The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทที่-1-ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Wachira Krue, 2020-12-18 11:47:16

บทที่-1-ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา

บทที่-1-ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา

บทที่ 1
ความรู้พื้นฐานเกีย่ วกบั การศึกษา

รากฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่บุคคลและ
สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้ คือ “การศึกษา” เน่ืองจากการศึกษาน้ันกล่าวได้ว่า
เป็นเคร่ืองมือที่ทุกสังคมใช้ในการพัฒนาคน เพื่อให้มีการพัฒนาตนเองด้านต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผล
ต่อการพัฒนาสังคมน้ัน ๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม
นอกจากนี้แล้วการศึกษายังมีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติอีกด้วย
จนอาจกลา่ วได้ว่า การศกึ ษา คือ ปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวติ

การศึกษาในอดีตที่ผ่านมาอาจจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป เนื่องจาก
การศึกษาไม่ได้หมายความว่าเป็นการเรียนหนังสือ การศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การไปโรงเรียน
เท่าน้ัน ปัจจุบัน “การศึกษา” มีขอบข่ายของเนื้อหา หลักการ วิธีการที่กว้างขวาง มีการยึด
แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก (Student-Centered) ท้ังในด้านของการจัดเน้ือหา
ระดับความยากง่าย เทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้ สื่อ ตลอดจนการวัดและประเมินผล
เพื่อให้ตรงกับความสนใจ ความต้องการ ระดับสติปัญญาและความสามารถของผู้เรียน
อย่างไรก็ตามโดยท่ัวไปการศึกษา เป็นการสนองความต้องการของบุคคล ในการเตรียมพร้อม
หรือสร้างพื้นฐานในการเลือกอาชีพเพื่อการดำเนินชีวิตในอนาคต รวมท้ังการศึกษายังเป็น
เร่ืองของการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมหรือประเทศชาติ ทั้งนี้
การศึกษาเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเร่ืองเวลา หรือที่เรียกว่า
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) และไม่จำกัดรูปแบบ วิธีการอีกด้วย ดังนั้นการ
เรียนรเู้ กีย่ วกบั การศกึ ษานั้นมีความจำเป็นทีจ่ ะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้

ความหมายของการศกึ ษา

การศึกษามาจากคำภาษาอังกฤษว่า Education มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน 2 คำ
คือ Educere ซึ่งแปลว่า บำรุง เลี้ยงดู อบรม รักษา ทำให้เจริญงอกงาม (to Nurture, to Rear,
to Raise) และคำว่า Educare ซึ่งแปลว่า ชักนำหรือดึงออกมา (to Lead from, to Draw out)

2

อย่างไรก็ตามยังมีนักปรัชญาและนักการศึกษาท้ังของประเทศตะวันตกและของไทยที่ให้
ความหมายของการศึกษาไว้หลากหลาย ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ
ความคิดของบคุ คลนั้น ๆ ในที่นีจ้ ะนำเสนอความหมายของการศกึ ษาที่สำคัญ ๆ ดังน้ี

โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friederich Herbart) ให้ความหมายของ
การศึกษาว่า เป็นการให้ความรู้ การสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในสมองและดวงจิตของเด็ก โดย
จัดการความรู้ต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ เม่ือเด็กโตขึ้นก็จะมีความเข้าใจโลกและสังคมได้หลายวิธี
เป็นการทำพลเมืองให้มีความประพฤติดีและมีอุปนิสัยที่ดีงาม (สุรพล บุณยรัตนพันธ์, ดำรง
ตาแจ่ม และ ภาวนา พรหมสาขา ณ สกลนคร, 2531 : 214 และจอห์น ล็อก (John Lock)
กล่าวว่า การศึกษา คือ กระบวนการที่สามารถควบคุมร่างกาย สร้างนิสัยที่ดีงาม ส่งเสริม
ศีลธรรม และฝึกฝนจิตใจให้รู้จักเลือกเฉพาะสิ่งที่ดีมีประโยชน์มาใช้ ในการดำรงชีวิต
เช่นเดียวกับ เฟรดเดอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) ได้อธิบายความหมายของการศึกษาว่า
เป็นกรรมวิธีของการค้นหาความจริง เป็นการชักนำอำนาจภายในของเด็กให้เจริญขึ้น รวมท้ัง
เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง (สุรพล บุณยรัตนพันธ์, ดำรง ตา
แจม่ และ ภาวนา พรหมสาขา ณ สกลนคร, 2531 : 214)

นอกจากนี้ อารักษ์ ชัยมงคล (2535) ยังได้รวบรวมแนวคิดด้านการศึกษาของนัก
ปรัชญาสมัยโบราณไว้ เช่น เพลโต (Plato) ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Republic ว่า การศึกษา คือ
เคร่ืองมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความ
สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่วน แอริสโตเติล (Aristotle) กล่าวว่า การศึกษาคือ การอบรมคน
ให้เปน็ พลเมืองดี ดำเนนิ ชีวติ ด้วยความบริสทุ ธิ์

ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) นักปรัชญาชาวฝร่ังเศสได้ให้ความหมาย
ของการศึกษาไว้ว่า คือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรือ
อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมท้ัง
การแก้ไขความเลวร้ายของสงั คม

ส่วน จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) นักปรัชญากลุ่มพิพัฒนาการนิยม ชาวอเมริกัน
กล่าวถึงความหมายของการศึกษาไว้ดงั น้ี

1. การศกึ ษาคือชีวติ ไมใ่ ชเ่ ตรียมตัวเพือ่ ชีวติ
2. การศกึ ษาคือความเจรญิ งอกงาม
3. การศกึ ษาคือกระบวนการทางสงั คม
4. การศกึ ษาคือการสร้างประสบการณ์ให้แก่ชวี ิต

3

เช่นเดียวกับ คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศกึ ษา
ไว้ 3 ความหมาย คอื

1. การศกึ ษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ทีบ่ คุ คลนำมาใช้ในการพฒั นาความรู้
ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติทีด่ ีมคี ณุ ค่าและมีคณุ ธรรมเป็นที่ยอมรับนบั ถือของสังคม

2. การศกึ ษาเปน็ กระบวนการทางสงั คมทีท่ ำใหบ้ คุ คลได้รับความรู้ ความสามารถ
จากสิ่งแวดล้อมทีโ่ รงเรียนจัดขึน้

