The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by supachetr, 2019-02-28 02:12:18

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธี






บรมราชาภิเษก





กระทรวงวัฒนธรรม
เลขที่ ๑๐ ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐
www.m - culture.go.th







พระราชพิธี




บรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



บรมนาถบพิตร




วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓


































2
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

3
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก



พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘





































4
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

5
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว




วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๓




พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช



วันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔































6
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

7
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




ครั้งแรก วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑






































8
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

9
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




ครั้งหลัง วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖






































10
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

11
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก



พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๙๔






































12
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

13
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก



ค�าปรารภ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
เพื่อจัดพิมพ์หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พุทธศักราช ๒๕๖๐


ประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจวบทุกวันนี้ เกิดจากความเข้มแข็ง
ของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจ
ของคนไทยทั้งชาติ และถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นชาติไทย ประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรไทย

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติมาตลอด พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์
ทรงมีบทบาทส�าคัญในการพัฒนาชาติไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ อย่างมั่นคง ทั้งด้านการป้องกัน
และรักษาเอกราชของชาติ ด้านการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย ด้านวัฒนธรรมการด�าเนินชีวิต และด้านศิลปกรรม
ทรงเป็นผู้น�าที่ปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อบ�าบัดทุกข์
บ�ารุงสุข สร้างความอยู่ดี กินดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ปวงอาณาประชาราษฎร์ สร้างความร่มเย็นเป็นสุข
ให้เกิดแก่ชาติบ้านเมือง และทรงน�าพาให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการรุกรานของชนชาติอื่น ท�าให้สามารถ

รักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้ตราบจนทุกวันนี้ ประชาชนคนไทยโชคดีที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบารมีที่มี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัย และตามโบราณราชประเพณีก�าหนดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในการสืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์

หนังสือ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เป็นการจดจารึกมรดกทางวัฒนธรรมตามโบราณ
ราชประเพณีอันเนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ แม้ว่าพระราชอ�านาจบางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท
ของสังคม แต่วัฒนธรรมประเพณีอันเนื่องด้วยพระราชพิธีส�าคัญยังคงสืบสานต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

นับเป็นเครื่องบ่งบอกเอกลักษณ์ของชาติได้เป็นอย่างดี คนไทยทุกคนควรภาคภูมิใจ และควรมีความรู้
ความเข้าใจในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างถ่องแท้ เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมตามประเพณี
ของไทยให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป



พลเอก

(ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
นายกรัฐมนตรี







15
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สาร


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม


กระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจหน้าที่ในการธ�ารงรักษา ส่งเสริมและสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี
อันเนื่องด้วยสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้เป็นที่ประจักษ์และคงอยู่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงบ�ารุงสังคม

ไทยให้ผาสุกร่มเย็น มีระเบียบแบบแผนเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคติความเชื่อและ
แนวปฏิบัติหลายประการที่แสดงให้เห็นถึงความสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์แห่งสถาบันอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวรวมชาติ

ไทยให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงเสมอมา

ตามโบราณราชประเพณี การเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์จะทรงรับการบรมราชาภิเษก
เฉลิมพระนามาภิไธยเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นพระราชพิธีศักดิ์สิทธิ์ส�าคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึง

วัฒนธรรมอันงดงาม และเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทรงพระเกียรติยศอันสูงสุด สมกับที่ทรงเป็น
พระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยไปตลอดกาล

หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์นี้ เป็นการด�าเนินการตามนโยบาย

รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชาติ และการเสริม
สร้างความรู้อันเนื่องด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ การสืบทอดวัฒนธรรมซึ่งเป็นโบราณราชประเพณีอันส�าคัญ
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันปกป้อง เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยให้ด�ารงอยู่

อย่างมั่นคง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยประสบความร่มเย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารสืบไป








(นายวีระ โรจน์พจนรัตน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม









16
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ค�าน�า


ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม


สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าของไทยทุกพระองค์ ทรงปฏิบัติบ�าเพ็ญพระราชกรณียกิจ
ทั้งปวงเพื่อความผาสุกของอาณาประชาราษฎร์ สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นสถาบันหลักที่ประชาชนชาวไทยต่าง

