย่าง
ต่อเนอ่ื ง

2.2 แนวความคดิ การออกแบบองค์ประกอบทางภูมทิ ศั น์
(นลิ ุบล คล่องเวสสะ. 2543) : แนวความคดิ ในการออกแบบองคป์ ระกอบทางภมู ิทัศน์จัด

ได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบ ที่ควรศึกษา และน้าไปใช้ในการออกแบบเพื่อให้พื้นที่เป็นไป
ตามหลกั ความถกู ต้อง ให้เกดิ ประโยชน์ และความสวยงามใหก้ บั พื้นที่โครงการออกแบบ

2.2.1 แนวความคดิ ดา้ นการออกแบบพชื พรรณ
พืชพรรณเป็นวัสดุหลักที่สำคัญในงานภูมิทัศน์ซึ่งช่วยท้าให้เกิดร่มเงา ช่วยกรองแสง
เสียง ฝุ่นละออง มลภาวะ ปิดบังสายตา ผลิตออกซิเจน และช่วยให้เกิดความสวยงาม
ดังนั้นการ ออกแบบพืชพรรณควรให้ความสำคญั และใช้ประโยชนจ์ ากพืชพรรณให้มาก
ที่สุด โดยค้านึงถึง คุณสมบัติของพืชพรรณนั้นด้วย (นิลุบล คล่องเวสสะ, 2543)
แนวความคิดในการออกแบบพืชพรรณ เนื่องจากพื้นที่นันทนาการนั้นมีความ แตกต่าง
ในเรื่องราวของการใช้พืชพรรณ และลักษณะของพื้นที่ที่แตกต่างกันตามสภาพแวดลอ้ ม
ของ แตล่ ะพนื้ ที่ ในการเลือกใช้พืชพรรณใหเ้ หมาะสมกับการใช้ประโยชน์และสภาพของ
พื้นที่ จะท้าให้ พื้นที่นันทนาการนั้น สามารถท้าให้เกิดการใช้ประโยชนพ์ ื้นที่กิจกรรมได้
อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นจาก คุณลักษณะของพืชพรรณที่แตกต่างกันไป ท้าให้การใช้
ประโยชน์จากพืชพรรณแตกต่างกันออกไป โดยมีลักษณะการใช้พืชพรรณในโครงการ
ดังน้ี

2.2.1.1 การใชง้ านทางดา้ น สถาปตั ยกรรม (Architectural Uses)
1) ควบคุมทัศนียภาพ ควบคุมการมองเห็น (Visual Control) น้าทิศ ทางการ
มองของสายตา ทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ไม้เลื้อยเกาะบนโครงสร้างขึ้นกับระดับ
ความสูงท่ี ต้องการความทึบหรือความโปร่งที่ต้องการ นอกจากใช้ต้นไม้อย่าง
เดยี วยงั อาจใช้ประกอบกบั เนินดนิ โครงสรา้ งกำแพง ร้ัว
2) เป็นฉากหลัง (Background) ให้กับวัตถุอาคาร หรือต้นไม้อื่น ฉากให้
อนสุ าวรยี ์ฉากให้วตั ถุ
3) สร้างความเปน็ ส่วนตัว (Privacy) ปดิ ลอ้ มทางกายภาพ
4) ปิดบังสิง่ ท่ีไม่น่าดปู ิดบังส่ิงทไ่ี ม่ตอ้ งการมองเหน็ (Buffer, Screen, Hide)

9

5) ควบคุมการสัญจร กีดขวางทางกายภาพ (Traffic Control) ประเภท ของ
การสัญจรที่ต้องการความควบคุม เช่น กันคนเดิน กันรถยนต์กันจักรยาน ซึ่งใช้กันมาก
เพื่อ ต้องการดูเป็นธรรมชาติ ดังนั้นการใช้พืชพรรณในงานทางสถาปัตยกรรม เป็นมาใช้
ในการควบคุม ทัศนียภาพใช้เป็นฉากหลัง สร้างความเป็นส่วนตัว ปิดบังสิ่งที่ไม่น่าดูใช้
ควบคุมการสัญจรให้กับพื้นที่ สวนสาธารณะแทนการใช้วัสดุที่เป็น Hardscape ที่มี
ลักษณะแขง็ กระดา้ ง เพือ่ สร้างบรรยากาศ และ สร้างทัศนยี ภาพท่ดี ีใหก้ บั สวนสาธารณะ

2.2.1.2 การใชง้ านวศิ วกรรม (Engineering Uses)
1) ช่วยลดการกัดเซาะพังทลาย (Erosion Control) ของดินโดยเฉพาะดิน ช้ัน
หนา้ (Top Soil) ซ่งึ มีความสำคัญมากในดา้ นนิเวศวิทยา
2) ช่วยควบคุมเสียงรบกวน (Noise Control) ใช้ร่วมกับเนินดิน กำแพง หรือ
รั้ว จึงจะได้ผลเต็มที่และนอกจากนั้นให้ค้านึงถึงระยะห่าง ระยะถอยร่นจากต้นกำเนิด
เสียงด้วย
3) ช่วยป้องกันน้ำท่วม (Flood Control) ช่วยลดปริมาณน้ำไหลที่ผิวดิน
(Surface run off)
4) ช่วยควบคมุ แสงจ้าและสะทอ้ นแสง (Glare and Reflection Control)
5) ช่วยควบคมุ สภาพอากาศ (Climate Control) ให้ร่มเงาบงั คับทิศทางลม
6) ชว่ ยควบคมุ ลม ชว่ ยลดความรนุ แรงของลม (Wind Control)
7) ชว่ ยควบคมุ ฝุน่ ละออง (Dust Control) ดงั นัน้ สว่ นใหญข่ องพืชพรรณเป็นไป
ในทางวิศวกรรม นอกจากจะสามารถช่วยในเรื่องของการ ใช้งานสถาปัตยกรรมแล้ว ยัง
สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรม ได้แก่ การใช้พืชพรรณมา ช่วยการกัดเซาะ
การพังทลายของหน้าดิน ป้องกันน้ำท่วม ควบคุมเสียงรบกวน ช่วยควบคุมเสียงจ้า และ
แสงสะทอ้ นใหก้ บั พ้นื ทีก่ ารบังคบั ทิศทางลม หรอื การควบคมุ ฝุ่นละออง
2.2.1.3 การใชป้ ระโยชน์ทางสุนทรยี ภาพ (Aesthetic Uses)
เป็นการสรา้ ง บรรยากาศ สนองความตอ้ งการทางจิตใจ และอารมณ์

10

2.3 แนวความคิดด้านการออกแบบพืชพรรณ

2.3.1 การจดั กลุ่มพรรณไม้ตามหลักภมู ิสถาปัตยกรรม

การจัดกลุ่มตามความสูง โดยแบ่งกลุ่มไม้พุ่มและไม้คลุมดินได้ 4 กลุ่ม ดังนี้ ความสูง

3.01-4.50 เมตร ความสูงระหวา่ ง 1.01-3.00 เมตร ความสงู ระหว่าง 0.31-1.00 เมตร และความ

สงู ไมเ่ กนิ 0.30 เมตร (ตารางท่ี 1)

ตารางท่ี 1 การจดั กลมุ่ ตามความสงู ของพรรณไม้

ขนาด ชนิดพรรณไม้

(ความสูง 3.01-4.50 เมตร) ไม้พุม่ สูง กาหลง โคลงเคลง ช้างน้าว ตะขบป่า นมแมว

น้ำใจใคร่ โปร่งกิ่ว ไผ่เพ็ก เม่าสร้อย โมกน้ำ เล็บ

แมว หวาย สนกระ สีฟนั คนทา และหลู งิ

(ความสงู 1.01-3.00 เมตร) ไมพ่ ุม่ กลาง กะตังใบแดง เกล็ดปลาหมอ ต่อไส้ เท้ายายม่อม

ปอข้ีอ้น ปอพราน พลองแก้มอ้น พลองเหมอื ด พดุ

น้ำ และเสียว

(ความสงู 0.31-1.00 เมตร) ไม้พุ่มเต้ยี กระทือป่า เข็มป่า ทองพันดุล บุกคางคก ปีกนก

แอ่น พุดทุ่ง ลูกใต้ใบ สังกรณี หางหมาจอก และ

เอ้ืองหมายนา

(ความสูงไม่เกิน 0.30 เมตร) ไม้คลุมดิน กระเจียว กระเทียมช้าง ข่าลิงขาว โด่ไม่รู้ล้ม ผัก

ปราบนา พลูช้าง ฟ้าทะลายโจร ว่านจูงนาง

สาบแรง้ สาบกา และหญา้ ฮี๋ยุม่

11

2.3.2 การจัดกล่มุ ตามรปู ทรง

แบ่งกลุ่มตามรูปทรงของพรรณไม้เป็นการแบ่งกลุ่มตามลักษณะรูปทรง ของทรงพุ่ม ซึ่ง

แบ่งเป็นรูปทรงหลักๆ ได้แก่ รูปทรงกลม รูปทรงกระบอก/ไข่ รูปทรงห้อยย้อยลู่ลง รูปทรงแตก

กอ รูปทรงแตกกอใกลร้ าก รปู ทรงแผ่เต้ยี รปู ทรงแผเ่ ลื้อย และรปู ทรงแผ่ดา้ นบน (ตารางท่ี 2)