3. การศกึ ษาหมายถึงการถ่ายทอดความรตู้ ่าง ๆ ทีร่ วบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบ
ให้คนรุ่นใหมไ่ ด้ศกึ ษา

ในสว่ นของนักการศกึ ษาไทยนั้น มผี ใู้ ห้ความหมายของการศกึ ษาไว้ดงั นี้
เจริญ ไวรวัจนกุล (2531) สรุปว่าการศึกษา คือ การสร้างสมและถ่ายทอดความรู้
ประสบการณ์ของมนุษย์เพือ่ แก้ปญั หาและทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
ม.ล.ปิ่น มาลากุล (อ้างใน อารักษ์ ชัยมงคล, 2535) กล่าวว่า การศึกษาเป็น
เครื่องหมายทีท่ ำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบคุ คล
สาโรช บัวศรี (อ้างใน อารักษ์ ชัยมงคล, 2535) ได้ให้ความหมายของการศึกษาว่า
หมายถึง กระบวนการพัฒนาขันธ์ 5 ให้เจริญเต็มที่ เพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์
ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้
และพฒั นาข้นึ ไปส่คู วามเป็นสมาชิกที่ดขี องสังคม
สุมน อมรวิวัฒน์ (2534) กล่าวว่า มนุษย์ต้องเรียนรู้ ใฝ่รู้ ฝึกฝน อบรมตนเอง และ
เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมตลอดชีวิต กระบวนการเช่นนี้ เรียกว่า การศึกษา ซึ่งมีลักษณะทั้ง
รูปธรรมและนามธรรม โดยที่การศึกษาในลักษณะรูปธรรมน้ันหมายถึง กระบวนการแสวงหา
ความรู้ การฝึกหัด การฝึกฝน และการนำความรู้ ความคิด ความสามารถ และคณุ งาม ความดี
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต นอกจากนยี้ ังหมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ส่วน
ความหมายในลักษณะนามธรรมนั้น หมายถึง คุณลักษณะและคุณค่าที่เกิดขึ้นจากระบบ
รปู แบบและวิธีการฝึกหดั อบรมนานปั การ
พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า ศึกษาหรือสิกขา มาจากคำว่า สยํ + อิกฺขา สมฺมา + อิกฺขา
สห + อิกฺขา หมายความว่าผู้ศึกษาจะต้องเห็นชัดในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างถูกต้องจนดับ
ทุกข์ได้และสามารถจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ด้วยความสงบสุข ดังน้ันการศึกษาจึงมิใช่การเรียน
เพียงด้านภาษาและอาชีพเท่าน้ัน แต่หมายถึง การดับทุกข์ตนเองและผู้อื่นให้ได้ทำตนให้เป็น
มนุษย์โดยสมบรู ณ์

4

พระราชวรมุนี (2540) ได้ให้ความหมายของการศึกษาตามรากศัพท์ภาษาบาลีว่า
ศึกษา มาจากคำว่า สิกฺขา ซึ่งหมายถึง วิชฺโชปาทาน แปลว่า การแสวงหาวิชชา ซึ่งวิชชา
หมายถึง ความรู้ สภาวะแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ดังนั้น สิกขาหรือศึกษา จึงหมายถึง
การแสวงหาวิชชาหรอื ความรู้แจ้ง ซึ่งก็คือปัญญาน่ันเอง

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2542) กล่าวว่า การศึกษา คือ ความคาดหวังที่
จะนำพาประเทศสู่สังคมที่พึงประสงค์ในอนาคต การศึกษา คือ การเรียนรู้ การฝึกฝน การ
พัฒนาให้ถูกต้องตามธรรมชาติของมนุษย์ ความดีเลิศ ประเสริฐของมนุษย์จึงอยู่ที่การศึกษา
นอกจากนี้การศึกษายังเป็นเร่ืองที่เกี่ยวกับการที่จะฝึกตัวเอง พัฒนาชีวิตของตนเองให้ มี
ความสามารถที่จะเป็นอยู่ได้อย่างดี ดังน้ันการศึกษา จึงหมายถึง การที่จะทำให้ชีวิตเป็นอยู่ได้
อยา่ งดี

วิทย์ วิศทเวทย์ (2544) ได้นิยามความหมายของการศึกษาว่า เป็นการสร้างคนให้มี
ลักษณะที่พึงประสงค์

ส. ศิวลักษณ์ (2545) ได้สรุปความหมายของการศกึ ษาไว้ 3 ลกั ษณะ คือ
1. วิธีการต่าง ๆ ที่ใชใ้ นการถา่ ยทอดความรู้ ทักษะและทัศนคติ
2. ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายหรือให้เหตุผลในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและ

ทัศนคติ
3. คุณค่าหรือดุ มคติต่าง ๆ ที่มนุษย์พยายามจะเข้าให้ถึง โดยอาศัยความรู้ ทักษะ

และทัศนคติ ดังนั้นวิธีการฝึกหรือการถ่ายทอดความรู้จึงขึ้นอยู่กับความเชื่อในคุณค่า หรือ
อุดมคตินน้ั ๆ

ปรัชญา เวสาโรจน์ (2545) กล่าวถึงการศึกษาตามความหมายในแนวกว้างว่า
หมายถึง กระบวนการนำบคุ คลเข้าสกู่ ารดำรงชีวิตในสังคม หรอื อีกนัยหนง่ึ คือ เป็นกระบวนการ
อบรมบ่มนิสัยให้คนสามารถประพฤติปฏิบัติตนและประกอบอาชีพการงานรว่ มกับผู้อืน่ ได้อย่าง
เหมาะสม

สุดใจ เหล่าสุนทร (2549) ได้ให้ความหมายของการศึกษาอย่างย่อไว้ว่า การศึกษา
คือ การสั่งสอน อบรมให้สามารถอยู่อย่างเป็นสุขในชุมชนน้ัน ๆ ซึ่งการส่ังสอน อบรมหมายถึง
การให้ความรพู้ อเหมาะสมกบั บคุ คลน้ัน ๆ

พนม พงษ์ไพบูลย์ กล่าวว่า การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถ
มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและ
สงั คม มีความพร้อมทีจ่ ะ ประกอบการงานอาชีพได้

