The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยที่ 5 การเขียนเพื่อติดต่อกิจธุระ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nsdv, 2019-06-28 17:47:24

หน่วยที่ 5 การเขียนเพื่อติดต่อกิจธุระ

หน่วยที่ 5 การเขียนเพื่อติดต่อกิจธุระ

ชดุ การเรียน

หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศกั ราช ๒๕๖๒

๓๐๐๐๐-๑๑๐๑
ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

หนว่ ยที่ ๑

สานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ

ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพ่ือพัฒนาทักษะการส่ือสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูงนี้ จัดทาข้ึนเพ่ือใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อส่ือสารในงาน
อาชพี หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ
ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี
จุดประสงค์เพ่ือให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับ
หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนาภาษาไทยไปใช้เป็นเคร่ืองมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี
ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน
แผนการเรียนประจาหน่วย เน้ือหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ
ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวนโ์ หลด (Download) ชุดการเรียน
น้ีเพ่ือศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ
นาไปใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนในสถานศกึ ษาได้ เปน็ การสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ
พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งน้ี ชุดการเรียนนี้จะนาไปใช้ใน
สถานศึกษานาร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งข้ึนและขยายผลแก่สถานศึกษา
อาชวี ศึกษาทุกแหง่ ตอ่ ไป

สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขอขอบคณุ ศนู ยอ์ าชวี ศกึ ษาทวภิ าคี ศูนยส์ ่งเสริมและ
พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก
ท่าน ที่มีส่วนช่วยให้การดาเนินการจัดทาชุดการเรียนโดยใช้ส่ือดิจิทัลเพ่ือพัฒนาทักษะการสื่อสาร
ภาษาไทยครั้งน้ีบรรลุผลสาเร็จตามท่ีมุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ
พฒั นาตนเองและประยกุ ต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เปน็ อยา่ งดี

ศูนย์สง่ เสริมและพฒั นาอาชวี ศึกษาภาคเหนอื
ศูนย์อาชวี ศึกษาทวิภาคี
พฤษภาคม ๒๕๖๒

สารบญั

ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

รายละเอียดรายวิชา หน้า

วธิ กี ารศึกษา (ก)
• ข้นั ตอนการเรยี นชดุ การเรยี น
• ขน้ั ตอนการเรียนระดับหน่วย (ข)
(จ)
หน่วยท่ี ๕ การเขียนเพอ่ื ตดิ ตอ่ กจิ ธุระ (ฉ)

• แบบประเมนิ ตนเองกอ่ นเรยี น หนว่ ยท่ี ๕ ๑
• แผนการเรยี น หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพอ่ื ตดิ ตอ่ กจิ ธุระ

- แผนการเรยี น มอดลู ท่ี ๕.๑ การเขียนรายงานการประชุม ๒
- แผนการเรียน มอดลู ที่ ๕.๒ การเขยี นรายงานการปฏิบตั งิ าน ๔
- แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๕.๓ การเขยี นบันทึกภายในหนว่ ยงาน ๑๒
- แผนการเรยี น มอดูลท่ี ๕.๔ การเขียนโครงการ ๒๔
• แบบประเมนิ ตนเองหลังเรยี น หนว่ ยที่ ๕ ๓๔
• ภาคผนวก ๔๐
๔๑

รายละเอยี ดรายวชิ า

ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓
(Occupational Thai Language Skills)

จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้

๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี
๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน

วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์
๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ

สมรรถนะรายวชิ า

๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ
สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ

๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท
ต่าง ๆ

๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ
บคุ คลและสถานการณ์

๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ
ใช้ภาษาไทย

คาอธบิ ายรายวชิ า
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย

การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด
นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก
ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ

(ก)

วธิ กี ารศกึ ษา

ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ
ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั

๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ
๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้
๓. วิธกี ารเรียน

โครงสร้างเนือ้ หาสาระ
ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง

โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี

หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ
หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น
หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ

หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม
หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ
หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี
หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั

โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้
ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย

ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์

วิธีการเรยี น
เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล

ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี
๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์

ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ
๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ

ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา
๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ

ตอบหรอื เฉลย
๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น

(ข)

๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด
๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น

๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ
ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม
คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น

๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย
ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า
รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม
เกณฑท์ ก่ี าหนด

๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย
๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา
๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย
๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้
๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย
๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
๓.๓.๓ แนวคดิ
๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล
๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ
๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน

๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น
“กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง

ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน
ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ
วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด

(ค)

๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้
บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ

ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา
รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ
ด้วย

๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา
ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง

ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ
สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย

๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์
ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้
๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน

แตล่ ะหน่วยการเรียน
๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด
๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน
๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด
หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู

เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ
รายวิชา

๘. เขา้ รบั การสอบ
เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ

สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น

(ง)

(จ)

(ฉ)

แบบประเมินตนเองก่อนเรยี น

หนว่ ยที่ ๕

http://bit.ly/thai-test5

ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑

แผนการเรยี น หนว่ ยที่ ๕

การเขียนเพอื่ ติดตอ่ กิจธุระ

มอดลู

๕.๑ การเขยี นรายงานการประชมุ
๕.๒ การเขยี นรายงานการปฏบิ ัตงิ าน
๕.๓ การเขียนบนั ทึกภายในหนว่ ยงาน
๕.๔ การเขียนโครงการ

แนวคดิ

สังคมปัจจุบันการติดต่อสื่อสารในแต่ละช่องทางเป็นสิ่งสาคัญ และเป็นส่วนหนึ่งท่ีทาให้การ
ดาเนินงานเป็นไปด้วยความราบร่ืน ประสบความสาเร็จ ผู้ใดที่มีศิลปะในการใช้ภาษาท้ังภาษาพูดและ
ภาษาเขียนย่อมได้เปรียบ ผู้เรียนจึงควรศึกษาเรื่องราวการติดต่อเพ่ือกิจธุระด้วยวิธีการเขียนซ่ึงมี
หลากหลายเชน่ การเขียนบันทึก การเขียนโครงการ การเขียนรายงานการปฏิบตั ิงาน ฯลฯ เพื่อเตรียม
ความพรอ้ มส่กู ารประกอบอาชีพ

จุดประสงคก์ ารเรียน

๑. เมื่อศึกษามอดูลที่ ๕.๑ เร่ืองการเขียนรายงานการประชุม แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียนรายงานการ
ประชมุ ได้

๒. เม่อื ศกึ ษามอดลู ท่ี ๕.๒ เรอ่ื งการเขียนรายงานการปฏบิ ัตงิ าน แล้ว ผเู้ รยี นสามารถเขยี นรายงาน
การปฏิบัตงิ าน ได้

๓. เมื่อศึกษามอดูลท่ี ๕.๓ เรื่อง การเขียนบันทึกภายในหน่วยงาน แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียน
บนั ทกึ ภายในหน่วยงานได้

๔. เม่อื ศกึ ษามอดลู ท่ี ๕.๔ เรอื่ งการเขียนโครงการ แล้ว ผูเ้ รียนสามารถเขียนโครงการได้

๒ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพือ่ การสอื่ สารในงานอาชพี

กจิ กรรมการเรียน

๑. ทาแบบประเมินกอ่ นเรียนมอดูล
๒. ศึกษามอดลู ท่ี ๕.๑- ๕.๔ แลว้ ปฏิบตั ิกิจกรรมตามมอดลู
๓. ทาแบบประเมนิ หลงั เรยี น

สอ่ื และแหลง่ การเรยี น

๑. มอดูล ๕.๑ - ๕.๔
๒. ใบงาน
๓. หนงั สอื คน้ ควา้ เพ่ิมเติม

การประเมนิ ผลการเรยี น

๑. ประเมนิ ความก้าวหนา้ ระหว่างการประเมนิ ตนเองก่อนและหลงั เรยี น (ไมม่ ีคะแนน)

๒. ประเมนิ กจิ กรรมภาคปฏบิ ัติ (........คะแนน)

๓. คุณธรรม จริยธรรม ( ๒๐ คะแนน)

๔. การสอบปลายภาค (….….คะแนน)

ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื สือ่ สารในงานอาชีพ ๓

แผนการเรยี น มอดลู ที่ ๕.๑

การเขียนรายงานการประชุม

มอดูลที่ ๕.๑

โปรดอ่านหัวข้อเร่ือง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลท่ี ๕.๑ แล้วจึงศึกษา
รายละเอยี ดต่อไป

หัวข้อเรอ่ื ง

๕.๑.๑ ความหมายของรายงานการประชมุ
๕.๑.๒ คาศพั ทท์ ีใ่ ชใ้ นการเขยี นรายงานการประชมุ
๕.๑.๓ จดุ มงุ่ หมายในการจดรายงานการประชมุ
๕.๑.๔ หลักการเขยี นรายงานการประชมุ

แนวคดิ

ในทกุ องคก์ รไมว่ า่ จะเปน็ หนว่ ยราชการหรอื องค์กรทางธรุ กจิ หากมีการประชุมปรกึ ษาหารือเพ่ือ
การดาเนินงานให้สาเร็จ ย่อมมีการจดบันทึกการประชุมไว้เป็นหลักฐาน ผู้ท่ีจะดาเนินการน้ี คือ ผู้ที่ทา
หน้าที่เลขานุการในที่ประชุม ดังนั้นนักศึกษาจึงควรเรียนรู้หลักและวิธีการเขียนเพื่อสามารถนาไปใช้ใน
อาชพี ในอนาคตขา้ งหน้าได้

จุดประสงคก์ ารเรยี น

๑. เมื่อศึกษาหวั ขอ้ เร่อื งที่ ๕.๑.๑ “ความหมายของรายงานการประชุม” แลว้ นักศึกษาบอก
ความหมายได้

๒. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๕.๑.๒ “คาศัพท์ที่ใช้ในการประชุม” แล้ว สามารถนาไปใช้เขียน
รายงานการประชุมไดถ้ กู ตอ้ ง

๓. เม่ือศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๑.๓ “จุดมุ่งหมายในการจดรายงานการประชุม” แล้ว สามารถ
บอกจุดมงุ่ หมายของการจดรายงานการประชมุ ได้

๔. เมอ่ื ศกึ ษาหวั ข้อเรอื่ งที่ ๕.๑.๔ “หลักการเขียนรายงานการประชุม” แลว้ สามารถเขียนได้

๔ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพ่ือการส่อื สารในงานอาชีพ

เนื้อหา

๑. ความหมายของรายงานการประชมุ

รายงานการประชมุ คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชมุ ผู้เข้าร่วมประชุมและมตขิ องที่
ประชุมไวเ้ ป็นหลักฐาน

๒. คาศัพทเ์ ก่ยี วกบั การประชมุ

๑. องคป์ ระชุม หมายถึง คณะกรรมการหรือสมาชิก ผ้มู หี นา้ ทต่ี ้องเข้าประชมุ ได้แก่ ประธาน
รองประธาน (ถา้ มี) กรรมการหรือสมาชกิ เลขานกุ าร

๒. ครบองค์ประชมุ หมายความว่า ครบจานวนผ้เู ขา้ ประชมุ ตามที่ระบุไว้ในระเบยี บหรือจานวน
กรรมการเกนิ ครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการหรือสมาชิกท้งั หมด ถ้ามานอ้ ยถอื ว่าไม่ครบ องคป์ ระชมุ ตามท่ี
กาหนด ประธานตอ้ งยกเลิกการประชุม เพราะมติทไี่ ด้จากทีป่ ระชุมจะเป็นโมฆะเนอื่ งจากไม่เป็นคะแนน
เสยี งข้างมาก

๓. ญัตติ หมายถึง ข้อเสนอท่ีสมาชิกเสนอต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาลงมติ การเสนอโดยปกตจิ ะ
ทาเป็นหนังสอื ต่อประธาน เพื่อบรรจุเข้าในระเบียบวาระการประชมุ แต่ถ้าเป็นการเร่งด่วนสมาชิกอาจ
เสนอในที่ประชุมเลยก็ได้

