The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by siriyakorn8287, 2021-04-27 04:00:56

คำนำ2

คำนำ2

คำนำ

หนังสือเรียนวิชาการบัญชีการเงิน รหัส 3200-1006 เล่มนี้เรียบเรียงขึ้นตรงตาม
จุดประสงค์รายวิชา มาตรฐานรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชพี ชนั้ สูงพุทธศกั ราช 2546 สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เน้อื หาในหนังสอื เล่มน้แี บ่งออกเป็น 11 หน่วย คอื ความรทู้ ว่ั ไปเกี่ยวกับการบัญชี
การบัญชีของกิจการให้บริการ การบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้า รายการปรับปรุง
รายการปิดบัญชีและกระดาษทำการ งบการเงิน เงินสดและระบบใบสำคัญ ลูกหนี้และตัว
เงินรับ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เจ้าหนี้และตัวเงินจ่าย ส่วนของเจ้าของ การบัญชีของ
กิจการอุตสาหกรรม โดยแต่ละหน่วยได้มีแบบประเมินผลการเรียนรู้ ใบงาน และกิจกรรม
เสนอแนะโดยเน้นผู้เรยี นเป็นสำคัญ เพื่อทดสอบความรู้ความเขา้ ใจ และฝึกทักษะอีกดว้ ย

หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ครูอาจารย์ สมดัง
เจตนารมณ์ของผู้เรียบเรียง หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้เรียบเรียงยินดีน้อมรับไว้
ดว้ ยความขอบคุณยงิ่

ผ้เู รียบเรยี ง

พฤษภาคม 2547

1
ทัว่ ไปเกยี่ วกบั การบัญชี
แนวคดิ
ในการจัดทําบัญชี ผู้จัดทําจะต้องคํานึงถึง แม่บทบัญชี พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.
2543 วงจรบัญชี และผังบัญชี เพื่อให้การจัดทําบัญชีถูกต้องตาม หลักบัญชี และเป็นที่ยอมรับ
โดยทว่ั ไป

สาระการเรยี นรู้
1. ความหมายของการบญั ชี
2. ประวัตขิ องการบญั ชี
3. วัตถปุ ระสงค์ของการบัญชี
4. ประโยชน์ของขอ้ มูลการบัญชี
5. แมบ่ ทการบญั ชี
6. พระราชบญั ญัตกิ ารบัญชี พ.ศ. 2543
7. วงจรบญั ชี
8. ผงั บัญชี
9. ศัพทบ์ ญั ชี

ผลการเรียนรู้ท่คี าดหวัง
1. อธิบายความหมายของการบญั ชไี ด้
2. อธิบายประวตั ิของการบญั ชีได้
3. อธิบายวัตถปุ ระสงคแ์ ละประโยชนข์ องขอ้ มูลการบัญชีได้
4. อธิบายแมบ่ ทการบญั ชีได้
5. อธิบายพระราชบญั ญตั ิการบญั ชี พ.ศ. 2543 ได้
6. อธิบายวงจรบญั ชีได้
7. อธบิ ายความหมายของผังบัญชีได้
8. แปลความหมายศพั ทบ์ ญั ชไี ด้

ปัจจุบันการบัญชีเข้าไปมีบทบาทสําคัญในกิจการต่างๆ อันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมท้ัง
ทางดา้ นเศรษฐกจิ และสังคม การบญั ชเี ป็นแหล่งท่มี าของขอ้ มูลอนั บง่ บอกถงึ ผลของการดําเนนิ การ ว่า
ในรอบระยะเวลาท่กี ําหนด กิจการมผี ลกําไรสทุ ธิหรือขาดทนุ สทุ ธิเป็นจํานวนเท่าใด ตลอดจน บ่งบอก
ฐานะทางการเงิน ณ วันใดวันหนึ่งของกิจการว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็น จํานวน
เท่าใด นอกจากนี้ข้อมูลทางการบัญชียังเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการวางแผนควบคุมและ การตัดสินใจ
ในการดําเนินงานของกจิ การในอนาคตอกี ดว้ ย

ความหมายของการบัญชี
หน่วยงานทเ่ี ก่ียวข้องกับวชิ าชีพการบญั ชที ่สี ําคญั ๆ ได้ให้ความหมายของการบญั ชไี ว้ดงั นี้

1. สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของสหรัฐอเมริกา (The American Institute of
Certified Public Accountants : AICPA)
"Accounting is the art of recording, classifying, and summarizing in a significant
manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of
a financial character and interpreting the results thereof."
“การบัญชีเป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเงิน ไว้ใน รูป
ของเงนิ ตรา จดั หมวดหมรู่ ายการเหลา่ นนั้ สรปุ ผลพรอ้ มท้งั ตีความหมายของผลอันน้นั ”

2. สมาคมการบัญชแี ห่งสหรฐั อเมริกา (American Accounting Association : AAA)
" Accounting is the process of identifying, measuring, and communicating

economic information to permit informed judgement and decisions by users of the
information"

“การบัญชีเป็นขบวนการที่ชี้วัดและบอกให้ทราบถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูล
พิจารณาและตดั สินใจ”
3. สมาคมนักบัญชีและผสู้ อบบญั ชรี บั อนญุ าตแหง่ ประเทศไทย

“การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จําแนก และ ทําสรุป
ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ
การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของ
กิจการ”

จากความหมายของการบัญชีดังกล่าวข้างต้น การบัญชีเป็นขบวนการจดบันทึก จัด
หมวดหมู่ รวบรวมและสรุปผลข้อมูลในรูปของเงินตรา รวมทั้งการแปลความหมายอย่างมีเหตุและผล
เพอ่ื ประโยชนใ์ นการตดั สนิ ใจ

ประวัตขิ องการบัญชี
การจดบนั ทกึ ทางการบัญชี เกดิ ขน้ึ ในสมยั บาบิโลเนียนและอยี ิปตห์ รือเมื่อประมาณ 5,000

ปีมาแล้ว โดยค้นพบหลักฐานการจดบันทึกข้อมูลบนแผ่นดินเหนียว ในช่วงแรกเป็นการจดบันทึก
ข้อมูล เป็นปริมาณ ต่อมาการดํารงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป มีการนําเงินตรามาใช้แทนการ
แลกเปลี่ยน มีการคิดค้นตัวเลขอารบิคแทนเลขโรมัน มีการลงทุนที่ดําเนินธุรกิจเพื่อหวังผลกําไร การ
บัญชีจงึ มี การพัฒนาตามความจําเปน็ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกจิ และสังคมทเ่ี ปลย่ี นแปลงไป

ในปี ค.ศ. 1494 ลูกา ปาซิโอล (Luca Pacioli) ชาวอิตาเลี่ยน ได้เขียนหนังสือเชิง
คณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ชื่อ “Summa de Arithmetica Geometrica Proportionalita” ส่วนหนึ่งได้
กล่าวถึงหลักการบัญชีคู่ โดยกําหนดศัพท์ คําว่า “Debito” หมายถึง “เป็นหนึ่ง” และ “Credito”
หมายถึง “เชื่อถือ” อันเป็นพื้นฐานที่มาของคําว่า “Debit” และ “Credit” ตามหลักการบัญชีคู่ ซ่ึง
เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ ลูกา ปาซิโอลิ ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่ง การ
บัญชี ทา่ นสําเรจ็ การศกึ ษาระดับปริญญาเอก และเป็นอาจารย์สอนในมหาวทิ ยาลัย ประเทศอิตาลี

สําหรับประเทศไทย การบัญชีเริ่มต้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เมื่อวันที่ 24
มิถุนายน 2475) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยสว่ นรวมอันนําไปสู่การออกประมวลรษั ฎากร
จัดเก็บ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล การกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทําบัญชี ตาม
พระราชบญั ญัตกิ ารบญั ชี พ.ศ. 2482 โดยผ้ทู ่ีเผยแพรค่ วามรทู้ างดา้ นการบญั ชใี นระยะแรก คอื พระยา
ไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) และหลวงดําริอิศรานุวรรต (ม.ล.ดําริ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ได้
จัดทําหลกั สตู รการสอนวชิ าการบญั ชีเพื่อเผยแพรท่ ําใหค้ นไทยมีความรู้ทางดา้ นการบัญชี ทา่ น ท้ังสอง
จบการศึกษาทางด้านการบัญชีจากประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการที่สํานักงาน ตรวจเงิน
แผ่นดิน
วตั ถุประสงค์ของการบญั ชี

เป้าหมายหลักของการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือการให้บริการก็ตาม คือ การ
มีผลการดาํ เนนิ งานกําไรสทุ ธสิ ูงท่สี ุด และกจิ การมฐี านะทางการเงินท่ีม่ันคง ซึ่งเครือ่ งมือที่บ่ง บอกผล
การดําเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการจะไดม้ าจากขบวนการทางการบัญชี อัน เริ่มต้นจาก
การรวบรวมข้อมูล จดบันทึก จําแนกและสรุปผลตามระยะเวลาที่กําหนดในรูปของ รายงานทาง
การเงิน นอกจากนี้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีการแข่งขันค่อนข้างสูงมาก การที่จะ ประสบ
ความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจจําเป็นต้องอาศัยขบวนการวางแผนเพื่อกําหนดทิศทาง แนวนโยบาย
ให้กบั กิจการในอนาคต รายงานทางการเงนิ กเ็ ป็นเครื่องมือสําคัญอย่างหนึ่งในขบวน การนี้ด้วย ดังน้ัน
วัตถปุ ระสงคข์ องการบญั ชี จึงได้แก่

1. เพ่อื จดบันทกึ รายการค้าของกิจการอย่างเป็นระบบ เรียงตามลําดับเหตุการณ์กอ่ นหลงั
2. เพ่ือวตั ผลการดําเนนิ งานและแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ

3. เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผน ควบคุมและตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินงานของ
กจิ การในอนาคต
4. เพ่อื ให้เปน็ ไปตามข้อกําหนดของกฎหมายเก่ยี วกบั การบญั ชี
5. เพอื่ ใช้เปน็ เคร่อื งมอื ในการควบคุมขบวนการทาํ งานของพนักงานของกิจการ
6. เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก่หน่วยงานของภาครัฐบาลในการจัดเก็บภาษี และควบคุมการ
บรหิ ารงานของกจิ การ
7.เพื่อใชเ้ ป็นข้อมูลแก่บุคคลทส่ี นใจ เช่น นักลงทุน สถาบนั การเงินท่กี จิ การสนิ เชือ่
ประโยชน์ของข้อมลู การบัญชี

บุคคลที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางการบัญชี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ บุคคล
ภายนอกกิจการและบุคคลภายในกิจการ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์จาก
ข้อมูลทางการบญั ชีทแ่ี ตกตา่ งกันไป ดงั น้ี

บุคคลภายนอกกจิ การ เชน่
1. นกั ลงทุน (Investor) ใชข้ อ้ มลู ทางการบัญชเี พ่อื ประกอบการตัดสินใจในการลงทนุ ซ้ือห้นุ
2. เจ้าหนี้ (Creditor) ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ วิเคราะห์
ความสามารถในการชําระหนแ้ี ละจ่ายดอกเบยี้ ของกจิ การ
3. ผู้สอบบัญชี (Auditor) ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อตรวจสอบว่ากิจการบันทึกบัญชีถูกต้อง
ตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไปหรือไม่ ก่อนที่จะลงนามรับรองรายงานทางการเงินหรือ งบ
การเงนิ
4. หน่วยงานของรัฐบาล (Government) เช่น กรมสรรพากร กรมทะเบียนการค้า ใช้ข้อมูล
ทางการบัญชีเพื่อเป็นข้อมูลในการคํานวณและจัดเก็บภาษีเงินได้ อันเป็นรายได้หลักของ ภาครัฐบาล
และเพือ่ ควบคุมให้เปน็ ไปตามขอ้ กาํ หนดของกฎหมาย
5. สถาบันการเงนิ (Financial Institution) เช่น ธนาคาร ใชข้ อ้ มูลทางการบัญชีเพ่ือ พิจารณา
การให้กยู้ มื ความสามารถของกิจการในการชาํ ระดอกเบ้ยี
6. สาธารณชน (Community) หมายถึงกลุ่มชนที่แวดล้อมกับกิจการ ใช้ข้อมูลทางการบัญชี
เพอ่ื พิจารณาผลกระทบต่อชุมชน เช่น ภาวะการจ้างงาน การสนบั สนุนผลิตภัณฑ์ทอ้ งถ่นิ
บคุ คลภายในกิจการ ไดแ้ ก่
1. ฝ่ายบรหิ าร (Management) ใช้ข้อมลู ทางการบัญชีเพื่อประกอบการวางแผน วเิ คราะห์ ควบคมุ และ
การตดั สนิ ใจเก่ียวกับการดาํ เนินงานของกิจการ
2. ฝ่ายพนักงาน (Employee) ใชข้ ้อมูลทางการบญั ชเี พอื่ ประกอบการพิจารณาผลตอบแทน ในการจ้าง
ตลอดจนพจิ ารณาความมน่ั คงของกจิ การ

แมบ่ ทการบญั ชี (Basic Accounting Concepts)
วัตถปุ ระสงคแ์ ละสถานภาพ
แม่บทการบัญชีกําหนดขึ้นโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

แทนข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี เพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทําและนําเสนองบ
การเงนิ แกผ่ ้ใู ช้งบการเงนิ ที่เปน็ บุคคลภายนอก โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์ดงั นี้

1. เพอ่ื เปน็ แนวทางสาํ หรบั คณะกรรมการมาตรฐานการบญั ชีในการพัฒนามาตรฐานการ บญั ชี
ในอนาคตและในการทบทวนมาตรฐานการบัญชีที่มีในปัจจุบันและในการปรับข้อกําหนด มาตรฐาน
และการปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการนําเสนองบการเงินให้สอดคล้องกันโดยถือ เป็นหลักเกณฑ์
ในการลดจํานวนทางเลอื กของวิธีการบนั ทกึ บัญชีท่ีเคยอนุญาตใหใ้ ช้

2. เพื่อเป็นแนวทางสําหรับผู้จัดทํางบการเงินในการนํามาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติรวมทั้ง
เป็นแนวทางในการปฏบิ ตั สิ ําหรบั เรอื่ งท่ียงั ไมม่ ีมาตรฐานการบัญชีรองรบั

3. เพ่ือเป็นแนวทางสําหรับผู้สอบบัญชใี นการแสดงความเหน็ ตอ่ งบการเงิน
4. เพ่อื ชว่ ยให้ผใู้ ชง้ บการเงินสามารถเขา้ ใจความหมายของขอ้ มลู ท่ีแสดงในงบการเงิน
5. เพื่อให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการกําหนดมาตรฐานการบัญชีของ
คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี
ขอบเขต
ขอบเขตของแม่บทการบัญชีเก่ยี วข้องกับเรอ่ื งดังต่อไปนี้
1. วัตถปุ ระสงคข์ องงบการเงนิ
2. ลกั ษณะเชิงคณุ ภาพที่กําหนดวา่ ขอ้ มลู ในงบการเงนิ มปี ระโยชน์
3. คาํ นิยาม การรับร้แู ละการวดั มลู คา่ ขององค์ประกอบต่างๆ ทป่ี ระกอบขึ้นเป็นงบการเงิน
4. แนวคดิ เกีย่ วกับทนุ และการรักษาระดับทุน

ผู้ใชง้ บการเงินและความตอ้ งการของข้อมลู
ผู้ใช้งบการเงินจะประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่มซึ่งใช้งบการเงินเพื่อตอบสนองความ

ต้องการของขอ้ มูลที่แตกตา่ งกันไป ไดแ้ ก่
1. ผู้ลงทุน
2. ลูกจ้าง
3. ผใู้ ห้กู้
4. ผูข้ ายสินคา้ และเจ้าหนอ้ี น่ื
5. ลกู ค้า
6. รฐั บาลและหน่วยงานราชการ

7. สาธารณชน
วตั ถปุ ระสงคข์ องงบการเงิน

วัตถุประสงค์ของการจัดทํางบการเงินเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการ
ดําเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถตอบสนองความ
ต้องการ ร่วมของผู้ใช้งบการเงินส่วนใหญ่ นอกจากนี้งบการเงินยังแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่าย
บริหาร ทําให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินผลการบริหารงานหรือความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร
เพื่อใช้ ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้