ตารางที่ 2 การจัดกล่มุ ตามรปู ทรงของพรรณไม้

ขนาด ชนิดพรรณไม้

พรรณไม้พุ่ม

รปู ทรงกลม กาหลง และหูลงิ

รปู ทรงกระบอก/ไข่ กระตังใบแดง ช้างน้าว ต่อไส้ ตะขบป่า โปร่งกิ่ว

พลองเหมือด พลองแก้มอ้น พุดน้ำ ลูกใต้ใบ โมก

น้ำ และสนกระ

รูปทรงห้อยย้อย ลู่ลง เกล็ดปลาหมอ ปอขี้อ้น ปอพราน น้ำใจใคร่ เม่า

สรอ้ ย เสยี ว และสฟี นั คนทา

รปู ทรงแตกกอ กระทือปา่ ไผ่เพก็ หวาย และเออื้ งหมายนา

รูปทรงแผ่เต้ยี เข็มป่า โคลงเคลง ทองพันดุล นมแมว พุดทุ่ง เล็บ

แมว และหางหมาจอก

รปู ทรงแผ่เลอื้ ย ปกี นกแอน่ และสังกรณ

รปู ทรงแผด่ ้านบน เท้ายายม่อม และบกุ คางคก

ขนาด ชนิดพรรณไม้
พรรณไมค้ ลมุ ดิน
รปู ทรงแตกกอใกลร้ าก กระเจียว กระเทียมช้าง ข่าลิงขาว โด่ไม่รู้ล้ม ผัก
ปราบนา วา่ นจงู นาง และหญ้าฮี๋ยุ่ม
รปู ทรงแผ่เตย้ี สาบแรง้ สาบกา
รูปทรงแผเ่ ลอื้ ย พลูช้าง และฟา้ ทะลายโจร

12

2.3.3 การจัดกลุม่ ตามสีสันของส่วนต่างๆ ของพชื พรรณ

ได้แก่ สีของดอก ใบอ่อน และผลแก่-สุก ซึ่งพรรณไม้ แต่ละชนิดจะมีสีสนั แตกต่างกันไป

เพ่ือประโยชน์ในการเลือกนำมาใช้งานภมู ิสถาปัตยกรรม (ตารางที่ 2)

สว่ นของพืชพรรณ สี ชนดิ พรรณไม้

พรรณไม้พุ่ม

ดอก ขาว - ครมี กระทือป่า กะตังใบแดง (บาน)

กาหลง เกล็ดปลาหมอ ต่อไส้

ตะขบป่า น้ำใจใคร่ โปร่งกิ่ว

พลองแก้มอ้น พุดทุ่ง พุดน้ำ เม่า

สร้อย โมกน้ำ ลูกใต้ใบ สนกระ

เสยี ว หวาย และเอ้ืองหมายนา

เหลอื ง – น้ำตาล ช้างน้าว นมแมว บุกคางคก ปอ

พราน และเลบ็ แมว

ส้ม – แสด เข็มปา่

แดง กะตังใบแดง (ตูม) สีฟันคนทา

และหูลงิ

ชมพู ทองพันดุล และปีกนกแอ่น

เขียว เทา้ ยายม่อม และไผ่เพ็ก

ฟ้า – นำ้ เงนิ พลองเหมอื ด

มว่ ง โคลงเคลง ปอขอ้ี น้ สังกรณี และ

หางหมาจอก

ใบออ่ น

เขียวออ่ น กระทือปา่ กาหลง โคลงเคลง

ตอ่ ไส้ นมแมว ปอพราน โมกน้ำ

เมา่ สร้อย สนกระ และเอื้อง

หมายนา

เขียว ตะขบป่า ทองพนั ดุล

เทา้ ยายม่อม น้ำใจใคร่ บุก

ผลแก่-สกุ เหลอื ง – น้ำตาล 13
สม้ - แสด
แดง - นำ้ ตาล คางคก โปรง่ ก่ิว ไผเ่ พ็ก พุดทงุ่
พุดนำ้ พลองเหมือด พลองแก้ม
เหลือง – นำ้ ตาล อ้น ลกู ใต้ใบ เลบ็ แมว สังกรณี
หวาย และหางหมาจอก
สม้ – แสด เข็มป่า ปอขอ้ี ้น และเกล็ดปลา
แดง หมอ
ปกี นกแอน่
เขียว กะตงั ใบแดง ชา้ งนา้ ว
สีฟันคนทา เสียว และหลู ิง
ดำ - เทา
กาหลง เกลด็ ปลาหมอ
ทองพันดลุ นมแมว นำ้ ใจใคร่
ปอขี้อ้น ปอพราน พุดน้ำ
สังกรณี และหูลิง
บกุ คางคก
กะตังใบแดง กระทือป่า
โคลงเคลง ต่อไส้ ตะขบป่า โปรง่
กิว่ และเอื้องหมายนา
เข็มปา่ เทา้ ยายม่อม ปีกนกแอ่น
ไผเ่ พก็ โมกน้ำ ลูกใต้ใบ
สฟี นั คนทา เสียว และหวาย
ช้างนา้ ว พลองเหมือด พลอง
แก้มอน้ พุดทุง่ เม่าสร้อย เล็บ
แมว สนกระ และหางหมาจอก

สว่ นของพืชพรรณ สี 14
พรรณไมค้ ลมุ ดิน ขาว - ครมี
ดอก ชนดิ พรรณไม้
เขยี ว
ใบอ่อน ม่วง กระเจียว กระเทยี มชา้ ง ข่าลงิ
ขาว และว่านจงู นาง
เขยี วออ่ น พลูช้าง และหญา้ ฮย๋ี ุ่ม
โดไ่ มร่ ูล้ ม้ ผกั ปราบนา ฟ้า
เขยี ว ทะลายโจร และสาบแรง้ สาบกา
กระเจยี ว ผักปราบนา และหญา้
ผลแก่-สุก เหลอื ง – น้ำตาล ฮยี๋ มุ่
กระเทยี มช้าง ขา่ ลิงขาว
สม้ – แสด โด่ไม่รลู้ ้ม พลูชา้ ง ฟ้าทะลายโจร
แดง ว่านจูงนาง และสาบแร้งสาบกา
เขียว-เขียวออ่ น โดไ่ ม่รลู้ ้ม วา่ นจงู นาง และหญ้า
ฮ๋ียุ่ม
ฟา้ – นำ้ เงนิ
ดำ - เทา ข่าลงิ ขาว
พลชู า้ ง
กระเจียว กระเทยี มชา้ ง และฟ้า
ทะลายโจร
ผกั ปราบนา
สาบแร้งสาบกา

15

2.3.4 การจดั กลุ่มตามความโปร่ง-ทบึ

แบ่งกลุ่มตามลักษณะความโปร่ง-ทึบ เป็นลักษณะที่สัมผัสด้วยการ มองเห็นแล้วให้

ความรู้สึกโปร่ง–ทึบ ตามลักษณะของใบ กิ่งก้าน ของแต่ละต้น แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ โปร่ง ปาน

กลาง และ ทึบ (ตารางที่ 3)

การจดั กลุ่มตามความโปร่ง-ทึบ

ส่วนของพชื พรรณ ชนิดพรรณไม้

พรรณไม้พุ่ม

โปร่ง กะตังใบ กระทือปา่ ชา้ งน้าว ต่อไส้ ทองพนั ดลุ

เท้ายายม่อม บกุ คางคก ลกู ใต้ใบ หางหมาจอก

และหวาย

ปานกลาง กาหลง เกลด็ ปลาหมอ เขม็ ป่า ตะขบป่า นมแมว

น้ำใจใคร่ ปอข้ีอ้น ปอพราน ปีกนกแอ่น โปรง่ กว่ิ

โคลงเคลง พุดทุ่ง พดุ น้ำ สนกระ สงั กรณี เสียว

หลู ิง และเอื้องหมายนา

ทบึ ไผ่เพ็ก พลองเหมือด พลองแก้มอ้น เมา่ สร้อย

โมกน้ำ สีฟนั คนทา และเลบ็ แมว

พรรณไม้คลมุ

โปรง่ กระเจยี ว กระเทยี มช้าง ข่าลงิ ขาว โดไ่ ม่รลู้ ม้ พลู

ชา้ ง และว่านจูงนาง

ปานกลาง ผักปราบนา สาบแรง้ สาบกา และหญ้าฮี๋ยมุ่

ทบึ ฟา้ ทะลายโจร

16

2.3.5 การจัดกลมุ่ ตามผวิ สมั ผัส (texture)

ของใบ หยาบ-ละเอียด แตกต่างกนั ตามลักษณะของใบ กิง่ กา้ น ของแตล่ ะต้น แบง่ ได้ 3

กล่มุ คอื หยาบ ปานกลาง และละเอียด (ตารางที่ 4)

ส่วนของพชื พรรณ ชนิดพรรณไม้

พรรณไมพ้ มุ่

ละเอยี ด ไผเ่ พ็ก พลองแก้มอน้ พลองเหมอื ด โมกน้ำ ลกู ใต้

ใบ สฟี ันคนทา เสยี ว และหูลงิ

ปานกลาง เกล็ดปลาหมอ โคลงเคลง ช้างนา้ ว ตะขบปา่

ทองพันดุล นมแมว น้ำใจใคร่ ปกี นกแอน่ โปรง่

กว่ิ พุดน้ำ พุดทุง่ เมา่ สร้อย เล็บแมว สนกระ

สงั กรณี และเอ้ืองหมายนา

หยาบ กระทือป่า กะตังใบแดง กาหลง เข็มปา่ ต่อไส้

เทา้ ยายม่อม บกุ คางคก ปอขี้อ้น ปอพราน หาง

หมาจอก และหวาย

พรรณไม้คลมุ

ปานกลาง กระเทียมช้าง ผักปราบนา ฟา้ ทะลายโจร

สาบแร้งสาบกา และหญ้าฮย๋ี ุ่ม

หยาบ กระเจยี ว ขา่ ลงิ ขาว โด่ไมร่ ู้ลม้ พลูชา้ ง และวา่ น

จงู นาง

2.3.5.1 การนำไม้พ่มุ และไม้คลุมดนิ มาใชใ้ นงานภมู สิ ถาปัตยกรรม
จากผลการประเมินและพิจารณาเลือกไม้พุ่มและไม้คลุมดินมาใช้ในงานภูมิ
สถาปัตยกรรม โดยกำหนด ประเด็นหลักในการพิจารณาการนำมาใช้ในงานภูมิทัศน์ 4 หวั ข้อ คือ
(1) ไม้ปิดกั้นและกรอง (2) ไม้ระดับล่างหรือคลุม ดิน (3) ไม้ประดับแปลงหรือปลูกเป็นกลุ่มก้อน
และ (4) ไมส้ รา้ งจดุ เดน่ เพอ่ื เปน็ แนวทางในการเลือกใช้พรรณไมด้ ังกล่าวตามวัตถุประสงค์การใช้
งาน และนำมาเสนอภาพตวั อย่างเพ่อื เป็นแนวทาง ในการนำมาใชใ้ นงานภูมสิ ถาปตั ยกรรมดังน้ี