๔. การแปรญัตติ หมายถึง การเปล่ียนแปลงญัตติด้วยการเพ่ิม ตัดออก หรือเสนอซ้อน ทั้งด้าน
ถ้อยคาและข้อแม้ต่าง ๆ คาศัพท์ญัตติและแปรญตั ตนิ ีใ้ ช้เฉพาะการประชุมบางประเภท เช่น การประชมุ
สภาผแู้ ทนราษฎร การประชุมสภาองคก์ ารบรหิ ารสว่ นจังหวดั เป็นต้น

๕. มติ คือ ขอ้ ตกลงของทปี่ ระชมุ การออกเสยี งลงมตนิ ้ถี ือเสยี งข้างมาก ซ่ึงทกุ คนตอ้ งยอมรบั แม้
บางคนจะไมเ่ ห็นด้วย การออกเสียงลงมตอิ าจทาโดยเปดิ เผย คอื การยกมอื หรอื ลงมติแบบลบั คือเขียนใส่
ซองปิดผนกึ และตรวจนบั ภายหลงั กไ็ ด้

๖. ท่ปี ระชมุ หมายถึง บรรดาผ้เู ข้าประชุมทง้ั หมด (ไมร่ วมผ้จู ดั การประชุม)
๗. สมัยการประชุม หมายถึง ช่วงเวลาที่จัดประชุม ซึ่งแบ่ง ๒ สมัย คือ การประชุมสมัยสามัญ
หมายถึง การประชุมตามท่ีได้มีการกาหนดเวลาไว้อย่างแน่นอน และการประชุมสมัยวิสามัญ หมายถึง
การประชมุ ที่จดั เปน็ พเิ ศษ เพราะมีเรือ่ งสาคัญเรง่ ดว่ นทตี่ อ้ งการปรกึ ษากัน หรือต้องการพจิ ารณา รวมทัง้
มีเร่อื งสาคัญท่ตี ้องการใหค้ ณะกรรมการทราบโดยด่วน

ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สอ่ื สารในงานอาชีพ ๕

๘. ระเบียบวาระการประชุม หมายถึง เร่ืองท่ีจะนาเข้าปรึกษากันในที่ประชุมตามลาดับก่อน-
หลัง ซึ่งการประชุมส่วนมากมักมีกาหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ (เป็นการกาหนดตามระเบียบ
งานสารบรรณ ๒๕๒๖ คาอธิบายที่ ๑๐ เร่อื งรายงานการประชุม)

ระเบยี บวาระท่ี ๑ เรื่องท่ีประธานแจง้ ให้ท่ปี ระชุมทราบ
ระเบยี บวาระที่ ๒ เร่อื งรบั รองรายงานการประชมุ
ระเบยี บวาระท่ี ๓ เรอ่ื งเสนอใหท้ ป่ี ระชมุ ทราบ
ระเบยี บวาระที่ ๔ เรื่องเสนอให้ทป่ี ระชมุ พิจารณา
ระเบยี บวาระท่ี ๕ เรื่องอน่ื ๆ
๙. จดหมายเชิญประชุม คือ จดหมายแจ้งสถานที่ วัน เวลาการประชุม พร้อมท้ังระเบียบวาระ
การประชุมตามท่ีประธานกาหนด
๑๐. รายงานการประชมุ คอื การบนั ทึกความคิดเหน็ ของผ้เู ขา้ ประชุม ผ้เู ขา้ ร่วมประชมุ และมติ
ของทป่ี ระชมุ ไว้เปน็ หลกั ฐาน

ทบทวนความร้รู ายงานการประชุม

https://h5p.org/node/452423

๓. จดุ มุง่ หมายในการจดรายงานการประชุม

๑. เพอ่ื เกบ็ ไวเ้ ป็นหลกั ฐานอา้ งองิ
๒. เพอ่ื ยืนยันการปฏบิ ัตงิ าน
๓. เพือ่ แสดงกิจการทด่ี าเนนิ มาแลว้
๔. เพอื่ แจ้งผลการประชมุ ใหบ้ ุคคลที่เกีย่ วขอ้ งทราบและปฏบิ ัตติ ่อไป

๔. หลักในการเขยี นรายงานการประชุม

การเขียนรายงานการประชุม เป็นการนาบันทึกการประชุมท่ีเลขานุการจดข้อความหรือ
บนั ทึกเสยี งในขณะประชมุ ซงึ่ การจดบนั ทกึ การประชมุ อาจทาได้ ๓ วธิ ี คอื

วิธีที่ ๑ จดรายละเอียดทกุ คาพูดของกรรมการ หรือผูเ้ ข้ารว่ มประชมุ ทุกคน พรอ้ มดว้ ยมติ
วิธีท่ี ๒ จดย่อคาพูดท่ีเป็นประเด็นสาคัญของกรรมการหรือผู้เข้าร่วมประชุม อันเป็นเหตุผล
นาไปสมู่ ตขิ องทีป่ ระชุม พร้อมด้วยมติ

๖ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพื่อการสอ่ื สารในงานอาชพี

วิธีที่ ๓ จดแต่เหตุผลกับมติของท่ีประชุม การจดรายงานการประชุมโดยวิธีใดนั้น ให้ที่ประชุม
น้ันเองเปน็ ผู้กาหนด หรือใหป้ ระธานและเลขานุการของที่ประชุม ปรึกษาหารือกนั และกาหนด

เม่ือบันทึกการประชุมเรียบร้อยแล้ว ให้นามาเขียนเป็นรายงานการประชุมตามลาดับหัวข้อ
ดังนี้

๑. รายงานการประชุม ให้ลงช่ือคณะที่ประชุม หรือชื่อการประชุมนั้น เช่น “รายงานการ
ประชุมคณะกรรมการ……………..”

๒. ครง้ั ท่ี การลงครัง้ ทท่ี ี่ประชมุ มี ๒ วธิ ี ทส่ี ามารถเลอื กปฏิบตั ิได้ คือ
๒.๑. ลงคร้ังที่ที่ประชุมเป็นรายปี โดยเร่ิมคร้ังแรกจากเลข ๑ เรียงเป็นลาดับไปจนส้ินปี

ปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ประชุมเมื่อขึ้นปีปฏิทินใหม่ให้ เริ่มคร้ังท่ี ๑ ใหม่ เรียงไปตามลาดับ เช่น
คร้งั ที่ ๑/๒๕๔๔

๒.๒ ลงจานวนคร้งั ท่ปี ระชมุ ทั้งหมดของคณะทีป่ ระชุม หรอื การประชุมน้ันประกอบกบั ครั้งท่ี
ทป่ี ระชุมเป็นรายปี เชน่ ครงั้ ที่ ๓๖-๑/๒๕๔๔

๓. เมื่อ ให้ลงวัน เดือน ปี ท่ีประชุม โดยลงวันท่ี พร้อมตัวเลขของวันที่ ช่ือเต็มของเดือนและ
ตวั เลขของปพี ทุ ธศักราช เชน่ เมื่อวนั ท่ี ๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๔๔

๔. ณ ใหล้ งช่อื สถานท่ี ทใี่ ช้เป็นทีป่ ระชุม
๕. ผู้มาประชุม ให้ลงช่ือและหรือตาแหนง่ ของผ้ไู ด้รับแตง่ ตง้ั เป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชมุ ใน
กรณที ่ีเป็นผไู้ ด้รบั การแต่งตงั้ เป็นผ้แู ทนหนว่ ยงาน
ให้ระบวุ ่าเปน็ ผู้แทนของหน่วยงานใด พรอ้ มตาแหนง่ ในคณะทปี่ ระชมุ ในกรณที เี่ ป็นผมู้ าประชมุ
แทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทนและลงดว้ ยวา่ มาประชมุ แทนผูใ้ ด หรอื ตาแหนง่ ใด หรือแทนผู้แทน
หน่วยงานใด
๖. ผูไ้ มม่ าประชมุ ให้ลงช่อื หรือตาแหน่งของผ้ทู ไ่ี ด้รบั การแตง่ ตง้ั เป็นคณะทปี่ ระชุม ซงึ่ มไิ ด้มา
ประชุม โดยระบใุ ห้ทราบวา่ เปน็ ผูแ้ ทนจากหน่วยงานใด พรอ้ มทง้ั เหตุผลที่ไมส่ ามารถมาประชมุ ถ้าหาก
ทราบดว้ ยกไ็ ด้
๗. ผเู้ ข้าร่วมประชมุ ให้ลงช่ือหรือตาแหนง่ ของผูท้ ่มี ิไดร้ บั การแตง่ ตงั้ เปน็ คณะท่ีประชุม ซงึ่ ได้เข้า
มารว่ มประชุม และหนว่ ยงานทสี่ งั กดั (ถา้ มี)
๘. เรมิ่ ประชมุ ให้ลงเวลาท่ีเริ่มประชมุ
๙. ข้อความ ให้บันทึกข้อความทป่ี ระชมุ โดยปกติให้เรม่ิ ดว้ ยประธานกล่าวเปิดประชมุ และเรอื่ ง
ที่ประชุมกบั มตหิ รือขอ้ สรุปของท่ีประชุมในแตล่ ะเรอื่ ง ประกอบด้วยหัวขอ้ ดงั น้ี

วาระที่ ๑ เรื่องทป่ี ระธานแจง้ ใหท้ ป่ี ระชุมทราบ

ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชพี ๗

วาระท่ี ๒ เรือ่ งรับรองรายงานการประชุม (กรณีเป็นการประชมุ ทไี่ ม่ใชก่ ารประชมุ
ครั้งแรก)

วาระท่ี ๓ เรอ่ื งที่เสนอให้ท่ีประชมุ ทราบ
วาระที่ ๔ เรอ่ื งท่เี สนอให้ที่ประชุมพิจารณา
วาระท่ี ๕ เรอ่ื งอนื่ ๆ (ถ้าม)ี
๑๐. เลกิ ประชุมเวลา ใหล้ งเวลาท่เี ลิกประชมุ
ผูจ้ ดรายงานการประชมุ ให้เลขานกุ ารหรอื ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้จดรายงานการประชุม ลง
ลายมอื ชื่อ พรอ้ มท้ังพิมพ์ช่ือเต็มและนามสกุล ไว้ใตล้ ายมือช่อื ในรายงานการประชุมครงั้ นัน้ ดว้ ย
การบันทกึ มติทป่ี ระชุม
- กรณีประชุมตามระเบยี บวาระที่เสนอ ไมม่ ีผขู้ ดั แย้ง ควรบนั ทึกเป็นมติท่ปี ระชุมรบั ทราบ หรือ
เห็นชอบ
- กรณีมผี ้เู สนอขดั แย้งและไมเ่ หน็ ด้วยตอ้ งบันทกึ วา่ เห็นด้วย จานวนกเี่ สยี ง ไม่เห็นด้วย จานวนก่ี
เสียง
- กรณที ีป่ ระชุมมีคะแนนเสยี งเปน็ เอกฉันท์ หรือดว้ ยเสียงขา้ งมากจานวน........เสยี ง
การบันทึกรายงานการประชุม ผู้บันทึกต้องให้ผู้เข้าประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมบันทึกเร่ืองท่ี
พิจารณาและลงมติไว้ทุกเร่ือง และให้ประธานในที่ประชุม กับเลขานุการหรือกรรมการอ่ืนอีกคนหนึ่งท่ี
เข้าประชุมลงลายมอื ชอ่ื ดว้ ย

๘ ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื การสือ่ สารในงานอาชีพ

รูปแบบรายงานการประชมุ

รายงานการประชมุ ……………………………………………………
คร้ังที่…………………..

เมือ่ …………………………….
ณ…………………………………………………………………

————————————-
ผมู้ าประชมุ ………………………………………………….
ผูไ้ ม่มาประชุม (ถ้าม)ี
ผเู้ ข้าร่วมประชมุ (ถา้ ม)ี
เริ่มประชมุ เวลา
(ขอ้ ความ)
………………………………………………………………………………………………………….…………………………………
…………………………………………………………………………………….………………………………………………………
……………………………………………………………….……………………………………………………
เลกิ ประชุมเวลา.....................