5

อาทิตย์ อุไรรัตน์ มีความเห็นว่า การศึกษาไม่ใช่การเรียนหนังสือ การเรียนหนังสือ
คือการเรียนสิ่งที่อยู่ในหนังสือแต่ การศึกษาเป็นการสร้างปัญญาให้เกิดขึ้น ปัญญานี้มี
ความหมายสูงและมากกว่าการเรียนหนังสือมากนัก การสร้างปัญญา คือ การสร้างสิ่งที่ดีงาม
สิ่งที่เปน็ ความเจริญรุ่งเรือง สิง่ ที่เป็นอนาคต สิ่งที่เป็นปจั จบุ ันและเป็นอนาคตให้เกิดขนึ้ ในสมอง
ของคน

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ
ที่ 2) พ.ศ. 2545 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) ได้กำหนดในมาตรา 4 ว่า การศึกษา หมายถึง
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก
การอบรม การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และ
ปัจจัยเกื้อหนนุ ให้บคุ คลเรียนรู้อยา่ งต่อเนื่องตลอดชวี ิต

ส่วน ศิริพร ขีปนวัฒนา (2551) ได้สรุปความหมายของการศึกษาว่ามี 2 แนว คือ
ความหมายในแนวกว้างและความหมายในแนวแคบ ซึ่งมีรายละเอียดดงั นี้

1. ความหมายในแนวแคบ การศกึ ษาหมายถึง กระบวนการสงั่ สอน อบรม
ถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความชำนาญ ทัศนคติและค่านิยม โดยผ่านสถาบันทางสังคมที่มี
หนา้ ทีใ่ นการจัดการศกึ ษา เชน่ โรงเรียน สถาบันการศึกษา

2. ความหมายในแนวกว้าง การศกึ ษาหมายถึง กระบวนการทีห่ ลอ่ หลอมจิตใจ
และความสามารถของมนุษย์ เป็นการศึกษาที่เกิดจากประสบการณ์ท้ังมวล การศึกษาแบบนี้
ไมม่ ีวันสิน้ สดุ และมิได้จำกัดอย่เู พียงการศึกษาในระบบเท่าน้ัน

จากความหมายของการศึกษาที่นักปรัชญ า นักการศึกษาท้ังของไทยและ
ต่างประเทศ รวมทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่
2) พ.ศ. 2545 พบว่า มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบริบทและ
ชว่ งเวลา ดังนั้นความหมายโดยรวมของการศึกษาน้ัน คือ การกระทำหรือการได้รับประสบการณ์
ต่าง ๆ ที่มีผลต่อจิตใจ ความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของบุคคลไปในแนวทางที่ต้องการ ทั้งนี้ต้องอาศัยกระบวนการส่งผ่านความรู้ ทักษะ
และค่านิยมที่สังคมสะสมไว้จากคนรุ่นหน่ึงไปยังคนอีกรุ่นหน่ึง ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้ังใจและทำ
อยา่ งเปน็ ระบบโดยมีผู้รบั ผดิ ชอบ จากความหมายนี้จงึ แบง่ ความหมายการศกึ ษานั้นออกได้เป็น
2 นยั คอื

1. ความหมายในนัยที่เป็นหน้าที่ของรัฐ หน่วยงาน หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรวัยเรียนเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและ
คุณลกั ษณะทีจ่ ำเป็นแก่รฐั หรอื ชุมชนน้ัน ๆ

6

2. ความหมายในนัยที่เป็นหน้าที่ของคนรุ่นก่อน คือ เป็นกระบวนการถ่ายทอด
ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ให้แก่คนรุ่นหลังเพื่อให้
สามารถดำรงชีวติ อย่ใู นสงั คม ชุมชนได้

ความสำคญั ของการศกึ ษา

จากคำกล่าวที่ว่า รากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา น้ัน
สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการศึกษาว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ของมนุษย์
นอกจากนี้ ความสำคัญของการศึกษายังมีผลต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
อีกด้วย โดยมีผู้กล่าวถึงความสำคญั ของการศกึ ษาไว้ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความสำคัญ
ของการศึกษา เม่ือวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ไว้ดังนี้ "การศึกษาเป็นเคร่ืองมืออันสำคัญใน
การพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้
เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศกย็ ่อมทำได้สะดวกราบร่ืน ได้ผล
ทีแ่ นน่ อนและรวดเรว็ "

การจัดการศึกษาเป็นเร่ืองของการลงทุนที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์
แต่ละคนและเป็นการลงทุนเพื่อการอยู่รอดและพัฒนาของสังคม ทั้งนี้ เพราะการศึกษา ส่งผล
กระทบและมีอิทธิพลต่อการเปลีย่ นแปลงสังคม เศรษฐกิจ การเมอื ง วัฒนธรรม วิทยาการและ
เทคโนโลยีทีจ่ ำเป็นในการทำงานและการใชช้ ีวติ (ปรชั ญา เวสาโรจน์, 2545)

นอกจากนีก้ ารศกึ ษายงั มีความสำคญั ต่อการพัฒนาคนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การศกึ ษาชว่ ยใหค้ นมีความรคู้ วามชำนาญสามารถใช้ศักยภาพทีม่ อี ยเู่ ป็น

เครือ่ งมือในการประกอบอาชีพการงานในสังคม
2. การศกึ ษาชว่ ยอบรมบม่ นิสัยทีด่ ขี องคนให้อยใู่ นสังคมร่วมกนั อยา่ งมีความสุข
3. การศกึ ษาชว่ ยเสริมสร้างคุณธรรม จรยิ ธรรมของคนในสังคม
4. การศกึ ษาช่วยใหค้ นรู้จักคณุ คา่ ของศลิ ปวฒั นธรรม
5. การศกึ ษาทำให้คนมรี ะเบียบวินัย เคารพกฎหมายข้อบังคับของบ้านเมือง
6. การศึกษาทำให้คนมีสำนึกเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสาธารณ

สมบตั ิ
ส่วน วิไล ต้ังจิตสมคิด (2544 อ้างใน ศิริพร ขีปนวัฒ นา, 2551) ได้สรุป

ความสำคัญของการศึกษาตามแนวคิดของ คาร์ลตัน ไคลเมอร์ โรดี และคณะ (Carton Clymer

7

Rodee and Others) ว่า การศึกษาน้ันมีความสำคัญอย่างยิ่งกับการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย ถ้าประชาชนไม่มีความเข้าใจในหลักการของประชาธิปไตยแล้วสังคมหรือ
ประเทศนน้ั ๆ ก็ไม่สามารถมีประชาธิปไตยที่ถูกต้องได้ ดังนน้ั การศึกษาจงึ มคี วามสำคัญดังน้ี