2.3.5.2 ไม้ปิดกัน้ และกรอง กลุ่มไม้ปิดกั้นและกรอง คือ พรรณไม้ที่นำมาใชใ้ น
การปิดกั้นส่ิงไม่พึง ประสงค์ (screen) ใช้ทำเป็นรั้ว (fence) กันลม (wind break) และ
กรอง (filter) เช่น กรองแสง กรองเสียง กรองฝุ่น และ ช่วยลดปญั หากลิน่ ไม่พึงประสงค์

17

กลุ่มพรรณไม้ปิดกั้นและกรองส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่ม ที่ตัดแต่งแล้วแตกกิ่งก้านทึบ ข้อ
ปล้องถี่และแน่นส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มสูงและไม้พุ่มกลาง การนำมาใช้เป็นไม้ปิดกั้นและ
กรอง 7 ชนิด ได้แก่ ช้างน้าว ตะขบป่า นมแมว โปร่งกิ่ว โมกน้ำ สีฟันคนทา และหูลิง
ระดับความเหมาะสมมาก 13 ชนิด ได้แก่ กาหลง เกล็ดปลาหมอ โคลงเคลง น้ำใจใคร่
ไผ่เพ็ก พลองแก้มอ้น พลองเหมือด พุดทุ่ง พุดน้ำ เม่าสร้อย เล็บแมว สนกระ และเสียว
รวม 20 ชนดิ

ภาพท่ี 1 แนวทางการนำพรรณไม้มาใช้ปดิ กนั้ เพื่อใหเ้ กิดพ้ืนทสี่ ว่ นตัว

18

ภาพ 2 แนวทางการนำพรรณไม้มาใช้ปดิ ก้นั ปดิ บงั สง่ิ ไม่พงึ ประสงค์

ภาพ 3 แนวทางการนำพรรณไมม้ าใชเ้ ป็นไมก้ รองแสง และปดิ บังสายตาจากบุคคลภายนอก

2.3.5.3 ไมร้ ะดบั ล่างหรือคลุมดิน
ไมร้ ะดับล่างนำมาจดั เปน็ ไม้พน้ื ล่างของไมอ้ ่ืน หรือปลกู เป็นฉากหน้า เพอื่ ไม่ปดิ บังไม้ฉาก
กลางและฉากหลัง ทำให้เกิดพื้นที่โล่งด้านบนและเปิดมุมมอง ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ยและไม้
คลมุ ดนิ ใชป้ ลกู เพ่ือคลุมดนิ หรือตกแต่งพนื้ ท่ีให้สวยงาม ชว่ ยลดการกัดเซาะพงั ทลายของดนิ ช่วย
คลุมดิน รักษาหน้าดิน สามารถใช้ ปลูกแทนหญ้า ไม้พุ่มเตี้ยและไม้คลุมดินที่มีระดับความ
เหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้เป็นไม้ระดับ ล่าง 3 ชนิด ได้แก่ กระเจียว โด่ไม่รู้ล้ม และฟ้า
ทะลายโจร มีระดับความเหมาะสมมาก 17 ชนิด ได้แก่ กระทือป่า กระเทียมช้าง ข่าลิงขาว เข็ม
ป่า ทองพันดุล เท้ายายม่อม บุกคางคก ปีกนกแอ่น ผักปราบนา พลูช้าง ว่านจูงนาง ลูกใต้ใบ
สงั กรณี สาบแรง้ สาบกา หญ้าฮย๋ี ุ่ม หางหมาจอก และเออื้ งหมายนา รวม 20 ชนิด

19

ภาพ 4 แนวทางการนำพรรณไมม้ าใช้เปน็ ไม้ระดบั ล่างเพื่อเปดิ มุมมองด้านบน

ภาพ 5 แนวทางการนำพรรณไม้มาใช้เปน็ ไม้พน้ื ล่างหรือปลูกเปน็ ฉากหน้าเพ่ือไมป่ ิดบังไม้ฉากกลางและ
ฉากหลงั

2.3.5.4 ไม้ประดับแปลงหรือปลูกเป็นกลมุ่ ก้อน
ไม้ประดับแปลงคือพรรณไม้ที่ปลูกลงแปลง ณ บริเวณ ที่ต้องการปลูกตกแต่ง เพื่อ
ประดับบ้านเรือน อาคารสถานที่ ตลอดจนสวนสาธารณะ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ดอกหรือไม้ ขนาด
เล็กหรือไม้กะทัดรัดเจริญเติบโตเร็ว ใบมีสีสันสวยงาม ส่วนไม้ที่ปลูกเป็นกลุ่มก้อนคือพรรณไม้ท่ี
ปลูก เป็นจำนวนมากเพื่อให้เกิดจุดเด่น เป็นลวดลาย รูปทรงต่างๆ โดยปลูกชิดต่อเนื่องหรือขาด
เปน็ ชว่ งตอนตามลวดลาย แล้ว ตัดแต่งเพื่อให้เกิดรปู ลักษณะเปน็ ศิลปะของการตัดแต่งพืชพรรณ
ไม้พุ่มและไม้คลุมดินในป่าจังหวัดสุรินทร์ ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้ประดับ
แปลงหรอื เป็นและเป็นกลุ่มก้อน 4 ชนดิ ไดแ้ ก่ กระเจียว โด่ไมร่ ลู้ ้ม กนกแอ่น และ ฟ้าทะลายโจร
มีความเหมาะสมมาก 21 ชนิด ได้แก่ กระทือป่า กระเทียมช้าง เกล็ดปลาหมอ ข่าลิงขาว เข็มปา่
โคลงเคลง เท้ายายม่อม บุกคางคก ปอขี้อ้น ปอพราน โปร่งกิ่ว ผักปราบนา พลองแก้มอ้น พลอง
เหมือด พลูช้าง โมกน้ำ ว่านจูงนาง สังกรณี สาบแร้งสาบกา สีฟันคนทา และเอื้องหมายนา รวม
25 ชนิด

20

ภาพ 6 แนวทางการนำพรรณไมม้ าใชเ้ ปน็ ไม้ประดบั แปลง หรือปลกู เปน็ กลุ่มก้อน

2.3.5.5 ไมส้ รา้ งจุดเด่น
คือพรรณไม้ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น รูปทรงสวยงามแปลกตา หรือ
แผ่ทรงพุ่ม กว้าง มีความสวยงาม โดดเด่นด้วยลักษณะใบ ดอก ผล โดดเด่นด้วยสีของส่วนต่างๆ
ของพรรณไม้ เมื่อจัดปลูกลงไปในงานภูมิทัศน์จะมีความเด่นแตกต่างจากกลุ่มพืชพรรณอื่นๆ ไม้
พุ่มและไม้คลุมดินที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำมาใช้เป็นไม้สร้างจุดเด่น 8 ชนิด ได้แก่
เกล็ดปลาหมอ โคลงเคลง โด่ไม่รู้ล้ม เท้ายายม่อม บุกคางคก โปร่งกิ่ว พลองเหมือด และ
สีฟันคนทา มีความเหมาะสมมาก 18 ชนิด ได้แก่ กระเจียวกะตังใบแดง กาหลง ช้างน้าว ต่อไส้
น้ำใจใคร่ ปีกนกแอ่น ผักปราบนา พลองแก้มอ้น พุดน้ำ เม่าสร้อย โมกน้ำ ว่านจูงนาง สังกรณี
เสยี ว หางมาจอก หูลงิ และเอือ้ งหมายนา รวม 26 ชนดิ

กระตังใบแดง กาหลง เกล็ดปลาหมอ เขม็ ป่า โคลงเคลง

ชา้ งน้าว ทองพันดุล ตะขบปา่ นมแมว น้ำใจใคร่

ปอข้อี ้น โปร่งกว่ิ พลองแก้มอ้น พลองเหมือด พุดทงุ่

พุดน้ำ เมา่ สรอ้ ย โมกนำ้ สนกระ สังกรณี

21

สีฟนั คนฑา เสียว หางหมาจอก หลู ิง เอ้อื งหมายนา

ภาพที่ 7 ตวั อย่างพรรณไม้พุม่ /ไม้พุ่มรอเล้ือยที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ประโยชนใ์ นงานภมู ทิ ศั น์

กระเจยี ว กระทือปา่ ข่าลิงขาว โด่ไม่รู้ล้ม ผกั ปราบนา

พลชู ้าง ฟ้าทะลายโจร วา่ นจูงนาง สาบแร้งสาบกา หญ้าฮีย๋ ุ่ม

ภาพ 8 ตวั อยา่ งพรรณไม้คลุมดิน/ไม้ล้มลกุ ทม่ี ีความเหมาะสมในการนำมาใชป้ ระโยชน์ในงานภูมทิ ัศน์

2.4 แนวคดิ พื้นท่สี ีเขยี ว
อนิศรา อ่อนบุญญะ. (2549) : แนวคิดเมืองสีเขียว เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green City)

หมายถึง เมืองที่ถูกออกแบบโดยค้านึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีประชากรที่ตระหนักถึง
ระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของ ความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากรทั้งพลังงาน
อาหารและน้ำ รวมไปถึงเพื่อลดการปล่อย ของเสียในระบบนิเวศทั้งในรูปของความรอ้ นและมลพิษต่าง ๆ
ซึง่ จะทา้ ให้เป็นเมืองที่สามารถ ดำรงชวี ติ อยู่ได้ดว้ ยตนเองไม่จ้าเป็นต้องพ่ึงพาทรัพยากรจากพ้ืนท่ีภายนอก
สามารถสร้างพลังงานได้เอง จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ โดยมีหลักการสำคัญในการลดขนาด
รอยเท้านิเวศ (Ecological Footprint) และลดการปล่อยมลพิษให้อยู่ในระดับที่ตีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