ผู้จดรายงานการประชมุ

กจิ กรรมรูปแบบรายงานการประชมุ ๙

https://h5p.org/node/452464

กิจกรรมการเรยี นการสอน

1. ศึกษาเอกสารมอดูลท่ี ๕.๑
2. ฝึกเขียนรายงานการประชุมตามใบงานที่ ๑

ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สื่อสารในงานอาชพี

เอกสารอา้ งอิง

สานกั นายกรัฐมนตร.ี (๒๕๔๐). ระเบยี บสานักนายกรฐั มนตรีวา่ ด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖. พมิ พ์
ครั้งที่ ๑๒. กรงุ เทพฯ : สวสั ดกิ ารสานกั งาน ก.พ.
สายใจ มองเนียม. (๒๕๔๒). ภาษาไทย ๓. กรุงเทพฯ : เอมพันธ.์

๑๐ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ การส่อื สารในงานอาชพี

ใบงานที่ ๑

คาสัง่ จากโจทยท์ ก่ี าหนดให้ จงเขียนรายงานการประชมุ ใหถ้ กู ตอ้ งตามรปู แบบการเขียนรายงานการ
ประชมุ

สมมุติใหน้ กั ศึกษาเปน็ กรรมการและเลขานกุ ารของคณะกรรมการการจดั งาน “เทดิ พระคุณ
อาจารย์” วทิ ยาลยั อาชวี ศึกษาอตุ รดิตถ์ ได้มีการประชุมคณะกรรมการไปเม่ือวนั ที่ ๒๒ กรกฎาคม
๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. มคี ณะกรรมการดังน้ี นายจีรพฒั น์ เจยี้ มกลนิ่ เปน็ ประธาน นายพิเชษฐ์
สวุ รรณช่นื นางบศุ รา คงศักดิ์ นางรัตนา เหรียญทอง นางมาลยั วลั ย์ วงศ์ใหญ่ นางผกามาศ พุก
อินทร์ นางสภุ าวกลุ เปน็ กรรมการทม่ี าประชุม นางเบญจพร อา่ แจง้ เป็นกรรมการท่ไี มม่ าประชุม
เพราะตดิ ราชการ เมื่อกรรมการมาพรอ้ มกันท่ีห้องลลี าวดี อาคารอานวยการ เรียบรอ้ ยแล้ว ประธานเริม่
ประชมุ ดว้ ยการแจง้ ว่า ขณะน้ที ราบจานวนของอาจารย์ทีจ่ ะเกษียณอายใุ นปี ๒๕๕๗ แลว้ วา่ มที ง้ั หมด ๔
ท่าน เปน็ อาจารยค์ ณะบรหิ ารธรุ กิจ ๒ ท่าน และคหกรรมศาสตร์ ๒ ท่าน แจง้ แล้วใหด้ รู ายงานการ
ประชมุ ครัง้ ที่แลว้ (๒/๒๕๕๗) นางสภุ าวกลุ ขอให้แก้ไขเรื่องสะกดคาผดิ ในหนา้ ๓ จากคาว่า การศึกษา
บัณฑิต เปน็ การศกึ ษามหาบัณฑติ ไมม่ กี รรมการท่านใดคัดคา้ น เร่ืองตอ่ ไปพจิ ารณาคอื คดั เลอื กแบบโล่
ท่ีประชมุ ไดพ้ จิ ารณาโลท่ ป่ี ระธานนามาให้ดเู ป็นตัวอยา่ ง ๒ แบบคือ รปู ส่ีเหลี่ยมจัตุรสั และสี่เหลี่ยมผนื ผา้
เสียงสว่ นใหญ่เลือกสี่เหลีย่ มผืนผา้ ส่วนวสั ดุขอใหเ้ ปลยี่ นจากไมม้ ะคา่ เป็นไม้สกั ทอง ต่อไปพจิ ารณาเรอ่ื ง
การจดั เลี้ยง นายพเิ ชษฐ์เสนอให้สงั่ อาหารร้านครัวตากะยาย เพราะอาหารอร่อยและสามารถส่ังได้ใน
ราคาพิเศษ แต่นางบศุ ราแยง้ วา่ วิทยาลัยมีสาขาคหกรรมศาสตร์ สมควรให้นักศึกษาได้ฝกึ ฝนวชิ าชพี ของ
ตนเอง ประกอบมอี าจารยใ์ นสาขาคหกรรมศาสตร์ ๒ ทา่ นทเี่ กษยี ณอายุ นางรัตนา เหรียญทองเสนอวา่
เกรงจะเป็นการรบกวนอาจารยใ์ นสาขาคหกรรมศาสตร์ และนกั ศึกษาอยู่ในระหว่างการสอบปลายภาค
เกรงวา่ จะรบกวนการอ่านหนังสอื ของนกั ศึกษา ในที่สุดเสียงสว่ นใหญ่เลือกร้านครวั ตากะยาย และ
มอบหมายใหน้ ายพเิ ชษฐ์เปน็ ผตู้ ดิ ต่อรา้ น เรอื่ งการสง่ั อาหาร วาระสดุ ทา้ ยสดุ พจิ ารณาเร่ืองการตกแตง่
เวที กรรมการสว่ นใหญ่เหน็ ว่า ควรตดิ ตอ่ นกั ศึกษาสาขาศลิ ปกรรมใหช้ ่วยเร่อื งน้ี โดยมอบใหเ้ ลขาเปน็ ผู้
ตดิ ต่อกับสาขาศลิ ปกรรม ก่อนปิดการประชุม ประธานไดข้ อนดั ประชุมอกี ในวนั พฤหสั บดีหนา้ เวลาและ
สถานท่ีเดิม ประธานปิดการประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.

ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สือ่ สารในงานอาชีพ ๑๑

แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๕.๒

การเขยี นรายงานการปฏิบตั งิ าน

มอดูลที่ ๕.๒

โปรดอ่านหัวข้อเร่ือง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลท่ี ๕.๒ แล้วจึงศึกษา
รายละเอยี ดต่อไป

หวั ข้อเรื่อง

๕.๒.๑ ความหมาย
๕.๒.๒ ประโยชนข์ องรายงานปฏบิ ตั ิงาน
๕.๒.๓ ประเภทของรายงานการปฏบิ ัตงิ าน
๕.๒.๔ ลกั ษณะของรายงานการปฏิบตั ิงาน
๕.๒.๕ วิธเี ขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงาน
๕.๒.๖ การใชภ้ าษาในการเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงาน

แนวคดิ

รายงานการปฏิบัติงานเป็นการแสดงข้อมูลต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานเพ่ือให้ผู้รับสารได้รับทราบ
ข้อเท็จจริงและเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน ผู้เขียนต้องพิจารณาเลือกรูปแบบในการรายงานและ
ใชภ้ าษาให้เหมาะสมกับงานท่ีปฏิบัติ จงึ จะสามารถส่อื สารไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ

จดุ ประสงค์การเรยี น

๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๒.๑ “ความหมายของการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว
นักศกึ ษาบอกความหมายได้

๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๕.๒.๒ “ประโยชน์ของรายงานปฏิบัติงาน” แล้ว สามารถบอก
ประโยชน์ของการเขียนรายงานการปฏบิ ตั ิงานได้

๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๕.๒.๓ “ประเภทของรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว สามารถอธิบาย
ประเภทของรายงานการปฏบิ ัตงิ านได้

๑๒ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การส่ือสารในงานอาชีพ

๔. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๒.๔ “ลักษณะของรายงานการปฏิบัติงาน” แล้ว สามารถบอก
ลักษณะของรายงานการปฏิบัตงิ านได้

๕. เม่อื ศึกษาหัวขอ้ เรือ่ งท่ี ๕.๒.๕ “วิธเี ขียนรายงานปฏบิ ัติงาน” แลว้ สามารถเขียนรายงานการ
ปฏิบตั ิงานได้

๖. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๒.๖ “การใช้ภาษาในการเขียนรายงานปฏิบตั ิงาน” แล้ว สามารถ
ใชภ้ าษาในการเขยี นรายงานการปฏิบตั งิ านได้ถกู ต้อง

เนอ้ื หา

๑. ความหมาย

นวภรณ์ อุ่นเรือน (๒๕๔๖ : ๑๓๖) ให้ความหมายของรายงานการปฏิบัติงานว่า เป็นการชี้แจงดว้ ย
การแสดงข้อมูลต่าง ๆ ที่ตนได้ปฏิบัติหรือรับผิดชอบอยู่ให้บุคคลอื่นได้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อประโยชน์ในการ
ปฏิบตั ิงาน หรือประกอบการตดั สนิ ใจอย่างใดอยา่ งหน่งึ ซ่ึงข้อมลู นัน้ อาจเปน็ ข้อมลู ดบิ หรือขอ้ มลู เชิงสถิติท่ีแปล
ความหมายออกมาเป็นตาราง แผนภูมิ แผนภาพ หรอื อื่น ๆ

นนั ทภรณ์ ธิวงคเ์ วียง (๒๕๕๒) ให้ความหมายวา่ รายงาน คอื การเสนอรายละเอยี ดต่าง ๆ เกยี่ วกับการ
ดาเนินงานของบุคคลของหนว่ ยงาน เป็นส่ิงจาเป็นและสาคญั ในการบริหารงานท้ังในหนว่ ยงานราชการและธุรกิจ
เอกชน เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย เป้าหมาย ผลการ
ปฏิบตั ิงาน ปัญหาอปุ สรรคต่าง ๆ ในการดาเนนิ งาน

สรุป รายงานการปฏิบัติงานเปน็ การเขียนช้ีแจงรายละเอียดการทางานเพื่อให้ผู้บริหารหรือบุคคลอื่น
ได้รับทราบข้อมลู เพอื่ นาไปใช้ประโยชน์ในด้านอ่นื ๆ ต่อไป

๒. ประโยชน์ของรายงานปฏบิ ตั งิ าน

นวภรณ์ อนุ่ เรือน (๒๕๔๖ : ๑๓๖-๑๓๗) กลา่ วถึงประโยชนข์ องการเขยี นรายงาน
ปฏบิ ัตงิ านไวด้ งั นี้

1. ทาให้ทราบผลการดาเนินงานทงั้ ในอดีตและปจั จุบนั รวมทั้งปญั หาและอปุ สรรคในการ
ปฏบิ ัตงิ าน

2. เปน็ การประเมนิ ผลการปฏบิ ัติงานที่ทามาแลว้
3. เปน็ แนวทางในการกาหนดโครงการหรอื แผนการปฏิบัตงิ านในอนาคต

ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สือ่ สารในงานอาชพี ๑๓

4. เป็นสือ่ กลางในการตดิ ต่อระหวา่ งผู้ร่วมงาน
5. เป็นเอกสารอา้ งอิงในการศึกษาและปฏบิ ัติงานครงั้ ต่อไป
6. เปน็ เครื่องมือประกอบการตัดสนิ ใจเพ่ือทาการสง่ิ ใดส่งิ หนง่ึ ทง้ั โดยฉบั พลนั และในระยะยาว

๓. ประเภทของรายงานการปฏบิ ัตงิ าน

นวภรณ์ อนุ่ เรอื น (๒๕๔๖ : ๑๓๗) ไดแ้ บง่ ประเภทของรายงานการปฏบิ ัตไิ วด้ งั นี้
1. รายงานแบบธรรมดา เป็นรายงานตามระยะเวลาที่กาหนดอย่างสม่าเสมอ เพื่อแสดง
ความก้าวหน้าหรือความสาเร็จในการปฏิบัติงาน ได้แก่ รายงานการปฏิบัติงานรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์
รายเดือนและรายปี เชน่ รายงานความก้าวหนา้ ของโครงการ รายงานประจาปีของธนาคาร ฯลฯ
2. รายงานแบบพิเศษ เป็นรายงานที่จัดทาข้ึนเป็นครั้งคราวในโอกาสต่าง ๆ ตามความต้องการและ
ความจาเป็น เพ่ือแสดงรายละเอียดของการวิเคราะห์อดีตและปจั จบุ นั เพอื่ กาหนดวธิ ีการปฏบิ ตั ิในอนาคต

๔. ลักษณะของรายงานการปฏบิ ตั งิ าน

รายงานการปฏิบตั งิ านแบง่ ได้เปน็ หลายลกั ษณะตามงานที่ได้รบั มอบหมาย ซงึ่
นวภรณ์ อุ่นเรือน กลา่ วไวด้ ังนี้ (๒๕๔๖ : ๑๓๗-๑๓๘)

