The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-Book คู่มือพัฒนาหลักสูตร

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nongkuk Musika, 2020-05-06 09:53:36

E-Book คู่มือพัฒนาหลักสูตร

E-Book คู่มือพัฒนาหลักสูตร

กล่มุ นิเทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั อบุ ลราชธานี

คำนำ

คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : การนำมาตรฐานและตัวชี้วัดในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง
พ.ศ.2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษานี้ จัดทำขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือใช้เป็นส่ือประกอบการนเิ ทศ สำหรบั ผบู้ ริหาร ครู บคุ ลากรทางการศึกษา และผู้ท่ีมีส่วน
เกี่ยวข้องที่สนใจในการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ใน
สถานศึกษาเอกชน ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการ
เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี
(ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2560) ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน พุทธศักราช 2551 ตามคำสงั่ สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 922/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้าง
เวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พทุ ธศักราช 2551 โดยมีคำสงั่ ใหโ้ รงเรยี น ใชห้ ลักสูตร
ในปีการศึกษา 2561 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1,4 ระดับช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1,4 ปีการศึกษา 2562 ใช้ใน
ระดับชั้นประถมศึกษาปที ่ี 1,2,4,5 ระดบั ช้นั มธั ยมศึกษาปีท่ี 1,2,4,5 และปกี ารศกึ ษา 2563 เป็นตน้ ไปให้ใช้ทุก
ชั้นเรียน โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนให้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพ และมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สอดคล้อง
กับนโยบายและเปา้ หมายของกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : การนำมาตรฐานและตัวชี้วัดในกลุ่มสาระท่ี
เปลย่ี นแปลง พ.ศ.2560 ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน พ.ศ. 2551 ลงสกู่ ารปฏิบัตใิ นสถานศกึ ษา
ครั้งนี้ ได้จัดทำเป็นเล่มหนังสือปกติและเล่มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการประหยัดงบประมาณ
และสะดวกในการนำไปใช้ โดยใช้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต (Tablet) เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
เคร่ืองคอมพวิ เตอรร์ ะบบพีซี ซ่ึงผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถ Download ไว้ใช้เพื่อนำมา
ศึกษา ทบทวนเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาได้ตลอดเวลา คณะผู้จัดทำหวังว่า คู่มือการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา : การนำมาตรฐานและตัวชี้วัดในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษานี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้าง
ความรู้ ความเข้าใจในการฝกึ ปฏบิ ัติจดั ทำเพือ่ การพัฒนาหลกั สตู รสถานศึกษาต่อไป

คณะผ้จู ดั ทำ
นางยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพัฒนแ์ ละคณะ

กลุม่ นิเทศ ติดตามและประเมินผล
สำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

เมษายน 2563

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

คำชแี้ จง

ในการใช้คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : การนำมาตรฐานและตัวชี้วัดในกลุ่มสาระที่
เปล่ียนแปลง พ.ศ.2560 ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ลงสู่การปฏิบตั ิในสถานศกึ ษา
น้ีได้กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นไว้สำหรับผู้ใช้ ซึ่งเป็นผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สนใจ
ไดป้ ฏบิ ัตกิ ารใชค้ ่มู อื อยา่ งถกู ต้องตามขน้ั ตอนของคู่มอื ทไี่ ดว้ างไว้ ดังน้ี

1. ควรศึกษาคู่มือให้เข้าใจอยา่ งถ่องแท้ ชัดเจน เพือ่ ให้เกดิ ความรู้ ความเขา้ ใจในการฝึกปฏิบัติจัดทำ
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ในคู่มือนี้จะใช้คำว่า “การนิเทศ Online”
ในความหมายของ “การนิเทศการพฒั นาหลักสตู รสถานศกึ ษา ” ซ่งึ เปน็ กระบวนการนเิ ทศทพ่ี ฒั นาขน้ึ เพื่อการ
วิจัยเรื่อง “รูปแบบการนิเทศโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศกึ ษา สำหรับโรงเรยี น
เอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี” คำว่า “สถานศึกษา” ในความหมายของ
“สถานศึกษาเอกชนที่เปิดสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” คำว่า “ผู้ใช้คู่มือ” ในความหมายของ
“สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศกึ ษา ครู บุคลากรทางการศึกษาและผูม้ ีส่วนเกีย่ วข้องในการพัฒนาคุณภาพงาน
วิชาการของสถานศึกษา” คำว่า “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ในความหมายของ “ผู้ที่มีสว่ นร่วมในการพัฒนาคณุ ภาพ
งานวิชาการในระดับสถานศึกษา” เชน่ ศกึ ษานิเทศก์ วทิ ยากรท่ีเชิญมาร่วมให้ความรู้ ผบู้ รหิ ารและครูโรงเรียน
ต้นแบบ ครตู ้นแบบทีป่ ฏิบัตหิ นา้ ที่เป็นครพู เี่ ล้ยี ง เป็นต้น

2. ในการใชค้ ู่มอื น้ี ผู้ใชส้ ามารถใชไ้ ดท้ ั้งแบบเล่มหนงั สือปกติ และเล่มหนงั สืออิเลก็ ทรอนิกส์ (e-book)
Online โดยผ่านการเชื่อมโยง (Link) ผา่ นทางแอปพลเิ คชัน Line (Application Line) ของกลุ่มสถานศกึ ษา
เอกชนในสังกดั การเช่ือมโยง (Link) สือ่ สาธารณะของคณะผจู้ ัดทำทาง Facebook รวมถึงการเช่ือมโยง (Link)
ทาง Google Drive และ E-Mail

3. เป็นคู่มือสำหรับการนิเทศทางไกล ซึ่งเป็นการนิเทศแบบยึดผู้รับการนิเทศเป็นสำคัญโดยใช้
กระบวนการกลุ่มหรือทีมในการดำเนินการจัดกิจกรรมเมื่อผู้ใช้คู่มือมีปัญหา สงสัย หรือไม่เข้าใจในการจัดทำ
หลกั สตู รสถานศึกษา การนำหลักสตู รไปใช้ การจดั การเรยี นรู้ การวดั และประเมินผลรวมทง้ั ปญั หาดา้ นวิชาการ
ต่าง ๆ ก็สามารถถามหรือสนทนาต่อหน้าแบบ Face to face โดยผ่านทางแอปพลิเคชัน Line กลุ่ม หรือ
Facebook และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
และมีส่วนร่วมอย่างกระตือรอื ร้นในการปฏบิ ัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยเน้นท่ีการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน การ
ได้ทำงานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะภาคสนาม
ณ ทส่ี ถานศกึ ษา

คณะผจู้ ดั ทำ
นางยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพฒั นแ์ ละคณะ

กลมุ่ นิเทศ ติดตามและประเมินผล
สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี

เมษายน 2563

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี

สารบญั หนา้
เรือ่ ง

คำนำ 1

คำช้ีแจง 1

สารบญั 2
ส่วนที่ 1 บทนำ ........................................................................................................
3
ความเป็นมาและความสำคัญ …………………………………………………………………………….
5
สาระสำคัญของการปรบั ปรุงหลักสูตร ………………………………………………………………..
กลุม่ สาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ ………………………………………………………………………. 7

กลมุ่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ............................................................................... 7

สาระภูมิศาสตร์ในกลุม่ สาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม ……………. 8

กลมุ่ สาระการเรียนรกู้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี ………………………………………………. 12
กระบวนการพฒั นาหลกั สูตรสถานศกึ ษา .................................................................... 13
13
ส่วนท่ี 2 การจัดทำหลกั สตู รสถานศกึ ษา .................................................................. 15
องค์ประกอบท่ี 1 สว่ นนำ ....................................................................................... ...... 16
ตัวอยา่ งความนำ ........................................................................................................... 17
วสิ ยั ทศั นห์ ลกั สตู รสถานศกึ ษา ......................................................................................
สมรรถนะสำคัญของผเู้ รียน ........................................................................................... 18
คณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์ ............................................................................................
19
องค์ประกอบที่ 2 โครงสร้างหลักสตู รสถานศึกษา ........................................................... 19
การจัดทำโครงสรา้ งหลกั สตู รสถานศกึ ษา ..................................................................... 20
การบริหารจัดการเวลาเรียน .........................................................................................
การกำหนดรายวิชา ...................................................................................................... 20

การจัดรายวชิ า …………………………………………………………………………………………………. 22
การกำหนดรหสั วชิ า ......................................................................................................
25
ตวั อยา่ งโครงสรา้ งหลกั สูตรสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา .......................................
26
ตวั อยา่ งโครงสรา้ งหลักสตู รชัน้ ปี ระดับประถมศึกษา ...................................................
ตวั อย่างโครงสรา้ งหลักสูตรสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ .............................. 27

ตัวอยา่ งโครงสร้างหลกั สตู รชน้ั ปี ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น ......................................... 29

ตวั อย่างโครงสรา้ งหลกั สูตรสถานศกึ ษา ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย .......................... 30

กล่มุ นิเทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

สารบญั (ต่อ) หน้า
เร่อื ง

ตัวอยา่ งโครงสรา้ งหลักสูตรช้นั ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ……………………………… 32
องค์ประกอบท่ี 3 คำอธบิ ายรายวชิ า ........................................................................... 33

ตัวอย่างที่ 1 ตารางการวเิ คราะหต์ ัวชว้ี ัดและสาระการเรยี นรู้เพื่อการจัดทำคำอธิบาย 34
รายวชิ า ………………………………………………………………………………………………………………. 35
ตัวอย่างที่ 2 การวิเคราะห์ตวั ช้ีวดั และสาระการเรียนรู้เพื่อการจัดทำคำอธบิ ายรายวิชา 37
38
ตัวอย่างแบบการเขียนคำอธิบายรายวชิ า ................................................................................. 39
40
ตวั อย่างคำอธิบายรายวิชาพ้ืนฐาน ………………………………………………………………………….. 41
42
ตวั อย่างคำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม ………………………………………………………………………… 45
47
องคป์ ระกอบที่ 4 กิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน .................................................................................... 47
47
การจัดเวลาเรียนกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน ....................................................................... 48
53
ตวั อยา่ งหลกั สตู รกิจกรรมพัฒนาผู้เรยี นระดบั ประถมศึกษา ........................................ 55
59
องคป์ ระกอบท่ี 5 เกณฑ์การจบการศึกษา........................................................................ 60
61
การกำหนดเกณฑ์การจบการศึกษา.............................................................................. 63
64
การจัดทำระเบียบการวดั และประเมินผลการเรยี นรู้..................................................... 65
67
การจัดทำเอกสารบันทึกผลและรายงานผลการเรยี นรู้ ................................................ 68

ตวั อยา่ งการเขียนองค์ประกอบท่ี 5 เกณฑก์ ารจบหลักสตู ร ระดับประถมศึกษา..........

การตรวจสอบหลักสตู รสถานศึกษา ……………………………………………………………………

ตวั อย่างแบบตรวจสอบการพัฒนาหลกั สตู รสถานศึกษา...............................................

สว่ นท่ี 3 การนำหลักสูตรสถานศกึ ษาไปใช้ ...............................................................
ตัวอยา่ งแบบโครงสรา้ งรายวชิ า ..................................................................................
ตัวอยา่ งโครงสรา้ งรายวิชา ..........................................................................................
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ .....................................................................................
ตัวอย่างตารางการออกแบบหนว่ ยการเรียนรู้ ..............................................................
ตวั อย่างการออกแบบหนว่ ยการเรยี นรู้ ........................................................................

บรรณานกุ รม....................................................................................................................
คณะผจู้ ดั ทำ......................................................................................................................

กล่มุ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี

สารบัญภาพประกอบ

ภาพประกอบ หน้า

ภาพประกอบ 1 การปรบั เปล่ียนด้านสาระการเรยี นรู้คณติ ศาสตร์ ................................. 3
ภาพประกอบ 2 สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้ กลมุ่ สาระการเรยี นรคู้ ณิตศาสตร์ ........ 4
5
ภาพประกอบ 3 แสดงตัวชว้ี ัดกลุ่มสาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ .....................................
6
ภาพประกอบ 4 การเปล่ียนแปลงเน้อื หา สาระของหลักสูตรกลุม่ สาระการเรียนรู้ 9
วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ........................................................................... 10
12
ภาพประกอบ 5 กระบวนการพฒั นาหลกั สตู รสถานศึกษา ....................................................
40
ภาพประกอบ 6 องคป์ ระกอบสำคญั ของหลกั สูตรสถานศึกษา …………………….…………….. 59

ภาพประกอบ 7 ตัวอย่างปกหลักสูตรสถานศกึ ษา …………………………………………….……….

ภาพประกอบ 8 ความสัมพันธ์เช่ือมโยงกนั ด้านเป้าหมาและขอบข่ายของกจิ กรรม
พัฒนาผูเ้ รยี น ……………………………………………………………………….…….

ภาพประกอบ 9 กระบวนการนำหลกั สตู รสถานศกึ ษาไปใช้ในชั้นเรยี น ..............................

กล่มุ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี

สว่ นที่ 1

บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคญั

ประเทศไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่
พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศคือ
“ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติย่งั ยืน” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมติ ิ พฒั นาคนในทุกมิติและในทุก
ช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง มีคุณภาพ และได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี (2561-2580) ด้านการปฏิรูป
กระบวนการเรียนรู้ท่ตี อบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มุง่ เน้นผู้เรียนให้มที ักษะการเรียนรู้และมี
ใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา โดย 1) การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่
21 2) การเปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ 3) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาใน
ทุกระดับทุกประเภท 4) การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) การสร้างความตื่นตัวให้คนไทยตระหนักถึง
บทบาท ความรับผิดชอบ และการวางตำแหน่งของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และประชาคมโลก
6) การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใชด้ ิจิทัลแพลตฟอรม์ และ 7) การสร้างระบบการศึกษาเพือ่ เป็น
เลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ การพัฒนาคนเพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์ชาติด้านการศึกษาของประเทศไทย
มีการปฏิรูปการศึกษาในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ จากการรายงานผลการวิจัยของ
หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ ผลการศึกษา พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 มีข้อดีในหลายประการ เช่น กำหนดเป้าหมายการพัฒนาไว้ชัดเจน มีความยืดหยุ่นเพียงพอให้
สถานศึกษาบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาได้ สำหรับปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่เกิดจากการนำหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาและในห้องเรียน นอกจากน้ี
การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ทิศทาง กรอบยุทธศาสตร์ แผนแม่บทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ พบว่า
ประเดน็ สำคัญเพ่อื แปลงแผนไปส่กู ารปฏบิ ัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างแท้จริง คือ การเตรียมพร้อมดา้ นกำลังคน
และการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัยเพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาทักษะที่
สอดคลอ้ งและตรงกับความต้องการในตลาดแรงงานและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชวี ิตในศตวรรษที่ 21

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความ
พร้อมคนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปล่ียนแปลงได้อย่างเหมาะสม และเร่งด่วนโดยใหม้ ีการ
ปรบั ปรงุ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ซงึ่ มกี ารปรบั ปรุงมาตรฐาน ตวั ชี้วัด สาระ
การเรียนรู้ จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ 1) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี 3) สาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ 4) กลุ่มสาระ
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ัน
พื้นฐานที่ 922/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้โรงเรียนใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2561 ระดับ
ประถมศึกษาให้ใชใ้ นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1, 4 ระดับมัธยมศกึ ษาใหใ้ ชใ้ นชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1,4

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

2

ปีการศึกษา 2562 ให้ใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2,4,5 ระดับมัธยมศึกษาให้ใช้ในชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 1,2,4,5
และในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไปให้ใช้ทุกชั้นเรียน โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็น
เป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพ สอดคล้อง
กับนโยบายและเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ในครั้งน้ี ยังคงหลักการและโครงสร้างเดิมของหลักสูตร คือ ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพ และภาษาต่างประเทศ แต่มุ่งเน้นการปรับปรุง
เนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ คำนึงถึงการ
สง่ เสรมิ ใหผ้ ู้เรยี น มที กั ษะที่จำเปน็ สาหรับการเรียนร้ใู นศตวรรษที่ 21 เปน็ สำคญั เตรียมผเู้ รยี นให้มีความพร้อม
ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษาหรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นโดยได้
กำหนดกรอบในการปรบั ปรงุ คอื ใหม้ อี งคค์ วามรทู้ เี่ ป็นสากลเทียบเท่านานาชาติ ปรับมาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัดใหม้ ีความชัดเจน สอดคล้องและเชื่อมโยงกันภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ท่มี ี
ความซ้ำซ้อนระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ
เทคโนโลยี เข้าด้วยกัน จัดเรียงลำดับความยากง่ายของเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
ให้มีความเชื่อมโยงความรู้และกระบวนการเรียนรู้ โดยให้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา
ความคดิ อย่างเปน็ ระบบ และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตนให้รเู้ ท่าทนั ตอ่ การเปล่ยี นแปลงทางเทคโนโลยี สังคม
เศรษฐกจิ การเมอื ง การปกครอง สามารถปรับตัวภายใต้สภาพแวดล้อมทเี่ ปลย่ี นแปลงไดโ้ ดยมีทักษะชีวิตแบบ
คนไทย 4.0 และดำรงตนอยไู่ ดอ้ ยา่ งมีความสขุ

ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีกระบวนการสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา
3 กระบวนการ คือ กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศการศึกษา ซึ่งเป็น
ภารกิจหลักของหน่วยงานทางการศึกษาและภารกิจสำคัญของสถานศึกษาจากการสรุปรายงานผลการนิเทศ
การศึกษา สถานศึกษาเอกชนในสังกัดสำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ผ่านมาสรุปปัญหาการนิเทศ
ติดตาม ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ พบว่า ปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ
ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ สถานศึกษาส่วน
ใหญ่ยังมีการใช้หนังสือเรียนเป็นหลักโดยใช้แทนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาจากการ
วิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากประเด็นปัญหานี้ จึงได้จัดทำคู่มือการพัฒนา
หลักสูตรสถานศึกษา : การนำมาตรฐานและตัวชี้วัดในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขึ้น เพื่อใช้ในการเสริมสร้างความรู้
ความเขา้ ใจในการพัฒนาหลกั สูตรสถานศึกษาต่อไป

สาระสำคัญของการปรบั ปรุงหลักสตู ร

สาระสำคัญของการปรับปรุงหลักสูตร เป็นการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 โดยมีการปรับมาตรฐาน ตัวช้ีวัด และสาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.
2560 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้แก่ 1) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ 3) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรมในสาระภูมิศาสตร์ และ 4) กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีสาระสำคญั ดงั ต่อไปนี้

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

3
1. กลุ่มสาระการเรียนรคู้ ณติ ศาสตร์

กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใน 3 ด้าน คือ
1) ดา้ นการจดั สาระการเรยี นรู้ 2) ด้านเนื้อหา และ 3) ด้านโครงสร้างรายวชิ า

ดา้ นการจดั สาระการเรยี นรู้
กลมุ่ สาระการเรยี นรคู้ ณิตศาสตร์ มีการปรบั ปรุงเปลีย่ นแปลงดา้ นการจดั สาระการเรียนรู้ จากเดิม

มี จำนวน 6 สาระ ปรบั เปลย่ี นโดยกำหนดให้มี จำนวน 3 สาระการเรยี นรู้ ได้แก่ 1) สาระจำนวนและพีชคณิต
2) สาระการวดั และเรขาคณติ 3) สาระสถิตแิ ละความนา่ จะเปน็ แสดงไดด้ งั ภาพประกอบ 1

การจดั สาระของกล่มุ สาระ
การเรียนรคู้ ณิตศาสตร์ดไู ด้
จากภาพประกอบ 1 นะคะ

ภาพประกอบ 1 การปรบั เปลี่ยนดา้ นสาระการเรยี นรู้คณติ ศาสตร์

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

4

ด้านเน้ือหา 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาคือ การจัดลำดับของ

เนื้อหาตามความยาก-ง่ายและความซับซ้อน เพื่อให้เหมาะสมต่อพัฒนาการของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะ
ทางคณิตศาสตร์ เกิดการคดิ วิเคราะห์ คดิ แก้ปญั หาเป็น โดยเน้นการเชอ่ื มโยงเน้อื หาคณติ ศาสตร์ การแก้ปญั หา
ทางคณิตศาสตร์กับชีวิตจริง เลื่อนไหลเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น ตัดเนื้อหาบาง
เรื่องที่อาจซ้ำซ้อนกันกับวิชาอื่นออกไป เพิ่มเติมเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้เรียนในแต่ละ
ระดับชั้นเกี่ยวกับ การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์ การให้เหตุผล การเชื่อมโยงการแก้ปัญหา
การคิดสร้างสรรค์

ดา้ นโครงสร้างรายวิชา
การปรบั หลักสตู รกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านโครงสรา้ งรายวชิ า ซ่งึ สถานศกึ ษาต้องนำมา

จดั ทำเปน็ หลกั สูตรสถานศกึ ษาและหลกั สูตรระดับช้นั เรยี นเพื่อนำลงสกู่ ารจดั การเรยี นรู้ ดังน้ี
1. ระดับประถมศกึ ษา ชน้ั ประถมศึกษาปที ี่ 1-6 ทำเปน็ รายวชิ าพนื้ ฐาน 1 วชิ า/ปี
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทำเป็นรายวิชาพื้นฐานได้มากกว่า 1 รายวิชา/

ภาค/ปี
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดทำเป็นรายวิชาพื้นฐานได้มากกว่า 1

รายวิชา/ภาค/ปี โดยภายใน 3 ปี ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้และประเมินผลการเรียนครบทุกตัวชี้วัด ระดับช้ัน
มัธยมศึกษาปีท่ี 4 – 6 กำหนดตัวชี้วัดเป็นรายปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาจัดตามลำดับการเรียนรู้
อย่างไรก็ตามสถานศึกษาสามารถพิจารณามาตรฐานการเรียนรู้และตวั ช้ีวดั สำหรบั ผูเ้ รียนทกุ คน ที่เป็นพืน้ ฐาน
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น โดยเลื่อนไหลระหว่างปีได้
ตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและการจัดรายวิชาแบบช่วงชั้นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ซึง่ มีการจดั กลุ่มความรู้ใหม่ และนำทกั ษะกระบวนการไปบูรณาการกับตัวช้ีวัด เพ่อื เสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะ
ในศตวรรษท่ี 21

การจัดโครงสร้างรายวิชาต้องคำนึงถึงจำนวนสาระและมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เพื่อการ
กำหนดชั่วโมงเรียนในแต่ละชั้นปี สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2560) แสดงได้ ดังภาพประกอบ 2 และภาพประกอบ 3

ภาพประกอบ 2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลมุ่ สาระการเรยี นร้คู ณิตศาสตร์
กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวัดอุบลราชธานี

5

ภาพประกอบ 3 แสดงตวั ช้ีวดั กลุ่มสาระการเรยี นร้คู ณิตศาสตร์ 6

2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) มีการ
เปลย่ี นแปลง ด้านการจัดสาระการเรียนรู้ ดา้ นเนื้อหา และดา้ นโครงสรา้ งรายวิชา ดงั นี้

ดา้ นการจัดสาระการเรยี นรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) มีการเปลี่ยนแปลง

ด้านการจดั สาระการเรยี นรู้ ดังน้ี
- จดั สาระการเรยี นรใู้ หมจ่ ากเดิมมี จำนวน 8 สาระ ปรับเปลี่ยนโดยกำหนดให้มี จำนวน 4 สาระ

และเปลี่ยนชื่อสาระการเรียนรู้ใหม่ทั้ง 4 สาระเป็น 1) สาระวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 2) วิทยาศาสตร์กายภาพ
3) โลกและอวกาศ และ 4) สาระเทคโนโลยี

- แบ่งสาระการเรียนรู้ออกเป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานกับสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ซ่ึง
ประกอบดว้ ย การออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ ท้งั น้ีเพ่อื เอื้อต่อการจดั การเรียนรู้บูรณาการ
สาระทางคณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กบั กระบวนการเชิงวศิ วกรรม ตามแนวคดิ สะเตม็ ศกึ ษา

- นำสาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจาก
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มารวมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในสาระที่ 4
สาระเทคโนโลยี

- เปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็น “กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลย”ี ในปีการศึกษา 2563

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี

6

ดา้ นเนื้อหา
การเปลี่ยนแปลงหลกั สูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ดา้ นเน้ือหามีการปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับการเพิ่มและ
เน้นเนื้อหาที่ทันสมัยสอดคล้องต่อการดำเนินชีวิติในปัจจุบันและอนาคต เน้นทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา มีการโยกย้ายเนื้อหาข้ามระดับช้ัน
ตัดลดทอนเน้อื หาทีย่ ากเกนิ ไปท่ีไม่เหมาะสมกบั ระดับช้ันเรยี น การเปล่ยี นแปลงเนอ้ื หา สาระของหลกั สูตรกลุ่ม
สาระการเรียนรวู้ ิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี สรปุ ไดด้ งั ภาพประกอบ 4

เน้ือหา สาระการเรียนรขู้ องกลุ่ม
สาระการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตรแ์ ละ
เทคโนโลยี ดูไดใ้ นภาพประกอบ 4
ครบั ผม

7

ภาพประกอบ 4 การเปลีย่ นแปลงเนอ้ื หา สาระของหลักสตู รกลมุ่ สาระการเรียนรู้
วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั อุบลราชธานี

7

3. สาระภูมศิ าสตร์ในกลมุ่ สาระการเรียนรสู้ งั คมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม

การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2560) เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะสาระภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ได้ปรบั มาตรฐานการเรียนรู้ ส 5.1 และ ส 5.2 และตัวชี้วดั ใหม้ ีความชดั เจน สอดคลอ้ ง
กับพัฒนาการตามช่วงวัย โดยมีเป้าหมายการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ ทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะและ
กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ที่เน้นการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo literacy) การมีองค์ความรู้ที่เป็นสากล
เพิ่มความสามารถ ทักษะ และกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ที่ชัดเจนขึ้น การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo literacy)
ซึง่ มอี งค์ประกอบสำคญั ทัง้ 3 ประการ ดงั น้ี

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ.2560) นำสาระท่ี 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสือ่ สาร ยา้ ย
ไปเป็นสาระที่ 4 สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คงเหลือ 2 สาระคือ สาระท่ี
1 การดำรงชวี ติ และครอบครัว สาระที่ 4 การอาชพี โดยเปล่ยี นสาระท่ี 4 เปน็ สาระที่ 2 การอาชีพ และเปล่ียน
ชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยให้เปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเปลี่ยนชื่อเป็น
“กลุ่มสาระการเรียนรู้งานอาชีพ” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็น “กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี” ในปีการศึกษา 2563

เราศกึ ษาสง่ิ ทเี่ ปล่ียนแปลงในหลกั สูตรแกนกลางฯ ชดั เจนแลว้
เรามาทบทวนและพฒั นาหลกั สูตรสถานศึกษาของเรากนั เถอะครบั

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

8

กระบวนการพัฒนาหลกั สูตรสถานศึกษา

ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการ
เปล่ยี นแปลงของมาตรฐาน ตวั ช้ีวดั และสาระการเรียนรู้ ในกลมุ่ สาระทเ่ี ปล่ยี นแปลง พ.ศ.2560 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น มีกระบวนการสำคัญในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาหลักสูตร
สถานศกึ ษา แบง่ เปน็ 3 ระยะ ดงั ตอ่ ไปนี้

ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินการปรบั หลักสตู รสถานศกึ ษา
ก่อนการดำเนินการปรับหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน

ตัวช้ีวัด และสาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สถานศึกษาควรมีการศึกษาประเด็นที่เปลี่ยนแปลงก่อนที่จะทำการปรับปรุง
หลกั สูตรสถานศกึ ษา ให้เขา้ ใจอยา่ งถอ่ งแท้ ชัดเจน ดงั นี้

1.1 การศึกษามาตรฐานการเรยี นรูแ้ ละตัวชว้ี ดั กลุ่มสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) รวมถึงการย้ายสาระจากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาอยู่
ในกลมุ่ สาระการเรยี นรวู้ ิทยาศาสตร์ การเปลยี่ นช่ือกล่มุ สาระ ปีการศกึ ษาท่ีใช้หลกั สตู รท่ปี รับใหม่

1.2 การศึกษาการเปล่ียนแปลงของการกำหนดเวลาเรยี นในโครงสร้างหลกั สูตรสถานศกึ ษา
ใหส้ อดคลอ้ งสมั พนั ธ์กันกับการเปล่ียนแปลงมาตรฐาน ตวั ชี้วัด และสาระการเรยี นรู้ ในกลมุ่ สาระทีเ่ ปลีย่ นแปลง
พ.ศ.2560 ตามหลักสตู รแกนกลางแกนกลางการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551

1.3 ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการรายวิชาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ตัวชี้วัด และ
สาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ในแต่ละกลุ่มสาระตามหลักสูตรแกนกลางแกนกลาง
การศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551

1.4 การบริหารจัดการเวลาเรียน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ตัวช้ีวัด และสาระ
การเรียนรู้ ในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ในแต่ละกลุ่มสาระ ตามหลักสูตรแกนกลางแกนกลาง
การศึกษาข้ันพนื้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551 และบริบทของสถานศึกษา

1.5 ศึกษาการนำหลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการปฏิบัติจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ตัวช้ีวัด และสาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระท่ีเปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ในแต่ละ
กลุ่มสาระตามหลักสูตรแกนกลางแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และจุดเน้น ของ
สถานศึกษา

ระยะท่ี 2 การทบทวนและดำเนินการพฒั นาหลักสูตรสถานศึกษา
ในการทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด
สาระการเรยี นรู้ กลุม่ สาระการเรียนรู้ (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. 2560) สถานศึกษาควรนำหลักสูตรสถานศึกษาท่ีมี
อยู่แล้ว มาทำการทบทวนและปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา ดงั น้ี
2.1 แต่งตงั้ คณะกรรมการบรหิ ารหลักสตู รและงานวชิ าการของสถานศึกษา และคณะทำงาน

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั อุบลราชธานี

9

2.2 ศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 กรอบหลักสูตรระดบั ทองถิ่นและเอกสารประกอบหลักสูตรต่าง ๆ รวมทั้งการรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ
เกยี่ วกับสภาพปญั หา จุดเนน้ ความต้องการของสถานศกึ ษา ผูเ้ รียน และชุมชน

2.3 ทบทวนและปรบั หลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลยี่ นแปลง มาตรฐานการเรียนรู้ และ
ตัวชี้วดั กล่มุ สาระการเรยี นรู้คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมศิ าสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สู่การปฏิบัติในการจัดทำ
หลกั สตู รสถานศึกษา ซ่งึ มขี ั้นตอนในการจดั ทำ 8 ขัน้ ตอน สรปุ ได้ ดงั ภาพประกอบ 5

ภาพประกอบ 5 กระบวนการพัฒนาหลกั สตู รสถานศึกษา

ตอ่ ไปเรามาช่วยกนั ปรบั หลกั สูตร
สถานศึกษาของเรากนั คะ่

2.4 การจัดทำร่างหลักสูตรและปรับหลักสูตรสถานศึกษา โดยสถานศึกษาทบทวน องค์ประกอบและ
ปรบั รายละเอียดในแตล่ ะองค์ประกอบของหลกั สูตรสถานศึกษาใหส้ อดคล้องกับการเปล่ยี นแปลงตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เกี่ยวกับมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เช่น ส่วนนำ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา คำอธิบายรายวิชา
เกณฑก์ ารวดั และประเมินผล และเกณฑก์ ารจบการศึกษา ซง่ึ ในการทบทวนและจัดทำร่างหลักสตู รสถานศึกษา

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี

10

การกำหนดองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรนั้น สำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551 : 56)
ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญของหลกั สูตรสถานศึกษาไว้ 5 องคป์ ระกอบ ดงั ภาพประกอบ 6

5

ภาพประกอบ 6 องคป์ ระกอบสำคญั ของหลักสตู รสถานศึกษา 11

จากนั้นสถานศึกษาก็ทำการปรบั ปรุงหลกั สูตรสถานศึกษา ตามองค์ประกอบที่กำหนด และตรวจสอบ
รายละเอียดในแตล่ ะองคป์ ระกอบของหลักสูตรสถานศึกษา โดยคณะกรรมการพิจารณาคุณภาพ ความถูกต้อง
และความเหมาะสม ซึง่ ในการจัดทำแต่ละองคป์ ระกอบของหลักสูตรสถานศกึ ษา มแี นวทางในการจัดทำ ดงั นี้

2.4.1 ส่วนนำ เป็นส่วนของการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของการปรับหลักสูตร
สถานศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งจะเห็นถึง เป้าหมายหรือทิศทางของหลักสูตรสถานศึกษา ในส่วนนี้ช่วยให้ผู้บริหาร
ครูวิชาการ ครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องทราบถึงเป้าหมายโดยรวมของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน
ประกอบดว้ ยสว่ นสำคัญ คือ ความนำ วสิ ยั ทัศน์ สมรรถนะสำคัญของผูเ้ รยี น และคณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์

2.4.2 โครงสร้างหลกั สตู รสถานศกึ ษา เป็นส่วนสำคัญที่ให้ขอ้ มลู เกยี่ วกับการกำหนดรายวิชา
ที่จัดสอนในแต่ละปี/ ภาคเรียน ประกอบด้วย รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อม
ทั้งจำนวนเวลาเรยี น หรือหนว่ ยกติ ของรายวชิ าเหลา่ นน้ั (โครงสรา้ งเวลาเรยี น และโครงสรา้ งหลกั สูตรชัน้ ปี)

2.4.3 คำอธิบายรายวิชา ส่วนนี้เป็นรายละเอียดที่ช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไรจาก
รายวิชานั้น ๆ ในคำอธิบายรายวิชาจะประกอบด้วยรหัสวิชา ชื่อรายวิชา ประเภทรายวิชา (พื้นฐาน/เพิ่มเติม)
กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ระดบั ชั้นที่สอน พร้อมทง้ั คำอธิบายให้ทราบว่าเม่ือเรยี นรายวชิ านัน้ แลว้ ผูเ้ รยี นจะมีความรู้
ทักษะ คุณลักษณะหรือเจตคติอะไร ซึ่งอาจระบุให้ทราบถึงกระบวนการเรียนรู้ หรือประสบการณ์สำคัญที่
ผเู้ รยี นจะได้รบั ด้วยก็ได้

2.4.4 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่สถานศึกษากำหนดให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง
ตามศักยภาพ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อ
สังคมและสาธารณประโยชน์ โดยระบแุ นวการจดั เวลา และแนวทางการประเมนิ กิจกรรม