22

วางแผนการใช้พื้นที่ อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ เลือกใช้วัสดจุ ากธรรมชาติ ลดปริมาณของเสียด้วยกระบวนการ
รีไซเคิลหรือ แปลงของเสียเป็นพลังงาน และลดการเป็นสาเหตุของการสรา้ งสภาวะโลกร้อนในภาพรวมที่
สำคัญคือ ท้าให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อประชาชน ซึ่งเมืองสีเขียวจะช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และยัง
ช่วยให้ เมืองสามารถวางแผนพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานและงบประมาณของ
พื้นที่ และองค์รวมในระดับประเทศและภูมิภาคได้ สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดความเสียหายจาก
ภัยพบิ ตั ิ และภัยธรรมชาติ หลกั สำคัญของเมืองสีเขียว คอื ทา้ ใหพ้ นื้ ทส่ี ีเขยี วมีประโยชน์ลดการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์(CO2 ) ควบคุมการใช้พื้นท่ีเกษตรกรรมหรือพื้นท่ีธรรมชาติ เพื่อให้เหลือพืน้ ที่ สีเขียว
มาก ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และส่งเสริมการเป็นเมืองที่ยั่งยืนในทุกด้าน ทั้งด้านพลังงาน อาหาร น้ำ ขยะ
และของเสีย โดยเน้นการสร้างสมดลุ ใหเ้ กิดขึ้นในพืน้ ที่เมืองนั้น ๆ (สำนักสิ่งแวดล้อม, 2552) เมืองสีเขียว
(Green City) หมายถึง พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและนอกเขตเมือง อาจเป็นพื้นท่ี สาธารณะหรือเอกชนท่ี
ประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการและมีความงดงามทางสภาพภูมิทัศน์ โดยเป็นพื้นที่ทาง
ธรรมชาตแิ ละก่งึ ธรรมชาติอันเป็นถิ่นท่อี ยู่ของสงิ่ มชี วี ติ ไดแ้ ก่ พนื้ ท่ีปา่ ไม้ พ้ืนที่ ชมุ่ น้ำ รวมถงึ พนื้ ทีช่ ายหาด
พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่เป็นริ้วยาวตามแนวเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ และแนวสาธารณูปการต่างๆ หรือ
พืน้ ที่อ่ืนๆ เชน่ พืน้ ที่สีเขยี วทป่ี ลอ่ ยรกร้าง พื้นท่สี เี ขยี วที่ถกู รบกวน สภาพธรรมชาตแิ ละพ้นื ที่สเี ขยี วที่มกี าร
ใช้ประโยชน์ผสมผสานกันดัชนีความเป็นเมืองสีเขียว (Green City Index) ตามหน่วยวิเคราะห์ด้าน
เศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit: EIU) ได้พัฒนา ระเบียบวิธีวิจัยโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เพอื่ วิเคราะหค์ วามเปน็ ชุมชน เมอื งทมี่ สี ภาพแวดลอ้ มท่ดี ี (Urban Expert)
เพ่ือตรวจสอบผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม ในหมวดท่สี ำคญั ต่าง ๆ ของแต่ละเมือง โดยเน้ือหาสาระ
ของเล่มวิจัยเล่มนี้จะมุ่งเน้นในหัวข้อด้านการใช้ที่ดิน และอาคาร (Land use and Building) (สำนักงาน
นโยบายและแผนทรพั ยากรธรรมชาติและ ส่ิงแวดล้อม, 2555) 8 หากกล่าวแล้วเมอื งสีเขียว ไม่ได้หมายถึง
เพียงพื้นท่ีวา่ ง พนื้ ทส่ี ีเขียวทม่ี ตี น้ ไม้ขึ้นแต่พื้นท่สี ี เขยี วในเมอื งคือพ้ืนท่ีที่ตน้ ไมม้ ีสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายทาง
ชวี ภาพ สง่ เสริมการพัฒนาพื้นที่เนื้อเมืองเปน็ พ้ืนทเี่ ตรยี มความพร้อมกบั การวางแผนด้านส่ิงแวดล้อมโดย
ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดแต่ เป็นประโยชน์สร้างกายภาพเมืองที่ดี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีตอ่
สังคมเมอื ง

2.4.1 การพัฒนาและดแู ลรักษาพื้นท่ีสเี ขยี ว
พื้นที่สีเขียว (green space) หมายถึง พื้นที่กลางแจ้ง และกึ่งกลางแจ้งที่มีขอบเขตที่ดินทั้งหมด
หรือบางส่วนปกคลุมด้วยพรรณพืชบนดินที่ซึมน้ำได้หรืออาจมีสิ่งก่อสร้างอยู่ด้วย ทั้งในพื้นที่สี
เขียวในเขตเมืองและนอกเขตเมือง อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชนที่สาธารณชนสามารถเขา้
ไปใช้ประโยชน์ได้ ประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการและความงามทางภูมิทัศน์ พื้นท่ี

23

อรรถประโยชน์ เช่น พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่สาธารณูปการ พื้นที่แนวกันชน พื้นที่สีเขียวใน
สถาบนั ต่างๆ พื้นทธ่ี รรมชาติและกง่ึ ธรรมชาตอิ นั เปน็ ถน่ิ ท่ีอยู่ของสง่ิ มีชีวิต ไดแ้ ก่ พืน้ ทป่ี า่ ไม้ พ้ืนท่ี
ชุ่มน้ำ รวมถึงพื้นที่ชายหาด พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่ที่เป็นร้ิวยาวตามแนวเสน้ ทางคมนาคมทางบก ทาง
นำ้ และแนวสาธารณูปการต่างๆ หรือพน้ื ที่อน่ื ๆ เช่น พนื้ ทส่ี ีเขียวทปี่ ล่อยรกร้าง พ้ืนท่ีสีเขียวที่ถูก
รบกวนสภาพธรรมชาติ และพน้ื ท่สี ีเขยี วทมี่ กี ารใช้ประโยชนผ์ สมผสานกนั อาจพอสรุปได้วา่ พน้ื ท่ี
สีเขียว คือ พื้นที่ใดๆก็ตามที่มีพืชพรรณขึ้นปกคลุม ทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง ที่ประชาชน
สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ส่วนพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สีเขียว โดย
พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองจะอยู่ในเขตเมือง เทศบาล ซึ่งมีพรรณไม้เป็นองค์ประกอบหลัก มีการ
จัดการตามหลักวนวัฒนวิทยาและภูมิสถาปัตย์ เพอ่ื ให้เกิดประโยชนแ์ ก่ประชาชนท้ังทางตรงและ
ทางอ้อม ทั้งในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ และ/หรือปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเมือง
พื้นที่สีเขียวอาจมีได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ พื้นที่ธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ พ้ืนที่สี
เขียวเพอื่ สงิ่ แวดลอ้ มพ้ืนท่สี เี ขียวรมิ เส้นทางสญั จร และพ้นื ท่ีสเี ขยี วเพื่อเศรษฐกิจชุมชน

2.4.2 แนวคดิ พน้ื ทส่ี เี ขยี วชมุ ชนยัง่ ยนื
สำหรับแนวคดิ พืน้ ทส่ี เี ขยี วทย่ี ั่งยนื นัน้ จะตอ้ งมตี น้ ไม้ใหญ่หรือไม้ยนื ต้นเป็นองคป์ ระกอบหลักของ
พื้นที่สีเขียว เนื่องจากไม้ยืนต้นมีอายุยืนนาน มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทางจิตใจ และสามารถ
เสรมิ สรา้ งคุณคา่ ทางสิง่ แวดล้อมได้ดกี ว่าไมล้ ม้ ลุก สว่ นการพิจารณาคดั เลือกชนิดไม้ปลูกในพ้ืนท่ีสี
เขียวท่ยี ง่ั ยืนนน้ั ควรเน้นบทบาทหน้าท่ีของต้นไม้และความหลากหลายข องชนิดพรรณเป็นสำคัญ
หากเปน็ ไปได้ควรพิจารณาเลอื กไมท้ ้องถิน่ มากกว่าไม้ต่างถิ่นโดยใช้ตามคำจำกัดความ ดงั น้ี

“พื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน" หมายถึง พื้นที่สีเขียวที่มีไม้ใหญ่ขนาดวัดโดยรอบไม่ต่ำกว่า 20
เซนติเมตร เป็นองค์ประกอบหลัก จำนวนของต้นไม้ไม่น้อยกว่า 16 ต้นต่อไร่ ซึ่งจะทำให้ความ
เป็นสีเขยี วของพน้ื ทีน่ ้นั อยู่ไดย้ าวนาน เปน็ พ้ืนทีเ่ ป้าหมายของการพัฒนาพ้นื ทีส่ เี ขียวในเมืองอย่าง
ยง่ั ยนื ”

"พื้นที่สีเขียวในเมือง" หมายถึง พื้นที่โล่งว่างในเขตเทศบาล ซึ่งมีพืชพรรณเป็น
องค์ประกอบหลกั ไดร้ บั การจดั การตามหลกั วิชาวนวฒั นวทิ ยา และหลักการทางภูมิสถาปัตย์ เพอื่
เสริมสร้างภูมิทัศน์ใหเ้ อื้ออ านวยต่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อเสริมสภาพแวดล้อมของเมือง
อันจะท าใหช้ มุ ชนเมอื งเปน็ เมืองสเี ขียวท่ีร่มรืน่ สวยงามและน่าอยู่ตลอดไป ทั้งน้ี อาจจะเป็นท่ีดิน
ของรัฐ เอกชน หรือที่ดินประเภทพิเศษก็ได้ โดยไม่ได้รวมถึงพื้นที่ธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ คู