เคารพเทิดทูนและส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้เสมอมา

กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในการขับเคลื่อนภารกิจภาครัฐในการอนุรักษ์
สืบทอด ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อสร้างจิตส�านึกความเป็นไทย ผ่านกระบวนทัศน์การด�าเนิน
งานด้านวัฒนธรรมให้มีความร่วมสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน
ในสังคมไทย เพื่อธ�ารงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

การจัดพิมพ์หนังสือ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” เล่มนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว

กับโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ กล่าวคือ การเสด็จขึ้น
ครองราชย์จะสมบูรณ์เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วย ความเป็นมา
ของพระราชพิธี ล�าดับขั้นตอนพระราชพิธีโดยสังเขปทั้งการเตรียมการพระราชพิธี พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธี
เบื้องปลาย ตลอดจนข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธี อาทิ พระปฐมบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ สถานที่ประกอบพระราชพิธี พระมหาเจดีย์ สถานที่ตั้งพิธีเสกน�้า

พระพุทธมนต์ รวมถึงแหล่งน�้าศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละจังหวัดที่ต้องพลีกรรมตักน�้าเพื่อใช้เป็นน�้าสรงพระมุรธาภิเษก เป็นต้น

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะอ�านวยประโยชน์แก่ประชาชนผู้สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเกิดความเข้าใจในความส�าคัญของพระราชพิธีโดยทั่วกัน





(นายกฤษศญพงษ์ ศิริ)
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม









17
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สารบัญ

หน้า




ค�าปรารภนายกรัฐมนตรี ๑๕

สารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๑๖

ค�าน�าปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๗


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๑
ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕


ล�าดับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๘

การเตรียมน�้าอภิเษก และน�้าสรงพระมุรธาภิเษก ๒๘

การจารึกพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล ๓๒

การจัดเตรียมสถานที่ ๓๘

พระราชพิธีเบื้องต้น ๔๕

พิธีสรงพระมุรธาภิเษก ๕๕

พิธีถวายน�้าอภิเษก ๖๐

พิธีถวายสิริราชสมบัติ และถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๖๕

พระราชพิธีเบื้องปลาย ๗๙

ภาคผนวก ๑๑๙

พระปฐมบรมราชโองการ รัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๙ ๑๒๑

ก�าหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช
และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร ๑๔๑


เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๑๔๕

พระมหาเศวตฉัตรหรือนพปฎลมหาเศวตฉัตร ๑๔๖

หน้า


พระมหาพิชัยมงกุฎ ๑๔๗

พระแสงขรรค์ชัยศรี ๑๔๘

ธารพระกร ๑๔๙


วาลวิชนี (พัดและแส้) ๑๕๐
ฉลองพระบาทเชิงงอน ๑๕๑


พระราชลัญจกรประจ�าแผ่นดิน ๑๕๒

พระสุพรรณบัฏ ๑๕๖

พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ๑๕๗

พระที่นั่งภัทรบิฐ ๑๕๘

พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ๑๕๙

หมู่พระมหามณเฑียร ๑๖๑

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ๑๖๓

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ๑๖๕

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ๑๖๗

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ๑๖๙

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๑๗๑

พระมหาเจดียสถาน สถานที่ตั้งพิธีเสกน�้าพระพุทธมนต์ ๗ แห่ง ๑๗๒

พิธีเสกน�้า ๑๐ มณฑลในสมัยรัชกาลที่ ๗ ๑๗๖

ปูชนียสถานและสิ่งส�าคัญ ๑๓ แห่ง ๑๘๐

บรรณานุกรม ๑๘๒

คณะท�างาน ๑๘๔



พระราชพิธี




บรมราชาภิเษก

22
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก












พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องท�าเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์
ดังความใน “จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ว่า


“...ตามราชประเพณีในสยามประเทศนี้ ถือเปนต�ารามาแต่โบราณว่าพระมหา
กระษัตริย์ซึ่งเสด็จผ่านพิภพ ต้องท�าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะเปนพระราชาธิบดีโดย
สมบูรณ์ ถ้ายังมิได้ท�าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอยู่ตราบใด ถึงจะได้ทรงรับรัชทายาท

เมื่อเสด็จเข้าไปประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ก็เสด็จอยู่เพียง ณ ที่พักแห่งหนึ่ง พระนามที่ขาน
ก็คงใช้พระนามเดิม เปนแต่เพิ่มค�าว่า “ซึ่งทรงส�าเร็จราชการแผ่นดิน” เข้าข้างท้ายพระนาม