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

11

2.4.5 เกณฑ์การจบการศึกษา เป็นส่วนที่สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะจบ
การศึกษาใน แต่ละระดับ โดยพัฒนาเกณฑ์ดังกล่าวให้สอดคล้องสัมพันธ์กับเกณฑ์การจบหลักสูตรตาม
หลกั สตู รแกนกลาง และสถานศึกษาจะต้องจัดทำระเบียบว่าด้วยการวดั และประเมินผลการเรียน เพื่อใช้ควบคู่
กบั หลักสตู รสถานศึกษา

2.5 นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาใหค้ วามเหน็ ชอบ หากมีข้อเสนอแนะจาก
คณะกรรมการ ใหน้ ำข้อเสนอแนะไปพจิ ารณาปรับปรุงก่อนการอนุมตั ิใชห้ ลักสูตร

2.6 จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่ง เรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาและ
ประธานกรรมการสถานศกึ ษาเป็นผู้ลงนาม หรือผ้บู รหิ ารสถานศึกษาเป็นผูล้ งนาม

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ตัวช้ีวัด และสาระการเรยี นรู้ ในกลุ่มสาระทีเ่ ปล่ียนแปลง พ.ศ.2560 ตามหลักสตู ร
แกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ในระยะที่ 2 เป็นการปฏบิ ัติการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
ให้ครบถ้วนสมบรู ณ์ในแต่ละองค์ประกอบ ก่อนท่ีจะนำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาให้
ความเห็นชอบ ตามข้อ 2.5 หากมีข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ให้นำขอ้ เสนอแนะไปพจิ ารณาปรับปรุงก่อน
การอนุมัติใชห้ ลักสูตร จึงจดั ทำเปน็ ประกาศหรอื คำส่ังตามข้อ 2.6 เรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บรหิ าร
สถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษาเปน็ ผลู้ งนาม หรอื ผ้บู รหิ ารสถานศึกษาเป็นผ้ลู งนาม ก่อนการนำ
หลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ ซึ่งในการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามเอกสารเล่มนี้
ขอเสนอรายละเอียด วิธีการและตัวอย่างในแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อผู้บริหาร
ครูวิชาการ ครู คณะผู้จัดทำ จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำพัฒนาหลักสูตรสถานศึ กษาของแต่ละ
สถานศึกษาตอ่ ไป

เรามาช่วยกนั ทาหลกั สตู ร
สถานศึกษาของเรากนั

ต่อไปกนั เถอะค่ะ

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

12

ส่วนที่ 2
การจดั ทำหลักสูตรสถานศกึ ษา

ในสว่ นของการจัดทำหลักสตู รสถานศกึ ษา ซง่ึ เป็นเล่มเอกสารของตวั หลักสูตรและเป็นส่วนสำคัญของ
มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาได้กำหนดรายละเอียดตามองค์ประกอบของกระบวนการจัดทำหลักสูตร
สถานศึกษา และเพื่อการนำไปใช้ต่อไปโดยเริ่มจากปกหลักสูตร คำนำ สารบัญ และตามด้วย 5 องค์ประกอบ
สำคัญทีไ่ ด้นำเสนอไวใ้ นสว่ นที่ 1 ซง่ึ รายละเอียดดังน้ี

สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน (2551 : 16) ได้กำหนดแนวทางการเขียนปกหลักสตู ร
สถานศึกษาไวว้ า่ ปกหลักสตู รสถานศึกษาควรประกอบไปดว้ ย ตราสญั ลักษณ์ของโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ปี พ.ศ.
ที่เริ่มใช้หลักสูตรหรือในการปรับปรุงหลักสูตรในแต่ละครั้งตามปีที่ปรับ และหน่วยงานที่โรงเรียนสังกัด
หากหลังจากใช้ไประยะหนึ่งแล้วสถานศึกษามีการปรับปรุงหลักสูตร ให้ปรับเปลี่ยนปี พ.ศ. ใหม่ให้สอดคล้อง
กบั ปที ีป่ รบั ปรุง ตัวอย่างปกหลกั สตู รสถานศกึ ษา แสดงไดด้ ังภาพประกอบ 7

ภาพประกอบ 7 ตวั อย่างปกหลักสูตรสถานศกึ ษา

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวดั อบุ ลราชธานี

13

หลังจากที่ทำปกหลักสูตรสถานศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อไปก็จะทำ คำนำ สารบัญ ซึ่งสถานศึกษา
ต้องทำในเล่มเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา ต่อจากนั้นก็จะเป็น องค์ประกอบที่ 1 ส่วนนำ ของหลักสูตร
สถานศกึ ษา อันประกอบดว้ ย ความนำ วิสยั ทศั น์ สมรรถนะสำคญั ของผู้เรียน และคุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์

เรามาชว่ ยกนั เขียนองคป์ ระกอบที่ 1 สว่ นนากนั คะ่

1.ความนา 2. วิสยั ทัศน์

4.คุณลักษณะ 3.สมรรรถนะ
อันพึง สำคัญ
ประสงค์

องคป์ ระกอบท่ี 1 สว่ นนำ

1. ความนำ

การเขียนความนำเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงเหตุและผล เกี่ยวกับความเป็นมาของการเริ่มจัดทำ
การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละครั้งตามลำดับมา โดยอาศัยหลัก แนวคิด ของการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ตัวช้ีวัด และสาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระที่เปลี่ยนแปลง พ.ศ.2560 ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 หนังสือราชการที่แจ้ง รวมถึงประกาศ คำสั่ง ข้อกำหนด
แนวทางให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้หลักสูตรแกนกลางของ
กระทรวงศึกษาธิการ มาอา้ งอิงในการเขียนความนำ โดยเขยี นสะท้อนให้เหน็ ถึงการดำเนนิ งานด้านการบริหาร
จดั การหลักสตู รของสถานศึกษาทเี่ ช่ือมโยงสมั พันธก์ นั กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี

14

ตวั อยา่ งความนำ

กระทรวงศึกษาธิการไดป้ ระกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชีว้ ัด กลุ่มสาระการเรยี นรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ตามคำสง่ั กระทรวงศกึ ษาธกิ ารที่ สพฐ.1239/2560 ลงวันท่ี 7
สิงหาคม2560 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่30/2561 ลงวันท่ี 5 มกราคม 2561 ให้เปลี่ยนแปลง
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตรแ์ ละวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560)
และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่921/2561 ลงวันท่ี 3 พฤษภาคม 2561 เรื่องยกเลิกมาตรฐานการ
เรียนรู้และตัวชี้วัด สาระท่ี 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระท่ี 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระ
การเรียนรูก้ ารงานอาชีพ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเปล่ียนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้
และคำส่งั สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พน้ื ฐานที่922/2561 ลงวนั ที่ 3 พฤษภาคม 2561 เรือ่ ง การปรบั ปรงุ โครงสร้าง
เวลาเรียน ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินการใช้หลักสูตรในปี
การศึกษา 2561 โดยให้ใช้ในชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1, 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,4 ปีการศึกษา 2562 ใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่
1,2, 4,5 ช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี 1,2,4,5 และปีการศกึ ษา 2563 ใช้ทุกชนั้ เรยี น โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็น
เป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพ และมีทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21 เพ่ือใหส้ อดคลอ้ งกับนโยบายและเปา้ หมายของสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน

โรงเรียนยอดอนงค์ศึกษา ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยใช้มาตรฐานและตัวชี้วัด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และสาระการ
เรยี นรกู้ ารงานอาชีพ ตามกรอบแนวทางดังทก่ี ลา่ วมา เพอ่ื นำไปใช้ประโยชน์และเปน็ กรอบในการวางแผนและพฒั นาหลักสูตร
ของสถานศึกษาและการบรหิ ารการจดั การเรียนรู้ ซ่ึงมเี ป้าหมายในการพฒั นาคณุ ภาพผู้เรยี น ใหม้ ีกระบวนการนำหลกั สตู รไปสู่
การปฏิบตั ิ โดยมกี ารกำหนดวสิ ัยทศั น์ จดุ หมาย สมรรถนะสำคัญของผ้เู รียน คุณลักษณะอนั พึงประสงคโ์ ครงสร้างเวลาเรียน
คำอธิบายรายวิชา กิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น ตลอดจนเกณฑ์การจบการศึกษาให้มคี วามสอดคลอ้ งกับมาตรฐานการเรียนรู้ เปิด
โอกาสให้โรงเรียนสามารถกำหนดทิศทางในการจัดทำหลกั สูตรสู่การจัดการเรียนรู้ในแต่ละระดับตามความพร้อมและจุดเน้น
ของสถานศึกษาที่เน้นผูเ้ รียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขทา่ มกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
การปกครองและสภาพแวดล้อมทั้งของไทยและโลก โดยมีกรอบตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและบริบทของ
ท้องถิ่น เป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่าง
แทจ้ รงิ และมีทกั ษะในศตวรรษท่ี 21

การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ด้วยความร่วมมือของทุก
ฝา่ ยทเ่ี ก่ยี วขอ้ งท้ังระดับชาติ ชุมชน ครอบครวั และบุคคลตอ้ งรว่ มรับผิดชอบ โดยรว่ มกันทำงานอยา่ งเป็นระบบ และต่อเนื่อง
ในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนบั สนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตาม
มาตรฐานการเรียนรทู้ ก่ี ำหนดไว้

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

15

2. วสิ ัยทัศน์หลักสูตรสถานศกึ ษา

สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน (2551 : 39) ไดใ้ ห้แนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์
หลักสูตรสถานศึกษา อันเป็นเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชือ่ อนาคตที่พึงประสงค์ เอกลักษณ์ของ
โรงเรียนเพ่ือสร้างศรทั ธา จดุ ประกายความคิดในการพัฒนาองค์กร และคณุ ภาพผู้เรยี นที่สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น จุดเน้นและความต้องการของโรงเรียน
โดยมีแนวทางในการกำหนดวิสยั ทัศน์หลักสตู รสถานศกึ ษา ดงั ต่อไปนี้

1) ศึกษา วิเคราะห์ วสิ ัยทัศน์หลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน
2) ศึกษากรอบหลักสตู รระดับท้องถิ่น
3) ศกึ ษาข้อมูลความต้องการ จดุ เนน้ ของทอ้ งถน่ิ และโรงเรยี น
4) กำหนดคำสำคญั ท่ีมุ่งบอกถึงเจตนารมณ์ อุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ อนาคตอันพึงประสงค์ที่
จะพัฒนาผเู้ รยี นไปสูจ่ ดุ หมายของหลกั สูตร
นอกจากน้ี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน (2551 : 40) ยงั ได้สรุปถงึ ลักษณะของ
วิสยั ทัศน์หลักสตู รสถานศึกษาทส่ี มบรู ณ์ ควรประกอบด้วยประเด็นตอ่ ไปน้ี
1) สอดคล้องกบั จุดหมาย หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน
2) สอดคล้องกบั กรอบหลักสูตรระดบั ท้องถิ่น
3) แสดงภาพอนาคตของผเู้ รยี นทคี่ รอบคลมุ สภาพความตอ้ งการของโรงเรยี น ชุมชน และทอ้ งถน่ิ
4) ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ ไม่ควรลอกวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
แกนกลางฯ มาทั้งหมด ควรนำมาเทียบเคียงและปรบั เปน็ ของสถานศึกษาเอง

ตวั อย่างวิสยั ทศั น์น้ีท่านสามารถนาไป
ปรบั ใชใ้ หเ้ ขา้ กบั บริบทของสถานศึกษา
ของท่านได้ นะครา๊ บบบบ

ตัวอยา่ งวสิ ัยทัศน์
โรงเรียนยอดอนงค์ศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสุข
มีทักษะชีวิตและทักษะในศตวรรษที่ 21 รู้เท่าทันเทคโนโลยี มีนิสัยรักการอ่าน สืบสาน
วัฒนธรรมไทย มีใจอาสารักสิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ
ดำเนินชีวิต คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีคณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

16

3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เป็นสมรรถนะจำเป็นพื้นฐาน
5 ประการ ที่ผู้เรียนพึงมี ซึ่งกำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สถานศึกษาต้องนำมากำหนดไว้ในองค์ประกอบของหลักสูตรทั้ง 5 สมรรถนะ ถ้าสถานศึกษาเห็นว่ายังมี
สมรรถนะทจ่ี ะเพ่มิ อีกตามจดุ เนน้ และความต้องการของสถานศึกษาอาจจะเพ่มิ เตมิ ได้ตามความเหมาะสม

สมรรถนะจำเป็นพื้นฐาน 5 ประการ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พทุ ธศกั ราช 2551 มีดงั นี้

1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้
ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ
ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหา
ความขดั แย้งต่าง ๆ การเลอื กรับหรือไม่รับขอ้ มูลข่าวสารด้วยหลกั เหตุผลและความถกู ตอ้ ง ตลอดจนการเลอื กใชว้ ิธีการ
สื่อสารทมี่ ปี ระสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบทม่ี ตี ่อตนเองและสงั คม

2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่าง
สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ
เพ่อื การตดั สินใจเก่ยี วกับตนเองและสังคมไดอ้ ย่างเหมาะสม

3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และ
การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหา และมกี ารตดั สนิ ใจท่มี ีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบทเ่ี กดิ ขึ้นต่อตนเอง สงั คม และสิ่งแวดลอ้ ม

4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม
ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง
ประสงค์ทสี่ ่งผลกระทบตอ่ ตนเองและผู้อื่น

5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีในด้าน
ต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร
การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสรา้ งสรรค์ ถกู ต้องเหมาะสม และมคี ุณธรรม

สมรรถนะเพิ่มไดอ้ กี นะคะ
ตามจุดเนน้ และความตอ้ งการของ

สถานศึกษาคะ่

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี

17

4. คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ท่ีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 กำหนดไว้เป็นคุณลกั ษณะท่ีต้องการให้เกิดแก่ผ้เู รียนทุกคนในระดับการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน ซึง่ ในการจัดทำ
หลกั สูตรสถานศกึ ษาตอ้ งนำมากำหนดไว้ในองค์ประกอบของหลกั สตู รทัง้ 8 ประการ ถ้าสถานศกึ ษาเห็นว่ายังมี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่จะเพิ่มอีกตามจุดเน้นและความต้องการของสถานศึกษาก็สามารถเพิ่มเติมได้ตาม
ความเหมาะสม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ซึง่ สถานศกึ ษาตอ้ งนำมากำหนดไวใ้ นองค์ประกอบของหลกั สูตรสถานศึกษา ดงั น้ี

1. รักชาติ ศาสน์ กษตั รยิ ์
2. ซื่อสตั ย์สจุ รติ
3. มวี นิ ยั
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพยี ง
6. มงุ่ มั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มจี ติ สาธารณะ

คณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์
เพ่ิมไดอ้ กี นะจะ๊

ถา้ สถานศกึ ษาตอ้ งการ

ตวั อยา่ ง คณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ โรงเรยี นยอดอนงค์ศกึ ษา
1. รักชาติ ศาสน์ กษตั รยิ ์
2. ซื่อสตั ยส์ จุ ริต
3. มีวินยั
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยอู่ ยา่ งพอเพียง
6. มงุ่ มั่นในการทำงาน
7. รักความเปน็ ไทย
8. มีจติ สาธารณะ
9.มคี วามกตัญญู

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจงั หวดั อุบลราชธานี

18

องค์ประกอบท่ี 2 โครงสร้างหลกั สูตรสถานศึกษา

ในการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดทำ 2 ส่วน ได้แก่ 1) โครงสร้างหลักสูตร
สถานศึกษา (โครงสร้างเวลาเรียน) และ 2) โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี โดยพิจารณาข้อมูล จากโครงสร้างเวลา
เรียนทหี่ ลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551 กำหนดดังน้ี

เวลาเรยี น

กลมุ่ สาระการเรยี นร้/ู กิจกรรม ระดับประถมศกึ ษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับมธั ยมศึกษา

กลุม่ สาระการเรยี นรู้ ตอนตน้ ตอนปลาย
ภาษาไทย
คณติ ศาสตร์ จัดสรรเวลาได้ จัดสรรเวลาได้ จดั สรรเวลาได้
วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามความ ตามความ ตามความ
สงั คมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เหมาะสม เหมาะสม เหมาะสม
-ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาและพลศึกษา 840 ชว่ั โมง/ปี 880 ชั่วโมง/ปี รวม 3 ปี 1,640 ช.ม.
ศลิ ปะ
การงานอาชพี สถานศึกษากำหนด สถานศึกษากำหนด สถานศกึ ษากำหนด
ภาษาตา่ งประเทศ
รวมเวลาเรียนพืน้ ฐาน 120 ชว่ั โมง/ปี 120 ชว่ั โมง/ปี รวม 3 ปี 360 ชวั่ โมง
รายวิชาเพม่ิ เตมิ ทีส่ ถานศึกษาจัด สถานศกึ ษากำหนด สถานศึกษากำหนด สถานศกึ ษากำหนด
ตามความพรอ้ ม ความต้องการ
และจดุ เน้นของสถานศกึ ษา
กจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น
รวมเวลาเรียนทั้งหมด

หมายเหตุ ชัน้ ป. 1-3 อาจจดั เวลาเรียนเพ่มิ เตมิ ให้เปน็ เวลาสาหรบั สาระการเรยี นรูพ้ นื้ ฐานในกลุม่
สาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์

