The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by supachetr, 2019-07-02 04:48:11

PRD 249

เสียง จากผู้บริหาร










สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ทรงมีพระราชปณิธาน ที่จะสืบสานพระราชปณิธานขององค์บูรพ
กษัตริยาธิราชเจ้า ที่ทรงปกครองบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย
จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์
ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว”

ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ - 11 มีนาคม 2561 ณ พระลานพระราชวัง
ดุสิต และสนามเสือป่า ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์
เปิดงานเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ภายในงานได้จัดแสดงนิทรรศการ

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว นิทรรศการพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงงานมาตลอดระยะเวลา
70 ปี แห่งการครองราชย์ เรือสุพรรณหงส์จ�าลอง ดอกไม้เมืองหนาว

กว่าสองแสนต้น การแสดงทางวัฒนธรรมท้องถิ่น จากทุกภูมิภาค
ภาพยนตร์ยุคเก่าที่หาชมได้ยาก การแสดงศิลปะชั้นสูงในราชส�านัก
ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และการจ�าหน่ายสินค้านานาชนิด



ในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม
แห่งความสุขนี้ โดยจัดแสดงดนตรี บูธประชาสัมพันธ์ ร่วมเป็นจิตอาสา
และอ�านวยความสะดวกแก่ประชาชนที่เข้าชมงาน ให้มีความสุข
ความรื่นเริง และความอบอุ่น ในงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว"








ดร.จรูญ ไชยศร
รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์

เจ้าของ
กรมประชาสัมพันธ์ บก.เปิดเล่ม
ที่ปรึกษา
พลโท สรรเสริญ แก้วก�าเนิด
รักษาราชการในต�าแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อุ่นมากับลมร้อน ที่เริ่มจะร้อนรับฤดูกาลที่ผันผ่าน
ดร.จรูญ ไชยศร
รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ฉบับเดือนมีนาคม ยังคงเปี่ยมไปด้วยเรื่องราว
พิชญา เมืองเนาว์ หลากหลาย มากด้วยสาระที่ชวนให้ติดตาม และส�าหรับเดือนนี้ ถือเป็น
รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ การเริ่มต้นฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ แต่ไม่ว่าฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลง
ทัศนีย์ ผลชานิโก
รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อย่างไร ทีมงานวารสารกรมประชาสัมพันธ์ก็จะยังคงสรรหาเรื่องราว
บรรณาธิการบริหาร ที่มีคุณค่ามาน�าเสนออย่างไม่ย่อท้อ
อรัญญา เกตุแก้ว เดือนมีนาคม เป็นเดือนที่มีวันส�าคัญทั้งระดับประเทศ และ
ผู้อ�านวยการส�านักพัฒนาการประชาสัมพันธ์
กองบรรณาธิการ ระดับโลก เช่น วันมาฆบูชา วันนักข่าวในประเทศไทย วันสตรีสากล
ผู้อ�านวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย วันช้างไทย วันน�้าของโลก และที่ส�าคัญ เดือนนี้ มีวันแห่งความสุขสากล
ผู้อ�านวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อร�าลึกถึงความสุขบนพื้นฐานของมนุษยชาติ นี่เป็นเรื่องของวันส�าคัญ
ผู้อ�านวยการส�านักข่าว
ผู้อ�านวยการส�านักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ ต่าง ๆ ในเดือนมีนาคม
ผู้อ�านวยการส�านักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ แต่ส�าหรับเรื่องราวที่โดดเด่นและน่าสนใจในฉบับนี้ แน่นอนว่า
ผู้อ�านวยการส�านักส่งเสริมและพัฒนางานเทคนิค
ผู้อ�านวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ การประชาสัมพันธ์ “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” จะเป็นเรื่องราวที่ผ่านเลยไปไม่ได้
ผู้อ�านวยการส�านักประชาสัมพันธ์เขต 1-8 ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน
ผู้อ�านวยการกองคลัง
ผู้อ�านวยการกองการเจ้าหน้าที่ “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ - 11 มีนาคม ศกนี้
ผู้อ�านวยการกองกฎหมายและระเบียบ ณ พระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า เป็นความทรงจ�าที่ไม่รู้ลืม
เลขานุการกรม ถึงความสุขที่คนไทยได้รับ ทั้งเรื่องราวและการแต่งกายย้อนยุคกลับไป
ประชาสัมพันธ์จังหวัดผู้แทนภาค 1-8
ผู้อ�านวยการสถาบันการประชาสัมพันธ์ สู่สมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่ทั้งสวยงามและอ่อนหวาน เรื่องราว
ผู้อ�านวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร อันทรงคุณค่านี้อยู่ในวารสารฉบับนี้เช่นกัน
ผู้อ�านวยการหน่วยตรวจสอบภายใน
ผู้อ�านวยการส่วนสื่อประชาสัมพันธ์ และที่น่าติดตามเป็นพิเศษ นั่นคือบทสัมภาษณ์พิเศษ รัฐมนตรี
ดลภัทร การธราชว์ ประจ�าส�านักนายกรัฐมนตรี นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เกี่ยวกับแนวคิด
สงกรานต์ อรุณแสง
สุรีรัตน์ สมุทร เรื่องการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ ซึ่งถือว่ามีความส�าคัญและน่าติดตาม
ธีระสุภ ลิ้มวงศ์พิพัฒน์ เป็นอย่างยิ่ง
ฝ่ายภาพ ยังประกอบด้วยเรื่องราวของกรมประชาสัมพันธ์ กับนวัตกรรมใหม่
ว่าที่ ร.ต.กิตติพันธ์ ฟักประไพ
วรา อุทัยชาติ ที่ถูกคิดค้นขึ้นในหลากหลายเรื่องราว
วีรพัฒน์ ชื่นสมทรง สรุปว่า ทุกเรื่องราวในวารสารกรมประชาสัมพันธ์ ฉบับเดือน
ภาคภูมิ พันธุ์กิริยา มีนาคมนี้ มากด้วยสาระที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ติดตามวารสาร
ฝ่ายจัดการและเผยแพร่
วรวลัญช์ ตลับทอง กรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นเสมือนสหายสนิท ที่ไม่อ่านไม่ได้เสียแล้ว
อภิญญา ช�านิ
จัดท�โดย
ส�านักพัฒนาการประชาสัมพันธ์
กรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ 9 ถนนพระราม 6 บรรณาธิการ
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2618 2323 ต่อ 1600, 1603
โทรสาร 0 2618 3617 วิสัยทัศน์กรมประชาสัมพันธ์
E-mail : [email protected]
เป็นองค์การที่ได้รับความเชื่อถือด้านข่าวสาร เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิต
ค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.prd.go.th ของประชาชนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
พิมพ์ที่ วารสารกรมประชาสัมพันธ์เป็นวารสารรายเดือน เพื่อเผยแพร่นโยบายของรัฐบาลและผลการด�าเนินงาน
บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จ�ากัด ของกรมประชาสัมพันธ์ บรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกและแก้ไขต้นฉบับทั้งเรื่องและภาพ
โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเจ้าของเรื่อง และไม่ต้องส่งต้นฉบับคืน ข้อเขียนในวารสารฯ เป็นความเห็น
ส่วนตัวของผู้เขียน มิใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ

สารบัญ



CONTENTS







บก.เปิดเล่ม ...................................................................................................1



พระบารมีปกเกล้าฯ ..................................................................................3


3 กปส. Around The World ......................................................8


PRD Featured ...............................................................................18


Do U Know รู้แล้วบอกต่อ ....................................................24



สรรหามาเล่า ...........................................................................................36


21 Digital inside เปิดโลกไซเบอร์ .............................................41


มรดกโสตทัศน์ ......................................................................................43


พรบ.ข้อมูลข่าวสาร ............................................................................46



ตอบดีมีรางวัล .......................................................................................48
41





43


32


















2 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

พระบารมีปกเกล้าฯ <<

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ








































ศาสตร์แห่งนวัตกรรมพระราชา





















จากโครงการหลวง โครงการพระราชด�าริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีขึ้น

มากกว่า 4,000 โครงการนั้น นับเป็นศาสตร์ของพระราชาที่เกิดจากการที่พระองค์ทรงมี
พระมหากรุณาธิคุณจนมีพระราชกิจใหญ่น้อยลงในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ นวัตกรรม
ของพระองค์อันเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้นเป็นการริเริ่มและพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่

การเรียนรู้และน�าไปท�าขึ้นให้เกิดประโยชน์ได้จนท�าให้มีนวัตกรรมพระราชาขึ้นมากมาย
จนสามารถแยกเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับเรื่องของ ดิน น�้า ลม ไฟหรือพลังงาน ในที่สุด



PRD MAGAZINE | 3

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ด�าเนิน
โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
รัชกาลที่ 9 เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ
ครบ 60 ปี และเป็นการร�าลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถ

ด้านนวัตกรรมจากโครงการแกล้งดิน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยว จนสามารถใช้
ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และก�าหนดให้วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ”
เนื่องจากในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตร
การด�าเนินงาน โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ และ

ได้มีพระราชด�ารัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดินอย่างเป็นทางการ
ศาสตร์พระราชาการแกล้งดินนั้นเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด
ท�าการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดก�ามะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นจ�านวนมาก
การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชด�าริโดยใช้กรรมวิธีแกล้งดิน คือ การท�าดินให้เปรี้ยวด้วย

การท�าดินให้แห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยา ทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้น
จนถึงขั้นที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น โดยการ
ควบคุมระบบน�้าใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดก�ามะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ 1-4 ตัน
ต่อไร่ การใช้น�้าชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การแกล้งดิน

ตามแนวพระราชด�าริ สามารถท�าให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถท�าอะไรได้กลับ
ฟื้นคืนสภาพ ที่สามารถท�าการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง


4 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

❝ “โครงการแกล้งดิน” จึงเป็นโครงการที่มีนวัตกรรม

จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในประเทศเขตร้อน

ซึ่งยังไม่มีที่ใดในโลกได้ด�เนินงานในลักษณะดังกล่าวนี้ ❞



“โครงการแกล้งดิน” จึงเป็นโครงการที่มีนวัตกรรมจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา
ดินเปรี้ยวในประเทศเขตร้อน ซึ่งยังไม่มีที่ใดในโลกได้ด�าเนินงานในลักษณะดังกล่าวนี้ ความเร็ว

จากนวัตกรรมนี้ได้น�ามาท�าเป็นต�าราเผยแพร่ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็น “นวัตกร”
อย่างแท้จริง แนวพระราชด�าริดังกล่าวนั้นได้เน้นให้เห็นถึงการประสมประสานนวัตกรรม
ด้านเทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ จนได้วิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไข

ดินเปรี้ยวให้สามารถท�าการเพาะปลูกต่อไปได้
ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
ความตั้งพระราชหฤทัยที่จะยกระดับความเป็นอยู่ ของพสกนิกรชาวไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์
และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณทั่วทุกทิศานุทิศ ส�านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รู้สึกซาบซึ้ง

ในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้บ�าเพ็ญพระราชกรณียกิจ
มากหลายซึ่งเป็นคุณประโยชน์ใหญ่หลวงต่อชาวไทยและชาวโลก และในวโรกาสฉลองสิริราช
สมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 นั้น ส�านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเทิดพระเกียรติพระองค์เป็น “พระบิดา

แห่งนวัตกรรมไทย” เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้สถิตสถาพร อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติ และ
สิริอันสูงยิ่งแก่ส�านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และกิจการนวัตกรรมไทยสืบต่อไป


PRD MAGAZINE | 5

ส�าหรับศาสตร์แห่งนวัตกรรมพระราชานั้น มีโครงการส�าคัญเกิดขึ้นหลายเรื่อง
ดังเช่นโครงการพระราชด�าริฝนหลวง ต้นก�าเนิดนั้นมาจากพระองค์ทรงมีพระราชด�าริไว้ว่า

“...มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ท�าไมมีเมฆอย่างนี้ ท�าไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่อง
การท�าฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนท�าได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือท�าได้...”
ต่อมาพระองค์ทรงมีพระราชด�าริฝนหลวงขึ้น เป็นโครงการที่จากพระมหากรุณาธิคุณ
ที่พระองค์ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหา

ขาดแคลนน�้า เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุ
มาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ จากการเสด็จพระราชด�าเนิน
เยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมานั้น
พระองค์ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้น

ตามล�าดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว
การตัดไม้ท�าลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ท�าความเสียหายแก่เศรษฐกิจ
โดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีตามเส้นทางที่พระองค์เคยเสด็จพระราชด�าเนิน

ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าวทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า
แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่
เป็นช่วงฤดูฝน
พระองค์ทรงคิดค�านึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่ช่วยให้เมฆเหล่านั้น

ก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ
และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุม
ของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูก
ประจ�าปีของประเทศไทยจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้อย่างแน่นอน

พระองค์ทรงเล่าเรื่องนี้ไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 แต่นั้นมา
พระองค์ ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และ
การดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญ


























6 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

ในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาลู่ทางที่จะท�าให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้า
ให้เป็นไปได้ในการทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน

ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้น�าความขึ้นกราบบังคมทูล
พระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะด�าเนินการตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท�าการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่
1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล

เป็นผู้อ�านวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่
วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน�้าแข็งแห้ง (dry ice
หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน
10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ท�าให้กลุ่มเมฆทดลองนั้น

เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น
และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม
พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการ
ส�ารวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่

พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆ
ให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ศาสตร์การท�าฝนหลวงจึงเป็นต�าราแผ่นดินที่พระราชาทรงมีนวัตกรรมส�าหรับ
ช่วยเหลือการเพาะปลูกโดยวิธีบังคับให้เมฆสามารถสร้างฝนนอกฤดูกาลและยามแผ่นดิน

แห้งแล้งขาดน�้าได้ นับเป็นพระบารมีปกเกล้าที่แผ่ไพศาลดุจน�้าฝนที่หลั่งลงมาให้ชาวนาชาวไร่

ได้ชื่นใจและมีความหวังในยามขาดฝน n

PRD MAGAZINE | 7

>> กปส. Around The World



รัฐมนตรีประจ�ส�นักนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายการปฏิบัติราชการ


ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจ�าส�านักนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายการปฏิบัติราชการแก่ผู้บริหารและ
เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ ในการขับเคลื่อนการด�าเนินงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและ

อุปสรรคในการปฏิบัติราชการ โดยนายสมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดส�านักนายกรัฐมนตรี พลโท สรรเสริญ แก้วก�าเนิด
รักษาราชการในต�าแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ
และร่วมรับฟัง ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์



































































8 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

ขับเคลื่อนการเลิกใช้พลาสติก

หุ้มฝาขวดน�้าดื่ม


ดร.จรูญ ไชยศร รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
เป็นผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ลงนามบันทึกความร่วมมือ
ขับเคลื่อนการเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน�้าดื่ม กับ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย

กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย
สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย สถาบันพลาสติก

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส�านักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา และคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561
ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อาคารกรมควบคุมมลพิษ
เพื่อสร้างจิตส�านึกในการช่วยกันลดใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก

ที่ไม่จ�าเป็น และร่วมกันขับเคลื่อนการเลิกใช้พลาสติก
หุ้มฝาขวดน�้าดื่มในอุตสาหกรรมน�้าดื่มไทย












































PRD MAGAZINE | 9

ธรรมมะน�ทาง คุณธรรมน�ใจ


ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 1 จังหวัดขอนแก่น
จัดกิจกรรมท�าบุญตักบาตร เจริญศีล สมาธิและปัญญา
ในกิจกรรม “ธรรมมะน�าทาง คุณธรรมน�าใจ” ประจ�าปี

2561 โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เข้าร่วม
กิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน



































































10 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

สื่อสาร สร้างสุข สู่ชุมชน


ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี จัดกิจกรรม “สปข. 2
สื่อสาร สร้างสุข สู่ชุมชน” ครั้งที่ 6 เพื่อประชาสัมพันธ์นโยบายรัฐบาลและ
เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้ถึงกลุ่มเป้าหมายชุมชนมากขึ้น โดยขับเคลื่อน
ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้กลยุทธ์ ออนแอร์ (On Air)

ออนไลน์ (On Line) และออนกราวด์ (On Ground) สร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง
ด้วยการท�างานแบบบูรณาการ ให้ข้อมูลข่าวสารถึงประชาชนอย่างมีเอกภาพ


























PRD MAGAZINE | 11

ปันน�้าใจสู่ชุมชน


สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
จัดกิจกรรมปันน�้าใจสู่ชุมชน ปีที่ 6 “ช่วยน้องให้นอนอุ่น” ณ ศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่สะงะเหนือ ต�าบลแม่นาจร อ�าเภอแม่แจ่ม
จังหวัดเชียงใหม่ และจัดรายการพิเศษ เวทีเสวนา “ร่มเกล้าชาวไทย
ส�านักในพระมหากรุณาธิคุณ” ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ

อ�าเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่




12 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

แผนป้องกันสาธารณภัย เซนได

ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 4 จังหวัดพิษณุโลก

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เตรียมความพร้อมรับมือ
สาธารณภัยกับแผนป้องกันสาธารณภัย เซนได”
เพื่อสร้างความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแผนป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย แผนประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต

รวมทั้งการฝึกปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิด
ภัยพิบัติ

































































PRD MAGAZINE | 13

“SMART PRD 5”


ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 5 จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนา
ศักยภาพเครือข่ายประชาสัมพันธ์ “SMART PRD 5” เพื่อให้บุคลากร

หน่วยงานในสังกัด ผลิตและเผยแพร่สื่อดิจิตอล สื่อสาร อธิบาย
ข้อมูลข่าวสาร นโยบายส�าคัญของรัฐ สร้างการรับรู้ เข้าใจ เชื่อมั่น
สู่การขยายผลอย่างมีประสิทธิภาพ












































14 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์สนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้


ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 6 จังหวัดสงขลา จัดประชุม
เชิงปฏิบัติการผู้แทนหน่วยงาน 7 กลุ่มภารกิจงาน เพื่อก�าหนด
แนวทาง การบูรณาการข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์สร้าง
ความเข้าใจกับประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงสะท้อนความ

ต้องการของประชาชนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา
ที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ณ โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี
จังหวัดปัตตานี


























PRD MAGAZINE | 15

บูรณาการสื่อประชาสัมพันธ์

การประชุม ครม.สัญจร

ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 7 จังหวัด

จันทบุรี บูรณาการความร่วมมือสื่อทั้งภายใน
กรมประชาสัมพันธ์ และเครือข่ายสื่อในพื้นที่
ภาคตะวันออก ติดตามบันทึกภาพ ท�าข่าว

และ Live Facebook ภารกิจนายกรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและ
จังหวัดตราด พร้อมเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อ
กระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทาง
เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน























































16 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

อบรมพัฒนาประสิทธิภาพด้านพัสดุ


ส�านักประชาสัมพันธ์เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี จัดอบรม
“พัฒนาประสิทธิภาพด้านพัสดุ ตามพ.ร.บ. พ.ศ. 2560” โดย

วิทยากรจากส�านักงานคลังจังหวัดกาญจนบุรีได้มาบรรยายให้ความรู้
แก่บุคลากรในสังกัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ
การบริหารด้านพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบใหม่ ให้สามารถ
น�าไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


























PRD MAGAZINE | 17

>> PRD Featured




















อบอวลด้วยความสุข



อุ่นไอรัก คลายความหนาว




น�้าพระราชหฤทัยอันยิ่งใหญ่





เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของคนไทย ตามพระราช

ปณิธานที่ทรงหมายมั่นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่จะทรงบ�าบัดทุกข์
บ�ารุงสุข ให้กับอาณาประชาราษฎร์ สืบสานพระราชปณิธานของ
บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ทรงปกครองดูแลชาติ บ้านเมือง ให้อยู่รอด
ปลอดภัย จากภยันตรายนานัปการ มีผืนแผ่นดินให้ประชาราษฎรได้อยู่

อาศัยประกอบสัมมาอาชีวะ ด�าเนินวิถีชีวิตได้จวบจนปัจจุบันนี้ อีกทั้ง
ยังทรงตระหนักดีว่า ยังมีประชาชนอีกจ�านวนไม่น้อยที่ยังคงได้รับ
ความเดือดร้อนในการด�าเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากสภาวะ
แวดล้อม ภัยธรรมชาติ และ ปัญหาความขาดแคลนปัจจัยส�าคัญในการ
ด�ารงชีพโดยปกติสุข และมีพระราชปณิธาน แน่วแน่ที่จะทรงแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ที่ท�าให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจของประชาชนอันเป็นที่รัก

และห่วงใยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ได้รับการบรรเทาเบาบางและ
จางหายไปด้วยวิธีการต่าง ๆ ว่า ทุกคนจะอยู่อาศัยบนผืนแผ่นดิน
บ้านเกิดเมืองนอนของเราด้วยความสุขกายสบายใจกันถ้วนทั่ว พึ่งพา
ตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ ด้วยมิตรภาพ ด้วยความรัก น�้าใจ
ไมตรีอันดีงาม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเห็นอกเห็นใจ อันเป็น

คุณสมบัติ ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในหัวใจของคนไทยที่มีความรักชาติ
บ้านเมืองทุกคน จึงพระราชทานพระราชด�าริที่จะให้ประชาชน ได้มี
ความสุข ความรื่นเริง และร�าลึกถึงวิถีชีวิตที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์



18 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน จัดงานพระราชทานความสุขให้กับ
ประชาชน และเผยแพร่ความงดงามของความเป็นไทยในรูปแบบต่าง ๆ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์
ผู้เป็นที่รักเคารพยิ่งของปวงชนชาวไทย ภายใต้ชื่องานว่า “อุ่นไอรัก
คลายความหนาว” จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ - 11 มีนาคม
2561 ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า
กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับ

พระมหากรุณาธิคุณ เป็นส่วนหนึ่งร่วมออกบูธโดยจ�าลองอาคาร
กรมประชาสัมพันธ์แบบย้อนยุคมาจากอาคารห้างแบดแมนแอนด์
คัมปนี ซึ่งเป็นอาคารหลังแรกของกรมประชาสัมพันธ์ สร้างขึ้นใน
ยุคแรกบนถนนราชด�าเนิน ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ภายในจัดแสดงนิทรรศการ

พร้อมมุมถ่ายภาพที่ระลึกเกี่ยวกับ ห้องผู้ประกาศวิทยุกระจายเสียง
ในอดีต ฉายรายการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ของช่อง 4 บางขุนพรหม
และภาพวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์สมัยครูเอื้อ สุนทรสนาน
กรมประชาสัมพันธ์ ยังมีภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้านการ
ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ถ่ายทอดสด ถ่ายทอดเสียง
บันทึกเทปการแสดง จัดและดูแลเจ้าหน้าที่จิตอาสาด้านการ

ประชาสัมพันธ์จากส�านักพระราชวัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และกรมประชาสัมพันธ์
เพื่อให้บริการในเรื่องของข้อมูลสื่อมวลชนและอ�านวยความสะดวก
ในการตอบข้อซักถามประชาชนที่เข้ามาร่วมงาน ร่วมประชุมกับ
กองอ�านวยการร่วมทุกวัน เพื่อสรุปสถานการณ์ประจ�าวัน และหา

แนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จัดเจ้าหน้าที่
ประจ�ากองอ�านวยการประชาสัมพันธ์ เพื่อท�าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุ
กระจายเสียง สื่อบุคคล และสื่อออนไลน์ อาทิ สปอตประชาสัมพันธ์
อินโฟกราฟิค คลิปวีดิโอ แถลงข่าว ข่าวแจก บันทึกภาพนิ่ง บันทึก
ภาพเคลื่อนไหว ตู้ ATM จอ LED และตราสัญลักษณ์ ตั้งโต๊ะผู้ประกาศ

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศ และประการส�าคัญเป็นการบูรณาการ
ร่วมกับส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ในการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ต�ารวจ
ให้เป็นนักประชาสัมพันธ์ ที่จะชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจได้ อย่าง
ง่าย ๆ และมีความประทับใจการจัดงานครั้งนี้ สื่อมวลชนให้ความสนใจ

มาน�าเสนอการจัดงานในรูปแบบต่าง ๆ หลากหลายทั้งสื่อวิทยุโทรทัศน์
สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ และท�าให้ประชาชนมาเที่ยวงาน
เพิ่มมากขึ้นทุกวัน



PRD MAGAZINE | 19

ประชาชนที่มาเที่ยวงานต่างมีความประทับใจ มีความสุข
มีรอยยิ้ม มีมิตรไมตรีอันงดงาม และต่างพร้อมใจกันแต่งกายย้อนยุค

มาร่วมงาน สัมผัสถึงวิถีชีวิตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทยและ
ประชาชนชาวไทยทั้งมวล และพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงงานมาตลอดระยะเวลา
70 ปี แห่งการครองราชย์ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
พระราชกรณียกิจนานัปการของล้นเกล้าล้นกระหม่อม รัชกาลที่ 5

และรัชกาลที่ 9 สะท้อนให้เห็นถึงความรักความผูกพันอันแนบแน่น
ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์
ชาติไทย กุศโลบายการพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมนานา
อารยประเทศ โดยผ่านนิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่ของ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่ล้นเกล้าล้นกระหม่อม รัชกาลที่ 5 ทรงก่อตั้งขึ้น เช่น

การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า การประปา การไปรษณีย์ไทย
และธนาคารสยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน
นับเป็นน�้าพระราชหฤทัยอันงดงามของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และเป็นกุศโลบายที่จะให้คนไทยได้เผื่อแผ่ รู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ผ่านการจับจ่ายซื้อสินค้าจากร้านค้าต่าง ๆ มากมายที่มาร่วมจัดงาน
และรายได้จากการจัดงานโดยไม่หักค่าใช้จ่าย ทรงน�าไปใช้ในการ

พระราชกุศลบ�าบัดทุกข์ บ�ารุงสุข เพื่อช่วยเหลือประชาชนราษฎร์
ผู้ด้อยโอกาส ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติและเหตุการณ์ต่าง ๆ
ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ภายใต้กิจกรรมในโครงการพระราชด�าริ

“จิตอาสา เราท�าความดี ด้วยหัวใจ” n

































20 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

PRD Featured <<

สัมภาษณ์พิเศษ
โดยทีมงานวารสาร
PRD MAGAZINE























กอบศักดิ์ ภูตระกูล



รัฐมนตรีประจ�ส�นักนายกรัฐมนตรี



ศตวรรษใหม่ของกรมประชาสัมพันธ์





ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกยุคใหม่ เป็นโลกของ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เป็นกรรมการ

เทคโนโลยี เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ในคณะกรรมการจัดท�ายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้าง
ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นใคร หรือหน่วยงานใด ถ้าไม่มี ความสามารถในการแข่งขัน มีผลงานทางวิชาการ
การเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันจะกลายเป็นตกยุคทันที จ�านวนมากที่ก่อให้เกิดการศึกษาวิจัย ที่มีประเด็นสืบเนื่อง
กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานของรัฐ มีภารกิจในการ ต่อมาอย่างกว้างขวาง
เผยแพร่ หรือส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้อง การมาดูแลกรมประชาสัมพันธ์ของท่านรัฐมนตรีนั้น

ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง จ�าเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยน มิใช่เรื่องใหม่ส�าหรับท่าน เพราะท่านเติบโตและสนใจ
ให้ทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น ข่าวสารของกรมประชาสัมพันธ์มาตั้งแต่เด็ก ผูกพันและ
วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ฉบับเดือนมีนาคม ยังจดจ�าได้แม้กระทั่งเสียงของผู้ประกาศข่าวบางคนของ
มีโอกาสสัมภาษณ์ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และท่านกล่าวว่า “กรมประชาสัมพันธ์

ประจ�าส�านักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ก�ากับดูแลกรม คือเครื่องมือสื่อสารที่ดีที่สุดของรัฐบาลและของ
ประชาสัมพันธ์โดยตรง ถึงก้าวใหม่ของกรมประชาสัมพันธ์ ประเทศไทย ด้วยมีโครงข่ายที่ไปถึงพี่น้องประชาชน
กล่าวถึงท่านรัฐมนตรีฯ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นั้น ในทุกหย่อมหญ้า เป็นที่พึ่งพาของประชาชนอย่าง
ท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ ที่เคยได้รับรางวัลป๋วย แท้จริง...”