1. การศึกษาช่วยขดั เกลาคนในสังคมให้มีความละอายต่อบาป ลดความเห็นแก่
ตวั มีสตสิ ัมปชัญญะและเป็นพลเมืองดี

2. การศกึ ษาช่วยใหค้ นมีความรู้ ความชำนาญในการประกอบอาชีพ
3. การศึกษาช่วยอบรมบ่มนิสัยให้คนมีคุณสมบัติที่ดี เช่น มีความขยัน อดทน
ซื่อสตั ย์ ประหยดั พึง่ พาตนเอง ภาคภูมใิ จในศกั ดิ์ศรขี องตนเอง ทำงานรว่ มกบั ผอู้ ื่นได้
4. การศกึ ษาชว่ ยใหค้ นเคารพกฎหมาย ระเบียบ ขอ้ กำหนดต่าง ๆ และปฏิบตั ิ
ตามสิทธิหน้าทีข่ องตนเอง
5. การศึกษาช่วยให้คนเกิดความสำนึกที่จะรักษาความมั่นคงเสถียรภาพเอก
ราชของประเทศชาติ
6. การศกึ ษาชว่ ยใหค้ นรู้คณุ คา่ ของศลิ ปะ วัฒนธรรม ประเพณีของชาติ
7. การศกึ ษาชว่ ยใหค้ นเกิดความสำนกึ เห็นประโยชน์และคุณค่าของส่ิงแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสมบัติ เพื่อจะได้ใช้อย่างประหยัดและทำนุบำรุงให้สูญเสียน้อย
ที่สดุ และรักษาให้คงสภาพเดิม
8. การศึกษาช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข รู้จักรักษาสุขอนามัยส่วนตนและ
ชมุ ชน รู้จักใช้เวลาวา่ งใหเ้ ป็นประโยชน์ สามารถนำข้อคิด หลกั ธรรม ข้อปฏิบตั ิจากศาสนาที่ตน
นับถือมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวติ
9. การศกึ ษาช่วยใหเ้ ตรียมบคุ คลในสงั คมให้มีความสามารถในการเผชิญปญั หา
และเหตกุ ารณใ์ หม่ ๆ ด้วยปญั ญา
นอกจากนี้ ภิญโญ สาธร (2523 อ้างใน ศิริพร ขีปนวัฒนา, 2551) ยังได้เสนอ
ความสำคญั ของการศกึ ษาไว้โดยสรุปดังน้ี
1. การศึกษามีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ
พลเมอื งในชาติ
2. การศึกษาช่วยวางรากฐานของชาติ โดยนำเอาความรู้ ทักษะในอดีตมา
ผสมผสานกับความรแู้ ละทกั ษะในปจั จบุ ัน เพื่อสร้างพื้นฐานอนาคตใหแ้ กเ่ ยาวชนรุน่ หลงั
3. การศึกษาเป็นการถ่ายทอดค่านิยม เจตคติ วัฒนธรรมและอารยธรรมที่ดี
งามของบรรพบุรุษสู่คนรนุ่ ใหม่

8

4. การศึกษาให้ความรู้ในการประกอบอาชีพทุกด้าน รวมท้ังให้การฝึกอบรม
เรื่องวิธีการดำรงความเป็นชาติเพื่อให้เกิดความรักและหวงแหนที่จะรักษาประเทศชาติให้ดำรง
สืบต่อไป

5. การศึกษาช่วยดำรงค่านิยม เจตคติ และความเชื่อในศาสนา วัฒนธรรม
ประเพณีอนั ดีงามของชาติไว้ รวมท้ังช่วยดำรงรปู แบบของสงั คมและวธิ ีการปกครองบ้านเมือง

6. การศกึ ษาสว่ นหนึ่งเป็นกระบวนการปรับตวั เพื่อชว่ ยใหส้ มาชิกในชมุ ชนสังคม
สามารถปรบั ตวั ใหอ้ ย่กู ับสงั คมหรอื อย่กู บั ผอู้ ืน่ ได้อยา่ งมคี วามสขุ

7. การศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดปลอดภัยและความม่ันคงของ
ประเทศชาติ

เช่นเดียวกับ สิน ทวีกุล (2533 อ้างใน ศิริพร ขีปนวัฒนา, 2551) ได้เสนอทัศนะ
เกีย่ วกบั ความสำคัญของการศึกษาไว้ดงั นี้

1. การศกึ ษาเป็นการสรา้ งความสำนกึ ของการเปน็ ชาติรว่ มกนั ความเปน็
ครอบครัวและการเป็นสว่ นหนง่ึ ของมนษุ ยชาติ

2. การศึกษาชว่ ยใหบ้ ุคคลเข้าใจและเกิดความกระตอื รือร้นทีจ่ ะมีสว่ นรว่ มในการ
ปกครองประเทศชาติ รู้จักบทบาท หน้าที่ สิทธิของตน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว
และสงั คม มีวนิ ัย เครารพกฎ ระเบียบของสงั คม

3. การศึกษาช่วยเสริมสร้างความรู้ ความสามารถแก่บุคคลและกลุ่มชนที่อยู่
ร่วมในสังคมเดียวกันให้สามารถสื่อสาร ทำความเข้าใจ สามารถแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้งต่าง ๆ
ที่เกิดขึน้ ได้โดยสันติวธิ ี

4. การศึกษาปลูกฝังให้บุคคลยึดม่ันในความสุจริต ความยุติธรรม และความ
เสมอภาคในสงั คม

5. การศกึ ษาเสริมสรา้ งให้บคุ คลมีสุขภาพดี ท้ังทางร่างกายและจติ ใจ มีความ
เช่ือมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ใช้ความสามารถที่มีอยู่เพื่อสร้างสิ่งที่ดีต่อสังคม
ลดความเห็นแก่ตวั และความคิดที่จะเอาตัวรอดตามลำพัง

6. การศกึ ษาเสริมสรา้ งความรู้ความสามารถ และค่านยิ มในการประกอบอาชีพ
ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง ช่วยให้รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัดและใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์

7. การศึกษาเสริมสร้างให้บุคคลมีความรู้ เข้าใจในธรรมชาติ สังคม ศิลปะ
วัฒนธรรมและวิทยาการต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและสามารถนำความรู้

9

ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ท้ังแก่ตนเอง ชุมชน สังคม
และธรรมชาติ

8. การศึกษาส่งเสริมให้บุคคลรักอิสรภาพ รักการแสวงหาความจริงและมี
แบบอยา่ งในการดำรงชีวิตทีด่ ีข้ึน

