The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กิจกรรมฐานการเรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงสัตว์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วรารัตน์ มณีโชติ, 2020-11-02 03:35:35

กิจกรรมฐานการเรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงสัตว์

กิจกรรมฐานการเรียนรู้ เรื่อง การเลี้ยงสัตว์

นายคณุ าวฒุ ิ หอมเกตุ ตาแหน่ง พนักงานราชการ
โครงการชวี วิถเี พื่อการพัฒนาอย่างยงั่ ยืน รว่ มกับ วทิ ยาลยั เทคนคิ ทุ่งสง

ฐานการเรียนรู้ กจิ กรรมการเล้ยี งสัตว์

เป็ดเทศ

เปด็ เทศ เป็นเป็ดพ้นื เมืองพันธ์ุเนื้อที่เลย้ี งงา่ ย เตบิ โตเรว็ สามารถใชอ้ าหารและวัตถุดิบ

ทีม่ ใี นท้องถิ่นไดเ้ ป็นอยา่ งดใี ห้ผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้น สามารถจาหน่ายได้ง่าย ทั้งที่เป็นเป็ดมี
ชีวิตและเนื้อเป็ดชาแหละเน้ือเป็นท่ีนิยมสาหรับผู้บริโภคในท้องถ่ินโดยท่ัวไป จึงสามารถจาหน่ายได้
ง่ายเป็นตลาดท้องถิ่นอุปกรณ์สาคัญที่ต้องจัดเตรียม โรงเรือน(ควรทาจากไม้หรือวัสดุท่ีหาง่ายใน
ท้องถิน่ หลงั คามงุ ดว้ ยจาก หญ้าคา หรือแฝก) เล้าเลี้ยงลูกเป็ด หลอดไฟให้ความอบอุ่น รางใส่อาหาร
รางใสน่ า้ แนวทางการเลี้ยงเป็ดเทศแบ่งออกเป็น 3 ช่วงสาคัญ 1.ตัง้ แต่แรกเกิด – อายุ 3 สัปดาห์ การ
ฟักไข่จะใช้เวลาประมาณ 35 วัน เม่ือลูกเป็ดเทศเกิด นาไปเล้ียงในเล้า ซ่ึงมีผ้าหรือกระสอบป่านตัด
เย็บล้อมรอบเล้า เพ่ือป้องกันลมโกรกถูกตัวลูกเป็ดพ้ืนเล้าควรปูด้วยแกลบหรือวัสดุท่ีสะอาด หนา
ประมาณ 2-3 นิ้ว จัดวางหลอดไฟให้ความอบอุ่น เตรียมรางใส่อาหาร รางใส่น้าไว้ในเล้า ให้อาหาร
เป็ดวนั ละ 4-5 คร้ัง อุณหภูมทิ ี่เหมาะสมในการกกลูกเป็ด ควรสงั เกตจากปฏิกริ ิยาของลกู เป็ดด้วย ถ้ามี
ลูกเป็ดนอนสุมทับกันและมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่าเกินไป ต้องเพิ่มความอบอุ่นให้ ถ้าลูกเป็ด
กระจายอยู่และยืนอ้าปากหอบกางปีก แสดงว่าร้อนเกินไป ต้องลดอุณหภูมิลง ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ
ลูกเป็ดจะนอนราบกับพื้นกระจายอยู่ทั่วไป การกกลูกเป็ดควรกกประมาณ 3 สัปดาห์ 2.อายุ 4 – 12
สัปดาห์ โรงเรอื นสาหรับเลี้ยงเป็ด ควรแห้งสะอาด ไม่มีน้าขัง ป้องกันแดดและฝนได้ดี รางอาหารควร
วางห่างจากรางน้า มีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวา ให้เป็ดกิน อาหารควรมีโปรตีนประมาณ 16% ถ้า

เลีย้ งเปด็ เทศเพ่ือจาหน่าย ควรจาหน่ายอายุ 10-12 สัปดาห์ 3.อายุประมาณ 13 – 24 สัปดาห์ ช่วงน้ี
เปด็ จะกิน

อาหารมากข้ึน การเจริญเติบโตน้อย จึงเล้ียงด้วยอาหารให้เพียงพอสาหรับรักษาขนาด
และนา้ หนักของเปด็ ให้เพิม่ ข้นึ เล็กนอ้ ย อาหารที่ใหช้ ่วงน้ี ควรมีโปรตนี ประมาณ 14%