อึ๊งภากรณ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและลุ่มลึก และนี่คือบทสัมภาษณ์พิเศษ ที่น่าสนใจเป็น
ทางด้านการเงินและตลาดทุน เป็นกรรมการในคณะ อย่างยิ่ง


PRD MAGAZINE | 21

“...ได้รับมอบหมายจากท่านนายกให้มาก�ากับดูแล เพื่อเตรียมการศตวรรษใหม่ของกรมประชาสัมพันธ์
กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 3,000 ชีวิต จะมีหลากหลายเรื่อง

ที่ท�างานร่วมกัน สื่อสารมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลออกไป เรื่องแรกก็คือ การเตรียมการก้าวไปสู่เทคโนโลยี
สู่พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ผมคิดว่าสิ่งที่เราต้อง สมัยใหม่ ท่านนายกฯ ชอบพูดไทยแลนด์ 4.0 เราก็
เตรียมการในปีข้างหน้าคือ เราจะก้าวสู่ศตวรรษใหม่ของ ต้องเป็นกรมประชาสัมพันธ์ 4.0 ด้วยเช่นกัน ซึ่งกรม
กรมประชาสัมพันธ์อย่างไรดี เพราะว่าในอนาคตเทคโนโลยี ประชาสัมพันธ์ 4.0 ก็หมายถึงการประชาสัมพันธ์ช่องทาง

ได้มีการปรับเปลี่ยนใหม่อย่างรวดเร็ว หมายถึงการสื่อสาร ใหม่ ๆ ในการสื่อสารกับประชาชน เขาอยู่ที่ไหนเราต้อง
ของเราก็มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามไปที่นั่น ในอดีตเราจะพึ่งพาเรื่องของเทคโนโลยี ทีวี
ในขณะเดียวกัน พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ วิทยุเป็นหลัก แต่ในวันนี้ไม่ใช่แล้ว ประชาชนเขาไม่อยาก
ทั่วประเทศ จะท�าอย่างไรให้เข้าถึงตัวเขาได้ เพื่อน�าพา จะเอา Part Time แล้ว แต่เป็น My Time เวลา

มาตรการต่าง ๆ ไปเล่าให้เขาฟังได้ ในจุดนี้ท่านนายก เป็นของเขา ก็คือว่าเขาอยากจะฟังในเวลาที่เขาอยากฟัง
มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่ต้องการใหัเราเป็นกระบอกเสียง อยากดูในเวลาที่เขาอยากดู ปัญหาของเราคือต้องตามหาเขา
ของรัฐบาลออกไปสู่พี่น้องประชาชนอย่างแพร่หลาย ให้เจอ ถ้าเขาหลบอยู่ในไลน์ เราก็ต้องตามไปที่ Line หาก
เพราะท่านมีความรู้สึกว่าเรายังไม่สามารถสื่อไปหาพี่น้อง เขาหลบอยู่ใน Facebook เราก็ต้องตามไปใน Facebook

ประชาชนได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันพี่น้องประชาชน หรือถ้าเขาไปอยู่ในพื้นที่ที่เป็น Social Media ต่าง ๆ เราก็
เมื่อรับทราบมาตรการที่ท�าแล้ว เขาก็คงเข้ามารับบริการ ต้องตามเขาไปให้ได้ ซึ่งก็หมายความว่ากรมประชาสัมพันธ์
โครงการดี ๆ ของรัฐบาลที่เตรียมไว้ให้ อย่างเช่น กองทุน ของเรานั้น ก็ต้องมีการด�าเนินการที่จะก้าวไปสู่ Media
ยุติธรรม หลายคนไม่ทราบว่ามีโครงการนี้ เวลาถูกจับไป ใหม่ ๆ ช่องทางใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยไปมาก่อน ซึ่งผมว่า

ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาที่พึ่งที่ไหน มันเป็นหน้าที่ของเราทุกคน เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่น่าจะตื่นเต้นที่สุดในการท�างาน
ในฐานะเป็นผู้สื่อสารคนกลางต่อพี่น้องประชาชนที่จะ ของเราทุกคน เพราะว่าเวลามีพื้นที่ใหม่เกิดขึ้น คนที่
ขยายในเรื่องนี้ต่อไป ส�าหรับผม ผมคิดว่าสิ่งที่อยากให้ ออกไปเป็นผู้ส�ารวจ หาแนวทางใหม่ก็จะตื่นตาตื่นใจ
กรมประชาสัมพันธ์ด�าเนินการต่อไปในช่วงปีข้างหน้า ซึ่งเรื่องนี้ผมก็เห็นเจ้าหน้าที่ของเรา รวมถึงท่านอธิบดี



































22 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์



อย่างในช่วงวันเด็กท่านนายกฯ ก็พูดถึง

เรื่องของการจัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อเด็กขึ้นมา
ในอนาคต อาจจะมีสถานีวิทยุเพื่อผู้สูงอายุ

ซึ่งเป็นสถานีวิทยุเฉพาะทางที่เราจะจัดขึ้นมาได้





แล้วอีกเรื่องหนึ่งที่ส�าคัญ นั่นคือ ล้นเกล้า

รัชกาลที่ 10 มีพระราชด�ารัสเรื่องของการเน้นอัตลักษณ์
ของความเป็นไทย ซึ่งเราก็สามารถท�าเนื้อหาต่าง ๆ
เหล่านี้ได้ เช่น ท่านนายกฯ อาจจะไปลงพื้นที่ต่าง ๆ
แม่ฮ่องสอน กาฬสินธุ์ พัทลุง ศรีสะเกษ ทุกพื้นที่มี

อัตลักษณ์ และความเป็นจุดเด่นของเขา ในฐานะที่เรา
เป็นสื่อที่ส�าคัญของรัฐบาล จะต้องเอาอัตลักษณ์เหล่านี้
มาท�าให้พี่น้องประชาชนภาคภูมิใจ ว่านี่คือความเป็นไทย
ของเรา ล่าสุดล้นเกล้ารัชกาลที่ 10 ได้ทรงมีพระราชด�าริ
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 10 มีพระราชด�รัสเรื่องของ ให้มีการจัดงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ทั้งนี้
การเน้นอัตลักษณ์ของความเป็นไทย ก็เป็นการใส่โจงกระเบนครั้งแรก ซึ่งผมก็มีความ

ภาคภูมิใจมาก ถือว่าความเป็นไทยของเรามีความประณีต
ก็ได้เริ่มด�าเนินการที่จัดให้มีทีมงานหนุ่มสาวไปด�าเนินการ สวยงาม และก็มีวัฒนธรรมที่ยาวไกล เราจะมีงานอีก
ในเรื่อง Social Media แล้ว หลายงานที่เกิดขึ้นในปีนี้ เช่น งานบรมราชาภิเษก

อีกเรื่องคือ ก�าลังคิดถึงโครงการต่าง ๆ ที่ส�าคัญ ซึ่งงานนี้จะเป็นอีกงานหนึ่งของประเทศไทยที่พวกเรา
ต่อไป เช่นโครงการเรื่องของการเปิดวิทยุหรือทีวีเฉพาะทาง ภาคภูมิใจ เช่นเดียวกับปีที่แล้วที่เราท�าเรื่องพระเมรุมาศ
ในบางเรื่อง อย่างในช่วงวันเด็กท่านนายกฯ ก็พูดถึง ให้เป็นที่จดจ�าไม่รู้ลืมของคนไทย

เรื่องของการจัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อเด็กขึ้นมาในอนาคต และท้ายที่สุดนี้ สิ่งที่อยากจะฝากทุกคนว่า
อาจจะมีสถานีวิทยุเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุเฉพาะ เราไม่สามารถไปสู่ถิ่นฐานเดิมในเรื่องท้องถิ่นได้ แต่ว่าเรา
ทางที่เราจะจัดขึ้นมาได้ และในอนาคตสื่อสมัยใหม่ ควรจะต้องเอากรมประชาสัมพันธ์ของเรา วิทยุกระจายเสียง
ไม่จ�าเป็นต้องมีช่อง ไม่ต้องมี Channel แต่เราสามารถ ของเรา เข้าไปใกล้พี่น้องประชาชน วิทยุชุมชน วิทยุ

ท�าเป็นสื่อออนไลน์ได้ เราจะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ออกไป ท้องถิ่น แล้วก็ท�าให้ทุกอย่างเป็นโครงข่ายเดียวกัน เพื่อ
ซึ่งพอพวกเราท�า application เช่น Radio Thailand ตอบโจทย์ของพี่น้องประชาชนทั่วไป โดยการหาเนื้อหาดี ๆ

ที่เป็น Application ก็จะสามารถวางโปรแกรมสื่อต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาให้ดีขึ้นในทุกด้าน...” n
ได้อย่างดียิ่ง อันนี้คือสิ่งที่เราอยากจะท�าให้กลายเป็น

สถานีเฉพาะทางที่มุ่งเน้นเนื้อหาที่สอดรับกับแต่ละคน ชมคลิปสัมภาษณ์
ผ่าน QR Code นี้



PRD MAGAZINE | 23

>> Do U Know รู้แล้วบอกต่อ

พันเอก เทวัญ ตันกุล












PRD 4.0



PRD 4.0 PRD 4.0





AI “ปฐมบท”







80 ขวบปี ของการจัดตั้ง “กรมประชาสัมพันธ์” มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย
สอดคล้องกับพลวัตของโลก

40 ปีที่ผ่านมา บัตร ATM คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ ยังเป็นสิ่งใหม่ในสังคมไทย
20 ปีล่าสุด คนไทยคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต แต่อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยี
สารสนเทศ (ICT) ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ และบางคนเริ่มก้าวตามไม่ทัน จนถูกทอดทิ้งไว้
ข้างหลัง และถูกซ�้าเติมด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ตามมา

ปัจจุบัน โลกก้าวสู่ “ศตวรรษที่ 21” ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นโครงสร้างหลักของ
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอื่น ๆ ทั้ง IOT (Internet of things) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence : AI) และหุ่นยนต์ ไม่เว้นแต่ในวงการสื่อสารมวลชน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน


วิวัฒนาการของสื่อในกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) นับตั้งแต่ เริ่มก่อตั้ง

เมื่อ 3 พฤษภาคม 2476
On ground เป็นวิธีการเผยแพร่ข่าวสารพื้นฐาน ผ่านการจัดกิจกรรม สื่อสิ่งพิมพ์
เอกสารแจก แผ่นพับ ยังใช้ได้ผลดีในยุคแรก ๆ ของ กปส. ที่ยังเป็นเพียง “กองโฆษณาการ”

ที่เน้นการบอกให้เชื่อตาม หรือชี้น�าด้วยการโฆษณา
On air เป็นก้าวย่างของการเปลี่ยนแปลง เมื่อ กปส. ได้รับโอน “กิจการด้านช่างและ
ทะเบียนวิทยุ” จากกรมไปรษณีย์โทรเลข และด้วยจ�านวนประชากรของชาติที่มากขึ้น สังคม
ที่ซับซ้อนมากขึ้น จึงเริ่มมีการแบ่งเขตงานโฆษณา เพื่อการเข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ในพื้นที่ ๆ ต้องให้ความส�าคัญก่อน โดยกิจกรรม on ground ก็ขยายวงกว้างไปสู่กลุ่มเป้าหมาย
ที่เป็นบุคคลและองค์กรต่างประเทศ ทั้งนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และนักการทูต