9. การศึกษาช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ และสงวนทรัพยากรธรรมชาติและสาธารณ
สมบัติ

10. การศึกษาช่วยให้บุคคลมีความศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ มีศีลธรรม
คุณธรรมและค่านิยมทีด่ ีงาม

ดังน้ันจึงสรุปได้ว่า การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงไว้ซึ่งความรู้ ทักษะ
ค่านิยม ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณีของมนุษยชาติ เน่ืองจากการศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการ
ถ่ายทอดสิ่งที่ดีงาม ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
ตลอดจนเป็นเคร่ืองมือในการสร้างความเข้มแข็ง ความเป็นปึกแผ่นของชุมชน สังคม และ
ประเทศชาติ

ความมงุ่ หมายของการจดั การศกึ ษา

พระเทพเวที (ประยทุ ธ์ ปยุตตโต) (2531) ได้กล่าวถึงความมงุ่ หมายการศกึ ษาตาม
แนวคิดของนักการศกึ ษาต่างประเทศกบั แนวคิดของพุทธศาสนาไว้ดังน้ี

1. แนวคิดของนกั การศกึ ษาต่างประเทศเสนอว่าการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อ
การพัฒนาคนใน 4 ด้าน คอื

1.1 พฒั นาการทางกาย (Physical Development)
1.2 พฒั นาการทางสังคม (Social Development)
1.3 พัฒนาการทางอารมณ์ (Emotional Development)
1.4 พัฒนาการทางปญั ญา (Intellectual Development)
2. คัมภีร์ของพุทธศาสนาได้อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเป็นภาวิคัคตะ แปลว่า ผู้ที่
ได้พฒั นาแล้ว และการพฒั นาน้ันประกอบด้วย
2.1 ภาวิคกาโย หมายถึง มีกายภาวนา คือ มีการพฒั นากาย
2.2 ภาวิคสีโล หมายถึง มีศีลพัฒนา คือ มีการพัฒนาศีล ศีล คือ การอยู่
รว่ มกันด้วยดีในสงั คม เปน็ พฒั นาการในการสัมพนั ธ์ทางสงั คม

10

2.3 ภาวิคจิตโต หมายถึง มีจิตภาวนา คือ มีพัฒนาการทางจิตใจ ซึ่งคำว่า
Heart นั้น หมายถึง Emotion ซึง่ เป็นเรือ่ งของอารมณ์

2.4 ภาวิคปัญโญ หมายถึง มีปัญญาภาวนา คือ มีพัฒนาการด้านปัญญา
แต่ไม่ใช้คำว่า Intellectual Development แต่ใช้คำว่า Wisdom Development ซึ่งมีความหมาย
กว้างกวา่

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (มปป.) กล่าวว่า การศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อ
ทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ คือ ทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจยั ภายนอกให้มาก
ทีส่ ดุ และมีความเป็นใหญ่ในตัว สามารถกำหนดความเปน็ อย่ขู องตนให้ได้มากทีส่ ดุ

ส. ศิวลักษณ์ (2545) ได้อธิบายความมุ่งหมายของการจัดการศกึ ษาว่า มนษุ ย์ทกุ คน
มีเป้าหมายทางการศึกษาร่วมกัน คือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะและทัศนคติ ซึ่งเป้าหมาย
ของการจัดการศกึ ษาน้ันมงุ่ ให้มนุษยม์ ีคุณลกั ษณะดังน้ี

1. มีความรู้ขนั้ ตำ่ ความรู้ขน้ั นไี้ ด้แก่ การอา่ น การเขียนและการคำนวณ เน่อื งจาก
เปน็ ความรู้ทีส่ ำคัญสำหรบั ใช้เปน็ เครื่องมอื ในการดำเนินชีวติ และการแสวงหาความรู้เพิม่ เติม

2. มีวิชาชีพ เพื่อให้มนุษย์มีทักษะ ความชำนาญในการประกอบอาชีพ เพื่อหา
เลี้ยงชีวติ

3. มีความสนใจและใคร่แสวงหาวิชาความรู้ จะได้สามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่ง
ตา่ ง ๆ ด้วยตนเอง เป็นการพฒั นาประสิทธิภาพการใช้สติปัญญาและสร้างความม่ันใจในตนเอง
ให้แก่เดก็ ๆ

4. รู้จักวิจารณ์ รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม เป็นการพัฒนามนุษย์ให้
เปน็ บคุ คลทีม่ คี วามเชือ่ ภายใต้ความเปน็ เหตุเป็นผลและยอมรบั ฟังความคดิ เห็นของคนอืน่

5. ได้สัมผัสและลิ้มรสทางวัฒนธรรมและจริยธรรม ซึ่งถือว่าเป็นผลสูงสุดที่
มนุษย์ได้รับจากการศกึ ษา ไมว่ ่าจะเป็นในทางวรรณคดี ศลิ ปะ ดนตรี หรือวัฒนธรรม ประเพณี
ต่าง ๆ

นอกจากนี้การศึกษาในแง่มุมของพุทธศาสนาน้ันมีความมุ่งหมายว่า จุดหมายของ
การศึกษาเป็นสิ่งเดียวกันกับจุดหมายของชีวิตคือความหลุดพ้น (วิมุตติ) ได้แก่ ความปลอดโปร่ง
เป็นอิสระ กล่าวคือ การศึกษาก็คือการแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าไม่มีปัญหาการศึกษาก็ไม่มี
การศึกษาช่วยทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากปัญหา ปราศจากสิ่งบีบคั้นกีดขวาง แล้วเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม
สิ่งที่ประเสริฐที่สุดหรอื ดีที่สุดที่ชีวิตจะพึงได้ นอกจากนแี้ ล้วเมื่อพิจารณาในแง่ความสมั พันธ์กับ
ปัจจัยภายนอก การศึกษาก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์พ้นจากการต้องพึ่งปัจจัยภายนอก มี
ความสมบรู ณใ์ นตวั มากยิ่งขึน้ ตามลำดับ

11

สรุปได้ว่า การจัดการศึกษามีความมุ่งหมาย คือ พัฒนาคนให้มีปัญญา มีทักษะ
ความสามารถ และมีคุณลักษณะที่ดี เพื่อที่ผู้ได้รับการศึกษาจะได้นำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในการ
พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพและพัฒนาจิตใจ จนหลุดพ้นจากความมืดบอดทางด้านสติปัญญา
อารมณ์ ซึง่ สง่ ผลใหบ้ คุ คลน้ันสามารถดำรงชีวติ อยใู่ นสังคมได้อยา่ งมีความสขุ