24

คลอง หนอง บงึ ภเู ขา และป่าไม้ เนื่องจากพน้ื ทเ่ี หลา่ น้ีควรได้รบั การปกป้องและอนรุ ักษ์ให้คงอยู่
ตามธรรมชาตติ ลอดไปโดยไม่มีการพัฒนาเพอื่ ประโยชน์ ดา้ นอ่ืนๆ
ความสำคญั และประโยชนข์ องพ้ืนท่สี ีเขียว

1. ช่วยบรรเทาปญั หาภาวะโลกร้อน
2. เพอื่ เป็นแหล่งนันทนาการ และสถานทพี่ กั ผอ่ นหยอ่ นใจของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย
3. พืชพรรณในพื้นที่สีเขียวช่วยลดอุณหภูมิของเมืองที่เกิดจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างใน
เมอื ง
4. เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ นก ปลา แมลง และสัตว์อื่นๆ เป็นทางสีเขยี วเชื่อมโยงแหลง่ ท่ี
อยู่อาศัยเขา้ ด้วยกนั และ ช่วยปอ้ งกันการกดั เซาะพังทลายของดนิ ช่วยปรับปรงุ ระบบการระบาย
น้ำ
5. ช่วยลดเสียงรบกวนลงได้ โดยอาศัยพุ่มใบที่หนาทึบของไม้ยืนต้น และไม้พุ่มช่วยดูด
ซับมลภาวะทางเสยี ง
6. เป็นสงิ่ เชือ่ มโยงผคู้ นให้ได้สัมผสั กับธรรมชาติอยา่ งใกล้ชิด ท าใหเ้ ปน็ เมือง/ ชุมชนน่า
อยู่อย่างยัง่ ยืน

2.4.3 ประเภทของพน้ื ทส่ี เี ขียว
1.พื้นที่สีเขียวธรรมชาติคือ พื้นที่ที่มีอยู่ตามธรรมชาติดั้งเดิม เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ

ต่อระบบนิเวศสูง เป็นแหล่งรวมของระบบนเิ วศที่จ าเป็นต้องอนุรกั ษ์ให้คงอยู่ในสภาพที่สมบรู ณ์
ตลอดไปโดยมีการจัดการที่เหมาะสม รูปแบบ แม่น้ำ ลำธาร คลอง ทะเลสาบ พรุ ภูเขา และป่า
ไม้เป็นตน้

2.พื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ คือ พื้นที่สีเขียวที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการเพื่อ
คุณภาพชีวิตของชุมชน ทั้งการพักผ่อน หย่อนใจ ออกก าลังกาย และเสริมสร้างทัศนียภาพท่ี
สวยงามให้กับเมือง พื้นที่สีเขียวที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการ เพื่อคุณภาพชีวิตของชุมชน
ท้ังการพกั ผอ่ นหยอ่ นใจ ออกกำลงั กาย และเสรมิ สร้างทศั นียภาพท่ีสวยงามใหก้ บั เมอื ง

3.พื้นที่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ พื้นที่สีเขียวที่เสริมสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่
บริเวณและชุมชน เช่น ช่วยเพิ่มก๊าซออกซิเจนหรือลดก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ ลดอุณหภูมิความ
ร้อนในเขตเมืองกรองฝุ่นละออง และลดมลพิษ เป็นต้น แม้ประชาชนอาจจะไม่สามารถเข้าไปใช้
บริการได้โดยตรงเหมือนพื้นที่สีเขียวเพื่อบริการ แต่มีคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน และเกิด
ประโยชน์ใช้สอยแก่ผทู้ ีเ่ กยี่ วขอ้ ง

25

4.พืน้ ทส่ี ีเขียวบริเวณเสน้ ทางสัญจร คือ พื้นท่สี เี ขียวทีอ่ ยูใ่ นแนวเส้นทางสัญจรสาธารณะ
มีรูปร่างลักษณะพื้นที่ที่เป็นริ้วยาวขนานกับบริเวณเส้นทางสัญจร ซึ่งมีบทบาททั้งการเสริมสร้าง
คณุ คา่ ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ ม และพกั ผ่อนหย่อนใจ

5.พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิจชุมชน คือ พื้นที่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกิจให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ ส่วนมากหมายถึงพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ว่างของเอกชน พื้นที่เกษตร
เช่น นาข้าว พืชไร่ เป็นต้น พื้นท่ีปลูกไม้ยืนต้น เช่น สวนไม้ผลยืนต้น และสวนป่าเศรษฐกิจ เป็น
ตน้ การใช้ประโยชน์ของพน้ื ทสี่ เี ขียว พ้นื ทส่ี ีเขยี วมีข้อก าหนดออกมาไวช้ ัดเจนว่า จะต้องใช้ท่ีดิน
เหล่านี้เพื่อการเกษตรกรรม หรือ เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมเท่านั้น อาจจะเป็นพื้นที่สำหรับ
ปลกู ผัก ปลูกตน้ ไม้ อะไรพวกน้ีได้ แตก่ ฎหมายก็เปดิ ชอ่ งไว้ด้วยว่า พนื้ ท่สี เี ขยี วเหล่าน้ีสามารถเอา
ไปใช้ประโยชน์อื่นได้ แต่สามารถท าได้แค่ร้อยละ 5-10 ของพื้นที่ทั้งหมดเทา่ นั้น ห้ามใช้เกินกว่า
นี้หากฝา่ ฝืนกฎหมายอาจจะโดนโทษได้ สาเหตตุ อ้ งออกกฎเข้มแบบน้ีก็เพ่ือป้องกันคนเจ้าเล่ห์เอา
พน้ื ทสี่ เี ขยี วไปท าประโยชน์ใหก้ บั ตัวเอง

2.4.4 จุดประสงคข์ องพื้นที่สีเขยี ว

หากเป็นนอกเมือง พื้นที่สีเขียวจะหมายถึงการเกษตรกรรม แต่ถ้าเป็นในเมืองพื้นที่สีเขียวจะมี
ความหมายเกยี่ วกบั พ้ืนทีส่ ำหรบั พักผ่อนของประชาชนในเมืองดว้ ย จะเรียกว่าเปน็ ปอดของเมอื งใหญ่ก็ว่า
ได้

2.4.5 การพัฒนาพืน้ ทีส่ ีเขยี ว

ความทา้ ทายสำคัญด้านผังเมืองกค็ ือ เราจะท าอย่างไรเพอ่ื พัฒนาพนื้ ทสี่ เี ขียวให้เกดิ ประสิทธิภาพ
สงู สดุ มนั ต้องมอี ะไรมากกว่าแคป่ ลูกต้นไม้ ปลูกหญ้า จะเหน็ วา่ ตอนน้มี ภี าคเอกชนเขา้ มาสรา้ งพ้นื ที่สีเขียว
รูปแบบใหมท่ ใี่ ห้ความสวยงาม ต้นไม้ และสรา้ งแนวคดิ อนรุ กั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติไปพร้อมกัน

26

2.5 ความหมายและความสำคัญของงานภูมิทัศน์

(สมจิต โยธาคง, 2541 ) : วัสดุพืชพรรณเป็นองค์ประกอบทม่ี ีความสำคัญอยา่ งย่ิงในการ
จัดภูมิทัศน์ และการจัดการต่อสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและภายในอาคารในโครงการ
เกี่ยวกับการพัฒนาพืน้ ที่ดิน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในปัจจุบันงานภูมิทัศน์มีบทบาทสำคัญในการช่วย
ปรงุ แตง่ โครงการเหล่าน้นั ให้ดมู ีคุณคา่ เปน็ จุดมุ่งหมายและช่วยแกป้ ัญหา วสั ดุพชื พรรณเป็นสว่ น
ช่วยทำให้เกดิ ความมีชีวิตชีวาและช่วยปรบั สภาพแวดล้อมให้ดูดีและสวยงามขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมมี
อิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างยิ่งในปัจจบุ ัน ทั้งคนที่อาศัยอยู่ในสังคมชนบทหรือสังคม
ในเมือง จรงิ อยู่ส่ิงแวดลอ้ ม(environment) เปน็ วตั ถุ พฤติกรรม สถานการณ์ตา่ ง ๆ ท่ีอยู่รอบตัว
เรา อาทิ ลมฟ้าอากาศ ดิน น้ำ สิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต เหล่านี้จะทำปฏิกิริยาร่วมกันจุดที่
ลำบากที่สุดในการออกแบบ คือ การนำเอาไม้หลาย 1 ชนิดมาอยู่รวมกันหรือวางใกล้ ๆ กันแล้ว
ให้มองดูสวยงามดังที่คิดภาพเอาไว้ การที่ได้สัมผัสหรือใกล้ชิดต้นไม้ แต่ละชนิดดีพอก็จะช่วยให้
การกำหนดต้นไม้สวยงามและถูกต้อง เพราะบางคนกำหนดชนิดของต้นไม้ได้สวยงามแต่อยูไ่ ม่ได้
กม็ ี ซึ่งความชำนาญในหวั ข้อนตี้ ้องอาศยั เวลาสักระยะหนง่ึ ในการทำงานเพ่ือสอนประสบการณ์ให้
นักออกแบบทุกคน ต้นไม้ที่ต้องเลือกอย่างระมัดระวังจะเป็นไม้พุ่มและไม้คลุมดินที่มีขนาดสูง
แตกตา่ งกัน ต้องพจิ ารณาว่าดอกและใบเข้ากนั ได้อย่างกลมกลนื สว่ นต้นไมใ้ หญน่ ้ันอยู่สูงอีกระดับ
หนึ่งจะไม่มีปัญหาในการเลือกนอกจากเลือกเป็นกลุ่ม ๆ ไม่มากชนิดก็พอ ควรสังเกลักษณะของ
ต้นไม้และแบ่งแยกประเภทเอาเองว่าต้นไม้ชนิดใดปลูกแล้วให้บรรยากาศของป่าและบรรยากาศ
ของบ้าน เพราะบางสถานที่ถ้านำต้นไม้ที่มีลักษณะผิดไปจากสภาพแวดล้อมไปปลูกจะเป็นการ
ทำลายความงามดั้งเดิมของสถานที่นัน้ ต้นไม้ที่ให้ลักษณะในเมือง เข็มญี่ปุ่น โกสนเล็บครุฑ ปรง
ชนิดต่าง ๆ ว่านสี่ทิศ ดอนย่า (ต้นไม้ที่มีใบมันวาว ใบหนา และไม้ด่างแทบทุกชนิด) ต้นไม้ที่ให้
ลักษณะบ่าโมก เฟิน ผกากรอง บานเช้า พยับเมฆ เข็มม่วง (ต้นไม้ที่มีใบหนา เหี่ยวง่าย เมื่อขาด
นำ้ ) ควรกำหนดชนดิ ของต้นไม้ ขนาดและจำนวนของต้นไม้ใหค้ รบทกุ ชนดิ ในแปลนด้วย