24 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

On ground + on air ยังเป็นกิจกรรมหลักของ กปส. เพียงแต่รูปแบบ หรือปรัชญา
ในการท�างาน เปลี่ยนจาก “การโฆษณา” เป็น “การประชาสัมพันธ์” เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี

หลังการจัดตั้ง กปส. เพราะการชี้น�าเหมือนในยุคที่มีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ ไม่เป็นที่ยอมรับ
อีกต่อไป ค�าว่า “ประชาสัมพันธ์” จึงเหมาะสมกว่า ส�าหรับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทั้งใน
มิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นโยบายสาธารณะ กฎหมาย ไปจนถึงความรู้ ความบันเทิง
On air > on ground งานวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ เริ่มมีบทบาทมากขึ้น

โดยล�าดับ เนื่องจากเป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง ลักษณะ
Mass media - Mass communication ซึ่งจ�าเป็นต้องมีการบริหารจัดการในเรื่องพื้นที่
ให้บริการ แบ่งประเทศออกเป็นเขตต่าง ๆ มีการตั้งส�านักงานในต่างประเทศ และมีการจัดตั้ง
“โรงเรียนการประชาสัมพันธ์” เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรด้านประชาสัมพันธ์

ให้มีศักยภาพ และเป็นต้นแบบให้กับสื่อมวลชนอื่น ๆ ในประเทศ
Online เป็นเทคนิคล่าสุดในงานประชาสัมพันธ์ มาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ICT) ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของประชาชน
เปลี่ยน โดยหันมาใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ ในการสื่อสารกันทั้งโลก และ “สื่อกระแสหลัก”

ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ ยังสามารถปรับตัวได้ทัน พากันปรับตัวมาออกอากาศผ่านอินเทอร์เน็ตบ้าง
เพื่อไม่ให้ตกยุค
Social media เป็นยิ่งกว่า online เนื่องจากอินเทอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์
ย้ายลงมาบนมือถือ Smartphone ท�าให้ทุกคนเป็น “ผู้สื่อข่าว - ผู้รายงานข่าว” ได้ด้วยตัวเอง

ไม่มีข้อจ�ากัดเรื่องเวลาและสถานที่ แต่มี “จุดอ่อน” คือ ไม่มีกองบรรณาธิการตรวจสอบข่าวสาร
เหมือนสื่อกระแสหลัก ส่วน “จุดแข็ง” นั้น นอกจากจะสื่อราคาถูกหรือฟรีแล้ว ยังถูกผลิตซ�้า
ส่งต่อ ในปริมาณมาก ๆ และใช้เวลาเพียงอึดใจ อย่างไม่มีพรมแดนกีดกั้นข่าวสารได้เลย


PRD 4.0 คืออะไร? คือการยกระดับ กปส. ให้สอดคล้องกับกระแส

การเปลี่ยนแปลงของโลก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายได้ โดย
ไม่มุ่งหวังการแข่งขันเชิงพาณิชย์ แต่เน้นในเรื่อง “ความน่าเชื่อถือ”
PRD 4.0 ตอบโจทย์สังคมไทย ยุค “ประเทศไทย 4.0” อย่างไร? หาก

เปรียบ กปส. เป็นคอมพิวเตอร์ ย่อมต้องการการ upgrade ทั้งระบบ เพื่อ
(1) รองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง (2) ตอบสนองความต้องการ
ของผู้บริโภคที่พฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลง
(3) ยกระดับการให้บริการข้อมูลข่าวสารสาธารณะประโยชน์ ให้สะดวก

ง่าย และทั่วถึง โดยต้องด�าเนินการใน 4 มิติ คือ...














PRD MAGAZINE | 25

Hardware คือ การปรับปรุงโครงสร้าง กปส. ให้สามารถด�าเนินการงานประชาสัมพันธ์
ได้ครอบคลุมทั้ง on ground + on air + online + social media โดยมีการแบ่งเขต

รับผิดชอบให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี และการปฏิรูป
ประเทศ เช่น เขตพัฒนาเศรษฐกิจ 10 แห่ง ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) พื้นที่
ความมั่นคงตามแนวชายแดน หรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงยกระดับ “ฐานข้อมูล/ฐานข่าว”
(Database) ให้สามารถใช้งานร่วมกันของทั้งสื่อได้อย่างบูรณาการ เป็น Data Center

ยิ่งกว่านั้นต้องก้าวไปสู่เทคโนโลยี Big Data ที่มีการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร รองรับการ
วิเคราะห์เชิงลึก (Systematic Analysis) โดย Data Scientist
Software คือ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็น
อุปสรรคต่อการ Upgrade กปส. หรือการบริหารจัดการต่าง ๆ เช่น การโฆษณา ที่มาเงินรายได้

การท�า MOU กับหน่วยงานราชการ รวมถึงการท�างานในกรอบ “กปช.” (คณะกรรมการ
ประชาสัมพันธ์แห่งชาติ) เป็นต้น
Peopleware คือ การสร้างหลักคิดและอุดมการณ์ในการท�างานเพื่อส่วนรวม
การปรับปรุงหลักสูตรการอบรมที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีของสื่อ การสร้างระบบบริหาร

ทรัพยากรบุคคลเชิงรุก เช่น การชักชวน การฝึกงาน การเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษา ให้
กปส. อยู่ในฐานะ “ผู้เลือก” ไม่ใช่ “ผู้ถูกเลือก” ทั้งนี้ ข้าราชการ กปส. ก็ต้องปรับตัว
ไปสู่ “ข้าราชการ 4.0” โดย “1.0” สามารถเพียงให้บริการ “2.0” สามารถท�างานและถ่ายทอด
ประสบการณ์ สอนงานต่อได้ “3.0” แสวงหาความรู้เพิ่มพูนและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และ

“4.0” ต้องสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอก สร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการท�างาน
และสร้างกลไก “ประชารัฐ” ในพื้นที่รับผิดชอบของตนและหน่วยงานได้
Operating System (OS) คือ การจัดระบบการท�างานให้ประสานสอดคล้อง
(Synchronization) และบูรณาการ (Integration) ระหว่างสื่อต่าง ๆ (Cross Media) และ

แบ่งกลุ่มหน่วยงาน (Regroup) ใหม่ให้เป็นระบบ เช่น กลุ่มสื่อหลัก (สนข./สวท./สทท.)
กลุ่มสื่อรอง (สพป./สปต.) กลุ่มสนับสนุน (ศสช./กคล./กกจ.) เป็นต้น โดยน�าเทคโนโลยี
นวัตกรรมสมัยใหม่ ๆ เข้ามาในการท�างาน ทั้งระบบเอกสาร - สื่อสาร - ประสานงาน -
บังคับบัญชา - ฐานข้อมูลกลาง เป็นต้น



ดังนั้น การปรับตัว ยกระดับ เพิ่มศักยภาพของ กปส. เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
สิ่งส�าคัญคือท�าอย่างไร และต้องมองไปข้างหน้า เพราะเราไม่ต้องการ
พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาในอดีต หรือปัจจุบันเท่านั้น แต่การพัฒนาจะ

ต้องรองรับบริบทแห่งอนาคต ซึ่งต้องอาศัย “วิสัยทัศน์”

และกระบวนการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ n











26 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

Do U Know รู้แล้วบอกต่อ <<

เรื่อง แสนไชย เค้าภูไทย
ภาพ ฐานริศร์ สมิตานนท์
วัน นักข่าว...








































วันที่ 5 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น วันนักข่าว หรือ กล่าวส�าหรับวันนี้ เมื่อเป็นวันนักข่าว

วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ วันส�าคัญในสาขาของสื่อมวลชน จัดตั้ง ส�าคัญที่สุดของวันนี้ ก็คือนักข่าว ผู้ท�าหน้าที่
ขึ้นมาเพื่อเป็นการแสดงถึงความส�าคัญของนักข่าวที่มีต่อวงการข่าวสาร เขียนข่าวและรายงานข่าว ซึ่งในปัจจุบันนี้
ในบ้านเรา ก�าเนิดวันนักข่าวนั้น ต้องย้อนหลังกลับไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ข่าวสารข้อมูลเป็นสิ่งจ�าเป็นส�าหรับชีวิต

พ.ศ.2498 มีนักข่าวรุ่นบุกเบิก เช่น เท่ห์ จงคดีกิจ, ประจวบ อัมพะเสวต, เนื้อหาของข่าวจึงมีความส�าคัญ และแน่นอน
โชติ มณีน้อย, วิเชียร โรจนวงศานนท์ และผองเพื่อนรวมเป็น 15 คน ว่า นักข่าว ผู้ท�าหน้าที่ส่งผ่านข่าวสารข้อมูล
ร่วมกันก่อตั้ง “สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย” ขึ้น ซึ่งปัจจุบันคือ ไปถึงประชาชนหรือผู้รับข่าวย่อมมีความส�าคัญ
“สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะมีอภิสิทธิ์พิเศษ

สื่อสารมวลชนของไทย เริ่มต้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จ ในการเขียนข่าว และเรื่องราวต่างๆ ผ่าน
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งขณะนั้นเมืองไทยยังใช้กฎหมาย สื่อสารมวลชน กระทั่งมีผู้เรียกนักข่าว หรือ
เดิมของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นหมอบรัดเลย์ ได้เข้ามาในประเทศไทยพร้อม

คณะมิชชันนารี และได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2336
ชื่อ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ส โดยหมอบรัดเลย์เป็นบรรณาธิการ ซึ่งก็คือ
นักข่าวคนแรกในประเทศไทยนั่นเอง





PRD MAGAZINE | 27




พวกเราไม่ใช่พระเจ้า

ไม่ใช่ผู้พิพากษา

อย่าได้เที่ยวไปตัดสิน

ว่าใครผิดใครถูก

จะเขียนข่าวพาดหัวข่าว

ให้ดูข้อเท็จจริงของเนื้อข่าว







นักหนังสือพิมพ์ว่า ฐานันดร 4 เพราะมีสถานะ เป็นบรรณาธิการบริหาร คุณแสงไทย เค้าภูไทย พี่ชายผมเป็นหัวหน้า

แตกต่างจากบุคคลธรรมดา มีสิทธิพิเศษ ได้รับ ข่าวเศรษฐกิจ ผมในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่งที่ถูกฝึกมากับมือก็ต้องมา
ฉันทาอาณัติ ให้ท�าหน้าที่แทนประชาชน ช่วยพี่ชาย ช่วงนั้นสยามรัฐยังเป็นหนังสือฉบับเย็นฉบับเดียวของ
นักข่าวจะได้รับความเชื่อถือเชื่อมั่น ประเทศไทย

จากคนทั่วไป ถึงบทบาทและหน้าที่ กระทั่งได้รับ ยุคนั้น ”อาจารย์หม่อม” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านวางมือ
ค�าเปรียบเปรยว่า นักข่าวคือกระจกเงาที่ส่อง จากการบริหาร ท่านเขียนแต่คอลัมน์ แต่เวลามีประชุมที่รัฐสภาท่านก็
สะท้อน คือตะเกียงส่องทางให้แสงสว่าง กระทั่ง จะหาเวลามารับประทานข้าวเที่ยงที่จัดเลี้ยงกันบนกองบรรณาธิการ
เป็นยามเฝ้าบ้าน แต่ไม่ว่าจะความหมายใด เป็นวัฒนธรรมองค์กรของสยามรัฐที่ผมไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน
หน้าที่หลักของนักข่าวก็คือ เป็นปากเสียง รักษา วันไหนที่ “อาจารย์หม่อม” มาร่วมวงก็คึกคักหน่อย ท่านจะนั่ง

ผลประโยชน์ของประชาชน น�าเสนอความจริง ร่วมโต๊ะกับรุ่นใหญ่ พวกเรารุ่นเล็กนั่งอีกโต๊ะ ผมเองเป็นเด็กใหม่ มื้อแรก
ซื่อตรงต่อวิชาชีพ และจรรยาบรรณของตนเอง ที่ได้รับประทานข้าวเที่ยงที่มี “อาจารย์หม่อม” เป็นประธานก็เกร็ง ๆ
วันนักข่าวปีนี้ จะขอย้อนกลับไปดู ระหว่างในวงข้าว “อาจารย์หม่อม” จะคุยกับพวกรุ่นใหญ่

บทบาท และจิตวิญญาณของนักข่าวในอดีต ทุกเรื่อง บางเรื่องก็เป็นประเด็นข่าวการเมืองที่สามารถจะเก็บไปเขียน
ถึงการท�างานและหลักคิด ความรับผิดชอบ เป็นข่าวเป็นบทความได้ ผมเองพยายามตะแคงหูฟังแต่ไม่ถนัดเท่าไหร่
ต่อจรรยาบรรณ และหน้าที่ ผ่านการบอกเล่า หลังจากมื้อแรกที่ฟังไม่ถนัด ทุกเที่ยงผมก็ขยับที่นั่งให้ใกล้
ของนักข่าวผู้อยู่ในวงการข่าวมานานอย่าง เข้าไปอีก เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่ “อาจารย์หม่อม” จะมาร่วมทานข้าวกับ
แสนไชย เค้าภูไทย... พวกเราอีก หวังจะเป็นลูกศิษย์แบบครูพักลักจ�า ซึ่งก็สมหวัง เพราะ