หลักการจดั การศึกษา

ปั จ จุ บั น ก า ร จั ด ก าร ศึ ก ษ า ข อ งไท ย ได้ ยึ ด พ ร ะร า ช บั ญ ญั ติ ก า ร ศึ ก ษ าแ ห่ งช าติ
พุทธศักราช 2542 และทีแ่ ก้ไขเพิ่มเติม (ฉบบั ที่ 2) พุทธศักราช 2545 ซึ่งได้กำหนดหลักการใน
การจัดการศึกษาไว้ 3 ประการ คือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมในการจัด
การศกึ ษาและการพัฒนาอย่างตอ่ เนือ่ ง โดยมีรายละเอียดดงั นี้

1. การศึกษาตลอดชีวิต เป็นหลักการที่กำหนดให้คนไทยทุกคนต้องได้รับ
การศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องจัดให้ครอบคลุมทุกด้านมิใช่เฉพาะ
ด้านการงานเท่านั้น เพราะคนทุกคนต้องพัฒนาตนเองและมีความสามารถในการประกอบ
อาชีพ คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและประเทศโดยส่วนรวม
ทั้งด้านเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมด้วย ท้ังนี้
เพราะสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
จึงจ ำเป็ น ต้ อ งศึ ก ษ าค วาม เป็ น ไป รอ บ ตั วเพื่ อ ให้ ส ามารถ รอ งรับ ก ารเป ลี่ ย น แป ล งได้ อย่ าง
เหมาะสม

2. การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาด้วยการแสดงออก
ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรม
ทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้อง
ผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม หลักการนี้มีความเช่ือว่าอนาคตของประเทศและความ
เจริญก้าวหน้าของสังคมไทยเป็นความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ดังนั้นจึงเป็นสิทธิ และ
หน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น การบริจาค
การสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณในการจัดการศึกษา การแสดงความคิดเห็นต่อการจัด
การศกึ ษา เป็นต้น

3. การพฒั นาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาเป็นเร่อื งที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้
ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดย้ัง ดงั น้ัน การจัดการศกึ ษาต้องใหค้ วามสำคัญกับการพัฒนา
สาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนานี้มีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการ

12

เรียนรู้ใหม่ ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเน้ือหาสาระที่มีอยู่ และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มี
ผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา ต้องถือ
เป็นภาระหน้าที่สำคัญ ในการปรับปรุงตนเองให้ทันโลก และทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำ
ความเข้าใจสภาพแวดล้อม เพื่อประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ท้ังนี้การรับความรู้มา
ถ่ายทอดโดยปราศจากดุลยพินิจอาจก่อความเสียหายโดยไม่คาดคิด จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย
ทีจ่ ะช่วยกนั ดแู ลให้ความรู้ใหม่ ๆ เป็นประโยชน์ตอ่ ผู้เรยี นและสงั คมอย่างแท้จริง

นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 ยังได้ระบุหลักในการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัด
การศกึ ษาไว้ในมาตรา 9 โดยมีหลกั การทีส่ ำคญั คือ (กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2546 : 4)

1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบตั ิ
2. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร
ปกครองสว่ นท้องถิ่น
3. มีการกำหนดมาตรฐานการศกึ ษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุก
ระดับและประเภทการศกึ ษา
4. มีหลักการสง่ เสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศกึ ษา
และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษาอยา่ งตอ่ เนื่อง
5. ระดมทรพั ยากรจากแหลง่ ต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศกึ ษา
6. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์การชุมชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและ
สถาบันสงั คมอน่ื
จากหลักในการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาดังกล่าวน้ัน
ปรัชญา เวสาโรจน์ (2545) ได้เสนอรายละเอียดตามเจตนารมณข์ องกฎหมายไว้ ดงั น้ี
1. หลกั เอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบตั ิ หมายความ
ว่า การจัดการศึกษาจะเน้นนโยบาย หลักการ และเป้าประสงค์ร่วมกัน แต่เปิดโอกาสให้
ผปู้ ฏิบตั ิงานได้ใช้ดลุ ยพินิจเลือกเส้นทางและวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการ
ทำงานของตน
2. หลักการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นทีก่ ารศกึ ษา สถานศกึ ษา และองคก์ ร
ปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยงั ให้ความสำคัญกับการบริหารที่ใหส้ ถานศึกษาบริหารจดั การ
ได้เอง (School-based Management) ตามหลักการนี้ จำเป็นต้องแยกภาระงานด้านนโยบาย
เกณฑ์และมาตรฐานออกจากงานด้านปฏิบัติหรอื งานบริการ ท้ังนหี้ น่วยงานส่วนกลางทำหน้าที่

13

กำหนดนโยบาย เกณฑ์และมาตรฐาน ส่วนเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องกระจายอำนาจ
ให้หน่วยปฏิบัติดูแลและรับผิดชอบ การตัดสินใจด้วยตนเองโดยหน่วยงานส่วนกลางทำหน้าที่
ติดตาม ประเมิน ตรวจสอบ ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยปฏิบัติที่ได้รับมอบอำนาจสามารถทำ
หนา้ ที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การกำหนดมาตรฐานการศกึ ษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศกึ ษาทกุ
ระดับและประเภทการศกึ ษา ตามหลักการน้ีในเมื่อหน่วยปฏิบัติได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการ
ได้อย่างคล่องตัวพอควรแล้ว ก็จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาให้หน่วยปฏิบัติรับผิดชอบ
เพราะการมอบอำนาจโดยไม่มีกติกาก็เท่ากับมอบให้ทำงานโดยไม่มีเป้าหมาย ซึ่งไม่สามารถ
ประเมินได้ ในเม่ือรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทรัพยากรสนับสนุนแก่สถานศึกษา
และหน่วยงานการศึกษา ซึ่งอาจเปรียบเสมือนการซื้อสินค้าหรือบริการก็ต้องมีสิทธิกำหนด
คุณค่าและลักษณะของสิ่งที่ต้องการซื้อ โดยยึดเป้าหมายผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก ได้แก่
มาตรฐานการศึกษา รวมท้ังหน่วยปฏิบัติเองก็ต้องวางระบบประกันคุณภาพเพื่อสร้างความ
ม่ันใจแก่ผู้ซื้อสินค้าและบริการของตน จากนั้นจำเป็นต้องมีการประเมินผลการจัดการศึกษา
โดยพิจารณาจากมาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ ทุกฝ่าย อย่างน้อย
ผลการประเมินจะส่งเสริมให้ผู้จัดการศึกษาแต่ละระดับได้ตระหนกั ว่าผลการดำเนินการของตน
เป็นอย่างไร เม่ือเทียบกับมาตรฐานการศึกษาและเกณฑ์ชี้วัดของระบบประกันคุณภาพ และ
ต้องหาทางปรับปรุงผลการจัดการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานและรักษาระดับการประกัน
คุณภาพของตนให้จงได้ รวมทั้งยกระดบั การจัดการศกึ ษาให้สูงข้ึนดว้ ย