มาทาโครงสรา้ งหลกั สตู รสถานศึกษา และ
โครงสรา้ งหลกั สตู รชน้ั ปี กนั เถอะค่ะ

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี

19

2.1 การจดั ทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศกึ ษา 20

ในการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา (โครงสร้างเวลาเรยี น) นัน้ สถานศกึ ษาต้องพิจารณา
การจัดทำโครงสรา้ งหลักสตู รสถานศึกษาใหส้ อดคล้องกับโครงสรา้ งเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยการกำหนดรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และจำนวนชั่วโมงเรียน
ตั้งแต่มีการประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันท่ี 11 กรกฎาคม
2551 กระทรวงศกึ ษาธกิ าร โดยสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีคำสง่ั ประกาศ และหนังสือ
ราชการ เกยี่ วกับขอ้ กำหนดแนวทางการดำเนินการจัดทำโครงสร้างเวลาเรยี นอยูห่ ลายฉบับ ซ่งึ บางฉบบั ยงั มีผล
บงั คบั ใชแ้ ละบางฉบับยกเลิกไปแล้ว และเพอ่ื ให้การจดั การศึกษาของแตล่ ะสถานศึกษาส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
ตามความต้องการของท้องถิ่น และตามจุดเน้นของสถานศึกษา ดังนั้น ควรพิจารณากำหนดรายวิชาและ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมาย /จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียน
ระดับท้องถิ่น (จัดทำโดยเขตพื้นที่การศึกษา หรือโรงเรียนกำหนดจัดทำหลักสูตรเอง หรือตามประกาศของ
จังหวัด)

จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐาน ตัวช้ีวัด และสาระการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระที่
เปลีย่ นแปลง พ.ศ.2560 ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 รวมทั้งคำส่ัง ประกาศ
และหนังสือราชการที่เกี่ยวกับข้อกำหนดแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในการ
จดั ทำโครงสรา้ งหลักสตู รสถานศึกษาและโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี ตามลำดบั มาสรปุ ไดด้ ังนี้

2.2 การบริหารจัดการเวลาเรยี น

ในการจัดทำโครงสร้างหลกั สตู รสถานศึกษา ทั้งโครงสรา้ งเวลาเรยี นและโครงสร้างหลกั สตู รช้นั ปี
มขี ้อควรคำนึงในการบรหิ ารจัดการเวลาเรยี นให้เป็นไปตามท่กี ระทรวงศึกษาธิการกำหนด ดงั น้ี

1. การจัดสรรเวลาเรยี นในรายวิชาพ้นื ฐาน ผูเ้ รียนตอ้ งมคี ุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดท่ี
หลักสตู รแกนกลางฯ กำหนด

2. การจัดเวลาเรยี นต้องใหส้ อดคล้องกบั เกณฑ์การจบ และคำนึงถึงศกั ยภาพของผู้เรยี น
3. วชิ าหนา้ ที่พลเมอื ง สถานศึกษาทุกแห่งยังคงตอ้ งจัดการเรียนการสอนหนา้ ท่ีพลเมือง เป้าหมายของ
การจัด คอื การส่งเสรมิ การสร้างความเปน็ พลเมืองดขี องชาติ ตามความพร้อม และบริบท
ของสถานศึกษา โดยมีทางเลือกในการจดั การเรียนการสอน 4 ทางเลอื ก ดงั นี้

1) เพิ่มวิชาหน้าที่พลเมืองในหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการ
เรียนรูส้ ังคมศกึ ษาศาสนาและวัฒนธรรม (วดั ผลรายวิชาเพิ่มเติมหน้าท่ีพลเมอื ง)

2) บูรณาการกบั การเรียนรใู้ นรายวิชาอนื่ ทงั้ รายวิชาพ้ืนฐาน หรอื เพม่ิ เติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้
สงั คมศึกษาศาสนาและวฒั นธรรม (วดั ผลรวมอยใู่ นรายวิชานนั้ ๆ)

3) บูรณาการกับการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน หรือรายวิชาเพิ่มเติม ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
(วดั ผลรวมอยูใ่ นรายวิชาน้ัน ๆ)

4) บูรณาการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือกิจกรรม/โครงการ/โครงงานหรือวิถี
ชีวติ ประจำวนั ในโรงเรยี น (วัดผล ผา่ น – ไม่ผา่ น ตามลักษณะของกิจกรรม)

ทงั้ นี้ สถานศึกษาควรระบุได้ว่าจดั การเรยี นการสอนหน้าที่พลเมืองในลักษณะใด ผลการจัดการเรียนรู้
บรรลเุ ปา้ หมายหรือไม่

4. การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ระดับประถมศึกษาให้เรียนสาระประวัติศาสตร์ 40 ชม./ปี
ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ 40 ชม./ปี (3 นก.) และระดับมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย 80 ชม./3 ปี (2 นก.)

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั อบุ ลราชธานี

20

5. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สถานศึกษาทุกแห่งยังคงต้องจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ในชัน้ ป.1 - 3 จำนวน 200 ชม./ปี โดยเสนอทางเลือก 2 ทาง ดงั น้ี

1) จัดการเรียนการสอนภาษาองั กฤษ เป็นรายวิชาพื้นฐาน จำนวน 200 ชม./ปี
2) จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นรายวิชาพื้นฐาน อย่างน้อย 120 ชม./ปี และจัดเป็น
รายวชิ าเพม่ิ เตมิ หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น หรอื กิจกรรมเสริมหลักสูตร 80 ชม./ปี รวมเวลาเรยี นภาษาอังกฤษ
ทง้ั หมด จำนวน 200 ชม./ปี
6.การบริหารจัดการหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษา ตามนโยบายการปราบปรามทุจริตของภาครัฐ
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต และปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต
มีจิตสาธารณะ บ่มเพาะเยาวชนให้มีจิตใจ และพฤติกรรมการต่อต้านการทุจริตในทุกรูแบบ โดยมีแนวทางใน
การจดั หลักสูตรและกจิ กรรมการเรียนรู้ ดังน้ี
1) เปดิ รายวิชาเพม่ิ เตมิ
2) บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรยี นรู้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3) บรู ณาการกับกลุม่ สาระอืน่ ๆ
4) จดั ในกจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น, จัดเป็นกจิ กรรมเสรมิ หลกั สตู รและบรู ณาการกับวิถีชวี ติ ในโรงเรยี น

2.3 การกำหนดรายวิชา

ในการกำหนดรายวชิ า สถานศึกษาจะต้องนำความรู้และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละ
“กลุ่มสาระการเรียนรู้” (Learning areas) ไปจัดทำเป็น “รายวิชา” (Courses) โดยตั้งชื่อรายวิชาให้สะท้อน
สิ่งที่สอนในรายวิชานั้น ๆ กำหนดรหัสวิชา รวมทั้งระบุจำนวนเวลาเรียน หรือจำนวนหน่วยกิตของรายวิชา
เหล่านั้นกำกับไว้ด้วย ทั้งน้ี ระดับประถมศึกษาจัดทำรายวิชาเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาจัดทำเป็นราย
ภาคเรยี น ประเภทของรายวชิ า มีดังนี้

1) รายวิชาพื้นฐาน : เป็นรายวิชาท่ีเปิดสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด และ
สาระการเรียนรู้แกนกลางที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาข้ัน
พน้ื ฐานตอ้ งเรียนรู้ การต้งั ชื่อรายวชิ าพ้ืนฐานควรสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรยี นรู้ หรือสะท้อนถึงจุดเน้นและ
เน้ือหาสาระทส่ี อน และระดับความยากงา่ ยของสิ่งท่สี อนในรายวชิ านนั้

2) รายวิชาเพิ่มเติม : เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมจากสิ่งท่ีกำหนด
ไว้ในหลักสูตรแกนกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้น ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน หรือความ
ต้องการของท้องถิ่น โดยมีการกำหนด “ผลการเรียนรู้” เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน ทั้งนี้จะต้อง
สอดคล้องกับเกณฑ์การจบการศึกษา สาหรับชื่อรายวิชาเพิ่มเติมนั้น ควรสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
สะทอ้ นถึงจดุ เน้น เนอ้ื หาสาระทสี่ อน และระดับความยากง่ายของส่ิงท่สี อนในรายวิชานัน้ ๆ

2.4 การจดั รายวชิ า

ระดับประถมศึกษา รายวิชาพ้นื ฐาน
1.ให้สถานศึกษาจัดรายวิชาพื้นฐานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มละ1 รายวิชาต่อปี จำนวน

เวลาเรียนในรายวชิ าพน้ื ฐาน ระดบั ประถมศึกษา 840 ช่วั โมง/ปี กลมุ่ สาระการเรียนรู้สงั คมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม กำหนดเป็นรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และรายวิชาประวัติศาสตร์ โดยรายวิชา
ประวตั ิศาสตรใ์ ห้จัดการเรียนการสอน 40 ชว่ั โมงต่อปี

2.สาระเทคโนโลยี เป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจัดอยู่
ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยไมแ่ ยกเปน็ รายวชิ าเฉพาะ

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธกิ ารจงั หวัดอบุ ลราชธานี

21

รายวิชาเพ่มิ เติม 22
สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมตามความพร้อม และตามจุดเน้นของสถานศึกษา

รวมถึงความต้องการและความถนัดของผู้เรียน โดยจัดเป็นรายปี และมีการกำหนดผลการเรียนรู้ของรายวิชา
นน้ั ๆ

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รายวิชาพน้ื ฐาน
1. ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี อาจจัดได้มากกว่า 1 รายวิชาในแต่ละภาค/ปี
2. สามารถจัดรายวิชาพื้นฐานใน 1 ภาคเรียน ให้เรียนครบ/ ไม่ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ก็ได้ แต่เมื่อจบหนึง่ ปกี ารศกึ ษา สถานศกึ ษาต้องจดั ใหเ้ รียนรายวชิ าพื้นฐานครบทงั้ 8 กลุ่มสาระการเรยี นรู้
3. กำหนดให้ 1 รายวชิ า มีคา่ น้ำหนัก ไม่นอ้ ยกวา่ 0.5 หนว่ ยกติ (1 หนว่ ยกิต คิดเปน็ 40 ช่วั โมง/

ภาคเรียน) และเมื่อรวมจำนวนหน่วยกติ ของรายวิชาพ้ืนฐานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนร้แู ล้ว ตอ้ งมีเวลาเรียน
รวม 880 ชวั่ โมง/ปี (22 หนว่ ยกิต)

4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้จัดสาระประวัติศาสตร์เป็น
รายวชิ าเฉพาะ ภาคเรยี นละ 1 รายวชิ า (0.5 หน่วยกติ ) ทกุ ภาคเรียน รวม 6 รายวิชา (3.0 หน่วยกิต)

รายวชิ าเพ่มิ เตมิ
สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเตมิ ตามความพร้อม และจดุ เน้นของสถานศึกษา รวมถึง
ความตอ้ งการและความถนัดของผู้เรียน โดยจดั เปน็ รายภาค มีการกำหนดผลการเรียนรู้ของรายวิชานนั้ ๆ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รายวิชาพน้ื ฐาน
1.ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี อาจจัดได้มากกว่า 1 รายวิชา โดยภายใน 3 ปี ต้องครบทุกตัวชี้วดั ท่ีกำหนดในกลุ่มสาระการเรยี นรู้
น้นั ๆ
2.กำหนดให้ 1 รายวชิ ามคี า่ น้ำหนัก ไมน่ อ้ ยกวา่ 0.5 หน่วยกิต (1 หนว่ ยกิต คิดเปน็ 40 ชั่วโมง/
ภาคเรยี น) และเม่อื รวมจำนวนหนว่ ยกิต ของรายวชิ าพื้นฐานในแตล่ ะกลุ่มสาระการเรยี นรู้แล้ว ต้องมเี วลาเรียน
รวม 1,640 ช่ัวโมงตอ่ 3 ปี (41 หนว่ ยกิต)
3.กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดตัวชี้วัดเป็นรายปี
ในการนำไปใช้ สถานศึกษาอาจจัดให้ตรงตามช้ันปีที่กำหนด หรอื ยดื หยนุ่ ระหว่างปี ซึง่ อาจจดั ไม่ตรงตามช้ันปีท่ี
กำหนดไดต้ ามความเหมาะสมและศักยภาพของผูเ้ รียน
4.กลุ่มสาระการเรยี นรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้จัดรายวิชาประวัติศาสตร์ใหค้ รบ
2 หน่วยกิต (80 ชั่วโมง) ภายใน 3 ปี
รายวิชาเพิม่ เตมิ
1.สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมตามความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาความ
ต้องการและความถนัดของผเู้ รยี น โดยจัดเป็นรายภาค และมกี ารกำหนดผลการเรียนรูข้ องรายวิชานน้ั ๆ

2.การกำหนดรหัสวิชา เพื่อให้เกิดความสะดวกและความเข้าใจตรงกันในการสื่อสาร
สถานศึกษาจำเปน็ ตอ้ งกำหนดรหสั วิชาอย่างเปน็ ระบบ

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี

22

2.5 การกำหนดรหสั วชิ า

ในการกำหนดรหัสวิชาควรใช้ตัวเลขอารบิก เพื่อสื่อสารและการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา
สำหรับรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ในหลักสูตรชั้นปี ที่สถานศึกษาจะต้องทำโครงสร้างหลักสูตร
แต่ละชั้นปีที่เปิดสอน ในแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งมีการกำหนดรหัสวิชา รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
สถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรม จำนวนชั่วโมง/หน่วยกิต/ปี ในระดับประถมศึกษา และจำนวน
ชว่ั โมง/หนว่ ยกิต/ภาคเรยี น ในระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้นและระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย แต่ละช้นั และชว่ งช้ัน
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยตวั อักษรและตวั เลข 6 หลกั ดังนี้

การกำหนดรหสั วชิ าใชต้ ัวเลขอารบกิ
เพอ่ื การสอื่ สารและการจัดทำเอกสาร
หลกั ฐานการศกึ ษา สำหรบั รายวชิ า
พ้นื ฐานและรายวชิ าเพม่ิ เติม....ฉะนน้ั
ควรใชต้ วั เลขอารบกิ ทงั้ เลม่ กันนจะ๊ ..

หลักท่ี 1 หลกั ท่ี 2 หลกั ท่ี 3 หลักที่ 4 หลกั ที่ 5 หลกั ที่ 6
ลำดบั ของรายวชิ า
กล่มุ สาระ ระดับ ปใี นระดบั ประเภท
การเรยี นรู้ การศึกษา การศึกษา ของรายวิชา

ท11 1 01-99
ค22 2
ว33
ส4
พ5
ศ6


กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวดั อุบลราชธานี

23

หลักท่ี 1 เป็นรหสั ตวั อักษรแสดงกลมุ่ สาระการเรยี นรู้ คือ
ท หมายถึง กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย
ค หมายถึง กลุ่มสาระการเรยี นรูค้ ณติ ศาสตร์
ว หมายถึง กล่มุ สาระการเรียนรู้วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส หมายถึง กลมุ่ สาระการเรยี นร้สู งั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
พ หมายถึง กลมุ่ สาระการเรียนรสู้ ขุ ศึกษาและพลศึกษา
ศ หมายถึง กลุ่มสาระการเรยี นรศู้ ลิ ปะ
ง หมายถงึ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชพี
หมายถึง กล่มุ สาระการเรยี นรภู้ าษาตา่ งประเทศ ให้ใชร้ หัสของแต่ละภาษาตามรายการ

หมายเหตุ 1. รหสั ตัวอกั ษรกลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาตา่ งประเทศ
1.1 รายการรหสั ตวั อักษรกลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาตา่ งประเทศทจ่ี ะนำ ไปใส่แทนมดี ังนี้

ก หมายถึง ภาษาเกาหลี ฝ หมายถึง ภาษาฝร่งั เศส
ข หมายถึง ภาษาเขมร ม หมายถึง ภาษามลายู
จ หมายถงึ ภาษาจนี ย หมายถึง ภาษาเยอรมัน
ซ หมายถงึ ภาษารสั เซีย ร หมายถึง ภาษาอาหรับ
ญ หมายถึง ภาษาญป่ี ุ่น ล หมายถึง ภาษาลาว
ต หมายถึง ภาษาเวยี ดนาม อ หมายถงึ ภาษาองั กฤษ
น หมายถึง ภาษาลาตนิ ฮ หมายถงึ ภาษาฮินดู
บ หมายถึง ภาษาบาลี
ป หมายถึง ภาษาสเปน

1.2 กรณีที่มีสถานศึกษาใดจัดทำรายวิชาภาษาต่างประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ให้ 24
สถานศกึ ษาทำเรื่องเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน เพื่อกำหนดรหัสตัวอกั ษรกลุม่ สาระการ
เรยี นรภู้ าษาตา่ งประเทศเพ่มิ เตมิ และประกาศใหส้ ถานศึกษาทัว่ ประเทศได้รบั ทราบและใช้ใหต้ รงกนั

2. กรณีกำหนดรายวิชากลุ่มเทคโนโลยีในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ใช้รหัส
วชิ า ว และถา้ กำหนดในกล่มุ สาระการเรยี นรู้การงานอาชีพ ให้ใชร้ หัสวิชา ง

หลักท่ี 2 เป็นรหัสตัวเลขแสดงระดับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและ
มัธยมศกึ ษาตอนปลาย สะท้อนระดับความรแู้ ละทักษะในรายวชิ าที่กำหนดไว้ คือ

1 หมายถงึ รายวิชาระดับประถมศกึ ษา
2 หมายถงึ รายวชิ าระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น
3 หมายถึง รายวชิ าระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักท่ี 3 เป็นรหัสตัวเลขแสดงปีที่เรียนของรายวิชา ซึ่งสะท้อนระดับความรู้และทักษะในรายวิชาท่ี
กำหนดไวใ้ นแตล่ ะปี คือ