27

2.6 แนวคดิ เกี่ยวกับพืชสวนบำบัด

(พิณมาศ ชัยชาญทิพยุทธ 2554) : พืชสวนบำบัดมีฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีรักชีวภาพ
ซึง่ มคี วามเชอื่ ในสัมพันธภาพและการปฏสิ มั พันธ์กนั ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม พชื สวนบำบัด
จงึ เปน็ กระบวนการทใี่ ช้พืช กจิ กรรมการทำสวน และความรูส้ กึ ใกลช้ ิดเกีย่ วเนอื่ งกับชรรมชาดโี ดย
กำเนิดของบุคคล เพื่อเป็นเครือ่ งมอื ในโปรแกรมการบำบัดและฟื้นฟู กล่าวในแนวทางเดียวกนั ว่า
พืชสวนบำบัดประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ สิ่งแวดหล้อม พืช และคน โดย
สิ่งแวดล้อมนัน้ แยกออกได้เปน็ 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทีไ่ ม่ใช่
ธรรมชาติ คนยุคก่อนนั้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้อยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนหลาย ต่อมาคนวุ่นหลัง เช่น
นกั พืชสวนบำบดั ก็ใชแ้ นวคิดเดียวกัน ในการทำสวนขนาดย่อม ตอกไม้ หรือ งานฝีมอื จากพชื เพือ่
เอื้อให้ผู้ป่วยอยู่ในสถานที่ที่ผ่อนตลายและสบาย นอกจากนี้ นักพืชสวนบำบัดยังใช้พืชสวนเพ่ือ
ความเพลิดเพลินผ่อนคลายของผู้ป่วย ดลอดจนใช้พืชเพื่อเป็นการชักนำหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้
ขึ้นฟูทักษะของตนเอง พืชจึงเป็นทั้งสิ่งที่จะอยู่ในการรับรู้ สิ่งที่ใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเป็น
สิ่งที่ใช้ในกระบวนการบำบัด นักพืชสวนบำบัดจะคำนึงถึงความร่วมมือจากคนรอบข้าเพื่อทำ
เป้าหมายของผู้ปว่ ยให้สุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนักพืชสวนบำบัดเองก็นับเปน็ เคร่ืองมอื
หนึ่งในการบำบัด เพราะไม่ว่าจะเป็นทัศนคติหรือสิ่งที่แสดงออกของพรกเขาต่อผู้ป่วย ล้วน
แล้วแต่ส่งผลต่อผู้ป่วยทั้งสิ้น นอกจากนี้ บุคคลรอบข้างที่มีส่วนร่วมนั้น หมายรวมถึงแพทย์
พยาบาล ผูด้ ูแลคนใช้ สมาชิกในครอบครวั เพอ่ื นและผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือชุมชนเดียวกัน ซึ่ง
ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือในการบำบัดได้ทั้งสิ้น โดยนักทีซสวนบำบัดจะวางเผนการบำบัดซึ่ง
ประกอบไปด้วยการรวมกลุ่มและการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบในการบำบัดเหล่านีอ้ ย่างมี
ประสิทธิภาพนอกจากนี้ Brown และคณะ (2004) ยังกล่าวไว้วา่ การปลูกพืชสวน เป็นทั้งศิลปะ
และวิทยาศาสตร์ เพราะในการปลูกพืชหรือกิจกรรมพืชสวนบำบัดนั้น เป็นการทำงานกับบุคคล
ตัวยกิจกรรมที่เกี่ยวกับพืชและการทำสวน เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดย
งานวิจัยของพวกเขายืนยันว่าเมื่อบุคคลได้สัมผัสกับธรมชาติไม่ว่าจะด้วยการมอง การปลูก หรือ
การดูแล สามารถเอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพของบุคคลได้ทั้งสิ้น พืชสวนบำบัดสามารถจำแนกได้
เป็นกระบวนการที่ใช้บำบัดผู้ป่วย และกระบวนการที่ใช้พัฒนาสุขภาวะของบุคคลทั่วไป ดังนี้พืช
สวนบำบัด (Horticultural Therapy) คอื การทำงานกบั ผปู้ ว่ ยด้วยกจิ กรรมพืชสวน โดยผู้บำบัดท่ี

28

ผา่ นการฝึกอบรมเพอ่ื ให้ไปถงึ เปา้ หมายในการบำบดั ที่มีความเฉพาะเจาะจง สมาคมพืชสวนบำบัด
แหง่ สหรัฐอเมรกิ า เช่ือว่า พชื สวนบำบัดเป็นกระบวนการท่ีพิสูจนไ์ ดจ้ ริง โดยระหวา่ งกระบวนการ
จะเป็นการบำบัดไปในตัว ไม่ได้เน้นท่ีผลลพั ธป์ ลายทางของการบำบัดเพียงอยา่ งเดียวการทำสวน
ท่มี คี ุณสมบตั ใิ นการพัฒนาสุขภาวะ เป็นกระบวนการทีใ่ ชพ้ ชื และกจิ กรรมทกุ อย่างท่เี กย่ี วข้องกับ
พืช เพือ่ พฒั นาสขุ ภาวะของผู้เข้าร่วม ทัง้ การลงมือทำและการสัมผัสธรรมชาติ ในกระบวนการพืช
สวนแบบนจี้ ะไม่มเี ป้าหมายในการบำบัดดา้ นคลินิก ผนู้ ำกิจกรรมจะผ่านการอบรมการใชก้ ิจกรรม
การปลูกพืชสวนเพ่อื เป็นส่อื ในการพฒั นาสุขภาวะของมนษุ ย์

2.7 แนวคิดสุขภาพจติ และความผิดปกติทางจติ
(ปราโมทย์ สุคนนิชย์ 2554) : ในอดีตแนวคิดเรื่องสุขภาพจิต และความผิดปกติทางจิต

จะเริ่มต้นจากการพยายามอธิบายในเรื่องของความผิดปกติทางจิตก่อน ต่อมาจึงให้ความสนใจ
เรื่องของสุขภาพจิต เนื่องจากเกิดความคิดว่าคนที่ไม่ได้ป่วยหรือมีความผิดปกติทางจิตนั้นมี
ความสุขจริงหรือไม่เพียงใด ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายสุขภาพจิต ในฐานะ
ภาวะปกติสุข ซึ่งหมายถึงว่าบุคคลจสามารถรู้แท้ถึงศักยภาพของตัวเขาเองจะสามารถจัดการกบั
ความเครียดที่เกิดเป็นปกติในชีวิตประจำวันของเขาได้ จะทำงานอย่างมีประสิทธิผลและอุทิศ
ประโยชน์ให้แก่สังคม แตเ่ มื่อนำความหมายน้ีมาพิจารณาจะเห็นไดว้ า่ ถึงแม้ว่าคนบางคนที่ไม่ได้มี
ภาวะปกติสุขอย่างสมบูรณ์แบบ ก็ไม่จำเป็นต้องมีความผิดปกติทางจิตหรือเจ็บป่วยทางจิตเสมอ
ไป สุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต จึงไม่ได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาดหรือไม่ใช่คู่ขนานท่ี
จะไม่มวี นั พบกัน นอกจากนี้การให้คำจำกัดความของสุขภาพจติ และความผดิ ปกตทิ างจิตนั้น เป็น
การยากที่จะบอกความหมายได้อย่างแม่นตรงชัดเจน เพราะในแต่ละวัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่นมี
ความแตกต่างกนั ออกไป การพจิ ารณาภาวะสุขภาพจิตของบุคคลจึงดูทกี่ ารปฏิบัติตัวตามบทบาท
หน้าที่ของบุคคลในสังคมของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ ถ้าบุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและ
ปรับตัวได้ก็จะได้รับความเห็นว่าเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ตรงกันข้ามผู้ที่ไม่สามารถรับผิดชอบต่อ
บทบาทหน้าที่ของตนหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมก็จะถูกมองว่าผิดปกติหรือป่วยวัฒนธรรมของ
แต่ละสังคมจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการให้ความหมายของภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย เพราะ
ในขณะที่สังคมหนึ่งมองพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลบางพฤติกรรม ว่าเหมาะสมและให้
การยอมรับแต่อีกสังคมหนึ่งอาจมองว่าไม่เหมาะสมและผิดปกติ ดังนั้นการที่จะแบ่งแยก
พฤติกรรมที่ปกตแิ ละผิดปกตอิ อกจากกันโดยเด็ดขาด จึงไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้โดยง่าย อย่างไร

29

ก็ตามเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ ในการที่จะพิจารณาเรื่องสุขภาพจิต เราจะต้องพิจารณาการ
ปรับตัวของบุคคลในลักษณะต่อเนื่องจากภาวะปกติสุขจนกระทั่งถึงการเจ็บป่วยทางจิต ถ้า
ลักษณะภาวะปกติสุขหรือการปรับตัวที่ดีอยู่ด้านหนึ่ง ลักษณะการปรับตัวท่ีผิดปกติหรือการ
เจ็บปว่ ยทางจติ จะอยู่ทีป่ ลายสุดของอกี ดา้ นหน่ึง