4. การสง่ เสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารยแ์ ละบุคลากรทางการศึกษาและ
การพัฒนาต่อเนื่อง โดยกำหนดมาตรการต่าง ๆ เช่น การกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ การส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามหลักสูตร
การอบรมมาตรฐานต่าง ๆ ทั้งนี้ โดยมีเจตนาเพื่อรักษาคุณภาพของผู้รับผิดชอบในการจัด
การศึกษาให้อยู่ในระดับที่พึงประสงค์และกระตุ้นส่งเสริมให้พัฒนาปรับปรุงตลอดเวลา อันจะ
เปน็ ประโยชน์ตอ่ ผู้ได้รับการศกึ ษาโดยตรง

5. การระดมทรพั ยากรจากแหลง่ ตา่ ง ๆ มาใช้เพือ่ การจัดการศึกษา ทรพั ยากร
ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรการเงิน วัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากร
บุคคลทีม่ ีความรคู้ วามชำนาญในการเรียนการสอน ภมู ิปัญญาท้องถิ่น สื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ
ล้วนเป็นทรัพยากรจำเป็นแต่รัฐไม่สามารถจัดหามาสนับสนุนได้อย่างเพียงพอ จึงถือเป็นภาระ
หน้าที่ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนในการจัดการศึกษาจะเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อ

14

ยกระดับคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในแต่ละท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ครูอาจเชิญ
ผู้รู้หรือปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมาช่วยสาธิตหรือ
สอนวิชาที่เกีย่ วข้องได้

6. การมีส่วนร่วม การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว
ชมุ ชน องค์กรชุมชน องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน
ศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นในการจัดการศึกษา โดยบุคคล กลุ่มบุคคล
หรือองค์กรต่าง ๆ จะได้รับการสง่ เสริมให้เข้าร่วมเสนอแนะ กำกับติดตามและสนบั สนุนการจัด
การศกึ ษาเพือ่ ประโยชน์ของสังคมโดยรวม

หลักการศึกษาดังกล่าวเป็นหลักการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของประเทศไทย โดยกำหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ในการจดั การศึกษาทุกระดับยึดเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษา โดยมีหลักการที่สำคญั คือ
การศกึ ษาตลอดชีวิต การมสี ่วนรว่ มและการพัฒนาอยา่ งตอ่ เนื่อง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคน
ให้ได้รับการศกึ ษาที่มคี ุณภาพและมาตรฐานที่เท่าเทียมกันในทุกระดับและทุกรปู แบบ

อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าหลักการจัดการศึกษาโดยทั่วไปน้ันควรยึดหลักการ
ที่สำคัญ 6 ประการ ดังน้ี

1. หลักความเสมอภาค หมายถึง ในการจัดการศึกษาให้แก่คนในสังคมต้องมี
การจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างท่ัวถึงโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านเพศ วัย
เช้ือชาติ ศาสนา ฐานะ ถิน่ กำเนิด เปน็ ต้น

2. หลักความเป็นธรรม หมายถึง การจัดการศึกษาต้องจัดการศึกษาที่ดี
มปี ระสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่ประชาชนทกุ ท้องถิน่ อยา่ งเท่าเทียมกัน

3. หลักความสมดุล หมายถึง การจัดการศึกษาต้องพิจารณาความสมดุลในด้าน
การพัฒนาสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ตลอดจนการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและ
คุณธรรม จรยิ ธรรม ให้แก่ผรู้ บั การศกึ ษา

4. หลักความสอดคล้อง หมายถึง ต้องจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับ
สภาพความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมท้ังความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ
สาขาตา่ ง ๆ ตลอดจนสอดคล้องกบั ความตอ้ งการของผรู้ บั การศกึ ษา

5. หลักความหลากหลาย หมายถึง การจัดการศึกษาต้องจัดให้มีความ
หลากหลายในด้านรปู แบบและวิธีการ

6. หลักการกระจายอำนาจ หมายถึง การเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม
รับผิดชอบในการจดั การศึกษาท้ังในด้านความคิด ความรแู้ ละทรัพยากร

15

สำหรับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 (2560) ได้กำหนดวิสัยทัศน์
(Vision) เพื่อเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาของไทยไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและ
เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัด
การศกึ ษา 4 ประการ คือ

1. เพือ่ พัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศกึ ษาทีม่ คี ุณภาพและประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดีมีคุณลักษณะ ทักษะ และสมรรถนะที่
สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษา
แหง่ ชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ
3. เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รัก
สามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และ
4. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดัก ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความ
เหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา
ดงั กล่าวข้างตน้ แผนการศึกษา แหง่ ชาติได้วางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน คือ

เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มี
คณุ ลักษณะและทกั ษะการเรียนรใู้ นศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)

เป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations) 5 ประการ ซึ่งมีตัวชี้วัดเพื่อการ
บรรลุ เป้าหมาย 53 ตัวช้วี ดั ประกอบด้วยเป้าหมายและตัวชีว้ ัดที่สำคัญ ดังน้ี

1) ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง
(Access) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ประชากรกลุ่มอายุ 6-14 ปีทุกคนได้เข้าเรียนในระดับ
ประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าที่รัฐต้องจัดให้ฟรีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้เรียนพิการได้รับการพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมทุกคน และ
ประชากรวัยแรงงานมกี ารศกึ ษาเฉลีย่ เพิ่มข้นึ เปน็ ต้น

2) ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตาม
มาตรฐาน อย่างเท่าเทียม (Equity) มีตัวชีว้ ัดที่สำคัญ เช่น ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุก
คนได้รบั การสนับสนนุ ค่าใช้จา่ ยในการศึกษา 15 ปี เปน็ ต้น