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอุบลราชธานี

24

0 หมายถึง รายวิชาที่ไม่กำหนดปีท่ีเรยี น จะเรียนปใี ดก็ได้ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ตอนตน้ และมธั ยมศึกษาตอนปลาย

1 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีท่ี 1 ของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ
มัธยมศกึ ษาตอนปลาย (ป.1, ม.1 และ ม.4)

2 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีท่ี 2 ของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ป.2, ม.2 และ ม.5)

3 หมายถึง รายวิชาที่เรียนในปีที่ 3 ของระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ
มธั ยมศึกษาตอนปลาย (ป.3, ม.3 และ ม.6)

4 หมายถงึ รายวิชาท่ีเรียนในปีท่ี 4 ของระดบั ประถมศึกษา (ป.4)
5 หมายถงึ รายวชิ าทเ่ี รียนในปีที่ 5 ของระดับประถมศกึ ษา (ป.5)
6 หมายถงึ รายวิชาทีเ่ รียนในปีที่ 6 ของระดบั ประถมศึกษา (ป.6)
หลักท่ี 4 เปน็ รหัสตัวเลขแสดงประเภทของรายวิชา คือ
1 หมายถึง รายวชิ าพนื้ ฐาน
2 หมายถงึ รายวชิ าเพม่ิ เติม
หลักท่ี 5 และหลักท่ี 6 เป็นรหัสตัวเลขแสดงลำดับของรายวิชาแต่ละกลุม่ สาระการเรียนรู้ในปี/ระดบั
การศึกษาเดียวกัน ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนตั้งแต่
01-99 ดงั นี้
- รายวิชาที่กำหนดปีท่ีเรียน ให้นับรหัสหลักท่ี 5-6 ต่อเนื่องในปีเดียวกัน หากจัดรายวิชาเป็น
รายภาค ให้กำหนดเรยี งลำดับรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนแรกก่อน แล้วจึง
กำหนดตอ่ ในภาคเรยี นที่สอง
- รายวิชาที่ไม่กำหนดปีที่เรียน ให้นับรหัสหลักท่ี 5-6 ต่อเนื่องในระดับประถมศึกษา
มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และมธั ยมศึกษาตอนปลาย
- รหัสหลักที่ 5 และหลักท่ี 6 ของรายวิชาเพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)
กลุ่มสาระการเรียนรูว้ ิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้กำหนดรหสั วิชา เป็นช่วงลำดบั ดังนี้
ลำดับท่ี 01 - 19 หมายถึง รายวิชาในกลุม่ ฟิสิกส์
ลำดับที่ 21 - 39 หมายถึง รายวิชาในกลมุ่ เคมี
ลำดับที่ 41 - 59 หมายถึง รายวิชาในกล่มุ ชีววิทยา
ลำดบั ท่ี 61 - 79 หมายถึง รายวิชาในกลมุ่ โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ
ลำดับท่ี 81 - 99 หมายถึง รายวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์อ่นื ๆ
ตอ่ ไปเราก็ทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศกึ ษาและหลักสตู รชน้ั ปกี ันค่ะ

การทาโครงสรา้ งหลกั สตู รสถานศึกษาและ
หลกั สตู รชนั้ ปี…จากตวั อยา่ งน้ี สามารถนาไป

ปรบั ใชไ้ ดใ้ นสถานศกึ ษาเราไดน้ ะคะ

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวดั อุบลราชธานี

25

ตัวอยา่ งโครงสร้างหลักสตู รสถานศึกษา ระดบั ประถมศึกษา

โครงสรา้ งหลกั สตู รสถานศกึ ษา
โรงเรยี นยอดอนงคศ์ กึ ษา พุทธศักราช 2561
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช 2560)

ระดับประถมศึกษา

กลุ่มสาระการเรยี นรู้/ ป.1 เวลาเรยี น(ชว่ั โมง/ปี) ป.6
กจิ กรรม
200 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 160
รายวชิ าพ้ืนฐาน 180 160
ภาษาไทย 120 200 200 160 160 160
คณิตศาสตร์ 180 180 160 160
วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 80 120 120 160 160 80
สงั คมศึกษา ศาสนาและ
วฒั นธรรม/ต้านทุจรติ ศกึ ษา 40 80 80 80 80 40
ประวตั ศิ าสตร์ 40 40
40 40 40 40 40 40
สุขศึกษาและพลศกึ ษา 20 40 40 40 40 40
ศิลปะ 120 40 40 40 40 120
การงานอาชพี 840 20 20 40 40 840
ภาษาอังกฤษ 120 120 120 120
รวมเวลาเรียน(พ้นื ฐาน) 80 840 840 840 840 40
รายวิชาเพิ่มเตมิ 40 40
ภาษาองั กฤษเพ่ือการส่อื สาร 40 80 80 40 40 40
ทกั ษะคณติ ศาสตร์ 40 40 40 40 40 40
การอ่าน-เขยี น ภาษาไทย 40 40 40 40 40 40
ภาษาจีนกลาง 240 40 40 40 40 200
หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง 40 40 40 40
รวมเวลาเรียน(เพิม่ เติม) 40 240 240 200 200 40
กิจกรรมพฒั นาผู้เรยี น
กิจกรรมแนะแนว 40 40 40 40 40 40
กจิ กรรมนักเรยี น
-ลูกเสือ/เนตรนารี 40 40 40 40

-ชมุ นมุ 30 30 30 30 30 30
กจิ กรรมเพอ่ื สงั คมและ
สาธารณประโยชน์ 10 10 10 10 10 10
120 120 120 120 120 120
รวมเวลาเรียนกจิ กรรม 1,200 1,200 1,200 1,160 1.160 1,160
พัฒนาผู้เรยี น
รวมเวลาเรียนทั้งหมด

กล่มุ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั อุบลราชธานี

26

ตัวอย่างโครงสรา้ งหลักสตู รชนั้ ปี ระดับประถมศกึ ษา

โครงสร้างหลกั สตู รสถานศึกษา
โรงเรยี นยอดอนงค์ศกึ ษา พุทธศกั ราช 2561

ชัน้ ประถมศกึ ษาปที ่ี 1

รายวชิ า/กจิ กรรม เวลาเรียน

ช่วั โมง/ปี ช่วั โมง/สปั ดาห์

รหสั วชิ า รายวชิ าพื้นฐาน 840 21

ท11101 ภาษาไทย 200 5

ค11101 คณิตศาสตร์ 180 4.5

ว11101 วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 120 3

ส11101 สงั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 80 2

ส11102 ประวัตศิ าสตร์ 40 1

พ11101 สุขศกึ ษาและพลศึกษา 40 1

ศ11101 ศลิ ปะ 40 1

ง11101 การงานอาชพี 20 0.5

อ11101 ภาษาอังกฤษ 120 3

รหสั วชิ า รายวิชาเพม่ิ เติม 240 6

อ11201 ภาษาอังกฤษเพื่อการส่ือสาร 1 80 2

ค11201 ทักษะคณติ ศาสตร์ 40 1

ท11201 การอ่าน-เขยี นภาษาไทย 40 1

จ11201 ภาษาจีนกลาง 40 1

ส11201 หน้าท่พี ลเมอื ง 40 1

กิจกรรมพฒั นาผ้เู รียน 120 3

❖ กจิ กรรมแนะแนว 40 1

❖ กิจกรรมนักเรยี น

-ลกู เสอื /เนตรนารี 40 1

-ชุมนุม 30 1

❖ กิจกรรมเพ่ือสังคมและสาธารณประโยชน์ 10 บรู ณาการกับ
กิจกรรมชุมนมุ

รวมเวลาเรียนท้งั หมด 1,200

หลกั สตู รชนั้ ปี น้ตี อ้ งทาทุกชนั้
ตงั้ แต่ชนั้ ป.1-ป.6 ตามโครงสรา้ ง

หลกั สตู รสถานศกึ ษาค่ะ

กล่มุ นเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั อุบลราชธานี

27

ตัวอย่างโครงสร้างหลักสตู รสถานศึกษา ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

โครงสร้างหลกั สูตรสถานศกึ ษา
โรงเรยี นยอดอนงคศ์ กึ ษา พุทธศักราช 2561
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. 2560)

ระดับชนั้ มัธยมศึกษาตอนตน้

กลุ่มสาระการ ม.1 เวลาเรียน(ช่วั โมง)/รายภาค/ปี ม.3
เรยี นรู้/กิจกรรม ภาคเรยี นที่ 1 ภาคเรียนท่ี 2 ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรยี นที่ 2
รายวชิ าพืน้ ฐาน ม.2
ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรยี นที่ 2
ภาษาไทย
ภาษาไทย 1 ภาษาไทย 2 ภาษาไทย 3 ภาษาไทย 4 ภาษาไทย 5 ภาษาไทย 6
คณติ ศาสตร์ (60) (60) (60) (60) (60) (60)

วทิ ยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์1 คณติ ศาสตร์ 2 คณิตศาสตร์ 3 คณิตศาสตร์ 4 คณิตศาสตร์ 5 คณติ ศาสตร์ 6
เทคโนโลยี (60) (60) (60) (60) (60) (60)

วิทยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
สง่ิ แวดลอ้ ม ทวั่ ไป 1 กายภาพ1 ทัว่ ไป 2 กายภาพ2 ทวั่ ไป 3 กายภาพ3
สังคมศึกษา ศาสนา (60) (60) (60)
และวฒั นธรรม (60) (60) (60)
วทิ ยาศาสตร์ การออกแบบ วิทยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์
ประวตั ิศาสตร์ ส่งิ แวดล้อม 1 เทคโนโลยี 1 สง่ิ แวดลอ้ ม 2 การออกแบบ สงิ่ แวดล้อม 3 การออกแบบ
เทคโนโลยี 2 เทคโนโลยี 3
สุขศกึ ษาและ (40) (40) (40) (40)
พลศึกษา ภูมิศาสตร์ 1 (40) (40)
ศลี ปะ ศาสนา ศลี ธรรม หนา้ ที่พลเมือง ภมู ศิ าสตร์ 2
จรยิ ธรรม (40) (40) เศรษฐศาสตร์ 1 (40) เศรษฐศาสตร์2
(40) (40) (40)
ประวตั ิศาสตร์ 2
ประวัติศาสตร์ 1 (20) ประวตั ศิ าสตร์ 3 ประวตั ศิ าสตร์ 4 ประวตั ิศาสตร์ 5 ประวตั ศิ าสตร์ 6
(20) (20) (20) (20) (20)
พลศึกษา1
สขุ ศกึ ษา1 (20) สขุ ศึกษา 2 พลศกึ ษา2 สุขศกึ ษา3 พลศึกษา3
(20) (20) (20) (20) (20)
ทัศนศิลป์ 2
ทศั นศิลป์ 1 (20) ทศั นศลิ ป์ 3 ทศั นศลิ ป์ 4 ทศั นศลิ ป์ 5 ทัศนศลิ ป์ 6
(20) (20) (20) (20) (20)

ดนตรไี ทย ดนตรีไทย นาฏศลิ ป์ 1 ดนตรสี ากล 1 นาฏศลิ ป์ 2 ดนตรีสากล 2 นาฏศลิ ป์ 3
การงานอาชพี (20) (20) (20) (20) (20) (20)

ภาษาอังกฤษ การงานอาชพี 1 การงานอาชพี 2 การงานอาชพี 3 การงานอาชพี 4 การงานอาชพี 5 การงานอาชพี 6
(40) (40) (40) (40) (40) (40)
รวมเวลาเรยี น
(พ้นื ฐาน) ภาษาองั กฤษ 1 ภาษาองั กฤษ 2 ภาษาอังกฤษ 3 ภาษาอังกฤษ 4 ภาษาองั กฤษ 5 ภาษาอังกฤษ 6
(60) (60) (60) (60) (60) (60)

880 (22 นก.) 880 (22 นก.) 880 (22 นก.)

กล่มุ นเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจังหวดั อบุ ลราชธานี

28

กลมุ่ สาระการ ม.1 เวลาเรยี น(ช่วั โมง)/รายภาค/ปี
เรียนรู้/กิจกรรม ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรยี นท่ี 2
ม.2 ม.3
รายวิชาเพม่ิ เตมิ ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรียนท่ี 2 ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรียนที่ 2

หนา้ ท่ีพลเมือง หน้าที่พลเมอื ง 1 หน้าท่ีพลเมือง 2 หนา้ ที่พลเมือง 1 หน้าท่พี ลเมือง 2 หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง 1 หน้าที่พลเมอื ง 2

เสริมทกั ษะคณติ ศาสตร์ (20) (20) (20) (20) (20) (20)

ภาษาองั กฤษการฟัง-พูด เสริมทักษะ เสรมิ ทักษะ เสรมิ ทักษะ เสริมทักษะ เสรมิ ทักษะ เสริมทกั ษะ

ภาษาจนี กลาง คณิตศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 2 คณติ ศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 2 คณติ ศาสตร์ 1 คณติ ศาสตร์ 2

รวมเวลาเรยี น 40 40 40 40 40 40
(เพ่มิ เติม)
กิจกรรมพัฒนาผูเ้ รยี น ภาษาอังกฤษการ ภาษาองั กฤษการ ภาษาองั กฤษการ ภาษาองั กฤษการ ภาษาองั กฤษเพอ่ื ภาษาองั กฤษเพอ่ื

กจิ กรรมแนะแนว ฟัง-พูด 1 ฟัง-พูด 2 อา่ น-เขียน 1 อา่ น-เขียน 2 การส่อื สาร 1 การสือ่ สาร2
กิจกรรมนักเรียน
- ลูกเสอื /เนตรนารี (20) (20) (20) (20) (20) (20)
- กิจกรรมชุมนมุ
กจิ กรรมเพือ่ สังคมและ ภาษาจีนกลาง 1 ภาษาจนี กลาง 2 ภาษาจีนกลาง 1 ภาษาจีนกลาง 2 ภาษาจีนกลาง 1 ภาษาจนี กลาง 2
สาธารณประโยชน์
(20) (20) (20) (20) (20) (20)
รวมเวลาเรยี น
กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น 200 (5 นก.) 200 (5 นก.) 200 (5 นก.)

รวมเวลาเรยี น (20) (20) (20) (20) (20) (20)
ทงั้ หมด (20) (20) (20) (20) (20) (20)
- (25) - (25) - (25)
(15) - (15) - (15) -

120 120 120

1,200 (30 นก.) 1,200 (30 นก.) 1,200 (30 นก.)

การจัดทำโครงสรา้ งฯ
ต้องคำนึงถงึ เกณฑ์
การจบด้วยนะคะ

กล่มุ นิเทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

29

ตวั อยา่ งโครงสรา้ งหลักสูตรช้นั ปี ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น

รายวิชา/กิจกรรม/ช.ม. โครงสรา้ งหลักสูตรสถานศกึ ษา ตอ้ งทำให้ครบ
นำมาจากโครงสรา้ ง โรงเรียนยอดอนงค์ศึกษา พุทธศกั ราช2561 ม.1-3 นะครบั
หลกั สตู ร สถานศึกษาจา้
ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1

ชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ภาคเรยี นท่ี 1 ชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 ภาคเรยี นท่ี 2

รายวิชา/กิจกรรม ช่ัวโมง หนว่ ยกิต รายวิชา/กจิ กรรม ชวั่ โมง หนว่ ยกติ

รหัสวชิ า/รายวชิ าพน้ื ฐาน รหสั วชิ า/รายวชิ าพนื้ ฐาน

ท21101 ภาษาไทย 1 60 1.5 ท21102 ภาษาไทย 2 60 1.5

ค21101 คณติ ศาสตร์ 1 60 1.5 ค21102 คณติ ศาสตร์ 2 60 1.5

ว21101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 60 1.5 ว21102 วิทยาศาสตรก์ ายภาพ 1 60 1.5

ว21103 วทิ ยาศาสตรส์ ง่ิ แวดล้อม 40 1 ว21104 การออกแบบและเทคโนโลยี 1 40 1

ส21101 ศาสนาศลี ธรรม จรยิ ธรรม 40 1 ส21102 ภมู ิศาสตร์ 40 1

ส21103 ประวตั ศิ าสตร์ 1 20 0.5 ส21104 ประวตั ศิ าสตร์ 2 20 0.5

พ21101 สขุ ศกึ ษาและพลศกึ ษา 1 20 0.5 พ21102 สุขศึกษาและพลศกึ ษา 2 20 0.5

ศ21101 ทศั นศลิ ป์ 1 20 0.5 ศ21102 ทศั นศลิ ป์ 2 20 0.5

ศ21103 ดนตรีไทย 20 0.5 ศ21104 นาฏศิลป์ 20 0.5

ง21101 การงานอาชีพ 1 40 1 ง21102 การงานอาชีพ 2 40 1

อ21101 ภาษาองั กฤษ 1 60 1.5 อ21102 ภาษาองั กฤษ 2 60 1.5

รวมรายวิชาพ้ืนฐาน 440 11 รวมรายวิชาพื้นฐาน 440 11

รายวชิ าเพม่ิ เตมิ รายวิชาเพิ่มเติม

ส21201 หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง 1 20 0.5 ส21202 หนา้ ทพี่ ลเมือง 2 20 0.5