๑. รายงานเหตกุ ารณ์ เปน็ รายงานทีใ่ ชเ้ สนอข้อเทจ็ จรงิ ทเ่ี กิดข้นึ อันเป็นผลทาให้เกดิ ความเสยี หาย
เชน่ อุบตั ิเหตุในโรงงาน เครอื่ งจักรเสีย การทางานลา่ ชา้ ค่าใช้จ่ายสงู ผลผลิตตา่ ปัญหาเกยี่ วกับบคุ ลากร เปน็
ต้น รายงานชนิดนี้มุ่งให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช้ภาษาที่เน้นความรู้สึกหรือ
อารมณ์ ซึ่งจะทาให้รายงานนั้นไม่เท่ียงตรง ข้อมูลที่ได้จากการรายงานจะเป็นพ้ืนฐานสาหรับการตีความเพื่อ
ตัดสินใจ เพื่อใช้เป็นหลักฐานตามกฎหมาย หรือเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการเขียนรายงานอื่น ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์แก่การพฒั นาองคก์ รตอ่ ไป

๒. รายงานความก้าวหน้า เปน็ รายงานท่ผี จู้ ดั ทาใช้อธิบายแกบ่ ุคคลหรือบรษิ ทั เกี่ยวกบั งานทไี่ ด้ทา
ไปแลว้ ปญั หาและอปุ สรรคทท่ี าใหเ้ กิดความล่าช้าและงานท่ีจะดาเนนิ การต่อไป รายงานแบบนี้ชว่ ยให้ผูร้ ว่ มงาน
ที่ทางานในส่วนอน่ื ๆ สามารถปรับแผนงาน วธิ ที างานและกาลงั คนได้

๓. รายงานความเป็นไปได้ เมื่อหน่วยงานมอบหมายให้บุคคลในหน่วยงานพิจารณาโครงการใหม่
ผลิตภัณฑ์ใหม่หรอื ซือ้ เครอื่ งจกั รใหม่ บุคคลน้นั จะตอ้ งพิจารณาความเปน็ ไปไดใ้ นการจัดการส่งิ เหลา่ นี้ การเขยี น
รายงานดังกล่าวจะตอ้ งแสดงหลักฐานการตรวจสอบ วิเคราะห์ ขอ้ สรปุ หรือขอ้ เสนอแนะแกห่ น่วยงาน

๑๔ ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื การส่อื สารในงานอาชพี

๔. รายงานการทดลอง ในการทดลองวิทยาศาสตร์ ผู้ทดลองจะต้องเขียนรายงานโดยบอก
จุดประสงค์ วิธีการหรือกระบวนการทดลอง ระบุผลการทดลอง สรุปผลและข้อเสนอแนะแต่ในการปฏิบัติงาน
ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจ นอกจากการทดลองแล้วอาจมีการทดสอบและเขียนรายงาน แต่มักไม่ใช้แบบ
แผนที่เข้มงวดเหมือนรายงานทางวิทยาศาสตร์ แต่ใช้ขั้นตอนการรายงานอย่างเดียวกันได้ การรายงานแบบน้ี
มักจะเขียนในรูปบันทึกขอ้ ความมากกว่าจะกาหนดแบบฟอรม์ ตายตวั

๕. รายงานการทาภาคสนาม เปน็ การเขียนรายงานในกรณีทีอ่ อกไปทางานนอกสถานท่ีเชน่ วิศวกร
ออกสารวจพ้ืนท่ี นักธุรกิจที่ต้องไปดูงานหรือตรวจงาน หาที่ตั้งโรงงาน นักการตลาดออกสารวจข้อมูลการวาง
สินคา้ เปน็ ตน้

จับคู่ความสมั พนั ธร์ ายงานการปฏบิ ตั งิ าน

https://h5p.org/node/452446

๕. วิธเี ขียนรายงานการปฏบิ ัตงิ าน

การเขียนรายงานสามารถทาได้ ๒ วธิ ี คอื เขียนรายงานอย่างสน้ั และรายงานอยา่ งยาว
๑. การเขียนรายงานอย่างส้ัน เป็นรายงานสั้นๆ ความยาว ๑-๒ หน้ากระดาษ เพื่อเสนอข้อเท็จจริง

ความคดิ เหน็ ชแี้ จงเรอ่ื งราว ขออนุญาตดาเนนิ การหรอื เพ่อื ส่งั การรายงานท่มี ีขนาดสน้ั มาก ๆ มกั เป็นรายงานแบบ
ไม่เป็นทางการ โดยอาจเขียนในรูปแบบของบนั ทึกข้อความ จดหมาย บทความหรือกรอกขอ้ ความในแบบฟอร์ม
ตามท่หี นว่ ยงานกาหนด การเขียนรายงานอย่างสน้ั มอี งคป์ ระกอบ คือ

1.1 ส่วนนา เป็นการกล่าวถึงสาเหตุและจุดประสงค์ในการเขียนว่า เขียนขึ้นเพ่ืออะไรหรือเพราะ
เหตุใด

1.2 ส่วนเน้อื หา กล่าวถงึ เนื้อเรอ่ื ง รายละเอียด สาระสาคัญของเร่ืองทรี่ ายงาน โดยระบุขอบเขต
ของเร่ือง ข้อมลู ประกอบ ขอ้ เสนอแนะและความคิดเหน็ ส่วนตวั ของผ้รู ายงาน การเขยี นส่วนเนื้อหาให้ครอบคลมุ
ควรตัง้ คาถามแบบเดยี วกันกับทีน่ กั หนงั สอื พิมพ์ใชใ้ นการเขียนขา่ ว คือ ใครทาอะไร ที่ไหน เม่อื ไร อย่างไร และ
ทาไม

1.3 ส่วนสรุป อาจลงท้ายลักษณะเดียวกับจดหมาย เช่น จึงเรียนมาเพ่ือทราบ จึงเรียนมาเพื่อ
โปรดพจิ ารณาสงั่ การ ฯลฯ แล้วลงช่ือผเู้ สนอรายงาน

๒. การเขียนรายงานอย่างยาว หมายถึง รายงานอย่างเป็นทางการแบบวิเคราะห์ มีความยาวเกิน ๑๐
หน้าข้ึนไป นาเสนอเพอื่ ให้เกิดความเข้าใจ หรือยึดถือเป็นแนวปฏิบตั ิและเก็บเป็นหลักฐาน มีการจัดทารูปเล่ม
ทส่ี ะดวกแกก่ ารเกบ็ และค้นคว้า ภายในเลม่ ประกอบดว้ ย

ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอื่ สอ่ื สารในงานอาชีพ ๑๕

๒.๑ ส่วนประกอบตอนตน้ ได้แก่ ปกนอก ปกใน คานา สารบัญเรื่อง สารบัญภาพ (ถา้ มี) สารบญั
ตาราง (ถ้าม)ี

๒.๒ ส่วนเน้ือหา ได้แก่ บทนา รายละเอียดของเร่ือง ข้อสรุป ผลลัพธ์ ตาราง เชิงอรรถ เป็น
ต้น

๒.๓ สว่ นประกอบตอนท้าย ไดแ้ ก่ ภาคผนวก บรรณานุกรม ดัชนี เป็นตน้

๖. การใชภ้ าษาในการเขียนรายงานการปฏบิ ตั ิงาน

ภาษาท่ใี ชใ้ นการเขยี นรายงานควรมีลกั ษณะดงั นี้
๑. ใช้ภาษาทางการ เปน็ ภาษาเขยี นมากกว่าภาษาพูด
๒. เขียนอย่างรวบรดั ตรงประเดน็ นาเสนอเฉพาะข้อมูลที่เก่ยี วขอ้ ง
๓. กระชับ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจน อาจใชต้ วั เลข ตาราง กราฟหรอื แผนภาพ

ประกอบ
๔. ใช้ภาษาและถอ้ ยคาสานวนคงเส้นคงวา ไม่เปลย่ี นไปเปลยี่ นมา

กิจกรรมการเรยี นการสอน

3. ศึกษาเอกสารมอดูลท่ี ๕.๒
4. ปฏิบตั ใิ บงานที่ ๒

จับคคู่ วามสมั พนั ธร์ ายงานการปฏบิ ัติงาน

https://h5p.org/node/452339

๑๖ ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื การสอื่ สารในงานอาชีพ

เอกสารอ้างองิ

นวภรณ์ อุ่นเรอื น. (๒๕๔๖). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ ๑. กรงุ เทพ ฯ : จริ วฒั น.์
นันทภรณ์ ธิวงค์เวียง . (๒๕๕๒). รายงานในงานอาชีพ. เขา้ ถึงได้จาก

http://www.tice.ac.th/Online/Online2-2549/bussiness/nantapon/index.htm
เม่อื วันท่ี ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘.

ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชพี ๑๗

ตัวอย่างรูปแบบรายงานในแต่ละหนว่ ยงาน

แบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบตั งิ านรายวัน ตามภาระงานรายบคุ คล
สานักวทิ ยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏราชนครนิ ทร์

ชอ่ื ผรู้ ับผิดชอบ ..................................................................ตาแหน่งบรหิ าร .......................................

ตาแหน่งงาน ................................................................................ ......................................

กลมุ่ งาน ...................... ............................................................ งาน ....... ..........................................

ผลงานทด่ี าเนินการ วนั ท.่ี ........ เดอื น.......................พ.ศ..............

เวลา งานทีป่ ฏิบัติ ปัญหาทีพ่ บ แนวทางการแก้ไข

๐๗.๓๐ – ๘.๐๐ น.

๐๘.๐๐ – ๙.๐๐ น.

๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.

๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.

๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.

๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.

๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.

...................................................ผู้รบั ผดิ ชอบภาระงาน
(.....................................................)

ข้อเสนอแนะ...................................................................................................................................................................
.............................................................. หวั หนา้ กลุ่มงาน
(...............................................................)

ขอ้ เสนอแนะ .................................................................................................................................................................
.............................................................. ผอู้ านวยการ
(..............................................................)

หมายเหตุ รวบรวมสง่ หวั หน้ากลมุ่ งานเป็นรายสัปดาห์ กอ่ นเวลา ๑๕.๐๐ น. ของวนั สดุ ทา้ ยของการปฏบิ ตั ิงาน
ในแต่ละสัปดาห์

ทีม่ า : www.rit.rru.ac.th/index.php/en/component

๑๘ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สารในงานอาชพี

แบบฟอร์มแผนปฏบิ ตั ิงาน รายสปั ดาห์ ตามภาระงานรายบคุ คล
สานักวทิ ยบรกิ ารและเทคโนโลยสี ารสนเทศ
มหาวิทยาลยั ราชภัฏราชนครนิ ทร์

ชือ่ ผู้รบั ผดิ ชอบ ...................................................................................ตาแหน่งบรหิ าร ...........................................

ตาแหนง่ งาน .............................................. .............. .............. .............. .............. .............. .............. ..............

กลมุ่ งาน .................................................................................. งาน ..................................................................................

แผนปฏบิ ัตงิ าน ระหวา่ ง วันที.่ ........ เดอื น.......................พ.ศ..............

ถงึ วันท่.ี ........ เดอื น.......................พ.ศ..............

งานทป่ี ฏบิ ตั ิ วตั ถปุ ระสงค์ ระยะเวลา ข้นั ตอนการทางาน

หมายเหตุ ......................................................................................................................................................................

.............................................. ผ้รู บั ผดิ ชอบภาระงาน
(............................................)
ขอ้ เสนอแนะ ................................................................................................. ....................................................

.............................................. หวั หน้ากลุ่มงาน
(............................................)
ขอ้ เสนอแนะ ................................................................................................. ....................................................
.............................................. ผู้อานวยการ
(............................................)
หมายเหตุ ส่งทหี่ วั หนา้ กลุ่มงาน ภายในเวลา ๑๕.๐๐ น. ทกุ วันสุดทา้ ยของแต่ละสัปดาห์ (สปั ดาหก์ ่อนถงึ สัปดาห์
ปฏิบัติงาน) เช่น แผนปฏบิ ัตงิ านวนั จันทรท์ ่ี ๕ – ศกุ ร์ท่ี ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตอ้ งส่งในวันศกุ รท์ ่ี ๒
กรกฎาคม ๒๕๕๓ กอ่ นเวลา ๑๕.๐๐ น.