ขอ้ สมมตุ ิ
1. เกณฑ์คงค้าง (Accrual Assumption / Accrual Basis) หลักเกณฑ์ข้อนี้ถือว่าการ บันทึก
ข้อมลู ทางบญั ชีจะกระทาํ ในรอบเวลาที่เกิดขนึ้ หมายถึงการพจิ ารณารายการท่ีเกิดขน้ึ แลว้ ในงวดบัญชี
ท้ังที่รบั -จา่ ยเงนิ แลว้ และยังมิได้รบั -จ่ายเงิน เชน่ ไดร้ บั บิลคา่ ไฟฟา้ แต่ยังมไิ ด้จ่ายเงิน หรือให้บริการตัด
เสื้อแก่ลูกคา้ แต่ยังมิได้รบั ชําระเงนิ รายการลักษณะเช่นนี้ จะตอ้ งถือวา่ เกิดขนึ้ ใน รอบระยะเวลาบัญชี
น้ันๆ และต้องบนั ทึกบญั ชี
2. หลักความดํารงอยู่ของกิจการ (Going-Concern Assumption) หลักเกณฑ์ข้อนี้ ถือว่า
ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วย่อมมีวัตถุประสงค์ท่ีจะดําเนินกิจการต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุดหรือ
ปฏิบัติงานตามแผนโครงการ หรือข้อผูกพันต่างๆ ที่ได้ทําไว้จนบรรลุผลสําเร็จก่อนโดยแบ่งเวลาเป็น
งวดๆ เรยี กว่างวดบัญชี ซ่ึงโดยปกติงวดบัญชจี ะเป็น 1 ปี โดยนิยมเร่มิ ตน้ ตงั้ แต่วันที่ 1 มกราคม ส้ินสุด
วนั ท่ี 31 ธนั วาคม
รายละเอยี ดของแม่บทการบญั ชยี ังมีรายละเอียดอีกหลายหัวข้อ ซ่งึ นักศึกษาสามารถดูได้ จาก
มาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับรวมเล่ม พ.ศ. 2544 เล่มที่ 1 อย่างไรก็ตามในที่นี้ได้สรป เฉพาะ
หวั ขอ้ ใหใ้ นรปู ของแผนภมู ดิ งั นี้

แม่บทการบญั ชีสำหรับการจัดทำลำนำเสนองบการเงิน

ลกั ษณะของงบการเงิน

วตั ถุประสงค์ ใหข้ อมลู ท่ีมีประโยชน์ต่อการตดั สินใจเชิงเศรษฐกิจ

ข้อสมมติ เกณฑค์ งคา้ ง การดาเนินงานต่อเนื่อง

ขอ้ จำกัด ทนั ต่อเวลา ความสมดุลระหวา่ งประโยชน์ ความสมดุลของลกั ษณะ
ที่ไดร้ ับกนั ตน้ ทนุ ที่เสียไป เชิงคุณภาพ

ลกั ษณะเชิงคณุ ภาพ ถูกตอ้ งและยตุ ิธรรมหรือถูกตอ้ งตามควร

ลักษณะแรก เขา้ ใจได้ เก่ียวขอ้ งกบั การ เช่ือถือได้ เปรียบเทียบกนั
ลกั ษณะรอง ตดั สินใจ ความระมดั ระวงั ได้

นยั สาคญั ความครบถว้ น

ตนั แทนอนั ที่ยง เน้ือหาสาคญั กวา่ ความเป็นกลาง
ธรรม รูปแบบ

พระราชบญั ญตั ิการบญั ชี พ.ศ. 2543

สบื เนอ่ื งจากกฎหมายท่เี กยี่ วข้องกับการบัญชนี ัน้ ใช้มาตงั้ แต่ปี พ.ศ. 2515 คือ ประกาศ ของ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ซึ่งเป็นระยะเวลานานและข้อกฎหมายบางอย่าง ล้าสมัยไม่ทันต่อ เหตุการณ์
และไม่สอดคลอ้ งกบั สถานการณ์ทางเศรษฐกิจการค้าท่ีเปล่ียนแปลงไป ดงั นน้ั กรมพฒั นาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณชิ ย์ จงึ ได้ดําเนนิ การเสนอแกไ้ ขปรับปรงุ กฎหมายว่าด้วย การบัญชีมาเป็นลําดับนับแต่ปี
พ.ศ. 2534 เป็นตน้ มา จนถึงปจั จบุ ันกฎหมายดงั กลา่ ว ได้ผ่าน ความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว เมอื่ วันที่
15 มีนาคม 2543 และนําลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจะมีผล
บงั คับใชต้ งั้ แต่วันท่ี 10 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป

พระราชบญั ญัติ

การบญั ชี

พ.ศ. 2543

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ใหไ้ ว้ ณ วนั ท่ี 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

เป็นปที ี่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลา้ ฯ ให้
ประกาศวา่

โดยที่เปน็ การสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าดว้ ยการบัญชี

พระราชบัญญัตินีม้ ีบทบัญญัติบางประการเกีย่ วกับการจาํ กัดสิทธแิ ละเสรภี าพของบุคคล
ซึง่ มาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั ร
ไทย บญั ญัตใิ หก้ ระทาํ ได้ โดยอาศัยอาํ นาจตามบทบัญญตั แิ ห่งกฎหมาย

จงึ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหต้ ราพระราชบัญญตั ขิ ึน้ ไวโ้ ดยคาํ แนะนําและยินยอมของ
รัฐสภา ดังตอ่ ไปน้ี

มาตรา 1 พระราชบัญญตั ินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัตกิ ารบัญชี พ.ศ. 2543

มาตรา 2 พระราชบญั ญัติน้ีให้ใชบ้ ังคบั เม่อื พน้ กาํ หนดเก้าสิบวนั นับแตว่ นั ประกาศในราช
กิจจานุเบกษา เปน็ ตน้ ไป

มาตรา 3 ใหย้ กเลิกประกาศของคณะปฏิวตั ิ ฉบับท่ี 285 ลงวันท่ี 24 พฤศจกิ ายน พ.ศ.
2515 มาตรา 4 ในพระราชบญั ญตั ิน้ี

“งบการเงิน” หมายความว่า รายงานผลการดาํ เนนิ งาน ฐานะการเงนิ หรือการเปลย่ี นแปลง
ฐานะการเงนิ ของ กิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดลุ งบกาํ ไรขาดทนุ งบกาํ ไรสะสม งบกระแสเงินสด
งบแสดงการเปลย่ี นแปลง สว่ นของผ้ถู ือห้นุ งบประกอบหรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือ
คาํ อธบิ ายอน่ื ซึ่งระบุไวว้ า่ เปน็ สว่ นหน่ึงของ งบการเงิน

“มาตรฐานการบญั ชี” หมายความวา่ หลักการบัญชแี ละวิธีปฏิบตั ิทางการบัญชที ี่รับรอง
ทว่ั ไป หรือ มาตรฐานการบัญชที ี่กาํ หนดตามกฎหมายว่าด้วยการนนั้

“ผู้มีหน้าทจี่ ัดทาํ บัญช”ี หมายความว่า ผู้มีหน้าท่ีจดั ให้มีการทาํ บัญชีตามพระราชบญั ญัติ
น้ี

“ผทู้ าํ บญั ชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทําบญั ชีของผมู้ หี นา้ ท่จี ัดทําบัญชีไมว่ า่
จะได้ กระทาํ ในฐานะเป็นลูกจา้ งของผู้มหี น้าท่ีจดั ทาํ บญั ชหี รือไม่ก็ตาม

“สารวตั รใหญ่บญั ช”ี หมายความว่า อธิบดี และใหห้ มายความรวมถงึ ผซู้ ง่ึ อธิบดีมอบหมาย
ด้วย

“สารวัตรบญั ชี” หมายความว่า ผซู้ ง่ึ อธิบดแี ต่งตั้งให้เปน็ สารวตั รบัญชปี ระจําสาํ นกั งาน
บัญชีประจาํ ทอ้ งที่

“อธบิ ด”ี หมายความว่า อธิบดกี รมทะเบียนการค้า

“รฐั มนตร”ี หมายความวา่ รัฐมนตรผี ู้รักษาการตามพระราชบัญญัติน้ี

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพาณชิ ย์รักษาการตามพระราชบัญญตั ินแ้ี ละให้มี
อํานาจออกกฎ กระทรวงเพื่อปฏบิ ตั ิการตามพระราชบญั ญตั นิ ี้

กฎกระทรวงนนั้ เมอ่ื ได้ประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาแล้วให้ใชบ้ งั คับได้

หมวด 1

บทท่ัวไป

มาตรา 6 ให้กรมทะเบยี นการคา้ กระทรวงพาณิชย์ เป็นสาํ นกั งานกลางบญั ชี

ใหอ้ ธบิ ดมี อี ํานาจจดั ตัง้ สํานักงานบัญชีประจาํ ทอ้ งท่ี โดยข้นึ ตรงตอ่ สํานกั งานกลางบญั ชี
และมสี ารวตั รบัญชี คนหน่ึงเปน็ หัวหน้าสาํ นกั งานบญั ชปี ระจําท้องท่ี

การจดั ต้งั สํานักงานบญั ชีประจําทอ้ งทใี่ ห้ประกาศในราชกจิ จานุเบกษา

มาตรา 7 อธิบดมี อี ํานาจประกาศในราชกจิ จานุเบกษากาํ หนดในเร่ืองดังตอ่ ไปน้ี

(1) ชนดิ ของบญั ชีท่ตี อ้ งจัดทาํ

(2) ขอ้ ความและรายการทต่ี อ้ งมีในบัญชี

(3) ระยะเวลาทต่ี ้องลงรายการในบญั ชี

(4) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบญั ชี

(5) กาํ หนดขอ้ ยกเว้นให้มีผมู้ หี น้าที่จดั ทําบัญชหี รือผู้ทาํ บญั ชีไม่ต้องปฏิบตั ติ ามมาตรฐาน
การบัญชใี น เรอ่ื งใดเรื่องหน่ึงหรอื สว่ นใดสว่ นหนึ่ง

(6) คณุ สมบตั ิและเงื่อนไขของการเปน็ ผู้ทําบญั ชีตามพระราชบญั ญัตนิ ้ี

ในการประกาศข้อกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้อธบิ ดคี ํานงึ ถึงมาตรฐานการบญั ชีและ
ขอ้ คิดเห็นของหนว่ ยงานที่ เกยี่ วข้องและสถาบันวิชาชีพบญั ชี 1

ข้อกําหนดตาม (5) และ (6) ต้องได้รบั ความเห็นชอบจากรฐั มนตรีด้วย

ขอ้ กําหนดตาม (1) (2) (3) และ (4) หากเรอื่ งนน้ั มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เปน็ อยา่ งอ่ืน
เม่อื ผูม้ ีหน้าที่ จดั ทาํ บญั ชีปฏิบัตติ ามกฎหมายเฉพาะนนั้ แล้ว ใหถ้ อื ว่าได้จัดทําบญั ชีโดยถกู ต้องตาม
พระราชบญั ญตั แิ ลว้

หมวด 2

ผู้มีหน้าท่จี ดั ทาํ บญั ชี

มาตรา 8 ใหห้ ้างหนุ้ สว่ นจดทะเบยี น บริษัทจาํ กดั บรษิ ัทมหาชนจาํ กดั ท่จี ัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายได้ นิตบิ ุคคลท่ีต้งั ข้นึ ตามกฎหมายตา่ งประเทศท่ีประกอบธุรกิจในประเทศไทย กจิ การร่วมค้า
ตามประมวลรษั ฎากร เป็นผ้มู หี น้าทีจ่ ัดทาํ บัญชี และต้องจดั ใหม้ ีการทําบญั ชสี าํ หรบั การประกอบธรุ กจิ
ของตนโดยมีรายละเอยี ด หลัก เกณฑ์และวิธีการตามทีบ่ ัญญตั ไิ วใ้ นพระราชบญั ญตั ินี้

ในกรณที ผ่ี ูม้ ีหนา้ ทจ่ี ดั ทําบญั ชปี ระกอบธุรกจิ เป็นประจําในสถานที่หลายแหง่ แยกจากกนั
ให้ผมู้ ีหน้าท่ี รับผิดชอบในการจัดการธรุ กจิ ในสถานที่นั้นเป็นผูม้ ีหนา้ ทจ่ี ดั ทําบญั ชี

ในกรณีท่ผี ูม้ ีหน้าท่จี ัดทําบัญชเี ปน็ กิจการรว่ มค้าตามประมวลรษั ฎากร ให้บคุ คลซึ่ง
รับผิดชอบในการ ดาํ เนินการของกิจการน้นั เป็นผ้มู ีหนา้ ท่ีจดั ทาํ บญั ชี

รฐั มนตรีโดยความเหน็ ชอบของคณะรฐั มนตรมี อี ํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กําหนดใหบ้ ุคคล ธรรมดาใดหรือหา้ งหุน้ สว่ นที่มิไดจ้ ดทะเบียนท่ปี ระกอบธรุ กจิ ใดในประเทศไทยตาม
เงือ่ นไขใด เปน็ ผมู้ ีหน้าที่จัดทํา บัญชีตามพระราชบัญญัตนิ ้ีได้

ประกาศของรัฐมนตรตี ามวรรคส่ี ใหป้ ระกาศในราชกจิ จานเุ บกษาล่วงหน้าไมน่ ้อยกว่าหก
เดือนกอ่ นวนั ใช้บงั คบั

ในกรณที ่มี ปี ระกาศของรัฐมนตรตี ามวรรคสี่ ให้อธบิ ดีกําหนดหลักเกณฑ์และวธิ กี าร
เกยี่ วกับวนั เร่มิ ทาํ บญั ชคี ร้ังแรก และกําหนดวิธีการจัดทาํ บญั ชีของบุคคลธรรมดาหรอื หา้ งหุน้ สว่ นท่ี
มิไดจ้ ดทะเบียนน้ัน

มาตรา 9 ผู้มหี นา้ ทจ่ี ัดทําบญั ชตี ้องจดั ใหม้ ีการทาํ บญั ชีนบั แตว่ นั เร่มิ ทําบัญชี ดงั ตอ่ ไปนี้เป็น
ต้นไป

(1) ห้างหุน้ ส่วนจดทะเบยี น บรษิ ทั จาํ กัด หรือบรษิ ัทมหาชนจาํ กัด ให้เรม่ิ ทําบัญชีนบั แต่
วันทห่ี า้ งหนุ้ ส่วน จดทะเบียน บริษทั จาํ กัด หรือบริษทั มหาชนจํากัดน้ัน ไดร้ ับการจดทะเบียนเปน็ นติ ิ
บคุ คลตามกฎหมาย

(2) นิติบคุ คลท่ีต้งั ขึน้ ตามกฎหมายต่างประเทศทปี่ ระกอบธุรกิจในประเทศไทยใหเ้ ริ่มทํา
บญั ชนี ับแต่วัน ที่นิติบุคคลทตี่ ั้งข้ึนตามกฎหมายต่างประเทศนั้นไดเ้ ริม่ ต้นประกอบธรุ กจิ ในประเทศ
ไทย กจิ การ

(3) กจิ การร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ให้เริ่มทําบญั ชนี บั แต่วันทกี่ ิจการรว่ มค้านั้นได้
เร่มิ ตน้ ประกอบ

(4) สถานทปี่ ระกอบธุรกจิ เปน็ ประจาํ ตามมาตรา 8 วรรคสอง ให้เร่ิมทําบญั ชนี ับแตว่ นั ท่ี
สถานท่ี ประกอบธุรกิจเป็นประจาํ นั้นเร่มิ ต้นประกอบกจิ การ

มาตรา 10 ผู้มีหน้าที่จัดทาํ บญั ชตี อ้ งปิดบัญชีครั้งแรกภายในสบิ สองเดือนนบั แต่วันเริ่มทาํ
บญั ชที ี่ กาํ หนดตามมาตรา 8 วรรคหก หรอื วนั เรม่ิ ทําบัญชตี ามมาตรา 9 แลว้ แต่กรณีและปิดบัญชที ุก
รอบสิบสองเดอื น นับแตว่ ันปดิ บญั ชคี รง้ั กอ่ น เว้นแต่

(1) เมอื่ ไดร้ ับอนุญาตจากสารวัตรใหญบ่ ัญชหี รอื สารวัตรบญั ชใี หเ้ ปล่ยี นรอบบัญชีแล้วอาจ
ปิดบัญชี ก่อนครบรอบสิบสองเดอื นได้

(2) ในกรณีมีหน้าทจ่ี ดั ทําบัญชตี ามมาตรา 8 วรรคสอง ให้ปดิ บญั ชพี ร้อมกับสํานกั งานใหญ่