ค20201 เสริมทักษะคณติ ศาสตร์ 1 40 1 ค20202 เสรมิ ทกั ษะคณิตศาสตร์ 2 40 1

อ20201 ภาษาอังกฤษการฟงั – พูด 1 20 0.5 อ20202 ภาษาอังกฤษการฟัง – พดู 2 20 0.5

จ20201 ภาษาจีนกลาง 1 20 0.5 จ20202 ภาษาจีนกลาง 2 20 0.5

รวมรายวชิ าเพิ่มเตมิ 100 2.5 รวมรายวชิ าเพมิ่ เติม 100 2.5

กจิ กรรมพัฒนาผ้เู รียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

❖ กิจกรรมแนะแนว 20 กิจกรรมแนะแนว 20

❖ กจิ กรรมนกั เรียน กจิ กรรมนักเรียน

-ลูกเสือ/เนตรนารี 20 -ลูกเสอื /เนตรนารี 20

บรู ณา บรู ณา

-กจิ กรรมชมุ นมุ 20 การ -กจิ กรรมชุมนมุ 5 การ

กิจกรรมเพื่อสงั คมและสาธารณประโยชน์ 5 กิจกรรม กจิ กรรมเพือ่ สังคมและสาธารณประโยชน์ 10 กจิ กรรม

รวมกิจกรรมพฒั นาผูเ้ รยี น 65 รวมกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน 55

รวมเวลาเรียนทั้งหมด 605 595

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้น 1,200 ชัว่ โมง

กล่มุ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี

30

ตวั อยา่ งโครงสรา้ งหลักสูตรสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
โรงเรียนยอดอนงคศ์ กึ ษา พทุ ธศกั ราช 2561
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ. 2560)

ระดับชั้นมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย

กล่มุ สาระการ ม.4 เวลาเรียน(ชว่ั โมง)/รายภาค/ปี ม.6
เรยี นรู/้ กิจกรรม ภาคเรยี นที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ภาคเรยี นท่ี 1 ภาคเรยี นที่ 2
รายวชิ าพ้นื ฐาน ม.5
ภาคเรียนที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
ภาษาไทย
ภาษาไทย 1 ภาษาไทย 2 ภาษาไทย 3 ภาษาไทย 4 ภาษาไทย 5 ภาษาไทย 6
คณติ ศาสตร์ (40) (40) (40) (40) (40) (40)

วทิ ยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ 1 คณติ ศาสตร์ 2 คณติ ศาสตร์ 3 คณติ ศาสตร์ 4 คณติ ศาสตร์ 5 คณติ ศาสตร์ 6
เทคโนโลยี (40) (40) (40) (40) (40) (40)

การออกแบบและ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี ทั่วไป 1 กายภาพ1 ทัว่ ไป 2 กายภาพ2 ท่วั ไป3 กายภาพ3
สงั คมศกึ ษา (20) (20) (20)
ศาสนา และ การออกแบบ (20) (40) (20)
วฒั นธรรม การออกแบบ การออกแบบ การออกแบบ
ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี 1 เทคโนโลยี 2 เทคโนโลยี 3 การออกแบบ เทคโนโลยี 5 การออกแบบ
(20) เทคโนโลยี 4 เทคโนโลยี 6
สุขศกึ ษาและ (20) (40) (20)
พลศกึ ษา ศาสนา ศลี ธรรม ภูมศิ าสตร์ 1 (20) (20)
จริยธรรม หน้าท่ีพลเมือง ภูมศิ าสตร์ 2
ศลี ปะ (20) (20) (20) เศรษฐศาสตร์ 1 (20) เศรษฐศาสตร2์
ทัศนศิลป์ (20) (20)
ประวัติศาสตร์ 1 ประวัติศาสตร์ 2
ดนตรีไทย (20) (20) ประวตั ศิ าสตร์ 3 ประวตั ิศาสตร์ 5 --
การงานอาชพี (20) (20)
สุขศกึ ษาและ สุขศกึ ษาและ สุขศกึ ษาและพล สขุ ศกึ ษาและ
ภาษาอังกฤษ พลพลศกึ ษา 1 พลศึกษา2 สุขศกึ ษาและ สุขศกึ ษาและ พลศึกษา5 พลศกึ ษา6
พลศึกษา 3 พลศึกษา4 (20)
รวมเวลาเรยี น (20) (20) (20)
(พนื้ ฐาน) (20) (20) ทัศนศลิ ป์ 5
ทศั นศลิ ป์ 1 ทศั นศิลป์ 2 (20) ทศั นศลิ ป์ 6
(20) (20) ทัศนศิลป์ 3 ทัศนศลิ ป์ 4 (20)
(20) (20) ดนตรสี ากล 2
ดนตรีไทย นาฏศิลป์ 1 (20) นาฏศิลป์ 3
(20) (20) ดนตรีสากล 1 นาฏศิลป์ 2 (20)
(20) (20) การงานอาชพี 5
การงานอาชพี 1 การงานอาชพี 2 (20) การงานอาชพี 6
(20) (20) การงานอาชพี 3 การงานอาชพี 4 (20)
(20) (20) ภาษาอังกฤษ 5
ภาษาอังกฤษ 1 ภาษาองั กฤษ 2 (40) ภาษาอังกฤษ 6
(20) (20) ภาษาอังกฤษ 3 ภาษาอังกฤษ 4 (40)
(40) (40)

520 (13 นก.) 600 (15 นก.) 520 (13 นก.)

กล่มุ นิเทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

31

กลุ่มสาระการ เวลาเรยี น(ชว่ั โมง)/รายภาค/ปี

เรียนรู้/กิจกรรม ม.4 ม.5 ม.6
ภาคเรียนท่ี 1 ภาคเรยี นที่ 2 ภาคเรยี นที่ 1 ภาคเรยี นท่ี 2
ภาคเรยี นที่ 1 ภาคเรยี นที่ 2

รายวิชาเพมิ่ เตมิ

หนา้ ท่ีพลเมอื ง หนา้ ทพ่ี ลเมอื ง 1 หนา้ ท่ีพลเมือง 2 หนา้ ท่ีพลเมือง 3 หน้าทีพ่ ลเมอื ง 4 หน้าทพ่ี ลเมอื ง 5 หนา้ ทพี่ ลเมือง 6
(20) (20)
เสรมิ ทกั ษะ (20) (20) (20) (20)
คณติ ศาสตร์ เสรมิ ทักษะ เสรมิ ทกั ษะ
คณติ ศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 2 เสรมิ ทักษะ เสริมทกั ษะ เสริมทักษะ เสริมทกั ษะ
ทักษะฟิสิกส์
(40) (40) คณิตศาสตร์ 1 คณติ ศาสตร์ 2 คณิตศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 2
โครงงานเคมี
ทักษะทางฟิสิกส1์ ทกั ษะทางฟสิ ิกส์2 (40) (40) (40) (40)
(40) (40)
ทักษะทางฟิสิกส์3 ทักษะทางฟสิ ิกส์4 ทกั ษะทางฟิสิกส์5 ทักษะทางฟิสิกส์6
โครงงานเคมี 1 โครงงานเคม2ี
(20) (20) (40) (40) (40) (40)

โครงงานเคมี 3 โครงงานเคมี 4 โครงงานเคมี 5 โครงงานเคมี 6

(20) (20) (20) (20)

เศรษฐกิจพอเพยี ง เศรษฐกิจพอเพียง1 เศรษฐกจิ พอเพยี ง2 เศรษฐกิจพอเพยี ง3 เศรษฐกจิ พอเพยี ง4 เศรษฐกิพอเพียง5 เศรษฐกิจพอเพียง6
(40) (40)
ภาษาองั กฤษเพอื่ การ (40) (40) (40) (40)
สื่อสาร ภาษาองั กฤษเพอ่ื ภาษาอังกฤษเพอื่
การสอ่ื สาร1 การสอ่ื สาร 2 ภาษาอังกฤษเพ่อื ภาษาองั กฤษเพ่ือ ภาษาองั กฤษเพื่อ ภาษาองั กฤษเพื่อ
ภาษาจีนกลาง (40) (40)
การสือ่ สาร3 การสอื่ สาร4 การสอ่ื สาร 5 การส่อื สาร6
ภาษาจนี 1 ภาษาจีน 2
(40) (40) (40) (40) (40) (40)

ภาษาจีน3 ภาษาจนี 4 ภาษาจนี 5 ภาษาจนี 6

(40) (40) (40) (40)

รวมเวลาเรยี น รายวชิ าเพมิ่ เตมิ 480 (12 นก.) 480 (12 นก.) 480 (12 นก.)

กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน

กจิ กรรมแนะแนว (20) (20) (20) (20) (20) (20)
(20) (20) (20) (20) (20) (20)
กจิ กรรมนกั เรยี น (20) (20) (20) (20) (20) (20)
- ลกู เสือ/เนตรนารี
(30) (30) (30) (30) (30) (30)
- กจิ กรรมชุมนมุ
ศิลปะ (10) (10) (10) (10) (10) (10)
-ชุมนุมดนตรี
120 120
กิจกรรมเพอื่ สังคมและ 1,200 (27 นก.) 1,120 (25 นก.)
สาธารณประโยชน์

รวมเวลาเรยี นกิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี น 120

รวมเวลาเรยี นทง้ั หมด 1,120 (25 นก.)

การจัดทำโครงสร้างฯ
ต้องคำนงึ ถงึ เกณฑ์
การจบดว้ ยนะครบั

กล่มุ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

32

รายวิชา/กิจกรรม/ช.ม. ตวั อยา่ งโครงสร้างหลักสตู รชนั้ ปี ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ต้องทำตง้ั แต่
ต้องนำมาจากโครงสรา้ ง โครงสรา้ งหลกั สูตรสถานศกึ ษา ม.4-6 นะ
หลกั สตู รสถานศกึ ษาจ้า ครับ
โรงเรยี นยอดอนงคศ์ กึ ษา พุทธศกั ราช2561
ชั้นมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 5

ช้ันมธั ยมศึกษาปที ี่ 5 ภาคเรยี นที่ 1 ชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 5 ภาคเรยี นที่ 2

รายวชิ า/กจิ กรรม ชั่วโมง หน่วยกติ รายวิชา/กิจกรรม ช่วั โมง หน่วยกติ
รหัสวิชา/รายวชิ าพืน้ ฐาน
รหสั วิชา/รายวิชาพน้ื ฐาน ท32102 ภาษาไทย 4 40 1
ค32102 คณิตศาสตร์ 4 40 1
ท32101 ภาษาไทย 3 40 1 ว32102 วิทยาศาสตรก์ ายภาพ 2 40 1
ว30124 การออกแบบเทคโนโลยี 4 20 0.5
ค32101 คณิตศาสตร์ 3 40 1 ส32102 เศรษฐศาสตร์ 1 20 0.5
ส32104 ประวตั ิศาสตร์ 5 20 0.5
ว32101 วิทยาศาสตร์ทัว่ ไป 2 20 0.5 พ32102 สขุ ศึกษาและพลศึกษา4 20 0.5
ศ32102 ทัศนศลิ ป์ 4 20 0.5
ว30123 การออกแบบเทคโนโลยี 3 40 1 ศ30124 นาฏศลิ ป์ 2 20 0.5
ง32102 การงานอาชพี 4 20 0.5
ส32101 หนา้ ท่ีพลเมอื ง 20 0.5 อ32102 ภาษาองั กฤษ 4 40 1
300 7.5
ส32103 ประวตั ศิ าสตร์ 3 20 0.5 รวมรายวชิ าพนื้ ฐาน
รายวิชาเพิ่มเตมิ 40 1
พ32101 สุขศกึ ษาและพลศกึ ษา 3 20 0.5 อ32202 ภาษาอังกฤษเพอื่ การสอ่ื สาร 4 40 1
ค32202 เสริมทักษะคณติ ศาสตร์ 2 40 1
ศ32101 ทศั นศิลป์ 3 20 0.5 ว32201 ทกั ษะทางฟิสกิ ส์ 4 20 0.5
ว32222 โครงงานเคมี 4 40 1
ศ32103 ดนตรีสากล 1 20 0.5 จ32202ภาษาจีน 2 40 1
ส32204 เศรษฐกจิ พอเพยี ง 4 20 0.5
ง32101 การงานอาชีพ 3 20 0.5 ส32202 หน้าทพี่ ลเมือง 4 240 6

อ32101 ภาษาองั กฤษ 3 40 1 รวมรายวชิ าเพิม่ เตมิ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รวมรายวชิ าพน้ื ฐาน 300 7.5

รายวิชาเพ่ิมเติม

อ32201 ภาษาองั กฤษเพอ่ื การสือ่ สาร3 40 1

ค32201 เสรมิ ทักษะคณิตศาสตร์ 1 40 1

ว32201 ทกั ษะทางฟสิ กิ ส์ 3 40 1

ว32221 โครงงานเคมี 3 20 0.5

จ32201 ภาษาจีน 1 40 1

ส32203 เศรษฐกจิ พอเพยี ง 3 40 1

ส32201 หน้าทพ่ี ลเมือง 3 20 0.5

รวมรายวชิ าเพิม่ เตมิ 240 6

กิจกรรมพฒั นาผ้เู รยี น

❖ กิจกรรมแนะแนว 20 กิจกรรมแนะแนว 20
❖ กจิ กรรมนกั เรยี น กิจกรรมนักเรยี น
20 -ลูกเสอื /เนตรนารี 20
-ลูกเสอื /เนตรนารี 10 บรู ณาการ 10 บูรณาการ
10 กจิ กรรม -กิจกรรมชมุ นมุ 10 กจิ กรรม
-กิจกรรมชุมนุม กจิ กรรมเพอื่ สังคมและ 60
กจิ กรรมเพื่อสังคมและ 60 สาธารณประโยชน์ 600
สาธารณประโยชน์ 600
รวมกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน
รวมกิจกรรมพัฒนาผู้เรยี น

รวมเวลาเรยี นท้งั หมด

รวมเวลาเรียนทัง้ ส้ิน 1,200 ชวั่ โมง

กล่มุ นเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี

33

องคป์ ระกอบที่ 3 คำอธบิ ายรายวชิ า

ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา คำอธิบายรายวิชาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งเป็นข้อมูล
รายละเอียดของแต่ละรายวิชา ประกอบด้วยมาตรฐานการเรียนรู้ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน รหัสวิชา
ชือ่ วิชา จำนวนหนว่ ยกติ ระดบั ชัน้ เพ่อื ใช้เป็นกรอบทิศทางในการนำหลักสตู รสถานศึกษาไปใช้ ในการวางแผน
และออกแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการสร้างความเข้าใจว่า ในรายวิชานั้น ผู้เรียนจะได้เรียนรู้องค์ความรู้
ฝกึ ทักษะ/กระบวนการ มสี มรรถนะ คุณลกั ษณะอันพึงประสงคท์ ่ีสำคญั อะไรบา้ ง

การเขียนคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรสถานศึกษา ควรเขียนในลักษณะเป็นความเรียงประกอบด้วย
องค์ความรู้ ทกั ษะ/กระบวนการ และคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน
(2560 : 21) ได้กำหนดการเขยี นคำอธบิ ายรายวิชา ท้ังรายวชิ าพ้ืนฐานและรายวิชาเพิ่มเตมิ ไวด้ งั น้ี

รายวิชาพ้นื ฐาน
รายวิชาพื้นฐานเป็นรายวิชาท่ีสถานศึกษาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน

การเรียนรแู้ ละตวั ชวี้ ัด ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน มขี นั้ ตอนดงั น้ี
1. ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัดชั้นปี

สาระการเรยี นรู้แกนกลางรายปี ท้ัง 8 กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ และกลมุ่ สาระการเรียนรู้ทปี่ รับปรงุ ใหม่ พ.ศ.2560
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้นื ฐาน พ.ศ.2551 เพื่อกำหนดเป็นรายวชิ ารายปแี ละรายภาคเรยี น

2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัดช่วงชั้น/รายปี สาระการเรียนรู้
ช่วงชั้น/สาระการเรียนรู้รายปีทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2560
ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ.2551 เพ่อื กำหนดรายวิชาเป็นรายภาคเรยี น

3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นจากกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ตามความต้องการและ
บริบทของสถานศกึ ษา เพ่อื กำหนดสาระการเรียนรทู้ อ้ งถ่ินทีเ่ ก่ียวข้องกับตวั ช้ีวัดในรายวชิ าน้ัน

4. จัดกลุ่มตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์
กันเพื่อหลอมรวมและเรียบเรียง แล้วเขียนเป็นความเรียงที่ร้อยรัดกันโดยมีรายละเอียดตามองค์ประกอบของ
คำอธิบายรายวิชา ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ตอ้ งการให้ผู้เรียน มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะในรายวิชา
นนั้ ๆ

รายวิชาเพ่ิมเติม
รายวิชาเพิ่มเติมเป็นรายวิชาที่สถานศึกษากำหนดขึ้นตามจุดเน้น ความต้องการของสถานศึกษา

หรือทอ้ งถ่นิ การเขยี นคำอธิบายรายวิชาเพ่ิมเตมิ มีขั้นตอนดงั นี้
1. กำหนดผลการเรยี นร้ซู ง่ึ สถานศึกษาเป็นผูก้ ำหนดข้นึ
2. กำหนดสาระการเรยี นรูท้ ีส่ อดคล้องกบั ผลการเรียนรู้
3. จัดกลุ่มผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ที่มีความเช่ือมโยงสัมพันธ์กันเพื่อหลอมรวม เรียบเรียง

เขียนเป็นความเรียง ให้เห็นสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียน มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะในรายวิชาน้ัน
โดยเขยี นรายละเอยี ดตามองค์ประกอบของคำอธบิ ายรายวชิ าเหมือนกับรายวิชาพื้นฐาน

สรุปได้ว่า การเขียนคำอธิบายรายวิชาพื้นฐานให้วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
แกนกลางทีห่ ลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐานกำหนด สว่ นคำอธบิ ายรายวิชาเพ่ิมเติมให้วิเคราะห์จากผล
การเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดขึน้ เขียนคำอธิบายรายวิชาเป็นรายปีสำหรับระดับประถมศึกษา และเป็นราย
ภาคเรียนสำหรบั ระดบั มัธยมศึกษา ซึ่งในการเขยี นคำอธบิ ายราวชิ าประกอบด้วย 3 ส่วน ดังน้ี

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั อุบลราชธานี

34

ส่วนที่ 1 ส่วนต้น ประกอบด้วย ชื่อรายวิชา……รหัสวิชา......กลุ่มสาระการเรียนรู้........ชั้นปี.......
จำนวนช่วั โมงหรอื หนว่ ยกิต

ส่วนท่ี 2 ส่วนกลาง ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
โดยมีแนวการเขยี นทสี่ ำคัญ คือ

2.1 ผ้เู รยี นได้เรียนรู้ ความรู้ (Knowledge : K) อะไรบ้าง?
2.2 ผเู้ รยี นมีทักษะ/กระบวนการ (Process skill : P) สามารถทำอะไรได้บ้าง
2.3 ผเู้ รยี นมีคุณลกั ษณะ (Attribute : A) อันพึงประสงค์ อะไรบา้ ง ตามหลักสตู รสถานศึกษา
กำหนด และตามธรรมชาตขิ องวิชา
ส่วนท่ี 3 ส่วนท้าย ประกอบด้วย จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละรายวชิ า โดยเขียนเป็นรหัสตัวชี้วัดทุกตัวใน
รายวิชาพ้ืนฐาน และผลการเรยี นรทู้ งั้ หมดทกี่ ำหนดข้นึ ในรายวชิ าเพ่ิมเตมิ แตล่ ะรายวิชานั้น ๆ
ในการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ เพื่อการจัดทำคำอธิบายรายวิชา
สถานศึกษาสามารถทำได้หลายวธิ ใี นที่น้ี ไดเ้ สนอ ตัวอย่างท่ี 1 ตารางการวเิ คราะห์ตวั ช้ีวัดและสาระการเรียนรู้
เพื่อการจัดทำคำอธิบายรายวิชา และตัวอย่างที่ 2 การวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้เพื่อการจัดทำ
คำอธบิ ายรายวิชา ประกอบการสร้างความรคู้ วามเข้าใจในการจัดทำคำอธิบายรายวชิ าดงั ตอ่ ไปนี้

ตวั อยา่ งท่ี 1 ตารางการวิเคราะหต์ ัวช้ีวดั และสาระการเรยี นรู้เพือ่ การจัดทำคำอธบิ ายรายวชิ า

ตารางการวเิ คราะห์ตัวช้วี ดั เพอื่ จัดทำคำอธบิ ายรายวชิ า

วชิ า............................. รหสั ................. กลุม่ สาระการเรยี น.................................