แลค�ารับสั่งก็ยังไม่ใช้พระราชโองการ จนกว่าจะได้สรงมุรธาภิเษก ทรงรับพระสุพรรณบัฏ
จารึกพระบรมราชนามาภิธัยกับทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์จากพระมหาราชครูพราหมณ์ผู้ท�า
พิธีราชาภิเษกแล้ว จึงเสด็จขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร ครอบครองสิริราชสมบัติสมบูรณ์ด้วย

พระเกียรติยศแห่งพระราชามหากระษัตริย์แต่นั้นไป...”














จิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย





23
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

24
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก









พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีคู่สังคมไทยมายาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากคติอินเดีย แต่ลักษณะ
การพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธีก็แตกต่างกันออกไป

ในแต่ละสมัย เช่น ในสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า

“พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า “พระราช
พิธีบรมราชาภิเษก”

สมัยสุโขทัยปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๒ หรือจารึกวัดศรีชุม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อราว
พุทธศตวรรษที่ ๑๘ กล่าวถึงการขึ้นเป็นผู้น�าของพ่อขุนบางกลางหาว ไว้ว่า “...พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้

เมืองสุโขทัย ให้ทั้งชื่อตนแก่พระสหายเรียกชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์...” ส่วนในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาไทย และภาษา
เขมรกล่าวถึงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ว่ามี มกุฎ พระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร

สมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในค�าให้การของชาวกรุงเก่า ข้อความตอนหนึ่ง

กล่าวถึงขั้นตอนของพระราชพิธีนี้ว่า

“...พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงโปรดให้เอาไม้มะเดื่อนั้น มาท�าตั่งส�าหรับประทับสรง
พระกระยาสนานในการมงคล เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก เป็นต้น พระองค์ย่อมประทับเหนือ

พระที่นั่งตั่งไม้มะเดื่อ สรงพระกระยาสนานก่อนแล้ว (จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ)
มุขอ�ามาตย์ถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ มหามงกุฎ ๑ พระแสงขรรค์ ๑ พัดวาลวิชนี ๑

ธารพระกร ๑ ฉลองพระบาทคู่ ๑...”









จิตรกรรมฝาผนัง พระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม
พราหมณ์ทูลเกล้าฯ ถวายพระมหาพิชัยมงกุฎ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย



25
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งทรงผนวช
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก




26
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สันนิษฐานว่าท�าตามแบบ
อย่างเมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ท�าอย่างสังเขป เพราะบ้านเมืองไม่สงบเรียบร้อย ยังอยู่

ในภาวะสงคราม ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ประดิษฐาน
พระบรมราชจักรีวงศ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกแต่โดยสังเขป ยังไม่พร้อมมูลเต็ม
ต�ารา ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๖ โปรดให้ข้าราชการผู้รู้ครั้งกรุงเก่า มีเจ้าพระยาเพชรพิชัยเป็นประธาน ประชุมปรึกษาหารือกับสมเด็จ

พระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ท�าการสอบสวนร่วมกันตรวจสอบต�าราว่าด้วยการราชาภิเษกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้า
อุทุมพร หรือขุนหลวงวัดประดู่ แล้วแต่งเรียบเรียงขึ้นไว้เป็นต�ารา เรียกว่า “ต�าราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยาส�าหรับหอหลวง”

เป็นต�าราเกี่ยวกับการราชาภิเษกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบหลักฐานในประเทศไทย เมื่อได้แบบแผนการราชาภิเษกที่สมบูรณ์แล้ว
อีกทั้งพระราชมณเฑียรสถานที่สร้างขึ้นใหม่แล้วเสร็จ ใน พ.ศ. ๒๓๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธี
บรมราชาภิเษกให้สมบูรณ์ตามแบบแผนอันได้เคยมีมาแต่เก่าก่อนอีกครั้งหนึ่ง และแบบแผนการราชาภิเษกดังกล่าวได้รับการ

ยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างสืบมาเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ บางพระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
๒ ครั้ง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ เมื่อทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขณะมี
พระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา ในระยะเวลาห้าปีแรกของรัชกาล สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็น