ท่ีมา : www.rit.rru.ac.th/index.php/en/component

ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ สอ่ื สารในงานอาชีพ ๑๙

ตัวอย่างการเขยี นรายงาน

(รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบธนาคารแหง่ ประเทศไทย)
เรียน ประธานคณะกรรมการ ธปท.

คณะกรรมการตรวจสอบของ ธปท. อนั ประกอบดว้ ย นายเกียรตศิ ักด์ิ จรี เธยี รนาถ เป็นประธาน
คณะกรรมการ นางสาวชูศรี แดงประไพ และศาสตราจารย์ ดร. บวรศักดิ์ อวุ รรณโณ เป็นกรรมการ และ
คณะกรรมการน้ีเปน็ อิสระจากคณะกรรมการบรหิ ารท่ี รบั ผิดชอบการบรหิ ารงานประจา วันของ ธปท.

คณะกรรมการตรวจสอบ เปน็ ผ้กู าหนดทศิ ทาง และนโยบาย ในด้านการควบคมุ การบรหิ ารและ
การตรวจสอบ โดยเน้นใหเ้ กดิ โครงสร้าง กรอบการปฏบิ ตั ิงาน แบบแผน แนวทางการปฏิบตั แิ ละวัฒนธรรม
ในด้านบรรษัทภิบาล การควบคุมภายใน การบริหารความเส่ียง และการตรวจสอบภายใน โดยให้
หลักประกันด้านความเป็นอิสระ การพัฒนาขีดความสามารถ และงบประมาณของสายงานตรวจสอบ
ภายในของ ธปท. ให้มีความเพียงพอ และเกิดประสิทธิผลในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบตาม
กาหนดการปกติปีละ ๔ ครั้ง คือ การประชุมในเดือนพฤษภาคม สิงหาคม ตุลาคม และมีนาคม (ของปี
ถัดไป) และในรอบปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีการประชมุ วาระพเิ ศษเพิ่มอีก ๔ ครงั้

จากการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบในรอบปีท่ีผ่านมา คณะกรรมการได้สอบทาน
ความเหมาะสม และความเพียงพอในระบบงานหลักทั้ง ๔ คือ บรรษัทภิบาลการควบคุมภายใน การ
บริหารความเสยี่ ง และการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบจึงเหน็ ว่า ธปท. ควรที่จะเรง่ รดั การ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กระบวนการ และวิธีการของระบบหลักท้ัง ๔ ให้เกิดการปฏิบัติจนกลายเป็น
วฒั นธรรม อนั เป็นวถิ ีการนา ธปท. ไปสวู่ ัตถุประสงคข์ อง ธปท. ตอ่ ไป

ในการสอบทานความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินร่วมกับผู้สอบบัญชีพบว่านโยบายการ
บญั ชี หลกั การบัญชีท่ใี ช้ และมาตรฐานการตรวจสอบยังคงเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกบั ของปีกอ่ น ๆ

เกียรตศิ ักดิ์ จีรเธียรนาถ
(นายเกยี รติศกั ดิ์ จรี เธยี รนาถ)
ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ธปท.

๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
(คัดจาก รายงานประจา ปี ๒๕๔๓ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย, หน้า ๗๙)

๒๐ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสื่อสารในงานอาชีพ

ตวั อย่างแบบฟอร์มรายงานในรูปแบบบันทึก

บันทกึ รายงานช้ีแจง

เขียนท่ี มหาวทิ ยาลยั อบุ ลราชธานี

วันท่.ี ............เดอื น.....................................พ.ศ....................

เร่ือง รายงานชี้แจงการ.....................................................................
เรยี น หัวหน้าโครงการรักษาความปลอดภยั มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ข้าพเจา้ .............................................................ปฏิบตั หิ น้าทป่ี ระจา
........................................ระหว่างเวลา.......................ถงึ เวลา.......................ของวันท่.ี ............เดือน
........................พ.ศ..................... ขณะปฏบิ ัตหิ นา้ ท่ี
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
..................................................................................

จงึ เรียนมาเพื่อโปรดพจิ ารณา

ลงช่อื ........................................................
(......................................................)
รปภ. ม.อุบลราชธานี

ที่มา : www.ubu.ac.th

ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชีพ ๒๑

บนั ทึกรายงาน

สว่ นราชการของรัฐ/เอกชน

ท.ี่ ........................... วนั ท่ี.......เดอื น....................พ.ศ. .........

เรือ่ ง การดาเนนิ การคุม้ ครองผู้ถกู กระทาด้วยความรนุ แรงในครอบครวั

เรียน ผ้อู านวยการสานักงานกิจการสตรแี ละสถาบันครอบครัว

ด้วยเม่อื วันท.่ี ....เดือน....................พ.ศ. .........ขา้ พเจา้ (นาย/นาง/นางสาว) ..............................ในฐานะเปน็
พนักงานเจ้าหน้าท่ีในการคมุ้ ครองผู้ถูกกระทาดว้ ยความรุนแรงในครอบครวั หมายเลขทะเบยี น...........................ออกโดย
..........................ไดด้ าเนนิ การเข้าไปในเคหสถาน/สถานที่เกดิ เหตเุ พอ่ื ระงบั เหตุความรนุ แรงในครอบครวั ท่ี
บ้านเลขท่ี..............หม่ทู …่ี ........ ตรอก/ซอย..................ถนน.............................ตาบล/แขวง........................อาเภอ/เขต
....................จังหวัด................................โดยมีนาย/นาง/นางสาว/เดก็ ชาย/เดก็ หญิง......................................อาย.ุ ............ปี
เปน็ ผู้ถกู กระทาดว้ ยความรนุ แรงและมีนาย/นาง/นางสาว/เด็กชาย/เด็กหญิง.............................................อาย.ุ ....................ปี
เป็นผู้กระทาความรนุ แรงซ่งึ พนักงานเจ้าหน้าทีไ่ ดด้ าเนนิ การคมุ้ ครองผถู้ ูกกระทาดว้ ยความรุนแรงในครอบครัวตามมาตรา ๖
วรรคสองแหง่ พระราชบัญญัติคมุ้ ครองผู้ถกู กระทาด้วยความรุนแรงในครอบครวั พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังต่อไปน้ี

เข้าไประงับเหตคุ วามรุนแรงในครอบครวั
ใหผ้ ูถ้ กู กระทาดว้ ยความรุนแรงในครอบครวั เขา้ รับการตรวจรกั ษาจากแพทย์
ให้ผู้ถกู กระทาด้วยความรนุ แรงในครอบครวั เขา้ รบั คาปรกึ ษาจากจติ แพทย์ นักจติ วทิ ยา
หรอื นกั สงั คมสงเคราะห์
จัดให้ผู้ถูกกระทาด้วยความรนุ แรงในครอบครัวดาเนินการรอ้ งทุกข์

จึงเรียนมาเพือ่ โปรดทราบ
ลงนาม...........................................
(…….……………………………..)
พนักงานเจ้าหนา้ ท่ี

หมายเหตุ :
• ความสัมพนั ธร์ ะหว่างผูถ้ กู กระทาและผ้กู ระทา
ผู้ถกู กระทาเป็น................................................................................ของผกู้ ระทา
ผูก้ ระทาเป็น.................................................................................... ของผถู้ ูกกระทา
• สาเหตขุ องการกระทาความรนุ แรง..................................

ทีม่ า : www.nan.m-society.go.th/download/4.pdf

๒๒ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสื่อสารในงานอาชพี

ใบงานที่ ๒

คาส่งั ใหน้ ักศึกษารายงานโดยใชร้ ูปแบบการบนั ทึกข้อความ

สมมุตินักศึกษาไดร้ บั มอบหมายใหอ้ ยเู่ วรยามเวลา ๑๘.๐๐ น. – ๐๖.๐๐ น. ขณะเดนิ ตรวจเวร
ยามเวลาโดยประมาณ ๒๒.๐๐ น. นักศึกษาพบชายผหู้ น่ึงกาลงั งัดห้องทางาน เพื่อเข้าไปขโมยของมคี า่
ภายในหอ้ งนน้ั นักศึกษาจึงได้ตามยาม และคนอ่ืน ๆ อกี ๓ คนมาชว่ ย(สมมตุ ิชอ่ื ได้ตามอิสระเสรี) ขณะ
มาถึงชายคนนั้นกาลังเปิดตู้เซฟในห้องผู้จัดการ นักศึกษาพร้อมยามและผู้ช่วยเหลือช่วยกันจับกุม จน
ทราบช่ือว่า นายสมชาย ห่านคา นักศึกษาส่งตัวให้ตารวจดาเนนิ การตามกฎหมายตอ่ ไป (รายละเอยี ด
อนื่ ๆ กาหนดไดเ้ องตามความเหมาะสมเชน่ วัน เดอื น ปี)

ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอื่ สอ่ื สารในงานอาชพี ๒๓

แผนการเรียน มอดูลที่ ๕.๓

การเขยี นบันทกึ ภายในหนว่ ยงาน

มอดูลที่ ๕.๓

โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลท่ี ๕.๓ แล้วจึงศึกษา
รายละเอียดตอ่ ไป

หวั ขอ้ เร่ือง

๕.๓.๑ ความสาคัญของบนั ทึกในหน่วยงาน
๕.๓.๒ ส่วนประกอบของบันทกึ
๕.๓.๓ แบบของบนั ทึก
๕.๓.๔ ประเภทของบันทึก
๕.๓.๕ วิธีเขียนและการใชภ้ าษา

แนวคิด

ในแต่ละหน่วยงาน แต่ละองค์กรจะมีการติดต่อภายใน ซึ่งการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร
เดียวกันนิยมใช้การเขียนแบบบันทึกข้อความ ซึ่งหากเป็นหน่วยงานทางราชการจะใช้กระดาษบันทึก
ข้อความตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ ส่วนหน่วยงานอ่ืน ๆ ที่ไม่ใช่ข้าราชการอาจคิดแบบฟอร์ม
ข้ึนมาเองเพ่ือใช้ในหน่วยงานของตนเอง ซ่ึงหากผู้เรียนศึกษาส่วนประกอบของบันทึก รูปแบบต่าง ๆ ที่
ใช้ในการเขยี นบนั ทกึ การจัดแบ่งประเภท และวธิ ีเขียนแลว้ ยอ่ มทาให้ความมั่นใจในการทางานเกิดข้ึน

จดุ ประสงค์การเรยี น

๑. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๓.๑ “ความสาคัญของบันทึกในหน่วยงาน” แล้ว ผู้เรียนสามารถ
บอกความสาคญั ของบนั ทึกภายในได้

๒๔ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สารในงานอาชีพ

๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๓.๒ “ส่วนประกอบของบันทึก” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก
สว่ นประกอบตา่ ง ๆ ของบันทกึ ภายในได้

๓. เมอ่ื ศกึ ษาหวั ข้อเรื่องท่ี ๕.๓.๓ “แบบของบันทึกขอ้ ความ” แลว้ ผเู้ รียนสามารถบอกรูปแบบ
ของบนั ทึกภายในได้

๔. เมอ่ื ศกึ ษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๓.๔ “ประเภทของบนั ทึก” แล้ว ผ้เู รยี นสามารถบอกประเภทของ
บนั ทึกภายในได้

๕. เม่ือศึกษาหวั ข้อเรื่องท่ี ๕.๓.๕ “วิธีเขยี นและการใชภ้ าษา” แล้ว ผูเ้ รยี นสามารถเขียนบันทึก
ภายในได้