ชน้ั ......................................................... เวลา..........................ช่วั โมง

............................................................................................................................................................................................

รหัสมฐ./ คำสำคัญ/ลักษณะ ตชว. สาระการเรยี นรู้
ตชว.
ตัวชี้วดั ความรู้ ทักษะ/ เจตคติ แกนกลางฯ ท้องถิน่
(K) กระบวนการ (P) (A)

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

35

ตวั อย่างท่ี 2 การวิเคราะหต์ ัวชีว้ ัดและสาระการเรียนรู้เพื่อการจัดทำคำอธิบายรายวิชา

การวิเคราะหต์ ัวชว้ี ดั เพื่อจดั ทำคำอธบิ ายรายวชิ า

วชิ าคณติ ศาสตร์ รหสั ค11101 กลุม่ สาระการเรยี นรู้คณิตศาสตร์

ชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 เวลา 180 ชวั่ โมง

.........................................................................................................................................................................................

คำสำคัญ/ลักษณะ ตชว. สาระการเรยี นรู้

รหัส มฐ./ ตัวชีว้ ดั ความรู้ ทักษะ/ เจตคติ แกนกลางฯ ทอ้ งถ่ิน
ตชว. (K) กระบวนการ (A)

(P)

ค 1.1 บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสง่ิ √ √ จำนวนนบั 1 - 100 และ 0

ป.1/1 ตา่ ง ๆ ตามจำนวนทกี่ ำหนด อา่ นและ จำนวนนบั -บอก - การนบั ทีละ 1 ทลี ะ 10
- การอ่านและการเขยี นตวั เลข
เขียนตวั เลขฮินดอู ารบกิ ตัวเลขไทย 1-100 และ 0 -อา่ น ฮินดอู ารบกิ ตวั เลขไทยแสดง
-เขียน จำนวน
แสดงจำนวนนับไม่เกิน 100 และ 0 - การแสดงจำนวนนบั ไมเ่ กนิ 20
ในรูปความสมั พันธข์ องจำนวน
ป.1/2 เปรยี บเทียบจำนวนนับ ไม่เกนิ 100 √ √ แบบสว่ นยอ่ ย สว่ นรวม (part -
whole relationship)
และ 0 โดยใชเ้ ครือ่ งหมาย = ≠ >< เคร่อื งหมาย เปรยี บเทยี บ - การบอกอนั ดบั ท่ี
= ≠ >< - หลกั คา่ ของเลขโดดในแต่ละ
หลกั และการเขยี นตวั เลขแสดง
ป.1/3 เรยี งลำดับจำนวนนบั ไมเ่ กนิ 100 และ √ √ จำนวนในรูปกระจาย
- การเปรยี บเทียบจำนวนการ
0 ตั้งแต่ 3-5 จำนวน เรยี งลำดับ เรยี งลำดับจำนวน และการใช้
เคร่ืองหมาย = ≠ > <

ป.1/4 หาค่าของตวั ไมท่ ราบค่าในประโยค √ √ การบวก การลบ จำนวนนับ 1 ถงึ
100 และ 0
สญั ลักษณแ์ สดงการบวกและ การบวก แสดง - ความหมายของการบวกและ
การลบ การหาผลบวก ผลลบ
ประโยคสัญลกั ษณแ์ สดงการลบ การลบ และความสมั พนั ธ์ของการบวก
และการลบ
ของจำนวนนับไมเ่ กนิ 100 และ 0 - การแก้โจทย์ปญั หาการบวก
การลบและการสร้างโจทยป์ ญั หา
ป.1/5 แสดงวธิ หี าคำตอบของโจทย์ปญหา √ √ พร้อมทัง้ หาคำตอบ

การบวกและโจทย์ปญหาการลบ โจทยป์ ัญหา แสดง

ของจำนวนนบั ไมเ่ กิน 100 และ 0 การบวก-

ลบ

ค 1.2 ระบุจำนวนทห่ี ายไปในแบบรูปของ √ √ -แบบรูปของจำนวนที่ทเ่ี พิ่มขนึ้
ระบุ หรอื ลดลงทลี ะ 1 และทีละ 10
ป.1/1 จำนวนท่เี พ่มิ ขึ้นหรือลดลงทีละ 1 และ แบบรปู -แบบรปู ซำ้ ของรปู เรขาคณิตและ
รปู อ่ืน ๆ
ทลี ะ 10 และระบุรูปทห่ี ายไปในแบบ จำนวน,

รปู ซ้ำของรปู เรขาคณิตและรูปอนื่ ๆ แบบรูป

ทส่ี มาชิกในแต่ละชุดทซ่ี ำ้ มี 2 รูป เรขาคณติ

ค 2.1 วัดและเปรยี บเทียบความยาวเป็น √√ ความยาว
ป.1/1 เซนตเิ มตรและเปน็ เมตร - การวดั ความยาวโดยใชห้ น่วยท่ีไมใ่ ช่
ความยาว วดั หน่วยมาตรฐาน - การวัดความยาวเปน็
ป.1/2 วดั และเปรียบเทยี บนำ้ หนกั เป็น เซนติเมตรเปน็ เมตร
กโิ ลกรมั เปน็ ขดี เปรยี บเทียบ - การเปรยี บเทียบความยาวเปน็
เซนติเมตรเป็นเมตร -การแกโ้ จทย์ปญหา
√ √ การบวก การลบเก่ยี วกับความยาวทีม่ ี
น้ำหนัก วดั หนว่ ยเป็นเซนตเิ มตรเป็นเมตร
เปรยี บเทียบ นำ้ หนกั
- การวดั นำ้ หนักโดยใช้หน่วยท่ีไมใ่ ชห่ น่วย
มาตรฐาน- การวดั นำ้ หนกั การ
เปรียบเทยี บเปน็ กิโลกรมั เปน็ ขีด
- การแก้โจทย์ปญหาการบวก การลบ
เกย่ี วกับนำ้ หนักที่มหี นว่ ยเป็นกิโลกรมั
เป็นขีด

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั อุบลราชธานี

36

คำสำคญั /ลกั ษณะ ตชว. สาระการเรยี นรู้

รหสั มฐ./ ตวั ชวี้ ดั ความรู้ ทกั ษะ/ เจตคติ แกนกลางฯ ทอ้ งถ่นิ
ตชว. (K) กระบวนการ (A)
รูปเรขาคณติ สองมิติและรปู
(P) เรขาคณิตสามมติ ิ
- ลักษณะของทรงส่เี หล่ยี มมุม
ค 2.2 จำแนกรูปสามเหลี่ยม รูปส่ีเหลย่ี ม √√ ฉาก ทรงกลม กรวย
ป.1/1 วงกลมวงรี ทรงสเี่ หลยี่ มมมุ ฉาก ทรงกระบอก
รปู ทรง จำแนก - ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม
ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย รปู สี่เหล่ียม วงกลม และวงรี
การนำเสนอข้อมูล
ค 3.1 ใช้ขอ้ มลู จากแผนภูมริ ปู ภาพในการ √ √ - การอ่านแผนภูมริ ปู ภาพ
ป.1/1 กำหนดคำตอบของโจทย์ปญหาเม่ือ แผนภูมิ ใชข้ อ้ มูล
รูปภาพ
กำหนดรูป 1 รปู แทน 1 หนว่ ย

จากตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นี้ เห็นได้ว่ามี
ตัวชี้วัดทั้งหมด จำนวน 10 ตัวชี้วัด ซึ่งในแต่ละมาตรฐานมีจำนวนตัวชี้วัดไม่เท่ากัน และมีคุณลักษณะของตัวชี้วัด
เพียง 2 ด้านคือ ด้านความรู้ (K) และด้านทักษะ/กระบวนการ (P) ส่วนด้านเจตคติ (A) หลักสูตรแกนกลางฯ
ได้กำหนดไว้ในระดับชั้นอื่น ๆ และกำหนดในคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบในแต่ละระดับการศึกษา เช่น
ระดับประถมศึกษาตอนต้นชั้น ป.1-3 กำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านคณิตศาสตร์ เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปที่ 3 ดังน้ี
(สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพนื้ ฐาน (2560 : 4)

✧ อา่ น เขยี นตัวเลข ตวั หนงั สอื แสดงจำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 มีความรู้สึกเชิงจำนวน มีทักษะ
การบวก การลบ การคณู การหารและการนำไปใชใ้ นสถานการณต์ ่าง ๆ

✧ มีความรู้สึกเชิงจำนวนเก่ียวกับเศษส่วนท่ีไม่เกิน 1 มีทักษะการบวก การลบ เศษส่วนท่ีตัวส่วนเท่ากัน
และการนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

✧ คาดคะเนและวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร ความจุ เลือกใช้เครื่องมือและหน่วยที่เหมาะสม
บอกเวลา บอกจำนวนเงิน และการนำไปใชใ้ นสถานการณ์ตา่ ง ๆ

✧ จำแนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม
ทรงกระบอก และกรวย เขียนรูปหลายเหลี่ยม วงกลม และวงรีโดยใช้แบบของรูป ระบุรูปเรขาคณิตที่มีแกน
สมมาตรและจำนวนแกนสมมาตร และการนำไปใช้ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ

✧ อา่ นและเขียนแผนภมู ิรูปภาพ ตารางทางเดยี วและการนำไปใชใ้ นสถานการณ์ต่าง ๆ
ลักษณะของตัวชี้วัดด้านเจตคติ(A) มีลักษณะเป็นการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดี
มีใจรัก มีความชอบต่อวชิ าทีเ่ รียนตามธรรมชาติของวิชานั้น ๆ ในหลักสูตรแกนกลางฯ จะมีคำสำคัญที่กำหนด
ในตัวชี้วัดด้านเจตคติ(A) ไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้ง 8 กลุ่มสาระในแต่ละชั้นปี/และช่วงชั้น เช่น
คำว่า “ตระหนัก” “เห็นคุณค่า” “มีความรู้สึก” “ความสนใจ” “มีมารยาท” “มสี ว่ นร่วม” เปน็ ตน้

37

ต่อไปมาทาคาอธิบาย
รายวชิ ากนั ครบั

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี

37

หลงั จากท่ไี ด้ทำการวิเคราะห์มาตรฐานการเรยี นรู้ / ตวั ช้ีวดั สาระการเรียนรู้ เพ่ือการจัดทำคำอธิบาย
รายวิชาแล้ว สถานศึกษาก็มาทำคำอธิบายรายวิชาทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมในที่นี้ได้เสนอ
ตัวอย่างแบบการเขียนคำอธิบายรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา ประกอบการสร้างความรู้ความเข้าใจในการ
จดั ทำคำอธิบายรายวิชาดงั ตอ่ ไปน้ี

ตวั อย่างแบบการเขียนคำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวชิ าพ้ืนฐาน

รายวิชา........................................ รหัส ........... กล่มุ สาระการเรยี นรู้.................................
ชนั้ .................................................................... เวลา .................... ช่วั โมง/หน่วยกติ

ความรู้ (Knowledge : K)

ทกั ษะ/กระบวนการ (Process skill : P)
คุณลักษณะ (Attribute : A)

รหสั ตวั ชี้วดั
รวมท้งั หมด ......... ตัวช้วี ดั

กล่มุ นิเทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวัดอบุ ลราชธานี

ตัวอยา่ งคำอธิบายรายวิชาพนื้ ฐาน 38
38

คำอธิบายรายวิชาพน้ื ฐาน

วิชาคณิตศาสตร์ รหัส ค11101 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์
ชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 1 เวลา 180 ชั่วโมง (4.5 หน่วยกิต)

ศึกษาจำนวนนับ 1 - 100 และ 0 ตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย การนับทีละ 1 ทีละ 10
การจัดอันดับที่ของตัวเลข แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละ 1 และทีละ 10 หลักค่าของเลขโดด
ในแต่ละหลักและการเขียนตัวเลขแสดงจำนวนในรูปกระจาย โดยการเรียงลำดับจำนวน และการใช้
เครื่องหมาย = ≠ > < ศึกษาความหมาย ความสัมพันธ์ของการบวก และการลบ การหาผลบวก ผลลบ จาก
ตัวเลข จำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 เรียนรู้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการหาคำตอบ เกี่ยวกับความ
ยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร น้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด และเรียนรู้แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิต สองมิติ
สามมิติ ลักษณะของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม กรวย ทรงกระบอก รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม วงกลม
วงรี แผนภมู ริ ปู ภาพ และรปู อนื่ ๆ

ใช้กระบวนการและทักษะทางคณิตศาสตร์ในการ บอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ แสดงสิ่งต่าง ๆ
ตามจำนวนที่กำหนดอา่ นและเขียนตวั เลขฮนิ ดูอารบิก ตวั เลขไทย โดย เรยี งลำดับ จำนวนนบั ไมเ่ กนิ 100 และ
0 ต้งั แต่ 3-5 จำนวน และหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคโดยใชเ้ คร่ืองหมาย = ≠ >< ระบุ จำนวนท่หี ายไป
ในแบบรูปของจำนวนท่เี พ่ิมข้นึ หรอื ลดลงทลี ะ 1 และทลี ะ 10 และรปู ทห่ี ายไปใน แบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิต
และรูปอ่นื ๆ ทสี่ มาชิกในแต่ละชดุ ท่ีซำ้ มี 2 รปู แสดงประโยคสัญลกั ษณ์การบวกและ การลบของจำนวนนับไม่
เกิน 100 และ 0 วธิ ีหาคำตอบของโจทย์ปญหาการบวกและการลบ ใช้ข้อมลู จากแผนภูมริ ูปภาพในการกำหนด
คำตอบของโจทย์ปญหาเมื่อกำหนดรูป 1 รูป แทน 1 หน่วย วัดและเปรียบเทียบ ความยาวเป็นเซนติเมตร
เป็นเมตรและน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด จำแนกรูปและรูปทรงของรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี
รูปทรงสเี่ หลยี่ มมมุ ฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย

มีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เห็นคุณค่า ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการศึกษาเรียนรู้และใช้

กระบวนการทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาในสถานการณต์ ่าง ๆ เพ่ือการดำรงชีวติ ประจำวนั

รหัสตวั ชว้ี ัด ป.1/1 ป.1/2 ป.1/3 ป.1/4 ป.1/5
ค 1.1 ป.1/1
ค 1.2 ป.1/1 ป.1/2
ค 2.1 ป.1/1
ค 2.2 ป.1/1
ค 3.1

รวมท้งั หมด 10 ตวั ช้ีวดั

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี

39

ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชาเพ่ิมเติม

คำอธบิ ายรายวชิ าเพิ่มเตมิ

วิชาวิทยาการคำนวณ รหสั วิชา ว11202 กล่มุ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 1 เวลา 40 ช่ัวโมง (11 หน่วยกติ )