เมื่อครั้งที่ผมยังเป็นนักข่าวเด็ก ๆ ทุกครั้งที่ ท่านมาทานข้าวที่กองบรรณาธิการ ท่านมักจะทิ้งประเด็นข่าว
เกิดในช่วงปลายปี 2525 ถึงต้นปี 2529 ให้พวกเราได้เก็บไปตามต่อ
ตอนนั้นผมย้ายกลับมาท�าข่าวเศรษฐกิจ หนหนึ่งท่านพูดถึงการพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง

หลังจากที่ไปท�าข่าวกีฬากับหนังสือพิมพ์ ท่านบอกกับพวกพี่ ๆ ว่า “พวกเราไม่ใช่พระเจ้า ไม่ใช่ผู้พิพากษา
แนวหน้า 3 ปีกว่า ตอนนั้นสยามรัฐเปิดหน้า อย่าได้เที่ยวไปตัดสินว่าใครผิดใครถูก จะเขียนข่าวพาดหัวข่าวให้ดู
เศรษฐกิจรายวันฉบับแรก คุณสมบัติ ภู่กาญจน์ ข้อเท็จจริงของเนื้อข่าว”



28 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

ผมถือว่าผมเป็น “ครูของสังคม” ตามที่
“อาจารย์หม่อม” สอนมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่ง

เรื่องนี้ผมได้รู้ว่า ไม่เฉพาะแต่ “อาจารย์หม่อม”
เท่านั้น นักข่าวในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์
เขาก็ยึดความถูกต้องในการน�าเสนอข่าว
ผมได้รู้เรื่องนี้จาก “ป้ากรรณิการ์” ผมจ�าไม่ได้

ว่าท่านนามสกุลอะไร เรียกแต่ “ป้ากรรณ”
มาตลอด ท่านท�าข่าวสายเศรษฐกิจ
หนหนึ่งมีข่าวลือเรื่องการลดค่าเงินบาท
เราก็ตามข่าวกับท่านนุกูล ประจวบเหมาะ

ที่เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
กับท่านสมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลัง ได้ประเด็นว่า ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ
ไม่เห็นด้วย ขัดกับท่านสมหมาย “ป้ากรรณ”

บอกว่า ข่าวแบบนี้ กรมประชาสัมพันธ์
ฟังแล้วผมก็จ�าและน�ามาใช้กับการท�างานตั้งแต่ครั้งเป็น เผยแพร่ไม่ได้ เพราะไม่สามารถยืนยัน
นักข่าวจนโตขึ้นเป็นบรรณาธิการข่าว ระหว่างทางผมก็เอาหลักการของ ข้อเท็จจริงได้ ต้องรอให้กระทรวงการคลัง

“อาจารย์หม่อม” มาถ่ายทอดให้กับทีมงาน หรือธนาคารแห่งประเทศไทยแถลง
อีกหนที่จ�ามาจนแก่ใกล้ตาย เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง นี่คือความแตกต่างระหว่างสื่อภาค
“อาจารย์หม่อม” อยากจะเลี้ยงข้าวพี่เกษม อัชฌาสัย ผมจ�าไม่ได้ว่า เอกชนกับสื่อราชการ ซึ่งผมก็ว่าดีนะ และ
ท่านเอาเหตุอะไรมาอ้าง หรือว่าท่านอยากจะทานอาหารอินเดียก็ไม่รู้ อยากจะให้มีการขยายให้ครอบคลุมถึงสื่อ
จ�าได้แต่ว่าท่านนัดให้พวกเราไปทานมื้อเที่ยงที่บ้าน เมนูเป็นอาหารอินเดีย ออนไลน์ทั้งหมด เพราะทุกวันนี้ความรวดเร็วที่

โต๊ะจัดเลี้ยงเป็นโต๊ะยาว เลี้ยงกันที่ศาลาทรงไทยที่ท่านใช้รับแขก ขาดการกลั่นกรอง ท�าให้สื่อออนไลน์กลายเป็น
ตอนนั้นแม้จะขยับขึ้นเป็นผู้ช่วยหัวหน้าข่าว อยู่ในเกณฑ์ที่ได้เข้าร่วม สนามข่าวลือที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวงกว้าง
ทานข้าวด้วย แต่ผมก็ยังอ่อนอาวุโสกว่าทุกท่าน ผมก็เลยเก้ ๆ กัง ๆ เข้าร่วมโต๊ะ สร้างความเสียหายให้กับบุคคลที่โดนกล่าวถึง
ทีหลัง พวกพี่ ๆ เข้านั่งก่อน เหลือที่นั่งเดียวตรงหน้า “อาจารย์หม่อม” ยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสารล้นทะลัก

ท่านก็ชี้ให้นั่งตรงนั้น ท่านบอกว่า “จะยืนหัวโด่ไปท�าไม” เข้าไปถึงทุกซอกทุกมุม เป็นยุคนิยมของข่าวลือ
ระหว่างทานข้าวท่านก็คุยนั่นคุยนี่ไปเรื่อย ๆ ช่วงหนึ่งคุยกัน ข่าวเท็จ นักข่าวดี ๆ มีแนวโน้มเอียงที่จะเสนอ
ถึงเรื่องศิวนาฏราชที่เป็นแผ่นไม้แกะสลักขนาดใหญ่ประดับในเรือนไทย “ข่าวอะไรก็ได้” เข้าสู่สังคมมากขึ้น โดยยึดเอา
แล้วก็เลยถึงศิวลึงค์ที่ตั้งแท่นนอกอาคาร ช่วงนี้หัวหน้าข่าวท่านหนึ่งได้พูด แนวทางเสรีของการน�าเสนอข่าวในสื่อออนไลน์

เสริมเรื่องที่ท่านเล่า พูดไปได้ไม่กี่ประโยค ท่านก็บอกว่า ที่หัวหน้าข่าว หากหน่วยงานหลักอย่างกรมประชาสัมพันธ์
ท่านนั้นพูดน่ะ ผิด แล้วท่านก็อธิบายให้ใหม่ ก่อนที่จะตบท้ายด้วยบทเรียน ไม่น�าหลักการที่ตนเองปฏิบัติมาครอบเอาไว้
ที่ผมจ�าและใช้ติดตัวทั้งในงานและในการสอนนักข่าวรุ่นหลัง ทุกอย่างก็จะเลยเถิดไม่รู้สิ้นสุด

ท่านบอกว่า “พวกเราเป็นนักข่าว จะเขียนอะไรต้องยึด ไม่แน่ใจว่าตั้งโจทย์ยากเกินไป
ข้อเท็จจริงเป็นหลัก เขียนผิดไปคนอ่านเขาก็จะเชื่อผิดๆ ตามที่ หรือเปล่า? n
เราเขียน จ�าไว้นะว่าเราเป็นครูของสังคม”



PRD MAGAZINE | 29

>> Do U Know รู้แล้วบอกต่อ

ธีระสุภ ลิ้มวงศ์พิพัฒน์



สตรีกับการสื่อสาร







เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2400 วารสารกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะสื่อประชาสัมพันธ์ที่เห็น
เป็นวันที่มีการประท้วงของแรงงานหญิง ณ เมือง คุณค่าของผู้หญิง ผู้หญิงที่เก่ง และท�าอะไรได้มากกว่าที่คิด
ชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้า เพราะในปัจจุบันนี้พวกเธอมีบทบาทและมีพื้นที่ในสื่อ

ได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด อย่างชัดเจนและแทบจะเป็นก�าลังหลักเลยด้วยซ�้า
ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตส�าคัญกว่าชีวิตคน ในขณะที่ประเทศไทย ก�าลัง “ก้าว” เข้าสู่ยุค
ส่วนในประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การ Thailand 4.0 ความหมายและบทบาทของผู้หญิง
สหประชาชาติได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะ ปฏิบัติตามพันธสัญญา ก็มีมากขึ้นตามกันไป แต่ในหลายประเทศในโลกนี้กลับ
ต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความส�าคัญกับบทบาทและสถานภาพ เปิดโอกาสให้ผู้หญิงก้าวไปเป็นผู้น�าในองค์กรได้น้อยกว่าผู้ชาย

สตรีโดยได้มีการด�าเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย ช่องว่างดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�าให้จีดีพีหรือผลิตภัณฑ์
มาตรการและกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริมความ มวลรวมของประเทศเติบโตได้ต�่ากว่าศักยภาพเท่าที่ควร
เสมอภาคหญิงชาย คือ เจตนารมณ์ให้มีความเป็นธรรม อย่างไรก็ดี จากการส�ารวจผู้บริหารทั่วโลก 6.3 หมื่นคน

เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในทุกรูปแบบ จาก 170 ประเทศทั่วโลก แนวโน้มองค์กรต่าง ๆ รับสมัคร
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้ การควบคุมทรัพยากร ผู้หญิงท�างานมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันผู้หญิงก็ต้องเปลี่ยน
เพื่อให้หลุดจากการกีดกันต่าง ๆ ให้สตรีได้มีโอกาส ทัศนคติที่ว่า ต้องเลือกระหว่างท�างานกับครอบครัว ที่ผ่านมา
รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน และแน่นอน ปัญหาของผู้หญิงคือ จะลาออกจากงานเมื่อแต่งงานหรือมีลูก





































30 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

❝ ประเด็นที่ส�คัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณเป็นเพศไหน


แต่คือมุมมองต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง

ให้ดีและใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอย่างเต็มที่ ❞




ซึ่งความเป็นจริงผู้หญิงสามารถเลือกได้ทั้งท�างานไป
และดูแลครอบครัวไปพร้อม ๆ กัน เพราะเป็นยุคที่หลายบริษัท
เปิดโอกาสให้สามารถท�างานได้ทุกที่ทุกเวลา บทบาทของ

การประชาสัมพันธ์เช่นกัน ก็มีผู้หญิงที่ก้าวออกมาเป็นผู้น�า
เช่น คุณจ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ผู้สร้างความส�าเร็จให้กับโชว์ ประเด็นที่ส�าคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณเป็นเพศไหน
ระดับโลกอย่าง Tiffany’s Show และจัดการประกวดสาว แต่คือมุมมองต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีและ
ประเภทสองระดับโลกอย่าง Miss International Queen ใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้นตัวของสื่อ
หรือนางฟ้าฟุตบอล มาดามแป้ง นวลพรรณ ล�่าซ�า เองก็มีบทบาทในการเล่าหรือให้ความส�าคัญกับสตรีเพศ

ประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือ หรือแม้กระทั่งพิธีกร สื่อเองก็ต้องเปลี่ยนมุมมอง เพราะสื่อเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์
รายการทีวี รายการข่าว ผู้หญิงต่างก็มีบทบาทออกมา ถึงบทบาทและจริยธรรมในการเลือกเสนอเนื้อหาอย่างไร
สร้างสรรค์และพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่ระดับที่ดีกว่าได้ ในลักษณะไหน เกี่ยวกับเรื่องของ “สตรี” ซึ่ง “สะท้อน”

ยกตัวอย่างผู้หญิงที่ขึ้นไปสู่ต�าแหน่งของการตัดสินใจอย่าง ถึงทัศนคติ หรือ อคติโดยรวมของสื่อมวลชนต่อเพศหญิง
นางอังเกลา โดโรเทอา แมร์เคิล พรรครัฐบาลซีดียูของ และกลุ่มความหลากหลายทางเพศ สื่อจึงควรเพิ่มความรู้
เยอรมนี ซึ่งจะด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 ความเข้าใจขยายทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องค่านิยมทางเพศ
หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นที่สุดของเธอ ก็คือ การแก้ปัญหา โดยมีสถาบันสื่อและหน่วยงานก�ากับดูแลสื่อ ท�าหน้าที่
เศรษฐกิจในยูโรโซน ที่สามารถท�าให้เศรษฐกิจเยอรมนี ส่งเสริมให้สื่อได้พัฒนามุมมองในประเด็นเพศและแจ้งเตือน

ขยายตัว ได้ถึง 3% และยังสามารถส่งออกสินค้าได้ ผู้ชมในฐานะผู้รับสาร” เพราะนอกจากสื่อจะสนใจประเด็น
เป็นอันดับ 1 ของยุโรป ท�าให้มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น เด็กและผู้หญิงน้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ แล้ว สิ่งที่ปรากฏใน
และท�าให้เยอรมนีเป็นเสาหลักที่ส�าคัญ ในการกอบกู้ สื่อส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องเชิงลบ ขาดการมองเป้าหมายเพี่อ

เศรษฐกิจยุโรป นางแมร์เคิลได้รับเลือกเป็นประธานคณะ น�าไปสู่การเรียนรู้ หรือแก้ไขสิ่งใดได้บ้าง ส่วนในประเด็น
มนตรีแห่งยุโรปในปี 2007 และเป็นผู้น�าหญิงคนที่สอง ของภาพสะท้อนสตรีจากการน�าเสนอของสื่อมวลชน
ต่อจาก มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ที่ได้ด�ารงแหน่งประธาน มักหนักไปทางประเด็นความรุนแรง
กลุ่มประเทศ G8 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุด ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ภาพลักษณ์สตรี
ในโลกอีกด้วย ซึ่งแน่นอนเธอท�าได้ดีกวาผู้ชายหลายคน (และเด็ก) ที่สะท้อนจากการน�าเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชน

จนถึงขั้นที่นิตยสารไทม์ประกาศยกย่องให้นางแมร์เคิลเป็น ก็ยังคงต้องเป็นปัญหาให้ต่อสู้กันต่อไป สตรี เด็ก และเยาวชน
บุคคลแห่งปี ประจ�าปี 2015 และ นิตยสารฟอร์บส์ยังได้ให้ ก็ยังคงตกเป็นเครื่องมือสร้างผลก�าไรให้กับสื่อต่อไปเช่นกัน
นางอังเกลา แมร์เคิล เป็นสตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกถึง ในที่สุดแล้ว “ความรู้เท่าทันสื่อ” น่าจะเป็นทางออก

3 ปีซ้อนอีกด้วย เพราะอะไรเธอถึงท�าได้ เพราะไม่ได้ ที่เป็นความหวัง แต่ควรประกอบสร้างเป็นกระบวนการ
มองที่เพศ แต่มองที่ความสามารถ และอะไรจะน�าเสนอ อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคมที่สามารถช่วย
ความสามารถของเธอออกมาให้โลกรู้ สื่อ ยังไงล่ะ กล่อมเกลา บ่มเพาะให้เกิดมีสติ n



PRD MAGAZINE | 31

>> Do U Know รู้แล้วบอกต่อ

ส�านักงาน กสทช.