สรุปบทท่ี 2

พบว่าพรรณไม้ท้องถ่ินทัง้ ไม้พ่มุ และไม้คลุมดินมีความหลากหลายของ ชนิดพนั ธุ์ ที่ทำใหเ้ กิดความ
เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิดในด้านกายภาพที่เหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ในงานภูมิ
สถาปัตยกรรมโดยการจัดกลุ่มทางกายภาพมีดังนี้ คือ (1) กลุ่มความสูงแบ่งได้ 4 ระดับ (2) กลุ่มรูปทรง
แบ่งได้ 8 รูปทรง (3) กลมุ่ สีแบ่งไดท้ ัง้ สดี อก สใี บ และสีผล (4) กลุ่มความโปร่งทึบแบ่งได้ 3 ระดบั และ (5)
กลุ่มผิวสัมผัสแบ่งได้ 3 ระดับ ซึ่งกลุ่ม พรรณไม้ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์กับงานด้านภูมิ
สถาปตั ยกรรมไดด้ งั นี้ คือ (1) ดา้ นไม้ปดิ ก้นั และกรอง 20 ชนดิ (2) ด้านไม้ ระดับลา่ งหรอื คลมุ ดนิ 20 ชนิด
(3) ด้านไมป้ ระดับแปลงหรอื เป็นกลุม่ ก้อน 25 ชนดิ และ (4) ดา้ นไมส้ ร้างจดุ เด่น 26 ชนิด

30

บทท่ี 3 วธิ ีการศกึ ษาโครงงาน

3.1 ขอบเขตของการศึกษาโครงการ
3.1.1 เชงิ พ้นื ที่
การศกึ ษาน้ดี ำเนนิ การทางออนไลนโ์ ดยสอบถามผา่ นทาง Facebook ชอ่ื กล่มุ วา่ “กล่มุ สาส์นจาก

ผปู้ ่วยโรคซึมเศร้า” และได้ทำการพูดคยุ สว่ นตัวผ่านทาง Facebook เรอ่ื งอาการของผู้ป่วยใช้จำนวนคน
ศกึ ษาเป็นจำนวน 10 คน และเป็นคนทส่ี นใจในเรือ่ งของสวนบำบัดเพื่อหวงั วา่ จะรกั ษาอาการปว่ ยหรอื
บรรเทาอาการปว่ ย

คนที่ 1 นางสาวพรรวี หลวงนา 6/1 ม.5 ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อายุ 23
ปี (ผู้ปว่ ยโรคซมึ เศรา้ )

คนที่ 2 นางสาวภรณ์ณัชชา เทียมสำฤทธิ์ 31/6 ท.11 ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง
นครสวรรค์ อายุ 24 ปี (ผปู้ ว่ ยโรคซมึ เศรา้ )

คนที่ 3 นางสาวขวัญจิรา ถินยศ 34 ม.3 ต.หนองนมวัว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ อายุ
22 ปี (ผปู้ ่วยโรคซึมเศรา้ )

คนที่ 4 นางสาวภาวิกา สุดสวาท 18 ซอยเพรชเกษม24 แขวงปากคลองภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร อายุ 28 ปี (ผปู้ ่วยโรคซมึ เศร้า)

คนท่ี 5 นายสงกรานต์ แปน้ ใหญ่ 38/2 ม.6 ต.ละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี อายุ 25
ปี (ผู้ปว่ ยโรคซมึ เศร้า)

คนที่ 6 นายราชภูมิ ราชกิจ 21/8 หมู่ 8 ต.นครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ อายุ
31 ปี (ผูป้ ่วยแอลกอฮอลล์ ิสซมึ )

คนที่ 7 นายทีฆทัศน์ ไชยโย 86/3 ม.10 ราษเจริญ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ อายุ 35
ปี (ผปู้ ว่ ยแอลกอฮอล์ลสิ ซมึ )

คนที่ 8 นายสุภสิทธิ์ จงสวัสดิ์ ซอยเจริญสุข13 ต.โคกสำโรง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี อายุ
36 ปี (ผปู้ ่วยแอลกอฮอล์ลิสซมึ )

31

คนท่ี 9 นายจริ ายุทธ จนิ าป้าน เขตบางพลัด แขวงบำหรุ จรญั 65 กรงุ เทพมหานคร อายุ
41 ปี (ผ้ปู ่วยแอลกอฮอลล์ ิสซึม)

คนที่ 10 นางสาวสุทธิดา ทองหาญ 187/4 ม.3 ต.โกรกพระ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
อายุ 43 ปี (ผปู้ ่วยแอลกอฮอลล์ สิ ซมึ )

3.1.2 เชงิ เน้ือหา
3.1.2.1.เพ่อื ศึกษาขอ้ มลู และจิตใจของผ้ปู ่วยท่ีมปี ญั หาทางจติ
3.1.2.2 เพื่อเรียนรู้การดำรงชีวิตของผู้ปว่ ย เช่น การตัดสินใจ และความรู้สึกที่มีต่อสวน

ภมู ิทัศน์ของผู้ป่วย
3.2 ขน้ั ตอนวิธดี ำเนินการศึกษาโครงการ

3.2.1 ศึกษาเอกสารและงานวจิ ัยผทู้ ่ีมีปัญหาทางด้านจิตใจจากการใหท้ ำแบบทดสอบออนไลน์
3.2.2 หารูปแบบสวนมาจำนวน 3 สวนเพ่อื มาทำแบบทดสอบเร่ืองสุขภาวะทางจติ ใจ
3.2.3 รวบรวมข้อมูลจากการสอบถามและการทดลอง
3.2.4 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
3.3 วสั ดุอุปกรณ์ เครอื่ งมือท่ใี ช้

3.3.1 สมุดบนั ทกึ ใชใ้ นการจดบนั ทุกขอ้ มูลของผ้ปู ว่ ย
3.3.2 คอมพวิ เตอร์ใช้ทำการคำนวณผลและทำการประเมณิ

32

บทที่ 4 ผลการศึกษาและการอภปิ รายผล

ผลการศึกษาโครงงานวิชาชีพภูมืทัศน์ออนไลน์เรื่องสวนบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ เพื่อ
การศกึ ษาการเลือกใช้พชื พรรณที่เหมาะสมต่อความต้องการนสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และเพื่อศึกษา
การสร้างสถานท่ีเยียวยาจติ ใจกับการท่ีอย่ใู กลช้ ิดธรรมชาติทส่ี ามารถเยียวยาได้มากน้อยเพียงใด โดยจะให้
มีการทำแบบสอบถามออนไลน์กับผู้ป่วยเป็นจำนวน 10 คน 2 ประเภท ภาวะซึมเศร้าจำนวน 5 คน และ
ภาวะแอลกอฮอล์ลิสซึมจำนวน 5 คน ผู้ป่วย 2 ประเภทนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุดและสามารถทำ
แบบสอบถามออนไลน์ได้
4.1. ผลการศึกษา

4.1.1 ตัวอย่างแบบสอบถามออนไลน์

แบบสอบถามที่ 1 เพอ่ื สอบถามว่าคณุ เปน็ เพศอะไร เพ่ือที่จะได้ศึกษาระหว่างเพศหญิงและเพศชายมีอาการ
ปว่ ยแตกต่างกนั อยา่ งไร และสอบถามในจำนวน 10 คนมีเพศหญงิ กคี่ นและเพศชายจำนวนกี่คน

33

แบบสอบถามที่ 2 สอบถามอายเุ พอื่ ทีจ่ ะไดศ้ กึ ษาวา่ มีอาการป่วยตงั้ แตอ่ ายเุ ทา่ ไหร่และมอี าการปว่ ยมา
ประมาณกป่ี ี

แบบสอบถามท่ี 3 สอบถามการมสี มาธใิ นระหวา่ งท่ีมีอาการปว่ ยว่ามีสมาธมิ ากน้อยระดับไหน
แบบสอบถามที่ 4 สอบถามการอยากพบปะผคู้ นหรือไม่

34

แบบสอบถามท่ี 5 ให้ผปู้ ว่ ยเลอื กวา่ ช่ืนชอบสวนไหนท่ีสดุ และเพราะอะไรถึงชน่ื ชอบสวนประเภทนี้

35

4.1.2 ตัวอยา่ งสวนบำบัด
A : สวนจนี Chinese garden

การจดั สวนแบบจีน เปน็ การจัดสวนทดี่ ึงเอาความเชอื่ ถือทางศาสนาและปรชั ญาเข้ามามอี ิทธิพล
ในการจัด เป็นลกั ษณะเฉพาะอย่างหนงึ่ ที่แสดงออกใหเ้ หน็ ถึงศลิ ปวฒั นธรรม ความสนุ ทรยี ศาสตร์ของชาว
จีนท่มี กี ารสบื ทอดกนั มาหลายยุคหลายสมัย ซงึ่ หวั ใจหลกั ของ สวนจนี ก็คือการนำเอาธรรมชาติเข้ามาอยู่

6.7%

ใกลต้ ัวของเราใหม้ ากทส่ี ดุ ความยงิ่ ใหญ่ของธรรมชาติ ความเชอ่ื ในโชคลาง และอิทธิพลของธรรมชาตทิ ่ีมี

เอกลักษณ์ เน้นในเรื่องของความเปน็ ธรรมชาติและความสวยงามของไม้ประดับที่เป็นเอกลักษณ์
ของจีน ซ่งึ ได้รับความคิดมาจากธรรมชาติ พยายามดงึ ธรรมชาติให้เข้ามาอย่ใู กล้ตวั มากที่สดุ มีเอกลักษณ์
เริ่มมีการจัดสวนของชาวจีน มาก่อนคริสต์กาล โดยการปลูกพืชสมุนไพร พืชผักที่ใช้เป็นอาหาร ต่อมามี
การปลูกไมป้ ระดบั ในการปลูกไม้แคระ มีการพัฒนารูปแบบการจัดสวนเป็นลักษณะธรรมชาติท่ีสวยงามใน
ระยะต่อมามีการนำรูปป้ัน รูปสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาประกอบใช้ตกแต่งสวน นำเอาความเชื่อทางศาสนา และ
ลัทธิเข้ามา ผูกพันกับรูปแบบของการจัดสวน นำเอาความเชื่อทางศาสนา และลัทธิเข้ามาผูกพันกับ
รปู แบบของสวน