ผู้ส�าเร็จราชการแผ่นดิน จนกระทั่งเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษาจึงทรงพระผนวช หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ หลัง
จากนั้นทรงรับพระราชภาระและมีพระราชอ�านาจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ส่วนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ ครั้ง คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราช
มณเฑียร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๓ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงก�าลังไว้ทุกข์งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้งดการเสด็จเลียบพระนครและการรื่นเริง ต่อมาเมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม
พุทธศักราช ๒๔๕๔ เพื่อให้เป็นส่วนรื่นเริงส�าหรับประเทศ อีกทั้งให้นานาประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรไมตรีมีโอกาสมาร่วมงาน



















27
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ล�าดับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก









การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีหลักฐานปรากฏขั้นตอนล�าดับการพระราชพิธีชัดเจนในสมัยรัตนโกสินทร์
แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมพระราชพิธี พระราชพิธีเบื้องต้น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเบื้องปลาย

โดยขั้นตอนและรายละเอียดของการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามกาลสมัยมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งมีรายละเอียดโดยสังเขป ดังนี้


การเตรียมพระราชพิธี


มีการท�าพิธีตักน�้าและที่ตั้งส�าหรับถวายเป็นน�้าอภิเษกและน�้าสรงพระมุรธาภิเษก จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรม
ราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกร เตรียมตั้งเครื่องบรมราชาภิเษก และเตรียมสถานที่จัดพระราชพิธี



การเตรียมน�้าอภิเษกและน�้าสรงพระมุรธาภิเษก

ขั้นตอนการเตรียมพิธีจะต้องมีการตักน�้าจากแหล่งส�าคัญ ๆ เพื่อน�ามาเป็นน�้าสรงพระมุรธาภิเษก และเพื่อท�า
น�้าอภิเษกก่อนที่จะน�าไปประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามต�าราโบราณของพราหมณ์ น�้าอภิเษกจะต้องเป็นน�้าจาก

“ปัญจมหานที” คือ แม่น�้าใหญ่ทั้ง ๕ สายในชมพูทวีป หรือในประเทศอินเดีย ได้แก่ แม่น�้าคงคา แม่น�้ามหิ แม่น�้ายมนา แม่น�้าอจิรวดี
และแม่น�้าสรภู ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เชื่อว่าแม่น�้าทั้ง ๕ สายนี้ ไหลมาจากเขาไกรลาส ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอิศวร จึงถือว่า
เป็นน�้าศักดิ์สิทธิ์ น�ามาใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ เช่น น�้าสรงพระมุรธาภิเษก น�้าอภิเษก และน�้าพระพุทธมนต์ ในสมัยสุโขทัย -
























แม่น�้าป่าสัก
แม่น�้าบางปะกง




28
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

แม่น�้าเจ้าพระยา แม่น�้าราชบุรี แม่น�้าเพชรบุรี

อยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีการน�าน�้าปัญจมหานทีมาใช้ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ปรากฏหลักฐานว่า น�้าสรง

พระมุรธาภิเษกในสมัยอยุธยาใช้น�้าจากสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา แขวงเมืองสุพรรณบุรี นอกจากนี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๔ ยังใช้น�้าในแม่น�้าส�าคัญของประเทศเพิ่มเติมอีก ๕ สาย เรียกว่า “เบญจสุทธคงคา” โดยอนุโลมตาม

ปัญจมหานทีในชมพูทวีป คือ แม่น�้าบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ แขวงเมืองนครนายก แม่น�้าป่าสัก ตักที่ต�าบลท่าราบ
แขวงเมืองสระบุรี แม่น�้าเจ้าพระยา ตักที่ต�าบลบางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง แม่น�้าราชบุรี ตักที่ต�าบลดาวดึงส์ แขวงเมืองสมุทรสงคราม

และแม่น�้าเพชรบุรี ตักที่ต�าบลท่าไชย แขวงเมืองเพชรบุรี เมื่อตักแล้วจะตั้งพิธีเสก ณ เจดียสถานส�าคัญแห่งแขวงนั้นๆ
แล้วจึงจัดส่งเข้ามาท�าพิธีที่กรุงเทพมหานคร ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้น�าพิธีทางพระพุทธศาสนามาเพิ่มเติมด้วย โดยให้
พระสงฆ์ซึ่งเป็นพระครูพระปริตรไทย ๔ รูป สวดท�าน�้าพระพุทธมนต์ในพิธีสรงพระมุรธาภิเษก จึงมีน�้าพระพุทธมนต์เพิ่มขึ้นอีก