“ร่วมใจ เปลี่ยนสู่ดิจิตอลทีวี คมชัด ดูฟรี ดูดีทั่วไทย”



“เครื่องเก่า



เครื่องใหม่



ดูชัด ดูดี



ดูดิจิตอลทีวีได้”
















DIGITAL
TV












ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการรับชมโทรทัศน์น้อยมาก

จากทีวีขาวด�าเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว ต่อมากลายเป็นทีวีสีที่รับชมฟรีทีวีได้ 6 ช่อง คือช่อง 3 5 7 9 11 และไทยพีบีเอส
และมาเป็นทีวีสีในระบบดิจิตอลที่มีจ�านวนช่องมากมายเช่นในปัจจุบัน ซึ่ง “ดิจิตอลทีวี” นั้น คือ การส่งภาพและ
เสียงด้วยสัญญาณดิจิตอลมีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง มีความสมจริงมากขึ้นกว่าทีวีแอนะล็อก
และ เหตุที่ประเทศไทยจ�าเป็นต้อง “เปลี่ยนผ่าน” ระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงของทีวีจากระบบแอนะล็อก

ไปสู่ดิจิตอลทีวีนั้น เนื่องจากหลายประเทศในโลก ก็ได้มีการเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลมาแล้วหลายปี ซึ่งเป็นการ
เปลี่ยนผ่านตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโลก ประเทศไทย จึงต้องเปลี่ยนตามสากล ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่มี
การเปลี่ยนแปลงระบบ ในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์ส�าหรับทีวีแอนะล็อกจะมีราคาสูงกว่าดิจิตอลทีวีก็เป็นได้
เนื่องจากอุปกรณ์การรับชม อะไหล่ เกี่ยวกับทีวีแอนะล็อกนั้นมีน้อยลง หายากขึ้น และราคาแพง และจะมีอุปกรณ์

การรับชมและอะไหล่ที่รองรับดิจิตอลทีวีเพิ่มมากขึ้น




32 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

โดยความเป็นมาของดิจิตอลทีวีในประเทศไทยนั้น
เริ่มขึ้นจากแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการ

โทรทัศน์ พ.ศ. 2555 - 2559 ตามพระราชบัญญัติองค์กร
จัดสรรคลื่นความถี่และก�ากับการประกอบกิจการวิทยุ
กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. 2553 ซึ่งได้ก�าหนดให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่การ

รับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ในระบบดิจิตอลเป็นหนึ่ง
ในยุทธศาสตร์หลักโดยมีตัวชี้วัดที่ส�าคัญ คือ ให้สามารถ
เริ่มการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ในระบบดิจิตอล
ให้ได้ภายใน 4 ปี จากนั้นรัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบาย

ที่เน้นส่งเสริมการใช้คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากร
ของชาติให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยค�านึงถึงผลประโยชน์
ของประชาชนและประเทศชาติ และส่งเสริมการใช้
สื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทั้งภาครัฐ

ภาคประชาชน รวมทั้งการพัฒนาปรับเปลี่ยนระบบ การเปลี่ยนมารับชมดิจิตอลทีวี ซึ่งเป็นฟรีทีวี
การใช้เทคโนโลยี จากระบบแอนะล็อกเป็นระบบดิจิตอล หรือ โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เป็นการ
เมื่อ 23 สิงหาคม 2554 ในการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศ เปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบเก่า
อาเซียน (AMRI) ครั้งที่ 11 เมื่อ 1 มีนาคม 2555 ที่ออกอากาศในระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบใหม่

ได้มีความเห็นร่วมกันให้ใช้ระบบ Digital Video ที่ออกอากาศในระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบ
Broadcasting Terrestrial 2nd generation (DVB-T2) การออกอากาศโทรทัศน์ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
เป็นมาตรฐานโทรทัศน์ระบบดิจิตอล คล้ายกับเมื่อมีการเปลี่ยนจากโทรทัศน์ขาวด�า เป็น
โทรทัศน์สี หรือเปลี่ยนจากโทรศัพท์บ้านที่เป็นระบบหมุน

มาเป็นระบบกดปุ่ม ซึ่งการเปลี่ยนเป็นระบบการออก
อากาศใหม่นี้ เป็นการด�าเนินการตามที่กฎหมายก�าหนด
และสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้วย
ส�าหรับโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล

หรือฟรีทีวีระบบใหม่นี้ จะช่วยให้การใช้ประโยชน์จาก
คลื่นความถี่ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถรองรับจ�านวนช่องที่มากขึ้นได้ คล้ายกับเมื่อก่อน
เรามีถนน 2 เลน รถก็วิ่งได้น้อย พอเราบริหาร จัดการใหม่

เราสามารถขยายถนนได้ 6-8 เลน รองรับจ�านวนรถ
ที่เพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกัน ท�าให้เรามีจ�านวนช่องมากขึ้น
ทั้งยังให้ภาพและเสียงที่มีความคมชัดยิ่งขึ้น หากมีการ
ติดตั้งการรับสัญญาณโทรทัศน์อย่างถูกวิธี ซึ่งก็ไม่ใช่

เรื่องยากเลย ที่ส�าคัญคือมีช่องรายการให้ชมเพิ่มมากขึ้น
และยังเป็นฟรีทีวีเหมือนเดิมด้วย



PRD MAGAZINE | 33

❝ 6. มีเสียงบรรยายภาพ AD (Audio Description)

ปัจจุบันสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ ส�าหรับผู้มีปัญหาทางการมองเห็นหรือผู้พิการทางสายตา
7. รองรับระบบการเตือนภัยพิบัติ อันนี้เป็น
ทั่วประเทศไปแล้วประมาณร้อยละ 95 สิ่งจ�าเป็นมากส�าหรับบ้านเรา
ตามแผน ท�ให้คนไทยเกือบทั่วประเทศ ปัจจุบัน ส�านักงาน กสทช. ได้มีการขยายโครงข่าย
สัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ตามแผนงาน
ในพื้นที่ต่าง ๆ มีโอกาสรับชมรายการ
ที่ได้ก�าหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันสัญญาณครอบคลุมพื้นที่
ที่หลากหลายของช่องดิจิตอลทีวีได้มากขึ้น ทั่วประเทศไปแล้วประมาณร้อยละ 95 ตามแผน ท�าให้

คนไทยเกือบทั่วประเทศในพื้นที่ต่าง ๆ มีโอกาสรับชม
❞ รายการที่หลากหลายของช่องดิจิตอลทีวีได้มากขึ้น

โดยการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก
เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ แบบเดิมจะทยอยยุติลง และเข้าสู่การรับส่งสัญญาณ
มาเป็นระบบดิจิตอลแล้ว ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและ โทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอล อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2563
ประชาชนจะได้รับเพิ่มขึ้น ก็คือ ส�านักงาน กสทช. มีนโยบายสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน

1. จ�านวนช่องเพิ่มมากขึ้น จากเดิมมีเพียง ไปสู่การรับชมดิจิตอลทีวีโดยให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
6 ช่อง คือ 3 5 7 9 11 (NBT) และ ไทยพีบีเอส การรับชมดิจิตอลทีวีได้อย่างทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น
อย่างเช่นปัจจุบันและในอนาคต มีช่องฟรีทีวีให้ประชาชน ซึ่งดิจิตอลทีวีเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการรับชมโทรทัศน์
ได้ดูเพิ่มขึ้นเป็น 48 ช่อง แบ่งเป็นช่องธุรกิจ 24 ช่อง แบบไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน เป็นบริการขั้นพื้นฐาน

ช่องสาธารณะ 12 ช่อง ช่องรายการชุมชนซึ่งออกอากาศ ที่รัฐจัดให้ โดยประชาชนสามารถตรวจสอบสถานี
รายการที่ตอบสนองคนในชุมชน จังหวัด หรือในแต่ละพื้นที่ ส่งสัญญาณฯ ในพื้นที่ของท่านได้ทางเว็บไซต์

อีก 12 ช่อง ซึ่งตอนนี้เรามี ช่องสาธารณะที่ออกอากาศ dtvservicearea.nbtc.go.th n
อยู่ 4 ช่องแล้วคือช่อง ททบ.5 ช่อง NBT ช่องไทยพีบีเอส

และช่องทีวีรัฐสภา
2. ดิจิตอลทีวีจะมีภาพและเสียงที่มีความคมชัด หากมีข้อสงสัยโทรสอบถามฟรี ได้ที่
และละเอียดมากขึ้น ส�นักงาน กสทช. Call center
3. ประชาชนสามารถรับชมฟรีทีวีได้มากขึ้น

เพราะสัญญาณจะครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางขึ้น 1200
4. มีผังรายการอิเล็กทรอนิกส์ EPG (Electronic
Program Guide) ผู้ชมสามารถดูผังรายการล่วงหน้า
ได้ว่าจะมีรายการอะไรบ้าง และยังตั้งเตือนรายการ

ที่เราชอบดูได้ด้วย
5. มีค�าบรรยายแบบปิด CC (Closed
Captioning) ส�าหรับผู้มีปัญหาทางการได้ยิน คล้าย ๆ
กับซับไตเติ้ลภาพยนตร์ (Subtitle) แต่จะบอกรายละเอียด

ของสิ่งที่ปรากฎบนจอได้ละเอียดกว่า





34 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์



>> สรรหามาเล่า

อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
นายปราโมช รัฐวินิจ

หน่วยเคลื่อนที่ กรมประชาสัมพันธ์



(ตอนจบ)

































ครั้งที่สองคราวนี้แจ็คพอตละครับ
ได้จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนเริ่มต้น

เดินทางก็อย่างดีเลยครับบวงสรวงไหว้พระ
ให้คุ้มภัยคุ้มหัวให้อยู่รอดปลอดภัยแล้วก็
อย่างที่คงจะรู้กันในช่วงนั้นจังหวัด
นครศรีธรรมราชเป็นเขตพื้นที่ค่อนข้างรุนแรง ก็มีคนขับกับช่างนั่งอยู่สองคนก็ไม่เป็นอะไรครับ ผมยังบอกว่าโชคดีมาก

มีการปะทะกันมีการต่อสู้กันค่อนข้างเยอะ เพราะเครื่องไฟฟ้ามันหนัก แล้วถ้ามันเหวี่ยงจากข้างหลังมากระเด็น
เลยทีเดียว กรมประชาสัมพันธ์ก็มองว่า ดีว่ามันยึดด้วยน็อตเอาไว้ก็เลยต้องไปนอนรอที่นครศรีธรรมราชแล้ว
เป็นหน้าที่เป็นสิ่งที่เรามีความจ�าเป็นจะต้อง ก็เอารถไปเปลี่ยนหลังจากนั้นแล้วเราก็เข้าพบท่านผู้ว่าฯ เรียบร้อย
เข้าไปท�าความเข้าใจกันให้ได้ก็ส่งลงไป ท่านผู้ว่าฯ ก็ให้แบบแผนในการด�าเนินการแล้วก็เตือนว่าต้องระมัดระวังตัว
อย่าลืมนะครับงานใหญ่ขนาดนั้นไปกัน หูตาต้องไวแล้วท่านก็ก�าหนดคือบางพื้นที่ไม่ควรเข้าเลย เพราะว่า

ห้าคนและเราไปถึงยังไม่ทันถึงสุราษฎร์ เป็นพื้นที่ปะทะกันอยู่ ผมเองก็บอกเอ๊ะก็คนไทยกันเองจะอะไรกัน
ยังไม่ถึงนครศรีธรรมราชดีเลยก็เกิดอุบัติเหตุ หนักหนาเหมือนไปซื้อตั๋วดูหนัง เอาความบันเทิงไปให้มันน่าจะได้นี่
รถคว�่า รถคันหนึ่งที่เป็นรถบรรทุกเครื่องไฟฟ้า แต่ก็ไม่ได้เสี่ยงหรอกครับได้แค่คิดแต่ก็ไม่กล้าท�าหรอกครับพูดกัน

คว�่าแหกโค้ง ครับพูดง่าย ๆ ไอ้เรานั้นไม่กลัว ตรง ๆ แล้วก็ไป จ�าได้ไหมครับที่บอกว่าไปสตูล จะมีหน่วยของจังหวัด
อะไรหรอกครับกลัวคนขับเป็นอันตรายบังเอิญ ร่วมไปด้วยแต่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ผมก็เข้าใจท่านดีนะครับ