มาตรา 11 ผู้มีหนา้ ทจี่ ัดทําบญั ชซี ่งึ เป็นห้างห้นุ สว่ นจดทะเบียนทจี่ ัดตัง้ ข้ึนตามกฎหมาย
ไทย นติ ิบคุ คลที่ตงั้ ขนึ้ ตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการรว่ มคา้ ตามประมวลรษั ฎากร ตอ้ งจัดทาํ
งบการเงนิ และยน่ื งบการเงิน ดังกล่าวต่อสํานกั งานกลางบัญชหี รอื สํานกั งานบัญชีประจําทอ้ งทีภ่ ายใน
หา้ เดอื นนบั แตว่ นั ปดิ บญั ชี ตามมาตรา 10 สาํ หรับกรณีของบริษัทจํากดั หรอื บริษัทมหาชนจาํ กดั ที่
จัดตั้งขน้ึ ตามกฎหมายไทย ใหย้ นื ภายใน หน่ึงเดือนนบั แต่วนั ทง่ี บการเงินนนั้ ได้รับอนมุ ตั ิในที่ประชุม
ใหญ่ ท้งั น้ี เว้นแตม่ เี หตุจําเปน็ ทาํ ให้ผู้มีหน้าทจ่ี ัดทาํ บัญชไี มส่ ามารถจะปฏบิ ัตติ ามกาํ หนดเวลา
ดงั กล่าวได้ อธิบดอี าจพิจารณาสง่ั ให้ขยายหรือเล่อื นกําหนดเวลาออกไป อกี ตามความจาํ เปน็ แกก่ รณี
ได้

การยนื่ งบการเงนิ ใหเ้ ป็นไปตามหลกั เกณฑ์และวธิ กี ารท่ีอธบิ ดีกําหนด

งบการเงนิ ตอ้ งมีรายการยอ่ ตามที่อธิบดปี ระกาศกาํ หนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
เวน้ แต่กรณีท่ี ได้มกี ฎหมายเฉพาะกําหนดเพ่มิ เติมจากรายการย่อของงบการเงินอธิบดกี ําหนดไว้แล้ว
ใหใ้ ชร้ ายการย่อตามท่ี กาํ หนดในกฎหมายเฉพาะน้ัน

งบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผสู้ อบบัญชรี บั อนญุ าต เว้น
แต่งบการเงนิ ของ ผู้มีหน้าที่จัดทําบญั ชซี ง่ึ เป็นห้างห้นุ ส่วนจดทะเบยี นทจ่ี ดั ต้ังขนึ้ ตามกฎหมายไทยท่มี ี
ทนุ สินทรัพย์ หรือรายได้ ราย การใดรายการหนง่ึ หรือทุกรายการ ไม่เกินท่กี าํ หนด โดยกฎกระทรวง

มาตรา 12 ในการจัดทําบญั ชี ผมู้ ีหนา้ ทจ่ี ัดทาํ บัญชีต้องส่งมอบเอกสารทต่ี อ้ งใช้
ประกอบการลงบญั ชี ให้แก่ ผู้ทําบัญชีให้ถกู ต้องครบถ้วน เพ่อื ใหบ้ ญั ชีทจ่ี ัดทําขน้ึ สามารถแสดงผลการ

ดาํ เนินงาน ฐานะการเงนิ หรือ การเปลีย่ นแปลงฐานะการเงนิ ท่ีเปน็ อยูต่ ามความเป็นจริงและตาม
มาตรฐานการบัญชี

มาตรา 13 ผูม้ ีหน้าทจ่ี ดั ทาํ บญั ชีต้องเกบ็ รักษาบญั ชแี ละเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ
ลงบัญชไี ว้ ณ สถาน ทีท่ าํ การ หรือสถานท่ีที่ใช้เปน็ ทท่ี ําการผลติ หรอื เก็บสนิ ค้าเปน็ ประจําหรอื สถานที่
ท่ใี ชเ้ ป็นทท่ี ํางานเป็นประจํา เวน้ แต่ผูม้ หี น้าทจ่ี ัดทําบญั ชีจะได้รับอนุญาตจากสารวตั รใหญบ่ ญั ชีหรอื
สารวตั รบัญชี ใหเ้ ก็บรกั ษาบัญชีและเอกสารทีต่ อ้ ง ใช้ประกอบการลงบัญชไี ว้ ณ สถานทอ่ี ืน่ ได้

การขออนุญาตและการอนญุ าตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑแ์ ละวธิ กี ารอธบิ ดี
กาํ หนด และใน ระหวา่ งรอการอนญุ าตให้ผู้มีหน้าท่ีจดั ทําบญั ชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารตอ้ งใช้
ประกอบการลงบัญชไี วใ้ นสถาน ท่ที ยี่ นื่ ขอนน้ั ไปพลางก่อนได้

ในกรณที จ่ี ดั ทาํ บัญชีดว้ ยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครอื่ งมืออ่ืนใดในสถานทอ่ี ื่นใด ใน
ราชอาณาจักรทม่ี ใิ ช่ สถานท่ีตามวรรคหนง่ึ แต่มกี ารเชือ่ มโยงเครอื ข่ายคอมพวิ เตอร์หรือเครอื่ งมือนนั้
มายังสถานท่ตี ามวรรคหน่ึง กรณีดงั กล่าวนใ้ี หถ้ อื ว่าไดม้ กี ารเกบ็ รักษาบญั ชีไว้ ณ สถานทตี่ ามวรรคหน่งึ
แลว้

มาตรา 14 ผมู้ ีหนา้ ทจ่ี ดั ทําบัญชตี ้องเกบ็ รักษาบัญชีและเอกสารทตี่ ้องใชป้ ระกอบการ
ลงบญั ชไี ว้เป็น เวลาไมน่ ้อยกว่าห้าปีนับแต่วนั ปิดบญั ชหี รอื จนกว่าจะมกี ารส่งมอบบัญชีและเอกสาร
ตามมาตรา 17

เพ่ือประโยชน์ในการตรวจสอบบญั ชีของกจิ การประเภทใดประเภทหนงึ่ ใหอ้ ธิบดโี ดยความ
เหน็ ชอบของ รัฐมนตรีมีอาํ นาจกําหนดใหผ้ ู้มหี น้าทจ่ี ัดทําบญั ชีเกบ็ รักษาบญั ชีและเอกสารที่ต้องใช้
ประกอบการลงบัญชีไวเ้ กิน หา้ ปีแตต่ อ้ งไม่เกินเจด็ ปีได้

มาตรา 15 ถ้าบญั ชหี รอื เอกสารท่ีต้องใช้ประกอบการลงบัญชสี ญู หายหรอื เสยี หาย ให้ผมู้ ี
หนา้ ทจ่ี ัดทํา บญั ชีแจง้ ต่อสารวัตรใหญบ่ ัญชีหรือสารวตั รบัญชีตามหลกั เกณฑ์และวิธกี ารท่ีอธิบดี
กาํ หนดภายในสบิ ห้าวนั นับ แตว่ ันท่ที ราบหรอื ควรทราบถึงการสูญหายหรอื เสียหายน้นั

มาตรา 16 ในกรณีทส่ี ารวตั รใหญบ่ ัญชีหรอื สารวตั รบัญชีตรวจพบว่าบัญชแี ละเอกสารที่
ตอ้ งใช้ ประกอบการลงบัญชที ่เี ปน็ สาระสาํ คัญแก่การจัดทาํ บัญชีสูญหายหรือถกู ทาํ ลายหรือปรากฏว่า
บัญชแี ละเอกสาร ดงั กลา่ วมไิ ดเ้ กบ็ ไว้ในท่ปี ลอดภัย ใหส้ นั นิษฐานวา่ ผูม้ หี น้าที่จัดทาํ บัญชมี ีเจตนาทําให้
เสียหาย ทาํ ลาย ซ่อนเรน้ หรือทําใหส้ ญู หายหรือทําใหไ้ ร้ประโยชน์ ซง่ึ บัญชหี รอื เอกสารน้นั เวน้ แต่ผ้มู ี
หนา้ ทีจ่ ัดทําบัญชจี ะพิสูจนใ์ หเ้ ชอื่ ได้ วา่ ตนไดใ้ ชค้ วามระมัดระวังตามสมควรแก่กรณแี ลว้ เพ่ือป้องกนั มิ
ใหบ้ ญั ชหี รอื เอกสารทต่ี อ้ งใช้ประกอบการลง บญั ชสี ูญหายหรือเสียหาย

มาตรา 17 เม่ือผูม้ ีหน้าที่จัดทาํ บัญชีเลิกประกอบธุรกจิ ดว้ ยเหตใุ ด ๆ โดยมิได้มกี ารชําระ
บัญชี ใหส้ ่ง มอบบัญชแี ละเอกสารทตี่ อ้ งใชป้ ระกอบการลงบญั ชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชหี รอื สารวตั ร
บญั ชีภายในเก้าสบิ วนั นับ แตว่ นั เลกิ ประกอบธุรกจิ และใหส้ ารวัตรใหญ่บญั ชีหรือสารวตั รบัญชีเก็บ
รักษาบญั ชีและเอกสารทต่ี อ้ งใช้ประกอบ การลงบญั ชดี ังกล่าวไวไ้ มน่ อ้ ยกวา่ หา้ ปี

เมอื่ ผ้มู ีหน้าที่จดั ทําบัญชีรอ้ งขอ ใหส้ ารวัตรใหญ่บัญชีหรอื สารวัตรบญั ชีมีอํานาจขยายเวลา
การสง่ มอบ บัญชีและเอกสารตามวรรคหนงึ่ ได้ แต่ระยะเวลาท่ีขยายเมื่อรวมกันแลว้ ตอ้ งไมเ่ กินหน่ึง
ร้อยแปดสบิ วันนบั แตว่ ัน เลกิ ประกอบธุรกิจ

ในกรณที ผี่ มู้ หี น้าทจ่ี ดั ทําบัญชสี ง่ มอบบัญชแี ละเอกสารที่ต้องใช้และประกอบการลงบญั ชีไม่
ครบถว้ นถกู ตอ้ งสารวัตรใหญบ่ ัญชหี รือสารวตั รบัญชีมีอํานาจเรียกใหผ้ ู้มหี น้าทีจ่ ัดทําบญั ชสี ง่ มอบ
บญั ชีและเอกสารทตี่ ้องใช้ ประกอบการลงบญั ชใี หค้ รบถว้ นถกู ต้องภายในเวลาท่ีกําหนด

มาตรา 18 งบการเงิน บญั ชี และเอกสารท่สี ารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวตั รบญั ชีได้รับและ
เก็บรกั ษาไว้ ตามมาตรา 11 หรือมาตรา 17 ผมู้ ีสว่ นได้เสียหรอื บุคคลทว่ั ไปอาจขอตรวจดูหรอื ขอ
ภาพถ่ายสําเนาไดโ้ ดยเสยี ค่า ใชจ้ ่ายตามที่อธิบดกี ําหนด

หมวด 3

ผู้ทาํ บัญชี

มาตรา 19 ผ้มู หี นา้ ท่ีจดั ทาํ บญั ชตี อ้ งจัดใหม้ ีผ้ทู าํ บญั ชีซงึ่ เปน็ คุณสมบัติตามที่อธิบดีกําหนด
ตาม มาตรา 7 (6) เพื่อจัดทําบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทําบัญชีให้จัดทํา
บญั ชีให้ตรงตอ่ ความเปน็ จริงและถูกตอ้ งตามพระราชบญั ญัตนิ ี้

ผ้มู หี น้าท่ีจัดทําบัญชีซึ่งเปน็ บุคคลธรรมดาจะเปน็ ผู้ทาํ บญั ชสี าํ หรับกิจการของตนเองก็ได้

มาตรา 20 ผู้ทําบัญชีต้องจัดทําบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน
หรือการ เปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตาม
มาตรฐานการบญั ชี โดยมี เอกสารทีต่ ้องใช้ประกอบการลงบญั ชีให้ถูกต้องครบถว้ น

มาตรา 21 ในการลงรายการในบัญชี ผ้ทู ําบัญชีตอ้ งปฏบิ ัตดิ งั ตอ่ ไปนี้

(1) ลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกํากับ
หรอื ลงราย การเป็นรหสั บญั ชใี หม้ คี ่มู อื คําแปลรหัสทเี่ ป็นภาษาไทยไว้

(2) เขียนดว้ ยหมกึ ดีดพิมพ์ ตพี ิมพ์ หรอื ทําดว้ ยวิธีอน่ื ใดท่ไี ด้ผลในทาํ นองเดียวกนั

หมวด 4

การตรวจสอบ

มาตรา 22 สารวตั รใหญ่บญั ชีและสารวตั รบัญชีมอี ํานาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารท่ีต้อง
ใช้ประกอบ การลงบัญชีเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอํานาจเข้าไปในสถานที่ทํา
การหรือสถานที่เก็บ รักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี
หรือผู้ทําบัญชี หรือสถานที่รวบรวม หรือประมวลข้อมูลของบุคคลดังกล่าวได้ในระหว่างทําการของ
สถานท่นี ัน้

ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง
พระราชบัญญัตินี้ ให้ สารวัตรใหญ่บญั ชีหรือสารวัตรบัญชีมีอํานาจเขา้ ไปในสถานทีต่ ามวรรคหนึ่งเพื่อ
ยึด หรืออายัดบัญชีและเอกสารที่ ต้องใช้ประกอบการลงบัญชไี ด้ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถงึ
พระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนินช้ากว่าจะเอา
หมายต้นมาได้ บัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือ เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
กับความผดิ ดงั กลา่ วนั้น จะถกู ยกยา้ ย ซุกซอ่ น ทาํ ลาย หรอื ทาํ ใหเ้ ปลีย่ น สภาพไปจากเดมิ

มาตรา 23 ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชี
ตอ้ งแสดงบตั ร ประจําตัวต่อผู้ทีเ่ กย่ี วข้อง

บตั รประจําตัว ให้เปน็ ไปตามแบบทีอ่ ธบิ ดกี าํ หนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 24 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตร
บญั ชีมีอํานาจ สงั่ เปน็ หนังสอื

(1) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ผู้ทําบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคําเกี่ยวกับการ
จดั ทาํ บญั ชีหรอื การเกบ็ รกั ษาบัญชีและเอกสารทต่ี ้องใช้ประกอบการลงบญั ชี

(2) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีหรือผู้ทําบัญชีส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
หรือรหัสบญั ชี มาเพอื่ ตรวจสอบ

หนังสือที่สั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้นําส่ง ณ
ภูมิลําเนาหรือถิ่น ที่อยู่หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ผู้ทําบัญชี หรือบุคคลท่ี
เกี่ยวข้อง ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิ สําเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ประกอบธุรกิจของผู้น้ั น จะส่งให้แก่
บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือ ทํางานอยู่ในบ้านหรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่ปรากฏว่า
เปน็ ของผูร้ บั นน้ั ก็ได้

ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีการในวรรคสอง หรือผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ผู้ทําบัญชีหรือ
บคุ คลที่เกีย่ ว ขอ้ งน้นั ออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ใชว้ ธิ ปี ดิ หนังสือดงั กล่าวในท่ีซ่ึงเห็นได้ง่าย ณ ที่อยู่
หรือสถานที่ประกอบ ธุรกิจของผู้นั้นหรือบ้านที่ผู้นั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการ
ทะเบยี นราษฎร หรอื โฆษณาข้อความ ยอ่ ในหนังสือพมิ พ์ที่จําหน่ายเปน็ ปกติในท้องทน่ี นั้ กไ็ ด้

เมอ่ื ไดป้ ฏบิ ตั ติ ามวธิ ีการดงั กลา่ วข้างตน้ แลว้ ให้ถือวา่ เปน็ อนั ไดร้ บั แล้ว

มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อความใด ๆ ที่ทราบหรือได้มาเนื่องจากการปฏิบัติตาม
มาตรา 22 หรอื มาตรา 24 เวน้ แต่จะมีอาํ นาจทจี่ ะทาํ ไดโ้ ดยชอบดว้ ยกฎหมาย

มาตรา 26 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีเป็นเจ้าพนักงาน
ตามประมวล กฎหมายอาญา

หมวด 5

บทกําหนดโทษ

มาตรา 27 ผู้ใดฝ่าฝืนหรอื ไมป่ ฏิบัติตามประกาศของอธิบดีที่ออกตามมาตรา 7 (1) (2) (3)
(4) หรือ (6) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท กรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของ
อธิบดีที่ออกตามมาตรา 7 (1) (2) (3) หรือ (4) ให้ปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่า
จะปฏบิ ัตใิ หถ้ กู ต้อง