36

อ้างอิง : https://www.novabizz.com/CDC/Garden/Garden_Style_Chinese.htm
B : สวนไทย Thailand garden

สวนสไตล์ไทยแบบปลูกผักสวนครัว ไม่จำเป็นต้องปลูกในสวน หรือ ไร่ แต่สามารถปลูกได้
บริเวณสวนในบ้าน เพียงแค่ต้องจัดสรรพื้นที่ให้ดี ยังสามารถเอาพืชผักที่ปลูกเองเอามาทานได้ด้วย

เอกลักษณ์สวนสไตล์ไทยนน้ั เสริมดว้ ยความเชอ่ื โบราณ เลือกปลกู ตน้ ไม้มงคลไวก้ ับบ้าน ตน้ ไมท้ ่ี
นิยมในสวนไทยไดแ้ ก่ ต้นมะยม ตน้ ขนนุ ต้นมะม่วง นิยมปลูกไว้หนา้ บ้าน เช่ือว่าเก้ือหนุนบารมี สว่ นหลัง
บ้าน อาจเปน็ ตน้ ไมด้ อกให้กล่ินหอม เชน่ ลำดวน ต้นปีบ ดอกแกว้ หรอื โมก เชื่อว่าชว่ ยคุ้มครองปกป้องคน
ในบา้ นได้ดว้ ย
อา้ งอิง : https://www.royalparkrajapruek.org/Park/

37

C : สวนญ่ีปนุ่ Japannese garden
แบบสวนเซนญ่ีปุ่น เป็นสวนท่ีได้รับอิทธิพลจากนิกายเซน ในพุทธศาสนา สวนเซนญี่ปุ่นมี

ลักษณะแห้ง มักจะปูพื้นด้วยกรวดหรือทราย เน้นความเรียบง่าย ตามวิถีของเซน จึงทำให้รู้สึก สงบดู
เรียบง่าย แต่ก็มีความสวยงามอย่างเป็นเอกลักษณ์

เอกลักษณ์สวนญ่ีป่นุ จะตอ้ งมีภเู ขาหรือเป็นเนินดิน สลับกับพ้ืนท่ีราบอาจจะมนี ำ้ ตก สระน้ำลำ
ธาร ฯลฯ โดยย่อส่วนลงมาจัดไว้ในสวนท้ังหมด ... นำประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญาต่างๆ ลทั ธิทางศาสนา
เข้ามารวมอย่ใู นสวน เนน้ ความร่มรื่นเงยี บสงบไมใ่ ชไ้ ม้ดอกทม่ี ีสสี นั สะดุดตา นิยมใชพ้ ันธ์ุไม้ท่ีมสี เี ขียว
ตลอดปี ไม้แคระ และนยิ มใชส้ นเป็นฉากด้านหลัง
อ้างองิ : https://decor.mthai.com/garden/6135.html

38

ลำดับ ประเภทสวน ผลสรปุ

A : สวนจนี Chinese พบว่าจากผู้ป่วยจำนวน 10 คน
garden มคี วามช่นื ชอบสวนสไตล์ญีป่ ่นุ
ถึง 5 คนเป็นผชู้ ่วยภาวะ

ซมึ เศรา้ จากการสำรวจพบวา่

ผปู้ ว่ ยทม่ี อี ายุ 20 – 30 ปที มี่ ี

6.7% ภาวะซมึ เศร้าชอบสวนสไตล์

ญี่ปุน่ มากกว่าสวนไทยและสวน

จนี ซึ่งความชอบของคนรนุ่

เดยี วกนั มักจะช่นื ชอบอะไร

คลา้ ยๆ กัน และไดค้ วาม

คิดเหน็ จากผู้ป่วยว่าสวนญปี่ ุ่นดู

ให้ความชื้นและดเู ยน็ สบาย

มากกว่าสวนจีนและสวนไทย

และผปู้ ่วยท่ีมอี ายุ 20 – 30 ปี

ไดม้ ีการดูการ์ตูนหรือการฟงั

เพลงหรือดูหนังญ่ีปนุ่ มากกวา่

เพลงจนี หรือเพลงไทยจึงทำให้

ช่ืนชอบสวนญ่ปี ุ่นเป็นพิเศษ

B : ส ว น ไ ท ย Thailand พบว่าจากผู้ป่วย

garden จำนวน 10 คนมคี วามช่นื

ชอบสวนสไตล์ไทยเพยี ง 3

คนเท่าน้ันเปน็ ผ้ปู ว่ ย

แอลกอฮอล์ลิสซึม จากการ

สำรวจพบวา่ ผปู้ ่วยท่ีมอี ายุ

40-50 ทีม่ ีภาวะ

แอลกอฮอลล์ ิสซึมชอบสวน

ไทยเปน็ ส่วนใหญซ่ ่ึงได้

สงั เกตเุ หน็ วา่ คนท่ีมอี ายุ

40-50 ปขี ้นึ ไปมักชอบ

อะไรแบบไทยๆ

39

C : สวนญี่ป่นุ พบว่าผปู้ ่วย
Japannese garden จำนวน 10 คนมคี วามชน่ื
ชอบสวนสไตลจ์ ีนเพยี ง 2
คนเทา่ นนั้ เป็นผปู้ ว่ ยที่มี
ภาวะแอลกอฮอล์ลสิ ซึม
จากการสำรวจพบวา่ ผปู้ ว่ ย
ทีม่ อี ายุ 30-40 ปีที่มภี าวะ
แอลกอฮอลล์ สิ ซมึ ชอบสวน
สไตล์จนี มากกว่าสวนอื่นๆ
โดยการสอบถามส่วนตัว
ผปู้ ว่ ยทัง้ 2 คนมคี วามชอบ
ส่งิ ของหรือภูมิทัศน์ที่เปน็
รปู แบบจีนอยูแ่ ลว้ และ
ตัวเองยงั มเี ชื้อสายจนี อีก
ด้วย

40

4.2 สรุปแบบสอบถาม (กราฟ) สวนไทย สวนญีป่ ่นุ เพศชาย
เพศหญงิ
10

9
8
7

6
5
4
3
2
1
0

สวนจนี

41

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา

5.1 สรปุ ผลการศึกษา

5.1.1 จากแบบสอบถามที่พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 10 คน สรุปได้ว่าผู้ตอบ
แบบสอบถามเปน็ เพศหญิงจำนวน 5 คน เพศชายจำนวน 5 คน และอายุ 20-30 จำนวน 5 คนอายุ30-40
จำนวน 5 คนและผู้ป่วยส่วนใหญ่เลือกสวนจีนจำนวน 5 คนเป็นเพศชาย 3 คน เพศหญิง 2 คน สวนไทย
จำนวน 3 คนเป็นเพศชายจำนวน 1 คนเป็นเพศหญิงจำนวน 2 คน และสวนญี่ปุ่นจำนวน 2 คนเป็นเพศ
ชายจำนวน 1 คนเพศหญงิ จำนวน 1 คน จากที่ศึกษาผปู้ ว่ ยแลว้ ว่าทำไมจึงชนื่ ชอบสวนแบบไหน มีดังน้ี

1. สวนจีน ศึกษาได้ว่าคนที่เลือกสวนจีนมีความชื่นชอบในความเป็นจีน เช่น เป็นคนไทย
เชือ้ สายจีนและทางครอบครวั ได้ปลกู ฝงั วัฒนธรรมความเปน็ คนจีนมาตง้ั แต่ยงั เดก็

2. สวนไทย ศึกษาได้ว่าคนที่มีความชื่นชอบสวนไทยชอบในความเป็นไทยและคุ้นชินกับ
ความเป็นไทย และส่วนใหญ่เปน็ คนชอบปลูกต้นไมแ้ ละรู้เร่ืองพืชพรรณไทยค่อนข้างมาก
เลยชอบสวนไทยเป็นพเิ ศษ

3. สวนญี่ปุ่น ศึกษาได้ว่าคนที่ชื่นชอบสวนญี่ปุ่นชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น หรือ ซีรี่ย์ที่เป็นของ
ประเทศญี่ปุน่ หรือสะสมโมเดลการ์ตูนของญี่ปุน่ เลยทำให้ชื่นชอบสวนญ่ีปุ่นมากกว่าสวน
อน่ื ๆเพราะคุ้นชินกบั การดูการ์ตูนหรือซีรย่ี เ์ ปน็ หลกั

จากการรวบรวมข้อมูลและจากแบบสอบถามออนไลน์ไว้ คือ ลักษณะของสวนที่ช่วยบำบัดจิตใจ
ในรูปแบบที่แตกต่างกัน จากการทดลองแบบออนไลน์โดยให้ผู้ป่วยได้ดูรูปสวนทั้ง 3 สไตล์และพูดคุยกับ
ผูป้ ่วยทง้ั เร่อื ง ดนตรี ความชอบ ทำใหผ้ ปู้ ว่ ยได้รสู้ ึกผ่อนคลายมากขนึ้ นอกจากน้ันยังแนะนำการปลูกต้นไม้
และจัดสวนให้กบั ผูป้ ว่ ยและสอนให้ผู้ป่วยทำมุมผ่อนคลายได้ด้วยตัวเองที่บ้านจะได้รบั รู้ถึงความสดช่ืนและ
ผ่อนคลาย และผู้ป่วยหวังว่าการที่มีสวนบำบัดเข้ามาบำบัดได้จะทำให้อาการป่วยมีอาการที่ดีขึ้นเพราะ
อาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ต้องทนทุกทรมานจากปัญหาด้านจิตใจและโรคประสาทโดยเฉพาะสภาวะซึมเศร้า
เกิดทำใหม้ ีการวิตกกังวลและจะได้ศึกษาพชื พรรณท่ีใช้ในการจัดสวนและบำบัดจิตใจโดยวิเคราะห์ข้อมูลท่ี
ทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการออกแบบใหส้ อดคล้องกับวถิ ชี วี ิตและการใชง้ านทีเ่ หมาะสม


Click to View FlipBook Version