อย่างหนึ่ง

ต่อมาในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว น�้าสรงพระมุรธาภิเษกในการ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ใช้น�้าเบญจสุทธคงคาและน�้าจากสระ ๔ สระ แขวงเมืองสุพรรณบุรี

เช่นเดียวกับรัชกาลก่อนๆ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๑๕ ได้เสด็จพระราชด�าเนินไปประเทศอินเดีย ทรงน�าน�้าจากปัญจมหานทีตามต�ารา
พราหมณ์กลับมาด้วย ดังนั้นน�้าสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงมีน�้าปัญจมหานทีเจือ
ลงในน�้าเบญจสุทธคงคาและน�้าจากสระ ๔ สระ แขวงเมืองสุพรรณบุรีด้วย


รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เฉลิมพระราชมณเฑียร
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ใช้น�้าเช่นเดียวกับครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ ๒ ครั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ โปรดให้พลีกรรมตักน�้าจากแม่น�้าและแหล่งน�้าต่างๆ ที่ถือว่าส�าคัญ

และเป็นสิริมงคลมาตั้งพิธีเสกท�าน�้าพระพุทธมนต์ ณ พระมหาเจดียสถานที่เป็นหลักของมหานครโบราณ ๗ แห่ง และมณฑล
ต่างๆ ๑๐ มณฑล *


* ภาคผนวก



29
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระธาตุซ่อแฮ จังหวัดแพร่
หนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการตั้งพิธีเสกน�้า
ในรัชกาลที่ ๗








30
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๗ น�้าสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรม
ราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ตั้งพิธีท�าน�้าอภิเษกที่หัวเมือง

มณฑลต่างๆ ๑๘ แห่ง ซึ่งสถานที่ตั้งท�าน�้าอภิเษกในรัชกาลนี้
ใช้สถานที่เดียวกับในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า

เจ้าอยู่หัว เพียงแต่เปลี่ยนจากวัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์
มาตั้งที่วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และเพิ่มอีกหนึ่งแห่งที่
วัดบึงพระลานชัย จังหวัดร้อยเอ็ด


ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการพลีกรรมตักน�้า
ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพระราชอาณาจักร แล้วน�ามาตั้งประกอบ

พิธีเป็นน�้าสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ท�าพิธีเสกน�้า ณ มหาเจดียสถาน และ

พระอารามต่างๆ ในราชอาณาจักรจ�านวน ๑๘ แห่ง เท่ากับ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เปลี่ยน
สถานที่จากเดิม ๑ แห่ง คือ จากวัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่

เป็นวัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่านแทน ส่วนน�้าจากสระสอง
ห้อง เมืองพิษณุโลก ซึ่งเคยน�ามาเป็นน�้าสรงพระมุรธาภิเษก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ใช้
ในครั้งนี้ เนื่องจากแหล่งน�้าดังกล่าวตื้นเขินจนไม่มีน�้า







พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
หนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการตั้งพิธีเสกน�้า
ในรัชกาลที่ ๙








31
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

การจารึกพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล

พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏและแกะพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาลเป็นขั้นตอนส�าคัญขั้นตอนหนึ่งในการเตรียม
ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยจะต้องถวายพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระปรมาภิไธย ก่อนที่จะถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์

อื่นๆ และต้องเชิญแผ่นดวงพระบรมราชสมภพและพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาลขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นมณฑลในพระราช
พิธีบรมราชาภิเษกด้วย

การจารึกพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระปรมาภิไธย และดวงพระบรมราชสมภพของพระมหากษัตริย์ ในสมัย
รัตนโกสินทร์ จัดขึ้นในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โหรหลวงเป็นผู้ก�าหนดพระฤกษ์พิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ เมื่อก�าหนด

พระฤกษ์ได้วันจารึกพระสุพรรณบัฏแล้ว ตอนเย็นก่อนถึงวันพระฤกษ์ พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ ส่วนโหรหลวงจะสวดบูชา
เทวดา เช้าวันรุ่งขึ้นก่อนเวลาพระฤกษ์ พระราชวงศ์ที่ทรงเป็นประธานในพิธีจะทรงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์