มาตรา 28 ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีผู้ใดไม่จัดให้มีการทําบัญชีตามมาตรา 8 หรือ มาตรา 9
ต้องระวาง โทษ ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกนิ วันละหนึ่งพันบาทจนกวา่ จะ
ปฏิบัติให้ถกู ตอ้ ง

มาตรา 29 ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 มาตรา 12 หรือมาตรา 19
วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรบั ไม่เกินหนึง่ หม่นื บาท

มาตรา 30 ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษ
ปรบั ไมเ่ กินห้า หม่นื บาท

มาตรา 31 ผู้มหี น้าทจี่ ดั ทาํ บัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัตติ ามมาตรา 11 วรรคสาม มาตรา 13 มาตรา
14 มาตรา 15 หรือมาตรา 17 ตอ้ งระวางโทษปรบั ไมเ่ กนิ ห้าพันบาท

มาตรา 32 ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 วรรคสี่ ต้องระวางโทษปรับ
ไมเ่ กนิ สอง หม่ืนบาท

มาตรา 33 ผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีผู้ใดแจ้งข้อความตามมาตรา 15 เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่
บัญชีหรือ สารวัตรบัญชีว่าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ต้อง
ระวางโทษจําคกุ ไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไมเ่ กินหน่ึงหม่นื บาท หรือทั้งจําทงั้ ปรับ

มาตรา 34 ผใู้ ดไม่ปฏบิ ัตติ ามมาตรา 20 ตอ้ งระวางโทษปรบั ไมเ่ กินหน่งึ หม่ืนบาท

มาตรา 35 ผใู้ ดไม่ปฏิบัตติ ามมาตรา 21 ตอ้ งระวางโทษปรบั ไม่เกินห้าหม่ืนบาท

มาตรา 36 ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซ่ึง
ปฏบิ ัตกิ ารตาม มาตรา 22 ต้องระวางโทษจาํ คุกไม่เกินหนึง่ ปี หรือปรบั ไม่เกนิ สองหมื่นบาท หรือท้ังจํา
ทง้ั ปรบั

ผ้ใู ดไม่อํานวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บญั ชีหรอื สารวตั รบัญชซี ึ่งปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามมาตรา 22 หรือ
ฝ่าฝืนคําสั่งของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีซึ่งส่ังการตามมาตรา 24 ต้องระวางโทษจําคุกไม่
เกนิ หนึง่ เดอื น หรือปรบั ไม่เกนิ สองพันบาท หรอื ทง้ั จาํ ทง้ั ปรับ

มาตรา 37 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกนิ หกเดือนหรือปรับไม่เกนิ หนง่ึ
หมืน่ บาท หรือทงั้ จําทั้งปรับ

ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นสารวัตรใหญ่บัญชี สารวัตรบัญชีหรือเจ้า
พนกั งาน ตอ้ ง ระวางโทษจาํ คุกไมเ่ กนิ หนึ่งปี หรือปรับไม่เกนิ สองหมน่ื บาท หรอื ทั้งจําท้ังปรบั

มาตรา 38 ผู้ใดทาํ ใหเ้ สียหาย ทําลาย ซอ่ นเรน้ หรอื ทาํ ให้สญู หายหรอื ทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่ง
บัญชีหรือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
สองหมน่ื บาท หรือทง้ั จาํ ทงั้ ปรับ

ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ต้องระวางโทษจาํ คุกไม่
เกนิ สองปี หรอื ปรบั ไม่เกนิ สีห่ มน่ื บาท หรอื ท้ังจาํ ท้งั ปรับ 1

มาตรา 39 ผู้ใดลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงินหรือ
แก้ไขเอกสารท่ี ต้องใช้ประกอบการลงบญั ชีเพ่ือให้ผดิ ความเป็นจริง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกนิ สองปี
หรอื ปรบั ไม่เกินสีห่ มืน่ บาท หรือทง้ั จําทัง้ ปรับ

ในกรณีที่ผู้กระทาํ ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชี ต้องระวางโทษจาํ คุกไม่
เกินสามปี หรือปรบั ไม่เกนิ หกหม่นื บาท หรือท้ังจําท้งั ปรบั 1

มาตรา 40 ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล
ให้กรรมการ ผู้จัดการหุ้นส่วนผูจ้ ัดการ ผู้แทนนิติบุคคล หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินการ

ของนิติบุคคลนัน้ ต้องรับ โทษตามที่กฎหมายกําหนดไวส้ ําหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจนไ์ ด้
ว่าตนมไิ ด้มีสว่ นรเู้ ห็นหรือยนิ ยอมใน การกระทาํ ความผิดของนติ บิ ุคคลนัน้

มาตรา 41 บรรดาความผิดตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31
มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 35 และมาตรา 36 วรรคสอง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมี
อํานาจเปรียบเทียบได้ และ เมื่อผู้กระทําความผิดได้ชําระค่าปรับตามท่ีได้เปรียบเทยี บแล้ว ให้คดีเป็น
อันเลิกกนั ตามประมวลกฎหมายวิธี พจิ ารณาความอาญา

บทเฉพาะกาล

มาตรา 42 บรรดากฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่
285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตนิ ี้ใชบ้ ังคับใหย้ ังคงใช้
บังคับได้ตอ่ ไปเท่าทไ่ี ม่ ขดั หรือแย้งกบั พระราชบญั ญัติน้ี ทง้ั น้ี จนกว่าจะไดม้ ีกฎกระทรวง หรอื ประกาศ
ทอี่ อกตามความในพระราช บญั ญัตนิ ี้ใช้บังคับ

ผู้ใดเป็นผู้ทําบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทําบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับไม่
น้อยกวา่ ห้าปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทําบัญชีตามที่อธิบดีกาํ หนดตามมาตรา 7 (6) หาก
ประสงค์จะเป็น ผู้ทําบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้แจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่อธิบดี ประกาศกําหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและ
เมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรม และสําเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดี
ประกาศกําหนดแล้ว ให้ผ้นู ้นั เป็นผู้ ทาํ บัญชตี ่อไปไดเ้ ปน็ เวลาแปดปี นับแต่วนั ทีพ่ ระราชบัญญัติใช้
บงั คบั

มาตรา 43 ระหว่างที่ยังไมม่ ีมาตรฐานการบัญชีทีก่ ฎหมายกาํ หนด ให้ถือว่ามาตรฐานการ
บัญชี กําหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการ
ควบคุมการประกอบ วิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชีตาม
พระราชบญั ญตั ินี้

มาตรา 44 ให้กจิ การรว่ มค้าตามประมวลรัษฎากรซ่ึงเรมิ่ ต้นประกอบกิจการร่วมค้าอยู่ก่อน
วนั ทีพ่ ระ ราชบัญญัตินใี้ ชบ้ ังคับ ไม่ตอ้ งปฏบิ ัติตามพระราชบญั ญัตนิ ้ีจนกว่าจะเริ่มรอบระยะเวลาบัญชี
ใหม่หลงั จากวนั ท่พี ระ ราชบัญญัตินีใ้ ชบ้ งั คบั แล้ว

มาตรา 45 ใหผ้ ู้มหี นา้ ท่จี ัดทาํ บัญชีจัดใหม้ ผี ทู้ ําบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรา 19 ภายในหนึ่งปี
นับแต่วนั ท่ีพระราชบญั ญัติน้มี ผี ลใชบ้ ังคับ

กําหนดระยะเวลาตามวรรคหน่ึง อธบิ ดีโดยความเหน็ ชอบของรฐั มนตรีจะขยายออกไปอีกตามความจํา
เปน็ แก่กรณกี ไ็ ด้ ทงั้ น้ี ต้องไมเ่ กินหนงึ่ ปี

ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นําบทบัญญัติมาตรา 29 มาใช้
บงั คับแก่ผมู้ หี นา้ ท่ี จดั ทาํ บัญชที ่ีมไิ ดจ้ ดั ใหม้ ีผทู้ าํ บญั ชีตามมาตรา 19 วรรคหน่ึง

ผรู้ บั สนองพระบรมราชโองการ
(ชวน หลกี ภยั )
นายกรัฐมนตรี

(พระราชบัญญัติฉบับนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 41 ก วันที่ 12 พฤษภาคม
2543)
วงจรบญั ชี

วงจรบัญชี (Accounting Cycle) หมายถึง ขั้นตอนการบันทึกบัญชี ตั้งแต่วันต้นงวดจนถึง
วันสิ้นงวด เริ่มต้นด้วยการบันทึกรายการในสมุดรายวันขั้นต้น (Book of Primary Entry) ผ่าน
รายการ (Posting) ไปสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) สรุปผลและจัดทํารายงาน
ทางการเงิน (Financial Statement) สําหรบั หนง่ึ รอบระยะเวลาบญั ชี
จากความหมายของวงจรบัญชี แยกพิจารณาองค์ประกอบสําคัญ คือ รายการบัญชี (Accounting
Transaction) สมดุ บญั ชี (Book of Account) การสรุปผลและรายงานทางการเงิน

รายการบญั ชี (Accounting Transaction)
การบันทกึ บัญชตี งั้ แตว่ นั ต้นงวดจนถงึ วนั ส้ินงวด แบง่ ออกได้เปน็ 4 รายการใหญ่ ๆ คอื
1. รายการเปิดบัญชี (Opening Entries) หมายถึง รายการแรกที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไป

ในวันต้นงวด การเปดิ บญั ชีแบง่ ออกเปน็ 2 กรณี ตามงวดบัญชี ดงั น้ี
1.1 งวดบัญชีแรก การเปิดบัญชี คือ การบันทึกรายการเกี่ยวกับสินทรัพย์ และหนี้สิน

(ถ้ามี) ท่ีเจ้าของกิจการนํามาลงทนุ

1.2 งวดบัญชีที่มิใช่งวดบัญชีแรก รายการเปิดบัญชี คือ การบันทึกรายการเกี่ยวกับ ยอด
คงเหลือยกมาจากงวดบัญชีก่อนงวดปัจจุบัน อันประกอบด้วยหมวดสินทรัพย์หนี้สินและ ส่วนของ
เจา้ ของ

2. รายการค้าระหว่างงวด (Business Transaction) หมายถึง กิจกรรมท่ีก่อให้เกิดการ โอน
เงินระหว่างกิจการกบั บุคคลภายนอก รายการค้าระหว่างวดจะเกดิ ขึ้นไดต้ ้ังแต่วนั ต้นงวดจนถึง วันส้ิน
งวด สมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้บันทึกเก่ียวกับรายการค้าระหว่างงวดมี 2 ประเภท คือ สมุด รายวันทั่วไป
(General Journal) และสมดุ รายวนั เฉพาะ (Special Journal)

3. รายการปรับปรุง (Adjustment) หมายถึง รายการบันทึกเพิ่มเติม หรือแก้ไขรายการ ที่
บันทึกบัญชีไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี หลักการเกิดขึ้นของ
รายได้ และหลักเงินค้าง รายการปรับปรุงอาจบันทึกในระหว่างงวด (กรณีพบข้อผิดพลาดในการ
บนั ทกึ บัญชี) หรอื บนั ทึกรายการปรับปรุงในวนั สน้ิ งวดบญั ชี โดยบันทกึ ในสมุดรายวันทว่ั ไป

4. รายการปิดบัญชี (Closing Entries) หมายถึง การบันทึกรายการปิดบัญชีหมวดชั่วคราว
(Temporary Accounts) อันได้แก่ หมวดรายได้ และหมวดค่าใช้จ่าย เข้าบัญชีสรุปผลกําไรขาดทุน
และปิดบัญชีสรุปผลกําไรขาดทุนเข้าบัญชีทุน หรือบัญชีกระแสทุน หรือบัญชีกําไรสะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับรูปแบบของธุรกิจ คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจํากัด การปิดบัญชีเป็นไป
ตามข้อสมมติขนั้ มูลฐานของการบัญชี หลกั รอบเวลา รายการปิดบญั ชจี ะบันทึกในสมดุ รายวนั ทั่วไป

สมุดบญั ชี (Book of Account)

สมุดบัญชที ่ีใช้บันทกึ รายการ แบง่ ออกได้เป็น 2 ประเภท คอื

1. สมุดรายวัน (Journal) หมายถึง สมุดบัญชีขั้นต้น (Book of Primary Entry หรือ Book of
Original Entry) ที่ใช้บันทึกรายการเรียงตามลําดับวันต่อวัน สมุดรายวันแบ่งออกได้เป็น 2
ประเภท คือ

1.1 สมุดรายวนั ทวั่ ไป (General Journal) เปน็ สมดุ รายวนั ขัน้ ต้นทใี่ ช้บันทกึ รายการ เปิด
บัญชี รายการปรับปรงุ รายการปิดบัญชี และรายการคา้ ทวั่ ไปสาํ หรับกิจการท่ีมไิ ดม้ สี มุดบันทึก เฉพาะ
เรอ่ื ง

1.2 สมุดรายวันเฉพาะ (Special Journal) เป็นสมุดรายวันขั้นตน้ ที่ใชบ้ ันทึกรายการ เฉพาะ
เรื่อง เช่น

∙สมุดรายวันขาย (Sales Journal) เป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้บันทึกเฉพาะการ
ขายเป็นเงนิ เช่ือเท่าน้นั

∙สมุดรายวันซื้อ (Purchases Journal) เป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้บันทึกเฉพาะ
การซ้อื เป็นเงนิ เช่ือเท่าน้ัน

∙สมุดรายวันรับเงิน (Cash Receipts Journal) เป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้บันทึก
เฉพาะรายการรบั เงนิ เท่านั้น

∙สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Disbursement Journal) เป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้
บนั ทึกเฉพาะรายการจ่ายเงนิ เทา่ น้นั

2. สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) หมายถึง สมุดบัญชีที่ใช้บันทึกรายการต่อจาก สมุด
รายวัน การนํารายการที่บันทึกในสมุดรายวันมาบันทึกในสมุดบัญชีแยกประเภท เรียกว่า การผ่าน
รายการ (Posting) สมุดบญั ชีแยกประเภทแบ่งออกไดเ้ ปน็ 2 ประเภท คือ

2.1 สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) เป็นสมุดที่ใช้บันทึกแยกเป็น
ประเภทตามหมวดบญั ชี 5 หมวด คอื หมวดสนิ ทรัพย์ หนีส้ ิน ส่วนของเจ้าของรายไดแ้ ละคา่ ใชจ้ า่ ย

2.2 สมดุ บัญชแี ยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) เป็นสมดุ ทีใ่ ชบ้ นั ทึกรายละเอียด ของ
บัญชีแยกประเภททั่วไป เช่น บัญชีแยกประเภททั่วไปเจ้าหนี้ จะมีบัญชีแยกประเภทย่อยเป็น รายชื่อ
เจ้าหนีแ้ ตล่ ะราย พรอ้ มจาํ นวนเงิน หากนาํ จาํ นวนเงินในบัญชีแยกประเภทยอ่ ยเจ้าหนที้ ุกราย รวมกัน
จะมีจํานวนเงินเท่ากับจํานวนเงนิ ในบญั ชีแยกประเภททั่วไปเจ้าหน้ี บัญชีแยกประเภททั่วไป ที่มีบัญชี
แยกประเภทย่อยแสดงรายละเอียด เรียกบัญชีแยกประเภททั่วไปบัญชีนั้นว่าบัญชีคุมยอด
(Controlling Account) อย่างไรก็ตามบัญชีแยกประเภทท่ัวไปไม่จําเป็นต้องมีบัญชแี ยกประเภทย่อย
แสดงรายละเอยี ดทกุ บญั ชี

การสรปุ ผลและรายงานทางการเงนิ

เมื่อการดําเนินงานของกิจการดําเนินงานมาครบระยะเวลาหนึ่ง จะมีการสรุปผลเก็บรวบ
รวมข้อมูลจากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป มาจัดทํารายงานสรุป เรียกว่า งบทดลอง ( Trial
Balance) งบทดลองท่จี ัดทําแบ่งออกได้เป็น 3 งบ ตามลําดบั ข้ันตอนในวงจรบญั ชี คอื

1. งบทดลอง (Trial Balance) เป็นรายงานท่ีสรปุ ข้อมลู ภายหลังจากบนั ทึกรายการเปิด บัญชี
และรายการค้าระหว่างงวดบัญชีแล้ว หมวดบัญชีที่ปรากฏในงบทดลองนี้จะมีครบทั้ง 5 หมวด คือ
หมวดสนิ ทรัพย์ หน้สี ิน สว่ นของเจา้ ของ รายไดแ้ ละคา่ ใช้จ่าย