เนือ้ หา

๑. ความสาคญั ของบันทกึ ในหน่วยงาน

จฑุ ามาศ เรืองทพั (๒๕๕๘) กลา่ ววา่ การเขยี นบนั ทึกในหนว่ ยงานมีความสาคญั สรปุ ไดด้ ังน้ี
๑. เป็นการช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา ด้วยการช่วยสรุปย่อเร่ืองให้เข้าใจได้ง่าย ถูกต้อง ตรง
ประเด็น ชว่ ยใหข้ ้อเท็จจริงที่เปน็ สาเหตุ เรอ่ื งราวเหตุการณ์ ระเบียบ ช่วยแสดงข้อคดิ เห็นท่เี ป็นประโยชน์
หรือความเสียหายที่เกิดข้ึน และช่วยให้ข้อเสนอในการดาเนินการ ซึ่งจะสะดวกและประหยัดเวลาแก่
ผูบ้ ังคับบญั ชาในการศกึ ษาเรื่องและตกลงใจ
๒. เป็นโอกาสดีในการปฏิบัติงาน การเขียนบันทึกเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ตลอดระยะเวลา
ทางานจนเกษียณอายุ อย่างหลีกหนีไม่พ้น หากผู้ใดสามารถเขียนบนั ทกึ ได้ดี ตอบสนองผ้บู ังคับบัญชาได้
กจ็ ะเป็นโอกาสดีในอาชีพการงาน
๓. เป็นหน้าตาของผู้เขียน ผู้ตรวจ ผู้ลงนาม และหน่วยงาน หนังสือหรือบันทึกแต่ละฉบับ
เกิดข้ึนจากผลพวงของการปฏิบัติงาน ต้ังแต่การหาข้อมูล การประสานงาน การคิดพิจารณา การหา
ข้อสรุปแนวทางปฏิบัติ ซ่ึงการเขียนหนังสือจะบ่งบอกประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้เขียน ผู้ตรวจ ผู้
ลงนาม และหน่วยงาน ว่ามีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด อันส่งผลต่อภาพลักษณ์ท่ีเกี่ยวข้องทั้งดี
และไมด่ ดี ว้ ย
๔. เปน็ แนวทางในการเขียนบนั ทกึ ต่อไป ผปู้ ฏิบัติงานรนุ่ หลงั จะสามารถใชต้ ัวอย่างการเขยี น
บันทกึ ทดี่ ีเปน็ แนวทางในการปฏบิ ตั ิงาน ซงึ่ จะช่วยใหง้ ่ายตอ่ การปฏิบัติและประหยดั เวลา

ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่ือสารในงานอาชพี ๒๕

๒. สว่ นประกอบของบันทกึ

บนั ทกึ ข้อความทัง้ ของข้าราชการและนักธุรกจิ เมือ่ แยกสว่ นประกอบแลว้ จะประกอบด้วย
๑. ส่วนนา จะบอกให้รู้ว่า เปน็ บันทึกของหนว่ ยงานใด เร่อื งอะไร จากใครถึงใคร เขยี นเม่ือไร
๒. สว่ นเนอื้ หา หรือส่วนที่เป็นใจความทีต่ ้องการสอ่ื สาร
๓. ส่วนท้าย จะบอกให้รู้ว่า ใครเขียน โดยไม่ต้องมีคาลงท้ายเช่นเดียวกับหนังสือราชการ
ภายใน

๓. แบบของบนั ทกึ

สายใจ ทองเนียม (๒๕๔๐ : ๑๙๑-๑๙๒) กล่าวถงึ แบบบนั ทกึ วา่ มี ๒ รูปแบบคอื
๑. บันทกึ ข้อความตามระเบียบงานสารบรรณ กาหนดขนาดและแบบไว้ดังนี้

ขนาดใหญ่ ๒๐ ซม. × ๓๓ ซม.
ขนาดกลาง ๒๐ ซม. × ๒๖ ซม.
ขนาดเล็ก ๒๐ ซม. × ๒๐ ซม.
การเขยี นข้อความนยิ มเขยี นหนา้ เดียว ตามปกตจิ ะใชก้ ระดาษสขี าวและมรี ูปแบบ
ดงั น้ี

ทีม่ าของภาพ : www.forest.go.th

๒๖ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ การส่อื สารในงานอาชีพ

๒. บนั ทึกขอ้ ความของหนว่ ยราชการ เป็นแบบบนั ทกึ ทหี่ น่วยราชการแต่ละแหง่ ทาขึน้
โดยมากมักทาเปน็ เล่ม ๆ ขนาดเล็กเช่นเดียวกบั สมุดฉกี ใช้สาหรบั เขียนขอ้ ความติดต่อกนั ไมเ่ ป็นทางการ
หรอื ใชบ้ ันทกึ ความจา บนั ทึกความเหน็ เช่นเดยี วกบั บนั ทึกขอ้ ความแบบท่ี ๑

ทดสอบความรู้การเขยี นบันทึกในหน่วยงาน

https://h5p.org/node/452500

๔. ประเภทของบันทึก

โดยท่ัวไปจะแบ่งการเขียนบันทกึ ออกเปน็ ๔ ประเภทดงั นี้
๑. บนั ทึกยอ่ เรอื่ ง คือ ขอ้ ความท่ผี ูใ้ ต้บงั คับบญั ชาเขียนเสนอตอ่ ผู้บงั คบั บัญชาโดยยอ่ ความจาก
ต้นเร่ืองท่ีมีมา เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาอ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ ส้ัน ๆ ทราบสาระสาคัญสมบูรณ์โดยไม่ต้อง
เสียเวลาศึกษาเร่ือง หรือไม่ต้องอ่านโดยละเอียดตลอดเร่ือง การทาบันทึกย่อเร่ืองเสนอตอ่ ผู้บงั คับบัญชา
น้นั โดยปกติจะเปน็ เร่อื งท่ียาวหรอื สับสนเจ้าหนา้ ทผ่ี บู้ นั ทกึ โดยมวี ธิ ีการเขยี นดงั น้ี

๑.๑ อา่ นให้ละเอยี ด แล้วจบั ประเดน็ สาคัญของเร่ือง เขยี นให้ส้นั ๆ เข้าใจง่าย
๑.๒ ไมจ่ าเปน็ ต้องเรียบเรียงตามต้นฉบบั เดมิ
๑.๓ ขดี เสน้ ใตใ้ จความที่สาคญั เพ่ือใหส้ ังเกตงา่ ย
๑.๔ จัดเร่ืองที่เสนอให้เรียบร้อย มีกระดาษคั่นหน้าหรือเขียนหมายเลขที่กระดาษเพื่อให้
ผบู้ ังคบั บัญชาพลกิ อา่ นไดส้ ะดวก
๒. บันทึกรายงาน คือ การเขียนรายงานการปฏิบัติงานหรือเร่ืองท่ีประสบพบเห็นมาเสนอ
ผู้บังคับบัญชาตามหน้าท่ี หรือตามที่ได้รับมอบหมาย ต้องรายงานทุกหัวข้อท่ีผู้บังคับบัญชาต้องการ
ทราบหรอื สนใจ การบนั ทกึ มีวิธีปฏบิ ตั ดิ งั น้ี
๒.๑ เขียนรายงานอยา่ งสนั้ ๆ เฉพาะขอ้ ความท่ีจาเป็น
๒.๒ ถ้าเป็นเรื่องท่ีได้รับมอบหมาย ต้องรายงานทุกข้อที่ผู้บังคับบัญชาต้องการทราบหรือ
สนใจ โดยอ้างคาสั่งมอบหมายนั้น ถ้าเป็นเร่ืองที่ประสบมาเองและรายงานข้ึนไปก็อาจอ้างเหตุการณ์ที่
เกิดข้นึ โดยขึ้นตน้ วา่

“ดว้ ย...........(ได้ทราบวา่ ปรากฏว่า ได้พบว่า ฯลฯ)” แล้วเลา่ เหตกุ ารณ์

๓. บนั ทกึ ความเหน็ เป็นขอ้ ความทีผ่ ใู้ ตบ้ งั คบั บัญชาเพอ่ื แสดงความคิดเหน็ และให้ข้อเสนอใน
การแก้ปัญหา พัฒนางาน ตอบข้อหารือ ช้ีแจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาส่ังการ การทา
บันทึกความเห็น เจ้าหน้าท่ีผู้ทาบันทึกจะต้องเขียนให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจถึงประเด็นท่ีเป็นปัญหาของ

ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชีพ ๒๗

เร่ืองที่ต้องพจิ ารณา ให้ข้อมูลประกอบการพจิ ารณาทีถ่ ูกตอ้ งครบถว้ น แสดงข้อคิดเห็นอยา่ งมีหลกั เกณฑ์
เหตุผล พร้อมท้ังให้ข้อเสนอท่ีมีความเป็นไปได้ บรรลุวัตถุประสงค์ ไม่กระทบกระเทือนและมีความเส่ียง
นอ้ ยทสี่ ดุ การเขียนบันทกึ ความเห็นจึงควรมลี ักษณะดังน้ี

๓.๑ บนั ทกึ ใดมขี ้อความยาวมาก ควรสรปุ ประเดน็ ทีเ่ ปน็ เหตุ แลว้ เขยี นข้อความที่เปน็ ผล
๓.๒ ถ้าเป็นเร่ืองท่ีสง่ั การไดห้ ลายทาง อาจเขียนบันทกึ ความเหน็ ดว้ ยวา่ ถา้ สั่งการทางใด
แล้วจะเกดิ ผลอยา่ งไร ตา่ งกันอยา่ งไร
๓.๓ ถ้าความเห็นน้นั ตอ้ งอา้ งบทกฎหมาย กฎข้อบังคับ ระเบยี บ คาสงั่ ก็ควรจดั ทา
ประกอบเร่ืองทีเ่ สนอเสยี ดว้ ย
๔. บนั ทึกติดตอ่ สัง่ การ เปน็ บนั ทึกท่ีเขียนเพื่อใชต้ ิดตอ่ ในหนว่ ยงานเดยี วกัน
แบบฟอร์มในการเขียนบันทึกของนักธุรกิจ ไม่มีแบบฟอร์มตายตัวแน่นอน ข้ึนอยู่กับแต่ละ
หน่วยงานจะคิดข้ึนเอง แต่ภายใต้การคิดแบบฟอร์มนั้นต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามส่วนประกอบ
ของบันทกึ ขอ้ ความ
ตัวอย่างแบบบนั ทึกข้อความของนกั ธรุ กิจ

๒๘ ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ การสื่อสารในงานอาชีพ

บันทึกของนักธรุ กจิ ถือว่ามีความสาคัญ เพราะจะชว่ ยใหร้ ู้ว่า งานทปี่ ฏบิ ตั ิอยู่ดาเนนิ กา้ วหนา้ ไป
อย่างไร โดยเฉพาะเกี่ยวกับสินค้า ส่วนใดท่ีจัดเก็บไว้อย่างไร อยู่ท่ีไหน ยังคงเหลือเท่าไร หากมีการ
ทางานเป็นรอบ ผูม้ ารบั ชว่ งต่อจะได้เขา้ ใจงานและทาต่อได้ถกู ต้อง

ในต่างประเทศใชข้ นาด ๘.๕ x ๖.๕ น้ิว เป็นสว่ นมาก แต่ในประเทศไทยจะเล็กกว่า และ
อาจมหี ลายขนาด ในบนั ทกึ จะมขี อ้ ความมาตรฐานดงั นี้

๑. ช่อื บริษทั หรือสถานที่
๒. มีคาว่า “บนั ทึก” หรอื ใช้ “memo” เขยี นเตม็ วา่ “memorandum”
๓. มีคาว่า “วันท่ี” (date) ถึง (to) จากใคร (from) เรือ่ ง (subject)

๕. หลักการเขยี นบนั ทกึ ทวั่ ๆ ไป

การเขยี นบันทึกแตล่ ะประเภทนัน้ อาจเป็นเพยี งข้อความสัน้ ๆ หนงึ่ ประโยค หรอื เป็นเน้อื หาที่มี
รายละเอยี ดในรูปแบบของรายงานก็ได้ ทัง้ นีข้ นึ้ อยกู่ ับวัตถุประสงค์ของผู้เขียนบนั ทึกแตล่ ะครงั้ แต่หลัก
สาคญั ท่คี วรพจิ ารณาในการเขยี นบันทึก คือ

ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชพี ๒๙

๑. จดเฉพาะใจความสาคัญ หรือประเด็นสาคัญเท่านั้นว่าต้องการทาอะไร เม่ือไร อย่างไร
หรอื ต้องการจะสงั่ การใหใ้ คร ทาอะไร ท่ไี หน เมอ่ื ไร อย่างไร โดยลาดับข้อความตามลาดับข้อเท็จจริง
ไมแ่ ต่งเตมิ เสรมิ ตอ่