16

3) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนใหบ้ รรลุขีดความสามารถ
เต็มตามศักยภาพ (Quality) มีตัวชี้วัดสำคัญ เช่น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทาง
การศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น
และคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme
for International Student Assessment : PISA) ของนักเรียนอายุ 15 ปีสงู ขึน้ เป็นต้น

4) ระบบการบริหารจัดการศกึ ษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทนุ ทางการศึกษา
ทีค่ ุ้มคา่ และบรรลเุ ป้าหมาย (Efficiency) มีตัวช้วี ดั ที่สำคญั เช่น ร้อยละของสถานศึกษาขนาด
เล็กที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกลดลง มีระบบการบริหารงานบุคคล ครู และ
บุคลากร ทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งมีกลไก
ส่งเสริมใหท้ ุกภาคสว่ นสนบั สนุนทรัพยากรเพือ่ การจดั การศกึ ษา เปน็ ต้น

5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็น
พลวตั และ บริบททีเ่ ปลี่ยนแปลง (Relevancy) มีตัวช้วี ดั ทีส่ ำคัญ เช่น อันดับความสามารถใน
การแขง่ ขันของ ประเทศด้านการศกึ ษาดีข้ึน สดั ส่วนผเู้ รียนอาชีวศึกษาสงู ขนึ้ เมื่อเทียบกับผเู้ รียน
สามญั ศึกษา และ จำนวนสถาบนั อุดมศกึ ษาที่ตดิ อนั ดบั 200 อนั ดบั แรกของโลกเพิม่ ขนึ้ เป็นต้น

ระบบการศกึ ษา

ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น
และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน ระบบ
การศึกษาไทยในปัจจุบันเรียกย่อ ๆ ว่า ระบบ 6-3-3 หมายความว่ามีการจัดระบบการศึกษา
ข้ันประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และ
การศกึ ษาขั้นมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดบั ชั้น)

นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 15 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545 : 6) กำหนด
ว่า การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ (Formal Education System)
การศึกษานอกระบบ (Non-formal Education System) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal
Education System) โดยมีรายละเอียดของการจดั การศกึ ษาในแต่ละระบบดังน้ี

1. การศกึ ษาในระบบ เป็นการศกึ ษาที่กำหนดจุดมงุ่ หมาย วิธีการศกึ ษา หลักสูตร

17

ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเง่ือนไขของการสำเร็จการศึกษาที่
แนน่ อน

2. การศกึ ษานอกระบบ เป็นการศกึ ษาที่มคี วามยืดหย่นุ ในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเง่ือนไข
สำคัญของการสำเร็จ การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้อง
กับสภาพปัญหาและความตอ้ งการของบุคคลแต่ละกลมุ่

3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตาม
ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม
สภาพแวดล้อม สือ่ หรอื แหล่งความรอู้ ืน่ ๆ

อย่างไรก็ตาม ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่
พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือ
ว่าการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียน
การสอนหรอื รูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of Learning" ดังน้ัน
แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ท้ัง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ท้ัง
3 รูปแบบ

นอกจากนีพ้ ระราชบัญญัติการศกึ ษาฉบับนี้ ยงั แบ่งการศกึ ษาเปน็ 2 ระดบั คอื
1. การศึกษาข้ันพื้นฐาน ซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา

โดยรวมถึงการศึกษาปฐมวยั ประถมศึกษาและมธั ยมศกึ ษา
2. ระดับการศกึ ษาอุดมศกึ ษา แบ่งเป็นสองระดบั คอื ระดบั ตำ่ กว่าปริญญาและ

ระดับปริญญา
สรุปได้ว่าระบบการจัดการศึกษาในแต่ละสังคมหรือแต่ละประเทศน้ันจะมีความ

แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิ สภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เป็นต้น อยา่ งไร
ก็ตามระบบการศึกษาจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงโครงสร้างการจัดการศึกษาของสังคมน้ัน ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีระบบการจัดการศึกษาคือ 6 – 3 – 3 และมีการจัดการศึกษาใน 3 รูปแบบ คือ
การศกึ ษาในระบบ การศกึ ษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอธั ยาศัย

18

สรปุ ท้ายบท

การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมประการหนึ่งที่เป็นเคร่ืองมือในการ
พัฒนาคนให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมนั้น ๆ ต้องการ ท้ังนี้แต่ละสังคมก็มีความเชื่อในการจัด
การศึกษาที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามการศึกษานั้นมีความหมายอยู่ 2 นัย คือ ความหมาย
ในนัยที่เป็นหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการศึกษา
ให้แก่ประชากรวัยเรียน เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นแก่รัฐ
หรือชุมชน และความหมายในนัยที่เป็นหน้าที่ของคนรุ่นก่อนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ
ทัศนคติ และขนบธรรมเนียม ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนค่านิยม ความเชื่อต่าง ๆ
ให้แกค่ นรนุ่ หลัง

ในการจัดการศึกษานั้นมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้
อย่างมีความสุข

ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เป็นกรอบแนวทางการจัด
การศึกษา โดยมีหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ การศึกษาตลอดชีวิต การมีสว่ นรว่ มในการจัด
การศึกษาของสังคมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาไว้ 3 รูปแบบ
คือ การศกึ ษาในระบบ (Formal Education System) การศกึ ษานอกระบบ (Non-formal Education
System) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) มีการแบ่งการจัดการศึกษา
ออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา ในการจัดการศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานน้ันเป็นการจัดการศึกษาก่อนระดับปริญญาตรี โดยใช้ระบบ
การศึกษาแบบ 6-3-3 ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศกึ ษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3
ปี และมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย 3 ปี

19

คำถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายของการศกึ ษาตามความคิดเห็นของทา่ น
2. จงอธิบายเปรียบเทียบความคิดเห็นทีม่ ตี อ่ ความหมายของคำว่า “การศกึ ษา”
ระหว่างแนวคิดของนักการศกึ ษาทั่วไปกบั แนวคิดความเช่อื ของพทุ ธศาสนา
3. เหตุใดต้องมกี ารจดั การศกึ ษาให้แกป่ ระชาชน
4. การศกึ ษามีความสำคัญตอ่ ตนเอง ตอ่ สังคมและตอ่ ประเทศชาติอย่างไร
5. จงอธิบายระบบการจัดการศกึ ษาของประเทศไทยในปัจจบุ ันวา่ เปน็ แบบใด และมี
กีร่ ะดับ


Click to View FlipBook Version