2. งบทดลองหลังรายการปรับปรุง (Adjusted Trial Balance) เป็นรายงานที่สรุปข้อมูล
ภายหลังจากบันทึกรายการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว หมวดบัญชีที่ปรากฏในงบทดลองหลังปรับปรุงนี้
จะมคี รบทั้ง 5 หมวดบัญชีเช่นเดยี วกันกบั งบทดลอง ตามข้อ 1

3. งบทดลองหลงั ปิดบญั ชี (Trial Balance After Closing) เป็นรายงานที่สรปุ ข้อมูล ภายหลงั
จากบันทึกรายการปิดบัญชีชั่วคราว (Temporary Accounts) เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นงบทดลอง หลัง
ปดิ บัญชีจึงประกอบด้วยหมวดสนิ ทรพั ย์ หน้ีสินและสว่ นของเจ้าของเทา่ น้ัน

รายงานทางการเงิน (Financial Statement) เป็นรายงานที่แสดงผลของการดําเนินงาน และ
ฐานะทางการเงินของกิจการ รายงานทางการเงินที่สําคัญได้แก่ งบกําไรขาดทุน (Profit and Loss
Statement หรือ Income Statement) และงบดุล (Balance Sheet) โดยงบกําไรขาดทุนเป็น
รายงาน ทางการเงินที่แสดงผลการดําเนนิ งานว่าในหนึ่งรอบระยะเวลาบญั ชีกิจการมีผลการดําเนินงาน
เป็น กําไรสุทธิ (Net Income หรือ Net Profit) หรือเป็นขาดทุนสุทธิ (Net Loss) ส่วนงบดุลเป็น
รายงาน ที่แสดงฐานะทางการเงินว่า ณ วันใดวันหนึ่ง กิจการมีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
เทา่ ใด เพื่อให้การจดั ทํารายงานทางการเงนิ เปน็ ไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว อาจจัดทํากระดาษทํา
การ (Work Sheet หรือ Working Paper) ขึ้นมาก่อนโดยนําข้อมูลจากงบทดลอง และรายการ
ปรับปรุง

แผนผงั วงจรบัญชี (Accounting Cycle) แสดงได้ดังน้ี

1.รายการเปิ ดบญั ชี 2.รายการคา้ ระหวา่ งงวด 3.รายการปรับปรุง 4.รายการปิ ดบญั ชี
(Opening Entries) (Business Transaction) (Adjustment) (Closing Entries)

สมดุ รายวนั ขน้ั ตน้ (Book of สมดุ รายวนั ขนั้ ตน้ (Book of สมดุ รายวนั ขน้ั ตน้ (Book of
Primary Entry หรือ Book of Primary Entry หรอื Book of Primary Entry หรือ Book of

Original Entry) Original Entry) Original Entry)

สมดุ บญั ชีแยกประเภทย่อย สมดุ บญั ชีแยกประเภทยอ่ ย
(Subsidiary Ledger) (Subsidiary Ledger)

สมดุ บญั ชแี ยกประเภทท่วั ไป สมดุ บญั ชีแยกประเภทท่วั ไป สมดุ บญั ชแี ยกประเภทท่วั ไป
(General Ledger) (General Ledger) (General Ledger)

งบทดลอง(Trial Balance) งบทดลองหลงั ปรบั ปรุง งบทดลองหลงั ปิดบญั ชี (Trial
() (Adjusted Trial Balance) Balance After Closing)

กระดาษทาการ(Work Sheet
หรือ Working Paper)

รายการทางการเงิน(Financial
Statement)

จากแผนผังของวงจรบัญชี สรุปเป็นขน้ั ตอนไดด้ งั นี้

1. บันทึกรายการเปดิ บญั ชใี นสมดุ รายวนั ข้ันต้น (สมุดรายวนั ท่วั ไป) ผา่ นรายการไปยงั สมดุ บัญชแี ยก
ประเภทท่วั ไปและสมดุ บัญชแี ยกประเภทยอ่ ย (ถ้ามี)

2. บันทึกรายการคา้ ระหว่างงวดในสมดุ รายวนั ขั้นตน้ ซง่ึ อาจจะเปน็ สมดุ รายวันท่ัวไปหรอื สมุด
รายวนั เฉพาะก็ได้ แลว้ แตร่ ะบบบัญชีของกิจการ และผ่านรายการไปยังสมุดบัญชแี ยกประเภทท่ัวไป
และสมดุ บัญชแี ยกประเภทยอ่ ย (ถ้าม)ี

3. จดั ทํางบทดลอง โดยสรุปยอดคงเหลอื จากสมุดบัญชีแยกประเภททวั่ ไป

4. นาํ ขอ้ มลู จากงบทดลองไปบนั ทึกกระดาษทาํ การเพ่ือรอรายการปรับปรุงในวันสนิ้ งวด

5. บนั ทกึ รายการปรับปรุงวนั ส้ินงวด ในสมดุ รายวนั ขนั้ ตน้ (สมดุ รายวนั ทัว่ ไป) ผา่ นรายการ ไปยัง
กระดาษทาํ การและสมดุ บญั ชแี ยกประเภททั่วไปและสมดุ บัญชีแยกประเภทย่อย (ถ้าม)ี

6. จัดทาํ กระดาษทําการ

7. จัดทํางบทดลองหลังรายการปรับปรงุ

8. จดั ทํารายงานทางการเงิน

9. บันทึกรายการปดิ บญั ชีในสมดุ รายวนั ขน้ั ต้น (สมุดรายวันทว่ั ไป) และผา่ นรายการไป ยังสมุดบญั ชี
แยกประเภททว่ั ไป

10. จดั ทํางบทดลองหลงั ปดิ บัญชี

ผังบญั ชี

ผังบญั ชี (Chart of Accounts) หมายถึง โครงสรา้ งทแี่ สดงชอ่ื และเลขท่ีบญั ชที ใ่ี ช้ในระบบ
บญั ชี 5 หมวด คอื สนิ ทรัพย์ หน้ีสิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใชจ้ ่าย การกําหนดเลขทีบ่ ญั ชี
อาจใช้ตัวเลขสองหลัก หรือ สามหลกั กไ็ ด้ ข้นึ อย่กู บั จํานวนบัญชขี องกิจการว่ามมี ากน้อยเพียงใดโดย

∙สนิ ทรพั ย์ ข้ึนตน้ ดว้ ยหมายเลข 1

∙หนสี้ ิน ขึ้นตน้ ดว้ ยหมายเลข 2

∙ส่วนของเจ้าของ ขึน้ ต้นด้วยหมายเลข 3

∙รายได้ ขนึ้ ต้นดว้ ยหมายเลข 4

∙คา่ ใชจ้ ่าย ข้นึ ตน้ ด้วยหมายเลข 5

หมวด ชอ่ื บัญชี เลขทบี่ ญั ชี
101
สินทรพั ย์ เงินสด 102
103
เงนิ ฝากธนาคาร 104
105
ลกู หน้ี 106
107
วัสดุส้นิ เปลือง 108
109
ค่าเช่าจ่ายลว่ งหน้า 110
111
ค่าบรกิ ารค้างรับ 112
113
เคร่ืองมอื ซ่อม 201
202
ค่าเส่ือมราคาสะสม-เครื่องมือซ่อม 203
204
ยานพาหนะ 301
302
ค่าเสื่อมราคาสะสม-ยานพาหนะ 303

อาคาร 401
402
ค่าเสอ่ื มราคาสะสม-อาคาร 501
502
ท่ดี นิ 503
504
หนีส้ ิน เจา้ หน้ี 505
506
เงนิ กู้ 507
508
ค่าบริการรับลว่ งหน้า 509

ค่าแรงงานค้างจา่ ย

ส่วนของเจา้ ของ ทนุ -เจา้ ของของกจิ การ

เงินถอน/ถอนใช้ส่วนตวั -เจ้าของ

กจิ การ

สรุปผลกำไรขาดทุน

รายได้ รายได้คา่ บริการ

รายได้อืน่ ๆ

ค่าใช้จา่ ย ค่าเช่า

ค่าโฆษณา

ค่าแรงงาน

วสั ดุส้นิ เปลอื งใช้ไป

ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์

ค่าเสอ่ื มราคา-เคร่ืองมอื ซ่อม

ค่าเส่อื มราคา-ยานพาหนะ

ค่าเส่อื มราคา-อาคาร

ค่าใชจ้ ่ายเบ็ดเตล็ด

หมวด ชอ่ื บญั ชี เลขทบ่ี ญั ชี
101
สินทรัพย์ เงนิ สด 102
103
ลกู หน้ี 104
105
ค่าเผอ่ื หน้ีสงสยั จะสูญ 106
107
สนิ คา้ 108
109
ภาษซี ้อื 110
111
วสั ดสุ ำนกั งาน 112
113
ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า 114
115
ค่านายหน้าจา่ ยล่วงหนา้ 116

ลกู หน-ี้ กรมสรรพากร 201
202
อุปกรณ์สำนักงาน 203
204
ค่าเสื่อมราคาสะสม-อปุ กรณ์ 25
26
สำนักงาน 207
208
ยานพาหนะ 209
210
ค่าเส่ือมราคาสะสม-ยานพาหนะ 301
302
อาคาร 303
304
ค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร 305

ทด่ี นิ

หนี้สนิ เจ้าหนี้

ภาษีขาย

เงนิ เบกิ เกินบญั ชีธนาคาร

เงนิ เดอื นค้างจ่าย

ภาษหี ัก ณ ทจี่ ่าย

เงนิ ประกันสังคมคา้ งจ่าย

เจา้ หนี้-กรมสรรพากร

ภาษีเงินได้คา้ งจา่ ย

เงินปนั ผลค้างจา่ ย

เงินกู้

ส่วนของเจ้าของ ทุนเรือนหุน้

(ส่วนของผถู้ ือ ส่วนเกนิ มลู ค่าหุ้น

หนุ้ ) กำไรสะสม

สรปุ ผลกำไรขาดทนุ

สำรองตามกฎหมาย

หมวด สำรองเพ่ือการขยายงาน 306
รายได้
ช่อื บญั ชี เลขทีบ่ ญั ชี
คา่ ใช้จา่ ย ขายสินค้า 401
รับคืน 402
ส่วนลดจา่ ย 403
ต้นทุนขาย 501
ค่าขนสง่ เข้า 502
ค่าโฆษณา 503
เงนิ เดือน 504
วัสดุสำนกั งานใช้ไป 505
ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศพั ท์ 506
ค่าสมทบเงนิ ประกันสังคม 507
ค่าเสอื่ มราคา-เครือ่ งใชส้ ำนกั งาน 508
ค่าเสื่อราคา-ยานพาหนะ 509
ค่าเส่ือมราคา-อาคาร 510
ค่าใชจ้ ่ายเบด็ เตล็ด 511
ภาษเี งินได้ 512

2
การบัญชีของกิจการใหบ้ รกิ าร
แนวคิด
ก่อนท่ีจะบนั ทกึ รายการคา้ จะตอ้ งวเิ คราะหร์ ายการคา้ เสียก่อน โดยอาศยั สมการบญั ชีที่ว่า
A = L + OE การวิเคราะห์รายการค้าก่อนการบันทึกบัญชีจะ ทําให้การบันทึกบัญชีเป็นไปอย่าง
สะดวก รวดเร็วและถูกต้อง สําหรับการบัญชีของ กิจการให้บริการนั้นเป็นบัญชีทีง่ ่ายและเป็นพืน้ ฐาน
สําหรับการบัญชีของกจิ การ ประเภทอ่ืน ๆ

สาระการเรยี นรู้
1. สมการบัญชี
2. การวเิ คราะห์รายการค้า
3. การบันทึกรายการค้าในสมดุ บนั ทกึ รายการขัน้ ต้นและการผา่ นรายการไป
บัญชีแยกประเภท
4. งบทดลอง
5. ศัพทบ์ ัญชี

ผลการเรยี นรทู้ ่คี าดหวงั
1. เขยี นรปู แบบและอธบิ ายความหมายของสมการบญั ชไี ด้
2. วเิ คราะห์รายการค้าได้
3. บันทกึ รายการคา้ ในสมุดบนั ทกึ รายการขั้นตน้ ได้
4. ผา่ นรายการไปบัญชีแยกประเภทได้
5. จัดทํางบทดลองของกจิ การใหบ้ รกิ ารได้
6. แปลความหมายศพั ท์บัญชีได้

สมการบญั ชี
สมการบัญชี ( Accounting Equation หรือ Accounting Identity ) หมายถึง สมการ

ที่แสดงความสัมพนั ธ์ระหวา่ งสนิ ทรพั ย์ หนส้ี ินและส่วนของเจ้าของ โดยมีรปู แบบ ดงั น้ี

สินทรพั ย์ = หนสี้ ิน + ส่วนของเจา้ ของ

A = L + OE

สมการบัญชมี ีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการวเิ คราะหร์ ายการค้าอนั จะนำไปสูก่ ารบันทึก
บัญชีของกจิ การ ดังตวั อย่างต่อไปน้ี

ตัวอยา่ งท่ี 1 (1) เจา้ ของกิจการนำเงินสดมาลงทุน 50,000 บาท

สนิ ทรพั ย์ = หน้สี นิ + สว่ นของเจา้ ของ

เงนิ สด 50,000 = 0 + ทนุ 50,000

(2) นำเงนิ สดซอื้ อุปกรณ์สำนกั งาน 12,000 บาท

สนิ ทรัพย์ = หนส้ี ิน + สว่ นของเจา้ ของ

เงนิ สด (50,000-12,000) 38,000 = 0 + ทนุ 50,000
อุปกรณส์ ำนักงำน 12,000
50,000
รวม 50,000

(3) กจิ การซ้ือรถจักรยานยนตเ์ ปน็ เงนิ เช่อื 25,000 บาท

สนิ ทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

เงินสด 38,000 = 0 ทนุ +
อปุ กรณส์ านกั งาน 12,000
รถจกั รยำนยนต์
รวม 25,000

75,000

(4) เจ้าของกิจการถอนเงินสดไปใช้ส่วนตวั 5,000 บาท

สนิ ทรพั ย์ = หน้สี นิ + ส่วนของเจา้ ของ

เงินสด 33,000 = เจา้ หนี้ 25,000 + ทนุ 45,000
(38,000-5,000)
อปุ กรณส์ านกั งาน 12,000 (50,000-5,000)
รถจกั รยานยนต์ 25,000

รวม 70,000

(5) กิจการกูเ้ งนิ จากธนาคาร 30,000 บาท โดยเปิดบัญชเี งนิ ฝากไว้กับธนาคาร

สินทรพั ย์ = หน้สี นิ + ส่วนของเจ้าของ

เงนิ สด 33,000 = เจา้ หนี้ 25,000 + ทนุ 45,000
อปุ กรณส์ านกั งาน 12,000
รถจกั รยานยนต์ 25,000 เงนิ กู้ 30,000
เงนิ ฝำกธนำคำร 30,000
รวม 55,000

รวม 100,000

(6) จา่ ยชำระหน้เี จ้าหน้ี 10,000 บาท ดว้ ยเชค็

สินทรัพย์ = หน้สี ิน + สว่ นของเจา้ ของ

เงินสด 33,000 = เจา้ หนี้ 15,000 + ทนุ 45,000
อปุ กรณส์ านกั งาน 12,000
รถจกั รยานยนต์ 25,000 เงินกู้ 30,000
เงนิ ฝำกธนำคำร 30,000 รวม 45,000

รวม 90,000

การวิเคราะห์รายการคา้

การวิเคราะห์รายการค้า (Business Transaction Analysis) เป็นขบวนการขั้นตอนแรก
ก่อนนําไปสกู่ ารบันทึกขอ้ มูลในสมดุ บญั ชี ขนั้ ตอนการวเิ คราะห์รายการคา้ มีดังนี้

1. วิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อข้อมูลในสมการบัญชีอย่างไร (เพิ่มหรือลด)
และเกี่ยวข้องกับบัญชีใดตามผังบัญชี (Chart of Accounts) ของกิจการ โดยรายการค้าทุกรายการ
จะตอ้ งมีผลสอดคลอ้ งกบั ความสมดุลในสมการบญั ชีเสมอ รายการค้ามีผลกระทบตอ่ สมการบญั ชี ดงั น้ี

ก. สนิ ทรัพย์ เพ่มิ ส่วนของเจา้ ของเพิ่ม
ข. สนิ ทรพั ย์ ลด สว่ นของเจา้ ของลด
ค. สินทรัพย์ เพิ่ม หนีส้ นิ เพม่ิ
ง. สินทรพั ย์ ลด หนส้ี ินลด
จ. สนิ ทรัพยเ์ พ่ิม สนิ ทรพั ย์ลด

สําหรับรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับรายได้และค่าใช้จ่ายนั้นมีผลกระทบโดยตรงกับส่วนของ
เจ้าของ ทั้งนี้เพราะหมวดรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นบัญชีชัว่ คราว (Temporary Accounts) ซึ่งจะต้อง
โอนเข้า บัญชีสรุปผลกําไรขาดทุน และโอนเข้าส่วนของเจ้าของในที่สุด ดังนั้น รายการค้าที่ทําให้เกิด
รายได้ ทาํ ใหส้ ว่ นของเจ้าของเพ่ิมขึ้น ส่วนรายการคา้ ทที่ าํ ใหเ้ กิดคา่ ใชจ้ ่าย ทาํ ใหส้ ่วนของเจ้าของ ลดลง
ในทางตรงกนั ข้ามถ้ารายไดล้ ดลง จึงทาํ ให้สว่ นของเจ้าของลดและถา้ ค่าใช้จ่ายลดลง จงึ ทําให้ ส่วนของ
เจ้าของเพม่ิ ขนึ้

2.นําผลการวิเคราะห์ได้ในข้อ 1 มาพิจารณาตามระบบบัญชีคู่ คือ เดบิต (Debit) เช่น อักษร

ย่อ Dr. และ เครดติ (Credit) ใช้อักษรยอ่ Cr. ดงั น้ี

เดบติ เครดิต

สนิ ทรพั ย์ เพม่ิ ลด

หนสี้ นิ ลด เพมิ่

ส่วนของเจา้ ของ ลด เพ่มิ

เดบิต หมายถึง ด้านซ้ายของบัญชีแยกประเภททั่วไป และเครดิต หมายถึง ด้านขวา ของ
บญั ชีแยกประเภททว่ั ไป

รายการค้าทุกรายการต้องเป็นไปตามหลกั การบัญชคี เู่ สมอ คือ หนึ่งรายการคา้ ต้องมเี ด
บิต และเครดิต
การบันทกึ รายการค้าในสมุดบันทกึ รายการขนั้ ตน้ และผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท

เมื่อรายการค้าที่เกิดขึ้นได้รับการวิเคราะห์และสรุปผลเดบิต และเครดิตแล้ว จะถูกนํามา
บันทึกในสมุดบัญชี โดยสมุดเล่มแรกที่บันทึกรายการค้า คือ สมุดรายวันขั้นต้น ( Book of Primary
Entry หรือ Book of Original Entry) ในหนว่ ยนี้จะกลา่ วถงึ สมุดรายวนั ข้ันตน้ เพยี งเลม่ เดยี ว คือ สมดุ
รายวันทั่วไป ส่วนสมดุ รายวันเฉพาะ จะไดศ้ ึกษาในหน่วยตอ่ ๆ ไป

เมื่อรายการค้าถูกบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้ว จะผ่านรายการ (Posting) ไปยังสมด
แยกประเภททั่วไปทันที ในกรณที ี่รายการคา้ นั้นเก่ยี วขอ้ งกบั บัญชีแยกประเภททั่วไปทท่ี ํางาน บัญชคี ุม
ยอด (Controlling Account) ก็จะต้องผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทย่อย . Ledger) ด้วย การ
บันทึกในสมุดบัญชีสองเล่มนี้จะมีการอ้างอิงระหว่างกัน (Cross Reference)โดยสมุดรายวันทั่วไปจะ
อา้ งอิงถงึ เลขทบ่ี ัญชีแยกประเภททว่ั ไป สว่ นในบัญชแี ยกประเภททั่วไป จะอ้างองิ ถึงหนา้ บญั ชีของสมุด
รายวนั ท่วั ไป
รปู แบบ สมุดรายวนั ทั่วไป

พ.ศ. รายการ เลขที่ เดบติ เครดิต
เดอื น วนั ท่ี
บญั ชี บาท สต. บาท สต.

บญั ชแี ยกประเภท มี 2 รูปแบบ คอื แบบมาตรฐาน (Standard Account Form) และ
แบบแสดงยอดคงเหลือ (Balance Account Form) โดยปกติแลว้ มกั นยิ มใชแ้ บบมาตรฐาน

แบบมาตรฐาน ( Standard Account Form )

บัญชี ........................................

พ.ศ. รายการ เลขที่ เดบิต เครดติ
บาท สต.
เดือน วนั ท่ี บัญชี บาท สต.

แบบแสดงยอดคงเหลือ ( Balance Account Form )

บญั ชี ........................................

พ.ศ. รายการ เลขที่ เดบิต เครดิต
เดือน วนั ท่ี บาท สต.
บัญชี บาท สต.

การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป มี
หลักการบันทกึ ตามขั้นตอนดังตอ่ ไปน้ี

1. เขียนปีพ.ศ. “เดือน (ตัวอักษรย่อ) และวันที่ตามช่องในแบบฟอร์มสมุดรายวันทั่วไป และ
รายการคา้ ตอ่ จากรายการแรกไม่ต้องเขียนเดือนอกี โดยเขียนเฉพาะวันที่ของรายการค้าเท่านนั้

2. นําบัญชที ี่วเิ คราะห์ด้านเดบิตใสใ่ นชอ่ งรายการชดิ เส้นแบ่งช่องวันท่ีและช่องรายการ โดยไม่
ตอ้ งเขียนคําวา่
“เดบิต” และคําว่า “บัญชี” พร้อมทั้งใส่จํานวนเงินช่องเดบิต ตามหลักการ เขียนจํานวนเงินทางการ
บัญชี หลักหน่วยของจํานวนเงินให้ชิดเส้นแบ่งช่องบาทและช่อง .สต. กรณีที่ไม่เศษสตางค์ ให้เขียน
เคร่อื งหมาย " " ในช่องสตางคด์ ว้ ย

ชอ่ งเลขที่บัญชยี งั ไม่ตอ้ งบันทกึ
3. นําบัญชที วี่ เิ คราะห์ด้านเครดิตใส่ในชอ่ งรายการบรรทัดต่อจากบญั ชที บ่ี นั ทึกเดบิต โดยเขียน

เมืองจากเส้นแบ่งช่องวันที่และช่องรายการไปด้านขวาประมาณ 2 เซ็นติเมตร โดยเม ต้องเขียนคําว่า
“เครดิต” และคําวา่ “บัญชี" พรอ้ มใสจ่ ํานวนเงินช่องเครดิต และเชน่ เดียวกับ การบันทึกบัญชีท่ีเดบิต
คือ จํานวนเงินของหลักหน่วยให้ชิดเส้นแบง่ ช่องบาทและชอ่ งสต. และ ทําเครื่องหมาย “ ” กรณีไม่มี
เศษสตางค์ ช่องเลขทบี่ ญั ชียังไมต่ อ้ งบนั ทกึ

4. เขียนคําอธิบายรายการค้าที่บันทึกในบรรทัดต่อจากบรรทัดที่บันทึกบัญชีเครดิตใน ช่อง
รายการ โดยเขียนชิดเส้นแบ่งช่องวันที่และช่องรายการ เป็นคําอธิบายสั้นๆ กะทัดรัดและ อ่านได้
ใจความถึงรายการคา้ ท่บี นั ทึก แล้วขีดเสน้ ใต้ชอ่ งรายการแสดงถึงการสิ้นสดุ การบนั ทกึ ราย การค้านนั้

จากขนั้ ตอนท้งั 4 ข้ันตอนท่กี ล่าวมานี้ แสดงได้ตามตวั อยา่ งดงั น้ี
5. นํารายการที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไปนี้ผ่านรายการ (Posting) ไปยังสมุดบัญช แยก
ประเภททั่วไป โดยบันทึกบัญชีที่เดบิต ด้านซ้าย และบัญชีที่เครดิต ด้านขวา วัน เดือน ปี ที่เกิด
รายการบันทึกเช่นเดียวกับการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป ช่องรายการของบัญชีที่บันทึก ด้านซ้ายให้
อ้างถึงบัญชีที่ เครดิต ส่วนช่องรายการของบัญชีที่บันทึกด้านขวาให้อ้างถึงบัญชีท เดบิต ในกรณีท่ี
บันทึกบัญชีที่เดบิตและเครดิตมากกว่าหนึ่งบัญชี (Compound Journal Entry) เช่น เดบิต เงินสด
500 บาท ลูกหนี้ 1,200 บาท อุปกรณ์สํานักงาน 3,000 บาท เครดิต เจ้าหนี้ 2,000 บาท ทุน-นาย
ฉัตรชัย 2,700 บาท ให้เขียนคําว่า “สมุดรายวันท่ัวไป” ในช่องรายการ และในช่องหน้า บัญชีให้อ้าง
ถึง หนา้ บญั ชีของสมุดรายวนั ทวั่ ไป โดยใช้ตัวอกั ษรย่อ “ร.ว.” ตามดว้ ยเลขท่หี นา้
6. นำเลขที่บัญชีที่บันทึกด้านซ้าย (ด้านเดบิต) ไปใส่ในช่องเลขที่บัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
บรรทัดเดียวกันกับที่บันทึกบัญชีเดบิตในช่องรายการ และปฏิบัติเช่นเดียวกันสำหรับบัญชีที่บันทึก
ดา้ นขวา (ดา้ นเครดิต)
การบันทึกรายการด้านเดบิตหนึ่งบัญชีและด้านเครดติ หนึ่งบัญชี เรียกว่า เป็นการบันทึกบัญชี
แบบ Single Journal Entry สําหรับรายการค้าที่บันทึกด้านเดบิตและเครดิต มากกว่าหนึ่งบัญชี
เรียกว่า เป็นการบนั ทึกบญั ชีแบบ Compound Journal Entry

งบทดลอง

งบทดลอง (Trial Balance) เป็นรายงานที่สรุปยอดคงเหลือในบญั ชีแยกประเภททั่วไป ทุกๆ

บัญชี โดยผลรวมยอดคงเหลือในบัญชีด้านเดบิต จะเท่ากับผลรวมยอดคงเหลือในบัญชีด้าน เครดิต

เรียกว่า งบทดลองลงตวั งบทดลองมใิ ชร่ ายงานทางการเงนิ เปน็ เพยี งรายงานที่ จดั ทํา ข้ึนเพ่ือพิสูจน์

ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ (เดบิตเท่ากับเครดิต) และเป็น เครื่องมืออย่าง

หนงึ่ ทที่ าํ ใหก้ ารจัดทาํ รายงานทางการเงินเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ข้อมูล ใน ๑๑ แคลดลง
ได้มาจากยอดคงเหลอื ทจ่ี ัดทําด้วยดนิ สอดาํ (Pencil Footing) ในบญั ชีแยกประเภททว่ั ไป

การหายอดคงเหลือดว้ ยดินสอดำ ( Pencill Footing )

การหายอดคงเหลือดว้ ยดินสอดำในสมุดบัญชแี ยกประเภททั่วไป มีข้นั ตอนดงั นี้

1. รวมจำนวนเงนิ ด้านเดบติ และดา้ นเครดิต เขยี นดว้ ยดินสอดำ ชิดดา้ นบนของบรรทดั ถัด
จากจำนวนเงินจำนวนสดุ ทา้ ยของแต่ละดา้ น

2. นาํ ผลรวมทีค่ าํ นวณได้ในขอ้ 1 ลบกัน ผลลพั ธท์ ่ไี ดเ้ รยี กว่ายอดคงเหลือในบญั ชี (Account
Balance) เขียนดว้ ยดินสอในชอ่ งรายการด้านทม่ี ีผลรวมมากกว่า โดย

ก. ผลรวมด้านเดบิตมากกว่าผลรวมด้านเครดิต ผลลัพธ์ที่ได้ให้ใส่ช่องรายการดา้ นเด
บติ เรยี กวา่ ยอดคงเหลอื เดบติ (Debit Balance)

ข. ผลรวมดา้ นเครดติ มากกวา่ ผลรวมดา้ นเดบติ ผลลพั ธท์ ี่ไดใ้ ห้ใส่ช่องรายการดา้ น
เครดติ เรียกวา่ ยอดคงเหลอื เครดติ (Credit Balance)

ค. ผลรวมด้านเดบติ เทา่ กบั ผลรวมด้านเครดิตเรียกวา่ บญั ชนี น้ั ไม่มยี อดคงเหลือ

ในกรณีที่บญั ชแี ยกประเภททว่ั ไปบัญชใี ดบันทกึ บัญชดี า้ นเดบติ ดา้ นเดยี ว หรอื ดา้ นเครดิตดา้ น
เดียว ผลรวมของจำนวนเงนิ ดา้ นเดบติ หรอื ด้านเครดติ แลว้ แตก่ รณี คอื ยอดคงเหลอื ในบญั ชี

3

การบญั ชขี องกิจการซอื้ ขายสินค้า

แนวคดิ
การบัญชีของกจิ การซือ้ ขายสนิ ค้าจะคลา้ ยๆ กับกิจการให้บริการ จะแตก ต่างกันตรงท่ีกิจการ

ซื้อขายสินค้าจะต้องมีการซื้อสินค้าสําเร็จรูปมาจําหน่าย มีค่า ขนส่งสินค้าเกิดขึ้นทั้งค่าขนส่งเข้าและ
คา่ ขนส่งออก และมตี ้นทุนขายมาเก่ียวขอ้ ง ซ่ึงถือเปน็ ค่าใชจ้ ่ายทีส่ าํ คัญของกิจการ

สาระการเรียนรู้
1. การซือ้ ขายสินคา้
2. การบัญชเี กี่ยวกับการขายสนิ ค้า
3. การบัญชเี กยี่ วกับการซอ้ื สินคา้
4. งบกําไรขาดทนุ ของกจิ การซ้ือขายสนิ ค้า
5. การบนั ทกึ รายการปดิ บัญชี
6. ศัพท์บัญชี

ผลการเรียนรทู้ ค่ี าดหวงั
1. อธบิ ายขบวนการซ้อื ขายสนิ ค้าได้
2. บนั ทกึ บัญชเี ก่ยี วกบั การซอื้ ขายสินค้าได้
3. ทํางบกาํ ไรขาดทุนของกิจการซ้อื ขายสนิ คา้ ได้
4. บนั ทกึ รายการปดิ บัญชขี องกิจการซื้อขายสินคา้ ได้
5. แปลความหมายศัพท์บญั ชีได้

การซอื้ ขายสินคา้
กจิ การที่ดําเนนิ ธรุ กิจซ้อื ขายสนิ ค้าจะมีรายได้หลักคือ ขายสนิ ค้า และค่าใช้จา่ ยหลกั หรือ

คา่ ใช้จ่ายสาํ คญั คอื ตน้ ทุนขาย โดยสนิ ค้าที่ซ้ือเขา้ มาจะนํามาขายใหก้ บั ลกู ค้าทันที อาจจะขายปลกี
หรือขายสง่ กไ็ ด้ ในทางบัญชี การซอื้ ขายสินค้าอาจเกดิ ขนึ้ เม่อื มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสนิ คา้ โดย ไม่
คาํ นึงถึงการชาํ ระค่าสนิ คา้ นอกจากการซือ้ และขายสินคา้ แลว้ รายการค้าท่ีเก่ียวขอ้ ง มดี ังนี้