๒. ใช้ภาษาที่สุภาพ สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน ผู้เขียนบันทึกสามารถ
ตรวจสอบได้โดยอา่ นขอ้ ความท่ตี นจดบันทึกวา่ ถ้าตนในฐานะผรู้ บั สารเมอ่ื อา่ นแลว้ สามารถเข้าใจขอ้ ความ
นนั้ เพียงใด

๓. หลีกเลี่ยงการใช้คาศัพท์เฉพาะ หรือศัพท์วิชาการ เพราะอาจจะทาให้ผู้รับสารไม่สามารถ
เข้าใจได้ ยกเวน้ แตเ่ มือ่ แน่ใจวา่ ผอู้ ่านสามารถจะทาความเข้าใจตรงกันได้

๔. การแสดงความคิดเห็นของตนเสริมในการเขียนบันทึกน้ันอาจทาได้ ถ้าเป็นการเขียน
บนั ทกึ เสนอความคิดเห็นในเรือ่ งใดเร่อื งหนง่ึ

๕. การเขียนบันทกึ ขอ้ ความที่ยาว ๆ ควรแยกเป็นเรอ่ื ง ๆ หรือเขยี นเปน็ ประเด็น ๆ เป็นขอ้ ๆ
ให้ชัดเจน เพอ่ื สะดวกในการอ่านและตดิ ตอ่ เร่อื งราว

๖. การเขียนบันทึกท่ีเป็นตัวเลข ช่ือบุคคล หรือช่ือสถานท่ี ต้องเขียนให้ชัดเจน ถูกต้องเพ่ือมิ
ให้เกดิ ความเขา้ ใจผิดหรือสบั สนได้

๗. ควรระบุวันเวลาท่ีไดส้ ั่งฝากขอ้ ความ หรือจดบนั ทึกด้วย
๘. ควรจดชื่อ ตาแหน่งของผู้เขียนบันทึกด้วย เพ่ือสามารถติดต่อหรือสอบถามเร่ืองได้เมื่อไม่
เข้าใจ
๙. ควรตรวจสอบข้อความท่ีบันทึกอีกคร้ังหน่ึงก่อนที่จะเสนอบันทึกนั้นต่อไป หากมีอะไร
ผดิ พลาดจะไดแ้ ก้ไขไดท้ ันการณ์

วธิ เี ขยี นและการใชภ้ าษา

บันทึกภายในขององค์กรที่ไม่เป็นราชการมักเขียนโดยกรอกข้อความไปตามแบบฟอร์มของแต่
ละหน่วยงานทค่ี ิดแบบขึ้นมาเอง เขียนเฉพาะใจความสาคัญ และเขียนตรงไปตรงมา ใช้ภาษามาตรฐาน
คานึงถึงผู้รับว่าเป็นใคร อาจใช้ภาษาที่เป็นกันเอง (กึ่งทางการ) มากกว่าจดหมายทั่วไป ไม่ต้องเขียนคา
ข้นึ ต้น คาลงทา้ ย แตล่ งช่ือผเู้ ขยี น

๓๐ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การส่ือสารในงานอาชีพ

ภาษาและสานวนในการเขียนบันทึก
จุดสาคัญในการเขียนบันทึก คือ การเน้นท่ีความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นหลัก ส่วนภาษาที่ใช้
และสานวนในการเขียนถือว่าเปน็ เร่ืองรองลงมา การติดตอ่ ต้องการความถูกต้อง รวดเร็วของการปฏบิ ตั ิ
จึงไม่อาจขัดเกลาสานวนภาษาให้สละสลวย ข้อความท่ีควรเขียนให้ชัดเจนคือ “ข้อความปิดท้าย”
หลกั การใชภ้ าษามดี ังนี้

๑. ส้นั และงา่ ย
๒. เป็นท่ีเข้าใจ
๓. ตรงไปตรงมา
๔. ถกู ตอ้ งและครบถว้ น

ข้อควรคานงึ ถึงในการเขียนบนั ทึก
๑. ควรคานึงถงึ ขน้ั ตอนในการเขยี นบนั ทกึ

๑.๑ นึกเสียก่อนวา่ จะเขยี นกับใคร เร่อื งอะไร ตอ้ งการใหผ้ ู้รับดาเนินการอยา่ งไร
๑.๒ ลงมือเขียนข้อมูลให้ถูกตอ้ ง ชดั เจน สมบรู ณ์
๑.๓ ตรวจทานบนั ทกึ ทีเ่ ขยี นวา่ ครบถ้วนตามทนี่ ึกไวห้ รือไม่
๒. คานงึ เกย่ี วกับวิธกี ารเขยี นบนั ทกึ
๒.๑ อย่าเขียนยาวเกนิ ไป ถา้ จาเป็นให้แบ่งเป็นข้อ ๆ หรอื ทาเปน็ เอกสารแนบ
๒.๒ อยา่ เขียนหลายเร่อื งทไี่ มเ่ กี่ยวขอ้ งกันลงในบนั ทึกเดียวกนั
๒.๓ อยา่ เขียนยอ่ เกนิ ไปโดยคดิ วา่ ผรู้ ับเข้าใจอยแู่ ล้ว เชน่ ย่อตาแหน่ง ยอ่ ชอื่ หน่วยงาน

กิจกรรมการเรยี นการสอน

1. ศกึ ษาเอกสารมอดลู ที่ ๕.๓
2. ทาใบงานท่ี ๓

ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สื่อสารในงานอาชีพ ๓๑

เอกสารอ้างองิ

จฑุ ามาศ เรอื งทัพ. (๒๕๕๘). ความสาคัญและปัญหาในการเขยี นบนั ทึก. เม่ือวันท่ี ๑๑ มนี าคม
๒๕๕๘. เข้าถึงไดจ้ าก www. kmcenter.rid.go.th/kmc14/general/general10.pdf

สายใจ ทองเนียม. (๒๕๔๐). ภาษาไทยเพือ่ อาชพี ๑. กรุงเทพฯ : เอมพันธ.์
อษุ ณยี ์ ศุขสทุ ธิ. (๒๕๔๗). การใชภ้ าษาไทยเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร. กรงุ เทพฯ : ศนู ย์สง่ เสรมิ วชิ าการ.

๓๒ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สารในงานอาชีพ

ใบงานที่ ๓

คาสง่ั ใหน้ ักศกึ ษาเลอื กทาเพียงข้อใดขอ้ หนงึ่
๑. สมมุตินักศึกษาเป็นประธานชมรมพัฒนาชุมชน วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์จัดทา

โครงการพัฒนาวดั ธรรมมาธิปไตย โดยเขา้ ไปทาความสะอาดและทาสีรว้ั วัดใหม่ วันที่ ๑๖ -๑๗ มนี าคม
๒๕๕๖ นักศึกษาเขียนบันทึกติดต่อขอใช้รถหกล้อของวิทยาลัยฯ เพ่ือใช้รับ-ส่ง นักศึกษาชมรมพัฒนา
ชุมชนจานวน ๒๘ คน ตามวนั ดงั กลา่ ว เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

๒. สมมุตินักศึกษาเป็นพนักงานคนหน่ึงในบริษัท (ต้ังช่ือเอง) เขียนบันทึกถึงผู้จัดการฝ่ายซ้ือ
ขอความเห็นเรื่องการขายสินค้าทคี่ ้างอยู่ในคลังสินค้า รายละเอียดอื่น ๆ นักศึกษาสามารถสมมุติไดต้ าม
ความเหมาะสม เช่น สินค้าท่ีเหลือเป็นสินค้าอะไร จานวนเท่าไร เป็นต้น และความเห็นของนักศึกษาจะ
ทาอย่างไรกับสินค้าเหล่านี้ กระดาษบันทึกภายในบริษัทนักศึกษาสามารถออกแบบได้ตามความ
เหมาะสม

ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่อื สารในงานอาชพี ๓๓

แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๕.๔

การเขียนโครงการ

มอดูลที่ ๕.๔

โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๕.๔ แล้วจึงศึกษา
รายละเอียดตอ่ ไป

หวั ขอ้ เรอ่ื ง

๕.๔.๑ ความหมายและความสาคัญ
๕.๔.๒ ประเภทของโครงการ
๕.๔.๓ ลกั ษณะของโครงการท่ดี ี
๕.๔.๔ สว่ นประกอบของโครงการ
๕.๔.๕ วิธีเขียนโครงการ

แนวคิด

การเขียนโครงการเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและไม่ยากเกินความสามารถของนักวางแผน หรือ ผู้ที่มี
หน้าท่ีรับผิดชอบในการจัดทาแผนและโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ ท้ังน้ีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ
เกย่ี วกบั ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง นโยบาย แผนงาน และโครงการ เพื่อที่จะไดเ้ ขยี นโครงการได้สอดคล้องกบั
วัตถุประสงค์ของแผนงาน และนโยบายต่อไป นอกจากนั้นการจะเปน็ ผ้เู ขียนโครงการไดด้ ีท่านก็จะตอ้ ง
หมั่นฝึกฝน และเขียนโครงการบ่อย ๆ มีข้อมูลมาก ข้อมูลถูกต้อง เพียงพอ และทันส มัยวิเคราะห์
สถานการณ์อย่างถ่องแท้ ก่อนเขยี นโครงการ และหลังจากนน้ั ก็นาข้อมลู ทผ่ี า่ นการวิเคราะห์แล้วมาเขียน
ตามแบบฟอรม์ การเขยี นโครงการของแตล่ ะหน่วยงาน

จดุ ประสงคก์ ารเรียน

๑. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๔.๑ “ความหมายและความสาคัญของโครงการ” แล้ว นักศึกษา
บอกความหมายและความสาคัญได้

๒. เม่ือศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๔.๒ “ประเภทของโครงการ” แล้ว สามารถบอกประเภทของ
โครงการได้ถกู ตอ้ ง

๓๔ ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื การส่อื สารในงานอาชพี

๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๕.๔.๓ “ลักษณะของโครงการที่ดี” แล้ว สามารถอธิบายโครงการท่ี
ดเี ป็นอย่างไรได้

๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๕.๔.๔ “ส่วนประกอบของโครงการ” แล้ว สามารถอธิบาย
ส่วนประกอบของโครงการได้

๕. เมื่อศกึ ษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๕.๔.๕ “วิธกี ารเขยี นโครงการ” แล้ว สามารถเขยี นโครงการได้

เนือ้ หา

๑. ความหมายและความสาคญั ของโครงการ

ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๖ : ๒๗๐) ให้ความหมายของโครงการว่า หมายถึง แผนหรือเค้าโครง
ที่กาหนดไว้

กิจจา บานชื่นและเจษฎ์ ประกอบทรัพย์ (๒๕๕๓ : ๑๒) ให้ความหมายว่า การเขียนโครงการ
หมายถึง การกาหนดแนวทางในการทางาน มีการวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการว่ามีการดาเนนิ งาน
ทไี่ หน เม่อื ไร ใชร้ ะยะเวลาเทา่ ไร โดยมผี ูร้ ับผดิ ชอบในการดาเนนิ งานและเสนอต่อหัวหน้าหน่วยงานเพื่อ
ขออนมุ ตั ใิ นการทาโครงการ

กล่าวโดยสรุป โครงการ เป็นการวางแผนดาเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีระบบ โดย
วางเปา้ หมายและวตั ถุประสงคใ์ นการทางาน มขี ั้นตอนการดาเนนิ งาน และระยะเวลาในการทางาน

๒. ประเภทของโครงการ

๑. โครงการทเ่ี สนอโดยตวั บคุ คล หมายถงึ โครงการท่ีริเรมิ่ ขนึ้ โดยบคุ คลใดบุคคลหน่ึง ทัง้ นี้อาจ
เป็นความคิดริเร่ิมของตัวผูเ้ ขียนโครงการเอง หรือได้รับการมอบหมายจากผอู้ ื่น ให้เป็นผู้เขียนโครงการก็
ได้