การเล้ียงพ่อแม่พันธุ์เป็ดเทศ เป็ดที่จะเร่ิมไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ วันหนึ่งควรให้อาหาร 2
คร้ัง เช้า-เยน็ ปริมาณทใ่ี หแ้ มพ่ ันธุ์ 130-150 กรัม/ตัว/วนั พอ่ พันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน อาหารท่ีให้
ควรมีโปรตีนประมาณ 15-18% เป็ดเทศปีหน่ึงจะไข่ประมาณ 4-5 ชุด ชุดละ 15-20 ฟอง สามารถไข่
ได้ 2 ปี ลักษณะเป็ดเทศที่จะไข่มีขนสีดาเป็นมัน หน้าแดง ร้อง แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดสงบ จึงควรมีรัง
ไขบ่ ดุ ้วยฟางหรอื วัสดแุ ห้ง ๆ จัดไว้ในมุมมืดของเล้าสาหรับแม่เป็ด การป้องกันโรค โรคที่สาคัญในเป็ด
เทศ ได้แก่ โรคอหิวาต์ และโรคดั๊กเพล็ก จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โรคอหิวาต์ ฉีดวัคซีนเม่ือ
เปด็ อายุ 1-1 เดอื น ครงึ่ ปลี ะ 4 คร้ัง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 2 ซีซี โรคดั๊กเพล็ก ฉีดวัคซีนเม่ือเป็ดอายุ
21 วัน ปลี ะ 2 ครง้ั โดยฉีดเข้ากลา้ มตวั ละ 1 ซซี ี

ไก่สามสายพนั ธ์ุ

ไก่สามพันธุ์ กรมปศุสัตว์มีนโยบายด้านการวิจัย และพัฒนาพันธ์ุสัตว์ปีกและ

เทคโนโลยีการจัดการตา่ ง ๆ ใหเ้ หมาะสมกบั สภาพภูมิอากาศ และการเล้ียงดูของเกษตรกรรายย่อยใน
ท้องถนิ่ และเปน็ ทต่ี ้องการของตลาด ซงึ่ ในปัจจุบันความนิยมของผู้บริโภคเน้นไปท่ีไก่พ้ืนเมืองพันธ์ุแท้
เรพาะรสชาดดีเนื้อแน่น ไขมันต่าและเนื้อมีกล่ินหอม ซึ่งตรงกันข้ามกับไก่เน้ือโตเร็วที่มีจาหน่ายอยู่
ทั่วไปในตลาด ด้ังนั้น กลุ่มงานสัตว์ปีก กองบารุงพันธ์ุสัตว์ จึงได้ทาการวิจัยผสมพันธุ์ไก่สามสายพันธ์ุ
ขึ้นมา เพ่ือทาเป็นสายแม่พันธ์ุ ที่มีคุณสมบัติให้ลูกดก เจริญเติบโตเร็ว เน้ือหน้าอกเต็ม และเมื่อนาไป
ผสมกับพันธ์ุพ้ืนเมืองแล้วจะให้ลูกผสมส่ีสายพันธุ์ท่ีมีลักษณะไม่แตกต่างกับไก่พ้ืนเมือง คุณภาพเน้ือ
ทัดเทียม หรือดีกว่าไก่พ้ืนเมือง การวิจัยพันธุ์ได้เริ่มดาเนินงานต้ังแต่ปี 2537 ที่สถานีบารุงพันธ์ุสัตว์
บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และวิจัยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่ีสถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีก
แห่งชาติ อาเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี การวิจัยพันธุ์มีวัตถุประสงค์สาคัญประการหนึ่ง คือ ให้
เกษตรกรขยายพนั ธุ์เองได้ ไม่กลายพนั ธุ์ และไก่สามสายพนั ธยุ์ ังเป็นแม่พันธ์ุพื้นฐานสาหรับผสมเป็นไก่
เนื้อพ้ืนเมืองเติบโตเร็ว ห้าสายพันธุ์ได้อีกด้วย คือ สามารถท่ีจะปรับเปล่ียนสลับพ่อพันธุ์ให้ได้ลูกโตช้า
โตเร็วได้ตามความต้องการ แม้แตไ่ ก่พันธุ์เน้ือโตเร็วก็ใช้แม่พนื้ ฐานสามสายพันธุ์หรือจะใช้พันธ์ุสามสาย
ผลติ เป็นไกพ่ ้ืนเมืองโดยตรงกไ็ ด้ คุณภาพเนื้อแตกตา่ งกนั เลก็ น้อย แต่เจริญเติบโตเร็วกว่านาไปผสมกับ
ไก่พ้นื เมอื ง ซงึ่ แผนการผสมพนั ธ์ุ

โรคและการรักษาโรค
โรคไก่ทั่วๆ ไปแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคท่ีรักษาได้และโรคท่ีรักษาด้วยยาไม่ได้ต้องป้องกันด้วย