1. คา่ ขนส่งสินค้า
2. การส่งคนื การรับคนื และราคาทล่ี ด
3. สว่ นลด
• คา่ ขนสง่ สินคา้ (Freight)
ในการซอ้ื ขายสินคา้ จะมกี ารตกลงกนั เก่ียวกับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า ท้ังนเ้ี นื่องจากค่า ขนสง่
สนิ ค้าท่เี กดิ ขนึ้ อันได้แก่ ค่าระวางทัง้ ทางนำ้ ทางบก และทางอากาศ คา่ รถบรรทกุ จะเป็นต้น ทุนสินคา้
หรือคา่ ใชจ้ ่ายในการขาย แลว้ แตก่ รณี กลา่ วคือ ถา้ เง่ือนไขการสง่ มอบสินคา้ กําหนดให้
1. ผซู้ อ้ื รับมอบสินค้า ณ สถานประกอบการของผู้ขาย ก็หมายความว่า ผ้ซู ื้อเป็นผรู้ บั ภาระ
ค่าขนสง่ จาํ นวนน้ี เรียกว่า ค่าขนสง่ เขา้ (Freight-in) ถือเป็นต้นทนุ สินคา้ อย่างหนึ่งของผ้ซู ้ือ
2. ผูซ้ ้อื รับมอบสนิ คา้ ณ สถานประกอบการของผู้ซื้อเอง กห็ มายความว่าผขู้ ายเป็น ผ้รู ับ
ภาระค่าขนส่งจาํ นวนนี้ เรียกว่า ค่าขนส่งออก (Freight-out) ถอื เป็นค่าใชจ้ ่ายในการขายของ ผู้ขาย
นอกจากนี้การซือ้ ขายระหวา่ งประเทศ อาจกาํ หนดเงือ่ นไขในการสง่ มอบ ณ ทีใ่ ดท่ีหนึ่ง ตาม
ขอ้ ตกลงของผซู้ ือ้ และผขู้ าย โดยเงื่อนไขทใ่ี ช้ มดี ังนี้
1. F.O.B. Shipping Point (Free on board at the shipping point) เป็นเงือ่ นไขการ
สง่ มอบที่กําหนดใหผ้ ้ขู ายรับภาระคา่ ขนสง่ ถึงสถานีขนสง่ สว่ นค่าขนส่งจากสถานีขนส่งถงึ สถาน
ประกอบการของผ้ซู อื้ เปน็ ภาระของผูซ้ อื้
2. F.O.B. Destination เปน็ เง่ือนไขท่ีกําหนดใหผ้ ู้ขายเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งทั้งหมดจน กว่า
สนิ คา้ จะถงึ สถานประกอบการของผ้ซู ือ้
3. C.I.F (Cost insurance and freight) เปน็ เง่ือนไขในการขายซึ่งต้นทุนสินคา้ จะ รวมค่า
ประกันภัยและคา่ ขนส่งสนิ คา้ ไวด้ ้วย การส่งมอบสนิ ค้า ณ จุดใด ขน้ึ อยกู่ บั ขอ้ ตกลงระหว่าง ผซู้ อื้ และ
ผขู้ าย

การส่งคนื การรับคนื และราคาทีล่ ด
เมอ่ื สนิ ค้าท่ซี ื้อขายกนั ไม่เปน็ ไปตามเงือ่ นไขในการซ้ือขาย อาจจะในดา้ นของปรมิ าณ คณุ ภาพ
หรอื ราคา ผูซ้ ้อื มีสิทธท์ิ ีจ่ ะสง่ สินค้าคนื ใหแ้ กผ่ ขู้ าย หรือขอให้ผู้ขายลดราคาให้ ก็ได้ ผซู้ ือ้ จะแจ้งแกผ่ ขู้ าย
โดยออกเอกสารท่เี รยี กว่า ใบหกั หน้ี (Debit Memorandum หรือ Debit Note) ใหแ้ กผ่ ขู้ าย ทางด้าน
ผขู้ ายเม่อื ได้รบั สนิ คา้ คืน จะแจง้ แกผ่ ซู้ ้ือ โดยออกเอกสารทีเ่ รียกวา่ ใบลดหนี้ (Credit Memorandum
หรอื Credit Note)
สว่ นลด (Discount)
ในการขายสินค้า ผูข้ ายอาจกาํ หนดเงือ่ นไขการใหส้ ว่ นลด อันเปน็ เทคนคิ การขายอยา่ งหน่งึ เพอื่
จงู ใจผ้ซู ้ือ และเพ่ือการรับชาํ ระหนเี้ รว็ ข้ึน โดยปกตแิ ลว้ สว่ นลดมี 2 ประเภท คือ
1. ส่วนลดการคา้ (Trade Discount) เปน็ ส่วนลดทผ่ี ขู้ ายมอบใหผ้ ซู้ ้อื เพือ่ จงู ใจให้ผูซ้ อื้ ซ้อื
สนิ คา้ ในปริมาณท่ีมากขึ้น เชน่ ซอ้ื สนิ คา้ 100 ชน้ิ ให้สว่ นลด 1% แต่หากซ้ือ 200 ช้นิ จะให้ สว่ นลด
2% เปน็ ต้น ราคาซื้อขายทปี่ รากฏในใบส่งของหรอื ใบกํากับสินค้าจะเปน็ ราคาสุทธิ ภายหลัง หัก
ส่วนลดแล้ว ส่วนลดการค้านี้จะไมม่ กี ารนาํ ไปบันทึกบัญชีท้งั ด้านผ้ซู ือ้ และผขู้ าย ตัวอยา่ งเช่น
สนิ ค้า ก. ราคาซอื้ ขายตอ่ หน่วย 10 บาท จาํ นวนท่ีซ้ือขาย 10,000 หนว่ ย กําหนด สว่ นลด
การค้า 2% จาํ นวนเงินท่ีผู้ขายและผซู้ ือ้ รบั -จ่ายเงนิ สด หรอื บนั ทึกลกู หนี้-เจ้าหน้ี ระหวา่ งกนั เทา่ กับ
98,000 บาท
{(10,000 x 10) - [2% (10,000 x 10)]}

2. ส่วนลดเงนิ สด (Cash Discount) เปน็ สว่ นลดทผ่ี ู้ขายจงู ใจเพื่อให้ผซู้ ื้อชําระคา่ สินคา้ เร็ว
ขึ้น ตัวอยา่ งของเงือ่ นไขเกี่ยวกับสว่ นลดเงนิ สด มกั กําหนดดงั น้ี

• 1/10, n/30 หรือ 1/10, net/30 หมายความวา่ เง่ือนไขกําหนดเวลาชาํ ระหน้ีตาม จํานวน
เงินท่ปี รากฏในใบสง่ ของหรอื ใบกาํ กับสนิ ค้า คอื 30 วัน แตถ่ ้าผ้ซู ื้อชาํ ระหนีภ้ ายในกาํ หนด เวลา 10
วัน จะได้รับส่วนลด 1% ของราคาทป่ี รากฏในใบสง่ ของหรือใบกาํ กับสนิ คา้

• 1/EOM, n/45 (EOM = End of Month) หมายความว่า เงื่อนไขกาํ หนดเวลา ชําระหนต้ี าม
จาํ นวนที่ปรากฏในใบส่งของหรอื ใบกํากับสนิ ค้า คอื 45 วัน แต่ถ้าผูซ้ ้อื ชาํ ระหน้ี ภายในเดอื นท่ซี อื้
สนิ ค้าจะไดร้ บั สว่ นลด 1% ของราคาท่ปี รากฏในใบส่งของหรอื ใบกาํ กับสนิ ค้า

• 1/5 EOM, '60 หมายความว่า เงอื่ นไขกําหนดเวลาชาํ ระหน้ีตามจํานวนเงิน ท่ีปรากฏ ในใบ
สง่ ของหรือใบกํากับสนิ คา้ คือ 60 วนั แตถ่ า้ ผซู้ ้อื ชําระหนภ้ี ายในวันที่ 5 ของเดอื นถดั ไป จากเดอื นที่
ซอ้ื จะได้รับส่วนลดเงินสด 1% ของราคาที่ปรากฏในใบสง่ ของหรอื ใบกาํ กับสินคา้

สว่ นลดเงินสดเป็นเงอ่ื นไขการชําระหนีท้ ผ่ี ้ซู ื้อเลอื กได้ 2 กรณี คือ ได้รบั สว่ นลดหรอื ไมไ่ ด้ รับ

สว่ นลดก็ได้แตต่ ้องชาํ ระหนีต้ ามระยะเวลาท่ีผู้ขายกําหนดไว้ ดังนน้ั ในทางบญั ชีการซ้ือขายสนิ คา้ จะ

บนั ทกึ เจา้ หน้แี ละลกู หนี้ตามจาํ นวนเงนิ ในใบสง่ ของหรือใบกาํ กับสนิ ค้าซ่ึงเป็นราคากอ่ นหกั สว่ นลด

หากผู้ซ้ือปฏบิ ัติตามเงือ่ นไขการชาํ ระหน้ีทจี่ ะไดร้ ับส่วนลด ส่วนลดนีท้ างดา้ นผู้ซอ้ื เรยี กวา่ ส่วนลดรบั

(Thurchase Discount) ทางดา้ นผู้ขายเรียกว่า สว่ นลดจา่ ย (Sales Discount) การบนั ทกึ บญั ชี มี

ดงั น้ี

ดา้ นผขู้ าย ด้านผ้ซู อื้

เดบิต เงินสด (ธนาคาร) เดบติ เจ้าหนี้

สว่ นลดจา่ ย เครดิต เงนิ สด(ธนาคาร)

เครดิต ลูกหน้ี สว่ นลดรบั

การบญั ชเี ก่ียวกับการขายสินคา้
ตามหลักเงินคา้ ง การซอ้ื ขายสนิ คา้ ทีเ่ กดิ ขึ้นเมื่อมกี ารโอนกรรมสทิ ธิส์ นิ ค้าใหผ้ ู้ซอ้ื เรียบร้อยแล้ว

หากผ้ขู ายยงั ไมไ่ ดร้ บั ชาํ ระคา่ สินค้ากจ็ ะบันทกึ ผซู้ ้ือเป็นลกู หน้ี นอกจากนี้รายการค้าทอี่ าจเกดิ ขนึ้
สืบเนื่องจากการขาย กค็ ือ สว่ นลดเงินสด ซ่ึงก็จะบันทกึ ในบัญชีสว่ นลดจ่าย การรับคืนและให้ ส่วนลด
อนั อาจเน่ืองจากสินค้าชํารุด สินคา้ ไมเ่ ปน็ ไม่ตามปรมิ าณ หรอื คณุ ภาพตามที่ตกลงกันไว้ และคา่ ขนสง่
สินคา้ นอกจากนก้ี ิจการท่จี ดทะเบียนภาษมี ูลค่าเพิ่ม ต้องบันทึกบัญชีภาษีขาย ซง่ึ เป็น หนสี้ นิ ด้วย การ
บันทึกรายการเกี่ยวกับการขายสนิ ค้า และรายการค้าทเ่ี กย่ี วข้อง มดี ังน้ี

บญั ชีรบั คืนและสว่ นลด (Sales Returns and Allowances) และส่วนลดจา่ ย (Sales
Discount) มยี อดคงเหลอื ในบัญชีอยู่ด้านเดบติ เปน็ บัญชปี รบั มลู คา่ บญั ชีขายสนิ ค้า อนั มยี อดคงเหลือ
ในบญั ชี อยดู่ ้านเครดิต ทั้งบัญชรี ับคืนและส่วนลด และบัญชีสว่ นลดจา่ ยจัดอย่ใู นหมวดรายได้ โดย
แสดงเป็น รายการหกั ขายสินค้าในงบกาํ ไรขาดทนุ ผลลพั ธท์ ี่ไดเ้ รยี กวา่ ขายสุทธิ (Net Sales) สว่ น
บัญชี ค่าขนสง่ ที่ผู้ขายเป็นผรู้ บั ภาระ ซ่ึงบันทกึ ในบัญชคี า่ ขนสง่ ออก (Freight-out) จดั อยใู่ นหมวด
ค่าใชจ้ ่าย กลมุ่ ค่าใชจ้ า่ ยในการขาย

การบัญชเี กีย่ วกบั การซ้ือสินคา้
การซ้อื สนิ ค้าตามหลกั เงนิ คา้ งจะมหี ลกั การเดียวกันกับการขายสนิ ค้า กล่าวคือ การซอื้ สนิ คา้

จะเกดิ ขนึ้ เมอ่ื กรรมสทิ ธใิ์ นสนิ ค้าถูกโอนใหผ้ ซู้ ้อื สนิ คา้ เรยี บร้อยแล้ว ในกรณีทีผ่ ู้ซ้อื ยงั ไม่ได้จา่ ยชําระ คา่
สนิ ค้า จะต้ังผขู้ ายเปน็ เจ้าหนี้ รายการค้าทีอ่ าจเกิดข้ึนสืบเนอ่ื งจากการซ้อื สินค้า ก็คอื ส่วนลดรับ การ

สง่ คนื และสว่ นลด และคา่ ขนส่งสินค้า นอกจากนีก้ ิจการท่จี ดทะเบยี นภาษีมูลค่าเพ่ิม ต้องบันทึก บัญชี

ภาษซี อ้ื ซ่ึงเปน็ สนิ ทรัพยด์ ้วย วิธีบันทกึ สินคา้ ท่ีซื้อมาและรายการที่เก่ยี วข้องมี 2 วิธี คอื

1. วิธสี นิ ค้าคงเหลอื แบบต่อเนอ่ื ง (Perpetual Inventory Method)

2. วิธีสินค้าคงเหลือเม่ือวันส้นิ งวด (Periodic Inventory' Method)

วิธีสนิ คา้ คงเหลือแบบต่อเน่ือง (Perpetual Inventory Method)

กจิ การที่ซอ้ื ขายสินคา้ ขนาดใหญ่ มีราคาต่อหน่วยค่อนข้างสงู นิยมใช้วิธีบนั ทึกสินคา้

แบบตอ่ เนอ่ื ง โดยจะบนั ทกึ สินคา้ ทุกครั้งทมี่ ีการซ้อื และการขาย รายการค้าทีเ่ กิดขึ้นสืบเนอ่ื งจาก การ

ซอ้ื สินคา้ จะเปน็ รายการเพ่ิมและลดตน้ ทนุ สนิ คา้ ทซ่ี ื้อเขา้ มา กล่าวคือ เมอ่ื มสี ่วนลดรับ การ ส่งคืนและ

ไดร้ บั ส่วนลด จะทําให้ตน้ ทนุ สนิ คา้ ลดลง ค่าขนส่งสินคา้ ท่ผี ้ซู ือ้ เปน็ ผู้รบั ภาระจะทําให้ ตน้ ทุนสนิ คา้

เพ่มิ ข้ึน โดยรายการคา้ ทเี่ ก่ียวขอ้ งที่กล่าวมานี้ จะบันทึกในบัญชสี นิ ค้าคงเหลือท้งั หมด ส่วนการขาย

สินคา้ น้นั จะบันทึกรายการเป็น 2 ข้นั ตอน คอื ขน้ั ตอนการขายสินคา้ และขนั้ ตอน การโอนสนิ คา้ ท่ี

ขายไปยังบัญชตี ้นทนุ ขาย (Cost of Sales) เชน่ เดียวกันกบั การรับคืน ก็จะบันทึก เปน็ 2 ขน้ั ตอน คือ

ขน้ั ตอนการบนั ทกึ การรับคืนในราคาขาย และขนั้ ตอนการบนั ทึกสนิ คา้ ทร่ี ับคืน ลดต้นทนุ ขายของ

สินค้าท่ีรับคนื ในราคาทุน สําหรับการให้ส่วนลดเงินสดแก่ผู้ซอื้ หรือส่วนลดจ่าย เป็นขน้ั ตอนการรับ

ชาํ ระหน้ี มิเกย่ี วข้องต้นทุนขายแต่อย่างใด จงึ บันทกึ บัญชเี ก่ียวกบั การรบั ชําระ หน้ีเพียงขนั้ ตอนเดียว

วิธีสนิ คา้ คงเหลือเมือ่ วนั ส้นิ งวด (Periodic Inventory Method)

กิจการท่ีซอ้ื ขายสินคา้ ขนาดเล็ก ต้นทนุ ต่อหนว่ ยคอ่ นข้างต่ำ นยิ มใช้วิธบี ันทกึ เกี่ยวกับสนิ คา้ ที่

ซอ้ื มาตามวธิ ีสนิ คา้ เมอื่ วันสน้ิ งวด โดยจะแยกบัญชีทเ่ี ก่ยี วขอ้ งกับสนิ ค้าท่ซี ้ือมาระหวา่ งงวด ดังนี้ บญั ชี

ซอ้ื สนิ คา้ บัญชีคา่ ขนส่งเข้า (Freight-in) บญั ชสี ง่ ดินและส่วนลด (Perchases Returms and

Allowances) และบญั ชสี ว่ นลดรบั (Perchase Discount) การขายสินคา้ ระหว่างงวดจะบันทกึ เพียง

ขั้นตอนการขายข้นั ตอนเดียว โดยจะไม่บันทกึ ต้นทุนขายไปพร้อมกับการขายเช่นเดยี วกับวธิ ีสินค้า

แบบต่อเน่อื ง ณ วันสิ้นงวด จะมกี ารตรวจนบั สนิ ค้าคงเหลอื เรยี กสนิ ค้าที่ตรวจนับไดว้ ่า สินคา้

คงเหลือสิ้นงวด (Ending Inventory) ซึง่ จะยกยอดไปเป็นสนิ คา้ คงเหลอื ตน้ งวด (Beginning

Inventory) ในงวดบญั ชีตอ่ ไป

ดงั นี้ ตน้ ทนุ ขายตามวธิ สี ินคา้ เม่ือวนั สนิ้ งวด จะคำนวณได้ ดงั น้ี

สนิ คา้ คงเหลือต้นงวด xx

ซ้ือสินค้า xx

บวก ค่าขนสง่ เขา้ xx

xx

หกั สง่ คนื และสว่ นลด xx
ส่วนลดรับ xx xx

สินคา้ ทีม่ ไี ว้เพ่ือขาย xx
หกั สินคา้ คงเหลอื ปลายงวด xx
ต้นทุนขาย xx
xx

การบนั ทกึ รายการปิดบัญชี

การบันทึกรายการปดิ บญั ชขี องกจิ การซื้อขายสินค้ามีหลักการเชน่ เดยี วกนั กับกิจการให้