36 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

แค่หารายได้นะครับหาเลี้ยงชีพที่จะด�ารงชีวิต
เท่าที่เห็นมาก็ยังนึกอยู่ว่าบางทีแนวคิดอะไร

ต่าง ๆ นั้นมันท�าให้เกิดการทอดทิ้งประชาชน
คือความช่วยเหลือไปไม่ถึง ความตั้งใจในการ
พัฒนายังส่งไปไม่ตรง แล้วยิ่งมามีเรื่องของ
การทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมาก็ยิ่งเป็นอันตราย

ความยากแค้นนั้นเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ความ
มีน�้าใจของคนไทยยิ่งใหญ่จริง ๆ ครับ อย่างที่
ได้เรียนไว้ว่าเวลาที่เราออกไปฉายหนังเราจะ
ได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่อเกือบทุกครั้งอาจจะเป็น

เพราะทางจังหวัดไปแจ้งหรืออาจจะเป็นเพราะ
งานเทศกาลหรืออาจจะเป็นเพราะเหตุใด ๆ
ก็ตามหรืออาจจะเป็นเพราะว่าทางวัด เวลา
เข้าไปทางวัดก็จะเป็นคนจัดการให้นะครับ

แล้วเวลาเลี้ยงกันอย่างนี้กินอยู่ดีเลยทีเดียว
ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจหน่วยเคลื่อนที่
นะครับ ซึ่งผมอยากจะสรุปในช่วงท้ายว่า
ภายใต้หมวดหมู่ของเรื่องสิ่งพิมพ์สื่อบุคคล

สื่อกิจกรรมทั้งหลายจากตรงนี้ไปแล้ว ที่ผ่าน
มานั้นเราได้ท�าหน้าที่อย่างแข็งขันและแข็งแรง
บางพื้นที่ท่านขออนุญาตไม่เข้า มีภารกิจหนึ่งสองสามเราก็เข้าครับ สามารถที่จะสื่อเข้าถึงได้ชัดเจน ณ ช่วงเวลานั้น
เพราะว่าเรานัดหมายกันไปแล้ว เราก็เข้าไปครับก็อย่างที่เรียนว่า แต่มาจนถึงช่วงเวลานี้เป็นสิ่งที่เราคงจะต้องมา

ไปเขตนครศรีธรรมราชผู้คนก็ไม่ได้ด้อยลงไปเลย แต่ละที่ก็เป็น ดูกันและทบทวนกันผมอยากให้มีการทบทวน
หลักร้อยนะครับ สองสามร้อย สามสี่ร้อยเป็นปกติ ผมยืนดูหนัง กันอย่างจริงจังต้องเรียนฝากท่านผู้บริหาร
ตอนที่เป็นหนังพระราชกรณียกิจก็มีคนเดินนุ่งผ้าแบบของใต้ ทุกท่านนะครับว่า วันนี้ภายใต้สื่อที่เรามี
ถือปืนยาวมาแล้วก็มาถามว่าวันนี้ฉายหนังเรื่องอะไรสนุกไหม ถ้าจ�าแนกออกไปในหัวข้อนี้ผมเน้นเรื่อง

ใครแสดงก็ไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ก็พูดจากันดีไอ้เราก็ฉายหนังไปตามปกติ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม สื่อสิ่งพิมพ์ บทบาท
เหตุการณ์อะไรต่าง ๆ ไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นเลยจนครบ ของเราจะอยู่ตรงไหนควรจะต้องท�าอะไร
หนึ่งเดือน ที่นครศรีธรรมราช อย่างที่ได้เรียนไว้ว่ากิจกรรมค่อนข้าง อย่างไร ใครคือกลุ่มเป้าหมายของเราแล้ว
จะซ�้า ๆ เค้าเรียกว่าไปเร็วเคลมเร็วกลับเร็วไปแล้วก็รีบ ๆ ท�าให้ กลุ่มเป้าหมายของเรานั้นจะรักษาไว้อย่างไร

เสร็จนะครับ ก็อย่างที่ได้เรียนแล้วว่าเรื่องกิติศัพท์เรื่องของข่าวที่ นะครับ เราเอาเฉพาะหัวข้อหนึ่งบุคคลไว้แค่นี้
ได้กล่าวกันไปก็กลัว ๆ กล้า ๆ ที่จะเข้าไป แต่พอเข้าไปแล้วนะครับ ส่วนเรื่องส�าคัญที่อยากจะเล่าอย่างยิ่งเพราะว่า
ก็ไปเห็นสภาพครับตรงนี้เรื่องส�าคัญ ประสบการณ์โดยตรงยาวนานและมีเรื่องราว
ณ เวลาในปี พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2516 ประเทศไทยโดยเฉพาะ ต่าง ๆ มากมาย ก็คือเรื่องของสื่อวิทยุและ

อย่างยิ่งในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล คนไทยยังล�าบากคนไทย โทรทัศน์ แล้วในหมวดสุดท้ายคงจะเป็น
ยังต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินตลอด ท�างานทุกวันเพื่อหาเลี้ยงชีพ ไม่ใช่เพียง เรื่องของสื่อในอนาคตต่อไป n



PRD MAGAZINE | 37

>> สรรหามาเล่า

พรพิทักษ์ แม้นศิริ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์











































ปฏิรูปกรมประชาสัมพันธ์...อย่างไร?




ตอนที่ 2


เอกสารโครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์ฉบับร่าง จ�านวน 327 หน้า

ถูกส่งผ่านจากคณะท�างานสู่มือของคณะที่ปรึกษา กพร.เรียบร้อยตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์
ที่ผ่านมา หลังจากที่คณะท�างานได้ช่วยกันระดมสรรพก�าลังที่มีอยู่ช่วยกันท�าคลอด
ได้ส�าเร็จภายในระยะเวลา 3 เดือนซึ่งเป็นไปตามแผนที่ได้ก�าหนดไว้ และผ่านความ

เห็นชอบจากท่านอธิบดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้กรอบระยะเวลาดูจะเป็นข้อจ�ากัดอยู่
พอสมควรอันเนื่องจากความชัดเจนของโครงสร้าง จะส่งผลต่อสถานะและการด�ารงอยู่
ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะประชาสัมพันธ์จังหวัด ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
หนึ่งเดียวของกรมประชาสัมพันธ์









38 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่แล้วไว้ว่ากรอบแนวคิดหลัก ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปกรมประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ ประกาศแนวทางการปฏิรูปประเทศไว้ 4 แนวทาง

ต้องยึดโยงกับรัฐธรรมนูญมาตรา 258 (ข) คือ 1) ให้น�า หลัก ๆ คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 2) การเชื่อมโยงข้อมูลทาง ภาครัฐ การพัฒนาและการรังสรรค์นวัตกรรมในรูป
ราชการ Government Data และ 3) ปรับตัวข้าราชการ แบบใหม่ โครงการสมาร์ทซิตี้และการเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้นยุทธศาสตร์ชาติ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ขยายความเพิ่มเติมว่าระบบ

20 ปี (พ.ศ. 2559-2579 นโยบายรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ราชการนั้นเป็นเสาหลักของประเทศและจะเป็นก�าลังหลัก
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เน้นการมีส่วนร่วมของ ในการขับเคลื่อนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 หากเราปล่อย
ประชาชนกับการตรวจสอบสื่อในการรับเรื่องราว ให้ระบบราชการอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ท�างานได้ไม่เต็ม
ร้องทุกข์ และแนวทางการให้ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ ศักยภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพมากพอและไม่เอื้ออ�านวย

การขับเคลื่อนแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ให้คนดีและคนเก่งอยู่ในระบบได้ ในที่สุดก็จะส่งผล
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559-2564) และข้อเสนอของ กระทบต่อประชาชนและกลายเป็นอุปสรรคต่อความ
สภาการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ด้านการปฏิรูปสื่อสาร เจริญก้าวหน้าของประเทศได้ ต้องปรับทัศนคติและ
มวลชนฯ ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับกรอบแนวทางการปฏิรูป พฤติกรรมของคนควบคู่ไปกับการปฏิรูปโครงสร้างและ

ระบบราชการของ กพร.ที่มุ่งเน้นให้ภาครัฐเปิดกว้างและ กฎระเบียบ เพื่อให้ระบบราชการสามารถตอบสนอง
เชื่อมโยงเครือข่าย ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความต้องการของประชาชน และปัญหาต่าง ๆ ได้อย่าง
และเป็นภาครัฐที่อัจฉริยะสมรรถนะสูงทันสมัย รวดเร็ว และเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนประเทศ
แบบเชิงรุกให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ของโลก

ในอนาคตได้









































PRD MAGAZINE | 39

❝ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการประชาสัมพันธ์
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุ

โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส�านักงานประชาสัมพันธ์
ในการท�โครงสร้าง เขต 1-8 และ ส�านักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด

กรมประชาสัมพันธ์รอบนี้ ถามว่าปรับเปลี่ยนภารกิจคืออย่างไร ขอยกตัวอย่างเช่น
ส�านักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ (สพป.) ปรับเปลี่ยน
ยังมีจุดส�คัญ ให้ส่วนพัฒนาบุคลากรการประชาสัมพันธ์ เป็นสถาบัน

ที่กรมประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน ยกระดับกลุ่ม
ประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจขึ้นเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์และ
ต้องตอบโจทย์ของคณะกรรมการ หอจดหมายเหตุ เป็นต้น หรือส�านักประชาสัมพันธ์


ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เขต 1-8 ที่แม้จะยังคงภารกิจในการก�ากับดูแลการ
ปฏิบัติงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ด้านสื่อสารมวลชน อยู่ต่อไป แต่ภารกิจที่ปรับเปลี่ยนใหม่คือการเป็นศูนย์

และเทคโนโลยีอย่างน้อย บริการข้อมูลข่าวสารและให้ค�าปรึกษาด้านวิชาการ
การประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนในระดับภูมิภาค
3 เรื่องหลัก เป็นศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการ

ประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน และเน้นการพัฒนา
เครือข่ายการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนในระดับ
❞ ภูมิภาค เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์...ค�านี้ดูจะสอดรับ
กับสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ในการท�า
โครงสร้างกรมประชาสัมพันธ์รอบนี้ ยังมีจุดส�าคัญ

การแบ่งส่วนราชการใหม่ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่กรมประชาสัมพันธ์ต้องตอบโจทย์ของคณะกรรมการ
มี 23 ส�านัก/กอง มีราชการบริหารส่วนกลาง 22 หน่วย ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 1 หน่วย (ประชาสัมพันธ์ และเทคโนโลยีอย่างน้อย 3 เรื่องหลัก คือแนวทาง
จังหวัด) ในการแบ่งส่วนราชการใหม่คราวนี้ได้จัดกลุ่ม การพิจารณาปรับปรุงการบริหารจัดการ NBT เร่งรัด

ออกเป็น 3 ส่วน มีส่วนที่คงเดิมแต่เพิ่มภารกิจงาน การด�าเนินการของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
ภายในเช่น ส�านักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการด้านการประชาสัมพันธ์
กองคลัง กองกฎหมายและระเบียบ เป็นต้น ส่วนที่ และการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ และการ
จัดตั้งใหม่คือกองบริหารกิจการโครงข่าย สถาบันการ ปรับบทบาทของสถาบันการประชาสัมพันธ์ให้ด�าเนินการ

ประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน และส่วนที่เปลี่ยน ในเชิงรุก รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารในยุคดิจิทัล
ชื่อใหม่ตามเกณฑ์ของ กพร. ที่ให้เปลี่ยนจากส�านัก เพื่อบรรจุในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของภาครัฐของ
เป็นกอง และปรับเปลี่ยนภารกิจงานใหม่ประกอบด้วย หน่วยงานต่าง ๆ นี่ยังไม่รวมเรื่องของทีวีดิจิทัล NBT
กองวิศวกรรม กองบริหารข้อมูลข่าวสาร กองพัฒนา ภูมิภาคและอื่น ๆ ที่เข้าคิวรออีกไม่น้อย ซึ่งคงจะได้น�า

นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์ กองพัฒนา มาเล่าสู่กันฟังต่อไป n
การประชาสัมพันธ์ กองการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ



40 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

Digital inside เปิดโลกไซเบอร์ <<








ที่ไหน เมื่อไหร่ ทุกดีไวซ์ ด้วย Office 365







ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการ
หลายอย่างในชีวิต ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว และการท�างานก็ไม่ได้จ�ากัด
อยู่เพียงแค่ในออฟฟิศอีกต่อไป โดยมีโปรแกรมหลัก ๆ ที่เราใช้งานกันอย่างคุ้นเคย

เช่น Word, Excel และ PowerPoint ซึ่งสิ่งที่ตอบโจทย์ตรงนี้คือ Microsoft
office 365 นั่นเอง


Microsoft Office 365 คือ บริการที่จะช่วยให้ใช้งานได้อย่างมีอิสระ
อยากท�าอะไรหลายอย่างให้เสร็จในวันเดียวก็ท�าได้ สะดวกง่าย รวดเร็ว สามารถใช้งาน

จากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ บนอุปกรณ์หลายรูปแบบทั้งพีซี สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และ
ใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ แต่สิ่งที่แตกต่างจากธรรมดาคือ ส�าหรับ
Office 365 คือ “บริการ” นอกจากนี้ Office 365 นั่นท�างานบนระบบคลาวด์