๒. โครงการทเี่ สนอโดยกลุม่ บุคคล หมายถงึ โครงการทร่ี ิเรม่ิ ข้ึนโดยบคุ คลมากกว่า ๒ คนข้ึนไป
ท่ีมีความเห็นพ้องต้องกันในวัตถุประสงค์ วิธีการ และมีเจตนาที่จะทางานร่วมกัน ซึ่งส่วนประกอบของ
โครงการจะต้องได้รับการอภิปรายจนเป็นที่พอใจของกลุ่ม การเขียนโครงการโดยกลุ่มบุคคล มีผลดี
เพราะนอกจากจะได้รับประสบการณ์จากการเขียนโครงการแล้ว ยังได้มีการประชุม อภิปราย แสดง
ความคิดเห็น และการใช้เหตุผลพร้อมกับการเรียนรู้วิธีการทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ดังน้ัน โครงการ
นาเสนอโดยกล่มุ บคุ คลจึงมคี วามสมบรู ณ์ และรดั กุมมากกวา่ การเขียนโครงการโดยตวั บุคคล

ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่ือสารในงานอาชีพ ๓๕

๓. โครงการท่ีเสนอโดยหนว่ ยงาน หมายถึง โครงการทอ่ี าจจะเร่ิมโดยตัวบคุ คล หรือกลุ่มบุคคล
ก็ได้ แต่เป็นโครงการท่ีดาเนินการในนามของหน่วยงาน ซ่ึงหมายความว่าทุกคนในหน่วยงานน้ันจะต้อง
เห็นด้วย และร่วมกันรับผิดชอบ โครงการท่ีเสนอโดยหน่วยงานจึงจัดเป็นโครงการใหญ่ที่ต้อง
ประสานงาน และรว่ มมอื กันทกุ ฝา่ ย นบั ว่าเปน็ โครงการทม่ี ีความสมบรู ณม์ ากกว่าโครงการประเภทอ่ืน

กจิ กรรมส่วนประกอบของโครงการ

https://h5p.org/node/453714

๔. ส่วนประกอบของโครงการ

ในการเขียนโครงการ ผู้เขียนจาเป็นต้องเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ทั้งนี้ เพ่ือให้การเขียน
โครงการเปน็ ไปตามลาดับขน้ั ตอน มเี หตผุ ลนา่ เชอ่ื ถอื และการเขยี นสว่ นประกอบของโครงการครบถ้วน
ช่วยให้การลงมือปฏิบัติตามโครงการเป็นไปโดยราบร่ืน รวดเร็ว และสมบรู ณ์ ส่วนประกอบของโครงการ
จาแนกได้ ๓ ส่วน ดงั ตอ่ ไปน้ี

๑. ส่วนนา หมายถึง ส่วนที่ให้ข้อมูลเบ้ืองต้นเก่ียวกับโครงการนั้น ๆ ส่วนนาของโครงการมุ่ง
ตอบคาถามต่อไปนี้ คือ โครงการน้ันคือโครงการอะไร เก่ียวข้องกับใคร ใครเป็นผู้เสนอหรือดาเนิน
โครงการ โครงการนั้นมีความเป็นมา หรือความสาคัญอย่างไร ทาไมจึงจัดโครงการนั้นข้ึนมา และมี
วัตถุประสงค์อย่างไรจะเห็นได้ว่า ความในส่วนนาต้องมีรายละเอียดเพียงพอท่ีจะให้ผู้อ่าน และ
ผู้เก่ียวข้องได้เข้าใจข้อมูลพ้ืนฐาน ก่อนจะอ่านรายละเอียดในโครงการต่อไป ส่วนนาของโครงการ
ประกอบด้วยหวั ข้อตอ่ ไปน้ี

๑.๑ ช่อื โครงการ ซ่ึงโครงการต้องมคี วามชัดเจน รดั กุม และเฉพาะเจาะจง ทาใหเ้ กดิ ความ
เขา้ ใจง่ายแก่ผูเ้ กีย่ วข้อง หรอื ผนู้ าโครงการไปปฏิบัติ ชือ่ โครงการจะบอกให้ทราบวา่ จะทาส่ิงใด หรอื เสนอ
ข้ึน เพอ่ื ทาอะไร โดยปกติชือ่ โครงการจะแสดงลักษณะของงานทีต่ อ้ งปฏิบตั ิ

๑.๒ ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการบอกให้ทราบว่า กลุ่มบุคคลใด หรือหน่วยงานใดเป็น
ผู้รับผิดชอบในการเสนอและดาเนินงานตามโครงการ ท้ังนี้เพ่ือสะดวกแก่การประสานงานและการ
ตรวจสอบ

๑.๓ หลักการและเหตุผล หรืออาจจะเรียกว่าความเป็นมา หรือภูมิหลังของโครงการ
หลักการและเหตุผล เป็นส่วนท่ีแสดงถึงปัญหาความจาเป็นหรือความจาเป็นที่ต้องจัดโครงการขึ้นโดย
ผ้เู ขียนหรือผเู้ สนอโครงการจะตอ้ งระบุเกิดปญั หาอะไร กบั ใคร ท่ีไหน เมอ่ื ใด มสี าเหตุมาจากอะไร โดยมี

๓๖ ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สารในงานอาชพี

ข้อมูลสนับสนุนให้ปรากฏชัดเจน นอกจากนี้จะตอ้ งบอกถึงความจาเป็นท่ีต้องจัดทาโครงการว่า ถ้าไม่ทา
จะเกิดผลเสียหายอย่างไร ถ้าทาคาดวา่ จะช่วยแกป้ ัญหาหรือพัฒนาไดอ้ ยา่ งไร

๑.๔ วัตถุประสงค์ ควรเขียนให้อยู่ในรูปการลดหรือขจัดปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ต้องการ
เพ่ิมขน้ึ ไม่จาเป็นต้องเขียนวัตถุประสงค์หลายข้อ เพราะจานวนขอ้ ของวัตถปุ ระสงค์ไม่ได้แสดงถงึ ความมี
คุณภาพของโครงการแต่อยา่ งใด บางคร้ังเขียนเกินจริงซ่ึงเมอื่ ประเมินโครงการกไ็ ม่มที างสาเร็จได้ ฉะนน้ั
ต้องระบุให้ชัดเจน รัดกุม และสามารถปฏิบตั ไิ ด้จริง การเขียนวตั ถุประสงค์ต้องครอบคลุมเหตผุ ลที่จะทา
โครงการ โดยจดั ลาดบั แยกเปน็ ขอ้ ๆ เพือ่ ความเข้าใจงา่ ย และชัดเจน

๒. ส่วนเน้ือความ หมายถึง ส่วนที่เป็นสาระสาคัญของโครงการ ได้แก่ วิธีดาเนินการซ่ึง
กล่าวถึงลาดับขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งพ้ืนที่การปฏิบัติงาน ซ่ึงครอบคลุมปริมาณ และ
คุณภาพ ตลอดจนการดาเนินงานตาม วัน เวลา และสถานที่ ส่วนเนื้อความของโครงการประกอบด้วย
หัวขอ้ ตอ่ ไปนี้

๒.๑ เป้าหมาย เป็นการบอกถึงความต้องการหรือทิศทางในการปฏิบัติงานท่ีระบุในเชิง
ปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลาและพ้ืนที่ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมของ
โครงการ

๒.๒. ขั้นตอนและระยะเวลา เป็นการกล่าวถึงลาดับข้ันตอนการทางาน เพ่ือให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ ตามที่กาหนดในโครงการ วิธีดาเนินการมักจาแนกเป็นกิจกรรมย่อย ๆ โดยแสดงให้เห็น
ชัดเจน ต้ังแต่เร่ิมต้นจนจบกระบวนการว่ามกี ิจกรรมใดท่ีตอ้ งทา ทาเม่ือใด ผู้ใดเป็นผ้รู ับผดิ ชอบ และจะ
ทาอย่างไร อาจจะจัดทาเปน็ ปฏิทินปฏิบัตงิ านประกอบ รวมท้ังแสดงระยะเวลาดาเนนิ การควบคไู่ ปดว้ ย
การระบุระยะเวลาต้ังแต่เร่ิมต้นโครงการจนกระท่ังสิ้นสุดโครงการโดยระบุเวลาที่ใช้เร่ิมต้นต้ังแต่ วัน
เดอื น ปี และสน้ิ สุด หรอื แลว้ เสร็จใน วัน เดอื น ปอี ะไร

๒.๓ วิธดี าเนินการจดั เปน็ หวั ใจสาคัญของโครงการ ผู้เขียนตอ้ งพยายามอยา่ งย่ิงทจ่ี ะไมท่ า
ให้ผู้อ่านเกิดความสับสน วิธีดาเนินการควรแยกอธิบายเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจนตามลาดบั ขั้นตอนการทางาน
อาจทาแผนผังสรปุ วิธีดาเนนิ การตาม วนั เวลา เพ่อื ความชดั เจนด้วยกไ็ ด้

๒.๔ สถานทด่ี าเนนิ การ คอื สถานที่ บรเิ วณ พนื้ ท่ี อาคาร ทีใ่ ชจ้ ดั กจิ กรรมตามโครงการ
๓. ส่วนขยายความ หมายถึง ส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดอ่ืน ๆ เกี่ยวกับโครงการได้แก่
ประโยชน์ หรือผลท่ีคาดว่าจะได้รับงบประมาณดาเนินการ หรือแหล่งเงินทุนสนับสนุนตลอดจนการ
ตดิ ตามและประเมนิ ผล ส่วนขยายเนื้อความของโครงการ ประกอบด้วยหวั ขอ้ ต่อไปน้ี

๓.๑ งบประมาณที่ใช้ คือ ค่าใช้จ่ายการดาเนินงานตามโครงการต้องใช้งบประมาณหรือ
ค่าใช้จ่ายท่ีระบุถึงจานวนเงิน จานวนวัสดุ ครุภัณฑ์ หรือจานวนบุคคล และปัจจัยอ่ืน ๆ ที่จาเป็นต่อ
การดาเนินการ สาหรบั งบประมาณ ควรระบุให้ชดั เจนว่ามีคา่ ใชจ้ า่ ยอะไรบ้างเป็นข้อ ๆ

ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๓๗

๓.๒ การประเมินโครงการ เป็นการประเมินผลการดาเนินงานตามโครงการ ซึ่งต้องระบุ
วิธีการประเมนิ ผลใหช้ ดั เจนวา่ จะประเมนิ โดยวิธีใดอาจเขียนเปน็ ขอ้ ๆ หรอื เขียนรวม ๆ กันก็ได้ เชน่ จาก
การสงั เกตจากการตอบแบบสอบถาม (ควรระบุวา่ ใครเปน็ ผปู้ ระเมนิ ) เปน็ ต้น

๓.๓ ผลทีค่ าดว่าจะไดร้ ับ เปน็ การกล่าวถงึ ผลประโยชนท์ ี่พึงจะได้รบั จากความสาเร็จของ
โครงการ เปน็ การคาดคะเนผลทีจ่ ะได้รบั เมอื่ สิ้นสุดการปฏบิ ัตโิ ครงการซ่ึงผลที่ไดร้ ับตอ้ งเปน็ ไปในทางทดี่ ี
ทั้งเชิงปรมิ าณ และคณุ ภาพ

ในส่วนขยายความ อาจจะเพิ่มเติมผู้เสนอโครงการไว้ในตอนท้ายของโครงการ ในกรณีท่ีเป็น
โครงการท่ีต้องเสนอผา่ นตามลาดับข้นั ตอน และผูอ้ นมุ ตั ิโครงการลงนามในตอนทา้ ยสดุ ของโครงการ

กจิ กรรมการเรยี นการสอน

ศกึ ษาเอกสารมอดลู ที่ ๕.๔
แบบทดสอบการเขียนโครงการ

http://bit.ly/thaiact5-5

๓๘ ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสอื่ สารในงานอาชีพ

เอกสารอ้างองิ

กิจจา บานชน่ื และเจษฎ์ ประกอบทรพั ย์. (๒๕๕๓). โครงการ. กรุงเทพฯ : แม็ค.
ประดิษฐ์ จนั ทรแ์ กว้ . (๒๕๔๙). ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชพี . นนทบุรี : ศนู ย์หนงั สือ

เมอื งไทย.
ราชบณั ฑติ ยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพฯ :

นานมบี คุ๊ .

ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สื่อสารในงานอาชีพ ๓๙

แบบประเมินตนเองหลงั เรียน

หน่วยที่ ๕

http://bit.ly/thai-test5

๔๐ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสื่อสารในงานอาชีพ


Click to View FlipBook Version