รับพระราชทานฉันแล้ว ประธานในพิธีจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการและทรงศีล จากนั้นจึงเริ่มพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏและแกะ
พระราชลัญจกรประจ�ารัชกาล

การจารึกพระสุพรรณบัฏในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เวลา ๙.๒๖ – ๑๐.๒๘ น. ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานในพิธี มีหลวงบรรเจิดอักษรการ (ทับ สาตราภัย) หัวหน้า
กองปกาศิต ในหน้าที่อาลักษณ์ จารึกอักษรพระปรมาภิไธยลงในพระสุพรรณบัฏ พระยาโหราธิบดี (แหยม วัชรโชติ) โหรจารึก

ดวงพระบรมราชสมภพลงในแผ่นทอง และหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ศิลปินในหน้าที่นายช่าง แกะพระราชลัญจกร

ในพระอุโบสถตั้งโต๊ะเครื่องบายศรีตอง ๓ ชั้น ซ้าย ขวา มีกล้วยน�้าว้า หัวหมูส�าหรับบูชาพระฤกษ์ อาลักษณ์
ผู้จารึกพระสุพรรณบัฏแต่งกายด้วยเครื่องขาวและรับศีล เมื่อใกล้เวลาพระฤกษ์ ประธานพิธี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต

จุดเทียนเงินเทียนทองทุกโต๊ะจารึกแล้ว อาลักษณ์นมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากนั้นถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชอาสน์) คล้องสายสิญจน์ และหันหน้าไปสู่ทิศมงคล ได้เวลาพระฤกษ์ โหรลั่นฆ้องชัย อาลักษณ์และโหรลงมือจารึก

พระสุพรรณบัฏเฉลิมพระปรมาภิไธยและดวงพระบรมราชสมภพ ส่วนนายช่างท�าหน้าที่แกะพระราชลัญจกรประจ�ารัชกาลไป
พร้อมกัน ในระหว่างนั้นพระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์เป่าสังข์ เจ้าพนักงานประโคมแตร สังข์ และพิณพาทย์




















32
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ดวงพระบรมราชสมภพ


































๑๒
พระบรมราชสมภพ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศาสนายุกาล ๒๔๗๐ ตรงกับ ณ วัน ๒ ฯ ๑ ค�่า ปีเถาะ
นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ เวลา ๘ นาฬิกา ๔๕ นาที (๒ โมงเช้า ๔๕ นาที เวลาที่กรุงเทพฯ) พระลัคนาสถิตราศีธนู
ตติยนวางค ๗ ปฐมตรียางค ๖ เชฐฤกษ์ ๑๘ ประกอบด้วยสมณแห่งฤกษ์




























พระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร




33
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม














34
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)














35
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

36
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

อนึ่ง เจ้าพนักงานน�าพระสุพรรณบัฏ และพระราชลัญจกรที่แล้วเสร็จมาประดิษฐานบนธรรมาสน์ศิลา

ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเชิญมาพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓โปรดให้มีพระราช
พิธีราชาภิเษกสมรสและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินี
สิริกิติ์ ทรงด�ารงต�าแหน่งพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ครั้นวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ในการพระราชพิธี

บรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินี















37
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

การจัดเตรียมสถานที่

สถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัย
รัตนโกสินทร์มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละรัชกาลตามความเหมาะสม

เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประกอบพระราช
พิธี ณ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกปราสาท พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
นภาลัย ประกอบพระราชพิธี ณ พระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร

ประกอบด้วย พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และ
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เนื่องด้วยพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งสร้าง

ขึ้นแทนที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระบรม
ศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ณ พระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร ซึ่งได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราช
พิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบ

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ณ พระที่นั่งหมู่พระมหา
มณเฑียร ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้ทรงกระท�าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช
ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

เจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ประกอบพระราชพิธี ณ พระที่นั่งในหมู่พระมหามณเฑียร














หมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง







38
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

39
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕












40
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบัน












41
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภายในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ








42
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภายในท้องพระโรงด้านที่ต่อกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในท้องพระโรงด้านที่ต่อกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

































43
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

44
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระราชพิธีเบื้องต้น
















































45
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชด�าเนินทางประตูเทเวศร์รักษา ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพิธีจุดเทียนชัย วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
















46
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก


Click to View FlipBook Version