ซึ่งเราสามารถเข้าถึงข้อมูล การท�างาน หรือแบ่งปันข้อมูลผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง
ง่ายดาย และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ สามารถท�างานได้อย่างดีบนทุกอุปกรณ์ ทั้งบนพีซี
แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน และรองรับทุกแพลตฟอร์มทั้ง iOS และ Android





































PRD MAGAZINE | 41

การเลือกใช้งาน Microsoft Office 365 มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกัน
Office 365 Personal เหมาะส�าหรับบุคคลทั่วไป ที่สามารถใช้งานกับ

คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ได้รูปแบบละหนึ่งเครื่อง ในราคา 2,099 บาทต่อปี
และ Office 365 Home เหมาะส�าหรับบุคคลทั่วไปและใช้งานกันเป็นครอบครัว
แชร์สิทธิ์ให้สมาชิกในครอบครัวใช้งานได้สูงสุงถึง 5 คน และสามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์
แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ได้สูงสุด ถึงอย่างละ 5 เครื่อง ในราคา 2,899 บาทต่อปี

ทั้งสองโปรแกรมนี้มาพร้อม Office 2016 เวอร์ชั่นเต็ม คือ Word, Excel,
PowerPoint, OneNote, Outlook, Access และ Publisher ที่ใช้งานได้ทั้งแบบ
ออนไลน์ และแบบออฟไลน์เพียงดาวน์โหลดลงบนพีซี ก็พร้อมใช้งานได้ทันที
พร้อมด้วยพื้นที่เก็บเอกสาร 1 TB ฟรีทันทีบน OneDrive และใช้งาน Skype

ประชุมออนไลน์ได้ทั้งทางโทรศัพท์ หรือผ่านคอมพิวเตอร์ทั้งแบบวิดีโอคอลฟรี 60 นาที
ครอบคลุมกว่า 60 ประเทศทั่วโลก และที่ส�าคัญคือจะมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุด
อยู่เสมอ


สรุปจุดเด่นของ Office 365

n ใช้งานจากที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้
n เปิดดูเอกสารพร้อมกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
n ใช้งานได้จากอุปกรณ์หลายรูปแบบ ตั้งแต่โทรศัพท์ แท็บเล็ต โน้ตบุ้ค

ไปจนถึงพีซี และใช้งานได้ทั้งบน Windows, Mac, iOS และ Android
(สมัครใช้งานครั้งดียวจบครบทุก Device)
n ซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุด คุ้มค่าในราคาสบายกระเป๋า
n ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ทันที n





























42 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

มรดกโสตทัศน์ <<

พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์





































พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง



กรมประชาสัมพันธ์



แหล่งเรียนรู้ด้านสื่อสารมวลชนยุคแรกเริ่มของไทย






หากกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ หลายคนคงนึกถึง
ของเก่าของโบราณที่พบได้ยากในปัจจุบัน แต่นอกจาก
ตัววัตถุแล้ว สิ่งส�าคัญที่ขาดไม่ได้ คือเรื่องราวที่น่าสนใจ
ของวัตถุเหล่านั้น กรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานหนึ่ง

ที่เก็บรวบรวม ดูแลรักษา อนุรักษ์วัตถุที่มีคุณค่าเกี่ยวกับ
การด�าเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร
มวลชนในยุคแรกเริ่มของไทย มาจัดแสดงให้บุคลากร
ภายในและภายนอกองค์กร ตลอดจนนักเรียน นิสิต

นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบข้อมูล
และเรียนรู้ผ่านการชมพิพิธภัณฑ์ การกระจายเสียง
กรมประชาสัมพันธ์



PRD MAGAZINE | 43

พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์
เปิดบริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
2548 ตั้งอยู่ที่กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์
เดิมเป็นอาคารเครื่องส่งวิทยุเก่า ลักษณะเป็นอาคาร
ชั้นเดียว มีขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ตารางเมตร

สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งนับว่าเป็นอาคารที่มีอายุ
เก่าแก่ที่สุดในซอยอารีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติ

กรมประชาสัมพันธ์ ประวัติวิทยุกระจายเสียงและ
วิทยุโทรทัศน์ ตัวอย่างเช่น อาคารที่ท�าการของ
กรมประชาสัมพันธ์หลังแรกจนถึงหลังปัจจุบัน ประวัติ
บิดาแห่งวิทยุกระจายเสียงไทย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระก�าแพงเพ็ชรอัครโยธิน

และบิดาแห่งโทรทัศน์ไทย นายจ�านง รังสิกุล รวมทั้ง
ภาพการท�างานในห้องส่งสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท
ซึ่งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย เป็นต้น


























44 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

ในแต่ละปีพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง
กรมประชาสัมพันธ์ มีจ�านวนผู้เข้าชมประมาณ 500 คน
โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา รองลงมา
คือ บุคลากรภายนอกจากหน่วยงานต่าง ๆ บุคลากร
กรมประชาสัมพันธ์ และประชาชนทั่วไป ส�าหรับ

ในปีงบประมาณ 2561 เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 -
เดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีจ�านวนผู้เข้าชมแล้ว 200 คน
แม้ว่าขนาดของพิพิธภัณฑ์ฯ จะมีขนาดเล็ก แต่ส่วนใหญ่

เห็นว่าวัตถุที่น�ามาจัดแสดงมีความน่าสนใจและบางชิ้น
ไม่สามารถหาชมที่อื่นได้ นอกจากนี้ เรื่องราวเกี่ยวกับ
ประวัติการประชาสัมพันธ์ ประวัติวิทยุกระจายเสียง
และวิทยุโทรทัศน์ ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
ด้านสื่อสารมวลชนและเป็นประวัติศาสตร์ส�าคัญของชาติ

การเรียนรู้รากเหง้าในอดีตท�าให้เราเข้าใจปัจจุบัน และ
สามารถวางแผนส�าหรับอนาคตได้ดีมากขึ้น



ส�าหรับท่านใดที่มีความสนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์
การกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ สามารถติดต่อ
เจ้าหน้าที่ได้ในวันและเวลาราชการ เบอร์โทรศัพท์

0 2618 2323 ต่อ 2212 และ 2214 n
















PRD MAGAZINE | 45

>> พรบ.ข้อมูลข่าวสาร

วีระเชษฐ์ จรรยากูล
ส�านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ



















ไม่ถูกต้องเราไม่เอา









ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบ
ต่อชุมชน แล้วชาวบ้านออกมาปกป้องชุมชนโดยใช้ช่องทาง
วิธีการทางกฎหมาย ผมจะรีบน�าเสนอให้ทราบทันที

เพระต้องการให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ
มีความรู้ว่าจะปกป้องชุมชน และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
ของรัฐได้อย่างไร





































46 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์

ในการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการ
❝ เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร อบต. บางโทรัด ได้มีหนังสือ

ประชาชนในต�บลนี้และใกล้เคียง จัดส่งข้อมูลไปให้คณะกรรมการฯ เพื่อประกอบการ
พิจารณาและชี้แจงว่าเอกสารแต่ละรายการคืออะไรและ
ได้มีหนังสือแสดงเจตนาว่า ได้ส่งเอกสารรายการที่ 1 ให้ผู้ประสานงานกลุ่มรวมพลังฯ

ไม่เอาโครงการดังกล่าวต่อหน่วยงานรัฐ ซึ่งได้รับไปแล้ว ส่วนรายการที่ 2 - 6 บริษัทขวดเปล่า

คัดค้านการเปิดเผย
ที่ดูแลและรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

และพบว่ามีการเร่งรัดขั้นตอน พิจารณาแล้วเห็นว่า อบต. บางโทรัด ได้เปิดเผยข้อมูล

การออกใบอนุญาต ข่าวสารให้ผู้ประสานงานกลุ่มรวมพลังฯ แล้ว 1 รายการ
คือใบอนุญาต อ.1 คงเหลืออีก 5 รายการที่เป็นข้อมูล
ไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ ข่าวสารตามอุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยเห็นว่าข้อมูล

ข่าวสารทั้ง 5 รายการ เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ
❞ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ


ราชการ พ.ศ. 2540 และเป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดจาก
กลุ่มรวมพลังคนรักบ้านเกิดได้รับผลกระทบ การปฏิบัติงานตามปกติ ของหน่วยงานราชการ ใน
จากโครงการศูนย์จัดการขยะและโรงไฟฟ้าจากขยะของ การตรวจสอบการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารรวมทั้ง
บริษัทขวดเปล่า โดยประชาชนในต�าบลนี้และใกล้เคียง ออกค�าสั่งให้หยุดด�าเนินกิจการ เมื่อตรวจสอบพบว่า

ได้มีหนังสือแสดงเจตนาว่าไม่เอาโครงการดังกล่าว ประกอบกิจการโดยไม่มีใบอนุญาตและประกอบกิจการ
ต่อหน่วยงานรัฐที่ดูแลและรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามระเบียบและกฎหมาย
และพบว่ามีการเร่งรัดขั้นตอนการออกใบอนุญาต ที่ก�าหนด การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ผู้ประสานงาน
ไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ จึงมีหนังสือถึงองค์การ กลุ่มรวมพลังฯ มีค�าขอจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

บริหารส่วนต�าบลบางโทรัดขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ของรัฐ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และค�าคัดค้าน
ใบอนุญาต ทุกประเภทได้แก่ 1) ใบอนุญาต อ.1 ของบริษัทขวดเปล่าไม่มีเหตุผลส�าคัญและข้อเท็จจริง
2) ใบอนุญาต อ.6 3) ใบอนุญาตขอดัดแปลงอาคาร เพียงพอจะรับฟังได้ พิจารณาแล้วจึงวินิจฉัยให้องค์การ
4) เอกสารแสดงความคิดเห็นของสมาชิกสภา และ บริหารส่วนต�าบลบางโทรัดเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

ประชาชนที่ อบต. บางโทรัด ส่งให้ส�านักงานคณะกรรมการ รายการที่ 2 - 6 พร้อมทั้งส�าเนาถูกต้องให้กลุ่มรวมพลัง
ก�ากับกิจการพลังงาน 5) หนังสือที่ อบต. บางโทรัด มีถึง คนรักบ้านเกิดต่อไป
บริษัทขวดเปล่า เรื่อง การพิจารณาออกใบอนุญาตขนส่ง ข้อมูลข่าวสารอย่างนี้เปิดเผยได้สามารถดูเป็น
สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยและ 6) ค�าสั่งปิดกิจการของบริษัท แนวทางได้ครับ โดยเฉพาะเรื่องรายงานผลกระทบ
ขวดเปล่า รวม 6 รายการ ต่อมา อบต. บางโทรัด มีหนังสือ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ต้องเปิดเผยให้ประชาชนตรวจดู

แจ้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 1 คือ ใบอนุญาต อ.1 ได้โดยไม่ต้องมีค�าขอเลยครับ มีข้อสงสัยติดต่อหารือได้ที่
ส่วนข้อมูลข่าวสารรายการที่ 2 - 6 ปฏิเสธเพราะว่า ส�านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
บริษัทขวดเปล่าคัดค้านการเปิดเผย ผู้ประสานงาน ส�านักงานปลัดส�านักนายกรัฐมนตรี 0 2283 4678

กลุ่มรวมพลังฯ จึงมีหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ www.oic.go.th “ไม่ได้ข้อมูลที่ขอ บอก สขร. นะครับ”
วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร n



PRD MAGAZINE | 47

>> ตอบดีมีรางวัล
ตอบดี มีรางวัล
คุณเด่น





เฉลยค�าถามวารสารฯ ฉบับเดือนกันยายน 2560


“สระอโนดาตคือ สระที่มีเขารายล้อมอยู่ 5 เขา เป็นสระที่ไม่โดนแสงเดือนและ
แสงตะวัน จึงไม่ร้อน เป็นที่สรงน�้าแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์
ทั้งหลาย รวมถึงผู้วิเศษ”

ผู้โชคดีที่ได้รับของรางวัล “แก้วเซรามิกพร้อมฝาและช้อน” มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1. คุณรัชนีวรรณ ทองม้วน กรุงเทพมหานคร

2. คุณธันยรัศม์ สุวรรณศรี กรุงเทพมหานคร
3. คุณณิชาภา เกษเสนา อุบลราชธานี

กองบก. จะส่งของรางวัล ไปตามที่อยู่ที่ท่านให้ไว้ หรือท่านสามารถติดต่อขอรับรางวัล
ด้วยตนเองได้ที่ ส�านักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ ชั้น 6 กรมประชาสัมพันธ์





ค�ถามฉบับเดือนมีนาคม 2561



“ศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ AI ย่อมาจากค�าว่าอะไร และ หมายถึงอะไร”



ของรางวัลส�าหรับผู้โชคดี 3 ท่าน ที่จะได้รับก็คือ “กล่องตุ๊กตาเอกเขนก”
(ดังภาพ)
ส่งค�าตอบพร้อมชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์มาที่ กองบก.
วารสารกรมประชาสัมพันธ์ชั้น 6 ส�านักพัฒนาการ

ประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ 9
ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400 หรือ E-mail : prdjournal82@

gmail.com ภายในวันที่ 15 เมษายน 2561 n



















48 | วารสารกรมประชาสัมพันธ์


Click to View FlipBook Version