ศึกษาการเรียนรูแบบนักวิทยาศาสตร์ ลักษณะ หนาที่ การใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เบื้องตน การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย การใชซอฟตแวรหรือสื่อการใชงานอุปกรณ์เทคโนโลยีเบื้องตน
การใชงานซอฟตแวรเบื้องตน วิธีการตรวจสอบโดยใชเครื่องมืออย่างง่าย วิธีการรวบรวมขอมูลบันทึกข้อมูล
การใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ โดยใช้ซอฟแวร์ หรือสื่อ ใช้เทคโนโลยีในการสร้างจัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูล
ตามวัตถุประสงค์ อย่างปลอดภัย วิธีการปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ดูแลรักษาอุปกรณ์
เบ้อื งต้นเพอ่ื การใช้งานอยา่ งเหมาะสม

ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สังเกต การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้น
ข้อมูลและการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารเปรียบเทียบสิ่งที่เรียนรู้
มีความสามารถในการตัดสินใจ แก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การลองผิดลองถูกมีทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและมีทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู มีความคิด
สรา้ งสรรค

ตระหนักถงึ ประโยชนของการใชความรูและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต มจี ริยธรรม
คุณธรรม และคานิยมที่ดีในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามขอตกลงในการใชงาน
ดูแลรักษาอุปกรณ์และใชงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม มีจิตวิทยาศาสตร์ และค่านิยมที่ดีต่อ
วทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยีและส่ิงแวดลอ้ ม

ผลการเรยี นรู้
1. เข้าใจและใชแ้ นวคิดเชงิ คำนวณในการแก้ปัญหาท่ีพบในชีวติ จรงิ อย่างเปน็ ขน้ั ตอนและเปน็ ระบบ
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงานและแก้ปัญหาได้อย่างมี

ประสทิ ธิภาพ รู้เท่าทนั และมีจรยิ ธรรม
3. สามารถเขยี นโปรแกรมอยา่ งง่าย โดยใชซ้ อฟต์แวรห์ รือส่ือ

รวมจำนวน 3 ผลการเรยี นรู้

กลุ่มนเิ ทศติดตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธกิ ารจงั หวดั อบุ ลราชธานี

40

องค์ประกอบที่ 4 กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น

กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี น เปน็ องค์ประกอบหนึง่ ของหลกั สตู รสถานศกึ ษาทีห่ ลกั สูตรแกนกลางการศึกษา
ขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 ไดก้ ำหนดแนวทางในการจัดกจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียนโดยแบ่งเป็น 3 ลกั ษณะ คือ

1. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษาสิ่งแวดล้อม
สามารถคิดตัดสนิ ใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทัง้ ด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตน
ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลื อ และให้
คำปรึกษาแก่ผูป้ กครองในการมสี ่วนร่วมพฒั นาผเู้ รียน

2. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นํา ผู้ตามที่ดี
ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลอื
แบ่งปัน เอ้ืออาทรและสมานฉันท์ โดยสถานศึกษาเลือกจัดใหส้ อดคล้องกบั ความสามารถ ความถนดั และความ
สนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน
ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิ
ภาวะของผ้เู รยี นและบรบิ ทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กจิ กรรมนักเรยี น ประกอบด้วย

2.1 กจิ กรรมลกู เสือ/ เนตรนารี/ ยวุ กาชาด/ ผบู้ ําเพญ็ ประโยชน์ และนกั ศึกษาวิชาทหาร
2.2 กิจกรรมชมุ นมุ / ชมรม
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบําเพ็ญตนให้เป็น
ประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัครเพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ
ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม และการมีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรม
สร้างสรรคส์ งั คม
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ทั้ง 3 ลักษณะ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแล้วนําไปสู่เป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำคัญ และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันด้านเป้าหมายและขอบข่ายของกิจกรรม
พฒั นาผเู้ รยี น ดงั ภาพประกอบ 8

ภาพประกอบ 8 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันด้านเปา้ หมาและขอบข่ายของกิจกรรมพฒั นาผเู้ รยี น

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวัดอบุ ลราชธานี

41

การจดั เวลาเรียนกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน
การจัดเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

2551 ได้กำหนดใหม้ โี ครงสรา้ งเวลาในการจดั กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นในชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 1 ถึงชน้ั มัธยมศกึ ษา
ปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 360 ชั่วโมง เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรม
แนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและ
สาธารณประโยชน์ ให้สถานศึกษาจัดเวลาใหผ้ เู้ รยี นได้ปฏบิ ัตกิ จิ กรรม ดงั น้ี

- ระดบั ประถมศึกษา (ป.1-6) รวม 6 ปี จำนวน 60 ช่ัวโมง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) รวม 3 ปี จำนวน 45 ชัว่ โมง
- ระดบั มธั ยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง

การจัดสรรเวลาของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ขึ้นกับการบริหารจัดการของสถานศึกษา ทั้งนี้ให้
เป็นไปตามโครงสร้างเวลาของหลักสูตรและผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาและฝึกปฏิบัติกิจกรรมทั้ง 3 ลักษณะ
โดยได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทุกปี จนจบการศึกษาในแต่ละระดับ ทั้งระดับประถมศึกษา
และระดับมัธยมศึกษาและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับการจบหลักสูตรในแต่ละระดับ ผู้เรียน
จะตอ้ งเข้ารว่ มกิจกรรมพัฒนาผเู้ รยี นแต่ละประเภท ดังน้ี

ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น สถานศึกษาพิจารณาเลือกจัดกิจกรรมให้
ผเู้ รยี นไดเ้ ข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามทีห่ ลักสตู รสถานศึกษากำหนด โดยผ้เู รยี นสามารถเข้าร่วมกิจกรรม
ทงั้ 2.1 และ 2.2 หรือเลือกอย่างใดอย่างหนึง่ ได้ตามความเหมาะสม และได้รบั การประเมินทกุ กจิ กรรม ดงั น้ี

1. กิจกรรมแนะแนว
2. กจิ กรรมนักเรยี น

2.1 ลูกเสือ /เนตรนารี/ ยวุ กาชาด/ ผ้บู ำเพ็ญประโยชน์
2.2 ชมุ นุม/ ชมรม
3. กิจกรรมเพ่อื สังคมและสาธารณประโยชน์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สถานศึกษาพิจารณาเลือกจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้
ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนด โดยผู้เรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 2.1 และ
2.2 หรือเลือกอยา่ งใดอย่างหนึ่งไดต้ ามความเหมาะสม และได้รบั การประเมินทกุ กิจกรรม ดังนี้
1. กจิ กรรมแนะแนว
2. กจิ กรรมนักเรยี น
2.1 ลกู เสอื เนตรนารี ยวุ กาชาด ผบู้ ำเพ็ญประโยชน์ หรือนกั ศึกษาวชิ าทหาร
2.2 ชุมนมุ ชมรม
3. กจิ กรรมเพื่อสงั คมและสาธารณประโยชน์
จากนั้น แต่ละสถานศึกษาก็มาเขียนรายละเอียดของหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อการบรรลุ
เป้าหมายของการจัดกิจกรรมและเพือ่ ให้ผู้ทีน่ ำหลักสูตรไปใช้ไดเ้ กิดความเข้าใจตรงกันในการนำหลักสตู รไปใช้
เช่น การวางแผนการกำหนดการสอน การออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นสำหรับระดับ
ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ การจัดกจิ กรรมแบบช่วงช้ันในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในเอกสารนี้ ได้นำเสนอตัวอย่างการเขียนอธิบาย “หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับ
ประถมศึกษา” สำหรับสถานศึกษาอาจนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ตามบรบิ ท ตอ่ ไป

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธกิ ารจังหวดั อุบลราชธานี

42

ตัวอยา่ งหลกั สูตรกจิ กรรมพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศกึ ษา

หลกั สูตรกิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน
โรงเรยี นพระแมม่ ารีอุบลราชธานี พุทธศักราช 2563
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ. 2560)

การดำเนินการกจิ กรรมพัฒนาผูเ้ รียนโรงเรียนพระแมม่ ารีอุบลราชธานี

โรงเรียนพระแม่มารีอุบลราชธานี จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรง ได้ฝึกปฏิบัติจริงและค้นพบความถนัดของตนเอง สามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมตาม
ความสนใจจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม มีทักษะในการดำเนินงาน ส่งเสริมให้มี
วุฒิภาวะทางอารมณ์ สงั คม ศลี ธรรม จริยธรรม ใหผ้ ูเ้ รยี นรูจ้ กั และเขา้ ใจตนเอง สามารถวางแผนชวี ิตและอาชีพ
ไดอ้ ย่างเหมาะสม
กจิ กรรมพัฒนาผู้เรยี นโรงเรียนพระแม่มารอี บุ ลราชธานี
1. กิจกรรมแนะแนว
โรงเรยี นพระแมม่ ารีอบุ ลราชธานี ได้จดั กิจกรรมแนะแนวเพอ่ื ชว่ ยเหลอื และพฒั นาผ้เู รยี น ดังนี้

1. จัดกิจกรรมเพื่อให้ครูได้รู้จักและช่วยเหลือผู้เรียนมากขึ้น โดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยา
การจัดบริการสนเทศ โดยจัดให้มีเอกสารเพื่อใชส้ ำรวจข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์
การใช้แบบสอบถาม การเขียนประวัติ การพบผู้ปกครองก่อนและระหว่างเรยี น การเยี่ยมบา้ นนักเรียน การให้
ความช่วยเหลือผู้เรียนในเรื่องสุขภาพจิต เศรษฐกิจ การจัดทำระเบียนสะสม สมุดรายงานประจำตัวนักเรียน
และบัตรสขุ ภาพ

2. จัดกิจกรรมพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ โดยทำแบบทดสอบเพื่อรู้จักและเข้าใจตนเอง มีทักษะใน
การตัดสินใจ การปรับตวั และการวางแผนเพ่อื เลอื กศกึ ษาตอ่ เลือกอาชีพ

3. จัดบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม ในด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และ
ด้านปัญหาส่วนตัว โดยมีผู้ให้คำปรึกษาที่มีคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการให้คำปรึกษา ตลอดจนมี
หอ้ งให้คำปรึกษาท่เี หมาะสม

3.1 ช่วยเหลือผ้เู รียนทป่ี ระสบปัญหาด้านการเงนิ โดยการใหท้ ุนการศึกษาแก่ผเู้ รยี น
3.2 ติดตามเกบ็ ข้อมูลของนกั เรยี นท่สี ำเรจ็ การศึกษา
2. กิจกรรมลกู เสอื – เนตรนารี
ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ผู้เรียทุกคน ได้ฝึกอบรมวิชาลูกเสือ – เนตรนารี
เพื่อส่งเสริมหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ส่งเสริมความสามัคคี
มีวินัย และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยดำเนินการจัดกิจกรรมตามข้อกำหนดของคณะกรรมการลูกเสือ
แหง่ ชาติ

กิจกรรมลกู เสือ – เนตรนารี ช้ันประถมศกึ ษาปที ี่ 1 - 3
เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือสำรอง และจัดกิจกรรมให้ศึกษา วิเคราะห์
วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐาน โดยเน้นระบบหมู่ สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง โดยให้ผู้เรียน
ศึกษาและฝกึ ปฏิบตั ิในเรอ่ื ง

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจังหวัดอบุ ลราชธานี

43

1. เตรียมลูกเสือสำรอง นิยายเรอ่ื งเมาคลี ประวัตกิ ารเรมิ่ กจิ การลูกเสือสำรอง การทำความเคารพเป็น
หมู่ (แกรนด์ฮาวล์) การทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้าย ระเบียบแถวเบื้องต้น คำปฏิญาณ
กฎ และคตพิ จน์ของลูกเสอื สำรอง

2. ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ 1 2 และ 3 อนามัย ความสามารถเชิงทักษะ การสำรวจ การค้นหา
ธรรมชาติ ความปลอดภยั บรกิ าร ธง และประเทศตา่ ง ๆ การฝีมือ กจิ กรรมกลางแจง้ การบนั เทงิ การผูกเงื่อน
คำปฏญิ าณ และกฎของลกู เสือสำรอง

โดยใช้กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการจัดการ
กระบวนการคิดริเริม สร้างสรรค์ กระบวนการฝึกปฏิบัติทางลูกเสืออ กระบวนการทางเทคโนโลยี
และภมู ิปัญญาท้องถนิ่ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ
ลูกเสือสำรอง มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวนิ ยั และเห็นอกเห็น
ใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ รจู้ ักทำการฝีมอื พฒั นากาย จติ ใจ และศลี ธรรม ท้ังนี้โดยไมเ่ ก่ียวข้อง
กับลัทธิการเมืองใด ๆ สนใจและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมี
ประสิทธภิ าพ

หมายเหตุ
- เม่ือผู้เรยี นผ่านการทดสอบในข้อ 1 แลว้ จะไดร้ ับเครอ่ื งหมายลูกเสือสำรอง
- เมอื่ ผูเ้ รยี นได้ปฏบิ ัติกจิ กรรมและผ่านการสอบแล้ว จะไดร้ ับเครื่องหมายดาวดวงท่ี 1 2 และ 3

ตามลำดบั
- สำหรับวิชาพิเศษ ให้ใช้ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชา

พิเศษลูกเสอื สำรอง (ฉบบั ท่ี 10) พ.ศ. 2522
กจิ กรรมลูกเสือ – เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือสามัญ และจัดกิจกรรมให้ศึกษา วิเคราะห์

วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามฐาน โดยเน้นระบบหมู่ สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง โดยให้ผู้เรียน
ศึกษาและฝกึ ปฏิบัตใิ นเร่อื ง

1. ลกู เสือตรี ความรู้เกีย่ วกบั ขบวนการลูกเสอื คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามญั กิจกรรมกลางแจ้ง
ระเบยี บแถว

2. ลูกเสอื โท การรจู้ ักดูแลตนเอง การช่วยเหลือผู้อน่ื การเดนิ ทางไปยงั สถานท่ตี ่าง ๆ ทักษะในทางวชิ า
ลกู เสือ งานอดเิ รกและเรอื่ งทีน่ ่าสนใจ คำปฏิญาณ และกฎของลกู เสือ ระเบียบแถว

3. ลูกเสือเอก การพึ่งตนเอง การบรกิ าร การผจญภยั วิชาการของลกู เสือ ระเบยี บแถว
โดยใช้กระบวนการทำงาน กระบวนการแกป้ ัญหา กระบวนการกลมุ่ กระบวนการจัดการ กระบวนการคิดริเร่ิม
สร้างสรรค์ กระบวนการฝึกปฏิบัติทางลูกเสือ กระบวนการทางเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่าง
เหมาะสมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ
ลูกเสือสามัญ มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็น
ใจผอู้ ื่น บำเพ็ญตนเพอ่ื สาธารณประโยชน์ ร้จู ักทำการฝมี ือ พฒั นากาย จิตใจ และศลี ธรรม ทั้งนโี้ ดยไม่เกีย่ วข้อง
กับลัทธิการเมืองใด ๆ สนใจและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนกั งานศกึ ษาธิการจังหวดั อุบลราชธานี

44

หมายเหตุ
- เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม และผ่านการทดสอบแล้ว จะได้รับเครื่องหมายลูกเสือตรี

ลกู เสอื โท และลกู เสือเอก ตามลำดับ
- สำหรับวิชาพิเศษ ให้ใช้ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชา

พเิ ศษลูกเสือสามญั (ฉบับท่ี 13) พ.ศ. 2525

3. แนวการจัดกิจกรรมชมรม
กิจกรรมชมรม เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรวมกลุ่มกันจัดขึ้นตามความสามารถ ความถนัด และความ

สนใจของผู้เรียน เพื่อเติมความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ ทักษะเจตคติเพื่อพัฒนาตนเองตามศักยภาพ
ซ่งึ นักเรียนสามารถเลอื กเข้าชมรมไดด้ งั นี้

1. เทควนั โดเพอ่ื การปอ้ งกันตัว
2. จินตคณติ
3. ดนตรีสากล
4. ดนตรไี ทย
5. ศิลปะ
6. หนูนอ้ ยหวั ใจการเกษตร
7. คหกรรมสรา้ งอาชพี
8. ภาษาองั กฤษ
9. คอมพวิ เตอร์
10. ภาษาจีน
11. ฟุตซอล

4. กิจกรรมเพ่ือสงั คมและสาธารณะประโยชน์
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำประโยชน์ตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจใน

ลักษณะอาสาสมัครเพื่อแสดงถงึ ความรับผิดชอบ ความดงี าม ความเสียสละตอ่ สังคม มีจิตใจมุง่ ทำประโยชน์ต่อ
ครอบครัว ชุมชนและสังคม กิจกรรมสำคัญได้แก่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
กจิ กรรมดำรงรกั ษา สบื สานศาสนา ศิลปะและวฒั นธรรมกิจกรรมพัฒนานวตั กรรมและเทคโนโลยเี พื่อสงั คม

เวลาเรียนสำหรับกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและ
สาธารณประโยชน์จัดสรรเวลาให้ผู้เรียนโดย ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 รวม 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
(เฉลยี่ ปลี ะ 10 ช่วั โมง)

การจดั กจิ กรรมเพ่ือสังคมและสาธารณะประโยชน์ ในระดบั ประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ได้นำไปบูรณาการ
ในกจิ กรรมแนะแนว และกจิ กรรมส่งเสริมจิตอาสาอื่น ๆ ทงั้ นี้การทำกจิ กรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ให้ผู้เรียนรายงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมลงในสมุดบันทึก และมีผู้รับรองผลการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งทั้ง
กจิ กรรมในสถานศกึ ษาและกจิ กรรมนอกสถานศกึ ษา

กลุ่มนเิ ทศตดิ ตามและประเมินผล สำนักงานศกึ ษาธิการจงั หวัดอบุ ลราชธานี


Click to View FlipBook Version