วัคซีนอย่างเดียว โรคท่ีรักษาด้วยยาได้และเป็นมากท่ีสุด คือ โรคบิด โรคบิด จะเกิดเฉพาะกับลูกไก่
อายุ ต่ากว่า 2 เดือน โดยเฉพาะลูกไก่อายุ 3-4 สัปดาห์ จะติดเชื้อได้ง่าย ลักษณะอาการของโรค คือ
ลกู ไกจ่ ะถา่ ยเป็นมกู มีเลือดปนออกมา ตัวท่ีเป็นมาก ๆ ถ่ายเป็นเลือดเลยทีเดียวไก่ไม่กินอาหาร ยืนซึม
ปีกตกหนาวสั่นรวมกันเป็นกลุ่มๆ เกษตรกรควรหมั่นสังเกตพื้นคอกทุกวันหรือทุกครั้งท่ีเข้าคอกไก่
สังเกตดูว่าไก่ถ่ายมูลมีลักษณะปกติหรือไม่ ถ้าเห็นมีเลือดปนมูลก็ให้รีบแก้ไข โดยการให้ยาละลายน้า
ใหไ้ ก่กนิ เชน่ ยาซัลเมท ไตรซัลฟา หรอื ซลั ฟาละลายน้า ตามคาแนะนาของผผู้ ลติ ใหไ้ ก่กนิ 3 วัน หยุด
1 วัน แล้วให้ต่ออีก 3 วันก็จะหายจากโรคบิด ข้อระวังคือยาประเภทพวกซัลฟา ถ้าให้ไก่กินมากๆ ไก่
จะแคระแกรน็ ดงั น้ันการใหย้ าควรตวงและวัดให้ไดต้ ามทบี่ ริษัทผู้ผลิตแนะนาอย่างเคร่งครัด ตามปกติ
แล้วถ้าเราซ้ืออาหารสาเร็จสาหรับลูกไก่เนื้อและลูกไก่ไข่อายุต่ากว่า 6 สัปดาห์ ผู้ผลิตจะผสมยา
ป้องกันโรคบิดเสมอ เวลาซื้ออาหารสัตว์ควรจะอ่านรายละเอียดว่ามียาป้องกันโรคบิดหรือไม่ ยาที่ใช้
ผสมอาหารลูกไก่ทั่วไปจะใช้ยาโคแบน สาหรับลูกไก่อายุ 0-3 สัปดาห์คอยเดนสาหรับลูกไก่อายุ 4-6
สัปดาห์ และแอมโปรเลย่ี มสาหรับไก่อายุ 7-12 สัปดาห์ หรือจะใชอ้ ยา่ งใดอยา่ งหนึ่งตลอด 3 อายุ ก็ได้
แต่ทีสาคัญท่ีต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วน คือ ถ้าสังเกตเห็นถ่ายเป็นเลือดให้รีบรักษาและเปล่ียนวัสดุรอง
พื้นใหม่ทนั ที โรยปนู ขาวก่อนนาวัสดรุ องพื้นใหม่ใสล่ งไป ปนู ขาว 3 กก.ตอ่ พื้นท่ี 10 ตารางเมตร

สาเหตุ
เกิดจากเชือ้ เอเวยี นพารามิกโซไวรัส ซีโรไทป์ 1 มีคุณสมบัติในการจับกลุ่มตกตะกอนกับเม็ดเลือด

แดง (hemagglutination) ซ่ึงคุณสมบัติน้ีมีประโยชน์ในการชันสูตรโรค ความต้านทานของไวรัสใน
ส่งิ แวดล้อม

การติดต่อ
การหายใจ การกินอาหารหรือน้าท่ีมีเช้ือปนเปื้อน เกิดในไก่ทุกอายุ ระยะฟักตัว ระยะฟักตัวของ

โรคตามธรรมชาติ 2-15 วัน หรืออาจนานกว่า 15 วนั ก็ได้ โดยทวั่ ไปเฉลยี่ 5-6 วัน

อาการสาคัญ
ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ุเชื้อ ชนิดรุนแรงจะทาให้ไก่ตายเป็นจานวนมากทันที โดยจะแสดงอาการทาง

ระบบหายใจ หายใจลาบาก มีเสียงดัง ไอ จาม ซึม เบ่ืออาหาร ตัวสกปรก ทวารหนักเป้ือนอุจจาระ
กล้ามเนอื้ สน่ั หวั สน่ั คอบดิ ปกี ตก อมั พาตกอ่ นตาย เดินโซเซล้มลง ไก่ท่ีแสดงอาการทางประสาทแล้ว
จะไม่รอด อตั ราการเปน็ โรค 60-100 เปอรเ์ ซ็นต์ ไกท่ ่รี อดจะแคระแกรน็ คอบดิ ปีกตกตลอดอายุ

คณะกรรมการดาเนินงาน

1. นายจติ ร หอมเกตุ บิดา
2. นางวิน หอมเกตุ มารดา
3. นายคุณาวฒุ ิ หอมเกตุ หัวหนา้ โครงการชีววถิ ฯี วิทยาลยั เทคนคิ ทงุ่ สง
4. นางนภสั ภรณ์ หอมเกตุ ครู ค.ศ. 2 วทิ ยาลัยเทคนิคท่งุ สง
5. เด็กชายศุภกฤต หอมเกตุ บตุ รชาย
6. เด็กชายสริ วิชญ์ หอมเกตุ บุตรชาย


Click to View FlipBook Version