บริการตามที่ไดก้ ลา่ วมา คือปิดหมวดรายไดแ้ ละหมวดคา่ ใช้จ่ายเข้าบัญชีสรุปผลกําไรขาดทนุ ซ่ึง เป็น

บญั ชีชวั่ คราว (Temporary Account) หลงั จากนัน้ จึงปิดบญั ชสี รุปผลกาํ ไรขาดทุน เข้าหมวด สว่ น

ของเจา้ ของ ตามรูปแบบธุรกิจของกิจการ กล่าวคือเข้าบัญชที ุนสําหรบั กจิ การเจ้าของคนเดียว เข้า

บัญชีทุนหรือกระแสทุนสําหรับกิจการห้างหุ้นส่วน และเข้าบญั ชกี ําไรสะสมสําหรบั กจิ การบริษัทจาํ กัด

หมวดรายได้จากการขายสินคา้ จะมบี ัญชีที่เก่ียวข้อง และยอดคงเหลือในบัญชีดงั น้ี

บัญชี ยอดคงเหลอื ในบัญชี

ขายสินค้า เครดติ

รบั คืนและสว่ นลด เดบติ

ส่วนลดจา่ ย เดบติ

การปิดบญั ชหี มวดรายไดจ้ ากการขายและบญั ชีทีเ่ ก่ียวขอ้ งในวนั ส้นิ งวด มีดงั นี้

เดบิต ขายสินคา้ xx
เครดิต สรุปผลกำไรขาดทุน xx

ปิดขายสนิ คา้ เขา้ สรปุ ผลกำไรขาดทนุ

เดบติ สรุปผลกำไรขาดทนุ xx

เครดติ รบั คืนและส่วนลด xx

สว่ นลดจ่าย xx

ปดิ รบั คนื ละสว่ นลดละส่วนลดจ่ายเข้าสรปุ ผลกำไรขาดทุน

หมวดคา่ ใชจ้ ่ายจะมกี ล่มุ ค่าใช้จ่าย 2 กลุม่ ใหญ่ ๆ คอื กล่มุ ทีเ่ ป็นตน้ ทนุ สินค้าที่ซอ้ื มาเพอ่ื ขาย
และกลุม่ ค่าใช้จา่ ยในการดำเนนิ งาน สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะบันทึกการปดิ บัญชโี ดยเด
บิต สรุปผลกำไรขาดทนุ และเครดิต คา่ ใช้จ่าย ในท่ีนี้จะกลา่ วเฉพาะกลุ่มทเ่ี ปน็ ตน้ ทนุ สินค้าทีข่ าย
ซึง่ บญั ชีทเี่ กยี่ วขอ้ งมียอดคงเหลอื ในบญั ชี แยกตามวิธีสินค้าแบบตอ่ เน่อื งและวิธสี ินค้าเมือ่ วันสิ้นงวด
ได้ ดังนี้

วิธีบนั ทึกสนิ คา้ แบบต่อเนอื่ ง วธิ ีบันทกึ สินค้าเมอ่ื วันสิ้นงวด

บัญชี ยอดคงเหลอื ในบัญชี บญั ชี ยอดคงเหลือใน
ตน้ ทนุ ขาย บญั ชี
เดบติ ซอ้ื สนิ ค้า
เดบติ

คา่ ขนส่งเขา้ เดบิต

สง่ คนื และสว่ นลด เครดิต
ส่วนลดรบั เครดติ

การปดิ บัญชีกลมุ่ ตน้ ทุนขายตามวิธบี ันทึกสินคา้ แบบต่อเน่อื งในวนั สน้ิ งวด มดี ังน้ี

เดบติ สรุปผลกำไรขาดทนุ xx
เครดติ ตน้ ทนุ ขาย xx

ปิดตน้ ทุนขายเข้าสรุปผลกำไรขาดทนุ

การปิดบัญชีกลุม่ ตน้ ทุนขายตามวิธีบนั ทึกสินคา้ เม่อื วันสนิ้ งวด มี 2 วิธี คอื ปิดผา่ นตน้ ทนุ
ขายและปดิ เข้าสรปุ ผลกำไรขาดทุน ดังนี้

ปิดผา่ นต้นทุนขาย โดยโอนบญั ชีซื้อสินคา้ ค่าขนส่งเขา้ สง่ คนื และสว่ นลด และส่วนลด
รับเข้าบัญชตี ้นทุนขาย หลงั จากนัน้ จึงปิดตน้ ทนุ ขายเข้าบัญชีสรปุ ผลกำไรขาดทนุ

ปดิ เข้าสรปุ ผลกำไรขาดทนุ โดยโอนบัญชซี ้ือสนิ คา้ ค่าขนสง่ เขา้ สง่ คืนและสว่ นลด และ
ส่วนลดรับเข้าบญั ชีสรุปผลกำไรขาดทุน

4
รายการปรบั ปรุง รายการปิดบญั ชี

และกระดาษทําการ
แนวคดิ

การบันทึกรายการปรับปรุงและแก้ไขขอ้ ผดิ พลาดเปน็ สิ่งจําเป็นและสาํ คญั เพราะรายการทัง้ 2
ประเภทนี้จะมีผลต่อการดําเนินงานและฐานะการเงินของกจิ การ หลังจากบันทึกรายการดังกล่าวแล้ว
ก่อนท่ีกจิ การจะจัดทํารายงานทางการเงนิ หรืองบการเงนิ กจิ การควรจะจดั ทํากระดาษทําการข้ึนก่อน
เพื่อให้การจัดทํารายงาน ทางการเงินหรืองบการเงิน รวมทั้งการบันทึกรายการปิดบัญชีง่ายและ
สะดวกขน้ึ

สาระการเรยี นรู้
1. รายการปรับปรงุ
. การแกไ้ ขข้อผดิ พลาด
3. กระดาษทําการ
4. รายการปิดบัญชี
5. รายการเปดิ บัญชี
6. การกลับรายการปรบั ปรุง
7. ศพั ท์บัญชี

ผลการเรยี นรทู้ ่คี าดหวัง
1. บนั ทึกรายการปรบั ปรุงและการแก้ไขขอ้ ผดิ พลาดได้
2. จดั ทาํ กระดาษทาํ การได้
3. บันทึกรายการปดิ บัญชไี ด้
4. บันทึกรายการเปดิ บญั ชไี ด้
5. บันทกึ รายการกลบั รายการปรบั ปรุงได้
6. แปลความหมายศัพท์บญั ชไี ด้

รายการปรบั ปรงุ
คา่ ใช้จ่ายคา้ งจ่าย (Accrued Expense)
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้ใช้บริการเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน

จัดเป็นหนี้สินหมุนเวียน ขบวนการบันทึกบัญชียังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากยังไม่ได้จ่ายเงิน ดังนั้น ณ วันส้ิน
งวดจงึ มีรายการปรบั ปรุงบันทึกค่าใช้จา่ ย และหนส้ี นิ ดงั น้ี

เดบติ คา่ ใชจ้ า่ ย xx
เครดติ คา่ ใชจ้ ่ายค้างจ่าย xx

คา่ ใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense)

ค่าใช้จา่ ยล่วงหน้า หมายถึง จาํ นวนเงนิ ทจี่ ่ายไปเพอ่ื สินทรพั ย์หรือบรกิ ารที่กิจการจะได้รับ
ประโยชนใ์ นอนาคตอันใกล้น้ี (งวดบัญชตี ่อไป) มักจะเปน็ คา่ ใชจ้ า่ ยทเี่ กิดขึน้ จากการดาํ เนินงาน
ตามปกติของกิจการ และหมายรวมถงึ จํานวนเงินที่จ่ายไปในงวดปี ปจั จบุ ัน โดยสว่ นหน่งึ กิจการ ได้รับ
ประโยชนใ์ นงวดปัจจบุ นั แล้ว ส่วนทีย่ ังไม่ได้ใช้ประโยชน์ เรียกว่า ค่าใช้จ่ายจา่ ยลว่ งหนา้ ซึ่งจะปรากฏ
ในงบดุล ณ วันสน้ิ งวดภายใต้หวั ขอ้ สินทรัพยห์ มนุ เวยี น เช่น คา่ โฆษณาจา่ ยล่วงหน้า ค่าเบ้ียประกัน
จา่ ยล่วงหน้า ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า เปน็ ต้น

เน่ืองจากกิจการจ่ายเงินเก่ียวกบั คา่ ใชจ้ ่ายจาํ นวนนีไ้ ปแลว้ ขบวนการบนั ทกึ บญั ชเี กิดขึน้ แล้ว
ในวันทจ่ี า่ ยเงิน และเนอื่ งจากจาํ นวนเงนิ ที่จา่ ยไปอาจมีบางสว่ นใช้ประโยชนใ์ นงวดปจั จบุ นั แล้ว
คงเหลอื บางสว่ นทก่ี จิ การยงั ไม่ไดร้ ับประโยชนใ์ นงวดปจั จบุ นั อันถอื ว่าเปน็ การจ่ายเงนิ เพอื่ สินทรพั ย์
อย่างหน่งึ ในวนั ทจ่ี ่ายเงินจงึ มวี ธิ ีปฏบิ ัตเิ ก่ียวกับการบันทึกบัญชกี ารจา่ ยคา่ ใชจ้ ่ายจาํ นวนน้ี ดงั นี้

วธิ ที ี่ 1 บนั ทกึ เป็นคา่ ใช้จ่าย วธิ ีท่ี 2 บันทกึ เป็นสนิ ทรัพย์

เดบติ ค่าใชจ้ า่ ย xx เดบติ ค่าใชจ้ า่ ยลว่ งหน้า xx

เครดติ เงนิ สด xx เครดิต เงนิ สด
xx

รายได้คา้ งรบั (Accrued Income หรือ Acerned Revenue)

รายไดค้ ้างรบั หมายถึง รายไดข้ องกิจการทีเ่ กดิ ข้นึ แลว้ แต่ยงั ไมไ่ ดร้ ับเงิน และยงั ไมไ่ ด้ บนั ทึก
บญั ชี จงึ บันทกึ รายการปรับปรงุ รายได้คา้ งรับดา้ นเดบิต และบันทึกรายไดด้ า้ นเครดติ รายได้ คา้ งรับที่
เกิดขน้ึ มีขอ้ พิจารณา 2 กรณี คือ

1. หากเป็นรายได้ทีเ่ กดิ ขน้ึ เป็นประจาํ อนั เนื่องจากการดําเนนิ งานของกจิ การเป็นปกติ เช่น
ขายสนิ ค้า รายได้คา่ บริการ (กจิ การให้บรกิ าร) รายได้คา้ งรบั ทีเ่ กิดขึน้ ใหบ้ ันทึกในบญั ชลี กู หนี้ การค้า

2. หากเป็นรายไดอ้ ่ืนๆ นอกจากรายได้ปกติของกจิ การ เชน่ ดอกเบยี้ พนั ธบัตรรัฐบาล เงนิ ปัน
ผลรับ ดอกเบี้ยจากการให้กยู้ มื ใหบ้ ันทึกในบญั ชีรายไดค้ ้างรับ

รายไดร้ ับล่วงหนา้ (Deferred Income)

รายไดร้ บั ลว่ งหน้า หมายถึง รายไดท้ ก่ี ิจการได้รับเงนิ จากลูกค้าแล้วแต่ยังไม่ได้ใหบ้ รกิ าร หมาย
รวมถึง รายได้ท่ีกิจการได้รบั ระหว่างงวดแลว้ ให้บริการแลว้ เปน็ บางส่วน ส่วนทีเ่ หลอื ทีย่ ังไม่ ได้
ให้บรกิ ารให้ปรับปรงุ เปน็ รายได้รบั ล่วงหน้า จัดอยู่ในหมวดของหนส้ี ินหมนุ เวียน

เนอ่ื งจากกิจการรับเงนิ คา่ บรกิ ารเรยี บร้อยแล้ว ขบวนการบญั ชบี นั ทึกเก่ยี วกบั การรับเงนิ
เรยี บรอ้ ยแล้ว ซึง่ มีวธิ ีปฏบิ ัติในการบนั ทกึ การรบั เงิน 2 วิธี คือ

วธิ ที ่ี 1 บันทกึ เป็นรายได้ วิธที ี่ 2 บนั ทกึ เปน็ หนีส้ ิน xx ค่าเส่อื ม

เดบติ เงินสด xx เดบิต เงินสด
xx เครดิต รายได้รบั ล่วงหนา้ xx ราคา
เครดติ รายได้

(Depreciation)

คา่ เส่ือมราคา หมายถงึ ค่าใชจ้ ่ายท่ตี ัดจากมูลคา่ ท่ดี ิน อาคารและอปุ กรณท์ ีม่ ีตัวตนหรอื
เรยี กว่า สนิ ทรพั ยท์ ่ีมีตัวตน (ยกเว้นท่ดี นิ ) ทก่ี จิ การใชป้ ระโยชน์ประจํางวด ท้ังน้เี พราะทีด่ นิ อาคาร
และอปุ กรณ์เป็นสนิ ทรพั ย์ทมี่ ไี ว้เพ่อื ใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานและมักจะมมี ูลค่าสงู จงึ มกี าร
ประมาณ ประโยชน์จากทดี่ นิ อาคารและอปุ กรณ์เหล่าน้ีเฉลีย่ เป็นค่าใชจ้ ่ายแตล่ ะงวด โดยพจิ ารณา
จากต้นทุน สินทรพั ย์ ราคาซากของสินทรัพย์ (มูลค่าสนิ ทรพั ย์เมอ่ื หมดอายุการใชง้ าน) และอายกุ ารใช้
งาน ของสนิ ทรพั ย์โดยประมาณ ในด้านการบนั ทกึ บัญชีเกีย่ วกบั ค่าเส่อื มราคาจะปฏิบัติ ดงั นี้

เดบติ ค่าเสอ่ื มราคา-ชือ่ สนิ ทรัพย์ xx

เครดติ ค่าเสอ่ื มราคาสะสม-ชื่อสินทรพั ย์ xx

บัญชคี ่าเส่ือมราคาจดั อยูใ่ นหมวดค่าใช้จ่าย ส่วนบญั ชคี า่ เส่อื มราคาสะสมเปน็ บัญชปี รับมูลคา่
(Valuation Account) แสดงเป็นรายการหักท่ดี ิน อาคารและอปุ กรณ์น้ันๆ ในงบดุล บญั ชคี ่าเสอ่ื ม
ราคา สะสมจะมจี าํ นวนเพิ่มขน้ึ ตามอายกุ ารใช้งานของสนิ ทรพั ย์ ซึง่ จะทําใหย้ อดสุทธขิ องทีด่ ิน อาคาร
และอุปกรณ์ในงบดุลลดลง

การคํานวณค่าเส่ือมราคาของสนิ ทรพั ยม์ หี ลายวิธใี นหน่วยน้ีจะกล่าวถงึ ค่าเส่ือมราคาวิธีที่ เปน็
ท่ีนิยมปฏบิ ัติกนั โดยท่วั ไป คอื วิธีเส้นตรง (Straight - Line Method) เปน็ วิธกี ารคิดคา่ เสอื่ มราคาที่
งา่ ย โดยนาํ มลู ค่าของของสินทรัพย์ หกั ราคาซาก (Scrap Value) แล้วหารดว้ ยอายุการใช้งาน ค่า
เสื่อมราคา ทีค่ ํานวณได้แตล่ ะปจี ะมีจํานวนเทา่ กนั ดงั น้ี

ค่าเส่อื มราคา / ปี = มลู ค่าสินทรัพย์−ราคาซาก (ถา้ มี)
อายกุ ารใช้งาน

ค่าเส่ือมราคา / ปี = {มูลค่าสนิ ทรัพย์ – ราคาซาก (ถ้ามี)} × อัตราค่า หรอื
เสอ่ื มราคา

สินทรพั ย์ไม่หมนุ เวยี น

เคร่ืองจกั ร 500,000

หัก ค่าเสอ่ื มราคาสะสม – เครอื่ งจักร 12,125

487,875

สนิ ทรพั ย์ไมห่ มุนเวียน 97,500
34,130
อปุ กรณส์ ำนักงาน

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม-อปุ กรณ์สำนักงาน
63,370


Click to View FlipBook Version